งานสัปดาห์ห้องสมุด 2556 : มรดกล้ำค่าวรรณคดีไทย

วันนี้ผมขอประชาสัมพันธ์กิจกรรมที่น่าสนใจประจำปี 2556 ของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยนะครับ งานนี้จัดทุกปีเช่นกัน เป็นงานการประชุมเพื่อเตรียมการจัดงานสัปดาห์ห้องสมุด ครั้งที่ 37 พุทธศักราช 2556 ซึ่งปีนี้มีธีมหลัก คือ “มรดกล้ำค่าวรรณคดีไทย

library_conference

รายละเอียดกิจกรรมนี้เบื้องต้น
ชื่องาน : การประชุมเพื่อเตรียมการจัดงานสัปดาห์ห้องสมุด ครั้งที่ 37 พุทธศักราช 2556
ธีมงาน / หัวข้องาน : มรดกล้ำค่าวรรณคดีไทย
วันที่จัดงาน : 2 สิงหาคม 2556
สถานที่จัดงาน : โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพมหานคร
ผู้จัดงาน : สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ที่มาของธีมงาน / หัวข้องาน : มรดกล้ำค่าวรรณคดีไทย
เป็นงานที่จัดเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งทรงเห็นความสำคัญและส่งเสริมวรรณคดีไทย เมื่อปี 2552 พระองค์ทรงพระกรุณาพระราชทานรายชื่อหนังสือดีเด่น 6 เรื่องที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่านมายังกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเผยแพร่และส่งเสริมให้มีการอ่านหนังสืออย่างแพร่หลาย

รายชื่อหนังสือดีเด่น 6 เรื่องที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน
1. พระอภัยมณี
2. รามเกียรติ์
3. นิทานชาดก
4. อิเหนา
5. พระราชพิธีสิบสองเดือน
6. กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้ากุ้ง

หัวข้อที่น่าสนใจในการประชุมครั้งนี้
– จากวรรณคดีถึงวรรณกรรมไทยร่วมสมัย: มรดกแห่งภูมิปัญญาไทย
– อ่านวรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างไรให้สนุกและได้ประโยชน์
– กวีรางวัลสุนทรภู่จาก 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน
– การยอสักวา เรื่อง สักวาคุณค่าวรรณคดีไทย
– แนวทางการจัดกิจกรรมและนิทรรศการเกี่ยวกับมรดกล้ำค่าวรรณคดีไทย

เอาเป็นว่าเป็นหัวข้อที่น่าติดตามมากๆ ครับ เรื่องอาจจะดูธรรมดาแต่ผมว่าผู้ที่บรรยายแต่ละคนก็ล้วนแล้วแต่มีความสามารถมากๆ และเชี่ยวชาญในเรื่องดังกล่าวอย่างแท้จริง

ผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานนี้ต้องเสียค่าใช้จ่ายดังนี้
หากสมัครและชำระภายในวันที่ 24 กรกฎาคม 2556 — สมาชิกสมาคมห้องสมุดฯ คนละ 1,000 บาท ผู้สนใจ 1,100 บาท
หากสมัครและชำระหลังวันที่ 24 กรกฎาคม 2556 — สมาชิกสมาคมห้องสมุดฯ คนละ 1,100 บาท ผู้สนใจ 1,200 บาท
ซึ่งค่าลงทะเบียนรวมเอกสารประกอบการประชุม แฟ้มเอกสาร อาหารว่าง และอาหารกลางวัน

หากเพื่อนๆ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณา ดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ “โครงการสัปดาห์ห้องสมุด ปี 2556

หากสนใจกิจกรรมนี้กรุณาดาวน์โหดแบบตอบรับและลงทะเบียนตามแบบฟอร์มด้านล่างนี้เลย
แบบตอบรับ ประชุมสัปดาห์ห้องสมุด

ก้าวใหม่ของห้องสมุด (Libraries on the Move) วันที่ 28-30 มีนาคม 2555

ใกล้สิ้นปีแบบนี้เพื่อนๆ หลายคนคงกำลังรอฟังข่าวเรื่อง “การประชุมประจำปีของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย” กันอยู่ วันนี้ผมจึงขอนำมาประชาสัมพันธ์ให้เพื่อนๆ ทุกคนทราบแล้วกันครับ เอาเป็นว่าคร่าวๆ ก่อน คือ ปกติจะจัดในเดือนธันวาคมแต่ปีนี้ขอเลื่อนไปจัดในเดือนมีนาคมนะครับ

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการประชุมวิชาการครั้งนี้
ชื่อการประชุมภาษาไทย : ก้าวใหม่ของห้องสมุด
ชื่อการประชุมภาษาอังกฤษ : Libraries on the Move
วันและเวลา : 28-30 มีนาคม 2555
สถานที่จัดการอบรม : โรงแรมอะเดรียติกพาเลซ
ผู้จัดการประชุม : สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

หัวข้อในการประชุมครั้งนี้นับว่าน่าสนใจมาก (เป็นครั้งแรกที่รู้สึกว่าสมาคมห้องสมุดน่าจะมาถูกทางแล้ว)
หัวข้อก้าวใหม่ของห้องสมุดเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC นั่นเอง
ถ้าห้องสมุดของเพื่อนๆ เตรียมพร้อมมากกว่าคนอื่นก็ย่อมได้เปรียบนะครับ

ตัวอย่างหัวข้อที่น่าสนใจของการประชุมครั้งนี้
– บทบาทของบรรณารักษ์และห้องสมุดในการพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืนตามแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559)
– กรุงเทพมหานคร “เมืองหนังสือโลก ปี 2556” (World Book Capital 2013)
– แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดกิจกรรมและส่งเสริมการอ่านเชิงรุก
– การเตรียมบรรณารักษ์และห้องสมุดเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
– การใช้งานลิขสิทธิ์สำหรับบรรณารักษ์ห้องสมุด
– การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสงวนรักษาทรัพยากรสารนิเทศของห้องสมุด
– ห้องสมุดกับการให้บริการนวนิยายไทยอิเล็กทรอนิกส์ (e-novel)

เป็นไงกันบ้างครับกับหัวข้อที่จะพบในงานประชุมนี้ ตื่นตัวและเตรียมพร้อมกันมากๆ เลยว่ามั้ย
เอาเป็นว่าถ้ามีเวลาผมก็อาจจะเข้าร่วมกับการประชุมครั้งนี้เช่นกัน

การเข้าร่วมประชุมวิชาการครั้งนี้ไม่ฟรีนะครับ มีค่าใช้จ่ายพอสมควรเอาเป็นว่าใครสนใจก็เข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมตาม link ที่อยู่ด้านล่างนี้นะครับ
ดาวน์โหลดเอกสารและอ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.libraryhub.in.th/wp-content/uploads/2011/11/Conference54.pdf (รอการอัพเดทจากสมาคมห้องสมุดฯ อีกทีนะครับ)

Thailand Conference on Reading 2011 (TCR2011)

ช่วงนี้มีเพื่อนๆ ส่งงานประชุมวิชาการที่เกี่ยวกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มาให้ผมมากมาย ซึ่งวันนี้ผมขอแนะนำงานประชุมวิชาการที่เกี่ยวกับการอ่านที่น่าสนใจให้เพื่อนๆ ได้อัพเดทกันหน่อย งานนี้จัดโดยห้องสมุดทีเคพาร์คด้วยนะ

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงาน
ชื่องาน : Thailand Conference on Reading
ลักษณะของงาน : การประชุมวิชาการ
วันและเวลาที่จัดงาน : 24-25 สิงหาคม 2554
สถานที่จัดงาน : โรงแรมAmari Watergate

งานนี้น่าสนใจมากเพราะว่าเราจะได้ฟังคำแนะนำและรายงานดีๆ ที่เกี่ยวกับการอ่าน
ไม่เพียงแค่ประเทศไทยเท่านั้นนะมีอีกหลายประเทศที่เข้าร่วมบรรยายด้วย
แถมด้วยเรื่องที่หลายๆ คนอยากฟัง คือ เรื่อง “Bangkok World Book Capital 2013

มาดูหัวข้อที่น่าสนใจในงานนี้ดีกว่า
– คิดสร้างสรรค์ ด้วยการอ่าน
– How Malaysia Reads
– The development of Book Reading Activity for Promoting Better Life of Citizen in Vietnam
– นโยบายส่งเสริมการอ่านของประเทศไทย
– ช่องว่างและความเท่าเทียมในการเข้าถึงหนังสือและแหล่งเรียนรู้
– ข้อสังเกตบางประการต่อกระบวนการส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ของไทย
– นิสัยการอ่านของคนไทยในมิติด้านวัฒนธรรม
– Korea’s experience to promote reading and literacy
– Reading Culture in the Youth Kids
– ปัจจัยส่งเสริมคนไทยให้มีวัฒนธรรมการอ่าน
– Bangkok World Book Capital 2013
– ร่วมสร้างรากฐาน อ่าน คิด เรียนรู้ เตรียมคนสู่พลเมืองอาเซียน

งานประชุมวิชาการดีๆ แบบนี้มีค่าใช้จ่ายนะครับ
แต่ถ้าสมัครก่อนวันที่ 15 กรกฎาคม จะได้ราคาพิเศษ คือ 2000 บาท
และถ้าสมัครก่อนสิ้นเดือนนี้ก็ได้ราคา 2500 บาท และสมัครในเดือนสิงหาคมราคา 3000 บาท

เอาเป็นว่าใครสนใจก็ลองเข้ามาดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.tcr2011.com เลยนะครับ
สำหรับวันนี้ก็แนะนำแต่เพียงเท่านี้ก่อนนะครับ เลยเจอกันครั้งหน้า

สรุปงานประชุมประจำปีของสมาคมห้องสมุดฯ 2553

วันนี้ผมขอนำสรุปการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2553 และประชุมวิชาการเรื่อง ?การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ : สรรค์สร้างสังคมไทยเป็นสังคมการอ่าน? โดยสมาคมห้องสมุดฯ ได้สรุปข้อมูลออกมาเป็น File PDF และอัพโหลดขึ้นเว็บของสมาคมฯ แต่หลายๆ คนอาจจะไม่สะดวกในการอ่านใน file PDF ผมจึงขออนุญาติแปลงข้อมูลออกมาลงบล็อกของผมให้เพื่อนๆ ได้อ่านครับ

ไฟล์ต้นฉบับอ่านได้ที่ http://tla.or.th/pdf/an2553.pdf

ไฟล์ที่ผมแปลงออกมา อ่านได้เลยด้านล่างนี้ครับ

การประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2553 และประชุมวิชาการเรื่อง ?การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ : สรรค์สร้างสังคมไทยเป็นสังคมการอ่าน?

วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พุทธศักราช 2553 เวลา 9.00 น. นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2553 และประชุมวิชาการเรื่อง ?การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ : สรรค์สร้างสังคมไทยเป็นสังคมการอ่าน? จัดโดย สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ณ ห้องคอนเวนชั่นฮอล์ล A-B โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ถนนสุขุมวิท กรุงเทพมหานคร ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต นายกสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ได้กล่าวรายงานความเป็นมาและวัตถุประสงค์ในการจัดงานว่า สืบเนื่องจาก คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2552 ให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ ให้วันที่ 2 เมษายน ของทุกปี เป็นวันรักการอ่าน ให้ พ.ศ. 2552-2561 เป็นทศวรรษแห่งการอ่าน และให้มีคณะกรรมการส่งเสริมการอ่านเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นกลไกขับเคลื่อนการส่งเสริมการอ่านให้เกิดเป็นรูปธรรม สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการอ่านมาโดยตลอด สนับสนุนให้ห้องสมุดสถานศึกษาและสถาบันต่างๆ มีบทบาทในการปลูกฝังและส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ได้มีบทบาทร่วมกับองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหนังสือ และการอ่านในการผลักดันเรื่องของการอ่านให้เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อพัฒนาคนไทยและประเทศไทยสู่สังคมความรู้ได้อย่างยั่งยืนแม้ในยามที่ประเทศชาติเผชิญปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจและได้นำเรื่องการอ่านเป็นวาระแห่งชาตินี้ เป็นหัวข้อในการประชุมวิชาการของสมาคมฯ ตั้งแต่ปี 2552 ที่ผ่านมา สำหรับในปี 2553 นี้ สมาคมฯ ได้กำหนดการประชุมวิชาการประจำปีของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ในหัวข้อ ?การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ: สรรค์สร้างสังคมไทยเป็นสังคมการอ่าน? เพื่อเน้นย้ำให้ห้องสมุดและสถานศึกษาร่วมกันรณรงค์เรื่องความสำคัญของการอ่าน และตระหนักในบทบาทการส่งเสริมการอ่านและสร้างนิสัยรักการอ่านให้กับเด็ก เยาวชน และประชาชนทุกเพศ ทุกวัย และทุกสาขาอาชีพ เพื่อสร้างสังคมการอ่านและการเรียนรู้ตลอดชีวิต จากนั้น ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้กล่าวเปิดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2553 และประชุมวิชาการของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ โดยมีใจความสรุปว่า

?…ขอขอบคุณที่สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ที่ได้ตอบสนองแผนยุทธศาสตร์ของรัฐบาลที่กำหนดให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อสร้างสังคมการเรียนรู้ตลอดชีวิตใน 3 ประเด็น คือ 1.การพัฒนาคนไทยให้มีความสามารถในการอ่าน 2. การพัฒนาคนไทยให้มีนิสัยรักการอ่าน และ 3. การสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในการอ่านอย่างยั่งยืน และสมาคมฯ ได้จัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อสรรคสร้างสังคมไทยเป็นสังคมการอ่านมาอย่างต่อเนื่อง… ในฐานะป็นประธานในการรณรงค์ส่งเสริมการอ่าน ได้ตั้งเป้าหมายให้คนไทยพัฒนาความสามารถในการอ่านและการรู้หนังสือ โดยภายในปี 2555 ประชากรวัยแรงงานจะต้องรู้หนังสือในระดับใช้งานได้ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 92.64 เป็นร้อยละ 99 ขณะที่ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปสามารถอ่านออกเขียนได้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 92.64 เป็นร้อยละ 95 และการอ่านหนังสือของคนไทยจะต้องเพิ่มขึ้นเฉลี่ยจากปีละ 5 เล่ม เป็น 10 เล่ม รวมทั้งเพิ่มแหล่งการอ่านที่มีคุณภาพให้ทั่วถึงทุกตำบลและชุมชน ตลอดจนเน้นสร้างภาคีเครือข่ายการอ่านเพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่านและการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน…? ในโอกาสเดียวกันนี้ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้เกียรติบรรยายพิเศษเรื่อง ?การดำเนินงานทศวรรษแห่งการอ่านของรัฐบาล? และมอบโล่เกียรติคุณแก่ 1. บุคคลดีเด่นรางวัล ศาสตราจารย์พิเศษคุณหญิงแม้นมาส ชวลิต 2. ผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุดจำนวน 8 ท่าน 3.บุคคลดีเด่นในวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ จำนวน 6 ท่าน และ 4. รางวัลห้องสมุดดีเด่นจำนวน 17 แห่ง

รายนามบุคคลและห้องสมุดที่ได้รับรางวัลและโล่เกียรติคุณ ประจำปี 2553
– รางวัลศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต
นางจินัฏดา ชูช่วย

– ผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุดและการศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
1. นายไกรสร นันทมานพ
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นรงค์ ฉิมพาลี
3. พระศุภคณิชย์ สุภจิตโต
4. นายเรื่องเดช วงศ์หล้า
5. รองศาสตราจารย์ ดร. ศิริพร ขัมภลิขิต
6. นางสาวสมสุณีย์ ดวงแข
7. นายสุเมธ สิมะกุลธร
8. ศาสตราจารย์ ดร. อักขราทร จุฬารัตน

– รางวัลบุคคลดีเด่นในวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
1. นางสาวกนกวรรณ นิลจาด
2. นางนฤมล กิจไพศาลรัตนา
3. นางนาตยา ไทพาณิชย์
4. นางสาวนิสา ป้อมภู่
5. นางระวีวรรณ แสงลอย
6. นางราศี แสงจักร

– รางวัลห้องสมุดดีเด่น ประจำปี 2553
1. หอสมุดกฎหมายมหาชน สำนักงานศาลปกครอง
2. ห้องสมุดโรงเรียนม่วงสามปี จังหวัดลำพูน
3. ห้องสมุดโรงเรียนบ้านแพะ จังหวัดอุตรดิตถ์
4. ห้องสมุดโรงเรียนชุมแพพิทยาคม จังหวัดขอนแก่น
5. ห้องสมุดโรงเรียนบ้านเจ้าเณร จังหวัดกาญจนบุรี
6. ห้องสมุดหลวงพธานอำนวยกิจ โรงเรียนบ้านพูด กรป. กลาง จังหวัดพัทลุง
7. ห้องสมุดพระครูภาวนารังสี โรงเรียนวัดใหญ่ชัยมงคล (ภาวนารังสี) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
8. ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
9. ห้องสมุดโรงเรียนพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา
10. ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก โรงเรียนปากท่อพิทยาคม จังหวัดราชบุรี
11. ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติฉลองครองราชย์ครบรอบ 60 ปี ในหลวง โรงเรียนบ้านบูกิ๊ดยือแร จังหวัดนราธิวาส
12. ห้องสมุดโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายประถม) กรุงเทพมหานคร
13. ห้องสมุดคอวนิช โรงเรียนนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
14. หอสมุด 72 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ห้องสมุดโรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล จังหวัดสกลนคร
15. ห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
16. ห้องสมุดโรงเรียนสตูลวิทยา จังหวัดสตูล
17. ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ 48 พรรษา โรงเรียนสารวิทยา กรุงเทพมหานคร

ข้อความที่ถอดออกมาก็ได้แบบนี้แหละครับ หวังว่าเพื่อนๆ จะอ่านกันง่ายขึ้นนะครับ
เครดิต
ครั้งนี้ผมยกให้สมาคมห้องสมุดฯ แล้วกันที่เป็นคนสรุปงานออกมา
แต่อยากให้สมาคมห้องสมุดเปลี่ยนวิธีการในการนำเสนอข้อมูลได้แล้ว
เนื่องจากการอ่านไฟล์ PDF มันมีขั้นตอนซับซ้อนนิดหน่อย แถมยังไม่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ด้วย

เอาเป็นว่าวันนี้ขอนำเสนอแค่นี้แล้วกัน เพื่อนๆ ก็สามารถแสดงความคิดเห็น หรือ ใครที่ไปร่วมงานแล้วเขียนสรุปมาก็ส่งมาให้อ่านกันบ้างนะครับ เพื่อเปิดโอกาสให้กับผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมจะได้รับความรู้เท่าเทียมกัน “การแบ่งปันความรู้คือพลังอันยิ่งใหญ่”

เว็บไซต์สมาคมห้องสมุด : http://tla.or.th

การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ: สรรค์สร้างสังคมไทยเป็นสังคมการอ่าน

งานประชุมประจำปีของสมาคมห้องสมุดฯ จัดทุกปีในช่วงเดือนธันวาคม
วันนี้ผมเลยขอนำมาประชาสัมพันธ์ให้เพื่อนๆ ได้รับทราบกันหน่อยนะครับ

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการประชุมวิชาการครั้งนี้
ชื่อการประชุมภาษาไทย : การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ: สรรค์สร้างสังคมไทยเป็นสังคมการอ่าน
ชื่อการประชุมภาษาอังกฤษ : A Decade of National Reading Agenda : Create Reading Thai Society
วันและเวลา : 20-23 ธันวาคม 2553
สถานที่จัดการอบรม : โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพมหานคร
ผู้จัดการประชุม : สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

ในช่วงนี้อย่างที่เพื่อนๆ รู้แหละครับว่าเป็นทศวรรษแห่งการอ่าน ดังนั้นทางสมาคมห้องสมุดก็เลยพลักดันเรื่องนี้อยู่เช่นกัน
การอ่านกับเรื่องห้องสมุดย่อมไปในแนวทางเดียวกัน “กิจกรรมส่งเสริมการอ่านในห้องสมุด” ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน
งานประชุมครั้งนี้ได้เชิญวิทยากรจากหลายสาขาวิชาชีพมาบรรยายเพื่อแนะนำบรรณารักษ์ให้มีเทคนิคในการจัดกิจกรรมใหม่ๆ

หัวข้อที่น่าสนใจในการประชุมครั้งนี้
1. การดำเนินงานทศวรรษแห่งการอ่านของรัฐบาล
2. ต้นแบบความสำเร็จที่ได้จากการอ่านของนักเรียน และนักศึกษา
3. การจัดศึกษาดูงานห้องสมุด แหล่งเรียนรู้ และการส่งเสริมการอ่านภายในประเทศและต่างประเทศ
4. การบริหารจัดการการอ่านของเด็กปัญญาเลิศ
5. ไขปัญหาชีวิตด้วยการอ่าน
6. การเสนอผลงานวิจัย/วิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการอ่าน และผลงานที่เกี่ยวข้อง
7. อ่านเพื่อเสริมสร้างปัญญา
8. กิจกรรมของชมรมต่าง ๆ และการระดมความคิด: การบริหารจัดการการอ่าน
9. รายงานผลการดำเนินงานกิจการของสมาคมฯประจำปี พ.ศ.2553 และการประกาศผลการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ พ.ศ. 2554-2555
10. การพัฒนาการอ่านของสถานศึกษาตามนโยบายแนวทางทศวรรษแห่งการอ่าน

ใครที่สนใจจะเข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้ ผมแนะนำว่าลองติดต่อไปที่สมาคมห้องสมุดกันดูนะครับ
ที่เบอร์โทรดังนี้ โทร. 0-2734-9022-23, 0-2736-7838

ปล.หมายเหตุในเว็บไซต์สมาคมห้องสมุดผมไม่สามารถเปิดเอกสารในการลงทะเบียนได้
ไฟล์ที่ไม่สามารถเปิดดูได้
(แบบลงทะเบียน , ใบตอบรับเข้าร่วมกิจกรรม)

ส่วนรายละเอียดเพื่อนๆ สามารถเปิดดูได้ตามปกตินะครับ ที่
http://www.tla.or.th/pdf/prjectsi2010.pdf

งานประชุมวิชาการ “ห้องสมุดดิจิตอล : ปัจจุบันและอนาคต” (แก้ไข)

ช่วงนี้กระแสของห้องสมุดดิจิตอลกำลังมาแรง และถูกไถ่ถามหนาหูขึ้นเรื่อยๆ
เนื่องจากเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วการเข้าถึงข้อมูลดิจิตอลทำได้สะดวกขึ้น
วันนี้ผมจึงขอแนะนำงานประชุมวิชาการงานหนึ่งที่น่าสนใจ และพูดถึงทิศทางของห้องสมุดดิจิตอล

รายละเอียดงานประชุมวิชาการเบื้องต้น
ชื่อการประชุมวิชาการ : ห้องสมุดระบบดิจิตอล : ปัจจุบันและอนาคต
จัดวันที่ : 5 พฤศจิกายน 2553
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุมชั้น 7 ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จัดโดย : ชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

ชื่องานนี้ก็นับว่าน่าสนใจอยู่เหมือนกันนะครับ ประมาณว่าให้ข้อมูลปัจจุบันและทิศทางในอนาคต
แต่ประเด็นที่ผมจับตาดูอยู่คือ เป็นงานของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
ซึ่งแน่นอนครับว่ามีศักยภาพในการจัดทำและพัฒนาระบบห้องสมุดดิจิตอล

เอาเป็นว่าไปดูหัวข้อที่น่าสนใจในงานนี้ก่อนดีกว่าครับ

– ห้องสมุดระบบดิจิตอล : ปัจจุบันและอนาคต
– IT สำหรับห้องสมุดระบบดิจิตอล
– มาตรฐานการแปลงภาพเป็นดิจิตอล
– ห้องสมุดระบบดิจิตอล : แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์

เอาเป็นว่าหัวข้อก็น่าสนใจดีครับ แต่การเข้าฟังต้องมีค่าใช้จ่ายสักหน่อยนะครับ
คือถ้าเป็นสมาชิกของสมาคมห้องสมุดก็ 300 บาท แต่ถ้าไม่ได้เป็นก็ 350 บาท
ซึ่งผมว่าก็คุ้มค่าในการเข้าฟังนะครับ ยังไงก็สมัครเข้าไปฟังกันดู

หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติมก็เข้าไปดูที่เอกสารที่นี่เลยครับ “เอกสารประชาสัมพันธ์งานนี้

Workshop : การบริหารความเสี่ยงสำหรับห้องสมุดยุคใหม่

การประชุมประจำปีของชมรมห้องสมุดเฉพาะใกล้เข้ามาแล้ว
และเป็นประจำของทุกปีที่ผมจะต้องนำมาประชาสัมพันธ์สักหน่อย

slgconference1

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ
ชื่องานภาษาไทย : การบริหารความเสี่ยงสำหรับห้องสมุดยุคใหม่
จัดวันที่ : 30 – 31 สิงหาคม 2553
สถานที่จัดงาน : กรมวิทยาศาสตร์บริการ
จัดโดย : ชมรมห้องสมุดเฉพาะ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

หัวข้อเกี่ยวกับเรื่อง “การบริหารจัดการความเสี่ยง” เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากในปัจจุบัน
เนื่องจากวิถีชีวิตในปัจจุบันของคนเรามีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
บางอย่างที่เราวางแผนไว้อาจจะไม่สามารถปฏิบัติได้ตามแผน
ถ้ามันเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็คงไม่เป็นอะไรมาก แต่ถ้าเป็นเรื่องใหญ่ๆ ระดับองค์กรหล่ะ
มันอาจจะทำให้องค์กรของคุณล้มลงอย่างไม่เป็นท่าเลยก็อาจเป็นได้

ดังนั้นการสัมมนาเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ผมจึงอยากให้เพื่อนๆ ได้เข้าร่วมกันมากๆ
นอกจากจะได้รับความรู้ดีๆ แล้ว ยังถือว่าเป็นการระดมสมองเพื่อการแก้ปัญหาในวงการห้องสมุดเลยก็ว่าได้

ตัวอย่างหัวข้อที่น่าสนใจในการบรรยายและเสวนา
– ห้องสมุดยุคใหม่ต้องใส่ใจความเสี่ยง
– การบริหารความเสี่ยงของห้องสมุด : กรณีศึกษา
– การบริหารจัดการความเสี่ยง…สำคัญอย่างไร
– คุยเฟื่องเรื่องความเสี่ยง? : กลยุทธ์พิชิตความเสี่ยงในห้องสมุด
– แผนยุทธศาสตร์การบริหารความเสี่ยงสำหรับห้องสมุด
– การจัดทำแผนยุทธศาสตร์บริหารความเสี่ยง

เห็นหัวข้อแล้วผมก็เริ่มสนใจแล้วหล่ะครับ
ยิ่งวิทยากรและผู้บรรยายหลายๆ คนมาจากนอกวงการห้องสมุดด้วย
เช่น ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการเพิ่มผลผลิต สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
ผู้จัดการสายงานด้านการบริหารความเสี่ยง บริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส เอฟเอเอส จำกัด

เอาเป็นว่าใครสนใจก็ต้องเสียเงินกันหน่อยนะ เพราะงานนี้มีค่าใช้จ่าย
หากลงทะเบียนก่อนวันที่? 6? สิงหาคม 2553 สมาชิก = 1,500 บาท บุคคลทั่วไป = 1,800 บาท
ค่าลงทะเบียนหลังวันที่ 6? สิงหาคม 2553 สมาชิก = 1,800 บาท บุคคลทั่วไป = 2,100 บาท

เอาเป็นว่าใครสนใจรายละเอียดก็เข้าไปดูได้ที่
รายละเอียดโครงการ

แล้วพบกันในงานครับผม

การประชุมนานาชาติ ?จดหมายเหตุวัฒนธรรมในยุคดิจิทัล?

ขอประชาสัมพันธ์งาน การประชุมนานาชาติ ?จดหมายเหตุวัฒนธรรมในยุคดิจิทัล?
ซึ่งจัดโดย โครงการจดหมายเหตุมานุษยวิทยา ของ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

banner Read more

งานสัมมนา eContent Management

วันนี้ผมมีงานสัมมนาดีๆ และฟรีๆ มาฝากเพื่อนๆ อีกแล้วครับ
เป็นงานสัมมนาด้านการจัดการข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (eContent)

oclc

ข้อมูลทั่วไปของการสัมมนาครั้งนี้
ชื่องานสัมมนา : eContent Management
งานนี้จัดโดย : Advanced Media Supplies Company (AMS)
วันและเวลาที่จัด : 12 มิถุนายน 2552 เวลา 13.00 น. ? 16.00 น.
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุมชั้น 7 สถาบันวิทยบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หลายคนคงจะงงว่าผู้จัดงานนี้คือใคร? ทำไมถึงเกี่ยวกับการสัมมนาในครั้งนี้

ผมก็ขอเกริ่นๆ เรื่องราวของงานสัมมนาครั้งนี้สักนิดนะครับ
บริษัท AMS เป็นบริษัทที่ได้ประสานงานกับ OCLC และได้เป็นผู้แทนในการจัดการประชุมครั้งนี้ครับ
และทาง OCLC ก็ได้ส่ง Mr.Andrew Wang และ Miss Tsai Shu-En
เพื่อมาบรรยายแนวทางในการบริการ และแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีการจัดการทรัพยากรห้องสมุดสมัยใหม่

หัวข้อที่น่าสนใจในการสัมมนาครั้งนี้


– One-stop Integrated OCLC Licensed eContent Management ประกอบด้วย First Search databases, ECO eJournals, NetLibrary eBooks, eAudiobooks, CAMIO ซึ่งจะอยู่บน Platform WorldCat.org เพียง platform เดียว

– Content DM – Digital Collection Management Software

– World Cat Local? -? the world’s richest database for discovery of materials held in libraries.

– Web Dewey ?? Online Decimal Classification (DDC) บน Internet

เห็นแค่หัวข้อแบบคร่าวๆ แล้วผมเองก็ชักจะสนใจจะไปงานนี้แล้วหล่ะครับ
หัวข้อที่ผมสนใจในครั้งนี้คือ การทำงานบน WorldCat.org
รวมถึงการจัดการข้อมูลต่างๆ บน WorldCat.org

ส่วนอีกหัวข้อที่น่าสนใจไม่แพ้กันนั้นคือ Web Dewey
เป็นเรื่องของการจัดหมวดหมู่แบบตัวเลขทศนิยมบนสื่อออนไลน์

การสัมมนาครั้งนี้จริงๆ แล้วเขาจัด 3 วันนะครับ สะดวกวันไหน หรือสะดวกที่ไหนก็ลองติดต่อดูนะครับ

– วันพุธที่ 10 มิถุนายน? 2552 เวลา 9:00 น. ? 12:00 น.
ณ ห้องประชุม หอสมุดแห่งชาติ? (สำหรับบุคลากรห้องสมุดในองค์กร/สถาบัน/หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน)

– วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน 2552 เวลา 13.00 น. -16.00 น.
ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 5 อาคารใหม่ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(สำหรับบุคลากรห้องสมุดโรงเรียนและมหาวิทยาลัยทางภาคเหนือ)

– วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน 2552 เวลา 13.00 น. ? 16.00 น.
ณ ห้องประชุมชั้น 7 สถาบันวิทยบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สำหรับบุคลากรห้องสมุดมหาวิทยาลัย)

เพื่อนๆ ที่สนใจงานสัมมนานี้ สามารถดาวน์โหลด จดหมายเชิญได้ที่นี่
— จดหมายเชิญ (ภาษาไทย) —
— จดหมายเชิญ (ภาษาอังกฤษ) —

นี่แหละครับ ห้องสมุดสมัยใหม่ตามแบบที่ผมอยากให้มีในเมืองไทย
ก็ได้แต่หวังว่าสักวันจะมีองค์กรในไทยได้มีการจัดการข้อมูลในลักษณะนี้บ้างนะครับ

เป็นยังไงกันบ้างครับกับกิจกรรมที่ผมนำมาเล่าให้ฟังในวันนี้
จะมีเพื่อนคนไหนไปบ้างน้า ผมจะได้ฝากเก็บเอกสารการสัมมนาครั้งนี้ให้ด้วย
เอาเป็นว่าใครจะไปก็ฝากบอกผมด้วยนะ จะขอบคุณมากมายเลย