คนทำงานด้านห้องสมุดจำเป็นต้องจบบรรณารักษศาสตร์หรือไม่

นานมากแล้วที่ผมไม่ได้ถามความคิดเห็นของเพื่อนๆ ผ่านทาง Library poll วันนี้ผมจึงขอตั้งคำถามแบบง่ายๆ ที่เกี่ยวกับวิชาชีพของเราให้เพื่อนๆ ช่วยกันตอบ

ซึ่งคำถามในวันนี้มาจากประโยคบอกเล่าต่างๆ เช่น
“ใครๆ ก็เป็นบรรณารักษ์ได้”
“เอาใครมาทำงานห้องสมุดก็ได้”
“งานห้องสมุดง่ายๆ ใครๆ ก็ทำได้”

เมื่อได้ฟังแล้วเพื่อนๆ มีความคิดเห็นอย่างไร เห็นด้วยหรือไม่ครับ

เอาเป็นว่าไปโหวตกันได้เลย

[poll id=”26″]

เอาเป็นว่าช่วยกันโหวตเยอะๆ นะครับ
แล้ววันหลังผมจะมาเขียนบทความนี้ให้อ่านครับ

บรรณารักษศาสตร์ เท่ากับ สารสนเทศศาสตร์ หรือไม่

ขอออกตัวก่อนนะครับที่เขียนไม่ได้ว่าจะชวนทะเลาะหรือสร้างความแตกแยก แต่คำถามนี้เป็นคำถามที่ผมได้ยินบ่อยมากๆ และจากประสบการณ์ตรงในช่วงผมเป็นนักศึกษา (รุ่นผมชื่อบรรณารักษศาตร์และสารสนเทศศาสตร์ แต่หลังจากรุ่นผมไปแล้วใช้คำว่า การจัดการสารสนเทศ) วันนี้ผมว่าเด็กๆ หรือแม้แต่ผู้ใหญ่เองก็อาจสับสนบ้างว่ามันเหมือนหรือต่างกันอย่างไร

ปล. ที่เขียนบทความนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของผม ถูกผิดหรือไม่แล้วแต่ความเข้าใจของแต่ละคน

หลายๆ สถานศึกษาเริ่มมีการเปลี่ยนชื่อหลักสูตรวิชา หรือ บางแห่งเปลี่ยนชื่อภาควิชาไปเลยก็มี

คำถามที่ผมคาใจมากๆ คือ “ทำไมต้องเปลี่ยนชื่อสาขาวิชานี้” “ชื่อสาขานี้มันล่าสมัยจริงหรือ”
เหตุผลที่ผมได้ยินและได้คุยกับอาจารย์บางท่าน คือ
– “ถ้าไม่เปลี่ยนแล้วเด็กจะไม่เข้ามาเรียนในสาขานี้”
– “ถ้าเด็กเข้ามาไม่ได้ตามจำนวน ภาควิชาก็ไม่สามารถเปิดสอนได้”
– “สาขาวิชามีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาที่เน้นเรื่องเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้น”
– “เด็กที่จบไปจะได้ชื่อหลักสูตรที่สวยหรู สามารถทำงานอะไรก็ได้”

เอาเป็นว่าเหตุผลต่างๆ มากมายที่ผมก็ขอรับฟัง
แต่…เคยคิดกันหรือไม่ว่า….ประเด็นนี้จะทำให้เด็กสับสน

“หนูไม่รู้นี่ว่าสารสนเทศศาตร์ คือ สอนให้หนูเป็นบรรณารักษ์ หนูนึกว่าเข้ามาเรียนคอมพิวเตอร์”
“การจัดการสารสนเทศน่าจะสอนการจัดการข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ในรูปแบบอื่นๆ ที่ไม่ใช่อิงแต่เรื่องห้องสมุด”
“เข้ามาเพราะชื่อหลักสูตรเท่ห์จัง แต่ทำไมเรียนเรื่องเกี่ยวกับห้องสมุด”

สถานศึกษาบางแห่งเปลี่ยนชื่อหลักสูตรก็จริงแต่เนื้อหาในรายวิชาเกือบครึ่งหนึ่งก็ยังคงเป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุดอยู่ดี บางแห่งไม่ได้เปลี่ยนรายวิชาด้านในเลยด้วยซ้ำ จากประเด็นแบบนี้ จึงเป็นประเด็นที่ทำให้เด็กส่วนใหญ่สับสนกับหลักสูตร หรือ วิชาที่เรียน

จากกรณีเรื่องของชื่อหลักสูตร หรือ ชื่อของภาควิชา ผมขอพูดถึงสภาพของเด็ก 3 กลุ่มให้ฟังคร่าวๆ คือ
1. “รู้ว่าบรรณารักษ์เป็นส่วนหนึ่งของสารสนเทศอยู่แล้ว และตั้งใจมาเรียนเรื่องนี้โดยเฉพาะ” พูดง่ายๆ ว่าใจรักอ่ะครับ เด็กพวกนี้ไม่ค่อยมีปัญหาสักเท่าไหร่ เพราะใจเขามาด้านนี้โดยตรงอยู่แล้ว
2. “รู้และเข้าใจว่าสารสนเทศคือการเรียนคอมพิวเตอร์ แต่พอมาเจอเนื้อหาของแต่ละวิชา ก็ได้แต่ทำใจและยอมรับสภาพ” พูดง่ายๆ ว่า อดทนให้เรียนจบแล้วเดี๋ยวไปหางานอย่างอื่นทำ กลุ่มนี้ก็พบมากมาย เด็กส่วนหนึ่งที่จบไม่ได้กลับมาทำงานตามสายที่เรียน
3. “รู้และเข้าใจว่าสารสนเทศคือการเรียนคอมพิวเตอร์ แต่เมื่อเข้ามาเรียนและรู้ว่าไม่ใช่ก็ลาออกไปเรียนอย่างอื่น หรือ ฝืนเรียนแต่ก็รับไม่ได้” พูดง่ายๆ ว่า เมื่อไม่ใช่ทางที่คิดไว้ก็ไปทางอื่นดีกว่า

เรื่องของชื่อว่า “บรรณารักษศาสตร์” หรือ “สารสนเทศศาสตร์” แท้จริงแล้วมันเท่ากันหรือไม่
แค่ชื่อก็ไม่เหมือนกันแล้ว ผมบอกได้ตรงๆ ครับว่า อาชีพ “บรรณารักษ์” กับ “นักสารสนเทศ” มันก็ต่างกัน

อาชีพ “บรรณารักษ์” กับ “นักสารสนเทศ” ต่างอย่างไร

“บรรณารักษ์” คือการจัดการสื่อ ข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ องค์ความรู้ในห้องสมุด กระบวนการต่างๆ ที่ดำเนินงานในห้องสมุด “บรรณารักษ์” ต้องรู้และสามารถจัดการได้

“นักสารสนเทศ” คือ การจัดการสารสนเทศด้านใดด้านหนึ่งไม่จำเป็นต้องจัดการห้องสมุดทั้งหมด แต่ต้องจัดการข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ได้ ยิ่งถ้าจัดการหรือมีความรู้ด้านวิชาชีพอื่นๆ ด้วยก็ยิ่งดี และถือว่าเป็นนักสารสนเทศของอาชีพนั้นๆ ได้ด้วย เช่น นักสารสนเทศด้านวิทยาศาสตร์ ฯลฯ

อย่างที่เกริ่นข้างต้นว่า ห้องสมุด คือส่วนหนึ่งของการจัดการสารสนเทศแบบภาพรวม บรรณารักษ์ก็คือนักสารสนเทศในรูปแบบหนึ่ง ดังนั้นการเปลี่ยนชื่อหลักสูตร สถานศึกษาก็ควรทำความเข้าใจในเรื่องนี้กับเด็กๆ ที่เข้ามาเรียนด้วย…

หรือแม้แต่ครูแนะแนวเด็ก ม.ต้น หรือ ม.ปลาย ก็ควรรู้และเข้าใจในแง่นี้ด้วย มิเช่นนั้นเด็กๆ ของท่านก็จะเข้าใจผิดว่า “สารสนเทศ” ก็คือ “คอมพิวเตอร์” ต่อไป

วันนี้ขอฝากไว้เท่านี้ก่อนแล้วกัน อิอิ

บทสรุปงานเสวนา เส้นทางสู่อาชีพนักสารสนเท​ศ

เมื่อวันก่อนได้มีโอกาสไปบรรยายในงานเสวนาประสบการณ์วิช​าชีพนักสารสนเทศ ในประเด็นเรื่อง “เส้นทางสู่อาชีพนักสารสนเท​ศ” ที่จัดโดยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสต​ร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วันนี้เลยขอนำสไลด์และรูปภาพมาให้เพื่อนๆ ได้ชมกันนะครับ

รายละเอียดเบื้องต้นของงานนี้
ชื่องาน : เส้นทางสู่อาชีพนักสารสนเทศ
จัดโดย : นักศึกษาชั้นปี 3 เอกบรรณฯ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
วันและเวลาที่จัดงาน : วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม 2554 เวลา 13.00 น.
สถานที่จัดงาน : ห้องพิบูลสงคราม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสต​ร์

พักหลังมานี่ผมเริ่มรับบรรยายให้น้องๆ ฟังมากขึ้น เพราะรู้สึกว่าอยากจะเปลี่ยนความคิดของน้องๆ หลายคนว่า วิชาด้านบรรณารักษ์ก็สามารถทำให้น้องๆ ประสบความสำเร็จในชีวิตได้มากมายไม่แพ้วิชาในสาขาอื่นๆ การที่ได้มาบรรยายที่นี่ จริงๆ แล้วเริ่มมาจากการคุยกันเมื่อเดือนที่แล้วระหว่างผมกับน้องที่อ่านบล็อกของผมและการทาบทามของอาจารย์ในภาคฯ จนทำให้ผมต้องตอบรับมาที่นี่ (ทั้งๆ ที่ไม่เคยบรรยายให้จังหวัดอื่นเลย)

เอกสารที่ผมใช้ในการบรรยายครั้งนี้ คือ
– สไลด์เรื่อง I would like to be librarian
– เอกสาร Social Revolution

สำหรับสไลด์ เพื่อนๆ สามารถดูได้จากด้านล่างนี้เลยครับ

หรือเข้าไปดูได้ที่ http://www.slideshare.net/projectlib/i-would-like-to-be-librarian

คำถามหลักๆ ที่พบในงานเสวนาครั้งนี้ คือ
– การเลือกเข้ามาเรียนในสาขาวิชาสารสนเทศ ซึ่งอาจจะมีเรื่องเข้าใจผิดกันในชื่อวิชาที่เรียน (นึกว่ามาเรียนคอมฯ แต่ที่ไหนได้บรรณารักษ์นั่นเอง)
– การเลือกสถานที่ฝึกงานที่เหมาะกับตัวเอง ย่อมดีกว่าเลือกตามคนอื่น
– การทำงานในสายอื่นๆ ที่ไม่ใช่ห้องสมุด ซึ่งก็มีให้เลือกมากมาย เช่น เว็บไซต์, เปิดร้านขายหนังสือ……..
– เรียนต่อปริญญาโทด้านไหนดี : อันนี้ต้องแล้วแต่ว่าใจเราอยากไปทางไหน

เท่าที่พบในการเสวนาครั้งนี้ มีน้องๆ บางคนเริ่มเห็นอนาคตของตัวเองแล้ว เช่น บางคนไม่ชอบงานเทคนิคและอยากไปในสายไอที, บางคนอยากทำงานในห้องสมุดสายการแพทย์, บางคนอยากเปิดธุรกิจของตัวเองจำพวกร้านขายหนังสือ…….. ต่างๆ เหล่านี้ผมเชื่อว่าถ้ามีเป้าหมายแบบนี้แล้วจะทำให้น้องๆ เห็นภาพอนาคตที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

บทสรุปที่ผมบรรยายหลักๆ ก็เป็นเรื่องประสบการณ์การทำงานของผมที่ผ่านมา รวมไปถึงเล่าย้อนไปในช่วงที่ผมเรียนบรรณารักษศาสตร์ที่ ม.สงขลานครินทร์บ้างเล็กน้อย รวมถึงแรงบันดาลใจที่ทำให้ผมมาเรียนในสาขาวิชานี้

ความประทับใจในงานเสวนาครั้งนี้ : น้องๆ ที่เข้าร่วมฟังเสวนาได้มีการซับถามคำถามกันอย่างคึกคัก นับว่าเป็นเรื่องที่น่าตกใจมาก (ปกติเวลาผมไปบรรยายที่อื่นไม่เคยเจอคำถามเยอะขนาดนี้) แต่ต้องขอบอกว่าเป็นการซักถามที่สนุกมากๆ ครับ

สุดท้ายนี้ผมต้องขอขอบคุณอาจารย์ทิพภา และทีมงานนักศึกษาที่ร่วมกันจัดงานดีๆ แบบนี้ และเชิญผมมาเข้าร่วมกิจกรรม ณ ที่แห่งนี้ รวมไปถึงการดูแลวิทยากรได้ดีมากๆ ครับ ตั้งแต่ต้อนรับจนถึงส่งขึ้นรถกลับกรุงเทพฯ ขอบคุณทุกๆ ท่านอีกครั้งครับ

เอาเป็นว่าคราวหน้าผมจะไปบรรยายที่ไหนอีกเดี๋ยวจะเอามาเล่าให้อ่านในบล็อกนะครับ อย่าลืมติดตาม Libraryhub กันไปได้เรื่อยๆ นะครับ

ปล. ภาพทั้งหมดที่ผมนำมาลงเป็นฝีมือการถ่ายภาพของน้องๆ ที่เข้าฟังในวันนั้นนะครับ ต้องขอขอบคุณมากที่ส่งมาให้ผมได้ดู

ภาพถ่ายในงานเสวนาประสบการณ์วิชาชีพนักสารสนเทศ

[nggallery id=40]

พบปะเพื่อนๆ เอกบรรณารักษ์ มอ. รหัส 44

ปีที่ผ่านมางานเยอะมากจนแทบจะไม่ได้เจอเพื่อนๆ เลย จนหลายคนกลับต่างจังหวัดกันไปแล้ว
มีโอกาสนัดกันใหม่ในวันนี้ (30 ม.ค. 54) เลยถือโอกาสออกมาพบปะเพื่อนๆ ที่เคยเรียนด้วยกันบ้าง

เพื่อนๆ เอกที่นัดกันในวันนี้มี ดังนี้ หนูนา, พิชญ์, ตี๋, จูน และวาย
สมาชิก 5 คนเองเอาเหอะแค่นี้ก็ดีกว่าไม่ได้เจอ เวลานัดหมายคือ 15.00 น. ณ เซ็นทรัลเวิลด์

ก่อนเวลานัดเพียงเล็กน้อยผมก็มาถึงห้างเซ็นทรัลเวิลด์ ภาระกิจแรกคือขึ้นไปคืนหนังสือ
จากนั้นก็มีโทรศัพท์จากหนุ่มน้อยสุดหล่อของเอกเราคือ พิชญ์ ก็มาถึงที่นัดหมายพอดี
ก็เลยชวนกันไปถ่ายรูปพริตตี้ด้านล่าง เก็บภาพพริตตี้มาฝาก 2-3 รูปเอง

จากนั้นก็มานั่งรอสมาชิกคนอื่นๆ ซึ่งก็ถยอยมา คือ ตี๋ และหนูนาซึ่งเป็นคนสุดท้าย
เวลาที่นัดหมายกันก็คาดเคลื่อนกันบ้างแต่เราก็มากันครบ และเริ่มต้นด้วยการ กิน กิน กิน
ร้านที่เราไปกินกันวันนี้คือ sizzler นั่นเอง กินไปถ่ายรูปไปพูดคุยไป
ถามข่าวคราวและปัจจุบันของแต่ละคน แถมด้วยเม้าส์เรื่องเพื่อนๆ นิดหน่อย

กินเสร็จก็ใช้เวลาไปเกือบสองชั่วโมง พูดคุยกันพอควร สมาชิกคนแรกก็ขอตัว (ตี๋กลับก่อน)
แต่สมาชิกคนที่เหลือก็ยังคงเดินไปคุยไป และจุดหมายที่ต่อไปคือ TKpark
(พิชญ์ไปคืนหนังสือ ส่วนเราไปหาหนังสือยืมต่อ) นอกจากนี้ยังเจอเพื่อนใน twitter (@bankkung) ด้วย

จากนั้นเราก็นั่งคุยกันไปคุยกันมาก็เริ่มเกรงใจสถานที่นิดนึง
เลยขยับกันไปที่สยามพารากอนไปนั่งเม้าส์กันต่อที่ร้านทรูคอฟฟี่
คุยๆ กันไป พิชญ์หิวอีกแล้ว ก็เลยเสนอให้ไปกินนม ร้านมนต์ ณ มาบุญครอง

กินเสร็จและเม้าส์กันเสร็จก็มองนาฬิกาอีกทีก็สามทุ่มแล้ว
นึกได้ว่าถึงเวลาต้องกลับบ้านกันแล้ว ก็เลยมาบอกลาเพื่อนๆ กัน ณ สถานีรถไฟฟ้า ต่างคนต่างแยกย้าย

หลักๆ วันนี้กินกับคุยกันอย่างสนุกสนาน แล้วคิดว่าในปีนี้เราคงได้นัดกันอีก
วันนี้สนุกมากๆ และดีใจที่ได้เจอเพื่อนๆ ทุกคน ไว้เจอกันใหม่นะ

ปล. เพื่อนๆ ที่ไม่ได้มา ไว้มีโอกาสเราคงได้เจอกันสักวันนะ

รูปภาพในวันนี้ทั้งหมดดูได้จาก http://www.facebook.com/#!/album.php?fbid=497063273347&id=730188347&aid=270914

เตรียมสอบข้าราชการบรรณารักษ์ต้องอ่านอะไรบ้าง

ช่วงนี้หลายคนส่งอีเมล์มาถามผมเกี่ยวกับเรื่องการเตรียมสอบบรรณารักษ์ในวงการราชการ
ว่าข้อสอบที่ใช้สอบบรรณารักษ์จะออกเนื้อหาไหนบ้างแล้วจุดไหนน่าจะเน้นเป็นพิเศษ
วันนี้ผมจึงนำเนื้อหาในหนังสือสำหรับเตรียมสอบบรรณารักษ์มาให้ดูว่าเขาเน้นเรื่องไหนบ้าง

สำหรับเนื้อหาในหนังสือเตรียมสอบผมอ่านแล้วก้รู้สึกว่าอาจจะเก่าไปสักหน่อย
และบางเรื่องหาอ่านบนเว็บน่าจะชัดเจนกว่า (ไม่แน่ใจว่าคนที่เขียนหนังสือเล่มนี้จบบรรณารักษ์หรือปล่าว)
แต่ผมก็ขอบคุณในความหวังดีที่นำเนื้อหามาจัดพิมพ์เป็นหนังสือนะครับ

เนื้อหาที่มีการออกสอบ เช่น
1. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับห้องสมุด
– ความหมายของห้องสมุด
– การศึกษากับห้องสมุด
– บทบาทของห้องสมุดโรงเรียน
– วัตถุประสงค์ของห้องสมุด
– ประโยชน์ของห้องสมุด
– ประเภทของห้องสมุด
– บริการห้องสมุด
– มารยาทการใช้ห้องสมุด
– ลักษณะห้องสมุดที่ดี

2. การบริหารงานห้องสมุด
– ความหมายและประเภทของหนังสือ
– ส่วนประกอบของหนังสือ
– ทรัพยากรห้องสมุด
– การดูแลรักษาหนังสือ
– การใช้ห้องสมุด
– แนวทางในการจัดห้องสมุด
– การจัดหมู่หนังสือ
– การบริหารจัดการห้องสมุด
– สถานภาพของผู้ปฏิบัติงานและวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์
– ลักษณะและบทบาทบรรณารักษ์

3. ห้องสมุดกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
– ISBN พัฒนาการบนโลกดิจิตอล
– ทรัพยากรไอที
– ระบบสารสนเทศ
– เทคโนโลยีสารสนเทศ
– ความหมายของห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
– บทบาทภาคีห้องสมุดในยุคดิจิทัล


4. เทคโนโลยีสารสนเทศ

– ทรัพยากรสารนิเทศ
– เทคนิคการอ่าน
– บัตรรายการ


5. การจัดการฐานข้อมูลและการสืบค้นสารสนเทศ

– ความหมายของฐานข้อมูลและการจัดการฐานข้อมูล
– สถาบันบริการสารสนเทศ
– การสืบค้นสารสนเทศและการใช้เครื่องช่วยค้น
– การสืบค้นด้วยระบบโอแพค

นี่ก็เป็นหัวข้อต่างๆ ในหนังสือเล่มที่ผมมีนะครับ เอามาแชร์ให้เพื่อนๆ เตรียมตัวถูก
สำหรับใครที่อยากหาอ่านเล่มนี้ ก็ลองไปเดินดูแถวๆ รามคำแหงนะครับ
แต่ผมว่าดูหัวข้อพวกนี้แล้วค้นบนอินเทอร์เน็ตก็ได้ข้อมูลเช่นกันครับ

เอาเป็นว่าสู้ๆ กันนะครับ

การพัฒนาหลักสูตรบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาตร์ในยุคดิจิทัล

วันก่อนได้รับเกียรติจากภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เชิญเป็นวิทยากรบรรยายในเรื่อง “หลากมุมมองของนักวิชาชีพสารนิเทศ” วันนี้ผมจึงขอนำเรื่องวันนั้นมาเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน

ภาพกิจกรรมในวันนั้นแบบคร่าวๆ (ขอนำภาพจากเว็บไซต์ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาลง)

(ข้อมูลโดยสรุปไว้ผมจะนำมาเล่าวันหลังนะครับ ช่วงนี้มีภาระงานเยอะไปหน่อย อิอิ)
เอาสไลด์ของแต่ละคนไปนั่งอ่านก่อนได้ครับ

สไลด์ของวิทยากรทุกท่านสามารถดาวน์โหลดได้จาก http://www.arts.chula.ac.th/~libsci/conference%2053_Download.html

ชมภาพกิจกรรมได้ที่ http://www.arts.chula.ac.th/~libsci/activities.html

ไอเดียสำหรับคนที่ต้องการทำวิจัยด้านห้องสมุดและบรรณารักษ์

มีเพื่อนๆ หลายๆ คนชอบมาปรึกษาผมเกี่ยวกับเรื่องหัวข้อในการวิจัยด้านห้องสมุดและบรรณารักษ์
วันนี้ผมเลยขอนำเสนอเรื่องนี้เพื่อให้ไอเดียในการเลือกหัวข้อเพื่อทำวิจัยด้านห้องสมุดและบรรณารักษ์นะครับ

idea-library-research Read more

ภาพหมู่เอกบรรณารักษ์รุ่นสุดท้ายแห่ง มอ.

อันนี้ไม่ขอเขียนอะไรมากมาย แค่อยากเอารูปเก่าๆ มาให้เพื่อนๆ ดู
ซึ่งเป็นรูปถ่ายของเอกบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์แห่ง มอ.

lib-info-sci-psu

รุ่นของผมคือรุ่นสุดท้ายที่มีการใช้คำว่า “บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์” นะครับ
หลังจากรุ่นผมเป็นต้นไปที่ภาควิชาก็เปลี่ยนชื่อหลักสูตรเป็น “การจัดการสารสนเทศ” แล้วครับ

เนื้อหารายวิชาบางส่วนก็ยังคงเป็นวิชาของบรรณารักษ์ แต่ก็ได้มีการเน้นวิชาด้านไอทีมากขึ้นด้วย
ซึ่งเน้นไปในเรื่องการจัดการสารสนเทศในทุกรูปแบบนั่นเอง

ดูในรูปแล้วก็ทำเอาคิดถึงเพื่อนๆ เอกเลยนะครับ
ในรุ่นของผมเป็นรุ่นประวัติศาสตร์ที่มีผู้ชายมากถึง 6 คน ส่วนผู้หญิงก็มีทั้งหมด 16 คนครับ

เอามาให้ดูอย่างนั่นแหละครับ ไม่รู้จะอธิบายยังไง
แต่สังเกตจากภาพที่ทุกคนมีความสุขกับวิชาที่เรียน แค่นี้ก็ทำให้รู้สึกดีใจแล้วครับ
แม้ว่าบางคนจบมาก็เป็นบรรณารักษ์ หรือบางคนก็ไม่ได้เป็นบรรณารักษ์
แต่อย่างน้อยทุกคนก็ใช้วิชาที่เรียนมาสร้างความสำเร็จในชีวิตได้
ผมว่าแค่นี้ก็ดีที่สุดแล้ว?

คิดถึงเพื่อนๆ นะ

[nggallery id=23]

เด็กเอกบรรณารักษ์กับการลองขายหนังสือ

วันนี้ผมขอเล่าประสบการณ์สมัยที่ผมยังเรียนปริญญาตรี เอกบรรณฯให้ฟังหน่อยแล้วกัน
เป็นประสบการณ์ที่ดีมากๆ ครั้งนึงเลยก็ว่าได้ นั่นคือ “การทำธุรกิจขายหนังสือในงาน มอ.วิชาการ”
ซึ่งนอกจากขายหนังสือจากสำนักพิมพ์ต่างๆ แล้ว ยังมีนิทรรศการหนังสือทำมือที่พวกเราได้ร่วมกันทำด้วย

book-business

ในการทำธุรกิจขายหนังสือครั้งนี้ พวกเรามีแรงกระตุ้นคือ เงินและคะแนนเป็นเดิมพัน
เนื่องจากการจัดกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา Publishing business ซึ่งผมเรียนในปี 3 เทอม 1 นั่นเอง

ในการทำธุรกิจขายหนังสือครั้งนี้ พวกเราชาวเอกบรรณารักษ์ได้ฝึกอะไรบ้าง
– การติดต่อ และการเจรจากับสำนักพิมพ์ต่างๆ
– การทำการประชาสัมพันธ์การขายหนังสือของพวกเรา
– การดูแล และจัดการสต็อกหนังสือ เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของผู้ซื้อ
– การกำหนดราคา และการตั้งเป้าหมายของธุรกิจ (กำไรเท่าไหร่ดีนะ)
– การจัดร้าน และแบ่งเวลากันในเอกเพื่อเฝ้าร้านของพวกเรา
– การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เช่น หนังสือหมด หรือ หนังสือหาย ?
– การคัดเลือกหนังสือ และการศึกษากลุ่มผู้ซื้อ
– ทำบัญชีรายรับ รายจ่าย และกำไร ขาดทุน
และอีกหลายๆ อย่างที่ได้เรียนรู้ และได้ประสบการณ์จริงๆ

book-business1

นอกจากส่วนที่เป็นการทำธุรกิจขายหนังสือแล้ว อีกงานหนึ่งที่น่าสนใจในงานนี้คือ
การจัดนิทรรศการหนังสือทำมือ ซึ่งหนังสือทำมือที่แสดงในงานแบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้
1. ทำกันเองในภาควิชาบรรณฯ
2. ติดต่อขอตัวอย่างหนังสือจากสำนักพิมพ์ใต้ดินหลายๆ กลุ่ม
3. ขอรับจากร้านหนังสือใต้ดิน มาเพื่อจำหน่ายด้วย

กิจกรรมในครั้งนี้ ใช้เวลา 5 วัน ซึ่งนับว่าเป็นวันที่เหนื่อยเอาการเลยครับ
แต่สิ่งที่ได้กลับมาช่างคุ้มค่ามากมาย และทำให้พวกเรารู้ว่า

?อย่างน้อยจบบรรณารักษ์ก็ไม่จำเป็นต้องทำงานที่ห้องสมุดอย่างเดียว?

ผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุด ประจำปี 2552

หลังจากที่เมื่อวานนี้ผมเขียนเรื่อง “บุคคลดีเด่นในวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์ ประจำปี 2552
วันนี้ผมขอนำเรื่องต่อเนื่องมาเขียนต่อเลยนะครับ นั่นก็คือ การประกาศรางวัล
“ผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุดและการศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ประจำปี 2552”

library-support

ผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุด คือ ผู้ที่ให้การสนับสนุนกิจการของห้องสมุด
ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนด้วยกำลังกาย หรือกำลังทรัพย์ ต่างก็ล้วนแล้วแต่จะทำให้ห้องสมุดพัฒนา

ดังนั้นผมขอนำรายชื่อมาลงไว้ให้เพื่อเป็นการขอบคุณแทนวงการวิชาชีพนี้ด้วยนะครับ

ปีนี้มีผู้ได้รับการเสนอชื่อทั้งหมด 14 รายชื่อ ซึ่งมีดังนี้
(ผมขอเขียนแบบย่อๆ นะครับ รายละเอียดดูจากต้นฉบับที่ผมทำ link ไว้ให้นะครับ)

1. พระครูธรรมสรคุณ ขนธสโร
ได้สนับสนุนงบประมาณสร้างอาคารห้องสมุดประชาชน ?เฉลิมราชกุมารี? จังหวัดจันทบุรี ตั้งแต่ปี 2547 ? 2549 มูลค่า 20 ล้านบาท อีกทั้งได้มอบให้ กศน. เขาคิชฌกูฎ ระหว่างปี 2550-2552

2. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์จิตตินัดด์ หะวานนท์
ได้จัดสรรงบประมาณบอกรับฐานข้อมูลอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลากว่า 5 ปี มูลค่าปีละกว่า 5 ล้าน รวมมูลค่า 25 ล้านบาท ให้กับห้องสมุดคณะแพทย์และหน่วยงานในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ

3. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ได้จัด ?มุมความรู้ตลาดทุน? หรือ SET Corner เพื่อร่วมพัฒนาสังคมไทยสู่สังคมฐานความรู้ ตั้งแต่ปี 2547 ถึงปัจจุบัน

4. นายชรินทร์ เลอเกียรติจรัส

ผู้ผลักดันโครงการห้องสมุดไทยบริดจสโตน โดยได้เริ่มดำเนินการอย่างต่อเนื่องมากว่า 7 ปี ได้สร้างห้องสมุดไทยบริดจสโตน จำนวน 94 โรงเรียน

5. ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ

ประธานโครงการห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ปรีดี-พูนสุข พนมยงค์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูล ผลงาน ภาพถ่าย คำบรรยาย สื่อโสตทัศน์ กิจกรรมต่าง ๆ และงานเขียน ให้สามารถสืบค้นผ่านอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว

6. บริษัท ไทยบริดจสโตน จำกัด

ผู้สนับสนุนงบประมาณสร้างห้องสมุดใน โครงการ ?ห้องสมุดไทยบริดจสโตน? ส่งเสริมและสนับสนุนงบประมาณในการจัดโครงงานสารานุกรมไทย ใส่ใจธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

7. นายปรีชา ประกอบกิจ กรรมการ มูลนิธิแอมเวย์เพื่อสังคมไทย

โครงการ One by One : เปิดโลกกว้างทางปัญญา โดยในปี 2551 ได้ร่วมมือกับองค์กรไม่แสวงผลกำไร 3 แห่ง ได้แก่ มูลนิธิสงเคราะห์เด็กยากจนฯ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก และมูลนิธิกระจกเงา จัดสร้างห้องสมุดแอมเวย์จำนวน 10 โรงเรียน

8. นายพจน์ นฤตรรกกุล
สนับสนุนการทำวิจัยและพัฒนาเทคโลยีสำหรับห้องสมุดให้กับเครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนกลางของรัฐ ติดตามและศึกษาเทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ เช่น การสร้าง eBook, eJournal, Library Automation, Web Portal

9. นายวรวิทย์ ศุภโชคชัย
นผู้ผลักดันและสนับสนุนงบประมาณติดต่อกันเป็นระยะเวลา 5 ปี ระหว่างปี 2548 ? 2552 โดยได้สร้างห้องสมุด อาคารห้องสมุดและศูนย์เยาวชน (สวนศรีเมือง) ซึ่งมีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 2,100 ตารางเมตร รวมมูลค่า 18 ล้านบาท

10. นายวานิช เอกวาณิช

ผู้สนับสนุนงบประมาณสร้างห้องสมุดเอกวาณิช โรงเรียนภูเก็ตไทหัว ให้เป็นห้องสมุดมีชีวิต สำหรับนักเรียน ครู อาจารย์ ผู้ปกครอง ตลอดจนประชาชนในจังหวัดภูเก็ต

11. บริษัท เดอเบล จำกัด
ผู้จัดโครงการ ?ห้องสมุดนี้…พี่ให้น้อง? ตั้งแต่ปี 2550-2553 โดยมีโรงเรียนที่ได้รับทุนทั่วประเทศ จำนวน 134 โรง รวมมูลค่ากว่า 15 ล้านบาท

12. สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล สนับสนุนห้องสมุดในสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในปี 2551

13. ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์

อธิการบดีและผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยรังสิต เป็นผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ยาวไกล และตระหนักในความสำคัญของห้องสมุดในฐานะเป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญต่อการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา ริเริ่มโครงการก่อตั้งห้องสมุด พร้อมกับการก่อตั้งมหาวิทยาลัยรังสิต

14. นางสาวอินดา แตงอ่อน

ผู้สนับสนุนและสร้างบรรยากาศการใช้ห้องสมุดโดยการจัดโครงการทอดผ้าป่าการศึกษา ในปี 2548 ได้รับงบประมาณกว่า 3 ล้านบาท

เป็นไงกันบ้างครับกับการสนับสนุนห้องสมุดของแต่ละคน แบบว่าขอปรบมือให้แบบดังที่สุดเลยครับ
ถ้ามีผู้ใจดีกับห้องสมุดแบบนี้เยอะๆ ห้องสมุดหลายที่คงจะเลิกบ่นเรื่องไม่มีงบกันสักทีนะครับ

สุดท้ายนี้ก็ขอขอบคุณอีกครั้งสำหรับความใจดีของทุกๆ ท่านนะครับ

รายละเอียดของผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุดและการศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ประจำปี 2552 แบบเต็มๆ
อ่านได้ที่ http://tla.or.th/pdf/support.pdf