Happy Birthday To Me 2011

บันทึกวันที่ 29 กันยายน 2554 (วันเกิดของนายห้องสมุด นายบรรณารักษ์ ครบรอบ 29 ปีแล้วนะ)
เป็นเรื่องปกติที่ต้องมานั่งอวยพรและฉลองวันเกิดของตัวเองในบล็อก (ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม)

เวลาในแต่ละวัน เดือน ปี มันช่างผ่านไปรวดเร็วนัก ….. นี่ผมอยู่มาเกือบ 29 ปีแล้วหรอเนี้ย
แล้วบล็อกที่ผมเขียนตั้งแต่แรก (Projectlib) จนถึงวันนี้ (Libraryhub) นี่ก็เจ็ดปีกว่าๆ แล้วเช่นกัน
ปีนี้ผมก็ยังคงต้องเตือนตัวเองเหมือนเช่นทุกปีว่า “อย่าหลงระเริงไปกับชีวิตแบบไร้จัดหมายไปวันๆ ได้แล้ว”

เอาหล่ะเตือนตัวเองเสร็จแล้ว ขออวยพรให้ตัวเองบ้างดีกว่า
– ขอให้คนในครอบครัวของผมมีความสุข (ทั้งครอบครัวจริงๆ และครอบครัวบรรณารักษ์)
– ขอให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง (ไม่เจ็บป่วยบ่อยเหมือนปีที่ผ่านมา)
– ขอให้มีกำลังใจในการเขียนบล็อกและช่วยวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ไปเรื่อยๆ
– ขอให้งานที่จะทำ กำลังทำ วางแผนจะทำ จงสำเร็จอย่างดี
– ขอให้มีแรงใจในการ พูดดี ทำดี และคิดดี

ฉลองที่ไหน!!! อันนี้ตอบยากมากเลย เพราะอยู่ในช่วงกินเจอ่ะครับ
จะให้ฉลองอะไรก็คงไม่สะดวกมากสักเท่าไหร่หรอก เอาไว้ฉลองพร้อมกับเรื่องปลายปีนี้ดีกว่า (งานแต่งงานของผม)

และเช่นเคยเป็นธรรมเนียมของทุกปีที่ผมจะซื้อของขวัญให้ตัวเอง
เอาเป็นว่ารู้แล้วหล่ะครับว่าจะซื้ออะไร เดี๋ยวจะเอามาอัพเดทให้อ่านวันหลังนะ

สำหรับวันนี้ก็ Happy Birthday To Me……

———————————————————————————————————–

ขอบคุณเพื่อนๆ ใน Social Media ที่ร่วมกันอวยพรวันเกิดให้ผมนะครับ (Update29/9/2011)

Facebook

JuNe SaSisophit / May Kessuda Thamapipon / Supannee Rongbutsee / Pploy’ Saowalak / Tanapat Tanakulpaisal / Pranitee Ratanawijitr / Wilas TheInk Chamlertwat / NooDam Noppharat / Akai Rider / Cabinlazz Lizzie / Sutham Pom Thammawong / Kowit Asitirat / Kathy Kewpie / Chonlada Buratcharin / SassyGirl Jane / Tossapon Anothaipaiboon / Thanakan Jittjai / Paweena Kumpor / Tam Tummarus / เยน วรินทร์ทิพย์ / Pattara Sreshthaputra / Tom Tumnoon / Joeng Ked / Toey Chosechoysap / Pandanoi Nuttaya / Cybrarian Cyberworld / Punnatee Teenapun / Preeda Yodkaew / Haleluya Ayulelah / Sac Laubu / Katoon Mariyano / พิมพ์นิภา มณีจินดา / ชุมชนคนหางาน บรรณารักษ์ / Natcha Likhitboonyarith / Tin Baantonfai / Weyoung Lifejang / Tan Supawan / Saksith Lawsunnee / Nukulrat Launglaythong / Kes Pho / Koala Poy / Thanatthat Visutthitharawong / Sasi Thaworn / Manot Manojang Phatam / นางสาวสุนิสา แสนทวีสุข / Jib Indie / Podjamand Boonchai / Panumas Adi / Jlo Home / Sirilak Thammathon / ห้องสมุดประชาชน เฉลิมราชกุมารี จังหวัดปัตตานี / Ple Hathaichanok / Kaejang Sukanya / Arec Msu / Auem Keowalee / Hatari Hatairat / TonAor Lekkla / Lamunjai Pitakwaree / NanNie AurNa / Phinissorn Singcharoen / Poch Dll / Monomink Pj / Dahwan Thongsri / Pz’ Ampoope / Nilinee Noopinit / Jiraporn Pangpa / Bubble Chayapa Boonmana / Koei Matkhaw / NamOill Jajaa / JjooMm Thiarmart / Koi Jung / Golf Golf Za / ปริศนา บวชสันเที๊ยะ / Guangming Sangkeettrakarn / Ronnachai Tee Saiwong / Spylady Honestguy / Yaowaluk Sangsawang Nontanakorn / Noo Eed / Warodom Dansuwandumrong / Somkiat Charu / กุ้ยช่าย ยิ้มแป้นเล่น / โอ้เอ้ โอ้เอ้ / ชะอม ชโรกลมๆ / Chawewon Boonthum / Thammasat Yaothanee / Bowies Pinta / Sukanya Sakuldej / Nong Pape-Prem / Prasitichai เรารักในหลวง / ด.ช.ต้น นามสมมุติ / อาร์ม เว้ยเฮ้ย / Carefree C. Cat / Kanlife’s Gingerbread / NooNik Ps / Puttipong-hata Bunon / Ji Jiraporn / Rabbits Tai / นายณะรินทร์ศาล์ งามวงศ์ / TangMo Lapat / Choco Van / อยู่คนเดียว มันโครตเหงาเลย / Paweena Paka / ปราณปริยา ตันติบุตร / บรรณารักษ์ เจน / Minky KPbunny / อาภาภรณ์ วรรณา / Koi Watana / MudMee Baapaabaapaa / Monrudee Saeng-aroon / Krich Pratchyawatin / นางสาวแก้วตา แสงอรุณ / กลิ่นสุคนธ์ ศรีจรรยา / Anchalee Kweevirojkul / Kook Chananchida / Ga Pali /Ton Nakarin / ผ่องศรี อรอินทร์ / เกี๊ยวกุ้ง Ratcha

Twitter

@junesis / @charathBank / @nuboat / @jaaja / @pimoooo / @OaddybeinG / @PatSonic / @dekads

ขออภัยที่หายไปจากบล็อกห้องสมุดเกือบหนึ่งเดือน…

ไม่ได้เขียนบล็อกมาเกือบหนึ่งเดือนเพื่อนๆ ยังคิดถึงผมกันบ้างหรือปล่าวครับ
วันนี้ผมกลับมาแล้ว และจะมาเล่าให้ฟังว่าหาไปไหนมาบ้าง…

welcomebacklibraryhub

หลายๆ คนที่ติดตามบล็อกผมมานานคงจะรู้ว่า…
ปกติต่อให้มีงานเยอะแค่ไหนผมก็จะเขียนบล็อกอยู่ตลอด
ไม่ว่าจะเป็นช่วงที่ผมเรียนปริญญาโท สอบปริญญาโท
ผมก็ยังคงเขียนบล็อกเล่าเรื่องราวให้เพื่อนๆ อ่านอยู่ทุกวัน

เหตุการณ์ที่ทำให้ผมต้องหยุดเขียนบล็อกในช่วงที่ผ่านมา
เช่น
– ไม่สบาย ปวดหัว ซึ่งจะหยุดเขียนประมาณ 1-2 วัน
– การเดินทางไปต่างจังหวัด (ไปแต่ละครั้ง 3-4 วัน) ซึ่งจะหยุดเขียนประมาณ 2-3 วัน
– การปรับปรุงและเปลี่ยนจาก Projectlib มาเป็น Libraryhub หยุดเขียนประมาณ 1 เดือน

หลายๆ ครั้งก่อนที่ผมจะหยุดเขียนบล็อก ผมก็จะแจ้งให้เพื่อนๆ ทราบก่อนทุกครั้ง
แต่ในครั้งนี้ผมหายไปโดยไม่ได้แจ้งใครไว้เลย ทำให้มีเพื่อนๆ ส่งเมล์มาถามข่าวคราวมากมาย

ถ้าเพื่อนๆ สังเกตก็คือ ผมเขียนเรื่องสุดท้ายเมื่อเดือนที่แล้ววันที่ 23 กุมภาพันธ์ แล้วผมก็หายไป
จนวันนี้วันที่ 19 มีนาคม 2553 เท่ากับว่าผมหายไปเกือบ 1 เดือนเลย…

สาเหตุหลักมาจากงานที่ผมได้รับมอบหมายในช่วงนี้ ที่มีเยอะมากและต้องรีบสะสางให้เสร็จ
ผมทำงานอย่างไม่มีวันหยุด 7 วันทำงาน ตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันอาทิตย์ที่ต้องอยู่ที่ออฟฟิต
ทำงานเสร็จพอกลับถึงบ้านก็ไม่มีแรงที่จะเขียนบล็อกเหมือนเช่นเคย

ความรู้สึกที่อยากเขียนบล็อกของผมก็ยังคงมีนะครับ แต่กำลังกายก็ไม่เอื้ออำนวย
เวลาผ่านมาเกือบหนึ่งเดือนผมเองก็มีเรื่องให้คิดอะไรมากมายอยากเขียนอยากระบายอะไรมากมาย
แต่ก็ทำได้แค่โทรไปบ่นๆ หรือตอบเมล์เพื่อนๆ หลายๆ คนแล้วบอกว่า “อีกไม่นานผมจะกลับมา”

เมื่อวานนี้ขณะที่ผมนอนป่วยอยู่ที่บ้าน ผมก็เริ่มทบทวนเรื่องราวต่างๆ มากมายว่า
ตกลงผมจะกลับมาเขียนบล็อกได้อีกหรือปล่าว สมองผมเริ่มสั่งการว่า…

ถ้าผมปล่อยให้บล็อกว่างปล่าวไปอีกสักระยะ ผมคงอาจจะไม่มีแรงอยากเขียนบล็อกอีกแล้วก็ได้
ดังนั้นอย่าปล่อยให้เวลาผ่านไปนานกว่านี้เลย รีบๆ กลับมาเขียนบล็อกให้เพื่อนๆ อ่านเหมือนเดิมดีกว่า

ว่าแล้วผมก็เริ่มที่จะเขียนบล็อกเรื่องนี้ขึ้นมา เพื่อ :-
– เล่าเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ ว่าผมหายไปไหนมา
– ขอโทษเพื่อนๆ ที่ไม่ได้อัพเดทความเคลื่อนไหวของข่าวคราวในวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์
– ประกาศจุดเริ่มต้นของการเขียนบล็อกต่อไป

เอาเป็นว่าอย่างที่เกริ่นไว้ว่า วันนี้จะมาขอโทษเพื่อนๆ ผมก็ต้องขอกล่าวคำขอโทษอย่างเป็นทางการว่า
“ขอโทษที่หายหัวไปจากบล็อกทำให้เพื่อนๆ หลายๆ คนเป็นห่วงและไม่ได้อัพเดทเรื่องราวในวงการฯ”

วันนี้ผมจะขอเริ่มต้นใหม่ในการอัพเดทบล็อกให้เพื่อนๆ ได้อ่านนะครับ
หวังว่าเพื่อนๆ คงจะกลับมาอ่านและติดตามข่าวสารในวงการบรรณารักษ์เช่นเคย

Welcome Back Libraryhub….

เรื่องเล่าของผมกับห้องสมุดในวัยเด็ก

ก่อนอื่นต้องขออวยพรให้เด็กๆ อนาคตของชาติสักหน่อยดีกว่า เนื่องจากวันนี้เป็น “วันเด็กแห่งชาติ”
ผมอยากเห็นอนาคตของชาติรักการอ่านมากๆ และมีความคิดสร้างสรรค์มากๆ ครับ

library-kid

คำขวัญวันเด็กปี 2553 = “คิดสร้างสรรค์ ขยันใฝ่รู้ เชิดชูคุณธรรม”

วันนี้ผมขอเขียนเรื่องแบบสบายๆ หน่อยแล้วกัน และขอเข้ากับบรรยากาศวันเด็กนิดๆ นะ
ประมาณว่าจะขอเล่าเรื่องสมัยตอนผมเป็นเด็กแล้วกัน เกี่ยวกับการใช้ห้องสมุดในวัยเด็กของผม

ผมเริ่มชอบห้องสมุดตั้งแต่เมื่อไหร่น้า…

ผมคงต้องเริ่มต้นเล่าตั้งแต่สมัยผมเรียนเลยหล่ะมั้ง
ซึ่งผมเรียนอยู่ที่โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรีมาตลอดตั้งแต่ ป.1 ถึง ม.6
ผมยังคงจำห้องสมุดโรงเรียนแห่งนี้ได้เสมอและเห็นการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด

หลักๆ การเปลี่ยนแปลงห้องสมุดครั้งใหญ่ที่ผมเห็นมีอยู่ 3 ครั้ง ดังนี้

1. ห้องสมุดเล็กๆ ที่ให้บริการแบบดั้งเดิมต้องยืมคืนด้วยบัตรกระดาษ และยังไม่มีคอมพิวเตอร์เข้ามาให้บริการ
ภายในห้องสมุดเองก็ติดพัดลมไว้ทั่ว ยังไม่มีเครื่องปรับอากาศเลย แต่ห้องสมุดก็ไม่ร้อนนะ
คนมายืมหนังสือที่นี่ก็เยอะเหมือนกัน จะยืมแต่ละทีต้องเข้าแถวรอนานมาก
แต่ผมเองก็ใช้บริการแทบจะทุกสัปดาห์เลย ตอนนั้นจำได้ว่าอยู่ประมาณ ป.3-4 ได้มั้ง
หนังสือที่ผมยืมส่วนใหญ่จะเป็นหนังสือที่มีภาพเยอะๆ พวกการ์ตูนวิทยาศาสตร์ครับ

2. ห้องสมุดถูกย้ายไปอยู่อีกตึกซึ่งเป็นห้องสมุดชั่วคราวเนื่องจากตอนนั้นมีการทุบตึกห้องสมุดเดิมเพื่อสร้างห้องสมุดใหม่
ในห้องสมุดชั่วคราวนี้เปิดดำเนินการแค่ประมาณปีครึ่งเอง
แต่ก็มีเครื่องปรับอากาศในห้องสมุดนะ ซึ่งผมก็ชอบมาก และเข้าไปนั่งอ่านหนังสือเล่นประจำเพราะว่ามันเย็นดี
แต่ในช่วงนั้นผมไม่ค่อยได้ยืมหนังสือเลย หรือว่าโตแล้วเริ่มขี้เกียจนะ

3. ห้องสมุดใหม่เสร็จกลายเป็นตึกหอสมุดใหญ่มาก มีคอมพิวเตอร์เพื่อการสืบค้น มีอินเทอร์เน็ตให้เล่นด้วย
ในตึกหอสมุดใหม่นี้มีทั้งห้องคอมที่ใช้สำหรับวิชาเรียนในชั้น 2 ส่วนในชั้น 3 กับ 4 เป็นห้องสมุด
ซึ่งมีความทันสมัยมากๆ ทำให้ผมเข้ามาประจำเลย โดยเฉพาะเวลาพักเที่ยงเกือบทุกวันผมจะอยู่ที่ห้องสมุดเสมอๆ
เวลาเพื่อนจะตามหาผมก็มักจะมาหากันที่ห้องสมุดนั่นแหละ
ในช่วงนั้นเวลาใครต้องการทำรายงาน ผมจะอาสาเป็นคนค้นหาข้อมูลเพื่อประกอบรายงานตลอด
คงเป็นเพราะตอนนั้นแน่ๆ ที่ทำให้ผมอยากเป็นบรรณารักษ์มั้ง

นอกจากห้องสมุดโรงเรียนของผมแล้วผมยังมีห้องสมุดที่ผมไปประจำอีกสองที่นั่นคือ

1. หอสมุดแห่งชาติ (ไปค่อนข้างบ่อย)
ช่วงที่ผมได้รับมอบหมายให้ทำรายงาน ผมก็จะเลือกที่ค้นหาข้อมูลหลัก ซึ่งนั่นก็คือ หอสมุดแห่งชาติ นั่นเอง
เวลาอยากได้เนื้อหาอะไร ข้อมูลอะไร ความรู้อะไร คำตอบของผมที่ได้มักจะมาจากห้องสมุดเป็นหลัก
อาจจะเป็นเพราะว่าในสมัยนั่นอินเทอร์เน็ตเพิ่งจะเริ่มต้น จึงทำให้ค้นหาข้อมูลแล้วไม่ค่อยได้อะไรนั่นเอง


2. ห้องสมุดภาษาญี่ปุ่นที่สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

เนื่องจากทุกๆ วันเสาร์ผมจะเรียนภาษาญี่ปุ่นที่นั่นและในห้องสมุดนั่นมีหนังสือที่สอนภาษาญี่ปุ่นมากมายด้วย
เวลามาเรียนผมจึงต้องแวะห้องสมุดนี้สักชั่วโมงเพื่อหาอะไรอ่านเล่น และเพื่อเป็นการฝึกภาษาไปในตัวด้วย

เอาเป็นว่าผมขอหยุดเวลาเด็กไว้แค่นี้ก่อนแล้วกัน
ไว้วันหลังจะมาเล่าต่อในช่วงที่ผมเรียนมหาวิทยาลัยก็แล้วกันนะครับ

สุดท้ายนี้ก็ขอให้เพื่อนๆ เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเด็กๆ ซึ่งเป็นอนาคตของชาติกันนะครับ