เด็กเอกบรรณารักษ์กับการลองขายหนังสือ

วันนี้ผมขอเล่าประสบการณ์สมัยที่ผมยังเรียนปริญญาตรี เอกบรรณฯให้ฟังหน่อยแล้วกัน
เป็นประสบการณ์ที่ดีมากๆ ครั้งนึงเลยก็ว่าได้ นั่นคือ “การทำธุรกิจขายหนังสือในงาน มอ.วิชาการ”
ซึ่งนอกจากขายหนังสือจากสำนักพิมพ์ต่างๆ แล้ว ยังมีนิทรรศการหนังสือทำมือที่พวกเราได้ร่วมกันทำด้วย

book-business

ในการทำธุรกิจขายหนังสือครั้งนี้ พวกเรามีแรงกระตุ้นคือ เงินและคะแนนเป็นเดิมพัน
เนื่องจากการจัดกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา Publishing business ซึ่งผมเรียนในปี 3 เทอม 1 นั่นเอง

ในการทำธุรกิจขายหนังสือครั้งนี้ พวกเราชาวเอกบรรณารักษ์ได้ฝึกอะไรบ้าง
– การติดต่อ และการเจรจากับสำนักพิมพ์ต่างๆ
– การทำการประชาสัมพันธ์การขายหนังสือของพวกเรา
– การดูแล และจัดการสต็อกหนังสือ เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของผู้ซื้อ
– การกำหนดราคา และการตั้งเป้าหมายของธุรกิจ (กำไรเท่าไหร่ดีนะ)
– การจัดร้าน และแบ่งเวลากันในเอกเพื่อเฝ้าร้านของพวกเรา
– การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เช่น หนังสือหมด หรือ หนังสือหาย ?
– การคัดเลือกหนังสือ และการศึกษากลุ่มผู้ซื้อ
– ทำบัญชีรายรับ รายจ่าย และกำไร ขาดทุน
และอีกหลายๆ อย่างที่ได้เรียนรู้ และได้ประสบการณ์จริงๆ

book-business1

นอกจากส่วนที่เป็นการทำธุรกิจขายหนังสือแล้ว อีกงานหนึ่งที่น่าสนใจในงานนี้คือ
การจัดนิทรรศการหนังสือทำมือ ซึ่งหนังสือทำมือที่แสดงในงานแบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้
1. ทำกันเองในภาควิชาบรรณฯ
2. ติดต่อขอตัวอย่างหนังสือจากสำนักพิมพ์ใต้ดินหลายๆ กลุ่ม
3. ขอรับจากร้านหนังสือใต้ดิน มาเพื่อจำหน่ายด้วย

กิจกรรมในครั้งนี้ ใช้เวลา 5 วัน ซึ่งนับว่าเป็นวันที่เหนื่อยเอาการเลยครับ
แต่สิ่งที่ได้กลับมาช่างคุ้มค่ามากมาย และทำให้พวกเรารู้ว่า

?อย่างน้อยจบบรรณารักษ์ก็ไม่จำเป็นต้องทำงานที่ห้องสมุดอย่างเดียว?

ห้องสมุดกับเทศกาลวันวาเลนไทน์

สวัสดีเพื่อนๆ ทุกคนในวันแห่งความรัก (วันวาเลนไทน์) นะครับ
วันนี้ผมมีเรื่องการจัดห้องสมุดให้เข้ากับวันวาเลนไทน์มาให้เพื่อนๆ ดูครับ

valentine-library
ภาพจาก http://www.centralwesterndaily.com.au

หลังจากที่ผมไปสำรวจข้อมูลเรื่องการจัดงานวันวาเลนไทน์ในห้องสมุดต่างๆ จากทั่วโลก
ผมก็พบกับห้องสมุดแห่งหนึ่งที่จัดงานและรูปแบบห้องสมุดได้เข้ากับธีมงานวันวาเลนไทน์มากๆ
ห้องสมุดแห่งนี้ คือ Gloucestershire College Library, New Jersey, USA

ด้วยธีมหลักของงาน คือ การส่งความรักและความหวังดีให้กับผู้ใช้บริการห้องสมุด
การตกแต่งห้องสมุดทำให้ภาพห้องสมุดที่ดูทางการกลายเป็นห้องสมุดสุดโรแมนติก

เราไปดูกันนี้กว่าว่าห้องสมุดแห่งนี้จัดห้องสมุดยังไง

1. แจกของที่ระลึกเป็นรูปหัวใจ

valentine-lib-0

2. ผนังห้องสมุดติดโปสการ์ดรูปหัวใจ และบริเวณห้องโถ่งนำลูกโป่งหัวใจมาวางไว้

valentine-lib-1

3. วางแจกันที่ใส่ดอกกุหลาบไว้ตามโต๊ะอ่านหนังสือ

valentine-lib-2

เอาเป็นว่า นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างไอเดียสวยๆ งามในห้องสมุดนะครับ
ซึ่งไอเดียเล็กๆ น้อยๆ แบบนี้ผมเชื่อว่าเพื่อนๆ สามารถจัดเองเล็กๆ ในห้องสมุดได้
ไม่จำเป็นต้องจัดทั้งห้องสมุดนะครับ แค่มุมเล็กๆ สักมุมผมก็ว่าน่านั่งแล้ว

สุดท้ายนี้ก็สุขสันต์วันวาเลนไทน์นะครับ

ไอเดียในการจัดกิจกรรมสำหรับห้องสมุดจากเว็บบอร์ดชื่อดัง (Pantip.com)

วันนี้อยู่ว่างๆ 1 วันเลยขอเปิดเว็บไซต์ต่างๆ อ่านเพื่อเก็บไอเดียจากเว็บไซต์มาคิดกิจกรรมห้องสมุด
หลังจากที่เปิดเว็บนู้นนี้มาตั้งเยอะ สุดท้ายก็มาจบที่เว็บบอร์ดชื่อดังของประเทศ นั่นก็คือ Pantip.com นั่นเอง

idealibrary

ใน Pantip.com มีห้องอยู่ห้องหนึ่งที่น่าสนใจมากและชื่อก็เหมือนกับวงการของเรา นั่นก็คือ “ห้องสมุด”
ซึ่งภายในห้องนี้จะเน้นเรื่องราวเกี่ยวกับหนังสือ วรรณกรรม นักเขียน ปรัชญา และอื่นๆ ที่น่าสนใจมากมาย
เอาเป็นว่าถ้าเพื่อนๆสนใจก็ลองเข้าไปที่ http://pantip.com/ แล้วเลือก “ห้องสมุด” ดูนะครับ

ในห้องสมุดแห่งนี้ ผมได้พบกับกระทู้ถามตอบมากมาย
จนไอเดียเกี่ยวกับกิจกรรมรักการอ่านก็ผุดขึ้นมากมายเช่นกัน
ซึ่งเดี๋ยวผมจะขอสรุปกิจกรรมต่างๆ ที่น่าสนใจสำหรับห้องสมุดให้เพื่อนๆ ได้อ่านนะครับ

ไอเดียในการจัดกิจกรรมสำหรับห้องสมุด
เช่น
1. หนังสือทำมือ
หนังสือทำมือถือว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจมากโดยเน้นการส่งเสริมให้รักการอ่านและพัฒนาการเขียนอีกด้วย
การทำหนังสือทำมือสักเล่มหนึ่งไม่ได้ยากเกินไป ใครๆ ก็สามารถทำได้ ไม่ว่าจะเด็ก วัยรุ่นหรือผู้ใหญ่
ดังนั้นห้องสมุดน่าจะมีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมหนังสือทำมือบ้าง เช่น
– นิทรรศการและการแสดงผลงานหนังสือทำมือ
– การอบรมการทำหนังสือทำมือ
– ประกวดหนังสือทำมือประเภทรูปเล่มสวยงามและน่าสนใจ
– ประกวดหนังสือทำมือประเภทเนื้อหาโดดเด่นและมีสาระ


2. การเข้าเล่ม การเย็บเล่ม และการซ่อมแซมหนังสือ

งานเทคนิคต่างๆ เหล่านี้เกี่ยวข้องกับงานเทคนิคของบรรณารักษ์อยู่แล้ว
ดังนั้นห้องสมุดสามารถถ่ายทอดความรู้ในงานเทคนิคเหล่านี้ให้ผู้ใช้บริการได้เข้าใจและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ด้วย
ดังนั้นห้องสมุดจึงควรจัดกิจกรรมเกี่ยวการซ่อมแซมหนังสือต่างๆ เช่น
– นิทรรศการการเข้าเล่มและการเย็บเล่มหนังสือแบบต่างๆ
– นิทรรศการเรื่องการอนุรักษ์และการใช้หนังสืออย่างถนุถนอม
– อบรมการซ่อมแซมหนังสือด้วยตัวเอง

3. นักเขียนกับห้องสมุด
ในชุมชนออนไลน์แห่งนี้เพื่อนๆ หลายๆ คนมักจะมีนักเขียนในดวงใจของตัวเอง ซึ่งเป็นอีกปัจจัยให้เพื่อนๆ รักการอ่าน
เช่นเดียวกันผมว่าผู้ใช้ห้องสมุดหลายๆ คนเอง ก็คงมีนักเขียนในดวงใจของเขาเหมือนกัน
ดังนั้นห้องสมุดจึงควรจัดกิจกรรมร่วมกับนักเขียนหนังสือชื่อดัง หรือจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับนักเขียน เช่น
– นิทรรศการรู้จักนักเขียนรางวัลซีไรต์
– อบรมหลักสูตรการเป็นนักเขียน
– การตกแต่งห้องสมุดด้วย Quote เด็ดๆ จากนักเขียนชื่อดัง (จากไอเดีย กิจกรรมวาทะคนแถวหน้า @B2S)
– กิจกรรมเปิดตัวหนังสือใหม่และเสวนากับนักเขียน
– แนะนำหนังสือที่นักเขียนแนะนำ
– ร้อยคำเป็นเรื่องเป็นราว (กิจกรรมนำคำที่กำหนดมาแต่งเป็นเรื่องราว)

4. หนังสือ
กิจกรรมที่เกี่ยวกับหนังสือมีมากมายเลยครับในเว็บไซต์เห็นนี้
หากเพื่อนๆ จับประเด็นได้จะพบกับกิจกรรมที่สามารถนำมาใช้จัดในห้องสมุดได้ครับ เช่น
– นิทรรศการหนังสือหายากและหนังสือทรงคุณค่า
– กิจกรรม Rainy Read Rally หรือ กิจกรรมเหมันต์ขยันอ่าน (Winter Wonder Read : WWR)
– อ่านหนังสือเดือนละเรื่อง (ไอเดียจาก TRB Challange โครงการทลายกองดอง 12 เล่มใน 12 เดือน)
– การวิจารณ์หนังสือ (Book Review)
– แรงบันดาลใจในหนังสือเล่มโปรด
– การเล่านิทานในวันหยุดสุดสัปดาห์
– งานหนังสือมือสอง (ไอเดียจาก งานหนังสือมือสองที่ห้องสมุด Neilson Hayes)


5. เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวกับห้องสมุด

– การรับบริจาคหนังสือและช่วยเหลือห้องสมุดที่ขาดแคลนสื่อ
(ไอเดียจาก โครงการ “เติมหนังสือสู่สมอง” http://www.books4brains.org/)
– การจัดมุมหนังสือเพื่อชุมชน (นำหนังสือมือสองของคนในชุมชนมาจัดเป็นมุมหนังสือ)
– พนักงานตำแหน่ง Book Specialists และ Book Consultants ให้คำแนะนำผู้ใช้บริการในการเลือกหนังสือ
– เสวนาเพื่อสร้างกระแสนักอ่าน (ไอเดียจาก งานเสวนา วรรณกรรมเยาวชน..ในหัวใจคนรักอ่าน)

นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างกิจกรรมที่ผมเก็บมาจากไอเดียต่างๆ ในเว็บไซต์ Pantip.com นะครับ
เอาเป็นว่าถ้าเพื่อนๆ ว่างๆ ก็ลองแว๊บเข้าไปอ่านกันดูแล้วเอามาแชร์ไอเดียแลกเปลี่ยนกันนะครับ

สุดท้ายก็ขอขอบคุณทุกไอเดียที่เขียนใน Pantip.com นะครับ
ไอเดียมีอยู่ทุกที่เพียงแค่คุณจะรู้จักหยิบมันมาใช้หรือเปล่าก็เท่านั้น

เทศกาลคริสต์มาสกับชาวห้องสมุด

สวัสดีเดือนสุดท้ายของปีนะครับ (ธันวาคม) เดือนนี้มีวันหยุดเยอะมากๆ หลายคนคงชอบใจ
และวันหยุดหนึ่งที่เป็นที่คึกคักของทุกคนนั่นก็คือ “เทศกาลวันคริสต์มาส” ครับ
วันนี้ผมเลยขอนำรูปต้นคริสต์มาสจากห้องสมุดต่างๆ ในต่างประเทศมาให้ดูกันนะครับ

christmastree

การจัดต้นคริสต์มาสในห้องสมุดนับว่าเป็นอีกสีสันหนึ่งที่สามารถทำได้ในห้องสมุด
ในต่างประเทศนิยมการจัดต้นคริสต์มาสแบบสร้างสรรค์และแปลกๆ มากมาย

บางต้นเห็นแล้วก็ต้องตกตะลึงว่าคิดได้ไง บางต้นออกมาก็ดูเรียบๆ แต่มีสไตล์

เอาเป็นว่าเราเริ่มไปดูต้นคริสต์มาสของห้องสมุดแต่ละที่กันดีกว่า
(บางที่ไม่ใช่ห้องสมุดโดยตรง แต่ไอเดียมันใกล้ๆ ห้องสมุด ผมก็ขอยกมานะครับ)

เริ่มต้นด้วยต้นคริสต์มาสที่เรียงจากหนังสือกันดีกว่า (ภาพจาก boingboing.net)

booktree1-196x300

ต้นนี้หลายคนคงเห็นเยอะแล้ว ลักษณะการเรียงหนังสือแบบนี้
(ภาพจาก University of Aalborg Library)

booktree2-224x300

ต่อมาเป็นไอเดียเก๋ๆ ต้นคริสต์มาสจากถ้วยกาแฟ (แบบว่าห้องสมุดคิดหรือนี่)
(ภาพจาก Education Centre Library)

booktree3-225x300

แบบต่อไปเก๋ไก๋มากครับ หนังสือเรียงกันเป็นชั้นๆ แล้วตามด้วยสายรุ้ง
(ภาพจาก Carnegie Library of Homestead)

booktree4-225x300

ภาพสุดท้ายอันนี้อลังการงานสร้างมากๆ แต่อยู่ในโรงพยาบาลครับ
(ภาพจาก New Books for Patients of Blank Children?s Hospital)

booktree5-200x300

เป็นไงกันบ้างครับได้ไอเดียจุดประกายเรื่องต้นคริสต์มาสในห้องสมุดหรือยังครับ
ไว้ถ้ามีโอกาสผมจะเข้ามาเพิ่มรูปอีกเรื่อยๆ เลยนะครับ

ปล. ช่วงนี้ใกล้วันพ่อแล้ว ห้องสมุดคงต้องจัดนิทรรศการเทิดพระเกียรติวันห่อก่อนนะครับ
แล้วหลังงานนี้เราค่อยมาจัดต้นคริสต์มาสแข่งกันนะครับ

ห้องสมุดมารวยจัดกิจกรรมเสวนาเปิดตัวหนังสือ

กิจกรรมที่น่าสนใจของห้องสมุดมารวยกิจกรรมนี้ ผมขอนำมาเล่าใหม่
เพื่อนำเสนอรายละเอียด และกรณีศึกษาสำหรับการจัดกิจกรรมในห้องสมุด

image0012

ข้อมูลของกิจกรรมนี้
ชื่อกิจกรรม : งานเสวนาเปิดตัวหนังสือ ?กฎแห่งความโชคดี? กับ คุณบัณฑิต อึ้งรังษี
จัดในวันที่ : 29 มีนาคม 2552 เวลา 17.00 – 18.00 น.
สถานที่จัดงาน : ห้องสมุดมารวย@Esplanade

งานเสวนาเปิดตัวหนังสือครั้งนี้ คุณบัณฑิต อึ้งรังษี มาเองเลยนะ
นับว่าเป็นโอกาสที่ดี ที่เราจะได้ฟังคนเก่งๆ พูด
อย่างน้อยก็ถือซะว่าเป็นการรับฟังไอเดีย และประสบการณ์จากคนเก่งแล้วกันนะ

เราไปดูข้อมูลหนังสือของคุณบัณฑิต อึ้งรังษีกัน

book

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้
ชื่อหนังสือ : กฎแห่งความโชคดี
ชื่อผู้เขียน : บัณฑิต อึ้งรังษี
ISBN : 9789745192577
สำนักพิมพ์ : อินสไปร์มิวสิค

ในโปสเตอร์ของกิจกรรมนี้ มีข้อความที่น่าสนใจ เช่น
– วิกฤตเศรษฐกิจแบบนี้จะผ่านพ้นไปเช่นไร
– โชคชะตาจะมีส่วนช่วยเราได้หรือไม่
– ความโชคดี ไม่ได้มาหาคุณแบบสุ่มสี่สุ่มห้า
– โชคก็มีกฎ หากคุณทำตามกฎนั้น คุณจะโชคดี

งานเสวนาครั้งนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายนะครับ (ฟรีๆๆๆๆๆ)
งานเสวนาดีๆ แบบนี้ จริงๆ ผมอยากให้ห้องสมุดหลายๆ ที่ได้มาดู
อย่างน้อยก็เพื่อเป็นไอเดียในการจัดกิจกรรมของห้องสมุดของท่าน

ถ้าท่านได้มาดูงานนี้แล้ว ผมเชื่อว่าไอเดียในการจัดกิจกรรมของห้องสมุด
ท่านจะคิดได้รอบด้านกว่านี้แน่นอนครับ

สัปดาห์ห้องสมุดปีที่ 34 : บทบาทของห้องสมุดกับการพัฒนาอาชีพ

ช่วงนี้มีเพื่อนๆ เข้ามาถามเรื่องการจัดกิจกรรมสำหรับงานสัปดาห์ห้องสมุดแห่งประเทศไทยเยอะมาก
ผมก็เลยขอถือโอกาสนี้ตอบผ่านบล็อกของผมเพื่อเป็นแนวให้ทุกๆ คนเลยนะครับ

library-week

ปีนี้สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ได้ประกาศให้มีการจัดงานสัปดาห์ห้องสมุดปีที่ 34 ในเดือนสิงหาคม
โดยใช้หัวข้อในการจัดงานของปีนี้ คือ “บทบาทของห้องสมุดกับการพัฒนาอาชีพ”
สถานที่ในการจัดงาน คือ ห้องสมุดทุกประเภท ทั่วประเทศ (ทุกห้องสมุดรับนโยบาย)

สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยได้เสนอแนวคิดในการจัดกิจกรรม ดังนี้
1. จัดนิทรรศการเกี่ยวกับพระราชประวัติ? และพระราชกรณียกิจ และพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
2. จัดแสดงสินค้าที่ประชาชนในท้องถิ่น / ชุมชน จัดทำขึ้น? ขอความร่วมมือให้ผู้ผลิตนำมาจำหน่ายในงานสัปดาห์ห้องสมุด
3. จัดการบรรยาย / อภิปราย / เสวนา / เรื่องอาชีพต่างๆ ที่ บุคคล / ครอบครัว จะจัดทำ และจำหน่ายเป็นรายได้
4. จัดนำชมห้องสมุด

หลังจากที่ดูจากกิจกรรมของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยแล้ว
ผมก็ขอเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมนิดนึงนะครับ

1. เรื่องนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติอันนี้แน่นอนครับเดือนสิงหาคม
วันแม่แห่งชาติ เพื่อนๆ ควรจะต้องจัดกิจกรรมสัปดาห์วันแม่แห่งชาติอยู่แล้ว

2. การนำสินค้าในท้องถิ่นมาจำหน่ายในงานสัปดาห์ห้องสมุด
อันนี้อาจจะพบเห็นได้น้อยที่นะครับ แต่เพื่อให้เข้ากับธีมของงานก็อาจจะทำได้เช่นกัน

3. การบรรยายเรื่องอาชีพในห้องสมุดอันนี้ก็โอเคนะครับ
จะให้ดีห้องสมุดควรลองประสานงานกับวิสาหกิจชุมชนดูสิครับ แล้วจะได้วิทยากรมาบรรยาย

4. นำชมห้องสมุด อันนี้แม้ว่าจะไม่ใช่สัปดาห์ห้องสมุดก็ต้องจัดอยู่แล้วครับ

และในฐานะที่ผมเป็นบล็อกเกอร์ของชาวห้องสมุดและบรรณารักษ์
ผมก็ขอร่วมจัดกิจกรรมสัปดาห์ห้องสมุดกับเขาด้วยเหมือนกัน
เพียงแต่ของผมจะจัดกิจกรรมบนบล็อกและเวทีสาธารณะด้านนอกแล้วกันนะครับ

กิจกรรมสัปดาห์ห้องสมุดที่จะจัดโดย Libraryhub (ในเดือนสิงหาคม)
– จัดงาน Libcamp#2 ในวันที่ 1 สิงหาคม 2552 โดยใช้ธีมเกี่ยวกับ บรรณารักษ์บล็อกเกอร์กับการพัฒนางานห้องสมุด
-เชิญผู้ที่ประกอบอาชีพในวงการต่างๆ มาสัมภาษณ์ถึงความสำเร็จ และประสบการณ์ในการใช้ห้องสมุด (4 คน : 4 วัน)
– พาทัวร์ห้องสมุดชุมชนที่มีส่วนต่อการพัฒนาอาชีพ และพาทัวร์ห้องสมุดขององค์กรที่ประสบความสำเร็จ
– กิจกรรมคลิ๊กนี้เพื่อแม่ (ในช่วงวันแม่) จะให้ช่วยกันคลิกถวายพระพร
– สำรวจหนังสือเล่มโปรดของเพื่อนๆ

เอาเป็นว่าเกริ่นไว้แค่นี้ก่อนดีกว่า แต่ผมรับรองว่าในเดือนสิงหาคม
Libraryhub ในธีมของงานสัปดาห์ห้องสมุด
จะต้องทำให้เพื่อนๆ ได้ไอเดียในการจัดกิจกรรมอีกเยอะเลยทีเดียว

รายละเอียดเกี่ยวกับการจัดงานสัปดาห์ห้องสมุด ประจำปี 2552 โดยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

ดาวน์โหลดได้ที่ – เอกสารจัดงานสัปดาห์ห้องสมุด ประจำปี 2552

สำหรับวันนี้ผมก็ขอให้เพื่อนๆ มีแรงบันดาลใจในการคิดกิจกรรมดีๆ แล้วกันนะครับ
หากต้องการคำปรึกษาก็อีเมล์มาถามได้ หรือ MSN ถ้าสะดวกผมจะตอบทันที
เตรียมนับถอยหลังงานสัปดาห์ห้องสมุดได้แล้วนะครับ บ๊ายบาย

กิจกรรมที่น่าสนใจ จาก ห้องสมุดวิลเลี่ยม วอร์เรน

วันนี้มีเรื่องจะมาประชาสัมพันธ์ให้เพื่อนๆ ได้รับทราบกัน?เป็น 2 กิจกรรมที่น่าสนใจ
งานนี้จัดโดย ห้องสมุดวิลเลี่ยม วอร์เรน (William Warren Library)

william-warren-library

กิจกรรมทั้ง 2 กิจกรรม ที่ผมจะแนะนำ ก็คือ
1. กิจกรรมฉายภาพยนตร์สารคดีสั้น พื้นที่แห่ง?สาธารณะ?
2. กิจกรรมการบรรยาย เรื่อง ?วิถีการทอผ้าในชุมชนอีสานจากเศรษฐกิจชุมชนสู่การเติบโตในระดับมหภาค?

โดยรายละเอียดของแต่ละกิจกรรมแบบละเอียดมีดังนี้

??????????????????

1. กิจกรรมฉายภาพยนตร์สารคดีสั้น พื้นที่แห่ง?สาธารณะ?
จัดฉายในวันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม 2551 เวลา 14.00-15.00 น.
และจะฉายซ้ำในวันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม 2551 เวลา 18.00-19.00 น.
ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาล Bangkok Design Festival

พื้นที่แห่ง ?สาธารณะ?

แนว คิดเรื่องพื้นที่สาธารณะดูเหมือนเป็นที่ยอมรับและเข้าใจตรงกันว่ามีความจำ เป็นต่อการดำรงอยู่ของชีวิตในเมือง แต่ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวเป็นเสมือนตาบอดคลำช้าง แต่ละฝ่ายต่างก็เข้าใจกันไปตามมุมมองของตนเอง อย่างไรก็ตาม พื้นที่กำเนิดมาจากคน พื้นที่สาธารณะในเมืองอย่างกรุงเทพแตกต่างจากเมืองอื่นๆเพราะเงื่อนไขในการ กำเนิดและคลี่คลายของมันเอง นับแต่อดีตจนปัจจุบัน

ภาพยนตร์ สั้นจำนวน 5 เรื่องจะเป็นการค้นหามุมมองใหม่เกี่ยวกับพื้นที่สาธารณะในกรุงเทพ กรุงเทพเป็นหนึ่งในเมืองที่มีผู้อยู่อาศัยที่ซับซ้อน หลายเผ่าพันธ์มากที่ สุดในโลก คนเหล่านี้ผลิตและมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งของและพื้นที่แวดล้อมตัวเอง ทั้งจากความบังเอิญและจากกรอบวัฒนธรรม ปฏิสัมพันธ์นี้มีส่วนในการพัฒนาการ คลี่คลายสภาวะทางกายภาพของเมือง ในขนาดย่อยและขนาดใหญ่ ภาพยนตร์นับว่าเป็นสื่อที่เหมาะสมแก่การนำเสนอแนวคิดที่หลากหลายของพื้นที่ สาธารณะในเมือง เนื่องจากเป็นสื่อที่กินพื้นที่และเวลาในตัวเอง เฉกเช่นเดียวกับเมืองที่เป็นพื้นที่รองรับเวลาแห่งกิจกรรม

ภาพยนตร์สั้นจำนวน 5 เรื่อง ประกอบด้วย

เรื่องที่หนึ่ง กำเนิด
ถ้าความหมายของพื้นที่เกิดจากคน กรุงเทพก็แตกต่างจากเมืองอื่นๆในแง่ที่ถือกำเนิดจากสถานะการณ์เฉพาะตัว ต้นกำเนิดของพื้นที่สาธารณะในเมืองหลวงของเรามีความเป็นมาอย่างไร

เรื่องที่สอง ปฏิกิริยา
เรามีปฏิสัมพันธ์กับพื้นที่และสิ่ง ของตามสัญชาตญาณและตามวิถีวัฒนธรรม มาลองดูกันใกล้ๆว่าคนกรุงเทพทำตัวกลมกลืนและ/หรือขัดแย้งกับสภาพแวดล้อมของ เมืองอย่างไร

เรื่องที่สาม ทัศนะเบื้องบนและล่าง
ชั้นของข้อมูลข่าวสารบนพื้นที่ สาธารณะที่ทับซ้อนกัน ส่งผลให้การรับรู้เกี่ยวกับพื้นที่บริเวณเดียวกันของคนที่อยู่คนละตำแหน่ง แตกต่างกัน

เรื่องที่สี่ สาธารณะหรือส่วนตัว
พื้นที่ที่คนกลุ่มหนึ่งมองว่าสาธารณะแต่คนกลุ่มหนึ่งมองว่าเป็นพื้นที่ส่วนตัว อาณาบริเวณเหล่านี้เหลื่อมทับกันอย่างไร ตามมุมมองของคน

เรื่องที่ห้า สินค้าและพื้นที่
เมืองตะวันตกเป็นกายภาพและทัศนีย วิทยา เมืองแบบญี่ปุ่นเป็นชุดของเหตุการณ์ เมืองกรุงเทพเป็นชุดของการแลกเปลี่ยน? พิจารณาแง่มุมของการแลกเปลี่ยนบนพื้นที่สาธารณะในระดับต่างๆ บนพื้นที่ต่างๆ

??????????????????

2. กิจกรรมการบรรยาย เรื่อง ?วิถีการทอผ้าในชุมชนอีสานจากเศรษฐกิจชุมชนสู่การเติบโตในระดับมหภาค?
บรรยายโดย อาจารย์สุริยา สมุทคุปต์ (ผู้เชี่ยวชาญวัฒนธรรมสิ่งทออีสาน) และ
ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ (จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง)
ในวันอาทิตย์ที่ 2 พฤศจิกายน 2551 เวลา 13.00-15.00 น.

การ บรรยายครั้งนี้จะกล่าวถึงบทบาทผู้หญิงผ่านวิถีและกระบวนการทอผ้าที่มีผลต่อ สถานภาพและโครงสร้างทางสังคมอีสานในความเปลี่ยนแปลงจากอดีตสู่ปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวยังคงเป็นการปรับตัวที่วางอยู่บนรากฐานทางวัฒนธรรม ดั้งเดิมการทอผ้ายังคงเป็นต้นทุนทางวัฒนธรรมของผู้หญิงอีสาน และในฐานะแม่ที่ต้องรับผิดชอบงานในครัวเรือนและกิจกรรมทางเศรษฐกิจ วิถีการทอผ้าซึ่งฝังรากลึกอยู่ในบทบาทผู้หญิงอีสานจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงและ ขยายขนาดจากหัตถกรรมเพื่อหาเลี้ยงชีพในชุมชนสู่การเปลี่ยนแปลงเป็นระบบ อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ สิ่งเหล่านี้มีกระบวนการการเปลี่ยนแปลงอย่างไร และเกิดผลกระทบกับวิถีการดำรงชีวิตของคนในชุมชนอีสานอย่างไร

??????????????????

กิจกรรมทั้งสองที่ได้กล่าวมา ผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
และท่านสามารถขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ : 02-612-6741

ที่ตั้งของ ห้องสมุดวิลเลี่ยม วอร์เรน (William Warren Library)
อาคารเฮนรี่บี ทอมป์สัน เลขที่ 6 ซอยเกษมสันต์ 2 ถนนพระรามที่ 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน
โทรศัพท์ : 02-612-6741

ต้องขอขอบคุณข้อมูลจาก คุณลัดดาวัลย์ อู่แสงทอง (บรรณารักษ์ ห้องสมุดวิลเลี่ยม วอร์เรน)