สัมมนา “ความท้าทายของวิชาชีพบรรณารักษ์และนักสารสนเทศ”

สัมมนา “ความท้าทายของวิชาชีพบรรณารักษ์และนักสารสนเทศ”

วันนี้ผมมีข่าวมาประชาสัมพันธ์เชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมงานสัมมนาครับ
สัมมนานี้เป็น “งานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) และประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2561
ของชมรมห้องสมุดเฉพาะ (ชพ.) สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ

Read more

TK Forum 2016 : นวัตกรรมห้องสมุดกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

TK Forum 2016 : นวัตกรรมห้องสมุดกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

วันนี้ขอประชาสัมพันธ์กิจกรรมที่น่าสนใจแทนการเขียนบล็อกแล้วกัน
งานนี้เป็นการประชุมวิชาการที่จัดโดย TK park หรือที่เราเรียกกันง่ายๆ ว่า “TK Forum

tk forum 2016

งาน TK Forum เป็นอีกงานที่ผมติดตามมาตลอดเนื่องจากเป็นการจัดการประชุมวิชาการที่น่าสนใจมากเป็นอันดับต้นๆ ที่ว่าด้วยเรื่องห้องสมุด บรรณารักษ์ แหล่งเรียนรู้ การอ่าน …… ซึ่งส่วนใหญ่จะมีการเชิญ Speaker มาจากต่างประเทศ (โอกาสน้อยมากนะครับที่จะได้ฟังวิทยากรระดับโลก) Read more

รวมภาพ วันวาเลนไทน์ในห้องสมุดของคุณ

รวมภาพ วันวาเลนไทน์ในห้องสมุดของคุณ

วันนี้วันอะไร… วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2559 หรือ วันวาเลนไทน์
“วันแห่งความรัก” แล้วห้องสมุดสามารถทำอะไรได้บ้างในวันนี้

ผมเริ่มจากการค้นใน Pinterest และพบกับบอร์ดมากมาย
แต่ที่ถูกใจ คือ “Valentine’s Day at your library”
หรือแปลเป็นไทยว่า “วันวาเลนไทน์ในห้องสมุดของคุณ

Read more

กิจกรรมวันเด็ก ณ ศูนย์ความรู้กินได้ ห้องสมุดจังหวัดอุบลราชธานี

วันเสาร์ที่จะถึงนี้เป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม หรือ ที่เราเรียกว่า วันเด็ก นั่นเอง ช่วงนี้ห้องสมุดหลายๆ แห่งคงกำลังเตรียมงานวันเด็กกันอยู่ ผมจึงขอนำรูปแบบงานวันเด็กในห้องสมุดที่เคยจัดมาเล่าให้ฟังก็แล้วกันนะครับ

จริงๆ เรื่องงานวันเด็กของห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีผมเคยเขียนในบล็อกของผมแล้ว
เรื่อง “งานวันเด็ก ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

วันนี้ผมขอเขียนในมิติที่เกี่ยวกับเรื่องของการเตรียมงานแล้วกันครับ

เริ่มตั้งแต่การประชุมกันในทีมเพื่อหากิจกรรมต่างๆ มาลงในงานวันเด็ก ซึ่งจริงๆ แล้วคิดออกมาแล้วมีมากมาย ได้แก่
– การวาดภาพระบายสี
– การเล่านิทาน
– การตอบคำถามเพื่อแจกของรางวัล
– การพับกระดาษโอริงามิ
– การปั้นดินน้ำมัน
– การเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์
– การชมภาพยนตร์

ฯลฯ

จริงๆ แล้วคิดไว้เยอะมาก แต่ก็มาแบ่งเป็นประเภทๆ อีกที เช่น กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมเพื่อนักอ่าน กิจกรรมในห้องคอมพิวเตอร์ กิจกรรมกลางแจ้ง ซึ่งสุดท้ายเราก็ได้ชื่อโซนต่างๆ ดังนี้

1 โซนสร้างพลานามัย
2 โซนรักการอ่าน
3 โซนสร้างจินตนาการ
4 โซนเทคโนโลยี
5 โซนส่งเสริมอาชีพ

เมื่อได้ชื่อกิจกรรมและโซนกิจกรรมแล้ว เรื่องต่อมาที่ต้องคิดคือ “การเขียนโครงการวันเด็ก” ออกมา
ที่ต้องรีบเขียนออกมาเพื่อที่เราจะนำโครงการนี้ไปขอรับอภินันทนาการของรางวัล ของแจก และเงินทุนจากผู้ประกอบการที่อยู่ในพื้นที่สำหรับจัดงานต่อไป

เมื่อได้ของรางวัล ของแจก และของสนับสนุนต่างๆ แล้วก็เริ่มดำเนินการวางแผนงานต่อ คือ จัดสรรของรางวัลเพื่อลงไปในกิจกรรมต่างๆ

จากนั้นก็เริ่มวางผู้ที่เป็นหลักในกิจกรรมต่างๆ และแบ่งหน้าที่กันทำ
ห้องสมุดประชาชนไม่ต้องกลัวว่าคนจะน้อย กศน สามารถมอบหมายครู กศน มาช่วยห้องสมุดจัดงานได้ด้วย

สิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึง คือ การประชาสัมพันธ์และสร้างจุดเด่นให้กับห้องสมุด
ลองคิดดูนะครับ วันเด็ก หน่วยงานต่างๆ ก็จัดงานกันมากมาย
ถ้าห้องสมุดไม่มีการประชาสัมพันธ์ที่ดี เด็กๆ ก็อาจจะหายไปอยู่ที่งานวันเด็กที่หน่วยงานอื่นๆ จัดก็ได้

สุดท้ายก็ประชุมกันอีกสักนิดก่อนจัดงานสองวันเพื่อตรวจสอบว่า ยังขาดเหลืออะไรอีกหรือไม่

นี่แหละครับ กว่าจะเป็นงานวันเด็กของ ศูนย์ความรู้กินได้ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

ชมภาพกิจกรรมในงานวันเด็กของ ศูนย์ความรู้กินได้ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีได้ทั้งหมด

[nggallery id=35]

ภาพห้องสมุดวันละรูป เรื่องง่ายๆ ที่ทำได้บน Facebook

ห้องสมุดหลายๆ ที่คงมี Facebook เป็นของตัวเองแล้ว ไม่ว่าจะเป็นทั้งแบบ profile หรือ Page ก็ตาม “เพื่อนๆ ทำอะไรกับ facebook ห้องสมุดของเพื่อนๆ บ้าง” วันนี้ผมขอแนะนำการโปรโมทห้องสมุดแบบง่ายๆ ที่เพื่อนๆ สามารถนำไปทำได้ทันทีมาฝากครับ

การโปรโมทที่ว่านี้ คือ การถ่ายภาพห้องสมุดของเพื่อนๆ วันละ 1 รูป แล้วนำมาอัพโหลดลงอัลบั้ม “ห้องสมุดวันละรูป” ใน Facebook ของห้องสมุด เพื่อนๆ ไงครับ

กิจกรรมนี้ผมทดลองกับ facebook fanpage ของห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีแล้ว
ผลที่ตอบรับนับว่าเป็นที่น่าพอใจมาก ผู้ใช้บริการออนไลน์ให้ความสนใจกับรูปภาพต่างๆ ของห้องสมุดมาก
วัดได้จากสถิติการเข้าชมภาพ การกดถูกใจ และการแสดงความคิดเห็น….

คนเข้ามาดูภาพเยอะมาก แถมมีผลตอบรับที่ดีมากๆ ด้วยนะครับ

กิจกรรมนี้ทำได้ง่ายมากเลยครับ ผมขอแนะนำวิธีแบบง่ายๆ ลองนำไปทำกันดูนะ

อุปกรณ์สำหรับการถ่ายภาพห้องสมุด ได้แก่
– มือถือที่ใช้ถ่ายภาพได้
– กล้องเว็บแคมของคอมพิวเตอร์
– กล้องดิจิตอลทั้งแบบธรรมดา หรือ DSLR
– เครื่องสแกนรูปภาพ

เลือกใช้ได้เลยครับ ถนัดอะไรก็ใช้อันนั้นนะครับ

ถ่ายอะไรได้บ้างหรือถ่ายมุมไหนดี
– ชั้นหนังสือในห้องสมุด
– การให้บริการที่หน้าเคาน์เตอร์
– ผู้ใช้บริการอ่านหนังสือ
– กิจกรรมที่จัดในห้องสมุด
– ภาพเบื้องหลังการทำงานของบรรณารักษ์

เมื่อโพสรูปลงไปในอัลบั้บมแล้ว ถ้ามีคำบรรยายขอถ่ายภาพแต่ละภาพด้วยจะยิ่งดี ที่สำคัญลงวันที่ไว้ด้วยเพื่อเตือนความจำให้กับเราในอนาคตด้วย

14/8/54 คณะ นักศึกษา กศน.วารินชำราบ เยี่ยมชมห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี "ศูนย์ความรู้กินได้" กว่า 300 คน

ดูตัวอย่างของ “ห้องสมุดวันละรูป” ของ facebook fanpage ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี
ได้ที่ http://www.facebook.com/media/set/?set=a.245804078771929.67239.219735101378827&type=1

เป็นไงบ้างครับ ง่ายหรือปล่าว เอาเป็นว่าลองไปทำกันดูนะครับ หากทำแล้วก็ส่ง URL มาให้ผมดูบ้างนะครับ
สำหรับวันนี้ก็ขอแนะนำเพียงเท่านี้ก่อนแล้วกันนะครับ อิอิ

วีดีโอเสวนาก้าวทันสื่อออนไลน์ ในงานสัปดาห์ห้องสมุด ม.รังสิต

ในที่สุดคลิปวีดีโอที่ผมบรรยายเรื่องเสวนาก้าวทันสื่อออนไลน์ ในงานสัปดาห์ห้องสมุด ม.รังสิต ก็ออกมาให้ได้รับชม
วันนี้เลยขอนำมาให้เพื่อนๆ บรรณารักษ์ที่ไม่ได้มาร่วมงานได้ชมกัน

งานเสวนานี้มีวิทยากร คือ คุณภาวุธ พงษ์วิทยภานุ, คุณฉัตรปวีณ์ ตรีชัชวาลวงศ์ และผมเอง
ซึ่งดำเนินรายการโดย อาจารย์บุญญาณิศา อ.ตันติพิบูลย์

วันนั้นเสวนาร่วมกันประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง แต่ในคลิปวีดีโอนี้ขอสรุปแต่ตอนไฮไลท์มาให้ชม 18 นาที
ซึ่งผมได้ดูเบื้องต้นแล้วเป็นช่วงที่เด่นๆ และมีไอเดียที่น่าสนใจดีครับ

ไปชมคลิปวีดีโอนี้กัน

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=Qe_4qWGUFsk[/youtube]

เป็นไงกันบ้างครับ ยังไงก็ติชมกันได้ ด้านล่างนี้เลยนะครับ

รายละเอียดเกี่ยวกับงานนี้ผมสรุปไว้ที่เก็บตกงานสัปดาห์ห้องสมุด ม.รังสิต

ปล. ขอบคุณ สำนักหอสมุด ม.รังสิต ที่จัดทำคลิปนี้มาเผยแพร่

เก็บตกงานสัปดาห์ห้องสมุด ม.รังสิต

เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (วันที่ 12 มกราคม 2554) ผมมีโอกาสไปร่วมงานสัปดาห์ห้องสมุด ม.รังสิต
ซึ่งในงานนี้น่าสนใจมาก ผมจึงขอนำบทสรุปของงานเสวนาในงานสัปดาห์ห้องสมุดมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟัง

งานในวันแรกนี้ไฮไลท์ก็อยู่ที่งานบรรยายและงานเสวนาเรื่องเครือข่ายสังคมกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ซึ่งในช่วงเช้า วิทยากรก็คือ คุณชัชวาล สังคีตตระการ (ผู้ที่อยู่เบื้องหลังโปรแกรม ABDUL)
ซึ่งมาพูดเรื่อง “สังคมฐานความรู้ กับ สังคมเครือข่าย”
แค่ชื่อเรื่องก็น่าฟังแล้วใช้มั้ยครับ ไปดูเนื้อหาที่ผมสรุปดีกว่า

เรื่อง “สังคมฐานความรู้ กับ สังคมเครือข่าย” โดย คุณชัชวาล สังคีตตระการ

– ประเดิมสไลด์แรกด้วยการแนะนำคำว่า Human Language Technology และ Human-Computer Technology ซึ่งหลักๆ ได้แนะนำเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารกันระหว่างคนและคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันนี้คนเราต้องทำความเข้าใจคอมพิวเตอร์ แต่ในอนาคตคอมพิวเตอร์จะต้องสื่อสารกับเราและทำความเข้าใจกับคนเช่นกัน

– เราสามารถติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ได้ด้วย TEXT, SPEECH, INFORMATION, LINGUISTICS

– ปัจจุบันที่เราสามารถเข้าถึงข้อมูลและข่าวสารต่างๆ ได้ก็มาจาก Monitor ต่างๆ ซึ่งปัจจุบันหลักๆ ก็ได้แก่ TV, Computer, Mobile

– ในช่วงวันเด็กที่ผ่านมาชาว Twitter เล่น tag #WhenIWasYoung กันมาก แต่ที่วิทยากรประทับใจ คือ รูปเด็กที่เข้าแข่งขันการใช้ Linux ซึ่งมันแฝงแง่คิดว่าเด็กสมัยนี้เกิดมาก็เจอหน้าจอคอมพิวเตอร์เลย ซึ่งทำให้เกิดความกังวลกับผู้ปกครอง เพราะว่ากลัวเด็กจะนำไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม เช่น กลัวลูกติดเกมส์ ซึ่งวิทยากรได้แนะนำต่อไปว่าเด็กก็เหมือนกับผ้าสีขาวนั่นแหละ การใช้เทคโนโลยีก็เหมือนจุดสีดำ ผู้ปกครองบางคนกลัวเด็กใช้มากๆ ก็ทำให้เกิดการกีดกั้นเด็กก็พยายามไปลบสีดำจุดนั้น ซึ่งหากสังเกตคือเมื่อเรายิ่งลบจุดดำมันก็จะเลอะผ้าไปมากขึ้น (ยิ่งห้ามก็เหมือนยิ่งยุ) ทำให้ผ้าสกปรกและไม่น่าใช้ แต่คิดในมุมกลับกันว่าหากสีดำหยดนั้นหยดลงมาแล้วพ่อแม่ช่วยกันแต่งเติมให้เป็นรูปต่างๆ ผ้าผืนนั้นก็จะทำให้สวยงามและมีค่ามากขึ้นด้วย

– Computer VS Mobile ในปัจจุบันสองสิ่งนี้เริ่มขยับตัวใกล้เข้าหากันมากขึ้น มือถือมีการใช้ฟีเจอร์ต่างๆ ลงไปจนคล้ายกับคอมพิวเตอร์

– 2011 Smartphone > Feature Phone (โทรศัพท์แบบเดิม) ข้อมูลจาก morgan stanley
– 2012 Smartphone > Notebook+PC ข้อมูลจาก morgan stanley

– คนไทยมี 63 ล้านคน แต่เบอร์โทรศัพท์กลับมี 64 ล้านเลขหมาย มันสะท้อนอะไร?

– ข้อมูลการใช้ Internet ในเมืองไทย (จากการสำรวจของ NECTEC)คนไทย 24 ล้านคนใช้อินเทอร์เน็ต

– จุดประสงค์ในการใช้ (เรียงจากมากไปน้อย)
– 2552 -> Search Email News Elearning Webboard Chat
– 2553 -> Email Search News Elearning Webboard Chat

– ห้องสมุดจากอดีตสู่อนาคต หากเข้าห้องสมุดคุณจะพบอะไรบ้าง
ระยะที่ 1 พบคนอ่านหนังสือในห้องสมุด
ระยะที่ 2 พบคนเข้ามาใช้คอมพิวเตอร์ในห้องสมุด
ระยะที่ 3 พบคนนำโน้ตบุ๊คมาใช้ในห้องสมุด
ระยะที่ 4 พบคนนำ Netbook มาใช้ในห้องสมุด
ระยะที่ 5 พบคนนำ tablet มาใช้ในห้องสมุด

– เรียนรู้จากโลกออนไลน์มีหลายวิธี เช่น ITuneU, Youtube, Wikipedia

– แนะนำ Web 1.0 , 2.0 , 3.0

– 2015 -> 10% of your online friends will be nonhuman

– แนะนำโปรแกรม ABDUL

เอาเป็นว่าคร่าวๆ ก็ตามนี้นะครับ สำหรับเอกสารในการบรรยาย รอดาวน์โหลดได้ที่ http://library.rsu.ac.th (ตอนนี้ยังไม่ขึ้นนะ)

ช่วงเช้าก็จบประเด็นไว้เพียงเท่านี้นะครับ ส่วนช่วงบ่ายงานเสวนาเรื่อง “จะก้าวให้ทันกับสื่อทางออนไลน์ยุคใหม่ได้อย่างไร”
โดย คุณภาวุธ พงษ์วิทยภานุ, คุณฉัตรปวีณ์ ตรีชัชวาลวงศ์ และผมเอง ดำเนินรายการโดย อาจารย์บุญญาณิศา อ.ตันติพิบูลย์

ในช่วงบ่ายหลักๆ วิทยากรก็ได้ชี้แจงเกี่ยวกับเรื่องสื่อออนไลน์ ดังนี้

– การแบ่งประเภทสื่อออนไลน์
– ข้อดีและข้อเสียของการใช้สื่อออนไลน์
– ข้อควรระวังในการใช้สื่อออนไลน์
– ทำไมเราต้องตามเทคโนโลยีให้ทัน
– กรณีการใช้สื่อออนไลน์ในงานต่างๆ
– ห้องสมุดกับสื่อออนไลน์

เอาเป็นว่าสรุปสั้นๆ แค่นี้ดีกว่า เพราะวันนั้นผมเองก็อยู่บนเวทีสมาธิเลยอยู่ที่การบรรยายมากกว่า
แต่ขอสรุปง่ายๆ ว่า การรู้จักเทคโนโลยีและใช้มันให้ถูกต้องจะทำให้เราได้เปรียบและมีโอกาสมากกว่าคนอื่น

การบรรยายและเสวนาก็จบด้วยดี แต่งานสัปดาห์ห้องสมุดไม่ได้มีแค่งานบรรยายอย่างเดียวนะ
ในห้องสมุดยังมีนิทรรศการและกิจกรรมการส่งเสริมการรักการอ่านอื่นๆ ด้วย
ซึ่งวิทยากรอย่างพวกเราไหนๆ ก็ไหนๆ แล้วมาเยี่ยมชมดูสักนิดก็ดีเหมือนกัน

วิทยากรทั้งสามก็ขอแจมเรื่องการเขียนแนะนำหนังสือที่ตัวเองชอบและติดไว้ที่บอร์ดแนะนำหนังสือด้วย
ซึ่งในใบแนะนำก็มีให้ใส่ชื่อหนังสือ เวลาที่ชอบอ่านหนังสือ และบอกต่อหนังสือที่น่าอ่าน

จากนั้นพวกเราก็ถ่ายภาพร่วมกับเหล่าบรรณารักษ์ในหอสมุดซึ่งแน่นอนว่า น้องซี ถูกถ่ายรูปเยอะที่สุด
ส่วนผมเองก็โดนดึงไปดึงมาถ่ายรูปกันสนุกสนาน ก็สรุปง่ายๆ ว่าประทับใจกับพี่ๆ ที่นั่นจริงๆ ครับ

สุดท้ายนี้ก็ขอขอบคุณทีมงานที่จัดงานสัปดาห์ห้องสมุด ม.รังสิต ทุกคนครับ
ขอชื่มชนจากใจว่าจัดงานได้ดี สนุก และได้รับความรู้กันมากๆ

ชมภาพงานสัปดาห์ห้องสมุดของ ม.รังสิตในวันแรก (วันที่มีงานเสวนา) ได้ที่
http://www.facebook.com/#!/album.php?aid=267520&id=695394799

ปล. ภาพบางส่วนที่นำมาลงที่นี่ก็นำมาจากแหล่งเดียวกันนะครับ
http://www.facebook.com/#!/album.php?aid=267520&id=695394799

สัปดาห์ห้องสมุด ม.รังสิต ตอน เครือข่ายทางสังคมกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต

สัปดาห์ห้องสมุดเป็นกิจกรรมหนึ่งที่น่าสนใจมากในสถานศึกษาหลายๆ ที่ ซึ่งวันนี้ผมขอแนะนำกิจกรรมสัปดาห์ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งซึ่งจัดธีมงานได้น่าสนใจ จึงขอประชาสัมพันธ์ให้เพื่อนๆ ในวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ได้อ่านเพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมห้องสมุดกัน

รายละเอียดทั่วไปของงานนี้
ชื่อกิจกรรม : สัปดาห์ห้องสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต
ธีมงานหรือหัวข้อของงาน : เครือข่ายทางสังคมกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต
วันที่จัดงาน : วันที่ 12-14 มกราคม 2554
สถานที่จัดงาน : สำนักหอสมุด อาคารหอสมุด (อาคาร 7) มหาวิทยาลัยรังสิต
จัดโดย : สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต

ธีมของงานนี้อย่างที่บอกแหละครับว่าอยู่ในเรื่องของ Social Network เป็นหลัก
ซึ่งจะสังเกตได้จากวัยรุ่นยุคใหม่ให้ความสนใจในเรื่องต่างๆ เหล่านี้มากขึ้น
ในฐานะของสถานศึกษาก็ควรจะต้องปรับตัวให้ทันยุคทันกระแสและนำสิ่งเหล่านี้มาประยุกต์ใช้
เพื่อให้วงการศึกษาหรือทุกๆ สื่อเข้าถึงและเข้าใจพฤติกรรมและการตอบสนองต่อการบริการของผู้ใช้บริการได้ด้วย

กิจกรรมที่น่าสนใจในงานนี้
– การบรรยายเรื่อง “สังคมฐานความรู้กับสังคมเครือข่าย : ไปด้วยกัน ไปได้ไกล”
– จะก้าวให้ทันกับสื่อทางออนไลน์ยุคใหม่ได้อย่างไร
– การอบรมและสอนการใช้งานฐานข้อมูลต่างๆ
– กิจกรรมอื่นๆ เช่น การออกร้านหนังสือ ของที่ระลึก นิทรรศการ และนำชมห้องสมุด

อ๋อ ลืมบอกงานนี้ผมก็ได้รับเชิญเป็นวิทยากรด้วยเช่นกันในเรื่อง “จะก้าวให้ทันกับสื่อทางออนไลน์ยุคใหม่ได้อย่างไร”
ซึ่งก็ขอบอกเลยว่าเรื่องที่ผมจะนำมาพูดก็คงหนีไม่พ้นเรื่องการใช้งานสื่อทางออนไลน์กับวงการห้องสมุด

สำหรับเพื่อนๆ ที่อยากเข้าร่วมฟังบรรยายก็กรอกแบบฟอร์มได้ที่ http://library.rsu.ac.th/pdf/library53.pdf

สำหรับเพื่อนๆ ที่สนใจในงานสัปดาห์ห้องสมุดของ ม รังสิต ก็อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
http://library.rsu.ac.th/pdf/library53.pdf

งานวันเด็ก ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

ช่วงวันเด็กปีนี้ผมก็มาทำงานที่ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี (มาช่วยเขาจัดงาน)
เลยขอเอากิจกรรมต่างๆ มาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังดีกว่า เผื่อจะได้ไอเดียเอาไปใช้ในปีหน้ากัน

ชื่องานวันเด็ก – Kindai Kids Day จัดโดย ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

กิจกรรมที่จัดในห้องสมุดประชาชนแบ่งออกเป็น 5 โซน ดังนี้
1. โซนสร้างพลานามัย เวทีกลางแจ้ง (หน้าห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี) – เกมส์กลางแจ้ง
2. โซนรักการอ่าน ห้องโถงชั้น 1 ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี – ส่งเสริมกิจกรรมรักการอ่าน
3. โซนสร้างจินตนาการ ห้องสมุดเด็กไทยคิด – ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
4. โซนเทคโนโลยี ห้องคอมพิวเตอร์ – ส่งเสริมทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต
5. โซนส่งเสริมอาชีพ – หน้าลานสนามหญ้าห้องสมุด – สอนการประดิษฐ์เพื่อนำไปประกอบอาชีพ

ธีมหลักของงานนี้ คือ สุขภาพแข็งแรง / รักการอ่าน / สร้างจินตนาการ / ใช้ไอที

ในแต่ละโซนมีอะไรให้เล่นได้บ้าง :-
1. โซนสร้างพลานามัย
เป็นโซนหลักและจัดกิจกรรมเกมส์กลางแจ้งมากมาย เช่น การแสดงความสามารถของเด็กๆ , การแข่งขันฮูล่าฮูป, เก้าอี้ดนตรี, เกมส์เหยียบลูกโป่ง นอกจากนี้ในโซนนี้จะมีการจัดซุ้มจับสลาก (การจับฉลากเดี๋ยวอธิบายทีหลังนะครับ)
2. โซนรักการอ่าน เป็นโซนบริเวณทั่วๆ ไปในห้องสมุด ซึ่งมีการจัดนิทรรศการแนะนำหนังสือเด็ก นอกจากนี้ยังมีการจัดบอร์ดสำหรับเด็กๆ คือ โตขึ้นหนูอยากเป็น…. เด็กๆ ก็จะมาเขียนอาชีพในฝันของตัวเอง ซึ่งได้รับการตอบรับมากมาย
3. โซนสร้างจินตนาการ เป็นโซนที่ส่งเสริมการสร้างจินตนาการให้เด็กๆ ซึ่งกิจกรรมทั่วๆ ไป คือ การวาดภาพระบายสี การบิดลูกโป่งเป็นรูปสัตว์ต่างๆ
4. โซนเทคโนโลยี เป็นโซนที่ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตในทางที่เหมาะสมสำหรับเด็ก กิจกรรมที่น่าสนใจ เช่น เกมส์คอมพิวเตอร์ และการอบรมการใช้ internet เบื้องต้น
5. โซนส่งเสริมอาชีพ เป็นโซนที่ได้รับความสนใจอีกโซนหนึ่ง เพื่อผู้ปกครองที่มารอเด็กๆ เล่นกิจกรรมก็จะเข้ามาร่วมกิจกรรมส่งเสริมอาชีพ มาเรียนรู้การทำอาชีพ เช่น การพับดอกไม้ด้วยใบเตย, การสานรูปสัตว์จากใบตาล, การทำแซนวิส, การทำน้ำสมุนไพร

ของรางวัลในงานนี้แบ่งออกเป็น
– ของที่ระลึก – แจกเด็กๆ ทุกคนที่มางาน = ขนม
– ของรางวัลตามกิจกรรม – เล่นกิจกรรมแล้วได้เลย
– ของรางวัลจากการจับสลาก – ต้องเล่นกิจกรรมให้ครบ 4 โวนแล้วนำบัตรมายื่นที่ซุ้มจับฉลาก

งานนี้มีเด็กเข้าร่วมประมาณ 200 คน
ของขวัญที่มีคนอยากได้มากที่สุด = ตุ๊กตาหมูกระต่ายใหญ่และหมอนหมูกระต่ายใหญ่

เอาเป็นว่างานนี้ก็ถือว่าจัดได้สนุกพอควรเลย ผู้จัดงานเหนื่อยนะแต่ก็มีความสุขกับเด็กๆ ทุกคน
วันนี้ผมก็ขอเล่าแค่นี้ก่อนดีกว่า ขอไปพักก่อนนะครับ รูปเพื่อนๆ สามารถดูได้ด้านล่างนี้เลย

รูปกิจกรรมงานวันเด็ก 54 (Kindai Kids Day 2011)

[nggallery id=35]

ประชาสัมพันธ์โครงการเปลี่ยนหนังสือสื่อรักประสานความรู้

วันนี้มีข่าวสารมาประชาสัมพันธ์ครับ ข่าวนี้ผมนำมาจาก facebook ประมาณว่ามีคนมาช่วยให้ผมเข้าร่วม
พอเข้าไปอ่านแล้วผมว่ามันน่าสนใจดี โครงการนี้ชื่อว่า “โครงการเปลี่ยนหนังสือสื่อรักประสานความรู้”

ชื่อกิจกรรมนี้ คือ โครงการเปลี่ยนหนังสือสื่อรักประสานความรู้
จัดโดย ห้องสมุดประชาชน ?เฉลิมราชกุมารี? จังหวัดลำพูน

แนวคิดและหลักการของกิจกรรมนี้
คือ ให้ทุกคนนำหนังสือที่ตนเองชอบอ่าน หรือหนังสือโปรดเข้าร่วมโครงการฯ
ซึ่งทำให้ผู้ใช้บริการห้องสมุดได้อ่านหนังสือดีๆ และถือว่าเป็นการแบ่งปันความรู้สู่ชุมชนด้วย
โดยบรรณารักษ์จะนำหนังสือที่ได้รับมาจัดเข้าสู่ระบบยืม-คืนหนังสือให้เอง

เพื่อนๆ ลองคิดกันดูนะครับว่า 1 คน 1 เล่ม ถ้ามีคนเข้าร่วม 100 คน ก็จะมี 100 เล่ม ถ้ามีคนเข้าร่วม 1000 คน ก็จะมี 1000 เล่ม
หนังสือ 1 เล่มของเราอาจจะเป็นที่ต้องการของคนอื่น
และเช่นกันเราเองก็อยากอ่านหนังสือของคนอื่นๆ เช่นกัน
โครงการนี้จะช่วยให้เพื่อนๆ แลกเปลี่ยนหนังสือกันได้ ทำให้ไม่ต้องไปเสียเงินซื้อหนังสือเพิ่มด้วย

เอาเป็นว่าโครงการนี้ก็มีประโยชน์มากมายนะ และเป็นไอเดียของห้องสมุดประชาชนที่ดีเลย
ห้องสมุดประชาชนอื่นๆ สามารถนำไปประยุกต์และจัดกิจกรรมคล้ายๆ กันได้นะครับ

เพื่อนๆ สามารถสมัครและส่งหนังสือเข้าร่วมโครงการได้ที่
ห้องสมุดประชาชน ?เฉลิมราชกุมารี? จังหวัดลำพูน
ถนนสันป่ายาง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน 51000
หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 053-562608

หรือเว็บไซต์ห้องสมุด http://lpn.nfe.go.th/lib_muang/
หรือทาง Facebook ห้องสมุด http://www.facebook.com/lib.lamphun

วันนี้ก็ขอฝากไว้เพียงเท่านี้นะครับ ผมเองก็จะส่งหนังสือที่ผมชอบไปให้ที่นี่เช่นกัน
แต่เดี๋ยวต้องกลับไปเลือกก่อนนะ แล้วจะมาอัพเดทว่าผมส่งเรื่องอะไรไปให้นะ