แนวทางในการปรับเปลี่ยน ห้องสมุดโรงเรียน ให้เข้ากับการศึกษาในยุคปัจจุบัน

แนวทางในการปรับเปลี่ยน ห้องสมุดโรงเรียน ให้เข้ากับการศึกษาในยุคปัจจุบัน

สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ยังไม่จบ (ผ่านมาเกือบจะ 2 ปีแล้ว) ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของเรา และสิ่งหนึ่งที่ผมอยากบอก คือ สถานกาณ์นี้จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทุกๆ เรื่อง และไม่มีวันที่จะกลับไปสู่ความปกติแบบเดิม

วันนี้ผมได้เข้าไปอ่านบล็อก เรื่อง “Six Ways that School Libraries Have Changed (and One that Will Always Be the Same)” แล้วรู้สึกว่าเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “เพื่อนครูบรรณารักษ์” หรือ ผู้ที่สนใจและทำงานในห้องสมุดโรงเรียน

ปัจจุบันนี้ โรงเรียนหรือสถานศึกษา ยังไม่สามารถกลับมาสอนเด็กๆ แบบปกติได้ และเกือบทั้งหมดเน้นการเรียนการสอนผ่าน Remote Classroom แล้วแบบนี้ ห้องสมุดโรงเรียนจะให้บริการเด็กๆ ได้อย่างไร

6 สิ่งที่ห้องสมุดโรงเรียนต้องปรับเปลี่ยน มีอะไรบ้างหล่ะ ไปดูกันเลย

1) Flexible, Collaborative Learning Environments.
ความยืดหยุ่น และสภาพแวดล้อมที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน

2) Maker Spaces, Creation Stations and Engagement.
พื้นที่สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ พื้นที่ประดิษฐ์โครงงาน สิ่งของ

3) More Technology.
เพิ่มเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้ห้องสมุดทันสมัย น่าตื่นเต้น และดึงดูดใจ

4) The Comfort Factor.
สร้างความสะดวกสบายในการใช้งาน และการเรียนรู้

5) Team Teaching, Multi-tasking, Twenty-first Century Librarians.
บูรณาการ (ศัพท์แบบไทยๆ) คุณครูและบรรณารักษ์ต้องร่วมมือกันสอนเด็กๆ

6) Noise.
หมดยุคห้องสมุดที่ต้องเงียบแล้วครับ เพราะการเรียนรู้ที่ต้องเรียนร่วมกันจำเป็นที่ต้องมีการพูดคุย

จาก 6 สิ่งที่ห้องสมุดโรงเรียนต้องปรับเปลี่ยนข้างต้นแล้ว ในบทความมีทิ้งท้ายสิ่งที่สำคัญและไม่มีวันเปลี่ยนแปลงห้องสมุดโรงเรียนได้ คือ การส่งเสริมเรื่องนิสัยรักการอ่าน กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และสร้างการตระหนักรู้ในทุกเรื่อง (Literacy)

เอาเป็นว่าไปสำรวจห้องสมุดโรงเรียนของเพื่อนๆ ดูว่าตอนนี้ สามารถปรับเปลี่ยนห้องสมุดโรงเรียนให้เข้ากับ การเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงไปได้มากน้อยเพียงใด

ผมเป็นกำลังใจให้นะครับ…

บทความต้นฉบับ : https://action.everylibrary.org/six_ways_that_school_libraries_have_changed_and_one_that_will_always_be_the_same

ทักษะแห่งอนาคต การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูบรรณารักษ์

เมื่อปลายเดือนที่แล้ว (31 มกราคม) ได้มีโอกาสไปบรรยายให้ชมรมบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียน สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ในงานประชุมวิชาการ “บรรณารักษ์กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21”  วันนี้จึงขอนำสื่อ เอกสารประกอบการบรรยาย และสรุปการบรรยาย “ทักษะแห่งอนาคต การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูบรรณารักษ์” ให้เพื่อนๆ ได้ติดตามกัน

21st century skill for librarian

เอกสารประกอบการบรรยายสามารถชมได้ที่นี่เลย

[slideshare id=16363371&doc=21stcenturyskillforlibrarianok-130205100722-phpapp02]

วีดีโอที่ใช้ประกอบการบรรยาย

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=O35n_tvOK74[/youtube]

เนื้อหาการบรรยาย “ทักษะแห่งอนาคต การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูบรรณารักษ์” โดยสรุป

เทคโนโลยีทำให้โลกของเราเล็กลงเรื่อยๆ การติดต่อสื่อสารกันทำได้สะดวก การค้นหาความรู้ทำได้ง่าย ก่อให้เกิดโลกที่เต็มไปด้วยความรู้ ซึ่งเมื่อโลกเต็มไปด้วยความรู้ การเข้าถึงความรู้ทำได้ง่าย ข้อดีมีมากมายแต่ก็มีข้อเสียมากมายด้วยเช่นกัน มีสิ่งที่เราไม่รู้เยอะมาก แถมต้องมานั่งคิดวิเคราะห์ว่าข้อมูลหรือความรู้ไหนที่เป็นความจริง หรือข้อมูลไหนที่สามารถทำมาใช้ประโยชน์ได้

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เกิดจากแนวคิดของกลุ่มนักวิชาการในประเทศสหรัฐอเมริกา (ประเทศที่ขึ้นชื่อว่าการศึกษาดีเยี่ยม) เห็นว่าการศึกษาในโลกศตวรรษที่ 20 ซึ่งเน้นแต่เรื่องเทคโนโลยี มันไม่เหมาะกับการเรียนการสอนในยุคใหม่แล้ว และการเรียนในแบบเก่าไม่เหมาะกับสังคมปัจจุบันแล้ว จึงได้สร้างกรอบแนวคิดและหาแนวทางในการเรียนรู้แบบใหม่ๆ ซึ่งได้นำเสนอกรอบแนวคิดออกมาดังรูป

21st Century Skills

วิชาแกนที่ต้องเรียนรู้ (Core Subject)
– ภาษาอังกฤษ การอ่าน หรือศิลปะการใช้ภาษา
– ภาษาที่สำคัญของโลก
– ศิลปะ
– คณิตศาสตร์
– เศรษฐศาสตร์
– วิทยาศาสตร์
– ภูมิศาสตร์
– ประวัติศาสตร์
– การปกครองและหน้าที่พลเมือง

แนวคิดสำคัญในศตวรรษที่ 21 (21st CENTURY THEMES)
– จิตสำนึกต่อโลก
– ความรู้พื้นฐานด้านการเงิน และการเป็นผู้ประกอบการ
– ความรู้พื้นฐานด้านพลเมือง
– ความรู้พื้นฐานด้านสุขภาพ
– ความรู้พื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อม

ทักษะและความสามารถที่ต้องเรียนรู้เพิ่มเติมในศตวรรษที่ 21 มีอยู่ 3 ด้านใหญ่ๆ คือ
1. ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม มีดังนี้
– ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
– การคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหา
– การสื่อสารและการร่วมมือทำงาน

2. ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี มีดังนี้
– ความรู้พื้นฐานด้านสารสนเทศ
– ความรู้พื้นฐานด้านสื่อ
– ความรู้พื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

3. ทักษะชีวิตและการทำงาน  มีดังนี้
– ความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัว
– ความคิดริเริ่มและการชี้นำตนเอง
– ทักษะทางสังคมและการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม
– การเพิ่มผลผลิตและการรู้รับผิด
– ความเป็นผู้นำและความรับผิดชอบ

ทุกสิ่งจะสำเร็จได้ด้วยระบบสนับสนุนการศึกษาของศตวรรษที่ 21 ซึ่งประกอบด้วย
– มาตรฐานและการประเมินของศตวรรษที่ 21
– หลักสูตรและการสอนของศตวรรษที่ 21
– การพัฒนาทางวิชาชีพของศตวรรษที่ 21
– สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของศตวรรษที่ 21

นอกจากนี้ยังมีสูตรที่ถูกคิดออกมาเกี่ยวกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อีกตัวคือ 3Rs 4Cs ซึ่งประกอบด้วย
3Rs มาจาก
Reading การอ่าน
Writing การเขียน
Arithmetic การคำนวณ

4Cs มาจาก
Critical Thinking การคิดวิเคราะห์ Communication การสื่อสาร
Collaboration ความร่วมมือ
Creativity ความคิดสร้างสรรค์

เรื่องของแนวคิดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สิ่งที่น่าสนใจอีกเรื่องคือ การตอบสนองความต้องการทางประสบการณ์ของผู้เรียนรู้ ซึ่งผู้เรียนรู้ในยุคใหม่สนใจแนวคิดที่เกี่ยวกับเรื่องนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ในการต่อยอดสิ่งต่างๆได้

คำถามหลักของการนำเสนอของวงการต่างๆ “อะไรคือสิ่งที่เรากำลังนำเสนอ ?”
Starbucks นำเสนอ สถานที่ที่อยู่ระหว่างบ้านกับที่ทำงาน
Apple นำเสนอ เครื่องมือที่ใช้ปลดปล่อยศักยภาพของมนุษย์
บริษัทเงินทุน นำเสนอ หนทางในการไปสู่อิสระภาพทางการเงิน
แล้วโรงเรียน – ห้องสมุด – แหล่งเรียนรู้ กำลังนำเสนออะไร…. ทิ้งไว้ให้คิดนะครับ

แนวคิดในโลกมีมากมาย แต่ขอยกตัวอย่างแนวคิดที่น่าสนใจ และแนวคิดที่ควรรู้ดังนี้
– Long Tail
– Free economy
– Critical Mass
– Wikinomic
– Socialnomic
– Crowdsourcing

คุณครูและบรรณารักษ์ยุคใหม่กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จริงๆ แล้วแนวคิดก็คล้ายๆ กัน คือ เน้นเรื่องเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ สื่อสังคมออนไลน์ และการทำงานเป็นเครือข่าย

สุดท้ายแนะนำให้อ่านหนังสือ “ทักษะแห่งอนาคตใหม่ : การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21

Picture2

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นบทสรุปที่ผมบรรยาย “ทักษะแห่งอนาคต การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูบรรณารักษ์” นะครับ ขอบคุณที่ติดตามอ่านครับ