มาเรียนเรื่องการจัดหมวดหมู่หนังสือแบบดิวอี้ออนไลน์กันดีกว่า

การจัดหมวดหมู่และการจัดเรียงหนังสือในห้องสมุดหลายๆ แห่ง (โดยเฉพาะห้องสมุดประชาชน ห้องสมุดโรงเรียน….) มักจะใช้หลักการจัดหมวดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้กัน วันนี้ผมจึงอยากแนะนำข้อมูลและแหล่งข้อมูลที่ใช้เพื่อการเรียนรู้เรื่องการจัดหมวดหมู่นี้

ปีที่แล้วผมได้เขียนเกี่ยวกับเรื่อง “DDC23 กำลังจะมา ห้องสมุดของคุณเตรียมพร้อมแล้วหรือยัง

ในครั้งนั้นผมให้ข้อมูลว่า OCLC ไปพัฒนาระบบ WebDewey 2.0 เพื่อช่วยให้บรรณารักษ์ทำงานง่ายขึ้น ซึ่งการใช้งาน WebDewey 2.0 ห้องสมุดและบรรณารักษ์จะต้องเป็นสมาชิกและเสียค่าใช้จ่ายให้กับ OCLC

ซึ่งหากห้องสมุดของท่านไม่ได้เป็นสมาชิกกับ OCLC แล้วท่านจะรู้ได้อย่างไรว่า DDC23 มีการเปลี่ยนแปลงในหัวข้อไหนบ้าง และการจัดหมวดหมู่ยังคงรูปแบบเหมือนที่เราเรียนมาเมื่อ 10 – 20 ปีก่อนหรือไม่

ซึ่งทำให้ OCLC ไปเปิดบริการ Dewey Teaching Site ขึ้น และจัดทำเอกสารเพื่อให้ผู้ที่สนใจ คนทำงาน นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ได้นำไปใช้เพื่อให้เข้าใจที่มาของการจัดหมวดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้


เว็บไซต์ที่เก็บเอกสารที่ใช้สำหรับการเรียนรู้การจัดหมวดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้

(http://www.oclc.org/dewey/resources/teachingsite/courses/default.htm)

เอกสารประกอบด้วย
– Technical Introduction to the DDC
– Choice of Number Review
– Number Building: Add Tables
– Introduction to WebDewey 2.0
– Introduction to Table 1
– Introduction to 000, 100, 200
– Introduction to 300 and Table 5
– Introduction to 400 and Tables 4 and 6
– Introduction to 500
– Introduction to 600
– Introduction to 700
– Introduction to 800 and Table 3
– Introduction to 900 and Table 2

เอกสารทั้งหมดอยู่ในรูปแบบไฟล์ PDF
นอกจากเนื้อหาที่ใช้สำหรับอ่าน หรือ สอนแล้ว ยังมีในส่วนที่เป็นแบบฝึกหัดให้ทำด้วย เพื่อทบทวนการเรียนรู้ของเรา

เอาเป็นว่าใครที่สนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็เข้าไปชมกันได้ครับ

DDC23 กำลังจะมา ห้องสมุดของคุณเตรียมพร้อมแล้วหรือยัง

จั่วหัวว่า DDC23 แบบนี้กลัวเพื่อนๆ บางส่วนจะไม่เข้าใจ เอาเป็นว่าขออธิบายสักนิดแล้วกัน
DDC = Dewey Decimal Classification คือ การจัดหมวดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้
ส่วนตัวเลข 23 หมายถึงครั้งที่ปรับปรุง (เรียกง่ายๆ ว่าการอัพเดทข้อมูลต่างๆ ในระบบทศนิยมดิวอี้)

ช่วงนี้ในวงการบรรณารักษ์ต่างประเทศมีการพูดถึงเรื่อง DDC23 มากขึ้น
สังเกตได้จาก WebDewey 2.0 ที่ OCLC ให้บริการอยู่มีการเพิ่มเมนูใหม่ DDC23!

หน้าจอของ WebDewey

คงอีกไม่นานแล้วสินะที่เราจะได้ใช้หนังสือคู่มือการให้เลขหมู่ฉบับใหม่กันสักที

มีอะไรใหม่ใน DDC23 บ้าง
– มีการปรับปรุงข้อมูลในหมวด 004-006 หมวดคอมพิวเตอร์ซึ่งหมวดหมู่ในกลุ่มนี้จำเป็นต้องปรับบ่อยมากเนื่องจากเทคโนโลยีไปค่อนข้างเร็ว
– อัพเดทข้อมูลหมวดหมู่ที่เกี่ยวกับนิกายออร์ธอด็อกซ์ และศาสนาอิสลาม
– ปรับปรุงข้อมูลในหมวด 340 ให้เข้ากับการดำเนินชีวิตของพลเมืองมากขึ้น
– ปรับปรุงข้อมูลในหมวด 370 และลงรายละเอียดเกี่ยวกับระดับการศึกษาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
– อัพเดทข้อมูลหมวดหมู่อาหารและเครื่องแต่งกาย
– อัพเดทข้อมูลในหมวด 740 เรื่องของงานกราฟฟิคและงานประดิษฐ์
– เพิ่มและขยายเลขหมู่ในกลุ่มภาพยนตร์และวีดีโอที่หมวด 777
– ขยายเลขหมู่ที่เกี่ยวกับกีฬา outdoor
– เพิ่มและขยายเลขในตาราง 2 เพื่อให้รองรับกับเลขหมู่ทางประวัติศาสตร์ได้ (930-990)
– ปรับปรุงช่วงเวลาในหมวดหมู่ประวัติศาสตร์ (930-990)


เป็นยังไงกันบ้างครับ กับสิ่งใหม่ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น ผลที่จะต้องตามมาแน่นอนคือ

1. สายการศึกษา ต้องเปลี่ยนตำราเรียนกันใหม่หรือปล่าว หรือถ้าไม่เปลี่ยนมีวิธีการอธิบายและสอนนิสิตในเรื่องนี้อย่างไร
2. สายการปฏิบัติ ต้องโละคู่มือเล่มเก่าทิ้งหรือปล่าว หรือว่าจะคงใช้ DDC22 ตลอดไป แล้วถ้าเปลี่ยนมาใช้ DDC23 หนังสือเดิมที่ Catalog บางกลุ่มจะต้องเปลี่ยนด้วยหรือไม่

ห้องสมุดหลายๆ แห่งเริ่มจะโล๊ะกันแล้ว DDC22

ในเมืองไทยเอง ผมว่าถ้าให้ห้องสมุดตอบแบบตรงๆ ผมคงต้องช็อคกับคำตอบแบบนี้แน่ๆ “ไม่เห็นจะเดือดร้อนเลย เรายังมี หนังสือดีดีซี22 ที่อาจารย์พวาแปลอยู่ เอาไว้ถ้าอาจารย์แบบเป็น ดีดีซี23 เราก็ค่อยเปลี่ยนแล้วกันเนอะ”

เอาเป็นว่าก็ฝากคำถามและแง่คิดนี้เอาไว้แล้วกันครับ เหตุการณ์แบบนี้ไม่ใช่ว่าเพิ่งเกิดเป็นครั้งแรกสักหน่อย สมัยที่ DDC21 ไป DDC22 ทำอย่างไรกันไว้ ก็ลองเอามาปรับตัวกันในสถานการณ์แบบนี้ดูแล้วกันนะครับ

รายละเอียดจริงๆ แล้ว DDC23 ยังมีการเปลี่ยนอะไรอีกเยอะมากเลย ซึ่งเพื่อนๆ สามารถติดตมได้จาก http://ddc.typepad.com นะครับ

เมื่อดิวอี้ปะทะแอลซี (DDC VS LC)

วันนี้ผมขอยกเรื่องเก่ามาเล่าใหม่ให้เพื่อนๆ อ่านอีกสักรอบนะครับ
วันนี้ขอนำเสนอเรื่องที่เกี่ยวกับงานเทคนิคของบรรณารักษ์บ้าง
นั่นก็คือ งานวิเคราะห์หมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศ นั่นเอง

catalog

การจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้ (DDC – Dewey Decimal Classification)
ก็คือการจัดหมวดหมู่ด้วยตัวเลข 000-900 ครับ ช่น 000 – หมวดทั่วไป , 100 – หมวดปรัชญาและจิตวิทยา ?

การจัดหมวดหมู่แบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกา (LC – Library of Congress Classification)
ก็คือ การจัดหมวดหมู่ด้วยตัวอักษร A-Z เช่น A – หมวดทั่วไป, B – ปรัชญาและศาสนา

การจัดหมวดหมู่ทั้งสองแบบนี้เป็นที่นิยมในหมู่ห้องสมุดทั่วไปครับ
แต่ในวงการของห้องสมุดเฉพาะก็อาจจะมีการจัดหมวดหมู่แบบอื่นๆ อีก
เช่น การจัดหมู่แบบ NLM – การจัดหมวดหมู่หนังสือด้านการแพทย์
การจัดหมวดหมู่แบบ NDC – การจัดหมวดหมู่แบบเลขทศนิยมญี่ปุ่น

เอาเป็นว่าวันนี้ผมขอเขียนถึงการจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้กับการจัดหมวดหมู่แบบแอลซีก่อนนะครับ

ห้องสมุดที่เปิดใหม่หลายๆ ที่คงอยากรู้ว่าจะนำการจัดหมวดหมู่แบบไหนมาใช้
วันนี้ผมจะเอาแง่คิดที่ได้จากที่ทำงานเก่ามาเล่าให้ฟังนะครับ

จากประสบการณ์จริงที่ประสบก็คือ ห้องสมุดที่ผมเคยทำงานอยู่แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ ก็คือ
– หนังสือของเดิมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งใช้ระบบการจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้
– หนังสือใหม่ที่ซื้อมาตอนที่กำลังจะเปลี่ยนระบบ ซึ่งใช้ระบบการจัดหมวดหมู่แบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกา

สำหรับผมเองจริงๆ ก็อยากจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้มากกว่าเพราะว่าง่ายกว่า
และที่สำคัญผู้ใช้ส่วนใหญ่มักจะคุ้นกับการจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้อยู่แล้ว (เนื่องจากของเก่าใช้ดิวอี้)
และด้วยเหตุที่ห้องสมุดมีหนังสือจำนวนที่น้อยอยู่ ผมจึงคิดว่าใช้แบบดิวอี้ย่อมน่าจะเอื้อประโยชน์ให้ผู้ใช้ได้ดีกว่า

ซึ่งจากการสังเกตผู้ใช้หนังสือในมุมที่เป็นหนังสือใหม่ซึ่งใช้การจัดหมวดหมู่แบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกา
ผู้ใช้ได้เดินมาบ่นให้ฟังว่าค้นหาหนังสือยากจัง แล้วทำไมหนังสือบางหมวดถึงต้องแยกออกจากกันด้วย

ตัวอย่างเช่น หนังสือที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ถ้าเป็นแบบดิวอี้เพื่อนๆ คงคิดเลยว่าอยู่ในกลุ่ม 000 แน่ๆ เวลาหาก็มุ่งไปส่วนนั้นได้เลย
แต่สำหรับแอลซีไม่ใช่อ่ะครับ เพราะว่าเพื่อนๆ ต้องดูอีกว่า คอมพิวเตอร์ทางด้านไหนอีก
เพราะในแอลซีส่วนที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มีหลายส่วนด้วยกัน
เช่น คอมพิวเตอร์และโปรแกรมประยุกต์ก็จะอยู่ QA
คอมพิวเตอร์ด้านเครือข่ายจะอยู่ TK
คอมพิวเตอร์กราฟฟิคจะอยู่ TR
รวมถึงโปรแกรมพวกออฟฟิตก็จะอยู่ใน HF

แค่นี้ผู้ใช้ก็ตาลายแล้วครับ

แต่ผมก็ไม่ได้บอกนะครับว่า LC ไม่มีข้อดี เพราะจริงๆ แล้ว การให้หมวดหมู่แบบ LC มันก็ละเอียดไปอีกแบบนึง เหมือนกัน
แต่น่าจะเหมาะกับห้องสมุดที่มีหนังสือจำนวนมากจริงๆ และห้องสมุดนั้นควรมีจุดสืบค้นให้กับผู้ใช้อย่างเพียงพอด้วย
เพื่อผู้ใช้จะได้หาหนังสือได้อย่างรวดเร็ว

เอาเป็นว่ารายละเอียดว่าแต่ละหมวดหมู่มีเนื้อหาอะไร ผมคงไม่อธิบายหรอกนะครับ
หวังว่าเพื่อนๆ คงจะรู้กันหมดแล้ว หรือถ้าอยากรู้แบบละเอียดๆ ก็ลองดูลิ้งก์ด้านล่างแล้วกันนะครับ

สำหรับการจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้
http://www.tnrdlib.bc.ca/dewey.html

สำหรับการจัดหมวดหมู่แบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกา

http://people.wcsu.edu/reitzj/res/lcclass.html

อบรมการจัดหมู่หนังสือระบบทศนิยมของดิวอี้

000 100 200 300 …. เมื่อเห็นตัวเลขเหล่านี้ บวกกับชื่อเรื่อง
หวังว่าเพื่อนๆ คงเดาได้ว่าผมจะเกริ่นเกี่ยวกับเรื่องอะไรนะครับ

dewey

ถูกต้องครับ…เรื่องที่ผมจะเกริ่นวันนี้ก็ คือ การอบรมหลักการจัดหมู่หนังสือระบบทศนิยมของดิวอี้ (Dewey)

รายละเอียดทั่วไปเกี่ยวกับการอบรมครั้งนี้
ชื่อการอบรม : การจัดหมู่หนังสือระบบทศนิยมของดิวอี้
วันที่จัด : 12 – 17 ตุลาคม 2552
สถานที่จัด : สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ชั้น 4
จัดโดย : สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ

การอบรมในครั้งนี้จะเน้นการอบรมในเรืองของการให้เลขหมู่แบบดิวอี้เป็นหลัก
ซึ่งในการให้เลขหมู่แบบดิวอี้ เพื่อนๆ จำเป็นต้องรู้จักตารางเลขประกอบด้วย
รวมถึงวิธีการให้หัวเรื่องที่ถูกต้องและชัดเจนเพื่อประโยชน์ต่อการสืบค้น

จริงๆ อยากจะบอกว่าหลักสูตรนี้ สำหรับเพื่อนๆ ที่เรียนวิชาเอกบรรณฯมาตอนปริญญาตรี
การจัดหมวดหมู่หนังสือระบบทศนิยมของดิวอี้ต้องใช้เวลาเรียนกันเป็นเทอมเลยก็ว่าได้
แต่หลักสูตรนี้จะช่วยเร่งลัดให้เพื่อนๆ ได้เพียง 5 วันเท่านั้นก็จะเข้าใจได้ทั้งหมด

หัวข้อที่เพื่อนๆ ต้องเจอตอนอบรมมีดังนี้
– หลักการจัดหมู่หนังสือระบบทศนิยมของดิวอี้
– การใช้ตารางประกอบ
– การแบ่งหมู่แยกตามหมวดต่างๆ
– การกำหนดหัวเรื่อง
– การทำรายการ

วิทยากรสำหรับการอบรมครั้งนี้ คือ รองศาสตราจารย์ พวา พันธุ์เมฆา
ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดหมวดหมู่และการให้หัวเรื่องภาษาไทยครับ

การอบรมครั้งนี้ต้องเสียเงินนะครับ โดยถ้าเป็นสมาชิกของสมาคมห้องสมุดจะต้องจ่ายราคา 4,000 บาท
แต่ถ้าไม่ใช่สมาชิกของสมาคมห้องสมุดจะต้องจ่ายในราคา 4,300 บาทครับ
ราคานี้รวมค่าเอกสาร อาหารว่าง 2 มื้อ และอาหารกลางวัน? 1 มื้อ / วันนะครับ

หากเพื่อนๆ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่
http://www.tla.or.th

เมลวิล ดิวอี้ (Melvil Dewey) คือใคร

ช่วงนี้ในบล็อกผมมีคนค้นคำๆ นึงเยอะมากๆ
คำนั้นคือ คำว่า “Melvil Dewey คือใคร”
จึงเป็นเป็นสาเหตุที่ทำให้ผมต้องเขียนบล็อกในวันนี้

melvil

เมลวิล ดิวอี้ เป็นบุคคลที่สำคัญต่อวงการห้องสมุด และบรรณารักษ์
วันนี้ผมจะขอเล่าประวัติ และผลงานของบุคคลสำคัญท่านนี้

ประวัติส่วนตัวของ เมลวิล ดิวอี้ (Melvil Dewey)

ชื่อเต็ม : Meville Louis Kossuth Deway
เกิดวันที่ : 10 ธันวาคม ค.ศ.1851
สถานที่เกิด : Jefferson County, New York

ประวัติการทำงานของ เมลวิล ดิวอี้ (Melvil Dewey)
1874 –> ผู้ช่วยบรรณารักษ์ที่ Amherst College (ปริญญาตรี)
1883-1888 –> หัวหน้าบรรณารักษ์ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
1888-1906 –> ผู้อำนวยการห้องสมุดมลรัฐนิวยอร์ค
1890-1892 –> ประธานสมาคมห้องสมุดรัฐนิวยอร์ค (NYLA)
1888-1900 –> ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานที่มหาวิทยาลัยรัฐนิวยอร์ค

ผลงานสำคัญของเมลวิล ดิวอี้ (Melvil Dewey)
– ผู้คิดค้นระบบการจัดหมวดหมู่แบบทศนิยม หรือ ระบบการจัดหมวดหมู่ดิวอี้
– ผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมห้องสมุดอเมริกัน (ALA : American Library Association)
– ผู้จัดตั้งโรงเรียนบรรณารักษศาสตร์แห่งแรก (มหาวิทยาลัยโคลัมเบียนิวยอร์ก)
– ออกวารสาร Library Journal ซึ่งเป็นวารสารทางบรรณารักษศาสตร์ฉบับแรก
– ผู้จัดตั้งสมาคมห้องสมุดแห่งนิวยอร์ค (New York Library Association)
และกิจกรรมอื่นๆ ของวิชาชีพบรรณศาสตร์

เป็นยังไงกันบ้างครับผลงานแค่นี้บ่งบอกความยิ่งใหญ่ของบุคคลท่านนี้หรือเปล่า
ผมเองพอได้เขียนบทความเรื่องนี้ ทำให้ผมได้รู้จักผลงานในวงการบรรณารักษ์ของท่านมากขึ้น
นับว่าเป็นบุคคลที่ผมต้องขอคารวะแด่บุคคลท่านนี้เลย

ก่อนจากกันวันนี้ หวังว่าคงตอบคำถามเรื่องนี้ได้อย่างชัดเจนนะครับ
“Melvil Dewey คือใคร”
“Melvil Dewey คือ บุคคลที่วงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ถือว่าเป็นบุคคลที่ยิ่งใหญ่ครับ”

รวมเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับ เมลวิล ดิวอี้ (Melvil Dewey)
– American Library Association -? http://www.ala.org
– Library Journa – http://www.libraryjournal.com
– New York Library Association – http://www.nyla.org

รวมเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ เมลวิล ดิวอี้ (Melvil Dewey)
http://guru.sanook.com/pedia/topic/เมลวิล_ดิวอี้
http://www.w-nikro.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=381255&Ntype=5
http://en.wikipedia.org/wiki/Melvil_Dewey