จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม สู่การเป็นห้องสมุดแห่งอนาคต

จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม สู่การเป็นห้องสมุดแห่งอนาคต

วันนี้ได้อ่านหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (8 พ.ย. 62) คอลัมน์ Think Marketing Weapon โดย รศ.ดร.กฤตินี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์ (Sasin) เรื่อง “จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม” พออ่านจบรู้สึกว่าเป็นประโยชน์มากๆ เลยขอนำมาเล่าให้เพื่อนๆ อ่าน

Keywork : จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม

เป็นคำที่ผมเชื่อว่าหลายๆ คนน่าจะเข้าใจความหมาย แต่มันเชื่อมโยงกันอย่างไร เรามาดูกันทีละคำเลยครับ

Read more

บทบาทของห้องสมุดและบรรณารักษ์ต่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนว่า บทความนี้ผมเขียนเพื่อร่วมสนุกในบล็อก Gotoknow ดังนั้นถ้าเพื่อนๆ จาก gotoknow มาพบบทความนี้ ขอให้เข้าใจว่าบทความนี้เป็นของ “นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์” หรือ “Projectlib” หรือ “km_library” ใน Gotoknow นั่นเอง

ใน Gotoknow ให้เขียนเรื่อง “บทบาทของห้องสมุดและบรรณารักษ์ต่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21” โดยตอบคำถามดังต่อไปนี้

– ห้องสมุดควรมีบริการอะไรบ้าง
– ห้องสมุดควรมีบทบาทในการส่งเสริมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนรู้หรือไม่
– บรรณารักษ์ควรมีบทบาทเป็นผู้กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้อย่างไร
– เทคโนโลยีการสืบค้นข้อมูลควรปรับเปลี่ยนหรือไม่
– บรรยากาศสิ่งแวดล้อมในห้องสมุดน่าจะเป็นอย่่่างไร
– บรรณารักษ์ควรเป็นผู้ที่คอยช่วยส่งเสริมทักษะการเรียนรู้อะไรบ้างให้แก่ผู้เรียนหรือประชาชนทั่วไป
– ห้องสมุดประชาชนกับห้องสมุดโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยควรจะเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

เอาเป็นว่าผมขอตอบคำถามทีละข้อแล้วกันนะครับ
ปล. ผมขอตอบทีละคำถาม (ต่างจากบล็อกของผมใน Gotoknow)

1. ห้องสมุดควรมีบริการอะไรบ้าง

ตอบ – ภาพเดิมๆ ของเราเกี่ยวกับห้องสมุด คือ สถานที่ที่ให้บริการเกี่ยวกับการอ่านหนังสือ การสืบค้นหนังสือ ทรัพยากรสำคัญของห้องสมุดคือหนังสือ แต่โลกได้เปลี่ยนไปมากเมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตเราค่อนข้างเยอะ ห้องสมุดควรบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าเพื่อคลายข้อสงสัยให้กับผู้ใช้บริการ ควรบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าให้ผู้ที่ต้องการข้อมูลเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยคำตอบและข้อมูลที่ให้กับผู้ใช้บริการบางทีอาจไม่ได้เก็บอยู่ในรู้แบบหนังสือก็ได้ เช่น บางองค์ความรู้อยู่ในตัวบุคคล ห้องสมุดก็เชิญเขามาพูดหรือเป็นวิทยากรก็ได้ ห้องสมุด คือ พื้นที่ที่ให้บริการข้อมูล ความรู้ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

2. ห้องสมุดควรมีบทบาทในการส่งเสริมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนรู้หรือไม่

ตอบ – ควรมี เพราะห้องสมุดคือสถานที่ที่รวบรวมความรู้ ซึ่งไม่ได้มีแค่หนังสือเท่านั้น แต่ห้องสมุดจะเป็นสถานที่ที่มีจุดเชื่อมโยงระหว่างองค์ความรู้ต่างๆ ห้องสมุดไม่สามารถเก็บหนังสือได้ทุกเล่มบนโลก แต่ห้องสมุดจะเป็นคนบอกให้คุณรู้ว่าที่ไหนมีความรู้อะไร ที่ไหนมีข้อมูลอะไร และที่ไหนที่จะแก้ข้อสงสัยที่คุณอยากรู้ได้ ดังนั้นเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลและความรู้ กระบวนการหนึ่งที่ห้องสมุดต้องให้ความสำคัญ คือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เริ่มจากคนที่ทำงานในห้องสมุด ผู้ใช้บริการ …..

3. บรรณารักษ์ควรมีบทบาทเป็นผู้กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้อย่างไร

ตอบ –บรรณารักษ์ไม่ใช่แค่คนที่นั่งเฝ้าหนังสือเพียงอย่างเดียว แต่บรรณารักษ์จะต้องรู้จักหนังสือในห้องสมุดทั้งหมดด้วย การที่ผู้ใช้บริการมาสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือ แล้วบรรณารักษ์สามารถเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ได้รอบห้องสมุดนับเป็นสิ่งที่ผมอยากเห็นมากๆ หรือแม้แต่การเปลี่ยนบทบาทของบรรณารักษ์ให้กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านหนังสือก็ยิ่งดี เช่น เมื่อคนเข้ามาในห้องสมุดแล้วต้องการรู้วิธีการรักษาสุขภาพ บรรณารักษ์ก็จะแนะนำหนังสือพร้อมทั้งบอกได้ว่าเล่มไหนอ่านดี เล่มไหนอ่านง่าย ช่วยชี้นำทำให้เกิดการเรียนรู้และความสนใจในการอ่านหนังสือของผู้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้น

4. เทคโนโลยีการสืบค้นข้อมูลควรปรับเปลี่ยนหรือไม่

ตอบ – ควรเปลี่ยนอย่างยิ่ง การสืบค้นหนังสือในห้องสมุดอย่างเดียว เดี๋ยวนี้ผมว่าไม่พอแล้วหล่ะครับ การค้นหาหนังสือแบบเดิมๆ คือ การค้นชื่อหนังสือ ชื่อผู้แต่ง สถานที่จัดเก็บ โลกที่ผมอยากเห็นคือการสืบค้นข้อมูลของหนังสือที่นำไปสู่บทวิจารณ์หนังสือ (ความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหลังจากที่อ่านหนังสือ ผมว่ามันมีค่าไม่ต่างจากเนื้อเรื่องในหนังสือเลย) หรือการที่เรามีปฏิสัมพันธ์กับระบบสืบค้นหนังสือ เช่น สามารถกำหนดคำสืบค้นให้กับหนังสือที่เราสืบค้นได้ (การที่บรรณารักษ์เป็นคนกำหนดคำสืบค้นต่างๆ ให้หนังสือ บางครั้งทำให้ผู้ค้นสืบค้นไม่เจอ เพราะคำศัพท์ที่บรรณารักษ์นำมาใช้มาจากตำราการให้หัวเรื่อง)

5. บรรยากาศสิ่งแวดล้อมในห้องสมุดน่าจะเป็นอย่่่างไร

ตอบ – ห้องสมุดแบบเดิมๆ ต้องมีบรรยากาศเงียบสงบ ใครส่งเสียงดังก็เหมือนคนทำผิดร้ายแรง จริงๆ แล้วสำหรับผมการที่ห้องสมุดมีเสียงบ้างไม่ใช่เรื่องน่าแปลก เพราะการที่คนได้อ่านหนังสืออาจมีเรื่องที่สงสัยหรือเรื่องที่ต้องอภิปรายกัน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในห้องสมุดก็จำเป็นที่ต้องใช้เสียง ไม่เคยมีใครบอกเลยนะครับว่า การเรียนรู้ต้องนั่งเงียบๆ แล้วจะเรียนรู้ได้ดี (สำหรับผมการเรียนรู้เกิดจากการพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และห้องสมุดควรเป็นสถานที่เอื้อให้เกิดสิ่งนี้)

6. บรรณารักษ์ควรเป็นผู้ที่คอยช่วยส่งเสริมทักษะการเรียนรู้อะไรบ้างให้แก่ผู้เรียนหรือประชาชนทั่วไป

ตอบ –อย่างแรกที่บรรณารักษ์ควรเป็น คือ การแนะนำเรื่องกระบวนการในการเปลี่ยนความรู้ อ่านหนังสือเสร็จให้ผู้ใช้บริการลองเขียนวิจารณ์หนังสือ หรือ ชวนพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องที่ผู้ใช้บริการอ่าน ผมว่าคนเราถ้าได้พูดคุยกัน ได้แลกเปลี่ยนความรู้กันมันทำให้เรายิ่งรู้มากขึ้นด้วย

7. ห้องสมุดประชาชนกับห้องสมุดโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยควรจะเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

ตอบ –ปัจจุบันนี้ห้องสมุดโรงเรียนหรือห้องสมุดมหาวิทยาลัยบางแห่งก็เปิดให้บริการแก่บุคคลภายนอกด้วย (ประชาชนทั่วไป) ซึ่งการให้บริการความรู้ผมว่าทั้งสองแบบเหมือนกัน แต่อาจจะต่างกันที่เนื้อหาสาระมากกว่า เช่นในห้องสมุดประชาชนก็เน้นหนังสือที่ผู้ใช้บริการอ่านง่าย ไม่ซับซ้อนอะไรมาก ส่วนห้องสมุดโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยก็จะมีเนื้อหาที่เข้มข้นขึ้นและเนื้อหาเชิงวิชาการที่มากขึ้น

เอาเป็นว่าผมขอตอบแบบนี้ตามความคิดเห็นของผมนะ
นี่แหละ บทบาทของห้องสมุดและบรรณารักษ์ต่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่ผมอยากเห็น

เพื่อนๆ คิดยังไงกับบทความ “ว่าไงนะ บรรณรักษ์ตายแล้วหรือ”

วันนี้บทความที่ผมนำมาให้อ่านแค่ชื่อเรื่องอาจจะทำให้เพื่อนๆ หลายคนตกใจ และหลายๆ คนก็คงช็อค
แต่ต้องขอบอกไว้ก่อนนะครับว่า ชื่อเรื่องนี้ผมไม่ได้มีเจตนาจะลบหลู่วงการบรรณารักษ์ของพวกเราเลย

บทความเรื่อง “ว่าไงนะ บรรณรักษ์ตายแล้วหรือ” ได้ลงในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจฉบับวันนี้ (วันที่ 9 ธันวาคม 2553)
ซึ่งนักข่าวจากกรุงเทพธุรกิจมาขอสัมภาษณ์ผมเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และพูดคุยกันในเรื่องต่างๆ ของห้องสมุด
และจากการคุยในวันนั้นก็ได้บทความชิ้นนี้ออกมา (นักข่าวถอดคำพูดจากการสัมภาษณ์ผมนะ)

ใครที่ยังไม่ได้อ่านผมขอนำบทความนี้มาลงในบล็อกนี้ด้วยนะครับ

ว่าไงนะ บรรณรักษ์ตายแล้ว ?
โดย : จุฑารัตน์ ทิพย์นำภา

เคยมีรายงานสำรวจพฤติกรรมการอ่านหนังสือโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติเมื่อปี 2546 พบว่า คนไทยอ่านหนังสือโดยเฉลี่ยปีละ 7 บรรทัด

กลายเป็นข้อมูลอ้างอิงที่ถูกหยิบมากพูดกันน้ำหูน้ำตาเล็ด

อีก 5 ปีต่อมา 2551 ผลสำรวจสำนักเดิมอีกพบว่า แนวโน้มคนไทยอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นเป็น 39 นาทีต่อวัน

จนล่าสุด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสำรวจพบว่าคนไทยอ่านหนังสือนานถึง 94 นาทีต่อวัน เท่ากับว่าเวลาผ่านไปไม่ถึง 10 ปี คนไทยมีนิสัยรักการอ่านมากขึ้น หรือไม่ช่องทางการเข้าถึงหนังสือของคนไทยเพิ่มมากขึ้น

แน่นอนว่า อินเทอร์เน็ตเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นพฤติกรรมการอ่านของคนทั่วโลก

การอ่านหนังสือ และการค้นคว้าเอกสารของนักเรียนนักศึกษาไม่ได้จำกัดตัวอยู่ในห้องสมุดอย่าง เดียวแล้ว ภาพของนักศึกษายืนอยู่หน้าตู้ดัชนี ดึงลิ้นชักออกมาค้นหารายชื่อหนังสือ แทบจะไม่ปรากฏให้เห็นอีกแล้ว พวกเขาไม่ต้องการความรู้เกี่ยวกับการจัดระบบห้องสมุดแบบดิวอี้ และรัฐสภาอเมริกัน อีกต่อไป

เมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ นักพัฒนาระบบห้องสมุด จากโครงการศูนย์ความรู้กินได้ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (OKMD) ยอมรับว่า ทิศทางการสืบค้นแบบใหม่ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตทำให้การค้นหาแบบเดิมถูกตัดทิ้ง ห้องสมุดจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้ทันสมัย บรรณารักษ์ต้องเป็นได้มากกว่าคนเฝ้าห้องสมุด

ที่ผ่านมาแม้ห้องสมุด จะเปลี่ยนผ่านสู่ยุคของเทคโนโลยีโดยแปลงหนังสือทั้งเล่มให้อยู่ในรูปของอี บุ๊ค จัดเก็บในฐานข้อมูลดิจิทัลเพื่อความสะดวกในการค้นหา แต่เขากลับมองว่า นั่นไม่ใช่แนวทางที่จะสนับสนุนให้คนอ่านหนังสือมากขึ้น ขณะเดียวกันสิ่งที่เขามองคือการสร้างเนื้อหาที่น่าสนใจในรูปของบทความ นอกเหนือจากข่าวสาร บันเทิง ที่ปรากฏอยู่บนโลกอินเตอร์เน็ตในทุกวันนี้

เหตุผล ดังกล่าวผลักดันให้บรรณารักษ์ วัย 28 ปี ริเริ่มแนวคิดการสร้างชุมชนบรรณารักษ์ออนไลน์ขึ้นในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เพื่อหากลุ่มคนที่มีแนวความคิดเดียวกัน สร้างเป็นเครือข่าย ผลักดันให้เกิด libraryhub.in.th ศูนย์กลางข้อมูลสำหรับบรรณารักษ์โดยเฉพาะ

?แนวคิด นี้เกิดขึ้นจากความสนใจส่วนตัวที่หลงไหลในเสน่ห์ของห้องสมุด จนกระทั่งตัดสินใจเรียนต่อเพื่อที่จะเป็นบรรณารักษ์ ในขณะที่คนอื่นอาจเลือกเรียนในสายวิศวะ แพทย์ ที่ดูดีมากกว่า? เขากล่าว

libraryhub ที่เริ่มต้นโดยมีเป้าหมายแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และรวบรวมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพนี้โดยเฉพาะ ปัจจุบันเว็บไซต์ได้รับการยอมรับให้เป็นประตูของกลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่า นักพัฒนาห้องสมุด ในยุค 2.0

?ทุกวันนี้ห้องสมุดเกือบทุกแห่งเริ่ม เอานำสื่อออนไลน์เข้ามาใช้ อย่างเช่น เฟซบุ๊ค แฟนเพจ เข้ามาใช้ บรรณารักษ์ในโลกยุคใหม่ที่สามารถทำหน้าที่เป็นคนป้อนความรู้ให้กับผู้อ่าน ได้เลย โดยไม่ต้องยัดเยียด ต่างจากทฤษฎีของบรรณารักษ์รุ่นเก่าที่ใครจะเข้ามาใช้ห้องสมุดต้องมาค้นหา ข้อมูลเอง? เขาอธิบาย

เมฆินทร์ เล่าว่า ห้องสมุดในบ้านกับต่างประเทศแตกต่างกันมาก ยกตัวอย่าง สหรัฐ อาชีพบรรณารักษ์ส่วนใหญ่มาจากสายไอที อีกทั้งมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางเช่น ชีวะ ธุรกิจ แพทย์ ซึ่งโจทย์ของบรรณารักษ์คือจะทำอย่างไรให้คนห้องสมุด และอ่านหนังสือมากขึ้น

ครั้งหนึ่ง เมฆินทร์ เคยแก้โจทย์ที่ว่าจะทำอย่างไรให้เด็กช่างกลเข้าห้องสมุด เขาคิดหาแผนการทุกวันทั้งที่ใช้แล้วได้ผลและไม่ได้ผล ตั้งแต่หลอกล่อโดยวิธีการแปะสกอร์ฟุตบอล ไว้ข้างบอร์ดหางานพิเศษ แสดงถึงคุณสมบัติของคนที่ต้องการ ซึ่งเขามองว่าบรรณารักษ์สามารถแนะนำหนังสือที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เด็กที่ไม่ เคยสนใจอ่านหนังสือเลยได้ลองอ่านดู

แม้จะไม่มีทักษะด้านงานเขียนมา ก่อน แต่ด้วยสไตล์เขียนแบบเล่าเรื่อง ช่วยสื่อสารให้คนเข้าใจดีกว่าเขียนเป็นทางการแต่ไม่มีใครอ่านเลย หลังจากเขียนไปสักระยะหนึ่งเริ่มมีการส่งต่อเนื้อหา คอมเม้นท์ และสร้างเป็นกลุ่มสังคมออนไลน์ ด้วยฐานสมาชิกประมาณ 700 คน เกิดเป็นคอมมูนิตี้ ห้องสมุดที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน

จนกระทั่งเครือ ข่ายเริ่มขยายตัว เกิดเป็นไลเบอร์เลี่ยนแมกาซีนออนไลน์ ไลเบอร์เลี่ยนออนไลน์ดอทคอม ไลเบอร์เลี่ยนทีวี ในขณะที่ตัวเขาเองรับหน้าที่เดินสายบรรยายและเป็นที่ปรึกษาให้ห้องสมุดหลาย ที่ คิดโครงการใช้ประโยชน์จากสื่อสังคมออนไลน์ เช่น รณรงค์ให้นักอ่านแบ่งบันหนังสือ โดยใส่แท็กในแฟซบุ๊ค รวมถึงจัดลิมแคปม์ เปิดเวทีสัมมนาเฉพาะกลุ่มสำหรับบรรณารักษ์ในยุคดิจิทัล

เขามองว่า งานห้องสมุดยังมีอีกหลายเรื่องที่ต้องทำ เช่นการจัดการระบบห้องสมุดที่มีอยู่กระจัดกระจายทั่วกรุงเทพให้อยู่บนฐาน ข้อมูลเดียวกัน โดยยึดแบบอย่างจากห้องสมุดในประเทศสิงคโปร์ที่มีองค์กรกลางเข้ามาดูแลจัดการ ในเรื่องหนังสือ ฐานข้อมูล ทำให้ห้องสมุดขนาดเล็กทำหน้าที่ให้บริการเพียงอย่างเดียว

ขณะที่ ห้องสมุดในเครือข่ายของห้องสมุดกรุงเทพ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 20 แห่ง ทำงานแยกส่วนกัน ซึ่งหากมีการทำงานเป็นภาพรวมก็จะทำให้เห็นสถิติการอ่านของคนกรุงเทพ ซึ่งมาจากข้อมูลที่มีตัวชี้วัดที่แน่นอน รวมถึงการปรับเปลี่ยนหนังสือในห้องสมุดระดับจังหวัดให้มีเนื้อหาตรวจกับความ ต้องการของท้องถิ่น

เขามองว่า การสร้างห้องสมุคในยุคใหม่ต้องเริ่มต้นจากการสำรวจความต้องการของคนใน พื้นที่ สำรวจว่าท้องถิ่นมุ่งไปทางไหนได้บ้าง ไม่ว่าจะเป็น เกษตรกรรม หัตถกรรม หรือการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับนักอ่านที่แท้จริง

?ห้องสมุดจะนั่งอยู่เฉยให้คนมาบอกว่าไม่พัฒนา จะยอมจำนน หรือต้องสู้เพื่อการพัฒนา? เขาตั้งคำถามไปยังบรณารักษ์ทั้งมวล

ประเด็นหลักๆ ที่ผมอ่านแล้วช็อคตั้งแต่แรกคือ การใช้ชื่อเรื่องที่ค่อนข้างแรง (กลัวเพื่อนๆ รับไม่ได้)
แต่เนื้อหาด้านในพออ่านแล้วก็น่าจะได้ข้อคิดบ้างนิดๆ หน่อยๆ นะครับ (อยากให้อ่านเนื้อมากกว่าชื่อเรื่อง)

เอาเป็นว่าคิดเห็นยังไงก็เอามาลองคุยกันหน่อยครับ ขอเชิญแสดงความคิดเห็นด้านล่างนี้นะครับ
แต่สุดท้ายนี้ประโยคด้านล่างสุดของบทความ ผมก็ยังคงอยากบอกเพื่อนๆ อยู่เหมือนเดิม

?ห้องสมุดจะนั่งอยู่เฉยให้คนมาบอกว่าไม่พัฒนา จะยอมจำนน หรือต้องสู้เพื่อการพัฒนา?

ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/global/20101209/366647/%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B0-%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7–.html

อัพเดทข่าวสารห้องสมุดจากเว็บหนังสือพิมพ์

ข่าวสารของห้องสมุดจริงๆ แล้วก็มีให้อ่านมากมายเลยนะครับ
วันนี้ผมจึงขอนำเสนอและสรุปข่าววงการห้องสมุดที่อยู่ในหนังสือพิมพ์ให้เพื่อนๆ ได้อ่านบ้างนะครับ

newspaper-library

วันนี้มีโอกาสได้เปิดดูเว็บไซต์ข่าวหนังสือพิมพ์มากมาย
เลยขอถือโอกาสค้นข่าวและบทความที่เกี่ยวกับวงการห้องสมุดขึ้นมาอ่านดูบ้าง
บางข่าวและบทความเพื่อนๆ คงอ่านแล้ว แต่บางข่าวและบทความก็อาจจะเป็นเรื่องที่ใหม่ก็ได้
ยังไงก็ลองอ่านๆ ดูกันนะครับ เก็บเป็นไอเดียรวมๆ กัน คงจะมีอะไรให้คิดเล่นๆ ดู

ผมขอนำเสนอข่าวและบทความห้องสมุดสัก 5 ข่าวนะครับ

1. “ทน.ขอนแก่น”สร้างสังคมแห่งการอ่าน ส่งความรู้เดลิเวอรี่กับโครงการบุ๊กไบค์
สรุปประเด็นที่ได้จากการอ่าน
– เทศบาลนครขอนแก่น จัดทำโครงการนำหนังสือสู่มือน้อง (Book Bike) โดยให้สมาคมไทสร้างสรรค์เป็นผู้ดำเนินการ
– เป็นโครงการที่ต่อยอดมาจากการโครงการ “รถนิทาน” ที่จัดทำในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามัน
– วิธีการ คือ เตรียมรถจักรยานยนต์บุ๊กไบค์ มาให้ 2 คันเพื่อให้เจ้าหน้าที่นำหนังสือไปแจกในชุมชน
– เป็นโครงการที่ส่งเสริมการรักการอ่านให้กับเยาวชน

อ่านข่าวแบบต้นฉบับ

2. ศธ.ปั้นห้องสมุด3ดีชูหนังสือ-บรรยากาศ-บรรณารักษ์เจ๋ง
สรุปประเด็นที่ได้จากการอ่าน
– โครงการห้องสมุด 3ดี ได้แก่ ห้องสมุดที่มีหนังสือดี บรรยากาศดีส่งเสริมการอ่าน และต้องมีบรรณารักษ์ดี
– ให้ความสำคัญกับห้องสมุดในสถานศึกษา
– หนังสือดี = เน้นในการจัดหาหนังสือที่ดีให้กับเยาวชนมากๆ
– บรรยากาศดี = ปรับปรุงให้มีบรรยากาศเหมาะกับการอ่านหนังสือ
– บรรณารักษ์ดี = บรรณารักษ์ที่ให้คำแนะนำดีๆ กับผู้ใช้บริการ

อ่านข่าวแบบต้นฉบับ

3. “อยากเห็นห้องสมุดมีชีวิต”ความห่วงใยในสมเด็จพระเทพฯ
สรุปประเด็นที่ได้จากการอ่าน
– การมีนิตยสารสารคดีต่างๆ จะทำให้ผู้ใช้บริการได้รับความรู้มากมาย
– การมีห้องสมุด บรรณารักษ์จะต้องพยายามผลักดันให้ผู้ใช้มาใช้บริการมากๆ
– อย่าทำให้ห้องสมุดเป็นเพียงแค่ที่เก็บหนังสือเพียงอย่างเดียว

อ่านข่าวแบบต้นฉบับ

4. ห้องสมุดคือปัญญาดั่งยาแสนวิเศษ
สรุปประเด็นที่ได้จากการอ่าน
– นอกจากห้องสมุดประชาชนจะต้องมีหนังสือบริการแล้ว ข้อมูลท้องถิ่นก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่ใช่น้อยเลยนะครับ
– ห้องสมุดประชาชน เปรียบเสมือนเป็นศูนย์การเรียนรู้นอกห้องเรียนอีกทางเลือกหนึ่ง
– ความรู้ท้องถิ่นจะต้องถูกสั่งสม และเรียนรู้โดยคนในท้องถิ่นเป็นพื้นฐาน
– ห้องสมุดควรสนับสนุนกิจกรรม และสร้างนิสัยการรักการอ่านให้กับประชาชน

อ่านข่าวแบบต้นฉบับ

5. “อุทยานการเรียนรู้” เมืองอ่างทอง แหล่งศึกษาเรียนรู้ชุมชนตลอดชีพ
สรุปประเด็นที่ได้จากการอ่าน
– เทศบาลเมืองอ่างทอง จัดสร้าง “อุทยานการเรียนรู้” เพื่อใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นภายในชุมชน
– “ความรู้” ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในสังคมยุคปัจจุบัน
– มนุษย์ยิ่งอ่านมากยิ่งรู้มาก ยิ่งทำมากก็ยิ่งมีประสบการณ์มาก เมื่ออ่านและทำตลอดเวลาก็จะมีความรู้และประสบการณ์ตลอดชีวิต
– อุทยานเรียนรู้ = ตลาดวิชา + ตลาดอาชีพ + ตลาดปัญญา

อ่านข่าวแบบต้นฉบับ

นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างข่าวและบทความห้องสมุดที่ผมได้ยกมาให้อ่านนะครับ
หากเพื่อนๆ มีเวลาเปิดอ่านเรื่องแบบต้นฉบับ
ผมว่ามันก็จะยิ่งเพิ่มความเข้าใจในเรื่องการจัดทำ และการให้บริการในห้องสมุดมากขึ้นด้วย

เอาเป็นว่าผมขอตัวไปอ่านข่าวและบทความเหล่านี้ก่อนนะครับ
แล้วว่างๆ ผมจะกลับมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังอีกที

ปล. ข่าวต่างๆ ที่ผมค้นมา มีที่มาจากเว็บไซต์ของ หนังสือพิมพ์ คอม ชัด ลึก นะครับ
เพื่อนๆ สามารถอ่านข่าวและบทความที่เกี่ยวกับห้องสมุด ในหนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก ต่อได้ที่
http://www.komchadluek.net/search.php?search=%CB%E9%CD%A7%CA%C1%D8%B4

เรื่องของเรื่อง “บรรณารักษ์แนวใหม่ กว่าจะได้ต้องใช้เวลาอีกกี่ชาติ”

หลังจากที่อ่านบทความ “บรรณารักษ์แนวใหม่ กว่าจะได้ต้องใช้เวลาอีกกี่ชาติ” แล้ว
ผมรู้สึกว่า ผมมีความเห็นที่แย้งกับบทความนี้ และยังมองต่างมุมกับบทความนี้อยู่
เลยจำเป็นต้องเขียนถึงเรื่องนี้หน่อยนึง

? Read more