ทักษะที่เป็นที่ต้องการมากที่สุดในปี 2024 คือ

ทักษะที่เป็นที่ต้องการมากที่สุดในปี 2024 คือ

ข้อมูลที่นำมาให้ดูในวันนี้ มาจากข้อมูลของการปรับปรุง Profile ของสมาชิกใน LinkedIn ในช่วง 12 เดือนก่อนหน้า เชื่อมั้ยครับว่า… สมาชิกใน LinkedIn มีการเพิ่มข้อมูลทักษะ (Update) ลงใน Profile กว่า 680 ล้านทักษะ (เพิ่มขึ้นกว่า 80% จากปีก่อน)

Read more
ChatGPT แนะนำให้ผมเขียนเรื่องห้องสมุดและบรรณารักษ์แบบนี้

ChatGPT แนะนำให้ผมเขียนเรื่องห้องสมุดและบรรณารักษ์แบบนี้

ก่อนอื่นผมต้องขอออกตัวก่อนนะครับว่า “เรื่องที่เขียนในวันนี้ ไม่ได้มาจากการหมดไฟ หรือ หมดไอเดียที่จะเขียนเรื่องราวของห้องสมุดหรือบรรณารักษ์นะครับ” แต่มาจากการอยากลองสิ่งใหม่ๆ มากกว่า

หากกล่าวถึง ChatGPT ผมคงไม่ต้องแนะนำอะไรมากมายแล้ว ณ ตอนนี้ เพราะเชื่อว่าเพื่อนๆ หลายคนก็คงรู้จัก และหลายคนก็คงใช้ในชีวิตประจำวันเช่นกัน

Read more
คำแนะนำจากบรรณารักษ์นักการตลาด (superlibrarymarketing.com)

คำแนะนำจากบรรณารักษ์นักการตลาด (superlibrarymarketing.com)

วันนี้ได้เข้าไปศึกษาข้อมูลด้านการตลาดจาก superlibrarymarketing.com ซึ่งดำเนินการเขียนมาจนถึงตอนที่ 200 แล้ว เพราะฉะนั้น คุณ Angela Hursh (เจ้าของบล็อก) จึงชวนเพื่อนๆ นักการตลาดวงการห้องสมุดของเธอมาอัดคลิปเพื่อพูดถึงเทคนิคทางการตลาดแบบสั้นๆ ให้เราได้ฟัง

Read more
โลกเสมือนจริงและหุ่นยนต์ : ห้องสมุดสิงคโปร์ในบทถัดไป (Next Chapter)

โลกเสมือนจริงและหุ่นยนต์ : ห้องสมุดสิงคโปร์ในบทถัดไป (Next Chapter)

วันนี้ได้มีโอกาสอ่านบทความห้องสมุดในยุคถัดไปของประเทศสิงคโปร์แล้วทำให้รู้สึกตื่นเต้นอย่างบอกไม่ถูก บทความนี้เป็นการสัมภาษณ์ Ramachandran Narayanan ผู้บริหารของ NLB โดยชื่อบทความ คือ Immersion and robots: The next chapter for Singapore’s libraries

ภาพถ่ายจากการไปเยี่ยมชมห้องสมุดที่สิงคโปร์เมื่อปี 2018

ก่อนจะไปอ่านบทสรุป ผมขอกล่าวถึงคำ Keyword ทั้งสองคำก่อน นั่นคือ “Robot” และ “Immersion” ซึ่งคำแรกเป็นคำที่หลายคนคงคุ้นเคย นั่นคือการนำหุ่นยนต์มาใช้ในวงการห้องสมุด มาช่วยทั้งบรรณารักษ์ และผู้ใช้บริการ ส่วนอีกคำ “Immersion” หรือแปลเป็นไทยว่า “การดื่มด่ำในโลกเสมือนจริง” หรือจะเรียกว่า “Immersive” ก็ได้ มักใช้ควบคู่กับคำว่า Virtual Reality

โดยคุณ Ramachandran Narayanan ได้กล่าวถึง highlights ของเครื่องมือทางเทคโนโลยีที่สำคัญมากๆ ของห้องสมุดสิงคโปร์ นั่นก็คือ การนำเอาเรื่อง data analytics และ AI มาปรับใช้ในวงการห้องสมุด ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเทคโนโลยีในห้องสมุดว่าสามารถนำมาใช้ทำอะไรได้บ้าง

ตัวอย่างการนำเทคโนโลยีมาใช้ในห้องสมุดสิงคโปร์

1) Immersive storytelling (การเล่าเรื่องด้วยเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง)

กิจกรรมส่งเสริมการอ่านในเด็ก / เล่านิทานที่ใช้เทคโนโลยีการฉายวีดีโอและระบบตัวจับ Sensor ของผู้เล่า และผู้ใช้บริการ ทำให้ได้ภาพวีดีโอเสมือนจริง และสามารถสร้าง Interactive กับสื่อต่างๆ ได้

2) Personalising experiences with AI (สร้างประสบการณ์เฉพาะตัวบุคคลด้วย AI)

ให้บริการแนะนำเนื้อหา (Contents) ที่ตรงใจผู้ใช้บริการแบบเฉพาะเจาะจงตัวบุคคลมากขึ้น ด้วยการนำ data analytics ของผู้ใช้มาวิเคราะห์และให้บริการที่ตรงใจ

3) Robots as library assistants (หุ่นยนต์ผู้ช่วยเหลืองานห้องสมุด)

ใช้หุ่นยนต์ในการปฏิบัติหน้าที่ในห้องสมุดเพื่อช่วยเหลือบรรณารักษ์ในงานต่างๆ รวมถึงหุ่นยนต์ที่คอยแนะนำบริการ และให้ความช่วยเหลือผู้ใช้บริการ

4) Automating the library workflow (ระบบการทำงานที่เป็นระบบอัตโนมัติ)

การนำระบบการทำงานที่เป็นระบบอัตโนมัติมาใช้ในงานต่างๆ อาทิ การรับคืนหนนังสือผ่านตู้คืนหนังสืออัตโนมัติ (Book Drop) ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถมองเห็นกลไกการทำงานของสายพานลำเลียงหนังสือ และระบบที่คัดแยกหนังสือไปยังห้องสมุดต่างๆ ได้ ซึ่งทำให้การให้บริการสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

Mobile Bookdrop ที่ Tampines Regional Library

จากตัวอย่างการนำเทคโนโลยีมาใช้ในห้องสมุดสิงคโปร์ข้างต้น จะเห็นว่ามีการนำเทคโนโลยีหลายอย่างมาปรับใช้กับการให้บริการและการปฏิบัติงาน ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาสามารถทำงานได้จริง และเริ่มมีการนำมาให้บริการเรียบร้อยแล้ว ซึ่งต้องชื่นชมว่านอกจากสร้างไอเดียแล้ว ยังมีการลงมือปฏิบัติให้เห็นเป็นรูปธรรมด้วย

หากเพื่อนๆ สนใจรายละเอียดอื่นๆ หรือต้องการอ่านเนื้อหาฉบับเต็มก็สามารถเข้าไปอ่านต่อได้ที่ Link ด้านล่างนะครับ

ที่มาของบทความ : https://govinsider.asia/smart-gov/immersion-and-robots-the-next-chapter-for-singapores-libraries/

บรรณารักษ์ทำอะไรแก้เซ็งได้บ้างในช่วง WFH (Work From Home)

บรรณารักษ์ทำอะไรแก้เซ็งได้บ้างในช่วง WFH (Work From Home)

สวัสดีปีใหม่ 2564 นะครับชาวบรรณารักษ์และคนทำงานห้องสมุดทุกท่าน เชื่อว่าในเดือนนี้คงมีหลายๆ ห้องสมุดต้องปิดให้บริการ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศ …

ภาพจาก Google COVID

นโยบายที่บรรณารักษ์และคนทำงานต้องปฏิบัติ คือ WFH (Work From Home)

หลายคน ขนหนังสือกลับบ้านไปเพื่อ Catalog
หลายคน เตรียมให้บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าจากที่บ้าน
หลายคน อาจต้องแวะเข้ามาห้องสมุดเพื่อนำหนังสือไปส่ง (Book Delivery)
หลายคน ใช้เวลานี้ในการเรียนรู้เรื่องราวใหม่ๆ

Read more
รีวิวหนังสือ สูตรสำเร็จเพื่อการเปลี่ยนแปลงห้องสมุดสู่ยุคใหม่

รีวิวหนังสือ สูตรสำเร็จเพื่อการเปลี่ยนแปลงห้องสมุดสู่ยุคใหม่

นานๆ ทีจะได้เข้ามาอัพความรู้เกี่ยวกับวงการห้องสมุด วันนี้มีโอกาสได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่ง “Creating a New Library: Recipes for Transformation” แล้วได้ข้อคิดดีๆ หลายอย่าง จึงอยากนำมาแชร์ให้เพื่อนๆ อ่าน สามารถติดตามรีวิวหนังสือเล่มนี้ได้ ด้านล่างนี้เลย

Read more
ผลสำรวจความคาดหวังของบรรณารักษ์และแนวทางการพัฒนาห้องสมุด 2020

ผลสำรวจความคาดหวังของบรรณารักษ์และแนวทางการพัฒนาห้องสมุด 2020

ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 หลายคนคงใช้เวลาในช่วงนี้ทำงานจากที่บ้าน (Work form home) และผมเชื่อว่ามีบรรณารักษ์หลายท่านที่ใช้โอกาสนี้ในการอัพเดทความรู้ต่างๆ รอบตัว เผื่อว่าหลังสถานการณ์นี้ผ่านไปองค์กรของท่านหรือห้องสมุดของท่านจะเปลี่ยนแนวทางการทำงานและให้บริการผู้ใช้ที่ดีมากกว่าที่เราเคยทำ…

เพื่อให้เกิดการวางแผนและพัฒนาห้องสมุด วันนี้ผมขอนำผลสำรวจที่ Wiley จัดทำเป็นประจำทุกปีมาแชร์ให้เพื่อนๆ อ่าน ซึ่งเพื่อนๆ สามารถอ่านรายงาน “Librarian Survey 2020 : Aspirations and Career Development Findings for Library Professionals” ได้ที่ https://www.wiley.com/network/librarians/library-impact/library-survey-report-2020

หรือ ถ้าไม่มีเวลามาก อ่านบทสรุปของผมได้ ด้านล่างนี้เลยครับ

Read more
การปรับตัวและการเรียนรู้ของสังคมในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก (สไลด์บรรยาย)

การปรับตัวและการเรียนรู้ของสังคมในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก (สไลด์บรรยาย)

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (1 พ.ย.) ชมรมห้องสมุดเฉพาะ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ร่วมกับ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้จัดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2562 ชมรมห้องสมุดเฉพาะ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ และ การประชุมวิชาการ เรื่อง “ทักษะวิชาชีพบรรณารักษ์ในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก” (Professional Librarian Development and Disruptive Technologies)

และผมเองก็ได้รับมอบหมายให้เป็นหนึ่งในวิทยากรในการประชุมวิชาการดังกล่าว โดยใน Session ของผม หัวข้อ “การปรับตัวและการเรียนรู้ของสังคมในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก” ซึ่งมีเวลาเพียง 45 นาที วันนี้ผมจึงขอสรุปให้เพื่อนๆ ได้อ่าน พร้อมทั้งนำสไลด์ในการบรรยายมาให้ชม

Read more
10 เรื่องที่จะทำให้คุณประสบความสำเร็จได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะความสามารถ

10 เรื่องที่จะทำให้คุณประสบความสำเร็จได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะความสามารถ

เรื่องที่เขียนวันนี้มาจากการอ่านหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 28 ตุลาคม 2562 ในคอลัมน์ Leading for the future ซึ่งเขียนเรื่อง “งานเข้า” แต่ซึ่งที่ผมสนใจมากกว่าเรื่องนี้ คือ ผู้เขียนได้กล่าวถึง “The 10 Things that Require Zero Talent” หรือ “10 เรื่องที่จะทำให้คุณประสบความสำเร็จได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะความสามารถ” (ในบทความของหนังสือพิมพ์วันนี้กล่าวเพียงข้อแรกข้อเดียว) ซึ่งผมจึงหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ต่อว่า 10 เรื่องที่ว่ามีอะไรบ้าง

Read more
ทักษะที่จำเป็นสำหรับบรรณารักษ์ทุกคน

ทักษะที่จำเป็นสำหรับบรรณารักษ์ทุกคน

วันนี้เปิดอ่านข่าวในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 21 ตุลาคม 2562 แล้วเจอคอลัมน์หนึ่ง “ก้าวไกลวิสัยทัศน์” ซึ่งเขียนโดย ดร.บวร ปภัสราทร (อาจารย์ที่เคยสอนปริญญาโทผมตอนที่อยู่ KMUTT) วันนี้ท่านเขียนเรื่อง “ทักษะที่จำเป็นสำหรับคนทุกยุค” ผมจึงขอนำมาต่อยอดและอธิบายให้บรรณารักษ์ได้อ่านกันต่อด้านล่างนี้นะครับ

ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่หลายท่านได้ยินคำว่า AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์กันบ้างแล้ว และนอกจากการที่ได้ยินคำๆ นี้บ่อยขึ้น ความฉลาดและความสามารถของ AI ก็ถูกพัฒนามากขึ้นเช่นกัน จนบ่อยครั้งที่ผมไปบรรยายให้พี่น้องชาวบรรณารักษ์ฟังจะต้องมีคำถามว่า “แล้วเราจะถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์หรือไม่”

Read more