อุทยานการเรียนรู้ TK park เปิดรับสมัครเจ้าหน้าที่ 21 อัตรา

โพสประชาสัมพันธ์การรับสมัครงานให้หน่วยงานอื่นๆ มาก็เยอะ วันนี้ขอโพสตำแหน่งงานของหน่วยงานตัวเองบ้างดีกว่า เพื่อนๆ หลายคนคงทราบว่าผมทำงานที่ สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ หรือ TK park และช่วงนี้เองที่ เราต้องการเจ้าหน้าที่ใหม่มาร่วมงานกับเราในหลากหลายด้าน รวมๆ แล้ว ตั้ง 21 อัตรา เอาเป็นว่าถ้าสนใจอ่านต่อเลย

tkpark jobs

ตำแหน่งที่เปิดรับสมัครมีดังนี้
1. รองผู้อำนวยการสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ 1 อัตรา
2. หัวหน้าฝ่ายอำนวยการ 1 อัตรา
3. เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป (งานเลขานุการ) 1 อัตรา
4. เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 1 อัตรา
5. หัวหน้าฝ่ายนโยบายและแผน 1 อัตรา
6. ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์นโยบายและแผน 1 อัตรา
7. เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผนอาวุโส 1 อัตรา
8. หัวหน้าฝ่ายพัฒนาเครือข่าย 1 อัตรา
9. นักจัดการความรู้อาวุโส ฝ่ายพัฒนาเครือข่าย 3 อัตรา (ตำแหน่งเดียวกับผม)
10. นักจัดการความรู้อาวุโส ฝ่ายวิชาการ 1 อัตรา
11. หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ 1 อัตรา
12. เจ้าหน้าที่เทคโนโลยีสารสนเทศอาวุโส 1 อัตรา
13. นักจัดการความรู้ (งาน TK Media) 1 อัตรา
14. หัวหน้าฝ่ายการตลาดและสื่อสารองค์กร 1 อัตรา
15. นักจัดการความรู้ฝ่ายการตลาดและสื่อสารองค์กร 1 อัตรา
16. นักจัดการความรู้อาวุโส ฝ่ายกิจกรรม 2 อัตรา
17. บรรณารักษ์อาวุโส 2 อัตรา

ตำแหน่งเพียบมากๆ ครับ บางตำแหน่งก็ต้องใช้วุฒิบรรณารักษ์ บางตำแหน่งขอใจรักวุฒิไหนก็ได้ที่ตรงกับตำแหน่งมาลองสมัครกันดู

สถานะของการทำงานที่นี่ เมื่อผ่านโปร จะสามารถทำบัตร “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” ได้
TK park ไม่ใช่องค์กรเอกชนนะครับ แต่เป็นองค์กรภายใต้สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี

เมื่อเข้ามาทำงานที่นี่แล้ว ผมเชื่อครับว่ามีอิสระทางความคิดในการเปิดมุมมองการทำงานด้านห้องสมุดมากมาย ดังนั้นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ถ้าไม่อยากทำงานที่ถูกจำกัดกรอบแนวคิด ผมว่ามาทำงานที่นี่ก็ดีครับ เราจะได้ช่วยกันใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาวงการห้องสมุดไทยให้ไปสู่สากลได้แน่ครับ

ถ้าใครสนใจข้อมูลของตำแหน่งต่างๆ เพิ่มเติม ผมแนะนำว่าให้ ดาวน์โหลดข้อมูลได้ที่
http://www.okmd.or.th/wp-content/uploads/2012/11/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%81.%E0%B8%9E.56.pdf

(จริงๆ แล้ว นอกจากงานที่ TK park แล้วยังมีงานของพี่น้องเราอีก เช่น OKMD TCDC และ NDMI ด้วย)

หรือว่าใครอยากรู้เรื่องเกี่ยวกับงานที่ทำมากขึ้นก็ลองส่งเมล์มาคุยกับผมได้ที่ dcy_4430323@hotmail.com

มาทำงานร่วมกับผมนะครับ ขอให้เพื่อนๆ โชคดี

บรรณารักษ์แนะนำ app : สื่อการเรียนรู้ที่น่าสนใจของ TKpark

ตามสัญญาครับว่านายห้องสมุดจะมารีวิว Application ที่น่าสนใจและเกี่ยวข้องกับชาวห้องสมุดเดือนละ 1 app เดือนมกราคมนี้ ผมขอแนะนำ Application ของห้องสมุดไทยแห่งหนึ่ง ต้องบอกว่าเป็น App แรกของห้องสมุดเมืองไทยเลยก็ว่าที่ได้ App นี้มีการรวบรวมสื่อสาระการเรียนรู้ที่น่าสนใจมากมาย App นี้เป็นของอุทยานการเรียนรู้ หรือ TKpark นั่นเอง

ก่อนอื่นต้องขอเกริ่นย้อนหลังไปสักนิดว่า
จริงๆ แล้ว App นี้ออกมานานพอควรแล้ว แต่เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมามีการอัพเดทข้อมูลและสื่อใหม่ๆ ลงมาเพียบ
ดังนั้นจึงต้องขอพูดถึงสักหน่อยว่ามีอะไรเด็ดๆ บ้าง

TKapp สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีทั้งบนระบบปฏิบัติการ IOS หรือ Android

เพียงแค่ลองค้นคำว่า “TKpark” หรือ “TKapp” ลงไปใน Apple stroe หรือ Google play

Content ที่มีอยู่ใน App นี้ ได้แก่

1. วัตถุเล่าเรื่อง (จำนวน 3 เล่ม)

1.1 กินอยู่อย่างไทย
1.2 ปัจจัย 4 ของชีวิต
1.3 คนก่อนประวัติศาสตร์บนดินแดนไทย

2. หนังสือเสียง (จำนวน 20 เรื่อง)

2.1 เด็กหญิงแก้มใสกับไร่ผัก
2.2 ยายกะตา
2.3 เมืองน่าอยู่ที่หนูรัก
2.4 ซีงอ เจ้าป่าผู้กล้าหาญ
2.5 ดอกสร้อยสุภาษิต
2.6 เมืองขวานทอง
2.7 ยิ้มของหนูดี
2.8 กระต่ายสามพี่น้อง
2.9 หนูแป้งแปลงขุมทรัพย์
2.10 ความฝันของชะเอม
2.11 เพื่อนรักจากต่างดาว
2.12 แม่ไก่ดื้อ
2.13 ดอกรักสัตว์แสนรู้
2.14 ปลาบู่ทอง
2.15 สังข์ทอง
2.16 ช้างดื้อ
2.17 เมืองมหาสารคาม
2.18 เพลงละอ่อน
2.19 เชียงใหม่เมืองบุญ
2.20 ไข่นุ้ยกับแพะน้อยในวันฮารีรายอ

3. เกมบุ๊ค (จำนวน 6 เกมส์)

3.1 สุโขทัย
3.2 รามเกียรติ๋
3.3 ไดโนไดโน่
3.4 อยุธยา
3.5 พลิกฟ้า ล่าดวงดาว
3.6 กุ๊ก กุ๊ก กรู๋ คนสู้ผี

4. เครื่องดนตรีไทย (4 ประเภท)

4.1 ดีด
4.2 สี
4.3 ตี
4.4 เป่า

5. ขุมทรัพย์ของแผ่นดิน (จำนวน 5 เรื่อง)

5.1 นิราศนครวัด
5.2 ตำราแพทย์แผนโบราณ
5.3 ตำรับแกงไทย
5.4  หนังสือสมุดไทยดำตำราชกมวย
5.5 เพลงดนตรีประวัติศาสตร์

เป็นไงบ้างครับแค่ Content เพียบเลยใช่มั้ยครับ

สำหรับผมเองก็โหลด App นี้มาเพื่อดู Content ต่างๆ เหล่านี้แหละ
ซึ่งผมว่ามีประโยชน์มากมายเลย เช่น

– วัตถุเล่าเรื่อง ทำให้เข้าใจประวัติศาสตร์ของคนไทยมากขึ้น
– หนังสือเสียงไว้เปิดให้เด็กๆ ฟัง แถมมีเกมส์ฝึกสมองด้วย เด็กๆ ชอบมากเลย
– เกมบุ๊ค ไว้ใช้เวลาเบื่อๆ เล่นเกมส์ของทีเคแล้วต้องการคำแนะนำก็อ่านเรื่องประกอบได้
– เครื่องดนตรีไทย ทำให้เราได้ฟังเสียงของเครื่องดนตรีนั้นจริงๆ มีแบบเป็นเพลงและไล่เสียงด้วย
– ขุมทรัพย์ของแผ่นดินก็เป็นหนังสือที่หาอ่านได้ยากแล้ว

เอาเป็นว่าผมมีติดเครื่องเพื่อใช้ประโยชน์อย่างที่ว่ามาแหละครับ App ฟรีแถมโหลดได้ง่ายแบบนี้ เพื่อนๆ ไม่ควรพลาดเลย
หรือห้องสมุดอื่นๆ อาจจะดูเป็นตัวอย่างในการพัฒนา App ของตัวเองก็ได้นะครับ

ภาพตัวอย่างการใช้งาน TKAPP

เมนูรวมสื่อ TK app
สื่อชุดวัตถุเล่าเรื่อง
สื่อหนังสือเสียง
สื่อเกมส์บุ๊ค

นายห้องสมุดชวนอ่าน : มาตรฐานและตัวชี้วัดสำหรับห้องสมุดมีชีวิต

เพิ่งจะผ่านพ้นการประกวดห้องสมุดมีชีวิตของ TK park มาไม่นาน วันนี้ผมจึงขอแนะนำหนังสือและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับงานห้องสมุดมีชีวิตสักหน่อยนะครับ

หนังสือที่ผมจะแนะนำในวันนี้ คือ “คู่มือการใช้มาตรฐานและตัวชี้วัดการดำเนินงานห้องสมุดมีชีวิตรูปแบบอุทยานการเรียนรู้” ซึ่งเป็นคู่มือที่ออกมาเพื่อใช้เป็นหลักในการประเมินห้องสมุดมีชีวิต

ห้องสมุดไหนอยากรู้ว่าห้องสมุดตัวเองจะเข้าข่ายการเป็นห้องสมุดมีชีวิตหรือไม่ ก็สามารถนำความรู้จากหนังสือเล่มนี้มาเทียบดูได้

ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้

ชื่อเรื่องภาษาไทย : คู่มือการใช้มาตรฐานและตัวชี้วัดการดำเนินงานห้องสมุดมีชีวิตรูปแบบอุทยานการเรียนรู้
ผู้จัดทำ : ศาสตราจารย์ ดร.ชุติมา สัจจานันท์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.บุญศรี พรหมมาพันธุ์
จัดพิมพ์โดย : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้
ปีพิมพ์ : 2554
จำนวนหน้า : 48 หน้า

มาตรฐานและตัวชี้วัดการดำเนินงานห้องสมุดมีชีวิตในรูปแบบอุทยานการเรียนรู้ มี 5 มาตรฐาน 21 ประเด็นย่อย 100 ตัวชี้วัด ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

มาตรฐานที่ 1 ด้านกายภาพ – เน้นเรื่องสภาพทางกายภาพและบรรยากาศของห้องสมุด
มาตรฐานที่ 2 ด้านสาระและกิจกรรม – เน้นเรื่องสื่อที่มีในห้องสมุด และการจัดกิจกรรมต่างๆ
มาตรฐานที่ 3 ด้านการบริการ – เน้นเรื่องการบริการเชิงรุกและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ
มาตรฐานที่ 4 ด้านบุคลากร – เน้นเรื่องของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในห้องสมุด
มาตรฐานที่ 5 ด้านการบริหารจัดการ – เน้นข้อมูลบริหารและการจัดการห้องสมุด เช่น เครือข่ายห้องสมุด

(สำหรับประเด็นและตัวชี้วัดสามารถอ่านได้ในหนังสือครับ หรืออ่านออนไลน์ได้จาก link ด้านล่าง)

มาตรฐานและตัวชี้วัดทั้งหมดอาจจะมองว่ามีจำนวนมาก ห้องสมุดบางแห่งอาจจะมองว่าไม่สามารถทำได้ทั้งหมด ซึ่งจริงๆ แล้วห้องสมุดสามารถหยิบตัวชี้วัด  หรือ มาตรฐานมาใช้ขึ้นอยู่กับบริบท หรือเรื่องที่จะเน้นก็ได้ ซึ่งแนวทางการวัดผลมีอยู่ในหนังสือคู่มือเรียบร้อยแล้ว โดยรวมค่าเฉลี่ยที่ถือว่าผ่านจะอยู่ที่คะแนน 3.50

ห้องสมุดสามารถนำมาตรฐานและตัวชี้วัดนี้ไปประยุกต์ใช้ได้หลายรูปแบบ เช่น ตัวชี้วัดต่างๆ สามารถใช้เป็นตัวตั้งต้นในการประเมินห้องสมุดของเพื่อนๆ ได้ หรืออาจจะนำมาเป็นข้อมูลเพื่อการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตต่อไป

เพื่อนๆ ที่อยากอ่านตัวเล่มก็สามารถมายืมได้ที่ TK park นะครับ
แต่ใครไม่สะดวกก็สามารถอ่านออนไลน์ได้ที่นี่ “มาตรฐานและตัวชี้วัดการดำเนินงานห้องสมุดมีชีวิตในรูปแบบอุทยานการเรียนรู้

เอาเป็นว่าก็ฝากไว้เท่านี้นะครับ

สรุปผลการประกวดห้องสมุดมีชีวิต ครั้งที่ 4

สวัสดีครับเพื่อนๆ วงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ วันนี้ผมขอสรุปผลการประกวดห้องสมุดมีชีวิตครั้งที่ 4 ที่สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (TK park) ได้จัดขึ้นตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคมและเพิ่งจะประกาศผลเมื่อวันศุกร์ที่ 28 กันยายน 2555

อ่านข้อมูลโครงการอบรมและประกวดห้องสมุดมีชีวิตครั้งที่ 4 ย้อนหลังได้ที่
http://www.libraryhub.in.th/2012/06/28/living-library-award-2012/

ผมขอสรุปผลการประกวดเลยแล้วกันนะครับ

รางวัลชนะเลิศ ห้องสมุดมีชีวิต TK park ได้แก่……
ห้องสมุดประชาชนอำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ (เยเย้ ยินดีด้วยนะครับ)

รางวัลรองชนะเลิศ ห้องสมุดมีชีวิต TK park ลำดับ 1 (อันดับสอง) ได้แก่
ห้องสมุดประชาชนอำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี

รางวัลรองชนะเลิศ ห้องสมุดมีชีวิต TK park ลำดับ 2 (อันดับสาม) ได้แก่
ห้องสมุดประชาชนจังหวัดสงขลา

รางวัลรองชนะเลิศ ห้องสมุดมีชีวิต TK park ลำดับ 3 (อันดับสี่)
ได้แก่
ห้องสมุดประชาชนอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

รางวัลรองชนะเลิศ ห้องสมุดมีชีวิต TK park ลำดับ 4 (อันดับห้า)
ได้แก่
ห้องสมุดประชาชนอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

รางวัลชมเชย ห้องสมุดมีชีวิต TK park (อันดับที่ 6 – 10) ได้แก่
ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ลาดกระบัง กทม.
ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่
ห้องสมุดกองทัพภาคที่ 2 จังหวัดนครราชสีมา
ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้มีนบุรี กทม.
ห้องสมุดโรงเรียนบุญวัฒนา จังหวัดนครราชสีมา

รางวัลผู้ผ่านการคัดเลือกเข้ารอบสุดท้าย ห้องสมุดมีชีวิต TK park (อันดับที่ 11 – 20) ได้แก่
ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้สวนลุมพินี กทม.
ห้องสมุดประชาชนจังหวัดตราด
ห้องสมุดเพชรรัตน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง จังหวัดลำปาง
ห้องสมุดประชาชนอำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย
ห้องสมุดโรงเรียนวัดพุทธบูชา กทม.
ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี”อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
ห้องสมุดประชาชนอำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี
ห้องสมุดประชาชนอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
ห้องสมุดประชาชนจังหวัดสุโขทัย

ขอแสดงความยินดีกับห้องสมุดทั้ง 20 แห่งด้วยนะครับ คุณเป็นสุดยอดห้องสมุดมีชีวิตจริงๆ

สำหรับรางวัลที่ห้องสมุดมีชีวิตจะได้รับผมแนะนำว่าให้เพื่อนๆ กับไปอ่านในบล็อก
โครงการอบรมและประกวดห้องสมุดมีชีวิตครั้งที่ 4 ดีกว่าครับ
http://www.libraryhub.in.th/2012/06/28/living-library-award-2012/

ปล. ขอบคุณข้อมูลและภาพจากกล้องพี่นุ้ย TK park ด้วยนะครับ

การเรียนรู้คือโอกาส (Learning is Opportunities)

อุทยานการเรียนรู้ TK park จัดคลาสพิเศษ เรียนลัด ติวเข้มกับ 13 วิชาสร้างสรรค์ เปิดโอกาสให้คุณเตรียมพร้อมก้าวสู่ 13 เส้นทาง กับมืออาชีพที่ยกทัพมาถ่ายทอดประสบการณ์ ความรู้ ความฝัน และจินตนาการ ให้คุณได้รู้ ได้เห็นกันแบบหมดเปลือก ตลอดเดือนกันยายน – ตุลาคม 2555

1. สร้างสรรค์รายการให้โดนใจวัยทีน
เปิดโลกความคิดสู่การสร้างสรรค์สื่อโทรทัศน์  ได้คิด ได้เรียน ได้รู้ และลงมือสร้างสรรค์ รายการโทรทัศน์ทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง โดยวิทยากรมืออาชีพ อาทิ ทีมผลิตรายการ พลเมืองตัวเล็ก TPBS คุณไวยกรณ์ แก้วศรี  Creative Drama and Show Biz บริษัท เจ เอส แอล โกลบอล มีเดีย จำกัด
วันเวลา : วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม และ วันเสาร์ที่ 1 กันยายน 2555 เวลา 10.00 – 16.00 น.
ร่วมกับ : People Media

2. วิชาสร้างสรรค์การเรียนรู้

ร่วมกระตุกต่อมคิด แชร์แนวคิด ถอด How To กับแคมเปญและกิจกรรมสร้างสรรค์ (Creative Campaign and Event Creation) กับคุณกิตติพงษ์ (โอลิเวอร์) วีระเตชะ Vice President และผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์สื่อสารแบรนด์ Y&R Thailand
วันเวลา : วันเสาร์ที่ 1 กันยายน 2555 เวลา 10.30 – 12.30 น.
ร่วมกับ : ศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ


3. Digital Publishing สร้างสรรค์สื่อสิ่งพิมพ์ดิจิตอลแบบ Interactive

การสร้างสรรค์ Digital Publishing สื่อสิ่งพิมพ์ดิจิตอลแบบ Interactive โดยใช้ Platform iOS กับวิทยากรจาก computer arts Thailand
วันเวลา : วันเสาร์ที่ 1, 8, 15 กันยายน 2555 เวลา 10.30 – 18.00  น.
ร่วมกับ : สมาคมธุรกิจบางกอกเอซีเอ็มซิกกราฟ Bangkok ACM Siggraph

4. ละครกับคนรุ่นใหม่
เรียนรู้เทคนิคการนำละครมาสะท้อนประเด็นร่วมสมัยสำหรับคนรุ่นใหม่
วันเวลา : วันเสาร์ที่ 1 – วันอาทิตย์ที่ 2 และ วันอังคารที่  11 – วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน 2555
ร่วมกับ : มูลนิธิสื่อชาวบ้าน (กลุ่มละครมะขามป้อม)

5. สร้างร้านออนไลน์ขายให้รุ่งด้วย Facebook
เปลี่ยน Facebook ที่เคยคิดว่ามีไว้แค่เล่นสนุกไปวันๆ ให้กลายเป็นหน้าร้านขายสินค้าระดับ Frist Class พร้อมเคล็ดลับการเปลี่ยน Friend ให้กลายเป็นแฟน (แฟนเพจ) เพื่อสร้างธุรกิจ
วันเวลา : วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน 2555 เวลา 10.00 – 17.00 น.
ร่วมกับ : นิตยสารคอมพิวเตอร์.ทูเดย์

6. คลิกแล้ววางสร้างสรรค์แอพฯ ได้ใน 10 นาที
หลักสูตรที่จะทำให้ทุกคนที่อยากมีแอพบนมือถือเป็นของตัวเอง สามารถสร้างแอพฯ เองได้ ในเวลาไม่กี่นาที แม้จะไม่มีความรู้พื้นฐานด้านการเขียนโปรแกรมก็ตาม
วันเวลา : วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน 2555 เวลา 13.00 – 17.00 น.
ร่วมกับ : ARIP

7. วิชาเพื่อนช่วยเพื่อน
ชวนคนรุ่นใหม่มาจุดประกายแนวคิด สร้างแรงบันดาลใจ และค้นหาโอกาส ต่อยอดความหมายแบบเพื่อนช่วยเพื่อนกับกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) ให้ตัวเองอยู่ได้ พร้อมสร้างผลกำไรให้สังคม
วันเวลา : วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน 2555 13.00 – 16.00 น.
ร่วมกับ : สำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ (สกส.) กลุ่มปลาจะเพียร และ Children Mind


8. เป็นคนทำหนังแบบศิลปินผู้ประกอบการ Artist Entrepreneur

กลเม็ดเคล็ดลับสำหรับผู้สร้างสรรค์ผลงาน จะทำอย่างไรเมื่อศิลปินสร้างระบบ ด้วยตัวเอง ตั้งแต่การหาทุน การตลาด การจัดฉาย ช่องทางในการจำหน่ายผลงาน
วันเวลา : วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน 2555 เวลา 10.00 – 17.00 น.
ร่วมกับ : นิตยสาร Bioscope

9. คนทำหนังสืออิสระ…อาชีพของคนมีฝัน
ตามล่าหา “คนทำหนังสืออิสระ” พบกับมืออาชีพในแวดวงคนทำหนังสือ ที่จะมาถ่ายทอดวิทยายุทธ์สู่สังเวียนแห่งความฝัน
วันเวลา : วันเสาร์ที่ 22 กันยายน 2555 เวลา 13.00 – 17.00 น.
ร่วมกับ :  นิตยสาร Happening

10. สโมสอน สมอลล์รูม ตอน “60 minutes ปิดเพลงโฆษณา”
ทำเพลงโฆษณาให้ตอบโจทย์ได้ภายใน 60 นาที กับศิลปินสมอลล์รูม เจ เจตมนต์ มละโยธา (ผู้บริหารค่ายเพลงสมอลล์รูมและศิลปินวง Penguin Villa) กอล์ฟ ประภพ ชมถาวร (ศิลปินวง Superbaker) นะ รัตน จันทร์ประสิทธิ์ (ศิลปินวง Polycat)
วันเวลา : วันเสาร์ที่ 29 กันยายน 2555 เวลา 15.00 – 18.00 น.
ร่วมกับ : Smallroom


11. Tablet เพื่อการเรียนรู้ไร้ขีดจำกัด (Unlimited Knowledge in Tablet)

เรียนรู้การใช้ tablet และ Application ที่น่าสนใจให้เกิดประโยชน์สูงสุด
วันเวลา : วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม 2555
ร่วมกับ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ

12. นวัตกรรมสื่อเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ของคนพิการ (Innovations for Disabilities)
แนะนำนวัตกรรมการเรียนรู้ใหม่ ๆ สำหรับคนพิการ
วันเวลา : วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม 2555
ร่วมกับ : มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)

13. บูรณาการความรู้สู่อาเซียน
แลกเปลี่ยนและรวบรวมความรู้ในมิติต่างๆ ของเยาวชนในกลุ่มอาเซียน
วันเวลา : วันจันทร์ที่ 15 – วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม 2555
ร่วมกับ : ASEAN University Network โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ

กิจกรรมทั้งหมดนี้ขอเพียงคุณมีอายุเกิน 15 ปี และเป็นสมาชิกของ TKpark เข้าร่วมได้ฟรี

สอบถามและสำรองที่นั่งได้ที่ (ด่วนเลยครับ รับจำนวนจำกัด)
อุทยานการเรียนรู้ TK park ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์
ชั้น 8 Dazzle Zone โทร. 02 257 4300 www.tkpark.or.th

อุทยานการเรียนรู้ TK park จัดคลาสพิเศษ เรียนลัด ติวเข้มกับ 13 วิชาสร้างสรรค์ เปิดโอกาสให้คุณเตรียมพร้อมก้าวสู่ 13 เส้นทาง กับมืออาชีพที่ยกทัพมาถ่ายทอดประสบการณ์ ความรู้ ความฝัน และจินตนาการ ให้คุณได้รู้ ได้เห็นกันแบบหมดเปลือก ตลอดเดือนกันยายน – ตุลาคม 2555

สรุปการอบรมการใช้งานสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ TK

เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2555 สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (TKpark) ได้มีการจัดการอบรมการใช้งานสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ TK ให้ตัวแทนจากศูนย์ไอซีทีชุมชน และตัวแทนจากโรงเรียนในเครือ สพฐ. จำนวน 150 คน

กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของ “โครงการเรียนรู้ สนุกเล่น หยั่งลึกสัมผัสไทย” ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของ 4 หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรมศิลปากร และอุทยานการเรียนรู้

หัวข้อในการอบรม
– แนะนำโครงการเรียนรู้ สนุกเล่น หยั่งลึกสัมผัสไทย
– แนะนำสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ TK
– เรียนรู้การใช้ E-Book หนังสือหายาก ชุด ขุมทรัพย์ของแผ่นดิน
– เรียนรู้การใช้ E-Book หนังสือชุด วัตถุเล่าเรื่อง
– เรียนรู้การใช้ Audio book
– เรียนรู้การใช้เกมสร้างสรรค์
– ล้วงลึกทุกมิติการเรียนรู้
– มาสร้างสื่อดิจิทัลง่ายๆ บนโลกออนไลน์


ทีมวิทยากรที่บรรยายในวันนี้เป็นทีมงานจากสำนักงานอุทยานการเรียนรู้กันทั้งทีมเลย ซึ่งมาจากหลายๆ ฝ่าย เช่น ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายห้องสมุดมีชีวิต ฝ่ายกิจกรรม ฝ่ายไอที และฝ่ายพัฒนาเครือข่าย

สื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ TK ที่กล่าวมาข้างต้นประกอบด้วย
– E-Book หนังสือหายาก ชุด ขุมทรัพย์ของแผ่นดิน
– E-Book หนังสือชุด วัตถุเล่าเรื่อง ประกอบด้วยหนังสือ 3 เล่ม
– Audio Book 101 เล่ม
– เกมสร้างสรรค์ 6 เกมส์

การอบรมครั้งนี้ผู้เข้าร่วมการอบรมนอกจากจะได้ฟังการบรรยายแล้ว ยังมีคอมพิวเตอร์ (2 คนต่อ 1 เครื่อง) ที่บรรจุสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ TK ไว้ให้ได้ลองเล่นไปพร้อมๆ กับการสอนการใช้งาน ซึ่งสื่อการเรียนรู้เกือบทุกสื่อเป็นที่เรียกความสนใจของผู้เข้าร่วมอบรมมากๆ โดยเฉพาะเกมสร้างสรรค์อย่างเกมกุ๊กๆ กู๋ คนสู้ผี ผู้เข้าร่วมอบรมได้เล่นกันอย่างสนุกสนานมากๆ หรือแม้แต่ E-Book ที่มีสื่อประสมที่น่าสนใจมากมาย

ซึ่งเมื่อผู้เข้าอบรมได้อบรมการใช้งานสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ TK เรียบร้อยแล้ว ผู้เข้าร่วมอบรมจะได้รับสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ TK กลับไปใช้ที่ต้นสังกัด

การอบรมก็ผ่านไปด้วยดีครับ ยังไงผมก็ขอขอบคุณทุกส่วนที่ทำให้งานนี้สำเร็จนะครับ ไม่ว่าจะเป็นผู้จัดงาน ผู้เข้าร่วมงาน ผู้สนับสนุนให้เกิดงาน …..

ประมวลภาพการอบรมการใช้งานสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ TK

[nggallery id=56]

สรุปการบรรยาย : มาสร้างสื่อดิจิทัลง่ายๆ บนโลกออนไลน์

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (วันที่ 30 มิถุนายน 2555) ผมได้มีโอกาสมาบรรยายในงาน “การอบรมการใช้งานสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ TK” เรื่อง “มาสร้างสื่อดิจิทัลง่ายๆ บนโลกออนไลน์” วันนี้จึงขอแชร์เรื่องดังกล่าวให้เพื่อนๆ อ่าน

ก่อนอื่นมาดูสไลด์ที่ผมใช้ประกอบการบรรยายนี้กันก่อน

สรุปเนื้อหาจากการบรรยาย “มาสร้างสื่อดิจิทัลง่ายๆ บนโลกออนไลน์”

เรื่องของสื่อดิจิทัล กับ สื่อออนไลน์ มีความสอดคล้องและสัมพันธ์กันอย่างชัดเจนมากๆ เพราะเมื่อข่าวสาร ข้อมูล และความรู้อยู่บนโลกออนไลน์แล้ว จริงๆ มันก็คือสื่อดิจิทัลนั่นแหละ ซึ่งสื่อออนไลน์มันก็มีหลายประเภท เช่น
– เว็บไซต์
– ฐานข้อมูล
– เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ เช่น หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วารสารอิเล็กทรอนิกส์ นิตยสารอิเล็กทรอนิกส์ หนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
– ไฟล์เสียง
-ไฟล์วีดีโอ

และอื่นๆ อีกมากมาย เมื่อเทคโนโลยีมันเปลี่ยนแปลงเร็วมากๆ เราก็จะพบว่า สื่อดิจิทัลมากมายเปลี่ยนแปลงรูปลักษณะและการเข้าถึงได้ง่ายขึ้นด้วย

ตัวอย่างสื่อดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบ เช่น  E-Book ในอดีตเป็นเอกสารที่พิมพ์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ .txt .doc วันเวลาผ่านไปจากไฟล์เอกสารธรรมดาก็ถูกแปลงสภาพเป็นไฟล์ PDF จากนั้นก็เปลี่ยนเป็นไฟล์ Flash และนอกจากจะอ่านได้เพียงอย่างเดียวก็เปลี่ยนเป็นการนำสื่อวีดีโอและเสียงมาประกอบกับหนังสือด้วย ซึ่งนับเวลาการเปลี่ยนแปลงได้ไม่กี่ปีเท่านั้น

ในสไลด์ที่ผมจะแนะนำนี้เป็นเพียงตัวอย่างเว็บไซต์ในโลกของ 2.0 ที่เราสามารถนำมาใช้ในวงการศึกษาเท่านั้น (ตัวอย่างแค่เล็กน้อยเท่านั้น) ได้แก่

http://www.flipsnack.com = สร้าง E-book ง่ายๆ ด้วย Flipsnack เพียงแค่อัพโหลดไฟล์ PDF ที่ต้องการจะทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ขึ้นไปบนเว็บไซต์นี้ คุณก็จะได้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบ Flip Book ที่สวยงามแบบง่ายๆ ได้เลยทีเดียว

http://issuu.com = สร้างและค้นหา E-book แบบง่ายๆ ด้วย ISSUU นอกจากจะสร้าง E-book ได้แล้วเรายังสามารถหา E-book ที่น่าสนใจอ่านได้อีก ตัวอย่างที่ผมแนะนำคือ หนังสือแบบเรียนมานะมานีที่เราเคยเรียนกันในอดีตก็อยู่บนเว็บไซต์นี้เช่นกัน

http://paper.li/ = หนังสือพิมพ์ข่าวสารในแบบฉบับของเรา Paper.li หนังสือพิมพ์ที่รวบรวมข่าวสารที่เราสนใจ และแบ่งปันให้คนอื่นได้อ่าน….

http://youtubemp3.tv/ = แปลงวีดีโอบน Youtube ให้กลายเป็น MP3 คลิบวีดีโอไหนที่มีสาระน่ารู้และน่าสนใจ แล้วเราอยากเก็บไว้มาฟังคนเดียว ก็สามารถแปลงออกมาให้เป็นไฟล์ MP3 ได้

http://www.oxytube.com/ = เก็บวีดีโอบน Youtube มาไว้ในเครื่องของเราดีกว่า

http://www.uppsite.com/ = เปลี่ยนบล็อกของคุณให้กลายเป็น APP บนมือถือ

http://www.makebeliefscomix.com/Comix/ = สร้างการ์ตูนง่ายๆ ด้วย Makebeliefscomix (อันนี้ผมย้ำเยอะหน่อยเพราะว่าน่าสนใจมากๆ เหมาะแก่การนำไปจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน หรือแม้กระทั่งจัดเป็นคอร์สอบรมแก่หน่วยงานอื่นๆ ได้ด้วย)

และก่อนจะจบการบรรยายผมก็ย้ำถึงความสำคัญของโลกออนไลน์อีกครั้งว่า โลกแห่งสื่อสังคมออนไลน์มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ถ้าเรารู้จักที่จะเรียนรู้เราก็จะเจอหนทางและแนวทางที่จะนำมาใช้งานได้อีก

นี่ก็เป็นเพียงบทสรุปของการบรรยายของผมครับ

โครงการอบรมและประกวดห้องสมุดมีชีวิตครั้งที่ 4

โครงการอบรมและประกวดห้องสมุดมีชีวิตครั้งที่ 4 กลับมาพบกับเพื่อนๆ วงการห้องสมุดกันอีกครั้งแล้วนะครับ ปีนี้นอกจากการอบรมที่เพื่อนๆ จะได้พัฒนาทักษะและแนวคิดแล้ว ยังมีรางวัลคือเงินทุนในการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต และยิ่งไปว่านั้นบรรณารักษ์ที่ติด 1 ใน 10 จะได้ไปดูงานการพัฒนาห้องสมุดที่ประเทศเกาหลีด้วย

ห้องสมุดไหนที่สนใจกรุณาอ่านกติกาด้านล่างนี้ครับ
1. ส่งใบสมัครเพื่อรับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการอบรมและประกวดห้องสมุดมีชีวิตครั้งที่ 4 ตามรายละเอียดโครงการที่แจ้งผ้นต้นสังกัดของห้องสมุดทั่วประเทศ ภายในวันที่ 13 กรกฎาคม 2555
2. หากได้รับการคัดเลือกเป็น 1 ใน 100 ห้องสมุดที่ได้เข้าร่วมโครงการ บรรณารักษ์จะต้องเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการแบบเข้มข้นระหว่างวันที่ 23-25 กรกฎาคม 2555 ที่จังหวัดนครนายก
3. หลังเสร็จสิ้นการอบรม บรรณารักษ์จะต้องออกแบบโครงการตามเงื่อนไขของการอบรม เพื่อส่งให้คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกโครงการสร้างสรรค์ จำนวน 20 ห้องสมุด
4. ห้องสมุดที่ได้รับเลือกจำนวน 20 แห่ง จะต้องดำเนินกิจกรรมตามโครงการที่ส่งประกวดในช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายน 555 เพื่อให้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิลงติดตามผลงาน
5. ห้องสมุดทั้ง 20 แห่ง จะต้องนำเสนอผลงานความสำเร็จของโครงการและการพัฒนาเปลี่ยนแปลงห้องสมุด เพื่อการตัดสินครั้งสุดท้าย และร่วมพิธีรับมอบรางวัลพร้อมทุนการพัฒนาห้องสมุดในวันที่ 28 กันยายน 2555


รางวัลที่ห้องสมุดทั้ง 20 แห่งจะได้คือ

– ทุนในการพัฒนากิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้
– ป้ายประกาศเกียรติคุณ
– ชั้นหนังสือพร้อมหนังสือคัดสรรจาก TKpark

บรรณารักษ์ของห้องสมุดที่ได้รับรางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศ รวมทั้งรางวัลชมเชย จำนวน 10 ท่านจะได้ไปดูงานด้านการพัฒนาห้องสมุดที่ประเทศเกาหลีใต้ ในระหว่างวันที่ 14 – 18 ตุลาคม 2555

เอาหล่ะ อ่านกติกาแล้ว หากสนใจหรือมีคำถามเพิ่มเติมกรุณาติดต่อที่
ศูนย์ประสานงานโครงการอบรมและประกวดห้องสมุดมีชีวิตครั้งที่ 4
โทร. 0-2575-2559 ต่อ 423 หรือ 425
08-1304-4017, 08-9899-4317

ภาพข่าวประชาสัมพันธ์กิจกรรมโครงการอบรมและประกวดห้องสมุดมีชีวิตครั้งที่ 4

ข่าวย้อนหลัง โครงการอบรมและประกวดห้องสมุดมีชีวิต ครั้งที่ 3

เดี๋ยวนี้ห้องสมุดก็นำ Tablet มาให้ผู้ใช้บริการได้ใช้กันแล้ว

หลายวันก่อนในกลุ่ม Librarian in Thailand ใน Facebook มีการตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องการนำ Tablet มาใช้ในห้องสมุด ว่ามีที่ไหนให้ใช้บริการบ้าง และให้ใช้บริการอย่างไร วันนี้ผมจึงขอนำตัวอย่างที่ห้องสมุด TK park มาเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันครับ

จุดให้บริการ Tablet ของ TK Park จะอยู่ที่ห้อง MindRoom
และใช้ได้ในจุดที่กำหนดเท่านั้น นั่นคือ ห้อง Mindroom

เอาง่ายๆ คือไม่ได้มีไว้ให้ยืมออกครับ และที่ต้องกำหนดในมุม เท่านั้นเพราะเพื่อความปลอดภัยและการดูแลจากเจ้าหน้าที่

Tablet ที่ให้บริการ คือ Acer Iconia A100
ซึ่งใน TK Park มีให้บริการจำนวน 3 เครื่อง

ภายใน Tablet จะบริการเพื่อการเรียนรู้เท่านั้น ซึ่งประกอบด้วย Content หลักๆ คือ
– TK E-Book ชุด “วัตถุเล่าเรื่อง”
– TK Audio Book หรือสื่อการเรียนรู้หนังสือเสียง
– TK Valuable Book หรือสื่อการเรียนรู้ชุด “ขุมทรัพย์ของแผ่นดิน”
– TK Game Book
– TK eBook
– Read Me Egazine

ลองมาดูคลิปวีดีโอ Review กันหน่อยดีกว่าครับ

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=_YN-_ootboY[/youtube]

เอาเป็นว่า ณ เวลา เที่ยงของวันอาทิตย์ที่ผมมาสังเกตการณ์อยู่ตอนนี้ ยังไม่มีผู้เข้ามาใช้ Tablet เลย
ดังนั้นใครที่สนใจอยากจะมาทดลองใช้ Tablet เพื่อการเรียนรู้ในห้องสมุดก็ขอเชิญได้นะครับ ที่อุทยานการเรียนรู้ หรือ TK Park นั่นเอง

ปล. ห้องสมุดไหนที่มีโครงการจะจัดหา Tablet เพื่อนำมาให้ผู้ใช้บริการได้ใช้ก็สามารถปรึกษาห้องสมุด TK Park ได้นะครับ

Thailand Conference on Reading 2011 (TCR2011)

ช่วงนี้มีเพื่อนๆ ส่งงานประชุมวิชาการที่เกี่ยวกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มาให้ผมมากมาย ซึ่งวันนี้ผมขอแนะนำงานประชุมวิชาการที่เกี่ยวกับการอ่านที่น่าสนใจให้เพื่อนๆ ได้อัพเดทกันหน่อย งานนี้จัดโดยห้องสมุดทีเคพาร์คด้วยนะ

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงาน
ชื่องาน : Thailand Conference on Reading
ลักษณะของงาน : การประชุมวิชาการ
วันและเวลาที่จัดงาน : 24-25 สิงหาคม 2554
สถานที่จัดงาน : โรงแรมAmari Watergate

งานนี้น่าสนใจมากเพราะว่าเราจะได้ฟังคำแนะนำและรายงานดีๆ ที่เกี่ยวกับการอ่าน
ไม่เพียงแค่ประเทศไทยเท่านั้นนะมีอีกหลายประเทศที่เข้าร่วมบรรยายด้วย
แถมด้วยเรื่องที่หลายๆ คนอยากฟัง คือ เรื่อง “Bangkok World Book Capital 2013

มาดูหัวข้อที่น่าสนใจในงานนี้ดีกว่า
– คิดสร้างสรรค์ ด้วยการอ่าน
– How Malaysia Reads
– The development of Book Reading Activity for Promoting Better Life of Citizen in Vietnam
– นโยบายส่งเสริมการอ่านของประเทศไทย
– ช่องว่างและความเท่าเทียมในการเข้าถึงหนังสือและแหล่งเรียนรู้
– ข้อสังเกตบางประการต่อกระบวนการส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ของไทย
– นิสัยการอ่านของคนไทยในมิติด้านวัฒนธรรม
– Korea’s experience to promote reading and literacy
– Reading Culture in the Youth Kids
– ปัจจัยส่งเสริมคนไทยให้มีวัฒนธรรมการอ่าน
– Bangkok World Book Capital 2013
– ร่วมสร้างรากฐาน อ่าน คิด เรียนรู้ เตรียมคนสู่พลเมืองอาเซียน

งานประชุมวิชาการดีๆ แบบนี้มีค่าใช้จ่ายนะครับ
แต่ถ้าสมัครก่อนวันที่ 15 กรกฎาคม จะได้ราคาพิเศษ คือ 2000 บาท
และถ้าสมัครก่อนสิ้นเดือนนี้ก็ได้ราคา 2500 บาท และสมัครในเดือนสิงหาคมราคา 3000 บาท

เอาเป็นว่าใครสนใจก็ลองเข้ามาดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.tcr2011.com เลยนะครับ
สำหรับวันนี้ก็แนะนำแต่เพียงเท่านี้ก่อนนะครับ เลยเจอกันครั้งหน้า