งานสัมมนามิติใหม่ในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุด

ปลายเดือนนี้มีงานสัมมนางานหนึ่งที่ผมว่าน่าสนใจมากๆ นั่นคือ “การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 29” นั่นเอง ซึ่งธีมที่จะพูดในปีนี้ คือ เรื่องมิติใหม่ในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุด มาลองอ่านระอียดของงานนี้กัน

รายละเอียดงานสัมมนาเบื้องต้น
ชื่องาน : การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 29
ธีมงาน : มิติใหม่ในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุด
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุม ชั้น 5 อาคารเรียนรวม 5 ชั้น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง
วันที่จัด : วันที่ 29 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ 2556
จัดโดย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดในปีที่ผ่านมา เริ่มเห็นชัดขึ้นมาก (เริ่มเห็นก็ตอนหลังน้ำท่วมใหญ่นี่แหละ) ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดมีหลายลักษณะ เช่น ความร่วมมือในการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ความร่วมมือในการรวมกลุ่มกันบอกรับฐานข้อมูล ความร่วมมือในการพัฒนาโปรแกรมห้องสมุด หรือแม้แต่ความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน

เอาเป็นว่าหัวข้อนี้ก็เป็นหัวข้อหนึ่งที่เป็นเรื่องที่ควรนำมาพูดกันอย่างจริงจังบ้าง
คนนอกวงการจะได้รู้สักทีว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่ห้องสมุดรวมกลุ่มกันมันคือเรื่องใหญ่

หัวข้อที่น่าสนใจของงานนี้

– Library Consortium Management
– การพัฒนาคลังสารสนเทศขนาดใหญ่โดยใช้ DSpace รองรับการให้บริการหลากหลาย Platform (Windows, iPad, Android)
– การใช้ระบบสืบค้น Google Search Appliance กับงานห้องสมุด
– การพัฒนาคลังสารสนเทศศิลปวัฒนธรรมและข้อมูลท้องถิ่นของห้องสมุดและข่ายความร่วมมือเพื่อรองรับประชาคมอาเชียน
– What we learn from EU, their Libraries Cooperation, and Repositories
– Virtual Newspaper in an Educational and Engaging Environment
– Powering Quality Research
– PLoT – Public Library of Thailand ระบบฐานข้อมูล และคลังสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการสร้างผลงานทางวิชาการรับใช้สังคม
– ห้องสมุดในฝัน
– แนวทางความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน
– Britannica Online – The Complete Digital Resource
– มิติใหม่ของการบอกรับฐานข้อมูลออนไลน์
– Creating a Different Future for Library Services, World Share Management Services
– The Lines of Crowdsourcing as a Way Forward for Libraries
– ความร่วมมือในการดำเนินงานประกันคุณภาพห้องสมุด
– วิวัฒนาการของสื่อกระดาษสู่ดิจิทัล
– สื่อทรัพยากรสารสนเทศกับระบบ Cloud Computing
– การใช้นวัตกรรมใหม่เพื่อการสืบค้นข้อมูลสำหรับห้องสมุดอนาคต (EBSCO Discovery Service)
– บทบาทของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและสถานะความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย
– Partnership with Taylor & Francis
– แนวโน้มในอนาคตของความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย

เห็นหัวข้อแล้วก็ต้องอึ้ง เพราะอัดแน่นด้วยเรื่องที่น่าสนใจทั้งสิ้น
ที่สำคัญยังมีวิทยากรจากต่างประเทศมาร่วมบรรยายเยอะพอสมควร

การสัมมนาครั้งนี้มีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมงาน 2500 บาทนะครับ
และปิดรับลงทะเบียนออนไลน์ – ชำระเงินค่าลงทะเบียนภายในวันที่ 8 มกราคม 2556 เท่านั้น

เอาเป็นว่าน่าสนใจขนาดนี้ก็อยากให้เพื่อนๆ มาร่วมงานกันเยอะๆ นะครับ
ส่วนใครที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมก็อ่านกันต่อได้ที่
http://coconference.library.tu.ac.th/

การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 29

งานประชุมวิชาการของกลุ่มห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาก็เป็นอีกงานที่น่าสนใจนะครับ
ปีนี้ก็เช่นกัน ธีมงานของปีนี้คือ “มิติใหม่ในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุด”

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับการประชุมวิชาการ
ชื่องานภาษาไทย : การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 29
หัวข้อของการจัดงานภาษาไทย : มิติใหม่ในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุด
หัวข้อของการจัดงานภาษาอังกฤษ : The New Dimension of Library Cooperation Development
วันและเวลาที่จัดงาน : วันที่ 27 –  30 พฤศจิกายน 2555
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุม อาคารเรียนรวม 5 ชั้น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง

หัวข้อปีนี้ “มิติใหม่ในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุด” ได้บ่งบอกประเด็นหลักๆ คือ ห้องสมุดในมุมมองใหม่ กับ ความร่วมมือในการพัฒนาห้องสมุด การประชุมครั้งนี้ก็คงคล้ายๆ กับครั้งก่อนๆ คือ การนำเสนองานวิชาการ การระดมสมองทางงานวิชาการ ฯลฯ

ตัวอย่างหัวข้อที่น่าสนใจในงานประชุมวิชาการครั้งนี้

– Library Consortium Management
– การพัฒนาคลังสารสนเทศขนาดใหญ่โดยใช้ DSpace ของสถาบันนิติบัญญัติ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
– Virtual Newspaper in an Educational and Engaging Environment
– ห้องสมุดในฝัน
– เทคโนโลยี Cloud Computing กับการพัฒนาระบบห้องสมุด
– หนังสือลอยฟ้า : มิติใหม่ของ e-books
– องค์กร EIFL กับการพัฒนาห้องสมุดในประเทศไทย
– วิธีคิดและแนวทางความร่วมมือของห้องสมุดเครือข่าย OCLC จากการประชุม Asia Pacific Regional Council 3rd Membership Conference
– URD2 (Unified Resource Discovery and Delivery)
– แนวทางความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน
– ความร่วมมือในการจัดทำดรรชนีวารสารระหว่างห้องสมุด : มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบับัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และธนาคารแห่งประเทศไทย
– บทบาทของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสถานะความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย
– คณะกรรมการเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย
– รายงานความก้าวหน้าของคณะอนุกรรมการฯ ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในรอบปีที่ผ่านมา

เป็นยังไงบ้างครับกับหัวข้อต่างๆ ในงานประชุมวิชาการในครั้งนี้ แต่ละหัวข้อน่าสนใจมากๆ เลย เพื่อนๆ ว่ามั้ย
การประชุมครั้งนี้มีความใช้จ่ายด้วยนะครับ ค่าลงทะเบียนก็ท่านละ 2,500 บาทนะครับ

เอาเป็นว่าใครสนใจก็ลงทะเบียนได้เลยครับที่ http://203.131.219.178:8080/coconference2011/index_coconference2011.asp

รายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อนๆ สามารถอ่านได้ที่ http://203.131.219.178/coconference/

ต้อนรับงาน WUNCA 23 ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

ในสัปดาห์หน้ามีงานใหญ่ที่เกี่ยวกับวงการศึกษาในระดับอุดมศึกษา (งานของ UNINET) หรือที่หลายๆ คนรู้จักในนามของงาน WUNCA ถือเป็นกิจกรรมที่จัดโดยเครือข่ายความร่วมมือของสถาบันอุดมศึกษาของไทยที่ใหญ่ที่สุดก็ว่าได้ ผมจึงขอแนะนำงาน WUNCA ในครั้งนี้ว่ามีอะไรที่น่าสนใจบ้าง

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงานนี้
ชื่อการประชุมภาษาไทย : การดำเนินกิจกรรมบนระบบเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา ครั้งที่ 23
ชื่อการประชุมภาษาอังกฤษ : Workshop on UniNet Network and Computer Application หรือ WUNCA23
วันและเวลา : 26-28 มกราคม 2554
สถานที่จัดงาน : มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
ผู้จัดการประชุม : UNINET สกอ.

งาน Wunca ครั้งนี้ผมสังเกตว่าเกิดกลุ่มใหม่ๆ และมี session เพิ่มขึ้นเยอะมาก โดยเฉพาะเรื่องไอที
ซึ่งมีตั้งแต่เรื่องของความปลอดภัยในการดูแลระบบไปจนถึงระดับพวกเขียนโปรแกรมบนไอโฟนแบบว่าน่าเข้าร่วมมากๆ
แต่วันนี้ผมขอเน้นข้อมูลเพื่อให้บรรณารักษ์และคนในวงการห้องสมุดดูดีกว่าว่างานนี้เกี่ยวอะไรกับห้องสมุดได้บ้าง

หัวข้อบรรยายในกลุ่มของ Thailis (เครือข่ายความร่วมมือพัฒนาห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไทย)
– การบรรยายพิเศษ เรื่อง “Learnig Space”
– การบรรยายพิเศษ เรื่อง “Search Engine : ผลกระทบต่อบรรณารักษ์”
– การบรรยายพิเศษเรื่อง “มุมมอง : รอด…ไม่รอด… กับระบบห้องสมุดอัตโนมัติ KMUTT”
– อบรมการใช้งานฐานข้อมูล Computers & Applied Sciences Complete / Academic Search Premium /Education Research Complete
– อบรมการใช้งานฐานข้อมูล ScienceDirect

ปล. กลุ่ม Thailis จะมีการบรรยายในวันที่ 27 มกราคม 2554 วันเดียว

นอกจากหัวข้อในกลุ่มของ Thailis แล้ว กลุ่มอื่นๆ ที่น่าสนใจและผมแนะนำได้แก่
วันที่ 26 มกราคม 2554
– การบรรยายปาฐกถา เรื่อง “นโยบาย 3N และทิศทางการศึกษาไทย”
– การบรรยายพิเศษ เรื่อง “UniNet พบมหาวิทยาลัย”
– Project Collaboration ThaiREN & TWNIC

วันที่ 27 มกราคม 2554
– การบรรยายพิเศษเรื่อง ?Education 3.0 กับ Open Source?
– Education Technology, Moodle 2.0, Social Media. จะไปด้วยกันอย่างไร การศึกษาไทยถึงจะรอด?
– การใช้เครือข่ายสังคมเพื่อการเรียนรู้อย่างยั่งยืนด้านการเขียนและการคิดวิเคราะห
– บรรยาย เรื่อง ?อุดมศึกษาไทยรับมืออย่างไรในยุค New media?
– คุยซายน์ ?ซอฟต์แวร์เพื่อช่วยบริหารจัดการการให้ทุนวิจัยในองค์กร?

วันที่ 28 มกราคม 2554
– ?การพัฒนาระบบสารสนเทศอัจฉริยะของระบบ e-learning โดยใช้ซอฟต์แวร์ Open Source Pentaho BI Suite?
– เสวนาประสบการณ์ตรงที่ได้รับจากการเรียนในหลักสูตรผู้เชี่ยวชาญอีเลิร์นนิง

เอาเป็นว่าผมขอแนะนำหัวข้อที่น่าสนใจเท่านี้ก่อนแล้วกัน รายละเอียดเกี่ยวกับหัวข้อต่างๆ เพื่อนๆ ไปดูได้ที่
http://www.wunca.uni.net.th/wunca23/

งานนี้เป็นงานที่แวดวงการศึกษาในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศรวมถึงวงการห้องสมุดไม่ควรพลาด
จากที่เคยเข้าร่วมงานมา 2-3 ครั้ง ผมรับรองเลยว่างานนี้ไอเดียและความรู้มีให้เก็บเกี่ยวเพียบ

คนที่ต้องการเข้าร่วมงานนี้ต้องลงทะเบียนด้วยนะครับ เข้าไปสมัครได้ที่
http://www.wunca.uni.net.th/wunca/Regis_wunca/wunca23_Mregis.php
(ตอนนี้ปิดรับลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว แต่เพื่อนๆ สามารถติดต่อขอเข้าร่วมงานสัมมนาได้ที่หน้างานเลย)

หากต้องการข้อมูลเกี่ยวกับงานนี้เพิ่มเติม เพื่อนๆ สามารถเข้าไปที่
เว็บไซต์ทางการงาน Wunca23 – http://www.wunca.uni.net.th/wunca23/

เว็บไซต์งาน Wunca ย้อนหลัง
Wunca22 (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี) – http://www.wunca.uni.net.th/wunca22/
Wunca21 (มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี) – http://www.wunca.uni.net.th/wunca21/
Wunca20 (มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย) – http://www.wunca.uni.net.th/wunca20/
Wunca19 (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี) – http://wunca19.uni.net.th/

การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 27

งานสัมมนาประจำปีครั้งใหญ่ของเหล่าห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษากำลังจะมาแล้ว
ดังนั้นบล็อกห้องสมุดอย่างผมต้องขอเอามาเล่าและประชาสัมพันธ์สักหน่อยครับ

seminar-academic-library

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงานสัมมนา
ชื่องานภาษาไทย : การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 27
หัวข้อของการจัดงาน : แนวทางการปฏิบัติเพื่อความเลิศ (Best Practices) ในงานห้องสมุด
วันและเวลาที่จัดงาน : วันที่ 14-16 ธันวาคม 2552
สถานที่จัดงาน : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

ภายในงานสัมมนาครั้งนี้ก็มีวิทยากรหลายคนที่จะนำเสนอหัวข้อน่าสนใจมากมาย
รวมถึงการประชุมกลุ่มงานต่างๆ ในห้องสมุด และเสนอผลงานของกลุ่มงานต่างๆ
ผมว่าการประชุมแบบนี้จะทำให้เกิดการระดมพลทางความคิดมากมาย
ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาวงการห้องสมุดให้ก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป

ตัวอย่างหัวข้อที่น่าสนใจในงานเสวนาครั้งนี้
– ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษากับการพัมนาความเป็นเลิศทางวิชาการของสถาบัน
– แนวทางการปฏิบัติเพื่อความเป็นเลิศในการวิจัยเพื่อพัฒนาห้องสมุด
– การวางแผนกลยุทธ์องค์กรสู่ความเป็นเลิศ
– บรรณารักษ์จะพัฒนาตนเองอย่างไรไม่ตกยุค
– เทคนิคการสร้างความคิดเชิงบวกอย่างสร้างสรรค์เพื่อการทำงาน

ค่าลงทะเบียนเข้าร่วมงานสัมมนาครั้งนี้ คือ 2,200 บาท
นับว่าเป็นค่าลงทะเบียนที่ไม่แพงด้วยนะครับ
แต่ได้รับความรู้อันเต็มเปี่ยมแบบนี้นับว่าคุ้มค่าครับ

เอาเป็นว่าใครที่ไปร่วมงานนี้ก็กลับมาเล่าให้ผมฟังบ้างนะครับ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://202.29.20.78/seminar27/

งานสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดฯ ครั้งที่ 26 พร้อมเอกสารประกอบ

งานสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 26
ชื่อหัวข้อ คือ ?รวมพลังสู่ความเป็นเลิศ : ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในทศวรรษใหม่?

banner1

รายละเอียดทั่วไปของงานนี้
ชื่องาน : งานสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 26
หัวข้อ : รวมพลังสู่ความเป็นเลิศ : ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในทศวรรษใหม่
วันที่จัด : วันที่ 19 – 21 พฤศจิกายน 2551
สถานที่ : ห้องประชุม 1 – 301 อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์ มหาวิทยาลัยรังสิต

หัวข้อเด่นๆ ที่น่าสนใจในงานสัมมนา
– ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง เครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษากับความเป็นเลิศทางวิชาการ
– การอภิปราย เรื่อง เครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไทย : ความร่วมมือสู่ความเป็นเลิศ
– การอภิปราย เรื่อง การเทียบสมรรถนะเพื่อความเป็นเลิศ พร้อมหรือไม่ และทำอย่างไร
– ประชุมกลุ่มย่อยและเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ เพื่อหาวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด
– การอภิปรายเรื่อง มาตรฐานห้องสมุดมหาวิทยาลัยกับการประเมินคุณภาพ
– การบรรยายเรื่อง การจัดการความรู้ในห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา : จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ
– การบรรยายเรื่อง ห้องสมุดกับการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น
– การบรรยายเรื่อง การสร้างและปรับปรุงแบรนด์ห้องสมุด (Branding & Re-branding in Library)
– การอภิปราย เรื่อง มาตรฐานคุณภาพของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา

เอกสารการสัมมนาที่สามารถดาวน์โหลดได้มีดังนี้

วันที่ 19 พฤศจิกายน 2551

ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง ?เครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษากับความเป็นเลิศทางวิชาการ?
โดย ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคระกรรมการอุดมศึกษา

การอภิปรายเรื่อง ?เครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไทย : ความร่วมมือสู่ความเป็นเลิศ?
ดร.มลิวัลย์ ประดิษฐ์ธีระ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต
ผู้บริหารเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

การอภิปรายเรื่อง ?เครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไทย : ความร่วมมือสู่ความเป็นเลิศ?
รศ.ดร.อรุณี อินทรไพโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี
ผู้บริหารเครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

– ประชุม กลุ่มย่อย : กลุ่มคณะทำงานด้านพัฒนาทรัพยากรสานิเทศ
อาจารย์ จรินทร์ คิดหมาย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตท่าพระ

ประชุม กลุ่มย่อย : กลุ่มคณะทำงานด้านวิเคราะห์ทรัพยากรสารนิเทศ
อาจารย์ บุญสม เล้าพูนพิทยะ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร

ประชุม กลุ่มย่อย : กลุ่มคณะทำงานด้านบริการ
อาจารย์ ภาวณา เขมะรัตน์ สำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2551

การอภิปราย เรื่อง ?มาตรฐานห้องสมุดมหาวิทยาลัยกับการประเมินคุณภาพ?
รศ. อิ่มจิต เลศพงษ์สมบัติ คณบดีคณะวิทยาการสื่อสารและผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

การอภิปราย เรื่อง ?มาตรฐานห้องสมุดมหาวิทยาลัยกับการประเมินคุณภาพ?
นางวราภรณ์ สีหนาท ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา

การบรรยายทางวิชาการ เรื่อง?การสร้างและปรับปรุงแบรนด์ห้องสมุด?
ดร.ชันนยา รอดสุทธิ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เสริมยศ ธรรมรักษ์ หัวหน้าภาควิชาการสื่อสารแบรนด์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

การอภิปรายเรื่อง ?มาตรฐานคุณภาพของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
ดร.พฐา สุวรรณรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

การอภิปรายเรื่อง ?มาตรฐานคุณภาพของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
ดร.สุวิมล ธนะผลเลิศ ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศทางการศึกษา คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เป็นยังไงกันบ้างครับเอกสารต่างๆ ในการสัมมนา
ผมคิดว่ามีประโยชน์ และคุณค่าสำหรับวงการบรรณารักษ์ และห้องสมุดเลยทีเดียว

หลายๆ ครั้งที่มีการจัดงานสัมมนาห้องสมุด บางครั้งผมเองก็ไม่สามารถเข้าร่วมได้
ก็หวังว่าจะมีเอกสารให้ได้อ่านย้อนหลังบ้าง แต่บ่อยครั้งที่มักจะไม่มีให้ดาวน์โหลด
ครั้งนี้ก็เป็นอีกครั้งที่ผมอยากเข้าร่วมงาน แต่ไม่สามารถไปได้
ก็ได้แต่หวังว่าผู้จัดงานจะส่งเอกสารมาให้อ่าน ซึ่งคงเป็นแค่ฝันลมๆ แล้งๆ
แต่วันนี้ฝันของผมก็ได้เป็นจริง เมื่อการสัมมนาครั้งนี้นำเอกสารประกอบการสัมมนาขึ้นบนอินเทอร์เน็ต
นับว่าเป็นสิ่งที่หลายๆ คนคงจะอยากได้เหมือนผม

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณเพื่อนสมาชิกที่ส่งข้อมูลมาให้
ขอบคุณผู้ที่จัดงานทุกคน
ขอบคุณผู้ร่วมงานสัมมนาทุกคน
และขอบคุณผู้ร่วมวิชาชีพเดียวกัน

สำหรับผู้จัดงานอื่นๆ ขอให้นำการสัมมนานี้ไปเป็นแบบด้วยนะครับ
เพื่อประโยชน์ต่อสังคม การแบ่งปันความรู้ถือว่าเป็นสิ่งที่มีพลังมากๆ

โครงการสัมมนาความร่วมมือกลุ่มผู้ใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai AutoLIB

กิจกรรมที่น่าสนใจอีกหนึ่งกิจกรรมช่วงนี้สำหรับวงการห้องสมุด
ก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่อง “การสัมมนาความร่วมมือกลุ่มผู้ใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ”

walai-autolib

Read more