Libraryhub ขอสำรวจพฤติกรรมการอ่านหนังสือของท่าน

วันนี้วันจันทร์คาดว่าหลายๆ คนคงยุ่งกับการทำงานมาก รวมถึงหลายๆ คนคงจะยุ่งกับเรื่องน้ำท่วมกันอยู่
วันนี้ผมขอใช้เวลาแบบสั้นๆ เพื่อขอเก็บข้อมูลเรื่องการอ่านของทุกๆ ท่านนะครับ


แบบสำรวจนี้ไม่ได้นำมาใช้เพื่อการวิจัยหรอกครับ เพียงแค่อยากรู้ว่าพฤติกรรมการอ่านหนังสือของเพื่อนๆ เป็นอย่างไร
เอาหล่ะครับขอรบกวนแค่กดเลือกคำตอบที่เป็นพฤติกรรมการอ่านของท่านจริงๆ นะครับ คำถามก็มีไม่กี่ข้อดังนี้

1. เรื่องเพศกับการอ่านหนังสือ

[poll id=”21″]

2. ประเภทหนังสือที่ท่านอ่าน

[poll id=”22″]

3. ช่วงเวลาที่อ่านหนังสือ

[poll id=”23″]

4. ชอบอ่านจากสื่อประเภทใด

[poll id=”24″]

คำถามก็ง่ายๆ ใช่มั้ยครับ ยังไงก็รบกวนตอบกันสักนิดแล้วกันครับ

แบบสำรวจนี้ผมขอตั้งเวลาในการปิดรับข้อมูล 1 เดือนนะครับ (ปิดรับคำตอบ 20 ธันวาคม 2554)
เพื่อที่จะนำข้อมูลในบล็อกเรื่องนี้มาจัดทำเป็น Infographicให้เพื่อนๆ ดูครับ
(คล้ายๆ กับเรื่อง http://www.libraryhub.in.th/2011/11/09/graphic-designer-and-reading-habits-infographic/)

ขอบคุณทุกๆ ท่านมากครับ

Infographic กราฟฟิกดีไซเนอร์กับพฤติกรรมการอ่านหนังสือ

Inforgraphic ที่นำเสนอวันนี้ เป็น Infographic ที่นำเสนอเรื่องพฤติกรรมการอ่านหนังสือของนักเรียนออกแบบกราฟิก MHCC (ว่าที่ graphic designer) (อาชีพที่ค่อนข้างยุ่งแต่มีเวลาอ่านหนังสือด้วยหรอ)

ภาพๆ นี้จัดทำโดยนักเรียนออกแบบกราฟิก MHCC คนนึง ที่รวบรวมข้อมูลการอ่านหนังสือของเพื่อนๆ ในชั้นเรียนด้วยกัน (Graphic Designer เช่นกัน)

ไปดูภาพกันเลยครับ

Graphic Designer and Reading Habits Infographic

เป็นยังไงบ้าง ว่าที่ Graphic designer ทำ Infographic จากข้อมูลใกล้ตัว (ผมว่ามันเยี่ยมมากจริงๆ นะ)

บทสรุปง่ายของภาพนี้ มีดังนี้

– Graphic Designer อ่านหนังสือเฉลี่ย 4.4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยผู้หญิงใช้เวลาในการอ่านมากกว่าผู้ชาย
– หนังสือในกลุ่มเรื่องแฟนตาซีถือว่าเป็นหนังสือที่ Graphic Designer ชอบอ่านมากที่สุด
– ช่วงเวลาที่ Graphic Designer อ่านหนังสือมากที่สุด คือ ช่วงกลางคืน
– Graphic Designer อ่านหนังสือจากตัวเล่มมากกว่าอ่านในสื่อดิจิตอล
– 44% ของ Graphic Designer ในชั้นเรียนนี้อ่านหนังสือมากกว่าดูทีวี
– สถานที่ที่ชอบอ่านที่สุด คือ ที่บ้าน โดยเฉพาะบนเตียงนอน

เห็นข้อมูลแล้วก็ตกใจจริงๆ นะครับว่า Graphic Designer ยังคงชอบอ่านหนังสืออยู่
เรื่องที่ไม่แปลกใจคือเรื่องสื่อที่อ่านครับ แน่นอน Graphic Designer คงทำงานคอมมาเยอะแล้วจึงขออ่านจากตัวเล่มหนังสือดีกว่าอ่านบนหน้าจอ

ไว้ว่างๆ ผมจะลองทำแบบสอบถามคล้ายๆ แบบนี้แล้วส่งให้เพื่อนๆ ทำดีกว่า
ผมก็อยากรู้เหมือนกันว่าบรรณารักษ์จะมีกี่เปอร์เซ็นต์ที่เป็นหนอนหนังสือ

ที่มาของภาพ Infographic จาก http://elisabethwdesign.blogspot.com/2011/05/infographic.html

อ่านอะไรดี : ไขปริศนาความสำเร็จห้องสมุดมีชีวิต

หนังสือน่าอ่านวันนี้ที่ผมอยากแนะนำ คือ หนังสือ “ไขปริศนาความสำเร็จห้องสมุดมีชีวิต” จากชุด TK ชวนอ่าน นั่นเอง หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ให้ข้อคิดและประสบการณ์ในการส่งเสริมการอ่านจากประเทศอังกฤษ เขียนโดย เกรซ เคมสเตอร์

ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่อง : ไขปริศนาความสำเร็จห้องสมุดมีชีวิต
ชื่อผู้แต่ง : คุณเกรซ เคมสเตอร์
สำนักพิมพ์ : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้
ISBN : 9789748284262
จำนวนหน้า : 92 หน้า
ราคา : 80 บาท

หลายๆ คนคงอาจจะสงสัยว่า คุณเกรซ เคมสเตอร์ คือใคร
คุณเกรซ เคมสเตอร์ อดีตผู้อำนวยการด้านงานบริการข้อมูล ของบริติชเคาน์ซิล ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการของสถาบัน Read On Write Away (สถาบันเพื่อบริการชุมชนด้านการอ่านออกเขียนได้และทักษะขั้นพื้นฐาน)

หนังสือเล่มนี้ที่เจาะเรื่องของประเทศอังกฤษเพราะว่า ประเทศอังกฤษเป็นประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางการศึกษาและการเรียนรู้ที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก และยังมีหน่วยงานที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการอ่านมากมายด้วย

ในหนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 4 บท ดังนี้
บทที่ 1 – เหตุใดการอ่านจึงสำคัญกับชีวิต
บทที่ 2 – 11 ข้อคิดเสริมสร้างบรรยากาศแห่งการอ่าน
บทที่ 3 – ปรับนิดเปลี่ยนหน่อย
บทที่ 4 – ไขปริศนาความสำเร็จห้องสมุดมีชีวิต

สรุปใจความสำคัญของหนังสือเล่มนี้
11 ข้อคิดเสริมสร้างบรรยากาศแห่งการอ่าน มีดังนี้
1. พลังของการแนะนำหนังสือแบบปากต่อปาก (ดูตัวอย่างได้จาก www.whichbook.net)
2. อ่านเพราะคุณอยากอ่าน ไม่ใช่เพราะคุณจำต้องอ่าน (เห็นด้วยครับอ่านด้วยใจดีกว่าถูกบังคับให้อ่าน)
3. ลองสังเกตว่าผู้อ่านคิดอย่างไรเกี่ยวกับการอ่านหนังสือ (แต่ละคนมีเหตุผลในการอ่านไม่เหมือนกัน บางคนชอบอ่าน บางคนก็ไม่ชอบอ่าน)
4. ดูความต้องการของผู้อ่านว่าต้องการหนังสือหรือคอมพิวเตอร์ (การอ่านมีหลายวิธีไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นหนังสือแบบเดียวก็ได้)
5. ให้ความสำคัญกับผู้เชี่ยวชาญด้านหนังสือเด็ก (การปลูกฝังการอ่านตั้งแต่เด็กจะได้ผลที่ดีที่สุด)
6. มันเป็นแค่เทคโนโลยี (อย่าไปกลัวเรื่องการให้เด็กเรียนรู้เรื่องของเทคโนโลยีต่างๆ เช่น vdo conference เด็กๆ อาจจะใช้เครื่องมือเหล่านี้เรียนรู้ก็ได้)
7. เยี่ยมๆ มองๆ กับการอ่านออกเขียนได้
8. คนเราตายได้แต่จากความรู้ไม่ได้
9. ทางเลือกอันมากล้น (การเรียนรู้ การอ่าน มีหลายหลายวิธี ขึ้นอยู่กับว่าผู้อ่านต้องการอะไรมากกว่ากันก็เท่านั้น)
10. การเลือกอย่างรอบคอบ
11. การอ่านโดยการจัดเวลาไว้โดยเฉพาะและเหมาะสม

ปรับนิดเปลี่ยนหน่อย – กิจกรรมที่สามารถนำมาใช้กับห้องสมุด ได้แก่
– การจัดกำแพงนักอ่าน (ใช้เป็นเวทีแสดงความคิดเห็นเรื่องการอ่านหนังสือ)
– การเขียนวิจารณ์หนังสือแล้วปะไว้บนหน้าปกหนังสือ
– จัดวาดภาพที่ได้แรงบันดาลใจจากหนังสือสักเล่มที่อ่าน หรือเรื่องราวที่สนใจ
– การนำหนังสือออกมาแสดงบนเคาน์เตอร์
– การนำคำพูดของผู้ใช้บริการมาเผยแพร่
– เปลี่ยนเสียงรอสายโทรศัพท์จากเสียงเพลงเป็นเสียงเล่าเรื่องราวต่างๆ จากหนังสือ
– การแลกเปลี่ยนหนังสือ
– การจัดกิจกรรมสำหรับคนวัยต่างๆ
– การตั้งกลุ่มนักอ่าน
– การทำเว็บไซต์เพื่อแนะนำการอ่าน เช่น www.4ureaders.net, www.whatareyouuptotonight.com
– การจัดกิจกรรมโครงการที่กระตุ้นความสนใจแก่นักอ่าน


ไขปริศนาความสำเร็จห้องสมุดมีชีวิต – หัวข้อที่น่าสนใจในบทนี้ (เนื้อหาไปอ่านต่อกันเองนะครับ)

– การวางแผนงานห้องสมุด
– การตลาดกับห้องสมุด
– การใส่ใจผู้ใช้บริการว่าต้องการอะไร
– สร้างมุมมองใหม่ในนิยามของบรรณารักษ์
– อย่าลืมบอกคนอื่นในสิ่งที่เราทำ
– การเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและการสร้างพันธมิตร
– การปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยี
– บทบาทที่เปลี่ยนไปของบุคลากร
– การหาผู้ร่วมสนับสนุน

ประโยคเด็ดที่ผมชอบเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้
– หนังสือทำให้เราหัวเราะ ร้องไห้ สุข ทุกข์ ทำให้เราตั้งคำถามถึงชีวิต และประสบการณ์ของเราเอง
– ถ้าเราไม่เคยดื่มด่ำกับการอ่าน จนรู้สึกว่าเราได้เข้าไปมีชีวิตอยู่ในเรื่องที่เรากำลังอ่านเหมือนกับเป็นตัวละครนั้น เราจะเข้าใจและเห็นอกเห็นใจคนอื่นได้อย่างไร
– บางสถานที่เรารักด้วยหัวใจ บางสถานที่เรารักด้วยสมอง ที่ๆ เรารักด้วยสิ่งทั้งสอง เรียกว่า “ห้องสมุด”
– หนังสือเป็นโลกที่เคลื่อนที่อย่างแรกที่ครอบครองได้
– แม้แต่เด็กที่เกเรที่สุด หากแม้นมีโอกาสได้สัมผัสกับความล้ำค่าแห่งห้องสมุดแล้ว ยังสามารถกุมปัญญาแห่งปฐพี และไขกุญแจสู่โลกทั้งมวล

เอาเป็นว่าผมใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 3 ชั่วโมงกว่าๆ ในการอ่านหนังสือเล่มนี้
คอนเฟิมครับอ่านไม่ยากเลย และได้เทคนิคดีๆ ไปปรับใช้กับการให้บริการในห้องสมุดได้
ผมเชื่อว่าเพื่อนๆ ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกับผมนะครับ ลองอ่านดู ขอแนะนำ

อ๋อ ลืมบอก หนังสือเล่มนี้หาซื้อได้ในร้านซีเอ็ด หรือไม่ก็มายืมอ่านได้ที่ทีเคพาร์คนะครับ

Infographic พฤติกรรมการอ่านของคนอเมริกาเปลี่ยนไปแค่ไหน

วันนี้เจอภาพ Infographic ที่น่าสนใจภาพนึง เกี่ยวกับวงการหนังสือด้วย ผมเลยขอนำมาแนะนำให้เพื่อนๆ ดูสักนิดนึง ภาพๆ นี้ คือ “ภาพที่แสดงให้เห็นถึงความนิยมและจำนวนที่เพิ่มขึ้นของคนอเมริกันที่อ่านหนังสือด้วย E-Reader”

เราไปดูภาพนี้พร้อมๆ กันเลยครับ

เป็นยังไงกันบ้างครับภาพนี้

คำอธิบายเพิ่มเติมในภาพนี้
– E-Reader = อุปกรณ์ที่ใช้ในการอ่านไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เช่น Kindle, Ipad, Nook
– ชาวอเมริกา 1 ใน 6 คนใช้ E-Reader และมีแผนจะซื้อในอีก 6 เดือนข้างหน้า (ปัจจุบันใช้แต่ยังไม่ได้ซื้อ)
– อัตราการใช้ E-Reader ในปี 2011 มีจำนวน 15% ซึ่งมากกว่าปี 2010  ในปี 2010 มีจำนวน 8%
– จำนวนการซื้อในปี 2011 มีจำนวน 15% ซึ่งมากกว่าปี 2010  ในปี 2010 มีจำนวน 12%
– จำนวนการอ่านหนังสือจาก E-Reader มีมากกว่าการอ่านหนังสือที่เป็นตัวเล่ม
– จำนวนการซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) มีมากกว่าการซื้อหนังสือที่เป็นตัวเล่ม
– หนังสือนวนิยายเป็นหนังสือที่คนอ่านเยอะมาก ซึ่งหนังสือในกลุ่มนิยายลึกลับ สอบสวน ปริศนา เป็นหนังสือที่มีคนให้ความสนใจเยอะที่สุด
– หนังสือในกลุ่มสารคดี ผู้อ่านนิยมเรื่องชีวประวัติ ประวัติศาสตร์ ศาสนา มากทื่สุด

ข้อมูลที่นำเสนอนี้เป็นของอเมริกานะครับ ไม่ใช่ประเทศไทย
จริงๆ ผมก็อยากรู้เหมือนกันนะครับว่า ในเมืองไทยจะมีอัตราการอ่านเป็นอย่างไร
จะให้ดีถ้ามีคนนำภาพการอ่านของไทยมาเปลี่ยนเป็น Infographic ก็คงดีไม่น้อย

ที่มาของภาพนี้ http://www.livescience.com/16535-readers-kindle-popularity-infographic.html

Thailand Conference on Reading 2011 (TCR2011)

ช่วงนี้มีเพื่อนๆ ส่งงานประชุมวิชาการที่เกี่ยวกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มาให้ผมมากมาย ซึ่งวันนี้ผมขอแนะนำงานประชุมวิชาการที่เกี่ยวกับการอ่านที่น่าสนใจให้เพื่อนๆ ได้อัพเดทกันหน่อย งานนี้จัดโดยห้องสมุดทีเคพาร์คด้วยนะ

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงาน
ชื่องาน : Thailand Conference on Reading
ลักษณะของงาน : การประชุมวิชาการ
วันและเวลาที่จัดงาน : 24-25 สิงหาคม 2554
สถานที่จัดงาน : โรงแรมAmari Watergate

งานนี้น่าสนใจมากเพราะว่าเราจะได้ฟังคำแนะนำและรายงานดีๆ ที่เกี่ยวกับการอ่าน
ไม่เพียงแค่ประเทศไทยเท่านั้นนะมีอีกหลายประเทศที่เข้าร่วมบรรยายด้วย
แถมด้วยเรื่องที่หลายๆ คนอยากฟัง คือ เรื่อง “Bangkok World Book Capital 2013

มาดูหัวข้อที่น่าสนใจในงานนี้ดีกว่า
– คิดสร้างสรรค์ ด้วยการอ่าน
– How Malaysia Reads
– The development of Book Reading Activity for Promoting Better Life of Citizen in Vietnam
– นโยบายส่งเสริมการอ่านของประเทศไทย
– ช่องว่างและความเท่าเทียมในการเข้าถึงหนังสือและแหล่งเรียนรู้
– ข้อสังเกตบางประการต่อกระบวนการส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ของไทย
– นิสัยการอ่านของคนไทยในมิติด้านวัฒนธรรม
– Korea’s experience to promote reading and literacy
– Reading Culture in the Youth Kids
– ปัจจัยส่งเสริมคนไทยให้มีวัฒนธรรมการอ่าน
– Bangkok World Book Capital 2013
– ร่วมสร้างรากฐาน อ่าน คิด เรียนรู้ เตรียมคนสู่พลเมืองอาเซียน

งานประชุมวิชาการดีๆ แบบนี้มีค่าใช้จ่ายนะครับ
แต่ถ้าสมัครก่อนวันที่ 15 กรกฎาคม จะได้ราคาพิเศษ คือ 2000 บาท
และถ้าสมัครก่อนสิ้นเดือนนี้ก็ได้ราคา 2500 บาท และสมัครในเดือนสิงหาคมราคา 3000 บาท

เอาเป็นว่าใครสนใจก็ลองเข้ามาดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.tcr2011.com เลยนะครับ
สำหรับวันนี้ก็แนะนำแต่เพียงเท่านี้ก่อนนะครับ เลยเจอกันครั้งหน้า

โฆษณาการอ่านทำให้เกิดสติปัญญา (Ad. by Posttoday)

โฆษณาที่ผมนำมาให้ดูในวันนี้มาจากโฆษณาของหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ที่นำเสนอเรื่องราวและสนับสนุนให้คนไทยสนใจเรื่องการอ่าน บอกตามตรงเห็นโฆษณานี้ครั้งแรกแล้วโดนใจมากๆ และคิดว่านี่คือการนำเสนอที่ดีจริงๆ

หลายคนคงเห็นโฆษณาตัวนี้ได้มาสักระยะนึงแล้ว เอาเป็นว่าไปชมคลิปโฆษณาตัวนี้กันอีกสักรอบดีกว่า

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=Titse-luroU[/youtube]

จากคลิปวีดีโอโฆษณาตัวนี้เพื่อนๆ ได้แง่คิดอะไรกันบ้าง เห็นข้อดีของการอ่านหรือยัง

ขอเสริมจากคลิปวีดีโอโฆษณาตัวนี้ เรื่องการอ่านจริงๆ แล้ว ไม่ได้เจาะจงแค่ “อ่านหนังสือ” เท่านั้น
เรายังเรียนรู้จากการอ่านสื่ออื่นๆ ได้อีกมากมาย เช่น อ่านบทความในอินเทอร์เน็ต อ่านจดหมายข่าว ฯลฯ
นอกจากนี้การรับความรู้หรือการทำให้มีสติปัญญา อาจจะมีหนทางมาจากการรับความรู้แบบอื่นๆ ด้วย เช่น การดู การฟัง การพูดคุย ฯลฯ

สิ่งสำคัญของการเกิดสติปัญญา มาจากการเลือกที่จะรับความรู้ที่ดี และต้องมีสติ คิด และวิเคราะห์เรื่องราวต่างๆ ด้วย
ไม่ใช่แค่อ่านออก อ่านได้ แต่เราต้องอ่านแล้วเข้าใจ รู้ความหมาย และรู้ว่าสื่อต้องการบอกอะไร

“อย่าสักแต่ว่าอ่านเพียงแค่อ่านออก แต่จงอ่านแล้วทำความเข้าใจและคิดตามด้วย”
อย่างนี้สิจึงจะเรียกว่าการอ่านทำให้เกิดสติปัญญา

เอาเป็นว่าผมก็ขอฝากเรื่องการอ่านแบบมีสติไว้แต่เพียงเท่านี้นะครับ

สรุปงานประชุมประจำปีของสมาคมห้องสมุดฯ 2553

วันนี้ผมขอนำสรุปการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2553 และประชุมวิชาการเรื่อง ?การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ : สรรค์สร้างสังคมไทยเป็นสังคมการอ่าน? โดยสมาคมห้องสมุดฯ ได้สรุปข้อมูลออกมาเป็น File PDF และอัพโหลดขึ้นเว็บของสมาคมฯ แต่หลายๆ คนอาจจะไม่สะดวกในการอ่านใน file PDF ผมจึงขออนุญาติแปลงข้อมูลออกมาลงบล็อกของผมให้เพื่อนๆ ได้อ่านครับ

ไฟล์ต้นฉบับอ่านได้ที่ http://tla.or.th/pdf/an2553.pdf

ไฟล์ที่ผมแปลงออกมา อ่านได้เลยด้านล่างนี้ครับ

การประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2553 และประชุมวิชาการเรื่อง ?การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ : สรรค์สร้างสังคมไทยเป็นสังคมการอ่าน?

วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พุทธศักราช 2553 เวลา 9.00 น. นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2553 และประชุมวิชาการเรื่อง ?การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ : สรรค์สร้างสังคมไทยเป็นสังคมการอ่าน? จัดโดย สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ณ ห้องคอนเวนชั่นฮอล์ล A-B โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ถนนสุขุมวิท กรุงเทพมหานคร ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต นายกสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ได้กล่าวรายงานความเป็นมาและวัตถุประสงค์ในการจัดงานว่า สืบเนื่องจาก คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2552 ให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ ให้วันที่ 2 เมษายน ของทุกปี เป็นวันรักการอ่าน ให้ พ.ศ. 2552-2561 เป็นทศวรรษแห่งการอ่าน และให้มีคณะกรรมการส่งเสริมการอ่านเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นกลไกขับเคลื่อนการส่งเสริมการอ่านให้เกิดเป็นรูปธรรม สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการอ่านมาโดยตลอด สนับสนุนให้ห้องสมุดสถานศึกษาและสถาบันต่างๆ มีบทบาทในการปลูกฝังและส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ได้มีบทบาทร่วมกับองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหนังสือ และการอ่านในการผลักดันเรื่องของการอ่านให้เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อพัฒนาคนไทยและประเทศไทยสู่สังคมความรู้ได้อย่างยั่งยืนแม้ในยามที่ประเทศชาติเผชิญปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจและได้นำเรื่องการอ่านเป็นวาระแห่งชาตินี้ เป็นหัวข้อในการประชุมวิชาการของสมาคมฯ ตั้งแต่ปี 2552 ที่ผ่านมา สำหรับในปี 2553 นี้ สมาคมฯ ได้กำหนดการประชุมวิชาการประจำปีของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ในหัวข้อ ?การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ: สรรค์สร้างสังคมไทยเป็นสังคมการอ่าน? เพื่อเน้นย้ำให้ห้องสมุดและสถานศึกษาร่วมกันรณรงค์เรื่องความสำคัญของการอ่าน และตระหนักในบทบาทการส่งเสริมการอ่านและสร้างนิสัยรักการอ่านให้กับเด็ก เยาวชน และประชาชนทุกเพศ ทุกวัย และทุกสาขาอาชีพ เพื่อสร้างสังคมการอ่านและการเรียนรู้ตลอดชีวิต จากนั้น ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้กล่าวเปิดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2553 และประชุมวิชาการของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ โดยมีใจความสรุปว่า

?…ขอขอบคุณที่สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ที่ได้ตอบสนองแผนยุทธศาสตร์ของรัฐบาลที่กำหนดให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อสร้างสังคมการเรียนรู้ตลอดชีวิตใน 3 ประเด็น คือ 1.การพัฒนาคนไทยให้มีความสามารถในการอ่าน 2. การพัฒนาคนไทยให้มีนิสัยรักการอ่าน และ 3. การสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในการอ่านอย่างยั่งยืน และสมาคมฯ ได้จัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อสรรคสร้างสังคมไทยเป็นสังคมการอ่านมาอย่างต่อเนื่อง… ในฐานะป็นประธานในการรณรงค์ส่งเสริมการอ่าน ได้ตั้งเป้าหมายให้คนไทยพัฒนาความสามารถในการอ่านและการรู้หนังสือ โดยภายในปี 2555 ประชากรวัยแรงงานจะต้องรู้หนังสือในระดับใช้งานได้ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 92.64 เป็นร้อยละ 99 ขณะที่ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปสามารถอ่านออกเขียนได้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 92.64 เป็นร้อยละ 95 และการอ่านหนังสือของคนไทยจะต้องเพิ่มขึ้นเฉลี่ยจากปีละ 5 เล่ม เป็น 10 เล่ม รวมทั้งเพิ่มแหล่งการอ่านที่มีคุณภาพให้ทั่วถึงทุกตำบลและชุมชน ตลอดจนเน้นสร้างภาคีเครือข่ายการอ่านเพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่านและการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน…? ในโอกาสเดียวกันนี้ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้เกียรติบรรยายพิเศษเรื่อง ?การดำเนินงานทศวรรษแห่งการอ่านของรัฐบาล? และมอบโล่เกียรติคุณแก่ 1. บุคคลดีเด่นรางวัล ศาสตราจารย์พิเศษคุณหญิงแม้นมาส ชวลิต 2. ผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุดจำนวน 8 ท่าน 3.บุคคลดีเด่นในวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ จำนวน 6 ท่าน และ 4. รางวัลห้องสมุดดีเด่นจำนวน 17 แห่ง

รายนามบุคคลและห้องสมุดที่ได้รับรางวัลและโล่เกียรติคุณ ประจำปี 2553
– รางวัลศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต
นางจินัฏดา ชูช่วย

– ผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุดและการศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
1. นายไกรสร นันทมานพ
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นรงค์ ฉิมพาลี
3. พระศุภคณิชย์ สุภจิตโต
4. นายเรื่องเดช วงศ์หล้า
5. รองศาสตราจารย์ ดร. ศิริพร ขัมภลิขิต
6. นางสาวสมสุณีย์ ดวงแข
7. นายสุเมธ สิมะกุลธร
8. ศาสตราจารย์ ดร. อักขราทร จุฬารัตน

– รางวัลบุคคลดีเด่นในวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
1. นางสาวกนกวรรณ นิลจาด
2. นางนฤมล กิจไพศาลรัตนา
3. นางนาตยา ไทพาณิชย์
4. นางสาวนิสา ป้อมภู่
5. นางระวีวรรณ แสงลอย
6. นางราศี แสงจักร

– รางวัลห้องสมุดดีเด่น ประจำปี 2553
1. หอสมุดกฎหมายมหาชน สำนักงานศาลปกครอง
2. ห้องสมุดโรงเรียนม่วงสามปี จังหวัดลำพูน
3. ห้องสมุดโรงเรียนบ้านแพะ จังหวัดอุตรดิตถ์
4. ห้องสมุดโรงเรียนชุมแพพิทยาคม จังหวัดขอนแก่น
5. ห้องสมุดโรงเรียนบ้านเจ้าเณร จังหวัดกาญจนบุรี
6. ห้องสมุดหลวงพธานอำนวยกิจ โรงเรียนบ้านพูด กรป. กลาง จังหวัดพัทลุง
7. ห้องสมุดพระครูภาวนารังสี โรงเรียนวัดใหญ่ชัยมงคล (ภาวนารังสี) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
8. ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
9. ห้องสมุดโรงเรียนพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา
10. ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก โรงเรียนปากท่อพิทยาคม จังหวัดราชบุรี
11. ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติฉลองครองราชย์ครบรอบ 60 ปี ในหลวง โรงเรียนบ้านบูกิ๊ดยือแร จังหวัดนราธิวาส
12. ห้องสมุดโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายประถม) กรุงเทพมหานคร
13. ห้องสมุดคอวนิช โรงเรียนนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
14. หอสมุด 72 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ห้องสมุดโรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล จังหวัดสกลนคร
15. ห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
16. ห้องสมุดโรงเรียนสตูลวิทยา จังหวัดสตูล
17. ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ 48 พรรษา โรงเรียนสารวิทยา กรุงเทพมหานคร

ข้อความที่ถอดออกมาก็ได้แบบนี้แหละครับ หวังว่าเพื่อนๆ จะอ่านกันง่ายขึ้นนะครับ
เครดิต
ครั้งนี้ผมยกให้สมาคมห้องสมุดฯ แล้วกันที่เป็นคนสรุปงานออกมา
แต่อยากให้สมาคมห้องสมุดเปลี่ยนวิธีการในการนำเสนอข้อมูลได้แล้ว
เนื่องจากการอ่านไฟล์ PDF มันมีขั้นตอนซับซ้อนนิดหน่อย แถมยังไม่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ด้วย

เอาเป็นว่าวันนี้ขอนำเสนอแค่นี้แล้วกัน เพื่อนๆ ก็สามารถแสดงความคิดเห็น หรือ ใครที่ไปร่วมงานแล้วเขียนสรุปมาก็ส่งมาให้อ่านกันบ้างนะครับ เพื่อเปิดโอกาสให้กับผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมจะได้รับความรู้เท่าเทียมกัน “การแบ่งปันความรู้คือพลังอันยิ่งใหญ่”

เว็บไซต์สมาคมห้องสมุด : http://tla.or.th

การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ: สรรค์สร้างสังคมไทยเป็นสังคมการอ่าน

งานประชุมประจำปีของสมาคมห้องสมุดฯ จัดทุกปีในช่วงเดือนธันวาคม
วันนี้ผมเลยขอนำมาประชาสัมพันธ์ให้เพื่อนๆ ได้รับทราบกันหน่อยนะครับ

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการประชุมวิชาการครั้งนี้
ชื่อการประชุมภาษาไทย : การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ: สรรค์สร้างสังคมไทยเป็นสังคมการอ่าน
ชื่อการประชุมภาษาอังกฤษ : A Decade of National Reading Agenda : Create Reading Thai Society
วันและเวลา : 20-23 ธันวาคม 2553
สถานที่จัดการอบรม : โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพมหานคร
ผู้จัดการประชุม : สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

ในช่วงนี้อย่างที่เพื่อนๆ รู้แหละครับว่าเป็นทศวรรษแห่งการอ่าน ดังนั้นทางสมาคมห้องสมุดก็เลยพลักดันเรื่องนี้อยู่เช่นกัน
การอ่านกับเรื่องห้องสมุดย่อมไปในแนวทางเดียวกัน “กิจกรรมส่งเสริมการอ่านในห้องสมุด” ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน
งานประชุมครั้งนี้ได้เชิญวิทยากรจากหลายสาขาวิชาชีพมาบรรยายเพื่อแนะนำบรรณารักษ์ให้มีเทคนิคในการจัดกิจกรรมใหม่ๆ

หัวข้อที่น่าสนใจในการประชุมครั้งนี้
1. การดำเนินงานทศวรรษแห่งการอ่านของรัฐบาล
2. ต้นแบบความสำเร็จที่ได้จากการอ่านของนักเรียน และนักศึกษา
3. การจัดศึกษาดูงานห้องสมุด แหล่งเรียนรู้ และการส่งเสริมการอ่านภายในประเทศและต่างประเทศ
4. การบริหารจัดการการอ่านของเด็กปัญญาเลิศ
5. ไขปัญหาชีวิตด้วยการอ่าน
6. การเสนอผลงานวิจัย/วิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการอ่าน และผลงานที่เกี่ยวข้อง
7. อ่านเพื่อเสริมสร้างปัญญา
8. กิจกรรมของชมรมต่าง ๆ และการระดมความคิด: การบริหารจัดการการอ่าน
9. รายงานผลการดำเนินงานกิจการของสมาคมฯประจำปี พ.ศ.2553 และการประกาศผลการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ พ.ศ. 2554-2555
10. การพัฒนาการอ่านของสถานศึกษาตามนโยบายแนวทางทศวรรษแห่งการอ่าน

ใครที่สนใจจะเข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้ ผมแนะนำว่าลองติดต่อไปที่สมาคมห้องสมุดกันดูนะครับ
ที่เบอร์โทรดังนี้ โทร. 0-2734-9022-23, 0-2736-7838

ปล.หมายเหตุในเว็บไซต์สมาคมห้องสมุดผมไม่สามารถเปิดเอกสารในการลงทะเบียนได้
ไฟล์ที่ไม่สามารถเปิดดูได้
(แบบลงทะเบียน , ใบตอบรับเข้าร่วมกิจกรรม)

ส่วนรายละเอียดเพื่อนๆ สามารถเปิดดูได้ตามปกตินะครับ ที่
http://www.tla.or.th/pdf/prjectsi2010.pdf

รวมภาพสาวสวยกับท่าอ่านที่สุดเซ็กซี่

วันนี้วันชิวๆ ผมขอโพสเรื่องชิวๆ และรูปภาพแบบชิวๆ บ้างดีกว่า
ซึ่งเรื่องและรูปที่นำมาลงนี้เป็นรูปที่ผมนำมาจากหลายๆ เว็บไซต์
และเป็นการค้นหารูปจากแหล่งต่างๆ ด้วยตัวเอง (แต่ผมจะอ้างที่มาให้นะครับ)

babes-with-books

วันนี้ผมเข้าไป search ภาพการอ่านหนังสืออยู่ดีๆ ก็ได้พบกับเว็บไซต์นึงเข้า
ซึ่งเว็บไซต์นี้ได้รวบรวมภาพสาวๆ สุดเซ็กซี่ในขณะที่กำลังอ่านหนังสือในท่าต่างๆ อยู่

พอเข้าไปดูแล้วเข้าใจเลยว่า การอ่านแบบสวยๆ เป็นอย่างไร
เว็บนี้ก็เข้าใจเลือกรูปเหมือนกันแหะ วันนี้เลยเอาตัวอย่างมาให้ดูสัก 5 รูปแล้วกัน

ไปดูกันเลยดีกว่า

1. อ่านในที่สาธารณะ ต้องท่านี้ถึงดูดี

readind-1

2. อ่านตามตึกหรืออ่านนอกบ้าน ท่านี้ก็แจ๋วนะ

42-21169891

3. อ่านในห้องนอน หรือ อ่านบนเตียง มันต้องท่านี้เท่านั้น

readind-3

4. ท่านี้แนะนำมากๆ สำหรับสาวๆ ที่ไปห้องสมุด ลองนั่งอ่านแบบนี้ดูสิครับ

readind-4

5. ถ้าไปห้องสมุดแล้วไม่มีเก้าอี้หรือโต๊ะให้นั่งอ่าน ก็ไปอ่านหน้าชั้นหนังสือแบบนี้เลย

readind-5

6. อ่านบนโต๊ะในห้องสมุด ต้องแบบนี้ หนุ่มๆ จะมองตาไม่กระพริบ

42-20620676

ปล. จะเซ็กซี่หรือไม่ขึ้นอยู่กับหน้าตาด้วยนะครับ อิอิ (ล้อเล่นนะ ขำขำ)

ที่มาของรูปทั้งหมด http://picasaweb.google.com/HardleySurton/BabesWithBooks#

คลิปวีดีโอ 3D ความหวังห้องสมุดไทย

วันนี้ผมขอนำคลิปวีดีโอบน youtube มาให้เพื่อนๆ ดูสักตอนนึงนะครับ
ซึ่งเนื้อหาในคลิปวีดีโอนี้เกี่ยวกับเรื่องห้องสมุดสามดีซึ่งเป็นความหวังในการพัฒนาห้องสมุดเมืองไทย

3d-library

เราไปดูคลิปกันก่อนดีกว่า

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=ydt4OsdgUok[/youtube]

คลิปนี้จัดทำโดย VOICE News (Voice of the New generation)

เนื้อหาในคลิปวีดีโอได้กล่าวถึง
– ความหมายของห้องสมุดสามดี
– จำนวนห้องสมุดที่มีในประเทศไทย
– จำนวนห้องสมุดที่มีเยอะแต่ไม่ทำให้สถิติการอ่านของคนไทยเพิ่มขึ้น
– คนภาคตะวันออกเฉียงเหนืออ่านหนังสือน้อยกว่าคนกรุงเทพฯ
– ระบบหนังสือหมุนเวียน
– สถาบันหนังสือแห่งชาติ
– โครงการที่เกี่ยวกับการรักการอ่าน

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ลองจับใจความกันดูนะครับ