บรรณารักษศาสตร์ เท่ากับ สารสนเทศศาสตร์ หรือไม่

ขอออกตัวก่อนนะครับที่เขียนไม่ได้ว่าจะชวนทะเลาะหรือสร้างความแตกแยก แต่คำถามนี้เป็นคำถามที่ผมได้ยินบ่อยมากๆ และจากประสบการณ์ตรงในช่วงผมเป็นนักศึกษา (รุ่นผมชื่อบรรณารักษศาตร์และสารสนเทศศาสตร์ แต่หลังจากรุ่นผมไปแล้วใช้คำว่า การจัดการสารสนเทศ) วันนี้ผมว่าเด็กๆ หรือแม้แต่ผู้ใหญ่เองก็อาจสับสนบ้างว่ามันเหมือนหรือต่างกันอย่างไร

ปล. ที่เขียนบทความนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของผม ถูกผิดหรือไม่แล้วแต่ความเข้าใจของแต่ละคน

หลายๆ สถานศึกษาเริ่มมีการเปลี่ยนชื่อหลักสูตรวิชา หรือ บางแห่งเปลี่ยนชื่อภาควิชาไปเลยก็มี

คำถามที่ผมคาใจมากๆ คือ “ทำไมต้องเปลี่ยนชื่อสาขาวิชานี้” “ชื่อสาขานี้มันล่าสมัยจริงหรือ”
เหตุผลที่ผมได้ยินและได้คุยกับอาจารย์บางท่าน คือ
– “ถ้าไม่เปลี่ยนแล้วเด็กจะไม่เข้ามาเรียนในสาขานี้”
– “ถ้าเด็กเข้ามาไม่ได้ตามจำนวน ภาควิชาก็ไม่สามารถเปิดสอนได้”
– “สาขาวิชามีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาที่เน้นเรื่องเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้น”
– “เด็กที่จบไปจะได้ชื่อหลักสูตรที่สวยหรู สามารถทำงานอะไรก็ได้”

เอาเป็นว่าเหตุผลต่างๆ มากมายที่ผมก็ขอรับฟัง
แต่…เคยคิดกันหรือไม่ว่า….ประเด็นนี้จะทำให้เด็กสับสน

“หนูไม่รู้นี่ว่าสารสนเทศศาตร์ คือ สอนให้หนูเป็นบรรณารักษ์ หนูนึกว่าเข้ามาเรียนคอมพิวเตอร์”
“การจัดการสารสนเทศน่าจะสอนการจัดการข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ในรูปแบบอื่นๆ ที่ไม่ใช่อิงแต่เรื่องห้องสมุด”
“เข้ามาเพราะชื่อหลักสูตรเท่ห์จัง แต่ทำไมเรียนเรื่องเกี่ยวกับห้องสมุด”

สถานศึกษาบางแห่งเปลี่ยนชื่อหลักสูตรก็จริงแต่เนื้อหาในรายวิชาเกือบครึ่งหนึ่งก็ยังคงเป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุดอยู่ดี บางแห่งไม่ได้เปลี่ยนรายวิชาด้านในเลยด้วยซ้ำ จากประเด็นแบบนี้ จึงเป็นประเด็นที่ทำให้เด็กส่วนใหญ่สับสนกับหลักสูตร หรือ วิชาที่เรียน

จากกรณีเรื่องของชื่อหลักสูตร หรือ ชื่อของภาควิชา ผมขอพูดถึงสภาพของเด็ก 3 กลุ่มให้ฟังคร่าวๆ คือ
1. “รู้ว่าบรรณารักษ์เป็นส่วนหนึ่งของสารสนเทศอยู่แล้ว และตั้งใจมาเรียนเรื่องนี้โดยเฉพาะ” พูดง่ายๆ ว่าใจรักอ่ะครับ เด็กพวกนี้ไม่ค่อยมีปัญหาสักเท่าไหร่ เพราะใจเขามาด้านนี้โดยตรงอยู่แล้ว
2. “รู้และเข้าใจว่าสารสนเทศคือการเรียนคอมพิวเตอร์ แต่พอมาเจอเนื้อหาของแต่ละวิชา ก็ได้แต่ทำใจและยอมรับสภาพ” พูดง่ายๆ ว่า อดทนให้เรียนจบแล้วเดี๋ยวไปหางานอย่างอื่นทำ กลุ่มนี้ก็พบมากมาย เด็กส่วนหนึ่งที่จบไม่ได้กลับมาทำงานตามสายที่เรียน
3. “รู้และเข้าใจว่าสารสนเทศคือการเรียนคอมพิวเตอร์ แต่เมื่อเข้ามาเรียนและรู้ว่าไม่ใช่ก็ลาออกไปเรียนอย่างอื่น หรือ ฝืนเรียนแต่ก็รับไม่ได้” พูดง่ายๆ ว่า เมื่อไม่ใช่ทางที่คิดไว้ก็ไปทางอื่นดีกว่า

เรื่องของชื่อว่า “บรรณารักษศาสตร์” หรือ “สารสนเทศศาสตร์” แท้จริงแล้วมันเท่ากันหรือไม่
แค่ชื่อก็ไม่เหมือนกันแล้ว ผมบอกได้ตรงๆ ครับว่า อาชีพ “บรรณารักษ์” กับ “นักสารสนเทศ” มันก็ต่างกัน

อาชีพ “บรรณารักษ์” กับ “นักสารสนเทศ” ต่างอย่างไร

“บรรณารักษ์” คือการจัดการสื่อ ข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ องค์ความรู้ในห้องสมุด กระบวนการต่างๆ ที่ดำเนินงานในห้องสมุด “บรรณารักษ์” ต้องรู้และสามารถจัดการได้

“นักสารสนเทศ” คือ การจัดการสารสนเทศด้านใดด้านหนึ่งไม่จำเป็นต้องจัดการห้องสมุดทั้งหมด แต่ต้องจัดการข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ได้ ยิ่งถ้าจัดการหรือมีความรู้ด้านวิชาชีพอื่นๆ ด้วยก็ยิ่งดี และถือว่าเป็นนักสารสนเทศของอาชีพนั้นๆ ได้ด้วย เช่น นักสารสนเทศด้านวิทยาศาสตร์ ฯลฯ

อย่างที่เกริ่นข้างต้นว่า ห้องสมุด คือส่วนหนึ่งของการจัดการสารสนเทศแบบภาพรวม บรรณารักษ์ก็คือนักสารสนเทศในรูปแบบหนึ่ง ดังนั้นการเปลี่ยนชื่อหลักสูตร สถานศึกษาก็ควรทำความเข้าใจในเรื่องนี้กับเด็กๆ ที่เข้ามาเรียนด้วย…

หรือแม้แต่ครูแนะแนวเด็ก ม.ต้น หรือ ม.ปลาย ก็ควรรู้และเข้าใจในแง่นี้ด้วย มิเช่นนั้นเด็กๆ ของท่านก็จะเข้าใจผิดว่า “สารสนเทศ” ก็คือ “คอมพิวเตอร์” ต่อไป

วันนี้ขอฝากไว้เท่านี้ก่อนแล้วกัน อิอิ

สัมมนาวิชาการ ความรู้ทางเศรษฐกิจ การเงิน และการพัฒนาคน สำหรับผู้ปฏิบัติงานสารสนเทศ

วันนี้ขอมาประชาสัมพันธ์งานสัมมนาอีกงานที่น่าสนใจ คือ “ความรู้ทางเศรษฐกิจ การเงิน และการพัฒนาคน สำหรับผู้ปฏิบัติงานสารสนเทศ” งานนี้ผมได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรและผู้ดำเนินรายการด้วย ในหัวข้อ “บทบาทของห้องสมุดต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ การเงิน และการพัฒนาคน” เอาเป็นว่าอ่านรายละเอียดด้านล่างได้เลยครับ

รายละเอียดงานสัมมนาวิชาการเบื้องต้น
ชื่องานภาษาไทย : ความรู้ทางเศรษฐกิจ การเงิน และการพัฒนาคน สำหรับผู้ปฏิบัติงานสารสนเทศ
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุมป๋วย อึ๊งภากรณ์ อาคาร 1 ชั้น 4 ธนาคารแห่งประเทศไทย
วันและเวลาที่จัด : วันศุกร์ที่  10 สิงหาคม พ.ศ. 2555    เวลา  8.30 – 16.30 น.
จัดโดย : ศูนย์ประสานงานสารนิเทศสาขาเศรษฐศาสตร์ (ศปศ.)

อย่างที่เกริ่นไปเบื้องต้นว่างานนี้ถูกเชิญให้เป็นวิทยากรและผู้ดำเนินรายการ บอกตรงๆ ว่าเป็นครั้งแรกที่ผมจะได้บรรยายเกี่ยวกับเรื่องบทบาทของห้องสมุดในสังคมและผลกระทบของการมีห้องสมุดต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ (หัวข้อนี้แอบบอกว่าดูน่าสนใจและน่าสนุกมากๆ ครับ)

หัวข้อที่น่าสนใจในงานสัมมนาวิชาการครั้งนี้ เช่น
– พัฒนาเศรษฐกิจ พัฒนาคน อย่างยั่งยืนตามยุทธศาสตร์แผนฯ 11
– บทบาทนโยบายการเงินในการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ
– การคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย
– บทบาทของห้องสมุดต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ การเงิน และการพัฒนาคน

วิทยากรแต่ละท่านเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทั้งนั้นเลย (ทำเอาผมประหม่าเล็กน้อย)
ผมเชื่อว่างานนี้เพื่อนๆ จะได้เข้าใจถึงบทบาทของห้องสมุดที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศเลยทีเดียว

ห้องสมุดไม่ใช่แค่ที่นั่งอ่านหนังสือ หรือ แค่ที่เก็บหนังสือ เท่านั้น
แต่ห้องสมุดสามารถสร้างสังคม พัฒนาระบบเศรษฐกิจ และช่วยพัฒนาคน
อยากให้เพื่อนๆ ได้มาฟังกันเยอะๆ นะครับ

งานนี้ถ้าใครสนใจก็สามารถลงทะเบียนได้ฟรีนะครับ

ติดต่อสอบถามและสำรองที่นั่งได้ที่
ศูนย์ประสานงานสารนิเทศสาขาเศรษฐศาสตร์ (ศปศ.)
ธนาคารแห่งประเทศไทย
โทรศัพท์ 0 2280 4035, 0 2283 5698, 0 2283 5795
FAX แบบลงทะเบียนได้ที่ โทรสาร 0 2283 5656 หรือทาง mail : supattrn@bot.or.th

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

– หนังสือเชิญเข้าร่วมงาน
– แบบตอบรับเข้าร่วมงานสัมมนาวิชาการ

ขอความกรุณาตอบกลับมาภายในวันที่ 18 กรกฎาคม 2555 นะครับ

บรรณารักษ์ยุคใหม่ (Cybrarian) ต้องมีบุคลิกภาพแบบนี้…

บทความที่เกี่ยวกับ Cybrarian ผมเคยเขียนไปแล้วหลายครั้ง (ลองค้นคำว่า Cybrarian ดู)
วันนี้ผมขอเติมมติในเรื่องของบุคลิกภาพของบรรณารักษ์ยุคใหม่ที่ควรเป็นบ้างดีกว่า
เอาเป็นว่าลองอ่านแล้วลองคิดดุแล้วกันว่า “เราเป็นแบบนั้นแล้วหรือยัง

บุคลิกภาพของบรรณารักษ์ยุคใหม่ (Cybrarian) ควรมีดังนี้

1. รักในงานบริการ – อันนี้แน่นอนครับสำหรับงานด้านบรรณารักษ์หรือสารสนเทศ ซึ่งเป็นงานที่เราจะต้องเจอผู้คนมากมายที่เขามาขอความช่วยเหลือด้านข้อมูลกันอยู่แล้ว ตั้งแต่ตอนเรียนพวกเราทุกคนจะต้องถูกปลูกฝังเรื่องจิตบริการ (service mind) อยู่แล้ว ดังนั้นเรื่องนี้คงไม่ยากมาก

2. รักการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ประเด็นนี้จะกล่าวถึงข่าวสารในชีวิตประจำวัน และสาระความรู้ทั่วๆ ไป บรรณารักษ์ยุคใหม่จะรู้เพียงเรื่องใดเรื่องหนึ่งไม่ได้ ควรจะมีความรู้รอบตัวสามารถเข้าใจพื้นฐานของทุกวิชาได้ เช่น หากเราทำงานเป็นบรรณารักษ์ในศูนย์การแพทย์ เราก็ควรจะต้องรู้และเข้าใจเนื้อหาแบบพื้นฐานของวิชานี้บ้างก็ดีครับ

3. ชอบการเปลี่ยนแปลงและมีการปรับตัวอยู่ตลอดเวลา
ในสังคมปัจจุบัน ผมคงไม่ต้องบอกเพื่อนๆ หรอกนะครับว่า ทุกวันโลกเราเปลี่ยนแปลงเร็วขนาดไหน ยิ่งเรื่องของเทคโนโลยีที่ค่อนข้างไปเร็ว จนบางครั้งผู้ใช้บริการไปเร็วกว่าเราอีก บรรณารักษ์ยุคใหม่ควรจะเป็นคนที่อัพเดทข่าวสารอยู่ตลอดเวลา ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ได้ เช่น เรียนรู้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีการอัพเดทเวอร์ชั่นตลอดเพื่อปรับปรุงงานด้านต่างๆ ในศูนย์สารสนเทศ

4. มีความสามารถในการถ่ายทอดสิ่งที่ได้เรียนรู้ให้กับผู้อื่นได้ ความสามารถในด้านนี้จะกล่าวได้ว่าบรรณารักษ์ยุคใหม่ก็เปรียบเสมือนกับครู อาจารย์กันเลยทีเดียว เพราะหากเรามีองค์ความรู้ที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์กับผู้ใช้บริการเราเราก็คอยถ่ายทอดสิ่งที่รู้ออกมาได้เพื่อให้เป็นประโยชน์กับผู้ใช้บริการต่อไป

5. มีบุคลิกว่องไว กระตือรือร้นในการทำงานการบริการด้วยความว่องไว และรวดเร็วย่อมเป็นการสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ใช้ได้เป็นอย่างดีทีเดียว

6. ยอมรับฟังความคิดเห็น และมีจิตใจกว้างขวาง
สำคัญนะครับประเด็นนี้เนื่องจากหากเรายึดติดความคิดของตัวเองเป็นที่ตั้งโดยไม่ยอมรับฟังความคิดของผู้อื่นเลยจะทำให้เราไม่รู้จักโลกกว้างๆ ใบนี้เลย

จริงๆ แล้วยังบรรณารักษ์ยุคใหม่ยังต้องมีบุคลิกภาพและความสามารถอีกมากนะครับ
ที่สำคัญอย่างที่ผมเกริ่นไว้ว่าต้องมีการปรับตัวตลอดเวลา และการเปิดใจรับฟังคนอื่น
เพียงเท่านี้เราก็จะมีโอกาสเรียนรู้และพัฒนาให้เป็นบรรณารักษ์ยุคใหม่ได้ตลอดเวลา

บทสรุปงานเสวนา เส้นทางสู่อาชีพนักสารสนเท​ศ

เมื่อวันก่อนได้มีโอกาสไปบรรยายในงานเสวนาประสบการณ์วิช​าชีพนักสารสนเทศ ในประเด็นเรื่อง “เส้นทางสู่อาชีพนักสารสนเท​ศ” ที่จัดโดยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสต​ร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วันนี้เลยขอนำสไลด์และรูปภาพมาให้เพื่อนๆ ได้ชมกันนะครับ

รายละเอียดเบื้องต้นของงานนี้
ชื่องาน : เส้นทางสู่อาชีพนักสารสนเทศ
จัดโดย : นักศึกษาชั้นปี 3 เอกบรรณฯ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
วันและเวลาที่จัดงาน : วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม 2554 เวลา 13.00 น.
สถานที่จัดงาน : ห้องพิบูลสงคราม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสต​ร์

พักหลังมานี่ผมเริ่มรับบรรยายให้น้องๆ ฟังมากขึ้น เพราะรู้สึกว่าอยากจะเปลี่ยนความคิดของน้องๆ หลายคนว่า วิชาด้านบรรณารักษ์ก็สามารถทำให้น้องๆ ประสบความสำเร็จในชีวิตได้มากมายไม่แพ้วิชาในสาขาอื่นๆ การที่ได้มาบรรยายที่นี่ จริงๆ แล้วเริ่มมาจากการคุยกันเมื่อเดือนที่แล้วระหว่างผมกับน้องที่อ่านบล็อกของผมและการทาบทามของอาจารย์ในภาคฯ จนทำให้ผมต้องตอบรับมาที่นี่ (ทั้งๆ ที่ไม่เคยบรรยายให้จังหวัดอื่นเลย)

เอกสารที่ผมใช้ในการบรรยายครั้งนี้ คือ
– สไลด์เรื่อง I would like to be librarian
– เอกสาร Social Revolution

สำหรับสไลด์ เพื่อนๆ สามารถดูได้จากด้านล่างนี้เลยครับ

หรือเข้าไปดูได้ที่ http://www.slideshare.net/projectlib/i-would-like-to-be-librarian

คำถามหลักๆ ที่พบในงานเสวนาครั้งนี้ คือ
– การเลือกเข้ามาเรียนในสาขาวิชาสารสนเทศ ซึ่งอาจจะมีเรื่องเข้าใจผิดกันในชื่อวิชาที่เรียน (นึกว่ามาเรียนคอมฯ แต่ที่ไหนได้บรรณารักษ์นั่นเอง)
– การเลือกสถานที่ฝึกงานที่เหมาะกับตัวเอง ย่อมดีกว่าเลือกตามคนอื่น
– การทำงานในสายอื่นๆ ที่ไม่ใช่ห้องสมุด ซึ่งก็มีให้เลือกมากมาย เช่น เว็บไซต์, เปิดร้านขายหนังสือ……..
– เรียนต่อปริญญาโทด้านไหนดี : อันนี้ต้องแล้วแต่ว่าใจเราอยากไปทางไหน

เท่าที่พบในการเสวนาครั้งนี้ มีน้องๆ บางคนเริ่มเห็นอนาคตของตัวเองแล้ว เช่น บางคนไม่ชอบงานเทคนิคและอยากไปในสายไอที, บางคนอยากทำงานในห้องสมุดสายการแพทย์, บางคนอยากเปิดธุรกิจของตัวเองจำพวกร้านขายหนังสือ…….. ต่างๆ เหล่านี้ผมเชื่อว่าถ้ามีเป้าหมายแบบนี้แล้วจะทำให้น้องๆ เห็นภาพอนาคตที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

บทสรุปที่ผมบรรยายหลักๆ ก็เป็นเรื่องประสบการณ์การทำงานของผมที่ผ่านมา รวมไปถึงเล่าย้อนไปในช่วงที่ผมเรียนบรรณารักษศาสตร์ที่ ม.สงขลานครินทร์บ้างเล็กน้อย รวมถึงแรงบันดาลใจที่ทำให้ผมมาเรียนในสาขาวิชานี้

ความประทับใจในงานเสวนาครั้งนี้ : น้องๆ ที่เข้าร่วมฟังเสวนาได้มีการซับถามคำถามกันอย่างคึกคัก นับว่าเป็นเรื่องที่น่าตกใจมาก (ปกติเวลาผมไปบรรยายที่อื่นไม่เคยเจอคำถามเยอะขนาดนี้) แต่ต้องขอบอกว่าเป็นการซักถามที่สนุกมากๆ ครับ

สุดท้ายนี้ผมต้องขอขอบคุณอาจารย์ทิพภา และทีมงานนักศึกษาที่ร่วมกันจัดงานดีๆ แบบนี้ และเชิญผมมาเข้าร่วมกิจกรรม ณ ที่แห่งนี้ รวมไปถึงการดูแลวิทยากรได้ดีมากๆ ครับ ตั้งแต่ต้อนรับจนถึงส่งขึ้นรถกลับกรุงเทพฯ ขอบคุณทุกๆ ท่านอีกครั้งครับ

เอาเป็นว่าคราวหน้าผมจะไปบรรยายที่ไหนอีกเดี๋ยวจะเอามาเล่าให้อ่านในบล็อกนะครับ อย่าลืมติดตาม Libraryhub กันไปได้เรื่อยๆ นะครับ

ปล. ภาพทั้งหมดที่ผมนำมาลงเป็นฝีมือการถ่ายภาพของน้องๆ ที่เข้าฟังในวันนั้นนะครับ ต้องขอขอบคุณมากที่ส่งมาให้ผมได้ดู

ภาพถ่ายในงานเสวนาประสบการณ์วิชาชีพนักสารสนเทศ

[nggallery id=40]

การฝึกอบรมเรื่อง “บทบาทนักสารสนเทศในวาระเศรษฐกิจสร้างสรรค์”

วันนี้ผมขอประชาสัมพันธ์งานฝึกอบรมนึงที่น่าสนใจมากๆ สำหรับนักสารสนเทศในยุคนี้
โดยงานนี้ใช้ชื่อว่า “บทบาทนักสารสนเทศในวาระเศรษฐกิจสร้างสรรค์”

ภาพจาก http://www.gcecs2009.com/tag/global-creative-economy-convergence-summit/
ภาพจาก http://www.gcecs2009.com

รายละเอียดเบื้องต้นของงานนี้
ชื่อการฝึกอบรมภาษาไทย : “บทบาทนักสารสนเทศในวาระเศรษฐกิจสร้างสรรค์”
ชื่อการฝึกอบรมภาษาอังกฤษ : The Roles of Information Professional in the Creative Economy
วันและเวลาที่อบรม : วันที่ 28 เมษายน 2553 เวลา 08.30-16.00 น.
สถานที่อบรม : ห้องประชุม 4 อาคาร 1 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (บางเขน)
จัดโดย : ศูนย์ความรู้ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

ในช่วงนี้เพื่อนๆ คงได้ยินคำว่า “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” หรือ “Creative Economy” บ่อยๆ
ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่ในสังคมไทย และกำลังจะมีบทบาทมากมายต่อวงการธุรกิจ

ความหมายของ “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” หรือ “Creative Economy” เพื่อนๆ สามารถอ่านได้จาก
http://www.creativethailand.org/th/

ในแนวทางดังกล่าวก็ทำให้วงการของห้องสมุดและสารสนเทศมีบทบาทขึ้นเป็นอย่างมาก
ดังนั้นการอบรมในเรื่องนี้ ผมจึงขอแนะนำให้เพื่อนๆ เข้าร่วมกันมากๆ ก็จะดี

วัตถุประสงค์ของการจัดการอบรมในครั้งนี้ผมว่าน่าสนใจมาก
– เสริมสร้างความรู้ของนักวิชาชีพสารสนเทศเกี่ยวกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ใน ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้และบทบาทในการให้บริการสารสนเทศ
– กำหนดบทบาทของนักวิชาชีพสารสนเทศตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์
– แลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดเห็น และประสบการณ์ในหมู่นักวิชาชีพสารสนเทศ

ซึ่งวิทยากรที่จะมาให้ความรู้ในครั้งนี้ ประกอบด้วย
รศ.ดร.น้ำทิพย์ วิภาวิน และ ผศ.ดร.มงคลชัย วิริยะพานิช

แต่ต้องขอบอกก่อนนะครับว่าการอบรมในครั้งนี้ไม่ได้ฟรี
ซึ่งค่าลงทะเบียนในการอบรมราคา 1200 บาทนะครับ
รับจำนวนจำกัด เพียงแค่ 50 คนเท่านั้น (ดังนั้นต้องรีบตัดสินใจกันหน่อยนะครับ)

เอาเป็นว่าใครสนใจก็ดาวน์โหลดใบลงทะเบียนได้ที่
http://klc.tistr.or.th/include/download/KLCseminar_creative-econ.pdf
หรือลงทะเบียนทางโทรศัพท์ ติดต่อคุณเพ็ญศรี โทร.025791121-30 ต่อ 1229

สำหรับผมติดภาระกิจพอดีเลยในช่วงเวลาดังกล่าว
ดังนั้นใครที่ไปอบรมก็อย่าลืมมาเล่าให้ผมฟังด้วยนะครับ

หนังสือ : Introduction to the Library and Information Professions

ด้วยความที่ว่าวันนี้เป็นวันที่สบายๆ ผมเลยไปเดินหาหนังสืออ่านเล่นที่ kinokuniya มา
แล้วใช้บริการค้นหาหนังสือของร้าน kinokuniya ด้วยคำสำคัญ (Keyword) ว่า Library
ซึ่งทำให้ผมเจอหนังสือที่เกี่ยวกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มากมาย
ผมจึงขอหยิบตัวอย่างหนังสือเกี่ยวกับวงบรรณารักษ์มาแนะนำเพื่อนๆ แล้วกันนะครับ

ภาพประกอบจาก Amazon
ภาพประกอบจาก Amazon

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้
ชื่อหนังสือ : Introduction to the Library and Information Professions
ผู้แต่ง : Greer, Roger C. | Grover, Robert J. | Fowler, Susan G.
สำนักพิมพ์ : Libraries Unlimited
ISBN : 1591584868
ราคา : $60.00

โดยอ่านคร่าวๆ แล้วเป็นการแนะนำเรื่องของการเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านห้องสมุดและนักสารสนเทศมากมาย
เช่นวิธีการสร้างและผลิตองค์ความรู้ต่างๆ รวมไปถึงความรู้ที่ผู้เชี่ยวชาญควรจะมี เป็นต้น

เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ประกอบด้วย
Chapter 1: Introduction: Purpose And Objectives Of This Book
Chapter 2: Creation, Diffusion and Utilization of Knowledge
Chapter 3: The Role of Professionals as Change Agents
Chapter 4: The Science Supporting the Information Professions
Chapter 5: Information Transfer in the Information Professions
Chapter 6: The Cycle of Professional Service
Chapter 7: The Information Infrastructure
Chapter 8: The Processes and Functions of Information Professionals
Chapter 9: The Infrastructure of the Information Professions
Chapter 10: Trends and Issues

พอกลับมาถึงบ้านผมก็รีบค้นหาข้อมูลหนังสือเล่มนี้ทันทีเลยครับ (Google book search) เพื่ออ่านเล็กน้อย
นับว่าเป็นหนังสือที่น่าสนใจ และให้แง่คิดเรื่องการทำงานได้ดีทีเดียวครับ
หากเพื่อนๆ อยากอ่านตัวอย่างหนังสือเล่มนี้ก็อ่านได้ที่
http://books.google.com/books?id=zlm2hJ7H0wIC&printsec=frontcover&dq=Introduction+to+the+Library+and+Information+Professions#v=onepage&q=&f=false

เอาเป็นว่าหากเพื่อนๆ สนใจก็ลองสอบถามได้ที่ร้าน kinokuniya นะครับ เผื่อว่าเขาจะดำเนินการสั่งซื้อให้
เอาเป็นว่าวันนี้ขอแนะนำไว้แค่นี้ก่อน วันหน้าจะหาหนังสือเรื่องอื่นๆ มาแนะนำอีกครับ

ข้อมูลหนังสือ http://lu.com/showbook.cfm?isbn=9781591584865

จรรยาบรรณบรรณารักษ์และนักสารสนเทศฉบับปี 2550

ประกาศจรรยาบรรณของบรรณารักษ์ฉบับแรกประกาศเมื่อปี 2521 และมีการปรับปรุงครั้งที่ 1 ในปี 2529
และหลังจากนั้นไม่เคยมีการปรับปรุงจรรยาบรรณฉบับนี้อีกเลย จนมีการปรับปรุงครั้งที่ 2 ในปี 2550

ethic-library

ผมเลยแปลกใจว่าตั้งแต่การปรับปรุงครั้งแรกจนถึงครั้งนี้มันห่างกันตั้ง 21 ปีนะครับ
แสดงว่าที่เราใช้ๆ กันอยู่นี่มันล้าสมัยมากๆๆๆๆๆ
แต่เอาเถอะไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว ยังไงฉบับนี้ก็ถือว่าแก้ไขมาแล้ว
ผมจะมาพูดถึงเนื้อหาจรรยาบรรณทั้ง 9 ข้อ แบบย่อๆ ให้เพื่อนๆ ได้อ่านแล้วกัน

———————————————————————————————–

ประกาศสมาคมห้องสมุดฯ เรื่อง จรรยาบรรณบรรณารักษ์และนักสารสนเทศ พ.ศ. 2550

1. ให้บริการอย่างเต็มที่โดยไม่แบ่งแยกผู้ใช้บริการ
2. รักษาความลับและเคารพสิทธิของผู้ใช้บริการ
3. ซื่อสัตย์สุจริต เสียสละ อดทน และคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม
4. เรียนรู้ให้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน
5. เป็นมิตรกับเพื่อนร่มงาน เพื่อร่วมมือร่มใจกันทำงานเพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ
6. สร้างสัมพันธภาพและสร้างความร่วมมือกันระหว่างสถาบันให้ดี
7. ไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่หาประโยชน์เข้าตัวเอง
8. ยึดถือหลักเสรีภาพทางปัญญาและรักษาเกียรติภูมิของห้องสมุดและวิชาชีพ (ไม่ทำให้วิชาชีพเสื่อมเสีย)
9. มีความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อสร้างสรรค์สังคมไทยให้เป็นสังคมภูมิปัญญาและการเรียนรู้

———————————————————————————————–

เป็นยังไงกันบ้างครับ กับจรรยาบรรณของวิชาชีพเราฉบับใหม่
ผมวี่ามันก็เป็นสิ่งที่เราพึงกระทำอยู่แล้วนะครับ
แต่สำหรับผม ผมชอบข้อ 4 ที่รู้สึกว่า
ทางสมาคมคงจะเผื่อเอาไว้ในอนาคตเลย
เพราะว่าวิชาชีพเรา เราต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลาครับ
สำหรับเพื่อนๆ ที่สนใจอ่านจรรยาบรรณฉบับเต็มก็สามารถดาวนโหลดได้ที่
ประกาศสมาคมห้องสมุดฯ เรื่อง จรรยาบรรณบรรณารักษ์และนักสารสนเทศ พ.ศ. 2550

สุดท้ายนี้ก็ขอเป็นกำลังใจให้สมาคมห้องสมุดสร้างสรรค์สิ่งดีๆ เพื่อวงการห้องสมุดต่อไปนะครับ

สัมมนานักสารสนเทศที่พึงประสงค์ในสังคมฐานความรู้

วันนี้มีงานสัมมนาดีๆ มาแนะนำให้เพื่อนๆ ได้เข้าร่วมอีกแล้วครับ
งานสัมมนาครั้งนี้จัดโดย ภาควิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

banner-seminar Read more

ทักษะทันสมัยสำหรับนักวิชาชีพสารสนเทศ

วันนี้มีงานฝึกอบรมงานนึงที่น่าสนใจมาเล่าให้ฟัง
งานจัดโดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

skill

ข้อมูลทั่วไปของงานฝึกอบรม
ชื่องานภาษาไทย : ทักษะทันสมัยสำหรับนักวิชาชีพสารสนเทศ
ชื่องานภาษาอังกฤษ : New Age Skills for Information Professionals
วันที่จัดงาน : วันที่ 30 มิถุนายน 2552
เวลาการจัดงาน : 8.30-16.00 น.
สถานที่จัดงาน : ณ ห้องประชุม 4 อาคาร 1 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
จัดโดย ศูนย์ความรู้ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

งานนี้เป็นงานที่น่าสนใจมากสำหรับผู้ที่อยากเป็นนักสารสนเทศยุคใหม่
เนื่องจากในการฝึกอบรมครั้งนี้มีหัวข้อที่เน้นทางด้าน web 2.0 ด้วย

ลองดูหัวข้อที่น่าสนใจกันก่อนดีกว่า
– การบริหารความเปลี่ยนแปลงกับทักษะทันสมัยสำหรับนักสารสนเทศ
– Social web… การเข้าถึงและการใช้ประโยชน์

ทักาะเหล่านี้ผมคิดว่าเป็นต่อวงการวิชาชีพเราอย่างยิ่ง
การบริหารความเสี่ยงเป็นเรื่องที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในต่อนี้
เพราะการทำอะไรก็ตามถ้าเราไม่มีแผนการบริหารความเสี่ยง
พอเกิดวิกฤตกับเรา เราก็อาจจะคิดหรือแก้ปัญหาไม่ได้

ส่วนทักษะทางด้าน Social web ยิ่งน่าสนใจใหญ่เลยครับ
เพราะว่าเป็นการใช้เครื่องมือทางอินเทอร์เน็ตในการสร้างชุมชนออนไลน์ต่างๆ ด้วย

การอบรมในครั้งนี้วิทยากรของงานนี้คือ
– รศ.ดร. น้ำทิพย์ วิภาวิน
– น.ส. ประดิษฐา ศิริพันธ์

ค่าอบรมในครั้งนี้ก็ 1400 บาทเท่านั้นเองครับ
ถ้าเทียบกับความรู้ที่ได้ก็คุ้มค่าเหมือนกันนะครับ

เอาเป็นว่าใครสนใจก็ลองเข้าไปดูได้ที่
http://klc.tistr.or.th/include/download/IPskill-training_20090630.pdf