Session นี้เป็น Session ที่ผมเป็นผู้ดำเนินรายการบนเวที
วิทยากรหลักของการเสวนานี้ คือ คุณชมัยภร (แสงกระจ่าง) บางคมบาง และ คุณบุญเลิศ อรุณพิบูลย์
เสวนานี้จะมันส์แค่ไหน มาอ่านได้เลยครับ
————————————————————————————————
ห้องสมุดสำหรับคนรักห้องสมุด บรรณารักษ์ และหนังสือ
Session นี้เป็น Session ที่ผมเป็นผู้ดำเนินรายการบนเวที
วิทยากรหลักของการเสวนานี้ คือ คุณชมัยภร (แสงกระจ่าง) บางคมบาง และ คุณบุญเลิศ อรุณพิบูลย์
เสวนานี้จะมันส์แค่ไหน มาอ่านได้เลยครับ
————————————————————————————————
เรื่องชวนปวดหัวที่ว่านี้ ผมว่าเพื่อนๆ บางคนอาจจะไม่เข้าใจว่า “เรื่องแค่นี้เอง” ไม่เห็นมันจะน่าปวดหัวตรงไหนเลย เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ลองอ่านแล้ว ลองดูนะครับว่าถ้าเพื่อนๆ อยุ่ในสถานการณ์ต่างๆ ทั้ง 17 เรื่องนี้ เพื่อนๆ จะทำอย่างไร
17 เรื่องชวนปวดหัว ที่จะมีเพียงคนรักหนังสือเท่านั้นที่เข้าใจ
1. เมื่อมีคนมาถามคุณว่า “หนังสืออะไรที่คุณชื่นชอบมาที่สุด” และขอให้หยิบมาให้เขาหน่อย
(บางทีหนังสือที่ผมชอบที่สุด ผมอาจจะไม่ได้ซื้อเก็บไว้ก็ได้จริงมั้ยครับ)
2. เมื่อใครบางคนมารบกวนคุณในขณะที่กำลังอ่านหนังสือเพลินๆ
(บางครั้งอาจจะทำให้ต้องย้อนกลับมาอ่านใหม่ตั้งแต่ต้น)
3. เมื่อหนังสือที่อ่าน ถูกำออกมาเป็นภาพยนตร์ แล้วไม่ตรงกับที่เคยอ่าน
(อันนี้เจอบ่อยมากครับ แอบเจ็บใจเล็กๆ เวลาเล่าให้เพื่อนฟังแล้วออกมาไม่ตรงกับที่เล่า)
4. เมื่อตัวอักษรในหนังสือปะปนอยู่ในรูปภาพจนอ่านไม่รู้เรื่อง
(เรื่องนี้ก็จริงนะ บางครั้งเราเสียสมาธิกับการอ่านเพราะรูปภาพนี่แหละ)
5. เมื่อคุณจะเล่าเรื่องอะไรก็ตามให้กับคนที่เขาไม่ชอบอ่านเรื่องๆ นั้น
(เล่าให้คนที่ไม่รู้เรื่องฟัง ประเด็นคือ จบ)
6. เมื่อคุณลืมกินหรือนอนเพราะมัวแต่ติดกับการอ่านหนังสือที่ชอบ
(หนังสือที่ชอบอ่านไปอ่านมารู้ตัวอีกทีเช้าแล้ว….)
7. เมื่อตัวละครที่คุณชอบตาย… เมื่อคุณคิดว่าเดี๋ยวตัวละคที่ชอบตัวนั้นจะฟื้น มันก็ไม่ฟื้น
(อันนี้ออกแนวเสียความรู้สึกเล็กๆ)
8. เมื่อหนังสือที่คุณชอบถูกวิจารณ์อย่างไม่เข้าท่า
(มาวิจารณ์อะไรนักหนา)
9. เมื่อผู้เขียนหยุดเขียนเรื่อง (ทั้งๆ ที่จะต้องมีภาคต่อ)
(อ่านแล้วค้างคา แบบเซ็งมาหลายเรื่องแล้ว)
10. บางมีคนมาสปอยตอนจบให้เราฟัง
(บ้านเราเยอะนะเรื่องนี้)
11. เมื่อคุณเดินเข้าร้านหนังสือ
(นักอ่านตัวจริงจะต้องเสียเงินมากมาย อิอิ)
12. เมื่อคุณให้คนอื่นยืมหนังสือไปแล้ว เขาคืนกลับมาด้วยสภาพที่ไม่เหมือนเดิม
(บรรณารักษ์ชวนคิดนะ)
13. (ต่อจากข้อเมื่อกี้) ให้ยืมไปแล้ว ไม่ได้คืนกลับมา
(อันนี้เสียความรู้สึกอย่างหนัก)
14. เมื่อคุณอ่านเรื่องจบแล้ว ต้องรอภาคต่ออีกเป็นปี
(จะให้รอทำไมนานๆ)
15. เมื่อหนังสือทำให้คุณร้องไห้ในที่สาธารณะ แล้วคนรอบข้างคิดว่าคุณบ้าน
(แอบบว่าอินเนอร์มันออกมา คนอื่นไม่เข้าใจอ่ะ)
16. เมื่อเรื่องที่อ่านคลุมเครือไม่ชัดเจน หาที่อ้างอิงก็ไม่ได้
(ต้องรีบหาที่มาทั้งที)
17. เมื่อมีคนพูดว่าคุณอ่านเยอะเกินไป
(ก็เรื่องของฉัน….)
เอาเป็นว่าเรื่องน่าปวดหัวทั้ง 17 เรื่องนี้ ผมว่าเพื่อนๆ ทำความเข้าใจได้ง่ายเลย
เพราะเพื่อนๆ คงเป็นนักอ่านกันจริงๆ ใช่มั้ยครับ….
ที่มาของเรื่องนี้ 17 Problems Only Book Lovers Will Understand
ปล. อยากให้ดูรูปประกอบมากๆ ตลกดี
เมื่อสัปดาห์ก่อนผมเห็นเพื่อนๆ ถามถึงกันมากว่าในวันสิ้นปีจะ count down ที่ไหน และจะทำอะไรข้ามปี คำตอบที่ได้ส่วนใหญ่จะคล้ายๆ กัน คือ “ไปนับถอยหลังกับเพื่อนๆ” บ้าง “อยู่นับถอยหลังกับครอบครัวที่บ้าน“บ้าง และกิจกรรมอีกกิจกรรมที่คนให้ความสนใจกันเยอะคือ “การสวดมนต์ข้ามปี” ผมจึงจัดทำรูปภาพขึ้นมาสำหรับเพื่อนๆ ชาวเครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทยว่า
“สำหรับชาวห้องสมุด ใครที่ยังไม่มีโปรแกรมสำหรับวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ผมขอแนะนำ อ่านหนังสือข้ามปี กระแสใหม่สำหรับหนอนหนังสือ”
ซึ่งหลังจากที่ทำรูปภาพนั้นเสร็จ ผมก็คิดทันทีว่า “ลองจัดกิจกรรมแปลกๆ ดูกันมั้ย”
ผมจึงลงประกาศใต้รูปว่า
“ไม่ต้องทำตามแบบใคร เราก็มีกิจกรรม countdown ได้ตามสไตล์เรา (ห้องสมุดและบรรณารักษ์) นายห้องสมุดขอชวนเพื่อนๆ อ่านหนังสือข้ามปีเพื่อสร้างกระแสการรักการอ่าน ในคืนส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ถ่ายภาพของคุณกับหนังสือที่คุณจะใช้อ่านข้ามปี แล้วโพสมาที่เพจเครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย 10 คนแรกที่โพสมาจะได้รับของที่ระลึกเก๋ๆ จากนายห้องสมุดจ้า ปล. ส่งได้หลังเที่ยงคืนของวันที่ 31 ธันวาคม 2555 นะครับ ประกาศผลในวันที่ 1 มกราคม 2556 ครับ”
นอกจากนั้นผมยังทำรูปขึ้นมาอีกรูปเพื่อย้ำถึงกิจกรรมนี้
ซึ่งในคืนวันที่ 31 ธันวาคม 2555 ผมก็นั่งลุ้นดูว่าจะมีเพื่อนๆ สนใจกิจกรรมนี้กันหรือไม่ จะมีคนมาร่วมลุ้นรางวัลกับผมหรือเปล่า (ตั้งใจว่าจะแจกของที่ระลึก 10 รางวัลนะ) แต่ผลออกมาว่า
มีผู้ร่วมสนุกกับกิจกรรม “อ่านข้ามปี” กับเครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย จำนวน 7 คน
เราไปดูผลงานของทั้ง 7 คนเลยดีกว่าว่า เขาอ่านอะไรกันบ้าง
คนที่ 1 : “Nuan Kesaree”
อ่าน : “เมฆาสัญจร (Cloud Atlas)”
คนที่ 2 : “Siriluk Okaoka”
อ่าน : “หัวใจรักมังกรอหังการ”
คนที่ 3 : “Ilham Seng”
อ่าน : “คู่มือเพิ่มความสุขทุกๆวัน”
คนที่ 4 : “Pretty Lib”
อ่าน : “แฟรี่วอร์ : ดอกไม้แห่งกาลเวลา”
คนที่ 5 : “Chaninthron Uanlam”
อ่าน : “เล่าเรื่อง ขุนช้าง ขุนแผน”
คนที่ 6 : “Piraporn Kiewkhen”
อ่าน : “บทสวดพลจักรรัตนสูตรเพื่อกำจัดภัยพิบัติดั่งสมัยพุทธกาล”
คนที่ 7 : “Natthicha Smile Klongklaew”
อ่าน : “คนตายยาก”
เอาเป็นว่าผมก็ขอขอบคุณทุกท่านที่ร่วมสนุกกับกิจกรรม “อ่านข้ามปี” ของผมนะครับ
ขอสรุปรายชื่อผู้โชคดีทั้ง 7 คน ดังนี้
1. Nuan Kesaree
2. Siriluk Okaoka
3. Ilham Seng
4. Pretty Lib
5. Chaninthron Uanlam
6. Piraporn Kiewkhen
7. Natthicha Smile Klongklaew
ผู้ที่มีรายชื่อดังกล่าวเดี๋ยวผมจะติดต่อไปหลังไมค์นะครับ
เพื่อขอที่อยู่และจะจัดส่งของที่ระลึกไปให้
เอาเป็นว่าปีหน้าค่อยมาเจอกันใหม่กับการ “อ่านข้ามปี” ของเครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทยนะครับ หวังว่าจะมีผู้เข้าร่วมมากกว่านี้ กติกาจะเป็นยังไงปีหน้าต้องติดตามกัน อิอิ
เมื่อสองวันก่อนเปิดประเด็นชวนคิดให้ชาวห้องสมุดและบรรณารักษ์ได้ตอบกัน โดยคำถามมีอยู่ว่า “เพื่อนๆ คิดว่าการอ่านมีประโยชน์อย่างไรบ้าง” (ขอนิยามแบบสั้นๆ นะครับ) ซึ่งเพื่อนๆ ได้ตอบกันมาเยอะพอสมควร ผมจึงขอนำมาลงให้ทุกท่านได้อ่านกัน
ปล. บล็อกเรื่องนี้ถือว่าเพื่อนๆ ทุกคนช่วยกันเขียนนะครับ ขอบคุณเพื่อนๆ ที่มีส่วนร่วม
“เพื่อนๆ คิดว่าการอ่านมีประโยชน์อย่างไรบ้าง” (ขอนิยามแบบสั้นๆ นะครับ)
คำตอบจากกลุ่ม Librarian in Thailand ใน Facebook
1. Improvised Heart – การอ่านมีประโยชน์ ดังนี้ 1. ทำให้เกิดจินตนาการ เพราะการอ่านจะทำให้เราคิดภาพไปด้วย (แต่จินตนาการแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละคน) และ 2. ทำให้ได้รับความรู้มากขึ้น (แน่ล่ะ)
2. Cybrarian Cyberworld – Open my life,open my world ,change my life ,change my world & change one’s idea…
3. Aobfie Thiyaphun – อ่านเพื่อ.. ได้รู้ ได้คิด
4. สุดหล่อ ก่ะ เด็กซื่อ – Today a reader, tomorrow a leader
5. Sornor Toom – การอ่านคือ ขุมทรัพย์แห่งปัญญา
6. บรรณารักษ์ เจน – เปิดหูเปิดตา , เกิดปัญญา , มีเรื่องคุย
7. Aobfie Thiyaphun – อ่านเพื่อ…กด Like และ กด แชร์ ^^
8. Jakapon Patpongpun – เรียนรู้เพื่อรับปริญญาชีวิต
9. Aobfie Thiyaphun – อ่านเพื่อ.. เสริมสร้างภูมิปัญญา พัฒนาความคิด เพิ่มคุณภาพชีวิต อุทิศคืนสู่สังคม…
10. Sorravee Tungwongthavornkij – การอ่านคือ การพัฒนาชีวิต
11. Alich Jutarat Chomsuntia – การอ่านเป็นประตูบานแรกที่จะเปิดสู่โลกของการศึกษาค่ะ^^
12. Jung Bi Yoon – การอ่านคือการเรียนรู้แบบ hi speed เพราะได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์คนอื่น 😉
13. เสาวณีย์ เจ๊ะหนุ่ม – การอ่านทำให้คุยกับคนในสังคมรู้เรื่อง
14. Aobfie Thiyaphun การอ่าน “เรื่องจริง” ทำให้เข้าใจถูก…การอ่าน “เรื่องเท็จ” ทำให้เข้าใจผิด…การอ่านจึงต้องใช้ “วิจารณญาน” ประกอบด้วย ^^
15. สุนทรี เซี่ยงว่อง – การอ่านทำให้เราฉลาดขึ้น เข้าใจตัวเอง และเข้าใจคนรอบข้าง รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา
16. Cabinlazz Lizzie – การอ่านคือชีวิต เพราะถ้าไม่ได้อ่านกระทั่งฉลากยา ก็คงกินยาผิดค่ะ
17. ประพาฬรัตน์ เจริญศิริรุ่งเรือง – ”การอ่าน” คือการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในชีวิตประจำวัน ค่ะ
18. Kritsana C Thipsy – การอ่านมาจากความความ “อยาก” สิ่งที่ได้คือ ฉันรู้แล้ว
19. Thung Thailife – การอ่านคือ การที่เราทำความเข้าใจกับข่าวสารหรือเรื่องราวที่เราสนใจและนำมาพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง สังคม ให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น
20. Aom Khontharose – ทำให้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ของนักเขียน เช่น หนังสือที่ไปเที่ยวแต่ละประเทศก่อนที่จะได้ไปสัมผัสประสบการร์จริง
21. Nantana Krodtem – การอ่านเป็นการออกกำลังสมอง ช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์
22. Marootpong Aimmo – การอ่าน เปลี่ยนความคิด เปลี่ยนชีวิตครับ
23. Chattayathorn Lapath – การอ่าน ทำให้ได้ฝึกคิดจินตนาการ
24. เสือทอม สุดแรงปั่น – การอ่าน คือการแสวงหาความรู้
25. Chatchaya Kuntakate – การอ่าน คือ การเรียนรู้โลกและสังคม
คำตอบจาก Fanpage เครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย ใน Facebook
1. Nawapat Chanloy – เกิดจินตนาการกว้างไกล…
2. Maykin Likitboonyalit – เหงา เศร้า ซึม หนังสือช่วยแก้ได้นะ #การอ่านช่วยบำบัด
3. Pong Ping – ช่วยเปิดกระโหลก ให้ ความคิดกว้างไกล ไม่เป็นกบในกะลา
4. Somchai Tinyanont – การอ่านคือการพัฒนาตนเองที่ดีที่สุด
5. Nit Kumansit – การอ่าน คือ การรับความรู้ มาสร้างปัญญา เพื่อพัฒนาตน
6. บริการแปลล่ามอังกฤษไทย และเรียนภาษาออนไลน์ – การอ่านเป็นการเปิดประตูรับข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นจริง ที่จะนำมาใช้ให้อยู่รอดได้ทุกสถานการณ์
7. Chattayathorn Lapath – การอ่านทำให้เราเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต และเข้าถึงได้ทุกเพศทุกวัย ไม่จำกัดเวลาสถานที่^^
8. น้อยใจยา จ๋าจ๊ะ – การอ่านคือการพัฒนาชีวิตทำให้เกิดความคิดที่ก้าวไกล
9. Aom P. Chan – การอ่านทำให้คนเราเกิดการเรียนรู้และฉลาดมากยิ่งขึ้น
10. Porntip Mung – การอ่านเป็นการเปิดความคิด
11. Sophit Sukkanta – การอ่านช่วยให้เรารู้เขารู้เรา
12. Wanpen Srisupa – การอ่านคือบุญกับบาป
13. ขวัญจิตร เดชเดชะสุนันท์ – เปิดหนังสือเปลี่ยนความคิดชีวิตเปลี่ยน
เอาหล่ะครับเป็นยังไงกันบ้าง นี่แหละความมีส่วนร่วมของพี่น้องวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์แหละครับ
ถ้าเพื่อนๆ อ่านแล้วอยากเพิ่มเติมอะไรก็สามารถเข้ามา comment ต่อได้ด้านล่างนี้เลยนะครับ
สุดท้ายนี้ขอขอบคุณเพื่อนๆ ทุกท่านที่ร่วมแสดงความคิดเห็นครับ
วันนี้เจอภาพ Infographic นึงรู้สึกว่ามันน่าสนใจเลยเอามาฝากเพื่อนๆ กัน Infographic นี้ได้พูดถึงแนวโน้มและพฤติกรรมของการอ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบภาพรวม เช่น ทำไมถึงอ่าน อุปกรณ์อ่านที่เป็นที่นิยม ฯลฯ
เอาเป็นว่าไปชมภาพ Infographic กันก่อนเลยครับ
เป็นยังไงกันบ้างครับ น่าสนใจใช่มั้ยหล่ะ
สรุปข้อคิดและเนื้อเรื่องจาก Infographic นี้
การสำรวจข้อมูลครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างคือชาวอเมริกันที่มีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป
– เพศชายกับเพศหญิงมีสัดส่วนในการอ่าน E-book ใกล้เคียงกัน ช่วงอายุที่อ่านมากที่สุดอยู่ในช่วงอายุ 18-49 ปี และมีรายได้มากกว่า 50,000 เหรียญต่อปี
– เหตุผลในการอ่านหลักๆ คือ เพื่อการเรียนรู้, เพื่อหลบหนีความเป็นจริง และเพื่อความเป็นเทิง
– ในช่วงเวลาหนึ่งปี อัตราในการอ่านหนังสือโดยเฉลี่ย หนังสือประเภทสิ่งพิมพ์จำนวน 15 เล่ม และ E-book จำนวน 24 เล่ม
– อัตราของการซื้อหนังสือคนที่อ่าน E-book จะซื้อหนังสือมากกว่านักอ่านปกติ
– E-Reader ที่เป็นที่นิยมมากที่สุด คือ Kindle Fire
– แต่เมื่อเทียบ Kindle Fire กับ iPad คนใช้ iPad มากว่าหลายเท่า
ประเด็นสุดท้ายน่าสนใจมากๆ ครับ คือ “เหตุผล 4 ประการที่ไม่ซื้อ E-Reader”
1. ไม่จำเป็นหรือต้องการแค่ 1 (บางคนใช้ tablet ซึ่งแทนกันได้)
2. ไม่สามารถใช้ได้แค่คนๆ หนึ่ง (ไม่อยากใช้งานร่วมกับคนอื่น)
3. มีอุปกรณ์ดิจิทัลอื่นๆ อยู่แล้ว เช่น Tablet Notebook PC
4. ชอบหนังสือประเภทสิ่งพิมพ์มากกว่า
เอาหล่ะครับก็ขอฝากเรื่องราวดีๆ ไว้เพียงเท่านี้ก่อนแล้วกัน
“ไม่ว่าเทคโนโลยีจะก้าวหน้าเพิ่มขึ้นเพียงใด คนก็ยังคงต้องการแสวงหาความรู้มากขึ้นไปด้วย และการอ่านก็ช่วยให้เราได้เรียนรู้ในสิ่งต่างๆ ได้เช่นกัน รูปแบบของหนังสือจะเปลี่ยนไปแค่ไหน แต่คนเราก็ยังไม่ทิ้งหนังสือที่เป็นเล่มอยู่ดี”
วันนี้ผมขอนำเสนอข้อมูล Infographic ที่น่าสนใจในเรื่องที่เกี่ยวกับ Ebook นะครับ Infographic นี้นำเสนอเรื่องพฤติกรรมที่น่าสนใจของบรรดาผู้ที่ใช้ Ebook และ Ereader ซึ่งสำรวจข้อมูลในประเทศสหรัฐอเมริกา
เราไปชม Infographic นี้กันนี้
สรุปข้อมูลจาก Infographic ตัวนี้แบบคร่าวๆ นะครับ
– จำนวนคนที่อ่าน E-book มีมากขึ้น
– คนที่อ่าน E-books ส่วนหนึ่งก็ยังคงอ่านหนังสือที่เป็นฉบับพิมพ์ด้วย
– การเป็นเจ้าของ E-reader ก็มีจำนวนเพิ่มขึ้น
– คนอ่าน E-book ส่วนใหญ่ใช้ Ipad ในการอ่าน
– เหตุผลหลักของการอ่าน E-book คือ ความพอใจในอุปกรณ์การอ่าน
– นักอ่าน E-book นิยมการซื้อหนังสือ E-book มาอ่านมากกว่าการยืม E-book จากห้องสมุด
ประเด็นของ Infographic ชิ้นนี้ที่น่าสนใจอีกอย่างคือ การเปรียบเทียบการใช้งานตามวัตถุประสงค์ด้วย (ระหว่างหนังสือตัวเล่มกับ E-Book)
1. อ่านหนังสือในระหว่างการเดินทาง นิยม E-Book
2. อ่านหนังสือที่มีตัวเลือกเยอะๆ นิยม E-Book
3. การอ่านหนังสือกับเด็ก นิยม หนังสือที่เป็นตัวเล่ม
4. หนังสือที่อยากจะแชร์ให้คนอื่นได้อ่าน นิยม หนังสือที่เป็นตัวเล่ม
5. อ่านหนังสือก่อนนอน นิยม E-Book (คะแนนออกมาสู้สีมาก)
6. หนังสือที่ต้องการอ่านแบบเร็วๆ นิยม E-Book
เอาเป็นว่าที่สุดแล้ว Ebook และ หนังสือแบบตัวเล่มก็ยังคงต่างมีจุดดีและจุดด้อยต่างกัน ที่สำคัญเลือกให้เหมาะกับการใช้ชีวิตของเราน่าจะดีกว่านะครับ
กระแสของ Ebook และ Ereader เริ่มมีบทบาทที่ชัดเจนมากขึ้น จนผมเองยังต้องย้ำและนำเสนอข้อมูลเรื่องนี้มากขึ้นไปด้วย เพื่อให้วงการห้องสมุดและบรรณารักษ์รวมไปถึงวงการศึกษาในเมืองไทยเตรียมรับมือและเตรียมพร้อมเพื่อการพัฒนางานบริการต่างๆ ของเรา
พวกเราพร้อมหรือยังที่จะเตรียมให้บริการและพัฒนางานบริการของเรา
credit : http://www.onlineuniversities.com/e-book-nation
แนะนำหนังสือดีๆ มาพบกับเพื่อนอีกครั้งแล้วนะครับ ช่วงนี้ไปยืมหนังสือที่เกี่ยวกับห้องสมุดและการอ่านมาเยอะมากเลย วันนี้ขอยกมาแนะนำสักเล่มแล้วกัน ซึ่งหนังสือที่ผมแนะนำวันนี้ คือ “กำเนิดหนังสือของเด็กไทยสู่รุ่งอรุณของหนังสือโรงเรียน”
ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่อง : กำเนิดหนังสือของเด็กไทยสู่รุ่งอรุณของหนังสือโรงเรียน
สำนักพิมพ์ : แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน
จำนวนหน้า : 87 หน้า
ปีพิมพ์ : 2554
หนังสือเล่มนี้ถูกจัดพิมพ์โดยแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน มุ่งเน้นอยากให้เด็กและเยาวชนไทยได้เห็นความสำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์ของหนังสือ ซึ่งในหนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
1. กำเนิดหนังสือเด็กของไทย : จากสมุดไทยถึงยุคกำเนิดการพิมพ์
2. สร้างหนังสือ สร้างเด็กไทย ในยุคก้าวสู่การศึกษาแผนใหม่
3. รุ่งอรุณของหนังสือโรงเรียน : เพาะนักอ่าน หว่านเมล็ดพันธุ์ “นักเขียน” สู่บรรณพิภพ
จากการเปิดอ่านอย่างผ่านๆ ได้พบเห็นหัวข้อที่น่าสนใจมากมาย เช่น
1. กำเนิดหนังสือเด็กของไทย : จากสมุดไทยถึงยุคกำเนิดการพิมพ์
– หนังสือเล่มแรก ดวงแก้วแห่งปัญญาเด็กไทย (หนังสือที่ปรากฎหลักฐานว่าแต่งขึ้นสำหรับเด็กเล่มแรก ได้แก่ “จินดามณี”)
– หนังสือสอนทักษะชีวิตเล่มแรก คือ “สวัสดิรักษา” แต่งโดย สุนทรภู่
– แบบเรียนภาษาไทย เรียนความรู้ด้วยความงาม (แบบเรียนหลวง ของ พระยาศรีสุนทรโวหาร)
– การบันทึกข้อมูล (การจารึกบนศิลา เขียนบนใบลาน เขียนลงกระดาษข่อย พิมพ์อักษรไทย)
2. สร้างหนังสือ สร้างเด็กไทย ในยุคก้าวสู่การศึกษาแผนใหม่
– สร้างแบบเรียน คือ สร้าง “แบบ” เด็กไทย
– สร้างเสริมแบบเรียนไทยโดยบาทหลวงฝรั่ง
– หนังสือนิทาน-อ่านสนุก…ปลูกฝังความดีด้วยความงาม
– หนังสือดีที่ต้องห้มในสมัยรัชกาลที่ 6-7 (ทรัพยศาสตร์เล่ม 1-2 โดยพระยาสุริยานุวัตร)
– เพลงกล่อมเด็ก : จากมุขปาฐะสู่หนังสือเพื่อเด็กปฐมวัยเล่มแรก
3. รุ่งอรุณของหนังสือโรงเรียน : เพาะนักอ่าน หว่านเมล็ดพันธุ์ “นักเขียน” สู่บรรณพิภพ
– นิตยสารหรือจดหมายข่าวสำหรับเด็ก ซึ่งส่วนใหญ่จัดทำโดยโรงเรียนต่างๆ เช่น
— จดหมายเหตุแสงอรุณ : แสงแรกแห่งอรุณของนิตยสารเพื่อเด็ก (จัดทำโดยโรงเรียนกุลสตรีวังหลัง)
— กุลสัตรี : ปฐมฤกษ์เพื่อโรงเรียนสตรีและนักเรียนสตรี (นิตยสารของมหามกุฏราชวิทยาลัย)
— ราชินีบำรุง : สื่อสร้างเสริมคุณภาพผู้หญิงยุคใหม่ (ของโรงเรียนราชินี)
— อัสสัมชัญอุโฆษสมัย : จากครูฝรั่งถึงนักเรียนไทย ก้องไกลในกระแสกาล (ของโรงเรียนอัสสัมชัญ)
— แถลงการศึกษาเทพศิรินทร์ : แปลงเพาะต้นกล้า “นักประพันธ์” (ของโรงเรียนเทพศิรินทร์)
– นักเขียนที่มีบทบาทและสำคัญในอดีต
— “ศรีบูรพา” กุหลาบ สายประดิษฐ์ : บุคคลสำคัญของโลกทางศิลปวัฒนธรรม
— ม.จ.อากาศดำเกิง : เปิดโลกและชีวิตด้วย ละครแห่งชีวิต
— สด กูรมะโรหิต : ผู้สร้างอาณาจักรจรรโลงวรรณกรรม
นี่ก็เป็นตัวอย่างเรื่องเด็ดๆ ที่เราจะได้อ่านจากหนังสือเล่มนี้
เอาเป็นว่าผมได้เข้าใจและเห็นที่มาที่ไปของประวัติศาสตร์หนังสือเด็กที่อธิบายได้ดีทีเดียว
เอาเป็นว่าเพื่อนๆ สามารถหาหนังสือเล่มนี้ได้ที่ TKpark เลยนะครับ ยืมมาอ่านได้ฟรีเลยครับ
หรือไม่ผมก็ขอแนะนำให้อ่านออนไลน์ไปเลยที่ http://issuu.com/happy2reading/docs/happyreading7
อย่าลืมไปหาอ่านกันเยอะๆ นะครับ ลองดูแล้วคุณจะชอบหนังสือเล่มนี้เหมือนผม
แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน http://www.happyreading.in.th/
เพื่อนๆ จำกันได้หรือปล่าว ว่าเมื่อเดือนที่แล้วผมทำแบบสำรวจเรื่องพฤติกรรมการอ่านหนังสือของเพื่อนๆ (ลองอ่านดูย้อนหลังได้ที่ Libraryhub ขอสำรวจพฤติกรรมการอ่านหนังสือของท่าน) ในบทความนั้นผมสัญญาไว้ว่าจะนำผลการสำรวจมาทำเป็น Infographic ให้ชม ไปดูกันเลยครับ
เป็นยังไงกันบ้างครับ ผมขอสรุปจากแบบสำรวจเรื่องพฤติกรรมการอ่านหนังสือของเพื่อนๆ อีกครั้งแล้วกัน ซึ่งมีข้อมูลดังนี้
– ผู้ที่ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 125 คน ซึ่งแบ่งเป็นเพศหญิง 96 คนและเพศชาย 29 คน
– หนังสือในกลุ่มบันเทิงคดี เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น การ์ตูน ได้รับความนิยมในการอ่านมากที่สุด รองลงมาเป็นหนังสืออื่นๆ ทั่วไป และนิตยสาร ส่วนหนังสือในกลุ่มหนังสือพิมพ์และตำราเรียนได้รับความนิยมในการอ่านน้อย (สาเหตุอาจจะมาจากการติดตามข่าวสารผ่านเว็บไซต์รวดเร็วกว่าการติดตามผ่านสื่อสิ่งพิมพ์)
– ช่วงเวลาที่ผู้อ่านชอบอ่านมากที่สุด คือ ช่วงเวลากลางคืน (ไม่ได้หมายความว่าอ่านหลังเที่ยงคืนนะครับ แต่เป็นการอ่านหลังจากการทำงานหรือเรียนแล้วกลับมาถึงบ้านตั้งแต่หัวค่ำเป็นต้นไป)
– นักอ่านก็ยังคงชอบการอ่านผ่านสื่อสิ่งพิมพ์มากกว่าสื่ออิเล็กทรอนิกส์อยู่
เอาเป็นว่าผมก็ต้องขอขอบคุณทุกท่านที่ตอบแบบสำรวจในครั้งนี้นะครับ
ไว้วันหลังจะหาข้อมูลอะไรดีๆ แบบดีมาทำเป็น Infographic ให้ดูเล่นกันอีก
ปล. ภาพขยายได้นะครับถ้าคลิ๊กที่รูป นำภาพไปแล้วก็เครดิตให้ด้วยนะครับ
ข้อมูลตั้งต้นสามารถดูได้ที่ http://www.libraryhub.in.th/2011/11/14/poll-libraryhub-reading-for-make-infographic/
ช่วงนี้เห็นหลายๆ คน พูดถึงเรื่องความสำคัญของการอ่านมากขึ้นเรื่อยๆ
วันนี้ผมจึงขอแนะนำหนังสืออีกสักเล่มที่เกี่ยวกับการอ่านมาฝาก
ชื่อเรื่องของหนังสือเล่มนี้ คือ “พัฒนาการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยวิธี SQ3R”
ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่อง : พัฒนาการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยวิธี SQ3R
สำนักพิมพ์ : สุวีริยาสาส์น
ISBN : 9789741329526
จำนวนหน้า : 152 หน้า
ปีพิมพ์ : 2551
หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็นสองส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนที่เป็นทฤษฎีที่เกี่ยวกับการอ่าน และ ตัวอย่างแบบฝึก (แผนการสอนเรื่องการอ่าน)
บทที่ 1 และ 2 เป็นเรื่องทฤษฎีล้วนๆ พูดถึงความสำคัญของการอ่าน และเทคนิดการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
และตั้งแต่บทที่ 3 ไปจนถึงบทสุดท้ายจะเป็นเนื้อเรื่องตัวอย่างที่มีไว้ให้อ่าน ลองอ่านและทำแบบทดสอบดู
หลักๆ ที่ผมหยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาอ่านก็เพราะคำว่า “SQ3R” นั่นแหละครับ
พอได้อ่านและเข้าใจถึงแนวทางในการอ่านแล้ว ผมจึงรู้สึกว่าการอ่านอย่างมีวิจารณญาณมีความสำคัญมากๆ
เพื่อนๆ รู้หรือไม่ว่าการวัดผลสำเร็จของการอ่านอย่างมีวิจารณญาณมีอะไรบ้าง
หนังสือเล่มนี้รวบรวมจากนักวิชาการมาหลายคน เช่น อาจารย์เปลื้อง ณ นคร, อาจารย์อรษา บุญปัญญา ฯลฯ
ตัวอย่างการวัดว่าผู้อ่านมีทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณมากน้อยเพียงใด จะต้องดูจากสิ่งดังต่อไปนี้
– ความสามารถในการจำแนกประเภทของงานเขียน
– ความสามารถแยกแยะส่วนที่เป็นข้อเท็จจริง หรือข้อคิดเห็น
– ความสามารถอธิบายความหมายของคำศัพท์ สำนวน อุปมา
– การตัดสินสิ่งที่ถูกและสิ่งที่ผิด
– การบอกจุดประสงค์ของผู้เขียน
– การจับแนวความคิดหลัก
– การจับน้ำเสียงหรือความรู้สึกของผู้เขียน
– การบอกโครงเรื่องหรือสรุปเรื่อง
– การประเมินคุณค่าของเรื่องที่อ่าน
เอาหล่ะครับ เมื่อเรารู้แบบนี้แล้ว ผมจะได้อธิบายถึง หลัก SQ3R กันต่อเลย ว่ามันคืออะไรและย่อมาจากอะไร
การอ่านแบบ SQ3R ผู้ริเริ่ม คือ นายฟรานซิส พี โรบินสัน (ผู้เชี่ยวชาญด้านการอ่านจากมหาวิทยาลัยโอไฮโอ) เขาได้แนะนำเทคนิคนี้กับนักศึกษา ซึ่งการอ่านแบบนี้ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก
SQ3R = S Q R R R = Survey, Question, Read, Recite, Review
มาดูฉบับแปลไทยโดยอาจารย์ฉวีลักษณ์กันสักหน่อย
Survey = การสำรวจ = สำรวจ ชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ สารบัญ คำนำ รวมถึงแนวคิดและจุดมุ่งหมายในการเขียน
Question = การตั้งคำถาม = การพิจารณาให้แน่ชัดว่าเราต้องการคำตอบอะไรจากการอ่าน
Read = การอ่าน = อ่านเพื่อให้ได้คำตอบตามที่ตั้งคำถามโดยมุ่งหารายละเอียดเพื่อให้เกิดความกระจ่างชัดเจนในคำถาม
Recite = การจดจำ = เมื่อได้รับคำตอบแล้วควรมีการจดบันทึกไว้เพื่อเตือนความจำ
Review = การทบทวน = ต้องหมั่นทบทวนอย่างสม่ำเสมอ
เอาเป็นว่านี่ก็เป็นเพียงบทสรุปที่ผมอยากให้อ่านก็เท่านั้นนะครับ ถ้าอยากอ่านแบบเต็มๆ ก็หาอ่านได้ที่ร้านหนังสือซีเอ็ด หรือไม่ก็ห้องสมุดต่างๆ ก็น่าจะต้องมีหนังสือเล่มนี้นะครับ
เอาเป็นว่าผมก็ขอแนะนำหนังสือเล่มนี้ไว้ให้เพื่อนๆ อีกสักเล่มหนึ่งแล้วกันนะครับ
อ่านอย่างเดียวไม่พอ ต้องอ่านและคิดวิเคราะห์ได้ด้วยถึงจะทำให้เรารู้จริง
แนะนำหนังสือดีๆ มาพบกับเพื่อนๆ อีกแล้วนะครับ ช่วงนี้อ่านหนังสือเยอะมากๆ เลยเนื่องจากอ่านเพื่อให้หายเครียดเรื่องน้ำท่วมอ่ะครับ (แอดมินกลายเป็นผู้ประสบภัยไปซะแล้ว) เมื่อวานเขียนเรื่อง “Libraryhub ขอสำรวจพฤติกรรมการอ่านหนังสือของท่าน” ดังนั้นวันนี้จึงขอแนะนำหนังสือที่เกี่ยวกับเรื่อง “การอ่านหนังสือ” แล้วกันครับ
ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่อง : 20 คมคิด ฝ่าวิกฤตการอ่าน
สำนักพิมพ์ : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้
ISBN : 9786167197296
จำนวนหน้า : 63 หน้า
ปีพิมพ์ : 2552
หนังสือเล่มนี้เป็นการรวบรวมมุมมองและข้อเสนอเรื่องการส่งเสริมการรักการอ่านจากบุคคลที่มีชื่อเสียง รวมถึงบุคคลที่ทำหน้าที่และเกี่ยวข้องกับการอ่าน
เอาเป็นว่าแต่ละคนกล่าวอะไรไว้บ้าง ลองอ่านได้เลยครับ (ปล. ตำแหน่งของบุคคลหลายๆ คนเป็นตำแหน่งในช่วงปี 2552 นะครับ)
1. อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ : นายกรัฐมนตรี
“การอ่านเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทรงพลังสำหรับมวลมนุษย์ เป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาตลอดชีวิต และเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดียิ่งสำหรับคนทุกคน”
2. จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
“การเติมเต็มการศึกษาตลอดชีวิต ให้ประชาชนมีความสามารถในการอ่าน การแสวงหาความรู้ เข้าถึงความรู้ได้ตลอดเวลา จากสื่อและวิธีการที่หลากหลายในยุคโลกาภิวัฒน์ เพื่อต่อยอดการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต”
3. ดร.วราภรณ์ สามโกเศศ : อดีต รมช.กระทรวงศึกษาธิการ
“รัฐบาลทุกชุดต้องทำเรื่องนี้ เพราะนโยบายรักการอ่านสำคัญมาก และคนในสังคมต้องเข้าใจว่า สังคมดีขึ้นต้องมาจากการศึกษาดี คุณภาพการศึกษาดี ต้องอ่านและเขียน เพราะนี่คือทักษะสำคัญในการครองชีพ”
4. ดร.ทัศนัย วงศ์พิเศษกุล : ผู้อำนวยการสำนักงานอุทยานการเรียนรู้
“ถ้าเราส่งเสริมการอ่านอย่างเต็มที่ แต่ไม่มีหนังสือดีๆ อะไรให้อ่าน ก็ไม่เกิดผล แต่ในขณะเดียวกันหากมีหนังสือออกมากองจำนวนมาก แต่ไม่ได้ให้ความสนใจที่จะส่งเสริมการอ่าน หนังสือก็จะกองอยู่อย่างนั้น ไม่มีคนอ่าน ทั้งนี้หนังสือจะมีชีวิตได้ก็ต่อเมื่อได้รับการจับต้อง ได้รับการอ่าน”
5. คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต : นายกสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย
“รัฐบาลต้องมีนโยบายการอ่านแบบครบวงจร คือ ส่งเสริมให้มีนักเขียนที่ดี ส่งเสริมให้สำนักพิมพ์สามารถจัดพิมพ์หนังสือที่มีคุณภาพ และมีช่องทางในการจำหน่ายที่กระจายไปอย่างทั่วถึง สนับสนุนให้ห้องสมุดประชาชน และห้องสมุดโรงเรียน มีกิจกรรมซึ่งสามารถจูงใจให้เด็กเข้าห้องสมุด รวมทั้งดึงเอาคนในชุมชนมาช่วยกันทำงานในห้องสมุด”
6. ชมัยภร แสงกระจ่าง : นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
“ทำให้การอ่านเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน เช่น จัดกลุ่มนักอ่าน อ่านแล้วเล่าสู่กันฟัง สร้างครอบครัวรักการอ่าน สร้างมุมการอ่านทุกที่ทุกเวลา ทำให้หนังสือราคาถูกและดี การยกย่องและให้กำลังใจนักอ่านและนักเขียนให้มากกว่าดารา”
7. ริสรวล อร่ามเจริญ : นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย
“ทุกวันอาทิตย์ในรายการนายกรัฐมนตรีพบประชาชน ควรให้นายกรัฐมนตรีพูดถึงการอ่านหนังสือหรือเล่านิทานให้เด็กฟัง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวว่า ผู้นำประเทศให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการอ่าน”
8. ดร.น้ำทิพย์ วิภาวิน : นายกสมาคมการอ่านแห่งประเทศไทย
“ภาครัฐซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายให้เกิดพลังทางสังคม ควรจะต้องสร้างนโยบายหลักเกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทยว่าต้องการให้เป็นเช่นใด”
9. เรืองศักดิ์ ปิ่นประทีป : กรรมการผู้จัดการ มูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก
“การอ่าน เป็นเรื่องที่มีความสำคัญและเป็นเรื่องใหญ่ของชาติ การสร้างนิสัยรักการอ่านจึงต้องทำในทุกกลุ่มอายุ คือ ตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์มารดา จนกระทั่งถึง ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป”
10. ผาณิต เกิดโชคชัย : ผู้อำนวยการฝ่ายศูนย์การเรียนรู้ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
“การใช้นโยบายภาษีในเชิงส่งเสริมผู้ประกอบการที่สัมพันธ์กับการอ่าน เพื่อให้มีต้นทุนที่เหมาะสมและเอื้อให้ผู้ซื้อมีอำนาจเป็นเจ้าของหนังสือหรือสื่อเรียนรู้เป็นของตนเองได้”
11. พฤหัส พหลกุลบุตร : ผู้อำนวยการฝ่ายละครการศึกษา กลุ่มมะขามป้อม
“เด็กต้องเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมเองจึงจะมีผลต่อกระบวนการเรียนรู้ของเขาทำให้กิจกรรมส่งเสริมการอ่านเป็นรูปธรรมจริงๆ และยั่งยืน”
12. ทศสิริ พูลนวล : บรรณาธิการบริหาร สำนักพิมพ์มูลนิธิเด็ก
“รัฐต้องเริ่มจากแผนพัฒนาทุนมนุษย์ ที่มีเป้าหมายชัดเจนว่า ในอีกกี่ปีข้างหน้าประเทศไทยต้องการประชากรที่มีทักษะชีวิตด้านใดบ้าง ประชากรของประเทศต้องพึ่งพาตนเองได้ รู้จักเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต ซึ่ง “การอ่าน” อยู่ในฐานะเครื่องมือในการพัฒนามนุษย์ที่สำคัญที่สุด”
13. จรัญ มาลัยกุล : มูลนิธิกระจกเงา
“ผู้ใหญ่เองก็ต้องอ่านด้วย อย่าไปคิดแค่ให้เด็กอ่านเท่านั้น ผู้ใหญ่ต้องยอมรับความจริงว่าการอ่านนั้นเป็นปัญหาของผู้ใหญ่ไม่ใช่ปัญหาของเด็ก”
14. เข็มพร วิรุณราพันธ์ : ผู้จัดการแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน สสส.
“การอ่านควรเป็นเรื่องของวิถีชีวิต ควรแทรกอยู่ในกิจกรรมสร้างสรรค์ของเด็ก ซึ่งบูรณาการอยู่ในหลายๆ เรื่อง ไม่ควรแยกออกไปต่างหาก เพราะการอ่านเป็นพื้นฐานสำคัญของเด็ก ถ้าจะทำยุทธศาสตร์เพื่อเด็ก การอ่านจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องผลักดันให้เกิดผลให้ได้”
15. ดร.อมรา ปฐภิญโญบูรณ์ : สถาบันส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ (สพร.) สำนักงาน กศน.
“ทุกๆ หน่วยของสังคมต้องช่วยกันสร้างกระบวนรัการอ่าน และควรที่จะสร้างค่านิยม “การอ่าน” ให้เป็นคุณลักษณะจำเป็นขั้นพื้นฐาน”
16. ดร.กมล รอดคล้าย : ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ
“ส่งเสริมการอ่านโดยระดมสรรพกำลัง ทำให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ และมีกลยุทธ์นอกกรอบ คือ มีนวัตกรรม เทคนิค วิธีการรูปแบบใหม่ๆ ที่จูงใจคนให้อ่านหนังสือ โดยอาจศึกษาตัวอย่างจากต่างประเทศ แล้วนำมาปรับให้เหมาะสมกับคนไทย”
17. ดร.จิรพรรณ ปุณเกษม : ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
“การส่งเสริมการอ่านต้องเริ่มจากเด็กเล็กๆ ระดับปฐมวัย ปัจจัยความสำเร็จของโครงการ Bookstart จึงอยู่ที่ความเข้าใจของพ่อแม่ ในการเลี้ยงดูเด็ก”
18. ดร.เยาวพา เดชะคุปต์ : โครงการบริการวิชาการ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
“ผู้ใหญ่ต้องช่วยดูแลให้เด็กอ่านหนังสือ หาหนังสือให้เด็กอ่าน ตระหนักในความสำคัญของเรื่องนี้ ไม่ปล่อยปละละเลย ซื้อหนังสือให้เด็ก แทนการให้เด็กเล่นแต่คอมพิวเตอร์”
19. สรวงธร นาวาผล : กลุ่ม We are happy
“หนังสือต้องอยู่ในใจเด็ก ให้เด็กได้สัมผัสประสบการณ์จากการอ่านหนังสือ ได้เป็นเจ้าของ และมีความสุขกับหนังสือ โดยสร้างสุขภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการอ่านทั้งใน ครอบครัว และชุมชน”
20. วันทนีย์ นามะสนธิ : ผู้ช่วยกรรมการ สำนักกิจกรรมสังคม บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)
“ทุกคนในสังคมไทยประสานความร่วมมือกันสร้างสังคมแห่งการอ่าน อาทิ ผู้นำทางความคิด/ผู้นำทางสังคม มีนิสัยรักการอ่าน และเป็นต้นแบบอันดีให้กับเยาวชน และประชาชนในสังคม”
เป็นยังไงกันบ้างครับ ได้รับข้อคิดดีๆ เพียบเลยใช่มั้ยครับ
นี่แหละครับอย่างน้อยก็ทำให้เรารู้ว่า สังคมไทยก็ยังคงให้ความสำคัญกับการอ่านอยู่นะครับ
ผมเองก็อยากให้คนไทยอ่านหนังสือมากๆ ยิ่งอ่านมากภูมิคุ้มกันทางปัญญายิ่งมีมากเช่นกัน
ปล. หนังสือเล่มนี้สามารถยืมอ่านได้ที่สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ หรือ ห้องสมุด TK park นั่นเอง