มีข่าวฝากมาประชาสัมพันธ์อีกแล้วครับ งานนี้ผมได้เป็นหนึ่งในวิทยากรซะด้วย หากเพื่อนๆ สนใจเรื่องที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี หรือ การพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT Literacy) ผมแนะนำว่าไม่ควรพลาด
บทบาท
บทบาทของห้องสมุดและบรรณารักษ์ต่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนว่า บทความนี้ผมเขียนเพื่อร่วมสนุกในบล็อก Gotoknow ดังนั้นถ้าเพื่อนๆ จาก gotoknow มาพบบทความนี้ ขอให้เข้าใจว่าบทความนี้เป็นของ “นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์” หรือ “Projectlib” หรือ “km_library” ใน Gotoknow นั่นเอง
ใน Gotoknow ให้เขียนเรื่อง “บทบาทของห้องสมุดและบรรณารักษ์ต่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21” โดยตอบคำถามดังต่อไปนี้
– ห้องสมุดควรมีบริการอะไรบ้าง
– ห้องสมุดควรมีบทบาทในการส่งเสริมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนรู้หรือไม่
– บรรณารักษ์ควรมีบทบาทเป็นผู้กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้อย่างไร
– เทคโนโลยีการสืบค้นข้อมูลควรปรับเปลี่ยนหรือไม่
– บรรยากาศสิ่งแวดล้อมในห้องสมุดน่าจะเป็นอย่่่างไร
– บรรณารักษ์ควรเป็นผู้ที่คอยช่วยส่งเสริมทักษะการเรียนรู้อะไรบ้างให้แก่ผู้เรียนหรือประชาชนทั่วไป
– ห้องสมุดประชาชนกับห้องสมุดโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยควรจะเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
เอาเป็นว่าผมขอตอบคำถามทีละข้อแล้วกันนะครับ
ปล. ผมขอตอบทีละคำถาม (ต่างจากบล็อกของผมใน Gotoknow)
1. ห้องสมุดควรมีบริการอะไรบ้าง
ตอบ – ภาพเดิมๆ ของเราเกี่ยวกับห้องสมุด คือ สถานที่ที่ให้บริการเกี่ยวกับการอ่านหนังสือ การสืบค้นหนังสือ ทรัพยากรสำคัญของห้องสมุดคือหนังสือ แต่โลกได้เปลี่ยนไปมากเมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตเราค่อนข้างเยอะ ห้องสมุดควรบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าเพื่อคลายข้อสงสัยให้กับผู้ใช้บริการ ควรบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าให้ผู้ที่ต้องการข้อมูลเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยคำตอบและข้อมูลที่ให้กับผู้ใช้บริการบางทีอาจไม่ได้เก็บอยู่ในรู้แบบหนังสือก็ได้ เช่น บางองค์ความรู้อยู่ในตัวบุคคล ห้องสมุดก็เชิญเขามาพูดหรือเป็นวิทยากรก็ได้ ห้องสมุด คือ พื้นที่ที่ให้บริการข้อมูล ความรู้ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
2. ห้องสมุดควรมีบทบาทในการส่งเสริมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนรู้หรือไม่
ตอบ – ควรมี เพราะห้องสมุดคือสถานที่ที่รวบรวมความรู้ ซึ่งไม่ได้มีแค่หนังสือเท่านั้น แต่ห้องสมุดจะเป็นสถานที่ที่มีจุดเชื่อมโยงระหว่างองค์ความรู้ต่างๆ ห้องสมุดไม่สามารถเก็บหนังสือได้ทุกเล่มบนโลก แต่ห้องสมุดจะเป็นคนบอกให้คุณรู้ว่าที่ไหนมีความรู้อะไร ที่ไหนมีข้อมูลอะไร และที่ไหนที่จะแก้ข้อสงสัยที่คุณอยากรู้ได้ ดังนั้นเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลและความรู้ กระบวนการหนึ่งที่ห้องสมุดต้องให้ความสำคัญ คือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เริ่มจากคนที่ทำงานในห้องสมุด ผู้ใช้บริการ …..
3. บรรณารักษ์ควรมีบทบาทเป็นผู้กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้อย่างไร
ตอบ –บรรณารักษ์ไม่ใช่แค่คนที่นั่งเฝ้าหนังสือเพียงอย่างเดียว แต่บรรณารักษ์จะต้องรู้จักหนังสือในห้องสมุดทั้งหมดด้วย การที่ผู้ใช้บริการมาสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือ แล้วบรรณารักษ์สามารถเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ได้รอบห้องสมุดนับเป็นสิ่งที่ผมอยากเห็นมากๆ หรือแม้แต่การเปลี่ยนบทบาทของบรรณารักษ์ให้กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านหนังสือก็ยิ่งดี เช่น เมื่อคนเข้ามาในห้องสมุดแล้วต้องการรู้วิธีการรักษาสุขภาพ บรรณารักษ์ก็จะแนะนำหนังสือพร้อมทั้งบอกได้ว่าเล่มไหนอ่านดี เล่มไหนอ่านง่าย ช่วยชี้นำทำให้เกิดการเรียนรู้และความสนใจในการอ่านหนังสือของผู้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้น
4. เทคโนโลยีการสืบค้นข้อมูลควรปรับเปลี่ยนหรือไม่
ตอบ – ควรเปลี่ยนอย่างยิ่ง การสืบค้นหนังสือในห้องสมุดอย่างเดียว เดี๋ยวนี้ผมว่าไม่พอแล้วหล่ะครับ การค้นหาหนังสือแบบเดิมๆ คือ การค้นชื่อหนังสือ ชื่อผู้แต่ง สถานที่จัดเก็บ โลกที่ผมอยากเห็นคือการสืบค้นข้อมูลของหนังสือที่นำไปสู่บทวิจารณ์หนังสือ (ความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหลังจากที่อ่านหนังสือ ผมว่ามันมีค่าไม่ต่างจากเนื้อเรื่องในหนังสือเลย) หรือการที่เรามีปฏิสัมพันธ์กับระบบสืบค้นหนังสือ เช่น สามารถกำหนดคำสืบค้นให้กับหนังสือที่เราสืบค้นได้ (การที่บรรณารักษ์เป็นคนกำหนดคำสืบค้นต่างๆ ให้หนังสือ บางครั้งทำให้ผู้ค้นสืบค้นไม่เจอ เพราะคำศัพท์ที่บรรณารักษ์นำมาใช้มาจากตำราการให้หัวเรื่อง)
5. บรรยากาศสิ่งแวดล้อมในห้องสมุดน่าจะเป็นอย่่่างไร
ตอบ – ห้องสมุดแบบเดิมๆ ต้องมีบรรยากาศเงียบสงบ ใครส่งเสียงดังก็เหมือนคนทำผิดร้ายแรง จริงๆ แล้วสำหรับผมการที่ห้องสมุดมีเสียงบ้างไม่ใช่เรื่องน่าแปลก เพราะการที่คนได้อ่านหนังสืออาจมีเรื่องที่สงสัยหรือเรื่องที่ต้องอภิปรายกัน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในห้องสมุดก็จำเป็นที่ต้องใช้เสียง ไม่เคยมีใครบอกเลยนะครับว่า การเรียนรู้ต้องนั่งเงียบๆ แล้วจะเรียนรู้ได้ดี (สำหรับผมการเรียนรู้เกิดจากการพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และห้องสมุดควรเป็นสถานที่เอื้อให้เกิดสิ่งนี้)
6. บรรณารักษ์ควรเป็นผู้ที่คอยช่วยส่งเสริมทักษะการเรียนรู้อะไรบ้างให้แก่ผู้เรียนหรือประชาชนทั่วไป
ตอบ –อย่างแรกที่บรรณารักษ์ควรเป็น คือ การแนะนำเรื่องกระบวนการในการเปลี่ยนความรู้ อ่านหนังสือเสร็จให้ผู้ใช้บริการลองเขียนวิจารณ์หนังสือ หรือ ชวนพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องที่ผู้ใช้บริการอ่าน ผมว่าคนเราถ้าได้พูดคุยกัน ได้แลกเปลี่ยนความรู้กันมันทำให้เรายิ่งรู้มากขึ้นด้วย
7. ห้องสมุดประชาชนกับห้องสมุดโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยควรจะเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ –ปัจจุบันนี้ห้องสมุดโรงเรียนหรือห้องสมุดมหาวิทยาลัยบางแห่งก็เปิดให้บริการแก่บุคคลภายนอกด้วย (ประชาชนทั่วไป) ซึ่งการให้บริการความรู้ผมว่าทั้งสองแบบเหมือนกัน แต่อาจจะต่างกันที่เนื้อหาสาระมากกว่า เช่นในห้องสมุดประชาชนก็เน้นหนังสือที่ผู้ใช้บริการอ่านง่าย ไม่ซับซ้อนอะไรมาก ส่วนห้องสมุดโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยก็จะมีเนื้อหาที่เข้มข้นขึ้นและเนื้อหาเชิงวิชาการที่มากขึ้น
เอาเป็นว่าผมขอตอบแบบนี้ตามความคิดเห็นของผมนะ
นี่แหละ บทบาทของห้องสมุดและบรรณารักษ์ต่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่ผมอยากเห็น
บทบาทของห้องสมุดต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ การเงิน และการพัฒนาคน
หัวข้อในวันนี้ที่ผมเอามาโพสลง เป็นหนึ่งในหัวข้อที่ผมได้รับเกียรติให้ไปบรรยายและเป็นผู้ดำเนินรายการด้วย งานนี้เป็นงานสัมมนาวิชาการ ความรู้ทางเศรษฐกิจ การเงิน และการพัฒนาคน สำหรับผู้ปฏิบัติงานสารสนเทศ ซึ่งจัดไปเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2555 ณ ห้องประชุมป๋วย อึ๊งภากรณ์ อาคาร 1 ชั้น 4 ธนาคารแห่งประเทศไทย
สำหรับผู้ที่ไม่ได้ไปฟังผมวันนั้น ผมจึงขอเอาเรื่องที่ผมบรรยายมานำเสนอให้อ่านสักหน่อย (http://www.libraryhub.in.th/2012/07/11/seminar-economic-finance-human-and-library-role/)
เอาเป็นว่าไปชมสไลด์ของผมกันก่อนดีกว่า
บทบาทของห้องสมุดต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ การเงิน และการพัฒนาคน
[slideshare id=15010099&doc=libraryrolefordevelopsocial-121103113039-phpapp02]
สรุปจากสไลด์
ก่อนเริ่มต้นบรรยายอย่างเป็นทางการผมได้เกริ่นถึงความสำคัญของห้องสมุดที่เป็นมากกว่าแค่ห้องเก็บหนังสือ เพราะสถานที่แห่งนี้ถือเป็นสัญลักษณ์ของการเรียนรู้ของประเทศได้อย่างดีทีเดียว ประเทศที่พัฒนาแล้วมักเห็นความสำคัญของการพัฒนาห้องสมุด…
ห้องสมุด ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญาของชุมชน เอาง่ายๆ ว่าห้องสมุดเหมือนกับ สวนสัตว์ พิพิธภัณฑ์ ศูนย์วิทยศาสตร์ ท้องฟ้าจำลอง ฯลฯ
ห้องสมุดถูกจัดอยู่ในหน่วยงานที่สนับสนุนการศึกษานอกระบบ – เพราะการจะใช้ห้องสมุดเราไม่ได้มีแบบแผนตายตัวเหมือนหลักสูตรที่จัดในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยนั่นเอง
โครงสร้างพื้นฐานแบบไม่เป็นทางการเหล่านี้ จะช่วย :–
– สนับสนุนแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ทุกคนมีโอกาสได้เข้าถึงอย่างเท่าเทียมกัน
– บ่มเพาะภูมิปัญญาในระดับบุคคลที่ทำให้ความรู้และรสนิยมของผู้คน
– ผลิตองค์ความรู้ที่หลากหลาย ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
ห้องสมุดช่วยพัฒนาเมืองได้อย่างไร
– การเป็นส่วนหนึ่งของแผนการฟื้นฟูตัวเมือง ตัวอย่างที่เห็นชัด คือ หอสมุดกลางซีแอตเติล (Seattle Public Library) ใครจะไปเมืองนี้ต้องไม่พลาดที่จะเข้าชมห้องสมุดแห่งนี้
– ต้นแบบของสิ่งปลูกสร้างรุ่นใหม่ ตัวอย่างคือ อาคารหอสมุดกลาง ประเทศสิงคโปร์ อาคารห้องสมุดที่ได้รับรางวัลอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ปี 2005 หลังจากนั้นทำให้หลายๆ อาคารและหลายๆ หน่วยงานต้องเข้ามาศึกษาดูงานและขอคำปรึกษา
– พัฒนาเมืองด้วยการเป็นศูนย์รวมและสถานที่ยึดเหนี่ยวของชุมชน ตัวอย่างอยู่ไม่ไกล คือ อุทยานการเรียนรู้จังหวัดยะลา (TK park Yala) อีกตัวอย่างของการพัฒนาเมืองด้วยการพัฒนาห้องสมุด เมื่อมีห้องสมุดหรือแหล่งเรียนรู้ดีๆ ในพื้นที่ ผู้คนในพื้นที่ก็จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
นอกจากช่วยพัฒนาเมืองแล้วยังช่วยพัฒนาเศรษฐกิจด้วย จากรายงานเรื่อง “ประโยชน์และผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์ของห้องสมุดประชาชนในรัฐฟลอริดา” พบว่าผู้ที่อยู่ในแวดวงธุรกิจไม่เพียงแต่เห็นพ้องกันว่า “ธุรกิจท้องถิ่นได้ประโยชน์อย่างมากจากการที่ห้องสมุดทำหน้าที่สนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ”
ห้องสมุดประชาชนกรีนส์โบโร (Greensboro (NC) Public Library) ร่วมกับโครงการประกาศนียบัตรด้านการจัดการที่ไม่หวังผลกำไร มหาวิทยาลัยดุ๊คส์ (Duke University) จัดการอบรมและเวิร์คช็อปโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายจำนวน 35 คอร์ส หัวข้อต่างๆ เช่น การเขียนเอกสารขอทุน การหาทุน การเขียนแผนธุรกิจ และการตลาด
ห้องสมุดสามารถช่วยพัฒนาคนทำให้คนได้งานทำ ซึ่งห้องสมุดประชาชนยุคใหม่ จะมีการนำเสนอข้อมูลตำแหน่งงานว่าง การฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ การอ่านออกเขียนได้ ให้คำปรึกษาด้านการเขียนใบสมัครงาน ประวัติย่อ และจดหมายนำการสมัครงาน
บทบาทที่กล่าวมาถูกพิสูจน์ได้ด้วยเครื่องมือในการวัดผลตอบแทนของการมีห้องสมุด (เรื่องนี้ผมเคยเขียนไปแล้ว อ่านต่อได้ที่ http://www.libraryhub.in.th/2011/08/19/cost-benefit-analysis-for-us-public-libraries/)
เอาเป็นว่านี่ก็เป็นเพียงผลสรุปที่ผมนำมาฝากให้เพื่อนๆ อ่านนะครับ
ปล. ต้องขออภัยผู้ร่วมบรรยายอีกท่านด้วย ที่ไม่ได้สรุปข้อมูลของท่านในครั้งนี้ แล้วผมจะนำมาสรุปอีกครั้งให้เพื่อนๆ อ่านนะครับ
ผู้บริหารคาดหวังว่าบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนควรเป็นอย่างไร
หมายเหตุก่อนการอ่าน : หัวข้อในวันนี้อาจจะดูรุนแรงสักนิดหน่อย แต่ถ้าได้อ่านเนื้อเรื่องจริงๆ แล้วจะรู้สึกว่ามันไม่ได้แรงเหมือนที่คิดนะครับ
ที่มาของหัวข้อในวันนี้มาจากเอกสารที่ผมค้นพบโดยบังเอิญ ซึ่งเอกสารที่ว่านี้มีชื่อว่า
“What should an Administrator expect a School Library Media Specialist to be”
ซึ่งชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าผู้บริหารคาดหวังว่าบรรณารักษ์ห้องสมุดในโรงเรียนควรทำอะไรได้บ้าง
ผมว่าบทความนี้นอกจากจะเหมาะกับครูบรรณารักษ์หรือบรรณารักษ์ในโรงเรียนแล้ว
ผมขอแนะนำให้บรรณารักษ์ในห้องสมุดทุกประเภทได้อ่านด้วยเพราะน่าจะนำมาประยุกต์ได้
บรรณารักษ์ห้องสมุดในโรงเรียนควรทำอะไรได้บ้าง
– ผู้สอน ครู อาจารย์ในเรื่องของการวรรณกรรมหรือสารสนเทศด้านต่างๆ
– ผู้ประสานงาน หรือ ประสานความร่วมมือกับส่วนต่างๆ ในโรงเรียน
– ผู้ชี้แหล่งสารสนเทศ ช่วยตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าสารสนเทศเพิ่มเติม
– ผู้กระจายข้อมูลข่าวสารให้ผู้บริหาร ครู นักเรียน พ่อแม่ และชุมชนได้รู้ถึงกิจกรรมต่างๆ ของห้องสมุด
– ผู้นำด้านแนวความคิดและจุดประกายไอเดียในการเรียนรู้
– ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนางาน พวกเราสามารถออกแบบและนำเสนองานเพื่อการพัฒนาโรงเรียนได้
– ผู้สร้างนวัตกรรม ห้องสมุดสามารถนำสิ่งใหม่ๆ กิจกรรมใหม่ๆ แนวความคิดใหม่ๆ มาทดลองใช้ได้
– ผู้ที่รักในการเรียนรู้ ความสามารถในการเรียนรู้มีได้อย่างไร้ขีดจำกัด
– ผู้รวบรวมและผนวกการนำเทคโนโลยีมาใช้ โดยเฉพาะแนวความคิดเกี่ยวกับสื่อสังคมออนไลน์และเครือข่ายสังคมออนไลน์
แต่ทั้งหมดทั้งปวงบรรณารักษ์ห้องสมุดในโรงเรียนไม่สามารถทำงานด้วยตัวคนเดียวได้ ต้องอาศัยความร่วมมือและความช่วยเหลือของผู้บริหารและครูท่านอื่นๆ ในโรงเรียนด้วยจึงจะช่วยให้ห้องสมุดประสบความสำเร็จ
เอาเป็นว่าบรรณารักษ์ห้องสมุดในโรงเรียนที่กล่าวมาสามารถเป็นได้ยิ่งกว่าบรรณารักษ์ที่แค่นั่งให้บริการในห้องสมุดโรงเรียนก็แล้วกันครับ ผมเองก็คาดหวังให้เพื่อนๆ ได้เปลี่ยนแปลงตนเองเช่นกันครับ
ดาวน์โหลดเอกสารต้นฉบับได้ที่ http://hoorayforbooks.pbworks.com/f/lms+evaluation+ideas.pdf
ส่วนภาพ Infographic จาก http://yourteacherlibrarian.wikispaces.com/Are+You+Ready%3F
สัมมนาวิชาการ “บทบาทของบรรณารักษ์กับการวิจัย”
วันนี้มีกิจกรรมดีๆ ในวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มาแนะนำอีกแล้วนะครับ วันนี้มาแบบวิชาการนิดนึง คือ งานสัมมนาวิชาการที่จัดโดยนักศึกษาบรรณารักษ์ระดับบัณฑิตศึกษา ม.รามคำแหง เอาเป็นว่าไปอ่านรายละเอียดกันเลยครับ
รายละเอียดการสัมมนาวิชาการเบื้องต้น
ชื่องานภาษาไทย : บทบาทของบรรณารักษ์กับการวิจัย
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุมพวงแสด ชั้น 2 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
วันและเวลาที่จัด : วันอังคารที่ 24 เมษายน 2555 เวลา 8.00-16.30 น.
ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วม : ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ
เท่าที่อ่านรายละเอียดของโครงการฯ คาดว่าเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา
ดังนั้นจากหัวข้องานสัมมนาและหน่วยงานที่จัดงานย่อมเต็มไปด้วยวิชาการล้วนๆ แน่นอนครับ
กำหนดการแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ
ช่วงเช้าจะเป็นหัวข้อ : บทบาทของบรรณารักษ์กับการวิจัย
ช่วงบ่ายจะเป็นการนำเสนอวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา
วิทยากรที่มาบรรยาในช่วงเช้า คือ รองศาสตราจารย์ ดร.สมพร พุทธาพิทักษ์ผล และรองศาสตราจารย์ ดร. พิมลพรรณ ประเสริฐวงษ์ เรพเพอร์
เอาเป็นว่าถ้าใครสนใจในแวดวงงานวิจัย หรือสนใจที่จะเรียนต่อในระดับบัณฑิตศึกษา ก็ควรเข้าฟังนะครับ เพราะคงได้หลักการ และสาระความรู้ที่เกี่ยวกับการนำไปใช้ได้ดีทีเดียว
รีบหน่อยนะครับ เพราะว่าต้องสมัครก่อนวันที่ 20 เมษายน 2555 นะครับ
(ในแบบฟอร์มที่ส่งบอกว่าให้ส่งก่อนวันอบรม 3 วันทำการ)
สุดท้ายนี้ใครที่สนใจงานสัมมนาวิชาการครั้งนี้ กรุณาอ่านรายละเอียดที่ http://www.webblog.rmutt.ac.th/yaowaluk/2012/04/07/%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9F%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87/
หรือจะติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่คุณเสาวณีย์ ไตรวิทยาศิลป์
โทร. 081-453-3394 , Mail: lisru-ram@hotmail.com
เอาเป็นว่าหัวข้อก็น่าสนใจ วิทยากรก็น่าสนใจ ไปกันเยอะๆ นะครับ
ห้องสมุดในอนาคตขึ้นอยู่กับบรรณารักษ์ในปัจจุบัน
ช่วงนี้บล็อกของผมเริ่มเป็นที่รู้จักของหลายๆ คน ดังนั้นจึงมีคำถามมากมายส่งมาให้ผมตอบ
หนึ่งในนั้นก็มีคำถามเกี่ยวกับทิศทางและแนวโน้มของห้องสมุด
จริงๆ แล้วก็อยากจะนำมาเล่าให้ฟังหลายครั้งแล้วหล่ะครับ
เกี่ยวกับคำถามข้อนี้ โจทย์ที่ตั้งมาคือ ?คิดว่าห้องสมุดในอนาคตจะเป็นอย่างไร?
ก็อื่นต้องขอแจ้งไว้ล่วงหน้าว่า ผมอาจจะไม่ได้เก่งอย่างที่หลายๆ คนคาดหวังไว้
แต่คำตอบนี้ถือว่าเป็นความคิดส่วนตัว ดังนั้นอาจจะมองไม่เหมือนกับหลายๆ คนก็ได้
คำถาม : ?คิดว่าห้องสมุดในอนาคตจะเป็นอย่างไร?
คำตอบ : ห้องสมุดในอนาคต สำหรับผมตอนนี้คิดว่า ขึ้นอยู่กับบรรณารักษ์ในปัจจุบันนี้นั่นแหละ
ว่าจะสร้างภาพลักษณ์ หรือลักษณะงานบริการในห้องสมุดอย่างไร ทางเลือกมี 2 ทาง คือ
– หากบรรณารักษ์ประยุกต์งานบริการต่างๆ จัดกิจกรรม นำเทคโนโลยี และใฝ่หาความรู้ใหม่ๆ
มาพัฒนาห้องสมุดแล้ว ในอนาคตห้องสมุดก็จะเปลี่ยนบทบาทเป็น ศูนย์ที่ชี้นำ หรือ ชี้แหล่งสารสนเทศ
ให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ สิ่งพิมพ์ เว็บไซต์ ฐานข้อมูล ฯลฯ
ห้องสมุดจะถูกแทนด้วย ศูนย์สารสนเทศ หรือ ศูนย์การเรียนรู้ ได้อย่างสมบูรณ์
– หากบรรณารักษ์ยังคงดำเนินงานในรูปแบบเดิมๆ เหมือนที่เป็นอยู่ ไม่ยอมรับเทคโนโลยี
ไม่สนใจผู้ใช้บริการ และคิดเพียงแค่ว่าทำงานแบบนี้ยังไงห้องสมุดก็ไม่ถูกปิดหรอก
ครับ แน่นอนว่าไม่ถูกปิด แต่ภาพห้องสมุดในอนาคตของห้องสมุดลักษณะนี้
คงไม่ต่างอะไรไปจากหอจดหมายเหตุ หรือ พิพิธภัณฑ์ที่เก็บหนังสือมากมายแทน
ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่ผมอยากจะบอกบรรณารักษ์หลายๆ คนก็คือ
ห้องสมุด และ บรรณารักษ์ในปัจจุบัน เราต้องปรับตัวเองให้เข้ากับผู้ใช้ห้องสมุดให้ได้มากที่สุด
เข้าถึงผู้ใช้ให้ได้มากที่สุด และต้องเข้าถึงหัวใจหรือรับรู้ความรู้สึกของผู้ใช้ให้ได้มากที่สุดด้วย
แล้วเราจะรู้ว่าผู้ใช้ต้องการอะไร
ถึงตอนนั้นผมเชื่อ และหวังว่าจะเห็นห้องสมุดที่มีแต่คนบอกว่า
?วันนี้ไปหาอะไรทำที่ห้องสมุดดีกว่า? หรือ ?ไปห้างสรรพสินค้าทำไม ไปห้องสมุดแหละมีอะไรให้ทำตั้งเยอะ?