รับสมัครเด็กเอกบรรณฝึกงาน (ได้เงินด้วย)

วันนี้น้องอะตอม (บล็อกเกอร์บรรณารักษ์หน้าใหม่ – http://atomdekzaa.exteen.com)
เอาข่าวนี้มาให้ผมช่วยประกาศ ผมอ่านแล้วก็รู้สึกว่าน่าสนใจดีจึงช่วยประชาสัมพันธ์ให้

atom

เรื่องแบบเต็มๆ อ่านได้จากบล็อกของน้องอะตอมได้เลยที่
รับสมัครเพื่อนร่วมฝึกงาน(ได้เงินด้วย) – http://atomdekzaa.exteen.com/20090907/entry

สำหรับผมจะย่อให้อ่านแบบสั้นๆ แล้วกันนะครับ

เรื่องมันมีอยู่ว่าน้องอะตอมเขามาฝึกงานอยู่ที่ ห้องสมุดบ้านเซเวียร์
(วัดบ้านเซเวียร์ เป็นโบสถ์เล็กที่สังกัดอยู่กับวัดแม่พระฟาติมา)

ห้องสมุดแห่งนี้เป็นห้องสมุดระบบปิดนะครับ
ไม่เปิดให้ผู้ใช้ภายนอกเข้ามาใช้บริการด้วย

ในห้องสมุดแห่งนี้ถูกทิ้งให้อยู่ในสภาพร้างมาหลายสิบปีแล้ว
ภายในประกอบด้วยหนังสือที่เรียงอยู่บนชั้นประมาณ? 6,000 เล่ม
และหนังสือส่วนใหญ่เป็นหนังสือภาษาต่างประเทศ
หนังสือเน้นไปในทางศาสนามากกว่าเนื้อหาอื่นๆ

เพื่อนๆ ลองคิดดูสิครับว่า ความรู้มากมายถูกบรรจุอยู่ในสถานที่แห่งนี้ โดยที่ไม่มีการจัดการมาสักระยะนึงแล้ว
มันน่าเสียดายมั้ยหล่ะครับ ความรู้ถูกจัดเก็บแทนที่จะนำมาเผยแพร่และใช้ประโยชน์

ด้วยเหตุนี้น้องอะตอมจึงต้องค่อยๆ จัดการไปตั้งแต่เรื่องการจัดเรียง catalog และอีกสาระพันปัญหา

ทุกวันเสาร์จะต้องทำความสะอาดหนังสือ โดยการหยิบหนังสือจากชั้นลงมาปัดฝุ่นครับ
แล้วก็นำสำลีชุบแอลกอฮอล์มาเช็คบริเวณปกหนังสือ ตามด้วยผ้าสะอาดอีกสักที

ส่วนวันอาทิตย์ก็สบายกว่าวันเสาร์หน่อย แต่ต้องใช้ความคิดมากๆ นั้นคือ ต้อง catalog
โดยง่ายๆ ครับก็ copy catalog จาก library of congress ก็พอไหว

เข้าเรื่องดีกว่า สรุปว่าน้องอะตอมต้องการหาเพื่อนมาร่วมกันฝึกงานตามที่เล่าไว้ด้านบน
อ๋อ ลืมบอกไปขอเพศชายนะ เพราะว่าจะได้เดินทางไปไหนมาไหนสะดวก เพราะบางวันอาจจะเลิกดึก

งานที่ทำก็ไม่เกินวันละ 6 ชั่วโมงหรอกครับ
มีค่าขนมด้วยนะชั่วโมงละ 40 บาท ทำเฉพาะวันเสาร์อาทิตย์เท่านั้น

ถ้าน้องๆ เอกบรรณคนไหนสนใจ ก็ส่งเมล์มาที่ atom.naruk@hotmail.com
โดยแนบไฟล์(word 2003-2007) ประวัติส่วนตัวมาละกัน
รายละเอียด รูปถ่าย ชื่อ นามสกุล ชื่อเล่น อายุ สถานที่เรียน สาขา รหัสประจำตัวนิสิตนักศึกษา
ที่อยู่ เบอร์โทรติดต่อ อีเมล์ และอะไรก็ได้ที่อยากจะให้เรารู้อ่ะ
และบทความ “ทำไมถึงสนใจในงานนี้”

อ๋อ ปิดรับสมัคร 25 กันยายน 2552

ก่อนจากกันขอฝากประโยคเดียวกับน้องเค้าแล้วกันนะครับว่า
“งานมีเยอะ อยู่ที่ว่าคุณจะเลือกทำไหม แค่นั่นเอง”

จำหรือเปล่าว่าบรรณารักษ์เรียนอะไรบ้าง

หลายปีแล้วสินะครับ ที่ผมไม่ได้กลับไปที่ มหาวิทยาลัยที่ผมเรียน
สำหรับผมแล้วการเรียนที่ ม.สงขลานครินทร์ฯ วิชาเอกบรรณารักษ์ เป็นสิ่งที่มีความทรงจำมากมาย
วันนี้ผมขอย้อนเวลากลับไปเล่าเรื่องเก่าๆ ในอดีตนะครับ

library-science

ก่อนอื่น ผมคงต้องถามเพื่อนๆ ก่อนว่า เพื่อนๆ รู้มั้ยครับว่า “คนที่จบบรรณารักษ์เขาเรียนอะไรกันบ้าง”
เอาหล่ะครับไม่ต้องเดามาก วันนี้ผมจะมาเล่าเรื่องราวเก่าๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ดู

ปล.ข้อมูลนี้มาจากประสบการณ์ของผม และเป็นหลักสูตรที่ผมเรียนนะครับ
ซึ่งอาจจะไม่เหมือนมหาวิทยาลัยอื่นๆ นะครับ รวมถึงวิชาที่เรียนอาจจะต่างกันบ้าง อันนี้เพื่อนๆ ก็ต้องลองดูกันนะ

เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 1 เทอม 1

– วิชา Use of libraries and study skill

วิชานี้ผมได้รู้จักคำว่าห้องสมุดอย่างแท้จริงว่ามีหลายประเภทและเหนือสิ่งอื่นใด
ผมรู้จักคำว่า ?service mind? ในวิชานี้นั่นเอง

ปี 1 เทอม 2
– วิชา Audio Visual Material and Equipment for library and information center

วิชานี้ผมได้เข้าใจเรื่องอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีในห้องสมุด ไม่ว่าจะเป็นสื่อปรพเภทต่างๆ
ได้เข้าไปดูงานที่ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาด้วย ทำให้สนุกกับวิชาชีพนี้ขึ้นเรื่อยๆ
ตอนแรกนึกว่าเรียนบรรณารักษ์จะเกี่ยวกับหนังสืออย่างเดียว เจอวิชานี้เข้าไปต้องเปลี่ยนความคิดเลย


ปี 2 เทอม 1

– วิชา Fundamentals of library and information science
– วิชา Mass Communication
– วิชา Reading Improvement
– วิชา Information technology


เจอเข้าไปแต่ละวิชาตั้งแต่บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์เบื้องต้น
การประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการอ่าน และวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
เป็นไงบ้างหล่ะวิชาเอกบรรณฯ ของเรามีความหลากหลายขึ้นมากหรือปล่าว
อย่างที่เคยเขียนบความก่อนหน้าว่าทำไมผมถึงเรียนและเป็นบรรณารักษ์
เพราะขนาดวิชายังมีความหลากหลายและทุกวิชาชีพมีความเกี่ยวข้องกันนั่นเอง

ปี 2 เทอม 2
– วิชา Collection development
– วิชา Library service
– วิชา Application of information technology
– วิชา Computer for library system


วิชาที่เรียนในเทอมนี้เน้นไปในส่วนของห้องสมุดทั้งในงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
งานบริการในห้องสมุด รวมถึงงานไอทีในห้องสมุดด้วย
เทอมนี้เป็นเทอมที่ผมรู้สึกว่าบรรณารักษ์ในปัจจุบัน
ไม่เหมือนในอดีตที่มีเทคโนโลยีมากมายเข้ามาช่วยบรรณารักษ์ในการทำงาน
และเทอมนี้เป็นเทอมที่ผมค่อนข้างมีความสุขและประทับใจมากๆ ที่ได้เลือกเรียนบรรณารักษ์

ปี 3 เทอม 1
– วิชา Information service
– วิชา Publishing business
– วิชา Dewey decimal classification system
– วิชา Cataloging
– วิชา Lit. of science and technology

เทอมนี้ผมลงวิชาเอกเยอะที่สุดเท่าที่จำได้และเหนื่อยมากๆ ด้วย
วิชาในเทอมนี้ทั้งการจัดหมวดหมู่ และการวิเคราะห์ทรพยากรสารสนเทศ
เป็นวิชาที่ต้องเรียนกันแบบเจาะลึกกันเลยเพราะถือเป็นงานที่สำคัญมากในห้องสมุด
ส่วนวิชาการบริการสารสนเทศเป็นวิชาที่เสมือนการให้บริการตอบคำถามด้านสารสนเทศซึ่งชอบมาก
เพราะต้องไปนั่งที่ห้องสมุดจริงๆ และคอยตอบคำถามให้เพื่อนๆ นักศึกษาและผู้ใช้ห้องสมุด
ส่วนวิชาที่เหนื่อยอีกวิชาหนึ่งคือธุรกิจสิ่งพิมพ์
วิชานี้สอนเรื่องการจัดพิมพ์หนังสือแต่ละเล่มว่าต้องผ่านกระบวนการอะไรบ้าง (เป็นแนวทางในการประกอบวิชาชีพของสำนักพิมพ์)
ต้องทำหนังสือทำมือ และการรับหนังสือจากสำนักพิมพ์มาขาย จำได้ว่าตอนนั้นเราได้กำไรสักสองพันเห็นจะได้
ส่วนวิชาวรรณกรรมวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่ทำให้ผมสนใจอ่านข่าว และงานเขียนทางด้านวิทยาศาสตร์มากขึ้น

ปี 3 เทอม 2
– วิชา Library of congress classification system
– วิชา Research
– วิชา Information market and business
– วิชา Database design and development
– วิชา digital library


เทอมนี้เป็นการเรียนต่อยอดจากเทอมที่แล้ว ซึ่งเทอมที่แล้วผมเรียนจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้ แต่เทอมนี้ผมเรียนการจัดหมู่แบบ LC
อีกวิชาที่สุดหินคือการทำวิจัยตอนนั้นผมเลือกทำในเรื่อง
?การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคซีดีเถื่อนในสังคมไทย? ซึ่งต้องใช้เวลาการทำสามเดือนเต็มๆ เหนื่อยสุดๆ
วิชาตอนมาเรื่องการทำธุรกิจที่เกี่ยวกับสารสนเทศเป็นวิชาที่ต้องคิดมากซึ่งทำให้รู้จักโลกที่กว้างขึ้นนอกเหนือจากอยู่แต่ห้องสมุด
การออกแบบฐานข้อมูลวิชานี้ผมได้ลองออกแบบระบบร้านขายยาขึ้นมาดูก็พอน่าจะเอาไปใช้เล่นๆ ได้นะ อิอิ
ส่วนวิชา ห้องสมุดดิจิทัล เป็นวิชาที่บ่งบอกว่าห้องสมุดเดี๋ยวนี้มีรูปแบบใหม่ขึ้น
ได้รู้จักคำว่า ?E-library / Digital Library / Virtual Library?
ว่าทั้งสามตัวนี้แตกต่างกันอย่างไร เอาไว้ว่างๆ จะเอามาเขียนให้อ่านแล้วกันนะครับ

ปี 4 เทอม 1
– วิชา Information storage and retrieval
– วิชา Information resource in the humanities
– วิชา Library Administration
– วิชา Seminar in library and information science


4 วิชาสุดท้ายของการเรียนที่เป็นวิชาการซึ่งเป็นวิชาที่เป็นที่สุดของห้องสมุด
เรื่องระบบ IR เป็นสิ่งที่ต้องมองในเรื่องการจัดเก็บก็ต้องสามารถค้นคืนในสิ่งที่จัดเก็บได้
วรรณกรรมมนุษย์วิชานี้ทำให้เราได้ออกค่ายไปจังหวัดปราจีนบุรีด้วย
นั่งเครื่องบินจากหาดใหญ่มาลงกรุงเทพแล้วต่อด้วยรถทัวร์มาที่ปราจีนบุรี
วิชาการบริหารห้องสมุด ตอนแรกผมนึกว่าจบบรรณารักษ์ก็เป็นได้แค่เพียงผู้ปฏิบัติงานแต่พอเจอวิชานี้ก็แสดงให้เห็นว่า
คนที่จะบริหารห้องสมุดได้ควรจะต้งเรียนรู้หลักการของห้องสมุดถึงจะเข้าใจกระบวนการทำงานในห้องสมุดด้วย
วิชาสุดท้ายสัมมนาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์เป็นวิชาที่เปิดโอกาส
ให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่ตนเองชอบให้เพื่อนๆ บรรณารักษ์ได้ฟัง สนุกมากเลยได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

สุดท้ายที่ปี 4 เทอม 2 เราทุกคนก็แยกย้ายกันไปฝึกงานในแต่ละที่
และก็จบลงด้วยความภาคภูมิใจว่า ผมนี่แหละคนที่จบบรรณารักษ์

เป็นไงบ้างครับ ต่างจากเพื่อนๆ บ้างหรือปล่าว
ยังไงถ้าต่างกันบ้างก็ลองบอกผมหน่อยนะครับ อิอิ

เล่าเรื่องตอนฝึกงานที่ ?ห้องสมุดมูลนิธิญี่ปุ่น?

วันนี้ผมขอย้อนวันวานไปสักตอนที่ผมยังเรียนปริญญาตรีก่อนแล้วกัน
ในตอนนั้นผมฝึกงานครั้งแรกของการเรียนบรรณารักษ์ โดยผมเลือกที่จะฝึกงานที่ ?ห้องสมุดมูลนิธิญี่ปุ่น?

dsc00017 Read more

ขอวิจารณ์เกณฑ์ในการสรรหาบุคคลดีเด่นในวิชาชีพบรรณารักษ์ฯ

เป็นที่รู้กันนะครับว่าทุกปีทางสมาคมห้องสมุดฯ จะมีการสรรหาบุคคลดีเด่นแห่งวงการวิชาชีพบรรณารักษ์
วันนี้ผมก็มีโอกาสได้อ่านหลักเกณฑ์ในการสรรหาเหมือนกัน เลยอยากเสนอความคิดเห็นนะครับ

good-librarian Read more

หลักสูตรเพื่อนักศึกษาบรรณารักษ์รุ่นใหม่ (ICS)

วันนี้ผมขอนำหลักสูตรวิชาบรรณารักษศาสตร์ในต่างประเทศมาให้ดูอีกสักหน่อย
เผื่อว่านักพัฒนาหลักสูตรบรรณารักษศาสตร์ในบ้านเราจะแวะเข้ามาอ่านในบล็อกผมบ้าง

ics Read more

ฝึกงานบรรณารักษ์ที่นี่สิท้าทายที่สุด

เด็กบรรณารักษ์ที่กำลังหาที่ฝึกงานอยู่ลองฟังทางนี้นะครับ
สถานที่ที่ผมจะแนะนำต่อไปนี้เป็นสถานที่ที่น่าฝึกงานมากๆ และท้าทายความสามารถสุดๆ

blind-library Read more

หลักสูตรปริญญาโทด้านห้องสมุดดิจิทัลมีแล้ว…

ผมได้ติดตามหลักสูตรการเรียนการสอนด้านห้องสมุดมาสักระยะหนึ่งแล้ว
แต่ผมเองก็ไม่เคยเห็นหลักสูตรไหนที่ทันสมัยเท่ากับหลักสูตรที่ผมจะแนะนำวันนี้

ait-digital-library Read more

แนะนำนักศึกษาบรรณารักษ์เรื่องฝึกงาน

ช่วงนี้ใกล้เปิดเทอมใหม่ก็จริง แต่ก็มีนักศึกษาหลายคนฝากคำถามให้ผมมากมาย
คำถามที่ว่า นั่นคือ “นักศึกษาเอกบรรณารักษ์ควรฝึกงานที่ไหนดี ช่วยแนะนำหน่อย”

training-library

ในฐานะที่ผมเป็นรุ่นพี่เอกบรรณารักษ์ (คงไม่เกิน 7 ปีหล่ะมั้ง)
วันนี้ผมก็เลยขอเขียนเรื่องนี้เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกที่ฝึกงานให้น้องๆ นะครับ

ก่อนอื่น ผมขอแนะนำประเภทของการฝึกงานบรรณารักษ์ให้เพื่อนๆ หลายๆ คนรู้จักกันก่อนดีกว่า
ซึ่งตามความคิดของผม และจากประสบการณ์ ผมขอแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ ดังนี้
1. ฝึกตรงสายงานห้องสมุดแบบเต็มรูปแบบ
2. ฝึกในลักษณะทางด้านวิชาเฉพาะทาง + ห้องสมุด
3. ฝึกงานในแบบที่เกี่ยวกับสารสนเทศ แต่ไม่ใช่ห้องสมุด
4. ฝึกงานแบบเอาวิธีทำงาน ไม่มีความเป็นห้องสมุดเลย และไม่เกี่ยวกับที่เรียน

การฝึกงานในแต่ละแบบมีข้อแตกต่างกันในด้านรายละเอียด
รวมถึงใช้ในการตัดสินใจเรื่องการเลือกสถานที่ฝึกงานด้วย

ทีนี้เรา ลองมาดูกันทีละแบบเลยดีกว่าครับ

1. ฝึกตรงสายงานห้องสมุดแบบเต็มรูปแบบ

นั่นหมายถึง การฝึกงานในแบบที่ต้องใช้ความรู้ และความสามารถทางด้านบรรณารักษ์เต็มรูปแบบเลย
โดยทั่วไปคนที่เรียนเอกบรรณารักษศาสตร์จะต้องเจอการฝึกงานแบบนี้อยู่แล้ว
นั่นก็คือ ?ห้องสมุดของสถาบันตัวเอง? เป็นด่านแรก
และหากคิกจะเอาดีทางบรรณารักษ์และอยากได้พื้นฐานแบบแน่นๆ


ผมขอแนะนำว่า ให้เลือกห้องสมุดประเภทสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ
เช่น ธรรมศาสตร์, เกษตรศาสตร์, จุฬาลงกรณ์, ศิลปากร ฯลฯ

2. ฝึกในลักษณะทางด้านวิชาเฉพาะทาง + ห้องสมุด
นั่นหมายถึง การฝึกงานในห้องสมุดเฉพาะทางนั่นแหละครับ
นอกจากความรู้ทางด้านบรรณารักษ์แล้ว สิ่งที่จะได้เพิ่มจากการฝึกงานคือ
ความรู้เฉพาะทางอีกด้วย สำหรับคนที่มีพื้นฐานแบบแข็งแกร่งแล้ว
อยากลองอะไรแบบแปลกๆ และรักการเรียนรู้ ผมว่าเลือกฝึกแบบนี้ก็ดีนะครับ

ผมขอแนะนำตัวอย่างห้องสมุดเฉพาะทางที่น่าสนใจ
เช่น ห้องสมุดญี่ปุ่น ห้องสมุดมารวย ห้องสมุดการออกแบบ ห้องสมุดกรมวิทยาศาสตร์บริการ ฯลฯ


3. ฝึกงานในแบบที่เกี่ยวกับสารสนเทศ แต่ไม่ใช่ห้องสมุด

นั่นหมายถึง เป็นการฝึกที่ไม่ได้อยู่ในห้องสมุดนะครับ อาจจะเป็นศูนย์สารสนเทศ ศูนย์ข้อมูลต่างๆ
โดยทั่วไปจะเน้นในรูปแบบองค์กรเอกชน บริษัทเว็บไซต์ บริษัทสื่อ สำนักพิมพ์ต่างๆ
ซึ่งความรู้เกี่ยวกับห้องสมุดอาจจะไม่ได้ใช้ แต่สิ่งที่ได้เรียนรู้ คืองานทางด้านสารสนเทศนั่นเอง
และอย่างน้อยก็ทำให้ลบภาพเอกบรรณฯ ได้ว่า ?บรรณารักษ์พอจบก็ต้องทำห้องสมุด? ได้อีก


ผมขอแนะนำตัวอย่างศูนย์ข้อมูล และสถานที่ฝึกงานที่น่าสนใจ
เช่น ศูนย์ข้อมูลทางการเกษตร มติชน เนชั่น เว็บไซต์ต่างๆ ฯลฯ

4. ฝึกงานแบบเอาวิธีทำงาน ไม่มีความเป็นห้องสมุดเลย และไม่เกี่ยวกับที่เรียน
นั่นหมายถึง การฝึกงานในแบบที่ไม่ต้องใช้ความรู้ที่เรียนเลย
เพียงแต่ต้องการฝึกแค่เข้าไปเรียนรู้วิธีการทำงาน รู้จักกฎระเบียบองค์กร
หรือทำความคุ้นเคยกับการทำงานร่วมกับคนอื่นๆ
ถ้าจะให้ผมแนะนำ ผมจะขอเน้นให้หาที่ฝึกงานในลักษณะที่เป็นองค์กรของต่างประเทศ
เพราะเมื่อคุณที่ฝึกงานในองค์กรต่างชาติคุณจะรู้ว่า องค์กรมีระเบียบและแนวทางปฏิบัติแบบสุดๆ
น่าท้าทายดีครับ องค์กรในแบบของไทยผมก็ไม่ได้ห้ามแต่ควรเลือกดีๆ ครับ

เอาเป็นว่าวันนี้ผมขอเกริ่นเพียงเท่านี้ก่อนนะครับ
แล้ววันหลังผมจะแนะนำการฝึกงานในแต่ละรูปแบบอย่างละเอียดต่อไป

รับสมัครอาจารย์ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ จุฬาฯ

LibraryHub ช่วยหางานวันนี้ผมขอแนะนำ
ตำแหน่งอาจารย์ประจำภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

chula

ลองอ่านรายละเอียดตามไฟล์ด้านล่างนี้นะครับ
ไฟล์รับสมัครอาจารย์ประจำภาควิชาบรรณารักษศาสตร์

ผู้สนใจตำแหน่งนี้กรุณาติดต่อที่
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันและเวลาการรับสมัคร
ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน ถึง 29 พฤษภาคม 2552
เวลา 8.30 – 15.00 น.

การสอบคัดเลือก ประกอบด้วย
– สอบวิชาเฉพาะ
– สอบสอน
– สอบความสามารถในการใช้ภาษาไทย
– สอบสัมภาษณ์

เอาเป็นว่าใครสนใจก็ลองเข้าไปอ่านรายละเอียดกันดูนะครับ
ยังมีเวลาพอที่จะได้เตรียมตัวอยู่บ้าง ยังไงก็สู้ๆ นะครับ