ก่อนอื่นต้องขอเกริ่นถึงที่มาของหัวข้อนี้ก่อนเพราะว่า ความตั้งใจที่แท้จริงของการเขียนบล็อกวันนี้มาจาก หลายคนถามถึงแนวทางในการออกแบบห้องสมุดสำหรับเด็ก แต่ เอ๊ะ หัวข้อพูดถึงการออกแบบห้องสมุดทั่วๆ ไป ใช่ครับ ขอย้ำอีกครั้งว่าวันนี้ขอนำเสนอเรื่องการออกแบบห้องสมุดในภาพกว้างๆ ก่อน แล้วเดี๋ยวถ้ามีโอกาสจะเขียนเฉพาะของห้องสมุดเด็กอีกที
การออกแบบ
การออกแบบบริการ (Service Design) ในห้องสมุดยุคใหม่
การออกแบบบริการ (Service Design) ต่างๆ ในห้องสมุดยุคใหม่ เริ่มจากการศึกษาเส้นทางในการใช้บริการของลูกค้า (Customer Journey) ค่อยๆ ดูและพยายามหาโอกาสและแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้ลูกค้า
การสร้างบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้ามี 3 แนวทางให้เลือกทำ
1) ต่อยอดบริการเดิมให้มีคุณค่ามากขึ้น
2) สร้างสรรค์บริการในรูปแบบใหม่
3) เปลี่ยนโมเดลทางธุรกิจและหาหนทางใหม่ๆ ในธุรกิจตนเอง
ออกแบบห้องสมุด ตอน เมื่อที่นั่งและชั้นหนังสือมารวมกัน
วันเสาร์ วันเบาๆ แบบนี้ ขอนำไอเดียตกแต่งห้องสมุด
หรือเรื่องการออกแบบห้องสมุดในต่างประเทศมาให้เพื่อนๆ ชมดีกว่า
ผมเคยเกริ่นเรื่องแนวทางในการออกแบบห้องสมุดมาเยอะแล้ว
มันเป็นแนวโน้มด้านการออกแบบที่ทุกคนก็น่าจะสังเกตได้ นั่นคือ
3 ความจริงจากประสบการณ์ของนักออกแบบเว็บไซต์ห้องสมุด
บทความใน Lisnews ที่ผมนำมาแปลและถ่ายทอดวันนี้
อาจเป็นเพียงแค่ความคิดของนักออกแบบเว็บไซต์ห้องสมุดเพียง 1 คน
ความคิดที่เขาถ่ายทอดออกมา มันโดนใจผมและทำให้ผมยอมรับได้ว่าจริง
เรื่องของการออกแบบเว็บไซต์ห้องสมุดและการทำเว็บไซต์ห้องสมุดดีๆ
มีหลายคนชอบถามผมว่า “ต้องเป็นแบบไหน” “ต้องมีอะไร” “ต้องทำอะไรได้บ้าง”
ผมจึงตัดสินใจนำแนวคิดของผู้มีประสบการณ์กว่า 15 ปี มาแปล/เรียบเรียงให้อ่าน
Pinterest กับการหาไอเดียตกแต่งห้องสมุดในเทศกาลคริสต์มาส
เดือนสุดท้ายของปี หากผมไม่เขียนเรื่องนี้ก็คงแปลกๆ นะครับ
วันนี้ผมขอแนะนำวิธีการหาไอเดียเพื่อการตกแต่งห้องสมุดในบรรยากาศเทศกาลคริสต์มาส
เพื่อให้เพื่อนๆ ได้มีมุมมองใหม่ๆ และได้ไอเดียเก๋ๆ ไว้สร้างบรรยากาศในห้องสมุด
ตาข่ายแห่งการเรียนรู้ : พื้นที่อ่านแนวใหม่สำหรับห้องสมุด
บริษัท PlayOffice (ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและสร้างสรรค์พื้นที่เพื่อการเรียนรู้) จากประเทศสเปน
ได้ออกแบบแนวคิดในการอ่านแบบไร้ขีดจำกัด ให้กับบรรดาห้องสมุดต่างๆ ในประเทศสเปน
โดยใช้แนวคิด Reading Net หรือ “โครงข่ายแห่งการอ่าน”
Reading Net ความแปลกใหม่บนพื้นที่แห่งการเรียนรู้ ที่แฝงไปด้วยความสนุก การใช้งานได้จริง เพิ่มพื้นที่ให้กับห้องสมุด
แนวคิดง่ายๆ คือ การนำตาข่ายมาขึงเพื่อให้สามารถนอนอ่าน นั่งอ่าน ….
จริงๆ แล้วตอนแรกผมนึกถึงเปลญวนที่มีไว้นอนเล่น ใต้เงาไม้แบบร่มๆ (นึกแล้วอยากนอนเลย)
ผมเห็นไอเดียนี้แล้วนึกถึงแบบแปลนของห้องสมุดประชาชนต่างๆ ในประเทศขึ้นมาเลย
โดยเฉพาะห้องสมุดที่มี 2 ชั้น แล้วช่วงกลางของอาคารเป็นพื้นที่โล่ง
ถ้ามี Reading net แบบนี้มาขึงคงสร้างบรรยากาศ ความแปลกใหม่ให้มากทีเดียว
แต่เรื่องนี้คงต้องศึกษากันอย่างละเอียดนะครับ
เพราะความปลอดภัยเป็นเรื่องที่ต้องมาเป็นอันดับ 1
เอาเป็นว่าต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบกันด้วยแล้วกันครับ
Credit photo : http://www.designboom.com/design/reading-net-turns-libraries-into-hanging-learning-labs-11-13-2013/
แนวคิดการออกแบบห้องสมุด – 10 สิ่งที่ผู้ใช้ต้องการจากห้องสมุด
วันนี้ขอนำบทความเก่าจากบล็อกเดิม projectlib มาเล่าใหม่สักนิดนะครับ
เนื่องจากเห็นว่าช่วงนี้มีคำถามเกี่ยวกับเรื่องของการศึกษาพฤติกรรมผู้ใช้บริการห้องสมุดเยอะมาก
เรื่องๆ นี้ต้นฉบับมาจากเรื่อง “10 สิ่งที่ผู้ใช้ต้องการจากห้องสมุด (แนวความคิดในการออกแบบห้องสมุด)”
ซึ่งผมแปลมาจากบทความ “Ten Things About What People Want”
ซึ่งบทความเรื่องนี้เขียนไว้เมื่อปี 2008 นะครับ โดย PLA (สมาคมห้องสมุดประชาชน) ซึ่งอยู่ภายใต้ ALA
ดังนั้นแน่นอนครับว่าเป็นบทความที่เหมาะกับห้องสมุดประชาชนมากๆ
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ถูกนำมาเผยแพร่เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาห้องสมุดประชาชนเป็นหลัก
โดยดึงรายละเอียดมาจากความต้องการของผู้ใช้บริการห้องสมุดประชาชน
บทความนี้นอกจากเจ้าหน้าที่ห้องสมุดแล้ว ผมขอแนะนำให้นักออกแบบอาคารได้นำข้อมูลส่วนนี้ไปใช้ด้วย
10 สิ่งที่ผู้ใช้ต้องการจากห้องสมุด มีดังนี้
1. Comfortable places (soft furniture, fireplaces, lights)
สถานที่ต้องสะดวกสบาย เช่น มีการจัดเฟอร์นิเจอร์สวยงาม มีแสงไฟสว่างเพียงพอ อากาศถ่ายเทสะดวก
2. Meeting rooms and study rooms
มีห้องประชุมกลุ่ม และห้องที่สามารถใช้ศึกษาร่วมกันได้
3. Supported services (self-check out, drive-up windows, outside pick-up lockers)
มีการสนับสนุนในงานบริการต่างๆ เพื่อความสะดวกของตัวผู้ใช้ เช่น บริการยืมคืนด้วยตัวเอง, ที่ฝากของหรือตู้ล็อกเกอร์เก็บของ
4. Food service (Vending is more practical than coffee shops)
มีบริการในส่วนอาหาร โดยอาจจะแยกมุมให้บริการต่างหาก
5. Multi-functional children’s areas (with special sized doors, murals)
มีมุมเพื่อกาศึกษาสำหรับเด็ก เช่น หนังสือเด็ก ของเล่นเด็ก
6. Teen friendly areas
มุมสำหรับวัยรุ่น (ไม่ต้องคิดลึกนะครับ มุมนี้เป็นมุมสำหรับทำกิจกรรมในช่วงสุดสัปดาห์ร่วมกัน เช่น มีการฝึกอบรม ฝึกปฏิบัติ หรือกิจกรรมอื่นๆ เช่น ฉายหนังในวันหยุดสุกสัปดาห์)
7. Retail-oriented merchandising (bookstore-like open face shelving)
นอกจากยืมคืนหนังสือ หรือบริการอ่านแล้ว ห้องสมุดควรมีส่วนที่เป็นการค้าด้วย เช่น ขายหนังสือที่น่าสนใจ หรืออุปกรณ์อื่นๆ
8. Technology (unobtrusive stations, wireless patios, RFD checkout)
เทคโนโลยีในห้องสมุดก็ต้องมีความทันสมัยตามยุค หรือตามสังคมให้ทัน เช่นมีบริการ wifi, ใช้ชิป rfid
9. Good way finding (more than just good signs – good paths)
มีวิธีเพื่อช่วยให้ผู้ใช้หาหนังสือได้เร็วขึ้น เช่น ทำป้ายบอกหมวดหมู่ติดตามชั้นหนังสือให้ชัดเจน บอกรายละเอียดครบถ้วน
10. Sustainable environment (energy efficiency, green materials, pollution free)
ดูแลสิ่งแวดล้อมด้วย เช่น มุมไหนที่มีผู้ใช้น้อยก็อาจจะเปิดเครื่องปรับอากาศให้น้อยลง บางที่ผมเคยเห็นว่าเครื่องใช้บางอย่างใช้แผงโซล่าห์เซลล์ด้วย
เป็นยังไงกันบ้างครับ ห้องสมุดที่เพื่อนๆ ทำงานอยู่มีลักษณะตามนี้หรือปล่าว
ถ้ามีนั่นก็หมายความว่า ท่านมีสิ่งที่ผู้ใช้บริการต้องการเรียบร้อยแล้ว
แต่ถ้าไม่มีก็ลองดูสิครับว่าจะทำอะไรได้บ้าง (10 สิ่งนี้ห้องสมุดอาจจะไม่ต้องมีทั้งหมดก็ได้นะ ขึ้นอยู่กับนโยบายขององค์กรเป็นหลักครับ)
ที่มา http://plablog.org
ห้องสมุดลอยน้ำ ทางเลือกใหม่ในการป้องกันน้ำท่วมในอนาคต
ช่วงนี้กระแสน้ำท่วมกำลังมาแรง ห้องสมุดหลายแห่งคงประสบปัญหาน้ำท่วมเช่นกัน
ตัวอย่างห้องสมุดที่ประสบปัญหาเรื่องน้ำท่วม เช่น ห้องสมุดประชาชนจังหวัดนครสวรรค์
แนวคิดเรื่องของการออกแบบสิ่งปลูกสร้างที่กำลังมาแรง คือ บ้านลอยน้ำ (Floating House)
ลองอ่านเรื่อง “แบบบ้านลอยน้ำ แบบแปลนแนวคิดจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ”
เอาหล่ะครับ แนวคิดแบบนี้ผมก็ขอเอามาต่อยอดกับเรื่องของห้องสมุดบ้างดีกว่า
นอกจาก trend ในเรื่องของห้องสมุดสีเขียว (Green library) หรือห้องสมุดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมกำลังมาแล้ว
หากนำความคิดของสิ่งปลูกสร้างลอยน้ำมารวมกับห้องสมุดสีเขียว (Floating House + Green Library)
มันจะได้ห้องสมุดลอยน้ำที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Floating Library)
หน้าตาแบบคร่าวๆ จะเป็นอย่างไร
(ภาพนี้ที่มาจาก http://the-queen-of-spades.deviantart.com/art/Floating-Library-163839594 แต่ผมไม่ทราบว่าที่นี่คือที่ไหนนะครับ ใครรู้ช่วยบอกด้วยครับ)
ภายในห้องสมุดลอยน้ำที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมควรจะมีลักษณะอย่างไร
การลอยน้ำ
– มีจุดศูนย์ถ่วงดีเมื่อลอยน้ำแล้วต้องไม่เอียงไปทางใดทางหนึ่ง (ในภาพด้านบนคงไม่ได้มั้ง)
– มีจุดยึดไม่ให้อาคารลอยไปไหนได้แม้มีกระแสน้ำไหลรุนแรง (ปกติจะต้องมีเสาหลักยึดไว้เพื่อไม่ให้บ้านโคลงเคลง)
– สามารถรองรับจำนวนหนังสือที่เก็บได้จำนวนหนึ่ง (หนังสือหนักมากคงไม่สามารถจุดได้ถึงหมื่นเล่มหรอก)
การเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
– การติดตั้งแผงกระจกในทิศทางที่เหมาะสมเพื่อใช้แสงอาทิตย์ในการให้ความสว่างในอาคารอย่างทั่วถึง
– การติดตั้งหน้าต่างเมื่อให้อากาศถ่ายเทได้อย่างสะดวก และเพียงพอต่อสถานที่
– การจัดสภาพสิ่งแวดล้อมภายนอกอาคารห้องสมุด เพื่อให้ผู้เข้าใจรู้สึกผ่อนคลายไปกับธรรมชาติ
– การประหยัดพลังงานโดยอาศัยพลังงานบริสุทธิ์ต่างๆ เช่น แสงอาทิตย์ ลม ฯลฯ
เพิ่มเติมนิดนึง งบประมาณเรื่องการใช้พลังงานแสงอาทิตย์
การติดตั้งเครื่องผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ 400 W. (ราคา 144,450 บาท) อุปกรณ์ที่สามารถใช้ได้คือ
– หลอด 4 หลอด การทำงาน 4 ชั่วโมง/วัน
– เครื่องเล่น VCD ขนาด 25W 1 ชุด การทำงาน 6 ชั่วโมง/วัน
-โทรทัศน์ 21 inch ขนาด 70W 1 ชุด การทำงาน 6 ชั่วโมง/วัน
– วิทยุ ขนาด 3W 1 ชุด การทำงาน 6 ชั่วโมง/วัน
– พัดลม ขนาด40W 1 ชุด การทำงาน 4 ชั่วโมง/วัน
– ปั๊มน้ำ ขนาด 80W 1 ชุด การทำงาน 1 ชั่วโมง/วัน
ที่มาจาก http://www.tarad.in.th/index.php/%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3/%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3-A/flypage.tpl.html
ความเป็นไปได้ของห้องสมุดลอยน้ำคงต้องได้รับการพัฒนาอีกมากนะครับ เนื่องจากความเป็นจริงแล้วถ้าเป็นบ้านลอยน้ำผมเชื่อว่าคงมีปัจจัยเรื่องน้ำหนักของสิ่งของภายในสิ่งปลูกสร้างเป็นตัวกำหนดด้วยเช่นกัน ห้องสมุดเองจัดเก็บหนังสือมากๆ ก็คงไม่ได้เนื่องจากจะทำให้มีน้ำหนักมากเกินกว่าจะลอยน้ำได้ ยังไงก็คงต้องหาวิธีจัดการกันอีกที
ปล. หลักการดังกล่าวนี้คงเหมาะสำหรับห้องสมุดที่มีสถานที่เป็นเอกเทศ ไม่ได้อยู่ติดกับอาคารใดๆ
ถึงที่สุดแล้วถ้าไม่สามารถสร้างตึกหรืออาคารลอยน้ำได้ ก็จัดห้องสมุดบนเรือซะเลยก็ได้นะครับ (วิธีนี้ก็โอเค) แต่อาจจะได้ห้องสมุดขนาดย่อมๆ หน่อย
เอาหล่ะครับ สิ่งที่อยากจะบอกจริงๆ จากเรื่องนี้ คือ หากหน่วยงานหรือใครอยากจะสร้างห้องสมุดใหม่ในอนาคต ผมอยากให้คำนึงถึงเรื่องภัยพิบัติต่างๆ ไว้ด้วย ไม่ต้องออกแบบมากมายหรอกครับแค่อย่างน้อยขอให้มีแผนสำหรับรับมือกับภัยพิบัติในรูปแบบต่างๆ ติดไว้ในห้องสมุดสำหรับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานก็จะดีมากๆ ครับ
หมายเหตุ ที่เขียนมาทั้งหมดนี้เป็นเพียงความคิดส่วนตัวของผมนะครับ
เคาน์เตอร์บรรณารักษ์ในห้องสมุดที่ทำจากหนังสือ
วันนี้เจอภาพการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ห้องสมุดที่น่าสนใจมากๆ เลยไม่พลาดที่จะเอามาอวด
เฟอร์นิเจอร์ที่จะเขียนถึงนี้เป็นเฟอร์นิเจอร์ที่ใกล้ตัวบรรณารักษ์ นั่นคือ “เคาน์เตอร์บรรณารักษ์” นั่นเอง
เคาน์เตอร์บรรณารักษ์ที่เพื่อนๆ มักคุ้นตาก็มักจะเป็นเคาน์เตอร์ที่เป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้ใช่มั้ยครับ
บางที่อาจจะเป็นโครงเหล็กและปะด้วยไม้ หรือบางที่ก็นำโต๊ะทำงานออฟฟิตมาเป็นเคาน์เตอร์
ครั้งแรกที่ผมได้เห็นภาพนี้ ถึงกับอึ้งไปชั่วขณะเลยครับ
นั่นมันหนังสือนี่หน่า เอาหนังสือมาวางเรียงๆ กันแล้วเอาแผ่นกระจกวางไว้ข้างบนนี่
ผมว่ามันเป็นการออกแบบที่บ้าคลั่งมากๆ ครับ
แต่พอพิจารณาจากแนวความคิดของผู้ออกแบบแล้ว เหตุผลก็ฟังดูเข้าท่าเหมือนกัน
คือ นำหนังสือเก่าหรือหนังสือที่ไม่ได้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้มาวางเรียงๆ กัน
โดยให้เท่ากับความสูงที่บรรณารักษืจะสามารถนั่งให้บริการได้สบายๆ
จากนั้นก็วางแผ่นกระจกสักนิดเพื่อให้สามารถเป็นพื้นที่ในการเขียนหรือทำงานอย่างอื่นๆ ได้
เอาเป็นว่าเอาของที่ไม่ได้ใช้มาทำให้เกิดประโยชน์แบบนี้แหละ “รีไซเคิล”
ถามว่าสวยมั้ย ผมว่าก็ถือว่าใช้ได้เลยทีเดียว ดูคลาสสิคไปอีกแบบนะ
เพื่อนๆ ชอบกันบ้างหรือปล่าว (แต่ผมว่าคนที่รักหนังสือคงไม่เห็นด้วยแน่ๆ เลย)
ปล. จริงๆ หรือการนำหนังสือมารีไซเคิลทำนู้นนี่ยังมีตัวอย่างอีกเยอะนะครับ
เช่น ช่องระบายลมที่ทำจากหนังสือ (หลายหมื่นเล่มเลยแหละ)
http://inhabitat.com/2010/08/05/mind-blowing-building-built-from-thousands-of-books/
ตัวอย่างอีกที่คือห้องที่ทำจากหนังสือ
http://inhabitat.com/2010/02/24/book-cell-an-octagonal-building-made-entirely-from-books/
เอาหนังสือเก่าๆ มาแต่งสวนก็เข้าท่านะ
http://inhabitat.com/2010/08/17/living-garden-of-knowledge-made-from-40000-books/
เคาน์เตอร์นี้อยู่ที่ Delft University of Technology
http://inhabitat.com/2010/09/13/tu-delft-architecture-library-opens-with-desk-of-recycled-books/
ที่มาของเรื่องนี้ http://www.recyclart.org/2010/09/library-information-desk/
ต่อยอดองค์ความรู้เรื่องนี้จาก http://inhabitat.com/2010/09/13/tu-delft-architecture-library-opens-with-desk-of-recycled-books/