ก่อนอื่นต้องถามพี่น้องชาวบรรณารักษ์ก่อนว่ารู้จัก McKinsey แค่ไหน แล้ว McKinsey คือบริษัทอะไร คำตอบ McKinsey คือ 1 ในบริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการที่ปรึกษาระดับโลก ซึ่งนอกจากจะทำธุรกิจให้คำปรึกษากับบริษัทชั้นนำต่างๆ แล้ว บริษัทนี้ก็มีการจัดพิมพ์หนังสือแนวคิดด้านการเป็นผู้นำ ไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัลด้วย
Read moreจัดซื้อหนังสือ
วงจรการจัดซื้อ (Acquisitions Life Cycle) สำหรับงานห้องสมุด
ใกล้งานสัปดาห์หนังสือแล้ว ผมเชื่อว่าเพื่อนๆ ในวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทยหลายคนกำลังรอที่จะมาซื้อหนังสือหรือสื่อต่างๆ เข้าห้องสมุด วันนี้ผมจึงขอนำเรื่องราวเกี่ยวกับกระบวนการในการจัดซื้อจัดหามาเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันอีกสักหน่อย อย่างน้อยก็ขอเตือนสติสำหรับบรรณารักษ์บางคนที่ต้องการนำเงินงบประมาณแผ่นดินมาละลายในงานสัปดาห์หนังสือครั้งนี้
เริ่มต้นก่อนมางานสัปดาห์หนังสือ หรือ คำถามที่คุณจะต้องตอบให้ได้ก่อนการซื้อหนังสือเข้าห้องสมุด มีดังนี้
1. What หนังสือเนื้อหาในกลุ่มใดที่คุณจะมาซื้อในงานนี้
2. Where หนังสือที่คุณจะซื้ออยู่ตรงไหน หรือสำนักพิมพ์อะไร
3. When หนังสือที่คุณจะซื้อเป็นหนังสือเก่าหรือใหม่
4. Why ทำไมต้องมาซื้อหนังสือในงานนี้
ผมเริ่มจาก Question word นะครับ เพื่อนๆ ตอบตัวเองได้หรือเปล่า
เอาหล่ะครับ ทีนี้เรามาดูอะไรทีเป็นวิชาการกันบ้าง
จากหนังสือของ Evans, G. Edward
ชื่อหนังสือ Developing Library and Information Center Collections
ได้กล่าวถึงวงจรในการจัดซื้อ – Acquisitions Life Cycle ไว้ว่า
1. Community Analysis วิเคราะห์ความต้องการของชุมชน
2. Selection Policies กำหนดนโยบายในการเลือกซื้อ
3. Selection เลือกและค้นหา
4. Acquisition จัดซื้อจัดหา
5. Weeding / Deselection จำหน่ายออก
6. Evaluation ประเมินคุณค่า
ดูวงจรได้ตามแผนภาพที่ผมจัดทำขึ้นได้เลยครับ สังเกตว่ามันเป็นวงจรที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และมันจะวนกลับมาที่จุดเริ่มต้นทุกครั้ง วงจรนี้เองเป็นวงจรที่ผมอยากให้เพื่อนๆ ลองคิดและทบทวนขั้นตอนในการเลือกซื้อหนังสือให้ดี เช่น
1. ความต้องการของชุมชน — ผู้ใช้บริการเรามีความหลากหลายเพียงใด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นห้องสมุดประชาชนคงจะตอบว่า ผู้ใช้ต้องการเกือบทุกสิ่งอย่าง เนื้อหาก็หลากหลาย รูปแบบก็หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นหนังสือนวนิยาย หนังสือทั่วไป หนังสือวิชาการ วารสาร นิตยสาร และอื่นๆ อีกจิปาถะ แล้วจะใช้ข้อนี้ได้อย่างไร — แบบฟอร์มเสนอรายชื่อหนังสือเข้าห้องสมุด — เพื่อนๆ มีหรือไม่ ถ้ามีแล้วเราเคยจัดซื้อเพื่อผู้ใช้บริการหรือไม่ สิ่งแรกที่เพื่อนๆ ต้องทำ คือ รวบรวมรายชื่อหนังสือที่ผู้ใช้บริการเหล่านั้นแหละมาซื้อในงานนี้ แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะซื้อทั้งหมดนะครับ ไปดูขั้นตอนต่อไปก่อน
2. ซื้อตามนโยบาย – วัตถุประสงค์ของห้องสมุด – งบประมาณ – ตรวจซ้ำในห้องสมุด
รายชื่อหนังสือที่รวบรวมมาแล้ว เรามาพิจารณากันต่อที่นโยบายของห้องสมุด ดูความเหมาะสมของเนื้อหาว่าสอดคล้องกับการให้บริการของห้องสมุดเราหรือไม่ หรือผู้ใช้บริการเสนอหนังสือที่มีราคาสูงมากๆ ยิ่งต้องคิดในเรื่องงบประมาณที่จะนำมาใช้จ่ายในงานสัปดาห์หนังสือ สมมติถ้าราคาในท้องตลาดมีราคาสูงมาก แต่ในงานสัปดาห์หนังสือมีราคาถูกลงมากก็พิจารณาเก็บรายชื่อดังกล่าวไว้ซื้อในงานสัปดาห์หนังสือดีกว่า
3. เลือกจาก list และค้นหาข้อมูลเบื้องต้น
เมื่อเราได้รายชื่อที่เราต้องการซื้อแล้ว เราควรดูหนังสือที่มีเนื้อเรื่องใกล้เคียงกันด้วย เช่น “Microsoft Office” เราสามารถดูและลองเปรียบเทียบจากสำนักพิมพ์ต่างๆ โดยทั่วไปแล้ว ถ้าเราซื้อจากสำนักพิมพ์ที่พิมพ์จะได้ส่วนลดมากกว่า การซื้อจากตัวแทนจำหน่าย เว้นแต่หนังสือดังกล่าวไม่ได้พิมพ์ในเมืองไทย (หนังสือต่างประเทศ) เราต้องเปรียบเทียบและทำ list ไว้ได้เลย เวลาไปถึงงานสัปดาห์หนังสือแล้วจะได้มีทิศทางในการเลือกซื้อ เช่น เราต้องรู้แล้วว่าจะซื้อจากสำนักพิมพ์ไหนบ้าง
4. ไปซื้อได้แล้ว
กระบวนการนี้ไม่ยากมาก คือ การไปเดินซื้อในงานสัปดาห์หนังสือได้เลย ขอแผนที่ก่อนเข้างาน หรือ เราควรดูแผนที่จากเว็บไซต์ก่อนเดินทางไปที่งาน (แนะนำเพราะคนเยอะมาก) ได้ที่ http://thailandexhibition.com/TradeShow-2013/%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4-%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-18-2475.html พอไปถึงก็เดินตามแผนที่ที่วงไว้ได้เลย เลือกหนังสือที่เรา list ไว้ก่อน ถ้าเหลือเวลาค่อยเดินชมงานและเลือกหนังสือเพิ่มเติม
5. จำหน่ายของเก่าออกบ้าง
ขอจำกัดของห้องสมุดเกือยทุกแห่ง คือ พื้นที่ในการจัดเก็บหนังสือ อย่างว่าแหละครับ คงไม่มีเพื่อนๆ ซื้อหนังสือใหม่เสร็จแล้วซื้อชั้นหนังสือใหม่ต่อเลยใช่ปล่าว ดังนั้นการหาพื้นที่ให้หนังสือใหม่จึงเป็นความจำเป็นเช่นกัน ยิ่งถ้าห้องสมุดไหนมีหนังสือเต็มชั้นจนไม่มีที่จะเก็บแล้ว ผมว่าการจำหน่ายหนังสือเก่าออกบ้างเป็นเรื่องที่ห้องสมุดต้องดำเนินการนะครับ ซึ่งเรื่อง “วงจรการจำหน่ายหนังสือออก (Weeding Life Cycle)” ผมจะเอาไว้เขียนให้อ่านอีกที
6. การประเมินคุณค่าของหนังสือ
เพื่อนๆ เคยเข้าไปดูสถิติการใช้งานของหนังสือบ้างหรือไม่ ว่าหนังสือที่ห้องสมุดจัดซื้อจัดหาเข้ามาในห้องสมุด บางเล่มก็เป้นที่นิยมถูกหยิบยืมจำนวนมาก บางเล่มแทบจะไม่มีคนยืมเลย วิธีการสังเกตห้องสมุดที่มีระบบห้องสมุดอัตโนมัติสามารถดูสถิติการใช้หนังสือแต่ละเล่มได้อยู่แล้ว ส่วนบางห้องสมุดก็ใช้วิธีการประทับตราวันกำหนดส่งท้ายเล่ม นั่นก็เป็นอีกวิธีที่ทำให้เพื่อนๆ สังเกตการใช้งานของหนังสือได้เช่นกัน ซึ่ง “วงจรการประเมินคุณค่าของหนังสือ (Evaluation Life Cycle)” ผมจะเอาไว้เขียนให้อ่านอีกที เช่นกัน
เอาเป็นว่า ก่อนการไปซื้อหนังสือหรือสื่ออะไรก็ตามเข้าห้องสมุดในช่วงงานสัปดาห์หนังสือ เดือนตุลาคมนี้ เพื่อนๆ คงมีการคิดอย่างดีแล้ว และเลือกหนังสือได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการของห้องสมุดกันถ้วนหน้านะครับ
บรรณารักษ์ขอบอก : การเดินทางของหนังสือ 1 เล่มในห้องสมุด
นานๆ ทีจะเอาเรื่องราวการทำงานส่วนตัวมาเขียนให้เพื่อนๆ อ่าน วันนี้เลยขอเอาเรื่องราวแบบเบาๆ ที่อ่านได้ทั้งคนที่ทำงานบรรณารักษ์ คนทำงานห้องสมุด คนที่สนใจด้านห้องสมุด และคนทั่วๆ ไปในฐานะคนใช้บริการห้องสมุด สรุปง่ายๆ ว่าอ่านได้ทุกคน
กว่าหนังสือ 1 เล่มจะเข้ามาที่ห้องสมุด ขึ้นไปอยู่บนชั้นหนังสือ และถูกนำออกจากห้องสมุด เพื่อนๆ รู้หรือเปล่าว่ามีขั้นตอนอะไรบ้าง
ผู้บริหารบางคน ผู้ใช้บริการบางคน คิดง่ายๆ ว่า การทำห้องสมุดเป็นเรื่องง่าย แค่ซื้อหนังสือแล้วเอาไปวางไว้บนชั้นก็เป็นห้องสมุดได้แล้ว วันนี้เรามาลองคิดกันใหม่นะครับ
ก่อนอื่นผมต้องบอกก่อนว่าผมขอแยกหนังสือออกเป็น
1. หนังสือที่ห้องสมุดจัดซื้อมาใหม่
2. หนังสือที่ห้องสมุดจัดพิมพ์ในโอกาสต่างๆ
3. หนังสือที่ห้องสมุดขออภินันทนาการจากหน่วยงานอื่นๆ
4. หนังสือที่ได้รับบริจาคจากคน/หน่วยงานอื่นๆ
หนังสือทั้ง 4 แบบมีเส้นทางการเดินทางต่างกัน เดี๋ยวเราไปดูกันเลยดีกว่าครับ
(ผมขอเล่าเป็นภาพแล้วกันนะครับ)
1. หนังสือที่ห้องสมุดจัดซื้อมาใหม่
1.1 กระบวนการจัดซื้อจัดหา
– กำหนดกรอบเนื้อหาของหนังสือที่ห้องสมุดต้องการ (อาจทำร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ)
– รวบรวมรายชื่อหนังสือที่ต้องการจัดซื้อ + ตรวจสอบรายชื่อหนังสือซ้ำกับห้องสมุด
– ดำเนินการสั่งซื้อ กระบวนการส่งของ กระบวนการตรวจรับ
1.2 กระบวนการลงรายการในฐานข้อมูลห้องสมุด
– คีย์ข้อมูลรายการบรรณานุกรมลงในฐานข้อมูลห้องสมุด
– กำหนดเลขหมู่ เลขผู้แต่ง ให้หัวเรื่อง
– เพิ่มรายการตัวเล่ม (Add item)
1.3 กระบวนการเตรียมตัวเล่มเพื่อให้บริการ
– ประทับตรา ติดสัน ติดบาร์โค้ต ติดแถบแม่เหล็ก ห่อปก
– สแกนปกหน้า ปกหลัง ข้อมูลตัวเล่ม สารบัญ
– นำขึ้นชั้นหนังสือเพื่อให้บริการ
1.4 กระบวนการซ่อมแซมหนังสือที่ชำรุด
1.5 กระบวนการคัดออก (กรณีที่หนังสือชำรุดจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ หรือ เนื้อหาไม่ทันสมัย)
2. หนังสือที่ห้องสมุดจัดพิมพ์ในโอกาสต่างๆ
2.1 กระบวนการจัดทำเนื้อหาและจัดพิมพ์
– กำหนดกรอบเนื้อหาของหนังสือ ตั้งโครงร่างของเนื้อหา (อาจทำร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ)
– เขียนเนื้อหา เรียบเรียงข้อมูล ใส่ภาพประกอบ
– ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา
– ออกแบบและจัดหน้า วาง lay out ออกแบบกราฟิค
– พิสูจน์อักษร ตรวจเรื่องสี
– จัดพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือ
2.2 กระบวนการลงรายการในฐานข้อมูลห้องสมุด
– คีย์ข้อมูลรายการบรรณานุกรมลงในฐานข้อมูลห้องสมุด
– กำหนดเลขหมู่ เลขผู้แต่ง ให้หัวเรื่อง
– เพิ่มรายการตัวเล่ม (Add item)
2.3 กระบวนการเตรียมตัวเล่มเพื่อให้บริการ
– ประทับตรา ติดสัน ติดบาร์โค้ต ติดแถบแม่เหล็ก ห่อปก
– นำเข้าภาพหน้าปกจากไฟล์อิเล็คทรอนิคส์
– นำขึ้นชั้นหนังสือเพื่อให้บริการ
2.4 กระบวนการซ่อมแซมหนังสือที่ชำรุด
– นำเล่มที่สมบูรณ์มาเปลี่ยน (หนังสือที่ห้องสมุดจัดพิมพ์สามารถเก็บในชั้นปิดได้กรณีมีจำนวนมาก)
– ซ่อมแซม (กรณีที่หนังสือมีจำนวนจำกัด)
2.5 กระบวนการคัดออก (กรณีที่หนังสือชำรุดจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ หรือ เนื้อหาไม่ทันสมัย)
3. หนังสือที่ห้องสมุดขออภินันทนาการจากหน่วยงานอื่นๆ
3.1 กระบวนการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่ต้องการขอรับหนังสืออภินันทนาการ
– รวบรวมรายชื่อหนังสือที่ต้องการขอรับอภินันทนาการ
– ทำหนังสือเพื่อขอความอนุเคราะห์จากหน่วยงานเจ้าของหนังสือ
– เมื่อได้รับหนังสืออภินันทนาการแล้วต้องทำหนังสือขอบคุณตอบกลับ
3.2 กระบวนการลงรายการในฐานข้อมูลห้องสมุด
– คีย์ข้อมูลรายการบรรณานุกรมลงในฐานข้อมูลห้องสมุด
– กำหนดเลขหมู่ เลขผู้แต่ง ให้หัวเรื่อง
– เพิ่มรายการตัวเล่ม (Add item)
3.3 กระบวนการเตรียมตัวเล่มเพื่อให้บริการ
– ประทับตรา ติดสัน ติดบาร์โค้ต ติดแถบแม่เหล็ก ห่อปก
– สแกนปกหน้า ปกหลัง ข้อมูลตัวเล่ม สารบัญ
– นำขึ้นชั้นหนังสือเพื่อให้บริการ
3.4 กระบวนการซ่อมแซมหนังสือที่ชำรุด
3.5 กระบวนการคัดออก (กรณีที่หนังสือชำรุดจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ หรือ เนื้อหาไม่ทันสมัย)
4. หนังสือที่ได้รับบริจาคจากคน/หน่วยงานอื่นๆ
4.1 กระบวนการลงทะเบียนหนังสือรับบริจาค
– กรอกข้อมูลผู้บริจาคหนังสือพร้อมรายชื่อหนังสือที่ได้รับบริจาค
4.2 กระบวนการคัดสรรหนังสือ
– คัดเลือกหนังสือที่เหมาะสมกับห้องสมุดเพื่อดำเนินการต่อไป หนังสือที่ไม่เหมาะสมก็เก็บไว้เพื่อรอจำหน่ายออกภายหลัง
– คัดเลือกหนังสือที่ต้องซ่อมแซมเพื่อดำเนินการซ่อมแซมต่อไป
4.3 กระบวนการลงรายการในฐานข้อมูลห้องสมุด
– คีย์ข้อมูลรายการบรรณานุกรมลงในฐานข้อมูลห้องสมุด
– กำหนดเลขหมู่ เลขผู้แต่ง ให้หัวเรื่อง
– เพิ่มรายการตัวเล่ม (Add item)
4.4 กระบวนการเตรียมตัวเล่มเพื่อให้บริการ
– ประทับตรา ติดสัน ติดบาร์โค้ต ติดแถบแม่เหล็ก ห่อปก
– สแกนปกหน้า ปกหลัง ข้อมูลตัวเล่ม สารบัญ
– นำขึ้นชั้นหนังสือเพื่อให้บริการ
4.5 กระบวนการซ่อมแซมหนังสือที่ชำรุด
4.6 กระบวนการคัดออก (กรณีที่หนังสือชำรุดจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ หรือ เนื้อหาไม่ทันสมัย)
เอาเป็นว่านี่ก็เป็นภาพแบบกว้างๆ นะครับ ผมเชื่อว่าห้องสมุดบางแห่งก็อาจจะไม่ได้เป็นแบบนี้ หรือบางห้องสมุดอาจจะมีวิธีการจัดการที่ดีกว่านี้ เอาเป็นว่าก็เอามาแชร์กันอ่านบ้างนะครับ และพร้อมรับฟังความเห็นและวิธีการของทุกท่านเช่นกัน ร่วมกันแชร์แนวทางเพื่อการพัฒนาห้องสมุดที่ยั่งยืนนะครับ
ข่าว (ไม่ดี) เรื่องการซื้อหนังสือในโครงการห้องสมุดสามดี
เรื่องดีๆ ในวงการห้องสมุดมีให้อ่านเยอะแล้ว วันนี้ผมขอนำข่าวๆ นึงมาลงให้อ่านนะครับ
ผมเชื่อว่าบรรณารักษ์ในห้องสมุดประชาชนหลายๆ ที่ คงต้องได้ยินข่าวนี้บ้างหล่ะ
ขอเกริ่นให้ทราบสักนิดนะครับว่า…
เมื่อเดือนที่แล้วผมก็ได้ยินข่าวเกี่ยวกับการจัดซื้อหนังสือเข้าห้องสมุดประชาชนหลายๆ ที่นะครับ
เท่าที่รู้ คือ ทาง กศน. ได้งบเพื่อจัดซื้อหนังสือเข้าห้องสมุดตามนโยบาย “ห้องสมุดสามดี”
ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ได้ข่าวเช่นนี้ เพราะถือว่าเป็นการจัดซื้อหนังสือก้อนใหญ่อีกครั้งนึงของห้องสมุดประชาชน
แต่หลังจากนั้นสองสามสัปดาห์ผมก็ได้ยินข่าวจากบรรณารักษ์หลายๆ คนว่า
การจัดซื้อหนังสือครั้งนี้ มีความแปลกและไม่ชอบมาพากลหลายอย่าง
เอาเป็นว่าผมคงบอกรายละเอียดแบบลึกๆ ไม่ได้
แต่ก็ได้แค่ให้กำลังใจและปลอบบรรณารักษ์ว่า “อย่าคิดมาก”
ยังไงก็ถือว่าได้หนังสือใหม่เข้าห้องสมุดแล้วกัน
เอางี้ดีกว่าเพื่อนๆ ลองอ่านข่าวด้านล่างนี้ก่อนนะ
หัวข้อข่าว : ซื้อหนังสือเข้าห้องสมุดกศน.ส่งกลิ่น
จากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2553 คอลัมน์การศึกษา
URL : http://dailynews.co.th/newstartpage/printmode.cfm?categoryid=42&contentid=49149
เนื้อข่าวมีดังนี้
นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย? (สำนักงาน กศน.) กล่าวถึงปัญหาการร้องเรียนความไม่ชอบมาพากลในการจัดซื้อหนังสือเข้าห้องสมุด ประชาชนของ กศน. ตามโครงการตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง หรือ เอสพี 2 ว่า ที่ผ่านมา กศน. ได้รับงบฯซื้อหนังสือเข้าห้องสมุดประชาชน แห่งละ 30,000 บาท แต่ปีนี้ได้รับงบฯเอสพี 2 เพื่อจัดซื้อหนังสือแห่งละ 450,000 บาท ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 15% ทำให้เกิดปัญหาการร้องเรียนในการจัดซื้อมากขึ้น โดยที่ผ่านมามี กศน.อำเภอหลายแห่งในภาคกลางร้องเรียนว่ารายชื่อหนังสือที่ได้ไม่ตรงกับความ ต้องการ ตนจึงสั่งการให้ ผอ.ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (ผอ.กศน.) อำเภอไปทบทวนแล้ว
เลขาธิการ กศน. กล่าวต่อไปว่า ปัญหาที่คาดว่าจะกลายเป็นกลียุคต่อไป คือ เรื่องการส่งหนังสือไม่ครบตามรายการที่ประมูลได้ เพราะมีบางบริษัทจับกลุ่มฮั้วกัน เช่น บางพื้นที่บริษัทประมูลหนังสือ จำนวน 1,200 รายการ ในวงเงิน 450,000 บาท แต่ส่งหนังสือได้เพียง 800 รายการ เพราะที่เหลือบริษัทที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มไม่ยอมขายให้ ซึ่งถ้าเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้นสถานศึกษาจะต้องรายงานมาโดยเร็วเพื่อจะได้หา ทางแก้ปัญหาต่อไป แต่หากอำเภอใดรับหนังสือไม่ครบตามสัญญาที่ประมูล แล้วอ้างว่าบริษัทส่งหนังสือไม่ครบ ผอ.กศน.อำเภอ ในฐานะผู้จัดซื้อต้องรับผิดชอบ เพราะถือว่าได้มอบอำนาจให้แล้ว
?ปัญหาเรื่องการจัดซื้อส่วนกลางไม่สามารถควบคุมได้ เพราะได้กระจายอำนาจให้สถานศึกษาไปแล้ว และที่ผ่านมาทราบว่ามีคนไปแอบอ้างว่าเป็นทีมงานของผม ขอให้ดำเนินการจัดซื้อกับบริษัทนั้น บริษัทนี้ ซึ่งมี กศน.อำเภอหลายแห่งโทรศัพท์มาถาม ผมก็ปฏิเสธไปแล้วว่าไม่เคยมีทีมงาน อย่าไปเชื่อและขอให้จัดซื้อตามระเบียบและขั้นตอน? นายอภิชาติกล่าวและว่า ส่วนที่มีการแอบอ้างผู้ใหญ่ในกระทรวงนั้น ยอมรับว่าได้ยินมาเช่นกันว่า ขณะนี้มีการสถาปนาดีลเลอร์เฉพาะกิจขึ้นมาและอ้างว่าเกี่ยวพันกับผู้ใหญ่ใน กระทรวง แต่ก็ขอให้ผู้บริหารสถานศึกษาดำเนินการอย่างตรงไปตรงมา เพราะหากมีปัญหาเกิดขึ้นคนที่ต้องรับผิดชอบคือ ผอ.กศน.อำเภอ ดังนั้นหากสถานศึกษาใดถูกกดดันให้จัดซื้อโดยไม่สมัครใจ ก็ขอให้ร้องมายังส่วนกลางจะได้เร่งแก้ไขให้.
เอาเป็นว่าเพื่อนๆ คิดยังไงกับข่าวแบบนี้ครับ
ลองช่วยกันเสนอความคิดเห็นให้ผมฟังหน่อยว่าเรื่องแบบนี้ เพื่อนๆ คิดยังไง
ปล. หลังจากที่ข่าวนี้ออกมาผมเชื่อว่าห้องสมุดประชาชนหลายที่คงต้องระงับการซื้อหนังสือชั่วคราวทันที
และก็รอให้มีการตรวจสอบผ่านไปก่อนจึงจะดำเนินการจัดซื้อได้เช่นเดิม