คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รับบรรณารักษ์ ป.โท 1 อัตรา

นายห้องสมุดยังคงช่วยหางานวันนี้ ขอแนะนำตำแหน่งงานในสายที่ลงเฉพาะทางบ้าง แต่เฉพาะทางแค่ไหนก็ยังคงต้องการบรรณารักษ์อยู่ดี ตำแหน่งงานบรรณารักษ์นี้ อยู่ในห้องสมุดคณะจิตวิทยา ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซะด้วย เอาเป็นว่าใครสนใจก็อ่านต่อได้เลย

psy_library_chula_librarian_job

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงานนี้
ชื่อตำแหน่ง : บรรณารักษ์ ระดับ P7
จำนวน : 1 ตำแหน่ง
เงินเดือน : 20,100 บาท
สังกัด / หน่วยงาน : คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สถานที่ปฏิบัติงาน : ห้องสมุดคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เอาหล่ะครับ อย่างที่บอกว่าดูเหมือนจะเฉพาะทาง เพราะต้องปฏิบัติงานที่ห้องสมุดคณะฯ แต่สิ่งหนึ่งที่ตำแหน่งนี้ระบุไว้ อย่างชัดเจน คือ ระดับ P7 ซึ่งแน่นอนครับว่า ต้องจบวุฒิปริญญาโทแน่นอน ยังไงก็ลองอ่านคุณสมบัติเบื้องต้นก่อนแล้วกันครับ
– ปริญญาโท สาขาบรรณารักษ์ศาสตร์ บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ หรือ สารสนเทศศาสตร์
– ใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Word, Excel, Powerpoint และอินเทอรืเน็ตได้ดี
– ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ได้
– ใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้ดี ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

คุณสมบัติแบบนี้ไม่ใช่เรื่องยากสำหรับคนที่จบ ป.โท มานะครับ ดังนั้นเงื่อนไขยังคงมีต่ออีกว่า
ต้องสอบคัดเลือกด้วยนะครับ ซึ่งประกอบด้วย
– สอบข้อเขียน
– ประเมินคุณลักษณะและความเหมาะสมสำหรับการปฏิบัติงาน
– สอบสัมภาษณ์

เอาเป็นว่าถ้าคุณสมบัติตรงและอยากทำงานที่นี่ คง้องรีบกันหน่อยแล้วครับ เพราะต้องส่งใบสมัครภายในวันที่ 29 มีนาคม 2556 นะครับ

รายละเอียดอื่นๆ แนะนำให้เข้าไปอ่านที่
https://www.it.chula.ac.th/sites/default/files/jobs/0360_1.pdf

ขอให้เพื่อนๆ โชคดีครับ

งานเสวนา “หนังสือเก่า เล่าเรื่อง มรดกภูมิปัญญาไทย”

มีข่าวฝากประชาสัมพันธ์มาให้เพื่อนๆ วงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ได้เข้าร่วมครับ เป็นงานเสวนาที่ผมอ่านแล้วก็ยังรู้สึกว่าน่าสนใจดี เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับหนังสือเก่าและหนังสือหายากครับ ชื่องานเสวนานี้คือ “หนังสือเก่า เล่าเรื่อง มรดกภูมิปัญญาไทย”


รายละเอียดงานเสวนาเบื้องต้น
ชื่องานภาษาไทย : หนังสือเก่า    เล่าเรื่อง   มรดกภูมิปัญญาไทย
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุมชั้น 7 ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันและเวลาที่จัด : วันศุกร์ที่  15  มิถุนายน พ.ศ. 2555    เวลา  8.30 – 17.00 น.
จัดโดย : ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในงานนี้เพื่อนๆ จะได้พบกับผู้ที่อยู่ในวงการหนังสือเก่า หรือ หนังสือหายากมากมาย ซึ่งพวกเขาจะมาเล่าให้ฟังถึงคุณค่าและความสำคัญของหนังเก่าที่มีต่อชุมชนและสังคมไทย

หัวข้อที่น่าสนใจในงานนี้
– มรดกภูมิปัญญาในกรมพระจันทบุรีนฤนาถ
– เล่าเรื่อง ลีลาของ “ฉันท์”
– เสน่ห์หนังสือเก่า
– หนังสือเก่า ความรัก ความผูกพัน กับคนสำคัญ

บุคคลที่ให้เกียรติมาถ่ายทอดเรื่องราว เช่น
– รองศาสตราจารย์อัมพร ทีขะระ (ผู้เชี่ยวชาญด้านห้องสมุดหนังสือหายาก)
– รองศาสตราจารย์ฉลอง สุนทราวาณิชย์ (ผู้อำนวยการหอประวัติจุฬาฯ)
– รองศาสตราจารย์คึกเดช กันตามระ (นักวิชาการ/นักเขียน)
– คุณอเนก นาวิกมูล (นักวิชาการ/นักเขียน/เจ้าของบ้านพิพิธภัณฑ์)
– นางสุกัญญา ชลศึกษ์ (ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์)
– นางชมัยภร แสงกระจ่าง (นักเขียน อดีตนายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย)
– นายแพทย์พงศกร จินดาวัฒนะ (นักเขียน)

เป็นยังไงกันบ้างครับทั้งหัวข้อและวิทยากรทั้งหมดก็ล้วนแล้วแต่น่าสนใจนะครับ

ดังนั้นถ้าใครไม่ติดธุระหรือสนใจก็เข้าร่วมงานนี้ได้นะครับ เพียงแค่ดาวน์โหลดแบบตอบรับด้านล่างนี้
คลิ๊กที่นี่เลย “แบบฟอร์มตอบรับเข้าร่วมงาน

เมื่อกรอกข้อมูลเสร็จแล้วก็สำรองที่นั่งโดยส่งแบบตอบรับไปที่ Benja.r@car.chula.ac.th หรือ  Anurak.m@car.chula.ac.th
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ “ศูนย์มรดกภูมิปัญญา  โทร.  0-2218-2934

ข้อความประชาสัมพันธ์ของงานนี้ (เพื่อนๆ สามารถ copy และ ส่งต่อไปให้เพื่อนๆ คนอื่นได้นะครับ)

ศูนย์วิทยทรัพยากร   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย    ขอเชิญชวนคนรักหนังสือเก่า     ผู้ชื่นชอบงานเขียน  และผู้รักการอ่านทั้งหลาย    ร่วมงานเสวนาเรื่อง   หนังสือเก่า    เล่าเรื่อง    มรดกภูมิปัญญาไทย         เนื่องในโอกาสวันกิติยากร    เพื่อน้อมรำลึกในพระกรุณาธิคุณของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ   กรมพระจันทบุรีนฤนาถ   ที่ทรงมีต่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   ในวันศุกร์ที่  ๑๕  มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕    เวลา  ๘.๓o – ๑๗.oo  น.   ณ  ห้องประชุมชั้น  ๗   ศูนย์วิทยทรัพยากร      โดยมุ่งหวังให้เป็นเวทีของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการสร้างองค์ความรู้ทางมรดกภูมิปัญญา  เผยแพร่เรื่องราวของหนังสือหายากให้สาธารณชนได้ตระหนักในคุณค่า  ความรู้   และความสำคัญของหนังสือเก่าที่มีต่อชุมชน  สังคม   และประเทศชาติ     ผ่านเรื่องเล่า    บันทึกความทรงจำและความรู้สึกที่งดงามของบุคคลต่างๆ   ประกอบด้วยการบรรยายเรื่อง  มรดกภูมิปัญญาในกรมพระจันทบุรี นฤนาถ   โดย   รองศาสตราจารย์อัมพร  ทีขะระ    รองศาสตราจารย์ฉลอง   สุนทราวาณิชย์     และ คุณธงชัย  ลิขิตพรสวรรค์    เล่าเรื่องลีลาของ “ ฉันท์ ”  โดย  รองศาสตราจารย์คึกเดช  กันตามระ     ฟังสบายๆ กับเรื่อง  เสน่ห์หนังสือเก่า  โดย  คุณเอนก  นาวิกมูล    ในภาคบ่ายพบกับการเสวนาเรื่อง  หนังสือเก่า  ความรัก  ความผูกพัน  กับคนสำคัญ  โดย   ศิลปินแห่งชาติ  นางสุกัญญา  ชลศึกษ์   (กฤษณา  อโศกสิน)  นางชมัยภร   แสงกระจ่าง   และนายแพทย์พงศกร  จินดาวัฒนะ    พร้อมเปิดบ้านเยี่ยมชมห้องกรมพระจันทบุรีนฤนาถ    ศูนย์มรดกภูมิปัญญา  จุฬาฯ  การบริการหนังสือหายาก  และหนังสือหายากอิเล็กทรอนิกส์

เมื่อนายห้องสมุดกลายเป็นอาจารย์พิเศษให้เด็กเอกบรรณฯ จุฬา

เมื่อวันพฤหัสที่แล้ว (วันที่ 2 ธันวาคม 2553) ผมได้รับเชิญให้ไปบรรยายพิเศษให้เด็ก ปริญญาตรีปี 3 เอกบรรณารักษ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งบรรยายเรื่องประสบการณ์การทำงานด้านห้องสมุดและบรรณารักษ์ที่เคยผ่านมา รวมถึงให้แง่คิดเรื่องการทำงานในสาขาบรรณารักษ์แบบใหม่ๆ วันนี้เลยขอเล่าเรื่องนี้คร่าวๆ

รายละเอียดในการบรรยายทั่วไป
ชื่อการบรรยาย : ประสบการณ์การทำงานด้านห้องสมุดและบรรณารักษ์
วันและเวลาที่บรรยาย : วันที่ 2 ธันวาคม 2553 เวลา 9.00-12.00 น.
สถานที่บรรยาย : ห้อง 508 อยู่ชั้น 5 อาคารบรมราชกุมารี

เรื่องที่ผมเตรียมไปบรรยาย (อันนี้เอามาจากบันทึกที่อยู่ในมือผมตอนบรรยาย ตอนบรรยายจริงๆ หัวข้อบางอันข้ามไปข้ามมานะและบางหัวข้ออาจจะไม่มีในบันทึกนี้ แต่เป็นการเพิ่มเติมในเรื่องของประสบการณ์)

งานโครงการศูนย์ความรู้กินได้
– ก่อนมาทำงานที่นี่ (เล่าคร่าวๆ ประสบการณ์ทำงาน) = บทบาทใหม่ในการพัฒนาวงการห้องสมุด
– ภาพรวมของการจัดตั้งศูนย์ความรู้กินได้ (ห้องสมุดประชาชนที่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งแรกของเมืองไทย)
– นักพัฒนาระบบห้องสมุดไม่ใช่คนทำงานไอทีอย่างเดียว = การดูแลภาพรวมของห้องสมุด
– แผนผัง Flow งานงานทั้งหมดในห้องสมุด (งานจัดหา งานประเมิน งาน catalog งานเทคนิค งานบริการ งานสมาชิก)
– การกำหนดและจัดทำนโยบายงานต่างๆ ในห้องสมุด
– มุมมองใหม่ๆ สำหรับอาชีพสารสนเทศ เช่น รับทำวิจัย ที่ปรึกษาห้องสมุด outsource งานห้องสมุด ฯลฯ
– แนวโน้มด้านเทคโนโลยีห้องสมุด (แนวคิดเรื่องห้องสมุด 2.0) ไม่ใช่เทคโนโลยีแต่เป็นทฤษฎี
– แนวทางในการเลือกใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
– กิจกรรมของโครงการ การอบรม (ยิ่งมีกิจกรรมเยอะยิ่งดึงดูดคน)

งานส่วนตัว Projectlib & Libraryhub
– จากบล็อกส่วนตัวเล็กๆ มาจนถึงชุมชนบรรณารักษ์แห่งใหม่
– ความก้าวหน้าของอาชีพบรรณารักษ์ที่หลายคนคิดไม่ถึง
– ความภูมิใจต่อวงการบรรณารักษ์ (อดีตที่ไม่มีใครสนใจ)
– กิจกรรมการสร้างเครือข่ายบรรณารักษ์รุ่นใหม่ Libcamp ไม่ต้องใช้เงินเยอะ
– แง่คิดที่ได้จากการทำบล็อก Projectlib และ Libraryhub
– กรณีศึกษา : ถามตอบบรรณารักษ์ (ปรึกษาการทำโครงงานห้องสมุด)

การบรรยายในครั้งนี้ผมใช้วิธีการเล่าเรื่อง สลับกับการเปิดวีดีโอที่เกี่ยวข้องเพื่อไม่ให้เด็กเบื่อกับเรื่องที่เป็นวิชาการมากนัก ซึ่งวีดีโอที่ผมนำมาเปิดวันนี้ประกอบด้วย วีดีโอแนะนำโครงการศูนย์ความรู้กินได้ วีดีโอแนะนำหนังสือของห้องสมุด วีดีโอเพลงเอ็มวีของ มข เอาเป็นว่าเด็กๆ คงชอบนะครับ

จริงๆ หัวข้ออย่างที่บอกตอนต้นว่าเป็นการเล่าประสบการณ์เป็นหลักดังนั้น ในด้านของความรู้ตามตำราผมไม่ได้ลงรายละเอียดมากนักแต่เน้นการใช้งานจริงมากกว่า เช่น ก่อนจบการบรรยายได้แนะนำ การให้หัวเรื่องของ BISAC ที่เป็นการกำหนดหัวเรื่องตามร้านหนังสือ เพื่อนำมาปรับใช้กับงานด้านห้องสมุดเฉพาะทาง

ก่อนอื่นต้องขอบอกความรู้สึกในการบรรยายตามตรงนะครับ ว่าเป็นครั้งแรกที่ตื่นเต้นมากๆ เนื่องจากปกติ บรรยายให้แต่ผู้ใหญ่ฟัง ไม่เคยบรรยายให้น้องๆ หรือเด็กเอกบรรณฯ ฟังเลย แถมต้องมาบรรยายที่จุฬาด้วยยิ่งตื่นเต้นไปกันใหญ่เพราะเด็กๆ ที่นี่น่าจะมีความรู้ด้านวิชาการเต็มเพียบ แต่สุดท้ายพอบรรยายจบก็โล่งขึ้นเยอะเลย เพราะเด็กๆ ที่นี่น่ารักมาก ตั้งใจฟังเป็นอย่างดี

ในระหว่างการบรรยายของผม อาจารย์เสาวภาก็ได้ถ่ายรูปให้ผมเก็บไว้ด้วย ก็ขอขอบคุณมากๆ เลย

การบรรยายที่นี่ทำให้ผมรู้สึกว่าอย่างน้อยการถ่ายทอดประสบการณ์และความรู้ให้คนรุ่นหลังๆ เป็นสิ่งที่ดีและน่าสนใจมากๆ (ตอนนี้เริ่มมีความรู้สึกอยากเป็นอาจารย์บ้างแล้ว อิอิ)

เอาเป็นว่าก็ขอขอบคุณน้องๆ เอกบรรณ คณะอักษรศาสตร์ทุกคน รวมถึงอาจารย์ภาคบรรณารักษศาสตร์ทุกคนด้วยครับ ที่ร่วมกันสร้างคนรุ่นใหม่ให้เข้าสู่วงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ด้วย

ก่อนจบขอนำภาพที่อาจารย์เสาวภาถ่ายมาลงไว้นะครับ (ที่มาจาก http://www.facebook.com/#!/album.php?aid=268255&id=534934030)

ชมภาพการบรรยายได้เลยครับ

[nggallery id=33]