บทบาทของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา (ที่สนับสนุนงานวิจัย)

บทบาทของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา (ที่สนับสนุนงานวิจัย)

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาต้องสนับสนุนการทำงานวิจัยทั้งของนักศึกษาและอาจารย์อยู่เสมอๆ ซึ่งคำว่า “สนับสนุน” อาจมาได้หลายแบบ เช่น บริการตอบคำถาม บริการช่วยค้นคว้า บริการรวบรวมรายการบรรณานุกรม ฯลฯ ซึ่งมันจะดีกว่ามั้ย ถ้าห้องสมุดมีเว็บไซต์ที่ช่วยตอบคำถาม หรือ รวบรวมเทคนิคที่น่าสนใจเกี่ยวกับการทำวิจัย

วันนี้ผมขอนำตัวอย่างจากห้องสมุด Auraria Library มาให้ชมครับ
ซึ่ง Session หนึ่งผมได้เข้าไปที่ Auraria Library’s Research Guides! – https://guides.auraria.edu/?b=s

Read more
รีวิวหนังสือ “การบริการในห้องสมุดสถาบันการศึกษาให้ถูกใจผู้ใช้บริการ”

รีวิวหนังสือ “การบริการในห้องสมุดสถาบันการศึกษาให้ถูกใจผู้ใช้บริการ”

เมื่อเช้านี้ผมได้คัดเลือก eBooks จำนวนหนึ่งที่เกี่ยวกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มาอ่าน ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ “Libraries for Users: Services in Academic Libraries” ซึ่งเกี่ยวกับการพัฒนางานบริการให้โดนใจผู้ใช้ โดยมุ่งเน้นไปที่ห้องสมุดห้องสมุดสถาบันการศึกษา โดยในหนังสือเล่มนี้มีอะไรน่าสนใจบ้างไปอ่านกันได้เลยครับ

ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่อง : Libraries for Users: Services in Academic Libraries
ผู้แต่ง : Luisa Alvite และ Leticia Barrionuevo
ISBN : 9781843345954
ปีพิมพ์ : 2011
จำนวนหน้า : 218 หน้า

Read more
7 สิ่งที่ผู้ใช้ห้องสมุดต้องการ เดี๋ยวนี้!!!

7 สิ่งที่ผู้ใช้ห้องสมุดต้องการ เดี๋ยวนี้!!!

วันนี้ได้อ่านเรื่องราวเกี่ยวกับงานบริการห้องสมุด เพื่อหาไอเดีย และ Keyword ไปใช้ในการพัฒนาห้องสมุดของตัวเอง ซึ่งผมเจอบทความเรื่องหนึ่ง ชื่อว่า “7 Things Library Customers Want NOW” ซึ่งอ่านแล้วโดนใจผมมากๆ วันนี้จึงขอนำ 7 สิ่งนี้มาเล่าให้เพื่อนๆ อ่าน

photo: pixabay.com

เนื้อหาอาจจะเก่าไปสักนิดนะครับ (ต้นฉบับถูกเขียนตั้งแต่ปี 2012) แต่ใจความสำคัญหลักอยู่ที่ “การพัฒนางานบริการที่โดนใจลูกค้า” และลูกค้าที่ว่าคือ “ผู้ใช้บริการของห้องสมุด” อย่างที่ผมกล่าวไว้เมื่อวันก่อนว่า “อย่าคิดว่าบรรณารักษ์ถูกใจอะไรแล้วจะนำสิ่งนั้นมาใช้ เพราะเราไม่ใช่ลูกค้าของตัวเรา

Read more
รีวิวหนังสือ “พัฒนาห้องสมุดยุคใหม่ ผู้ใช้บริการสำคัญที่สุด”

รีวิวหนังสือ “พัฒนาห้องสมุดยุคใหม่ ผู้ใช้บริการสำคัญที่สุด”

นั่งจิบกาแฟยามเช้าไป อ่านหนังสือไป เลยเขียนอะไรได้ไม่เยอะนะครับวันนี้

หนังสือเล่มที่ผมจะกล่าวถึงวันนี้ ผมซื้อมานานมากและได้มีโอกาสนำข้อคิดจากหนังสือมาใช้บ้างในบางครั้ง ซึ่งผมจึงอยากนำเรื่องราวที่สำคัญของหนังสือเล่มนี้มาถ่ายทอดให้เพื่อนๆ ได้รู้กัน หนังสือที่ผมจะเขียนถึงวันนี้ ชื่อ “Putting the user first : 30 Strategies for transforming library services” เอาหล่ะครับมาเริ่มอ่านกันเลย

Read more

แนะนำงานสัมมนา How to be a Global Library Participant

วันนี้มีงานสัมมนาและอบรมดีๆ มาฝากชาวห้องสมุดและบรรณารักษ์กันอีกแล้วครับ
เป็นงานที่จะทำให้ห้องสมุดต่าง ๆ ได้เข้าใจวิธีการทำงานของบริการแต่ละประเภทของ OCLC

รายละเอียดทั่วไปของการสัมมนาครั้งนี้
ชื่องานสัมมนา : How to be a Global Library Participant ? Practical Approaches
วันที่และเวลาที่จัดงาน : วันที่ 30 พฤศจิกายน 2553 เวลา 8.30 – 16.00 น.
สถานที่จัดงาน : ห้องกิจกรรม หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
จัดโดย : สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ บริษัทแอ้ดวานซ์ มีเดีย ซัพพลายส์ จำกัด

หัวข้อที่น่าสนใจในงานนี้
– Hands-on Library Resource Comparison with library worldwide ? WorldCat Collection Analysis
– Collection development by Circulation Analysis in action ? WorldCat Collection Analysis
– Showcase to increase student use of library materials ? WorldCat Local
– Step by step ?digitize and broadcast? local library resources to global?? ? Content DM

สรุปง่ายๆ ครับ งานนี้จะเป็นการบรรยายแบบเจาะลึก step by step ในบริการ WorldCat Collection Analysis และบริการอื่น ๆของ OCLC เช่น Content DM และ WorldCat Local นะครับ

งานนี้ก็น่าสนใจดีครับสำหรับคนที่ชอบเรื่องเทคโนโลยี การบรรยายครั้งนี้ไม่อยากให้เพื่อนๆ กลัวเรื่องภาษาอังกฤษหรอกนะครับ เห็นหัวข้อเป็นภาษาอังกฤษก็จริงแต่การบรรยายเป็นภาษาไทยครับ วิทยากรก็คนไทยนะครับ เอาเป็นว่าไปหาความรู้แล้วเอามาลองใช้งานกันดู เพื่อเป็นการพัฒนางานบริการของห้องสมุดด้วยก็ดีครับ

งานนี้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ครับ แต่รับจำนวนจำกัด เฉพาะผู้บริหาร/บรรณารักษ์/ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด/ศูนย์สารสนเทศ/อาจารย์/นักศึกษาสาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้องเท่านั้นนะครับ

ครที่อยากเข้าร่วมงานก็ติดต่อไปที่ pongskorn@amsbook.com นะครับ

เอาเป็นว่าใครสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมก็เข้าไปดูได้ที่
http://library.tu.ac.th/agenda1153/info.html นะครับ

ซูเปอร์บรรณารักษ์ (Super librarian) มาปฏิบัติภาระกิจแล้ว

วันนี้วันเสาร์วันชิวๆ ไม่อยากเอาเรื่องหนักๆ มาเขียน เลยขอนำคลิปวีดีโอมาให้ดูแทนก็แล้วกัน
คลิปวีดีโอวันนี้เป็นคลิปวีดีโอที่แสดงให้เห็นว่าวันๆ นึงบรรณารักษืมีงานเยอะแค่ไหน
แต่บรรณารักษ์ไม่เคยย่อท้อแถมต้องทำงานแบบกระฉับกระเฉง
เหมือนเป็น ซูเปอร์บรรณารักษ์

คลิปนี้เป็นคลิปที่จัดทำขึ้นเพื่อโปรโมทห้องสมุดแห่งหนึ่ง
ผมชอบในแนวความคิดที่นำเสนอ คือ การนำภาระงานของบรรณารักษ์มาแสดง
เนื่องจากทุกวันนี้หลายคนยังคงเข้าใจผิดนึกว่าบรรณารักษ์มีงานแค่นั่งเฝ้าหนังสือ
แต่จริงๆ แล้วงานบรรณารักษ์เยอะกว่านี้อีก เช่น
– เปิดไฟ เปิดคอม
– catalog หนังสือ
– จัดชั้นหนังสือ
– ช่วยผู้ใช้บริการค้นหาหนังสือ

…..ยังมีอีกมากมาย

ไปดูวีดีโอนี้กันเลยดีกว่า

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=Bu-TijjVs_g[/youtube]

บรรณารักษ์ต้องทำงานอย่างมีความสุข ถ้าบรรณารักษ์หลายๆ คนคิดแบบนี้แล้ว
ผมเชื่อว่าบรรณารักษ์ที่อยู่ในคลิปวีดีโอนี้ เพื่อนๆ ก็สามารถเป็น ซุเปอร์บรรณารักษ์ได้ทุกคน

ปล.ที่มาของคลิปวีดีโอนี้คือ http://www.youtube.com/watch?v=Bu-TijjVs_g

ปรัชญา Google สู่การให้บริการในห้องสมุด

วันนี้ผมขอนำเสนอข้อคิดดีๆ ที่ผมได้จากการอ่านหนังสือของ google ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานบริการของห้องสมุด
ตอนแรกผมก็ไม่คิดว่าในหนังสือเล่มนี้จะมีปรัชญาที่ล้ำลึกได้ขนาดนี้ เอาเป็นว่าไปอ่านกันก่อนดีกว่า

book-google

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับหนังสือ
ชื่อหนังสือ : เจาะตำนาน รวยฟ้าผ่า google
ผู้แต่ง : สุขนิตย์ เทพอนันต์, พงษ์ระพี เตชพาพงษ์
ISBN : 978-974-7048-14-8
จำนวน : 164 หน้า
ราคา : 165 บาท
สำนักพิมพ์ : บริษัท มายด์ คอนเน็กชันส์ จำกัด

เนื้อเรื่องของหนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 9 บท มีดังนี้
บทที่ 1 – ฟ้าส่งยาฮูมาเกิดไฉนส่งกูเกิลมาเกิดด้วยเล่า
บทที่ 2 – เล็กพริกขี้หนู
บทที่ 3 – จะหารายได้หรือจะกินแกลบ
บทที่ 4 – ไม่คลิกไม่ต้อจ่าย
บทที่ 5 – เงามืดโตตามตัว
บทที่ 6 – ถึงเวลาเป็นบริษัทมหาชน
บทที่ 7 – บุกตลาดต่างประเทศ
บทที่ 8 – เกมผูกมิตรแข่งศัตรู
บทที่ 9 – ทำนายอนาคตกูเกิล

หนังสือเล่มนี้เมื่อผมอ่านไปครึ่งเล่มก็เจอกับปรัชญาหนึ่งที่น่าสนใจ
ปรัชญานี้ผู้ก่อตั้งกูเกิล (Larry Page และ Surgrey Brin)ใช้สอนและบอกพนักงานอยู่เสมอ
ซึ่งจริงๆ แล้วก็มีอยู่หลายข้อนะครับ แต่ผมขอยกตัวอย่างสัก 6 ข้อมาให้เพื่อนๆ ได้อ่านแล้วนำไปลองปฏิบัติกันดูนะครับ

ตัวอย่างปรัชญา
1. คิดถึงผู้ใช้บริการก่อนแล้วอย่างอื่นจะตามมาเอง
(Focus on the user and all else will follow)

2. จะทำอะไรก็ทำให้เก่งไปซักเรื่องหนึ่งจะดีกว่า
(It?s best to do one thing really, really well)

3. เร็วดีกว่าช้า
(Fast is better than slow)

4. ประชาธิปไตยต้องดีที่สุด
(Democracy on the web works)

5. จริงจังได้โดยไม่ต้องใส่สูท
(You can be serious without a suit)

6. ยอดเยี่ยมแล้วยังไม่พอ
(Great just isn?t good enough)

ตัวอย่างการนำไปใช้ในห้องสมุด
1. เวลาบรรณารักษ์ให้บริการ เราต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้มากกว่าความต้องการของเรา

2. งานของบรรณารักษ์ที่ผมเน้นจริงๆ แล้ว เราไม่จำเป็นต้องเก่งตามปรัชญาหรอกครับ
ขอแค่รู้จักและทำงานเป็นก็เพียงพอแล้ว แต่ถ้าจะเก่งสักเรื่องผมขอเก่งเรื่องการบริการผู้ใช้แล้วกัน

3. ส่วนการบริการที่รวดเร็วย่อมดีกว่าการบริการที่ช้าเพราะอย่าลืมว่าสังคมปัจจุบันมีการแข่งขันสูง
เราต้องคำนึงถึงผู้ใช้ที่ต้องการความรวดเร็วในการบริการ ไม่ใช่รอแล้วรออีก

4. การเคารพการตัดสินใจของผู้ใช้ในการประเมินห้องสมุดเพื่อปรับปรุงบริการต่างๆ
เราดูเสียงส่วนใหญ่ แต่ก็อย่าลืมพิจารณาเสียงส่วนน้อยด้วย เพราะบางครั้งเสียงส่วนน้อยอาจจะทำให้เราเกิดบริการแบบใหม่ก็ได้

5. การทำงานผมอยากเน้นว่านอกจากการทำงานด้วยความจริงจังกับหน้าที่ของตนแล้ว
สิ่งที่ผมอยากเสริมคือเรื่องของความจริงใจ โดยเริ่มจากเพื่อนร่วมงาน และผู้ใช้บริการ
หากเรามีทั้งความจริงจังและความจริงใจแล้ว เราจะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานนั้นๆ

6. การที่เราได้รับคำชมมากๆ ไม่ได้หมายความว่าเราจะบริการเพียงเท่านี้
แต่เราต้องพัฒนาการบริการให้ผู้ใช้ดีขึ้นไป เพราะว่าคำชมจะอยู่ได้ไม่นานถ้าเราไม่พัฒนางานต่อไป
เช่นปีนี้ห้องสมุดทันสมัยขึ้น พอปีหน้าผู้ใช้บริการมากขึ้นก็เริ่มมีเสียงว่าไม่พอใช้
ดังนั้นเราต้องมีการปรับปรุงและพัฒนางานบริการด้านต่างๆ ให้ดีไปเรื่อยๆ ไม่มีคำว่าพอ

เป็นยังไงกันบ้างครับ กับปรัชญาและข้อคิดดีๆ จาก google
จริงๆ มีอีกหลายข้อนะครับที่น่าสนใจ เอาไว้ว่างๆ จะมาเล่าให้ฟังใหม่
ยังไงถ้าเพื่อนๆ คิดอะไรได้ดีกว่าแสดงความคิดเห็นด้านล่างได้เลยนะครับ
เราจะได้ร่วมกันพัฒนาวิชาชีพไปด้วย

ปล. จริงๆ แล้วปรัชญาของ google ก็สามารถประยุกต์ได้ทุกสาขาวิชาชีพนะครับ ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน