วงจรการจัดซื้อ (Acquisitions Life Cycle) สำหรับงานห้องสมุด

ใกล้งานสัปดาห์หนังสือแล้ว ผมเชื่อว่าเพื่อนๆ ในวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทยหลายคนกำลังรอที่จะมาซื้อหนังสือหรือสื่อต่างๆ เข้าห้องสมุด วันนี้ผมจึงขอนำเรื่องราวเกี่ยวกับกระบวนการในการจัดซื้อจัดหามาเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันอีกสักหน่อย อย่างน้อยก็ขอเตือนสติสำหรับบรรณารักษ์บางคนที่ต้องการนำเงินงบประมาณแผ่นดินมาละลายในงานสัปดาห์หนังสือครั้งนี้

Acquisitions Life Cycle

เริ่มต้นก่อนมางานสัปดาห์หนังสือ หรือ คำถามที่คุณจะต้องตอบให้ได้ก่อนการซื้อหนังสือเข้าห้องสมุด มีดังนี้
1. What หนังสือเนื้อหาในกลุ่มใดที่คุณจะมาซื้อในงานนี้
2. Where หนังสือที่คุณจะซื้ออยู่ตรงไหน หรือสำนักพิมพ์อะไร
3. When หนังสือที่คุณจะซื้อเป็นหนังสือเก่าหรือใหม่
4. Why ทำไมต้องมาซื้อหนังสือในงานนี้
ผมเริ่มจาก Question word นะครับ เพื่อนๆ ตอบตัวเองได้หรือเปล่า

เอาหล่ะครับ ทีนี้เรามาดูอะไรทีเป็นวิชาการกันบ้าง
จากหนังสือของ Evans, G. Edward
ชื่อหนังสือ Developing Library and Information Center Collections

Presentation2

ได้กล่าวถึงวงจรในการจัดซื้อ – Acquisitions Life Cycle ไว้ว่า
1. Community Analysis วิเคราะห์ความต้องการของชุมชน
2. Selection Policies กำหนดนโยบายในการเลือกซื้อ
3. Selection เลือกและค้นหา
4. Acquisition จัดซื้อจัดหา
5. Weeding / Deselection จำหน่ายออก
6. Evaluation ประเมินคุณค่า

ดูวงจรได้ตามแผนภาพที่ผมจัดทำขึ้นได้เลยครับ สังเกตว่ามันเป็นวงจรที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และมันจะวนกลับมาที่จุดเริ่มต้นทุกครั้ง วงจรนี้เองเป็นวงจรที่ผมอยากให้เพื่อนๆ ลองคิดและทบทวนขั้นตอนในการเลือกซื้อหนังสือให้ดี เช่น

1. ความต้องการของชุมชน — ผู้ใช้บริการเรามีความหลากหลายเพียงใด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นห้องสมุดประชาชนคงจะตอบว่า ผู้ใช้ต้องการเกือบทุกสิ่งอย่าง เนื้อหาก็หลากหลาย รูปแบบก็หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นหนังสือนวนิยาย หนังสือทั่วไป หนังสือวิชาการ วารสาร นิตยสาร และอื่นๆ อีกจิปาถะ แล้วจะใช้ข้อนี้ได้อย่างไร — แบบฟอร์มเสนอรายชื่อหนังสือเข้าห้องสมุด — เพื่อนๆ มีหรือไม่ ถ้ามีแล้วเราเคยจัดซื้อเพื่อผู้ใช้บริการหรือไม่ สิ่งแรกที่เพื่อนๆ ต้องทำ คือ รวบรวมรายชื่อหนังสือที่ผู้ใช้บริการเหล่านั้นแหละมาซื้อในงานนี้ แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะซื้อทั้งหมดนะครับ ไปดูขั้นตอนต่อไปก่อน

2. ซื้อตามนโยบาย – วัตถุประสงค์ของห้องสมุด – งบประมาณ – ตรวจซ้ำในห้องสมุด
รายชื่อหนังสือที่รวบรวมมาแล้ว เรามาพิจารณากันต่อที่นโยบายของห้องสมุด ดูความเหมาะสมของเนื้อหาว่าสอดคล้องกับการให้บริการของห้องสมุดเราหรือไม่ หรือผู้ใช้บริการเสนอหนังสือที่มีราคาสูงมากๆ ยิ่งต้องคิดในเรื่องงบประมาณที่จะนำมาใช้จ่ายในงานสัปดาห์หนังสือ สมมติถ้าราคาในท้องตลาดมีราคาสูงมาก แต่ในงานสัปดาห์หนังสือมีราคาถูกลงมากก็พิจารณาเก็บรายชื่อดังกล่าวไว้ซื้อในงานสัปดาห์หนังสือดีกว่า

3. เลือกจาก list และค้นหาข้อมูลเบื้องต้น
เมื่อเราได้รายชื่อที่เราต้องการซื้อแล้ว เราควรดูหนังสือที่มีเนื้อเรื่องใกล้เคียงกันด้วย เช่น “Microsoft Office” เราสามารถดูและลองเปรียบเทียบจากสำนักพิมพ์ต่างๆ โดยทั่วไปแล้ว ถ้าเราซื้อจากสำนักพิมพ์ที่พิมพ์จะได้ส่วนลดมากกว่า การซื้อจากตัวแทนจำหน่าย เว้นแต่หนังสือดังกล่าวไม่ได้พิมพ์ในเมืองไทย (หนังสือต่างประเทศ) เราต้องเปรียบเทียบและทำ list ไว้ได้เลย เวลาไปถึงงานสัปดาห์หนังสือแล้วจะได้มีทิศทางในการเลือกซื้อ เช่น เราต้องรู้แล้วว่าจะซื้อจากสำนักพิมพ์ไหนบ้าง

4. ไปซื้อได้แล้ว
กระบวนการนี้ไม่ยากมาก คือ การไปเดินซื้อในงานสัปดาห์หนังสือได้เลย ขอแผนที่ก่อนเข้างาน หรือ เราควรดูแผนที่จากเว็บไซต์ก่อนเดินทางไปที่งาน (แนะนำเพราะคนเยอะมาก) ได้ที่ http://thailandexhibition.com/TradeShow-2013/%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4-%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-18-2475.html พอไปถึงก็เดินตามแผนที่ที่วงไว้ได้เลย เลือกหนังสือที่เรา list ไว้ก่อน ถ้าเหลือเวลาค่อยเดินชมงานและเลือกหนังสือเพิ่มเติม

5. จำหน่ายของเก่าออกบ้าง
ขอจำกัดของห้องสมุดเกือยทุกแห่ง คือ พื้นที่ในการจัดเก็บหนังสือ อย่างว่าแหละครับ คงไม่มีเพื่อนๆ ซื้อหนังสือใหม่เสร็จแล้วซื้อชั้นหนังสือใหม่ต่อเลยใช่ปล่าว ดังนั้นการหาพื้นที่ให้หนังสือใหม่จึงเป็นความจำเป็นเช่นกัน ยิ่งถ้าห้องสมุดไหนมีหนังสือเต็มชั้นจนไม่มีที่จะเก็บแล้ว ผมว่าการจำหน่ายหนังสือเก่าออกบ้างเป็นเรื่องที่ห้องสมุดต้องดำเนินการนะครับ ซึ่งเรื่อง “วงจรการจำหน่ายหนังสือออก (Weeding Life Cycle)” ผมจะเอาไว้เขียนให้อ่านอีกที

6. การประเมินคุณค่าของหนังสือ
เพื่อนๆ เคยเข้าไปดูสถิติการใช้งานของหนังสือบ้างหรือไม่ ว่าหนังสือที่ห้องสมุดจัดซื้อจัดหาเข้ามาในห้องสมุด บางเล่มก็เป้นที่นิยมถูกหยิบยืมจำนวนมาก บางเล่มแทบจะไม่มีคนยืมเลย วิธีการสังเกตห้องสมุดที่มีระบบห้องสมุดอัตโนมัติสามารถดูสถิติการใช้หนังสือแต่ละเล่มได้อยู่แล้ว ส่วนบางห้องสมุดก็ใช้วิธีการประทับตราวันกำหนดส่งท้ายเล่ม นั่นก็เป็นอีกวิธีที่ทำให้เพื่อนๆ สังเกตการใช้งานของหนังสือได้เช่นกัน ซึ่ง “วงจรการประเมินคุณค่าของหนังสือ (Evaluation Life Cycle)” ผมจะเอาไว้เขียนให้อ่านอีกที เช่นกัน

เอาเป็นว่า ก่อนการไปซื้อหนังสือหรือสื่ออะไรก็ตามเข้าห้องสมุดในช่วงงานสัปดาห์หนังสือ เดือนตุลาคมนี้ เพื่อนๆ คงมีการคิดอย่างดีแล้ว และเลือกหนังสือได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการของห้องสมุดกันถ้วนหน้านะครับ

เก็บตกบรรยากาศในงานเทศกาลหนังสือครอบครัวนักอ่าน 2555

เพื่อนๆ คนไหนได้ไปงาน “เทศกาลหนังสือครอบครัวนักอ่าน 2555” บ้างครับ เป็นอย่างไรกันบ้างงานนี้จุดประกายไอเดียให้ผู้เข้าร่วมงานได้มากทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสื่อใหม่ๆ สำหรับเด็ก กิจกรรมสำหรับเด็ก และตัวอย่างนิทรรศการแบบเด็ดๆ มากมาย สำหรับคนที่ไม่ได้มางานนี้ไม่ต้องเสียใจครับ ผมขอนำภาพบรรยากาศและสรุปไอเดียเล็กๆ น้อยๆ ให้อ่านแล้วกัน

ข้อมูลทั่วไปของงาน “เทศกาลหนังสือครอบครัวนักอ่าน 2555” อ่านได้จาก
http://www.libraryhub.in.th/2012/07/10/librarian-go-family-books-festival-2012/

งานอบรมและงานบรรยายที่จัดในงาน “เทศกาลหนังสือครอบครัวนักอ่าน 2555” ผมไม่ได้เข้าร่วมนะครับ
แต่สิ่งที่ผมให้ความสนใจ คือ ร้านหนังสือที่เข้ามาจำหน่าย นิทรรศการจากบริษัทใหญ่ๆ และกิจกรรมสำหรับเด็กที่น่าสนใจ

สรุปเรื่องของร้านหนังสือ
– มีร้านที่จำหน่ายหนังสือและสื่อสำหรับเด็กเยอะพอสมควร
– หนังสือภาพเป็นหนังสือที่ขายดีในงานนี้
– หนังสือสำหรับเด็กที่มีเนื้อเรื่องตามประแสปัจจุบัน เช่น เรื่องที่เกี่ยวกับอาเซียน ชีวประวัติบุคคลชื่อดัง ก็มีการนำมาแปลงให้เด็กอ่านง่ายขึ้น
– รูปแบบหนังสือ pop up ทำให้มีความน่าสนใจมากขึ้น
– หนังสือเสียง audio book มีมากขึ้น


สรุปเรื่องนิทรรศการ
– นิทรรศการแสดงผลงานและความเป็นงานของบริษัทแปลนฟอร์คิดส์ รูปแบบในการนำเสนอน่าสนใจดี อ่านง่ายและเข้าใจง่าย
– นิทรรศการและบอร์ดของโครงการ BBL สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ น่าสนใจทั้งเนื้อหา และมีกิจกรรม รวมถึงสื่อที่จะทำให้ครูเข้าใจกระบวนการสอนตามหลัก BBL
– นิทานในสวนกระดาษ นอกจากเรื่องของกิจกรรมในบูธนี้แล้ว ผมยังให้ความสนใจกับชั้นหนังสือที่ทำจากกระดาษด้วยเช่นกัน
– นิทรรศการ “108 หนังสือดี โครงการเฉลิมพระเกียรติ”


สรุปกิจกรรม (จริงๆ ในนิทรรศการก็มีกิจกรรมประกอบบ้างอยู่แล้ว ดังนั้นกิจกรรมด้านล่างนี้ขอเน้น hilight แล้วกัน)
– กิจกรรม “นิทานเพื่อนรัก” อันนี้ผมขอเน้นว่าเด็ดสุดจริงๆ เล่านิทานโดยผ่านกิจกรรมแต่ละฐาน ผู้เล่าก็สวมชุดมาสคอตด์น่ารัก

เอาเป็นว่าขอสรุปไว้ให้อ่านเท่านี้ก่อนดีกว่า
นอกนั้นผมขอบรรยายโดยใช้ภาพถ่ายแล้วกัน

ภาพบรรยากาศงานเทศกาลหนังสือครอบครัวนักอ่าน 2555 ทั้งหมด

[nggallery id=58]

บรรณารักษ์ควรไป…เทศกาลหนังสือครอบครัวนักอ่าน 2555

ในช่วงเดือนมิถุนายน กรกฎาคม ของทุกปี งานหนังสือที่หลายๆ คนรอคอยอีกงานก็คงหนีไม่พ้นงานเทศกาลหนังสือเด็กและเยาวชน ซึ่งในครั้งนี้มีชื่อใหม่ คือ “เทศกาลหนังสือครอบครัวนักอ่าน 2555

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงานนี้
ชื่องานภาษาไทย : เทศกาลหนังสือครอบครัวนักอ่าน 2555
ชื่องานภาษาอังกฤษ : Family Books Festival 2012
วันและเวลาที่จัดงาน : 11-15 กรกฎาคม 2555 เวลา 10.00-20.00 น.
สถานที่จัดงาน : ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ผู้จัดงาน : สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย

พรุ่งนี้แล้วนะครับ !!! นั่นแหละครับ พรุ่งนี้แล้วงานนี้ผมอยากให้ทุกๆ คนได้ไปเหมือนเช่นงานหนังสือที่จัดในเดือนมีนาคมหรือเดือนตุลาคม เพราะงานนี้เป็นงานที่มีอะไรมากกว่าแค่การจำหน่ายหนังสือนะครับ

บรรณารักษ์ท่านใดที่ยังไม่รู้ว่าจะไปทำอะไร ผมขอแนะนำกิจกรรมที่น่าสนใจเล็กๆ น้อยๆ แล้วกัน
– How Poco Publications Make music
– แถลงงานวิจัย โครงการนิทานเพื่อรัก
– อบรมบรรณารักษ์ “เทคนิคการจัดกิจกรรมการอ่านของบรรณารักษ์”
– เปิดโลกความรู้กับ อมรินทร์ คอมมิกส์ สมาร์ทแก๊ง
– Meeting Jamsai Love series ครั้งที่ 8
– DEXPRESS MEETING ครั้งที่ 3
– อบรมครู “นิทานเพื่อนรักกับการเรียนรู้ ของครูสู่ เด็กปฐมวัย”
– การอ่านและเตรียมความพร้อมให้แก่เยาวชนเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน

ครั้งนี้งานเทศกาลหนังสือเด็กและเยาวชน มีการเปลี่ยนชื่อด้วยนะครับ เป็นงานเทศกาลหนังสือครอบครัวนักอ่าน เพราะงานนี้ธีมงานใหญ่ คือ เรื่องของการอ่านทั้งครอบครัว โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่ที่อยากจะอ่านนิทานให้ลูกฟัง จริงๆ แล้วรู้มั้ยครับว่ามีเทคนิคหรือวิธีการเล่าอย่างไรให้ลูกเกิดการเรียนรู้ เอาเป็นว่ามางานนี้ได้ความรู้นี้กลับไปแน่นอน

ส่วนบรรณารักษ์ก็เข้าไปร่วมกิจกรรมต่างๆ และเอาเทคนิคเหล่านี้ไปใช้ในห้องสมุด หรือจะจัดกิจกรรมเล่านิทานเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้เด็กก็เข้าท่าเหมือนกัน

เอาเป็นว่าใครสนใจก็อย่าลืมไปร่วมงานนี้กันได้ครับ