สำนักหอสมุดกลาง ม.หอการค้า รับบรรณารักษ์ 1 ตำแหน่ง

เดือนมีนาคมเดือนแห่งบรรณารักษ์น้องใหม่ เดือนนี้ Libraryhub ขอเป็นสื่อกลางในการหางานให้น้องๆ ที่อยากทำงานห้องสมุด รวมถึงพี่ๆ ที่อยากเปลี่ยนงานมาทำงานห้องสมุด เอาเป็นว่าวันนี้วันแรก ผมขอแนะนำงานบรรณารักษ์ในมหาวิทยาลัยก่อนแล้วกัน เริ่มจาก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเลยครับ

UTCC librarian

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงานนี้
ชื่อตำแหน่ง : บรรณารักษ์
จำนวน : 1 ตำแหน่ง
สังกัด / หน่วยงาน : สำนักหอสมุดกลาง
สถานที่ปฏิบัติงาน : สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ตำแหน่งนี้เห็นว่าต้องสอบคัดเลือกด้วยนะครับ ดังนั้นเพื่อนๆ คงต้องเตรียมตัวกันหน่อยนะครับ
แต่ก่อนที่จะสมัครในตำแหน่งนี้ผมขอแนะนำคุณสมบัติเบื้องต้นก่อน

คุณสมบัติผู้สมัคร
1. วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี (เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.50) สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ สารนิเทศศาสตร์ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับระบบการจัดการห้องสมุดอัตโนมัติ
3. สามารถใช้คอมพิวเตอร์สาหรับงานสานักงานได้เป็นอย่างดี
4. มีความรู้ทางภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี
5. เพศชายต้องผ่านการเกณฑ์ทหารหรือได้รับการยกเว้นการเป็นทหารแล้ว

งานนี้มีการระบุเกรดเฉลี่ยด้วย ดังนั้นรบกวนดูกันนิดนึงนะ ส่วนเรื่องของเพศ ที่นี่ไม่ได้ระบุไว้แสดงว่าได้หมดนะครับ ส่วนผู้ชายต้องจัดการเรื่องทหารให้เรียบร้อยด้วยนะ

เอาหล่ะถ้าคุณสมบัติเบื้องต้นผ่าน เรามาดูดีกว่าว่าจะสมัครอย่างไร
ผู้สนใจโปรดติดต่อขอใบสมัครและรายละเอียด พร้อมยื่นใบสมัครตามแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนดด้วยตนเอง ที่สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ อาคาร 10 ชั้น 5 ตั้งแต่วันจันทร์ ถึงวันศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30 – 16.00 น. ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ไม่ได้ระบุเวลาปิดรับสมัครอ่ะครับ อันนี้คงต้องติดต่อไปสอบถามกันเองนะ
รายละเอียดอื่นๆ รบกวนดูที่ http://library.utcc.ac.th/library/

สำหรับวันนี้ขอให้โชคดีนะครับเพื่อนๆ

สรุปการบรรยาย สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการบริการห้องสมุด

เมื่อวันอาทิตย์ที่มา (วันที่ 25 มีนาคม 2555) ผมได้รับเกียรติให้ไปเป็นวิทยากรการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการบริการห้องสมุด” ซึ่งจัดโดยห้องสมุดนงเยาว์ ชัยเสรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา สมาคมห้องสุมดแห่งประเทศไทยฯ ตามธรรมเนียมครับที่ผมจะต้องมาสรุปงานให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน

รายละเอียดเกี่ยวกับการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ เพื่อนๆ สามารถอ่านได้ที่
http://www.libraryhub.in.th/2012/02/28/workshop-facebook-for-library-service/

การบรรยาย แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ
– ช่วงเช้า เน้นทฤษฎี ความรู้ที่เกี่ยวกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ และแนะนำการใช้งาน Facebook เบื้องต้น
– ช่วงบ่าย เน้นการปฏิบัติ เริ่มตั้งแต่การสมัครใช้งาน Facebook การปรับแต่งหน้าตา และเครื่องมือที่ไม่ควรพลาด

ปล. สื่อสังคมออนไลน์มีมากมาย แต่หลักๆ วันนั้นผมลงรายละเอียดที่ Facebook Fanpage เป็นหลัก

Slide ที่ผมใช้บรรยายมีจำนวน 3 Slide ประกอบด้วย
1. เปิดมุมมองห้องสมุดในต่างประเทศ
2. พฤติกรรมของผู้ใช้ห้องสมุด “ระดับนักศึกษา” 2005-2010 (ไม่สามารถเผยแพร่ได้เนื่องจากยังไม่สมบูรณ์)
3. Facebook Fanpage สำหรับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์

ผมขอสรุปไปทีละ Slide เลยแล้วกันนะครับ เพื่อที่ว่าเพื่อนๆ จะได้เปิด  Slide และดูตามไป

1. เปิดมุมมองห้องสมุดในต่างประเทศ

Slide ชุดนี้ผมอยากให้ผู้ที่เข้าฟังการบรรยายได้รู้จักคำศัพท์และเครื่องมือต่างๆ กันสักหน่อย ซึ่งได้แก่ Blog, Wiki, IM, Tag, Widget, Library Search, RSS, Flickr, Ning, Facebook, Slideshare, Youtube, Scribd, Spokeo, Zoomii, Zotero, Yahoo Pipe, Bibme

2. พฤติกรรมของผู้ใช้ห้องสมุด “ระดับนักศึกษา” 2005-2010 (ไม่สามารถเผยแพร่ได้เนื่องจากยังไม่สมบูรณ์)

3. Facebook Fanpage สำหรับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์

Slide ชุดนี้เป็นเนื้อหาหลักของการบรรยายในวันนั้นเลย (จริงๆ เป็นสไลด์ชุดเดียวกับที่ผมบรรยายที่โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ซึ่งเพื่อนๆ สามารถอ่านได้จาก http://www.libraryhub.in.th/2012/02/16/facebook-fanpage-for-thai-junior-encyclopedia-project/) แต่ผมขอเอามาสรุปอีกครั้งก็แล้วกัน

เรื่องของความหมายของ Facebook คงไม่ต้องอธิบายกันแล้วเนื่องจากผู้ที่เข้าอบรมทุกคนใช้ Facebook กันอยู่แล้ว

รูปแบบการใช้ Facebook ในปัจจุบัน เราสามารถแบ่งได้เป็น 3 แบบใหญ่ๆ คือ
1. Profile
2. Group
3. Page

แต่ละแบบใช้งานและมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน

ในวงการห้องสมุดเมืองไทยก็มีความเข้าใจในเรื่องการใช้ Facebook กันผิดประเภทหลายแห่ง
ส่วนใหญ่มักจะสมัครใช้ Facebook ในแบบ Profile จำนวนมากเนื่องจากสมัครง่าย
แต่หลายๆ คนลืมคิดถึงข้อจำกัดด้านต่างๆ เช่น ความเป็นส่วนตัว จำนวนสมาชิก การวัดผลการใช้งาน…

ดังนั้นข้อสรุปแล้ว ผมจึงนำเสนอให้ ห้องสมุดใช้แบบ Page จะดีกว่า เพราะ
ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ (แม้ว่าผู้ใช้จะไม่ได้เล่น Facebook) จำนวนสมาชิกที่ไม่จำกัด และการวัดผลที่ชัดเจน

ตัวอย่าง Facebook Fanpage ในวงการห้องสมุดที่น่าสนใจ
– Tkpark อุทยานการเรียนรู้ (http://www.facebook.com/tkparkclub)
– Thailand Creative & Design Center (TCDC) (http://www.facebook.com/tcdc.thailand)
– ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี ศูนย์ความรู้กินได้ (http://www.facebook.com/Ubonpubliclibrary)
– เครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย (http://www.facebook.com/THLibrary)
– Thammasat University Libraries (http://www.facebook.com/pages/Thammasat-University-Libraries/100107346702609)

ข้อแนะนำสำหรับการใช้ Facebook Fanpage
1. คอยอัพเดทข่าวสารและกิจกรรมของห้องสมุดใหม่ให้ผู้ใช้บริการอย่างสม่ำเสมอ อยากปล่อยให้ข่าวไม่อัพเดทเกิน 1 เดือน
2. หากผู้ใช้บริการขอความช่วยเหลือผ่านเว็บไซต์ห้องสมุดหรือสื่อสังคมออนไลน์ เช่น ขอต่ออายุการยืมหนังสือ ห้องสมุดไม่ควรปฏิเสธ
3. ใส่ใจกับความคิดเห็นหรือคำถามของผู้ใช้บริการด้วย อย่าเงียบหายหรือละเลย พยายามตอบและให้บริการด้วยความเร็ว
4. ไม่นำเรื่องราวพฤติกรรมที่แย่ๆ ของผู้ใช้บริการมาลงในเว็บไซต์หรือสื่อสังคมออนไลน์ของห้องสมุด
5. พยายามพูดคุยหรือถามความคิดเห็นจากผู้ใช้บริการในห้องสมุดเกี่ยวกับสื่อสังคมออนไลน์บ้าง
6. การจัดกิจกรรมในห้องสมุดทุกครั้งควรนำมาลงในเว็บไซต์ห้องสมุดและสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อให้ผู้ใช้บริการติดตามข่าวสารของห้องสมุด

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นเพียงบทสรุปแบบคร่าวๆ ในวันนั้นนะครับ
ก่อนปิดบล็อกวันนี้ ผมขอขอบคุณ บริษัท Mercuri Data ด้วยนะครับที่สนับสนุนกิจกรรมในครั้งนี้

ภาพการอบรมในวันนั้นผมลงให้แล้วใน Facebook เพื่อนๆ สามารถเข้าไปชมภาพบรรยากาศได้เลยที่
http://www.facebook.com/media/set/?set=a.352474518127142.74790.196587720382490&type=1

แล้วอย่าลืมมากด Like เป็น Fanpage ของเครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย ด้วยนะครับ http://www.facebook.com/THLibrary

ภาพบรรยากาศการอบรมในวันนั้นทั้งหมด

[nggallery id=54]

โครงการศึกษาดูงานชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา 2554

“ไปเที่ยวกันมั้ย มั้ย มั้ย มั้ย มั้ย…..จะไปก็รีบไป ไป ไป ไป ไป …….ไปดูงานห้องสมุดกันเถอะ!!!”
วันนี้มีโครงการดีๆ มาประชาสัมพันธ์ครับ เป็นโครงการของชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา สมาคมห้องสมุดฯ
อย่างที่เกริ่นนั่นแหละครับ โครงการนี้เป็น “โครงการศึกษาดูงาน” ครับ ว่าแต่ไปดูกันที่ไหนบ้าง ลองอ่านโครงการกันก่อนเลยครับ

โครงการศึกษาดูงานชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา สมาคมห้องสุมดแห่งประเทศไทย ฯ ประจำปี 2554
Academic Librarian Group Thai Library Association (ALG TLA) Study Tour :  2011

……………………………………………………..

ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรุ้งทิพย์ ห่อวโนทยาน (รองประธาน และ กรรมการฝ่ายวิชาการ)

หลักการและเหตุผล

ชมรมบรรณารักษ์ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ฯ (Academic Librarian Group: Thailand Library Association) เป็นชมรมหนึ่งในสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ฯ โดยเป็นกลุ่มของบรรณารักษ์ และผู้ปฏิบัติงานในห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย เป็นองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อให้ความรู้ทางวิชาการ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์จาการปฏิบัติงานในห้องสมุด และเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ของข้อมูลข่าวสารระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา

ชมรม ฯ เล็งเห็นความสำคัญของการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เรียนรู้และเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิก  จึงจัดโครงการศึกษาดูงานแหล่งบริการสารสนเทศ / แหล่งเรียนรู้ที่มีการดำเนินงานที่เข้มแข็งมีกิจกรรมที่น่าสนใจ ณ จังหวัดนครปฐม ได้แก่ หอสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากรพระราชวังสนามจันทร์ และหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) เพื่อให้สมาชิกและผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้และประสบการณ์  ตลอดจนสร้างความสัมพันธ์ที่ดีนำไปสู่การพัฒนาวงการวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ต่อไป

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้สมาชิกและผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ศึกษาแนวทางในการพัฒนาการดำเนินงานสถาบันบริการสารนิเทศ และแหล่งเรียนรู้
2. เพื่อให้สมาชิกและผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เพิ่มความรู้ประสบการณ์ในการดำเนินงานสถาบันบริการสารนิเทศ และแหล่งเรียนรู้
3. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิกและผู้เข้าร่วมกิจกรรม

วัน – เวลา : วันเสาร์ที่ 10 กันยายน  2554  เวลา 7.00 – 17.00 น.

สถานที่ : หอสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากรพระราชวังสนามจันทร์ และ หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม : กรรมการ/ทีมงาน สมาชิกชมรม และผู้สนใจ จำนวน 15 คน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. สมาชิกและผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ศึกษาแนวทางในการพัฒนาการดำเนินงานห้องสมุดจากห้องสมุดและ / หรือ สถาบันบริการสารสนเทศอื่น ๆ
2. สมาชิกและผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เพิ่มความรู้ประสบการณ์ในการดำเนินงานห้องสมุดและ / หรือ สถาบันบริการสารสนเทศอื่น ๆ
3. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิกและผู้เข้าร่วมกิจกรรม

เป็นยังไงกันบ้างครับ อ่านโครงการแล้วเริ่มสนใจกันบ้างหรือปล่าว ไปดูงานได้พูดคุยได้แลกเปลี่ยนความรู้กันในหลายๆ ด้าน พบปะและสร้างเครือข่ายกลุ่มบรรณารักษ์ด้วยนะครับ สิ่งดีๆ มีมากขนาดนี้แล้ว ไม่เข้าร่วมไม่ได้แล้ว

เรามาดูกำลังการแบบคร่าวๆ กันก่อนดีกว่าครับ
6.15 น. เดินทางจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต  ไปอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
7.00 น. แวะรับที่จุดจอดรถตู้ มธ.ศูนย์รังสิต อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มุมใกล้สมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์
7.00 – 8.30 น. เดินทางจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ไปจังหวัดนครปฐม
8.30 – 11.00 น. ศึกษาดูงานหอสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากรพระราชวังสนามจันทร์
11.00 –12.30 น. รับประทานอาหารกลางวัน ณ บริเวณใกล้มหาวิทยาลัยศิลปากรพระราชวังสนามจันทร์
12.30 – 14.00 น. เดินทางจากจังหวัดนครปฐม ไปหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) พุทธมณฑลสาย 5
14.00 – 16.00 น. ศึกษาดูงานหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)
16.00 น. ออกเดินทางกลับ
17.30 น. เดินทางถึงกรุงเทพ โดยสวัสดิภาพ

เอาเป็นว่าใครสนใจก็ติดต่อและแจ้งรายชื่อเข้าร่วมโดยด่วนที่ คุณรุ้งทิพย์ ห่อวโนทยาน.  โทร. 086-5284042  นะครับ