สรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook#2

วันนี้ผมกลับมาแล้วครับ กับการสรุปความคืบหน้าและประเด็นต่างๆ ที่อยู่ในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook นะครับ
เรื่องราวในช่วงวันที่ 11 ? 21 ธันวาคม 2553 มีเรื่องที่น่าสนใจในวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มากมาย ไปดูกันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง

ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวงการบรรณารักษ์ไทยที่น่าสนใจ มีดังนี้

– 11/12/53 = “เพื่อนๆ คิดยังไงถ้าหอสมุดแห่งชาติควรจะต้องทำการตรวจสอบสถานภาพหนังสือทุกเล่มใหม่ (Inventory)” มีผลสรุปดังนี้
– ควรทำการตรวจสอบข้อมูลแบบนี้ทุกปี เพื่ออัพเดทข้อมูลให้ตรงกับความเป็นจริง
– การที่ไม่ได้ทำนานจะทำให้ต้องใช้เวลามากในการปฏิบัติ แต่หากเราทำอย่างสม่ำเสมออยู่แล้วจะทำให้ใช้เวลาน้อยลง
– ถ้าหนังสือมันเยอะมากจริงๆ ก็สามารถทำโดยการแบ่ง collection แล้วค่อยๆ ไล่ทำก็ได้

– 13/12/53 = “ห้องสมุดประชาชนกับการเก็บค่าใช้บริการประชาชนเหมาะสมเพียงใด” มีผลสรุปดังนี้
– เก็บได้แต่ต้องไม่ทำให้ประชาชนเดือดร้อน เงินที่เก็บเอาไปพัฒนาและซ่อมแซมห้องสมุด
– ทำเครือข่ายให้ห้องสมุด สนับสนุนการสร้าง friend of Library

– จากบทความ “ว่าไงนะ บรรณารักษ์ตายแล้ว?” ที่ผมเขียนลงในกรุงเทพธุรกิจ บรรณารักษ์ได้ให้ความเห็นดังนี้
– บรรณารักษ์เปลี่ยนบทบาทและให้ความสำคัญกับการเป็นตัวกลางในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้บริการ
– ปรับตัวและปรับใจยอมรับเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยอาจจะเรียนรู้จากผู้ใช้บริการก็ทำได้
– โดนใจ “บรรณารักษ์บางทีควรที่จะมีประตูหลายๆ บาน เพื่อมีช่องทางการเปิดรับที่หลากหลายและที่สำคัญต้องยอมรับความเปลี่ยนแปลง”
– เห็นด้วย “เราคงต้องเป็นบรรณารักษ์ฟิวชั่น หรือบรรณารักษ์มิกซ์แอนแมช ระหว่างความเก่า ภาวะปัจจุบันและอนาคต”

– “ภาพยนตร์ หรือวรรณกรรมเรื่องใดบ้างครับที่กล่าวถึงห้องสมุดบ้าง”
– เพื่อนช่วยกันแนะนำซึ่งได้แก่ Harry Potter, librarian, My Husband 2, กฏหมายรักฉบับฮาร์วาร์ด, นิยายเรื่องรักร้อยพันใจ, การ์ตูน R.O.D. (Read or Die), ห้องสมุดสุดหรรษา, The mummy, The Shawshank Redemption, The Librarian quest for the spear, Heartbreak Library, จอมโจรขโมยหนังสือ, Beautiful life, NIGHT AT THE MUSEUM, Whisper of the heart, เบญจรงค์ 5 สี

– “ในการพัฒนาห้องสมุดเฉพาะ (และต้องทำงานคนเดียว) จะพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุน การอ่านอย่างไร ให้เข้าถึงผู้ใช้มากที่สุด” มีผลสรุปดังนี้
– ส่งเสริมผ่าน Web 2.0 เช่น Social Network ควบคู่ไปกับ ส่งจดหมายข่าวผ่านช่องทาง Email
– กลยุทธ์ ปากต่อปาก (ของดีต้องบอกต่อ)
– หิ้วตะกร้าใส่หนังสือ นิตยสารไปส่งถึงที่ (ประมาณ book delivery)

– “การเก็บสถิติห้องสมุด มีประโยชน์อย่างไร และ เรื่องใดที่ควรเก็บสถิติ ?” มีผลสรุปดังนี้
– สถิติการยืม+การใช้ภายใน (in house use) เพื่อดูว่าหนังสือเล่มใดที่มีการใช้น้อยมากๆ จะได้หาทางประชาสัมพันธ์
– “ใช้เป็นหลักฐานในการสนับสนุนการทำงานทุกอย่าง เช่น การจัดเจ้าหน้าที่ให้บริการตามจุดต่างๆ การเคลื่อนย้ายที่มีเสียง การจัด event การจัดโปรโมชั่น การประชุมของเจ้าหน้าที่ ฯลฯ”
– แนะนำให้อ่านเรื่องนี้ที่ http://www.thailibrary.in.th/2010/11/25/new-technology-and-best-practice-in-library-services/ และ http://www.thailibrary.in.th/2010/11/29/library-stat/

– “โครงการไทยเข้มแข็งที่ช่วยยกระดับครูบรรณารักษ์ของห้องสมุดโรงเรียน” มีหลักการคือ สพฐ. ให้ภาควิชาบรรณารักษ์ อักษรจุฬาฯ ทำคู่มืออบรม เชิญอาจารย์จากภาควิชาบรรณารักษ์ทั่วประเทศมาอธิบายวิธีใช้คู่มือ แล้วให้กลับไปจัดอบรมและเป็นวิทยากรในพื้นที่ของตัวเอง

– กระทู้นี้น่าคิด “เมื่อไหร่บรรรณารักษ์จะมี “ใบประกอบวิชาชีพ”” มีผลสรุปดังนี้
– อยากให้มี ยกระดับมาตราวิชาชีพ และการยอมรับของสังคม ให้เห็นความสำคัญของวิชาชีพบรรณารักษ์ให้มากขึ้น
– จะสามารถทำได้ถ้ามี พรบ.สภาวิชาชีพบรรณารักษ์ ซึ่งต้องปรึกษานักกฎหมาย
– ข้อจำกัดและอุปสรรค คือ ต้องหาองค์กรที่มารับรองวิชาชีพของเราด้วย ซึ่งองค์กรนั้นจะต้องเข้มแข็งเช่นกัน
– น่าสนใจ “ทาบทามผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพบรรณารักษ์ ทาบทามนักกฎหมาย แล้วก็ร่าง พรบ.ร่วมกัน ระหว่างนั้นให้ศึกษาแนวทางในการจัดตั้งสภาบรรณารักษ์ มารองรับ พรบ.”

– หน่วยงานไหนทำ Institutional Repository คลังปัญญาของตัวเองบ้าง
– ผลสรุปจากเพื่อนๆ เสนอมาหลายหน่วยงาน ได้แก่ ม.สงขลานครินทร์, ม.ศรีปทุม, ม.ขอนแก่น, ม.จุฬา, กรมวิทยาศาสตร์บริการ

– “สอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับเทคโนโลยี RFID ในห้องสมุดมหาวิทยาลัยหน่อยครับ ว่าขณะนี้ห้องสมุดมหาวิทยาลัยใดใช้เทคโนโลยีแล้วบ้าง และมีข้อดี ข้อเสียอย่างไร” มีผลสรุปดังนี้
– หน่วยงานที่มีการใช้งาน เช่น ม.พระจอมเกล้าลาดกระบัง, ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาฯ, ม.รังสิต, ห้องสมุดแบงก์ชาติ, สำนักวิทยบริการ มรภ.พิบูลสงคราม
– ใช้เพื่อตรวจหาหนังสือที่วางผิดที่ผิดทาง, ใช้ตอนทำ inventory, ให้บริการยืมคืนอัตโนมัติ
– ข้อเสียส่วนใหญ่มาจากเรื่องของเทคนิคมากกว่า บางแห่งเจอในเรื่อง server ล่ม
– แนะนำให้อ่าน http://www.student.chula.ac.th/~49801110/

– โปรแกรมเลขผู้แต่ง น่าเอาไปใช้ได้ ไม่ต้องเปิดหนังสือ http://www.md.kku.ac.th/thai_cutter/

– ภาพถ่ายของห้องสมุดการรถไฟฯ เพื่อประชาชนจังหวัดหนองคาย เป็นที่ชื่นชอบของเหล่าบรรณารักษ์มากๆ

– แนะนำ Facebook ของศูนย์ความรู้กินได้ http://www.facebook.com/kindaiproject

– วีดีโอของรายการเมโทรสโมสรมาเยี่ยมชมห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี http://www.youtube.com/watch?v=DzZqyVzCwtw

– ตัวอย่างการทำวีดีโอเปิดตัวศูนย์ความรู้กินได้ http://www.youtube.com/watch?v=cwyLMRwCdis

– กระทู้ยอดฮิตและผมต้องยกนิ้วให้มีสองเรื่องครับ โดยเรื่องแรกเป็นเรื่องที่ผมก็ลืมคิดไปในช่วงแรก คือ การแนะนำตัวว่าแต่ละคนทำงานที่ไหนหรือเรียนที่ไหน ส่วนเรื่องที่สองมาจากกระทู้ของน้องอะตอมในเรื่องครูบรรณารักษ์ที่มีหลายๆ คนแสดงความเห็น เอาเป็นว่าอันนี้ต้องไปอ่านกันเองนะครับไม่อยากสรุปเพราะกลัวจะทำให้เกิดการแตกแยก อิอิ เอาเป็นว่าอ่านกันเองมันส์กว่าครับ

สำหรับอาทิตย์นี้ผมต้องขออภัยในการอัพเดทล่าช้ามากๆ นะครับ เนื่องจากผมไม่มีเวลาในการเขียนบล็อกเลย
เอาเป็นว่าวันนี้บล็อกอาจจะยาวไปมาก แต่คร่าวหน้าสัญญาว่าจะอัพเดทให้ตรงเวลานะครับ

ขอบคุณเพื่อนๆ ทุกคนที่มีส่วนร่วมในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook นะครับ

เข้าร่วมกลุ่มกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook ได้ที่ http://www.facebook.com/home.php?sk=group_133106983412927&ap=1

วีดีโอเมื่อบรรณารักษ์กลายเป็นมนุษย์ดัดแปลง Cybrarian

หายไปจากบล็อกหลายวัน วันนี้ผมกลับมาแล้ว หลังจากที่ยุ่งๆ กับงานของตัวเองมาหลายวัน
วันนี้ผมไปบรรยายที่โรงเรียนนานาชาติบางกอกพัฒนามาด้วยแหละ แต่เอาไว้เล่าวันหลังนะ
วันนี้ผมขอเสนอวีดีโอ project ลับของหน่วยงานแห่งหนึ่ง ชื่อรหัสลับว่า “Cybrarian”

ไม่ต้องตกใจหรอกครับ คลิปวีดีโอนี้ไม่ใช่คลิปวีดีโอที่เป็นเรื่องจริงหรอกครับ
แต่เป็นเรื่องที่สร้างขึ้นมา เพื่อสร้างความบันเทิง (บันเทิงจริงหรอ) ในวงการห้องสมุด

ไปดูวีดีโอกันเลย

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=plCZCvqgjG4[/youtube]

หลายๆ คนเข้าใจว่า Cybrarian คือ บรรณารักษ์หุ่นยนต์, บรรณารักษ์สมองกล
ดังนั้นคลิปนี้จะออกมาในรูปแบบที่บรรณารักษ์ถูกดัดแปลงเป็นมนุษย์หุ่นยนต์ซะงั้น

Cybrarian ในแบบที่ผมอยากให้เป็น คือ บรรณารักษ์ที่มีทักษะและความรู้ด้านไอที ความคิดสร้างสรรค์ สื่อสังคมออนไลน์ และเครือข่ายสังคมออนไลน์ครับ ลองอ่านได้ที่ บรรณารักษ์ยุคใหม่สไตล์ Cybrarian

เอาเป็นว่า วีดีโอตัวนี้ดูไปก็ลุ้นไปใช่มั้ยครับ สนุกและตื่นเต้นแบบนี้ ผมยกนิ้วให้เลย
แต่อย่าเข้าใจผิด นึกว่าผมอยากให้บรรณารักษ์เป็นแบบนี้นะครับ ไม่เอาครับแบบนี้
ผมอยากให้บรรณารักษ์ทำงานอย่างมีชีวิตชีวามากกว่าการเป็นหุ่นยนต์ที่เก่งแต่ไร้ชีวิตชีวา

เพื่อนๆ คิดเหมือนผมมั้ย

สรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook#1

วันนี้ผมขอมาสรุปความคืบหน้าและประเด็นต่างๆ ที่มีการพูดคุยกันในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook นะครับ
เรื่องราวในสัปดาห์แรก (2 – 10 ธันวาคม 2553) เปิดตัวด้วยความงดงามซึ่งผมประทับใจมากครับ

ในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook ใน 1 สัปดาห์มีอะไรบ้างไปอ่านเลยครับ

ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวงการบรรณารักษ์ไทยที่ผมตั้งกระทู้รายวัน (Daily Topic) มีดังนี้

– 2/12/53 = เปิดตัวกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebookสรุปผล มีคนตอบรับเข้าร่วมนับร้อยคน
วันแรกก็สร้างความชื่นใจและเป็นแรงใจที่ดีในการพัฒนาวงการบรรณารักษ์ให้ผมแล้ว นอกจากนี้ผมได้กำหนดผู้ดูแลระบบให้หลายๆ คนเพื่อช่วยๆ กันดูแล เพราะกลุ่มนี้ไม่ใช่ของผมเพียงคนเดียว แต่เป็นกลุ่มของเพื่อนๆ ที่จะร่วมกันสร้างและพัฒนาวงการบรรณารักษ์และห้องสมุดไทย

– 3/12/53 = “คุณเห็นด้วยกับการดูงานห้องสมุดในประเทศและต่างประเทศหรือไม่ หากไม่มีงบประมาณในการดูงานมีแนวทางแก้ไขอย่างไร” มีผลสรุปดังนี้
— เราสามารถศึกษาข้อมูลห้องสมุดผ่านทางเว็บไซต์ก็ได้หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมอาจจะโทรไปคุยหรือส่งเมล์คุยกัน
— หาพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนมุมมองบนโลกออนไลน์ เช่น Facebook
— ดูงานในเมืองไทยก็ได้ เพราะห้องสมุดหลายแห่งก็เป็นตัวอย่างที่ดีเหมือนกัน
— การไปดูงานห้องสมุดในต่างประเทศเราต้องเตรียมประเด็นในการดูงานให้ดี ไม่ควรไปดูแบบ Library tour
— เอางบการดูงานในต่างประเทศไปเชิญอาจารย์จากต่างประเทศมาทำ workshop น่าจะได้ประโยชน์มากกว่า แถมห้องสมุดอื่นๆ ก็สามารถเข้าร่วมฟังได้ด้วย

– 4/12/53 = “เวลาดูงานห้องสมุดนอกสถานที่เพื่อนๆ มีประเด็นอะไรบ้างที่อยากดู”? มีผลสรุปดังนี้
— การไปดูงานของห้องสมุดแต่คนคนที่ไปควรไปดูงานที่สอดคล้องกับการทำงานของตนเอง แล้วกลับมาแชร์ไอเดียร่วมกัน
— เตรียมประเด็นไปดูงานให้ดีว่าอยากดูอะไร หรือทำแบบฟอร์มไว้เป็นแม่แบบในการดูงาน เพื่อใช้ในโอกาสต่อๆ ไป
— ถามสิ่งที่ไม่มีใน web ของห้องสมุด (บรรณารักษืต้องเตรียมตัวก่อนไปดูงานก่อน ทำการบ้านดีๆ นะ)

– 5/12/53 = งดกระทู้หนึ่งวัน เพราะอยากให้อยู่กับครอบครัว

– 6/12/53 = “เพื่อนๆ เคยไปดูงานที่ไหนแล้วประทับใจบ้าง และที่ไหนที่เพื่อนๆ อยากไปดูเพิ่มเติมอีก (แนะนำได้แต่ขอเน้นในเมืองไทยก่อนนะครับ)” มีผลสรุปดังนี้
— ห้องสมุดที่น่าไปดู เช่น TKpark, SCG XP library, TCDC, ASA Library, ห้องสมุดที่ มศว,ห้องสมุดที่ มจธ, ห้องสมุดมารวย และห้องสมุดที่หลายๆ คนแนะนำมากที่สุด คือ ห้องสมุดที่ ABAC

– 7/12/53 = “ในปี 2554 เพื่อนๆ จะพัฒนางานบริการของห้องสมุดเพื่อนๆ ไปในทิศทางไหน อย่างไร” มีผลสรุปดังนี้
— เพิ่มช่องทางบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าแบบ IM
— เน้นการให้ข้อมูลเชิงรุก หรือการให้บริการเชิงรุก
— ให้บริการด้วยเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน หรือเฉพาะสาขาวิชา
— project guide บรรณารักษ์ทำงานควบคู่กับนักศึกษา
— มีการกำหนด KPI ในการทำงาน เช่น ถ้าซื้อหนังสือใหม่มา 100 เล่ม ต้องมีคนยืมอ่านอย่างน้อย 95 เล่ม
— ทำ FAQ หรือ subject guide คำถามไหนที่ผู้ใช้เข้ามาบ่อยๆ หรือมีแนวโน้มว่าจะถามก็ทำเป็นคู่มือ

– 8/12/53 = “บริการไหนในห้องสมุดที่เพื่อนๆ คิดว่าแปลกกว่าที่อื่นๆ” มีผลสรุปดังนี้
— ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี มี Ipod touch ให้ยืมใช้ภายในห้องสมุด
— Project Facilitator Librarian คือ ให้บริการเป็นที่ปรึกษาการทำวิทยานิพนธ์

– 9/12/53 = ไม่ได้ตั้ง Topic ไว้อ่ะครับ ขออภัย

– 10/12/53 = “ห้องสมุดกับเรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์ มีอะไรที่เสี่ยงบ้าง”
— อ่านเรื่องนี้ได้ประโยชน์ http://www.slideshare.net/firstpimm/2537

ประเด็นเพิ่มเติมที่น่าสนใจอื่นๆ มีดังนี้
– น้องอะตอมได้แนะนคลิปวีดีโอ What is the future of the library? (http://www.youtube.com/watch?v=asYUI0l6EtE) ซึ่งเป็นวิทยานิพนธ์ที่ได้รับรางวัล โดยน้องอะตอมอธิบายเกี่ยวกับคลิปนี้ได้ดีมากๆ โดยน้องอะตอมกล่าวว่า “หลักๆคือ คลิปนี้ต้องการจะสื่อว่าความรู้และสารนิเทศได้เปลี่ยนแปลงไป จากเดิมความรู้เข้าถึงได้จากห้องสมุดและหนังสือเท่านั้น แต่ปัจจุบันความรู้และสารนิเทศได้ขยายเพิ่มมากขึ้น กระจายไปทั่วโลก คนหลายๆคนสามารถเข้าถึงได้ เนื่องจากยุคและกาลเวลาได้เปลี่ยนแปลงจาก Information Age เข้าสู่ยุค Digital Networked age”

– น้องอะตอมสอบถามเกี่ยวกับ “ความรู้เกี่ยวกับห้องสมุดเรือนจำหรือห้องสมุดทหาร” ผลสรุปมีดังนี้
— อาจารย์น้ำทิพย์ยกตัวอย่างกิจกรรมที่ มสธ ทำร่วมกับห้องสมุดเรือนจำ ชมได้ที่ http://picasaweb.google.com/library.stou.ac.th/315#
— สำนักหอสมุด ม.บูรพา ก็ไปจัดกิจกรรมที่ทัณฑสถานหญิง ชลบุรีทุกปี
— ห้องสมุดเรือนจำบางขวาง ที่นั่นจะจัด นช. ชั้นดี มาเป็นผู้ดูแลและให้บริการเพื่อนๆ โดยมี จนท. เรือนจำ ดูแลอีกที
— กรมราชทัณฑ์ก็พัฒนาห้องสมุดเรือนจำไปเรื่อยๆ เปิดให้ทุกฝ่ายเข้าร่วมด้วยเป็นการกุศล เทอดพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ ที่ไหนเสร็จแล้วเรียกว่า “ห้องสมุดพร้อมปัญญา”

– ทำไมห้องสมุดถึงเรียกห้องสมุดทั้งๆที่มันมีหนังสือ? ผลสรุปมีดังนี้
— “ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม / สำนักพิมพ์สารคดี = แต่โบราณนานมา คนไทยบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นพงศาวดาร ตำรายา กาพย์กลอน ฯลฯ ลงสมุดทั้งสิ้นสมุดที่ว่านี้เรียกว่าสมุดไทย ทำด้วยกระดาษข่อยแผ่นยาว ๆ หน้าแคบ พับทางขวางทบกลับไปกลับมา…คล้ายผ้าจีบ เป็นสมุดเล่มสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีทั้งชนิดกระดาษขาวและกระดาษดำ ดังนั้นจึงเรียกห้องที่ใช้เก็บสมุดว่า ห้องสมุด”

– 10 ธันวาคม เป็นวันครบรอบวันเกิดของ ดิวอี้ เจ้าพ่อระบบDDC บุคคลสำคัญแห่งวงการบรรณารักษ์ของโลก

– ตัวอย่างการทำวีดีโอแนะนำหนังสือ ลองดูนะครับ น่าสนใจดี http://www.youtube.com/watch?v=Z3NXUdWnxtg

รูปภาพจำนวน 8 รูปภาพ

สมาชิกในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebookจำนวน 225 คน

เอาเป็นว่านี่คือความคืบหน้าโดยภาพรวมของกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook สัปดาห์แรก
หวังว่าหลังจากนี้จะมีความคึกคักเพิ่มขึ้น และมีบรรณารักษ์เข้าร่วมกันเรามาขึ้นนะครับ
ในฐานะตัวแทนกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook ยินดีต้อนรับทุกคนครับ

เข้าร่วมกลุ่มกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook ได้ที่ http://www.facebook.com/home.php?sk=group_133106983412927&ap=1

เพื่อนๆ คิดยังไงกับบทความ “ว่าไงนะ บรรณรักษ์ตายแล้วหรือ”

วันนี้บทความที่ผมนำมาให้อ่านแค่ชื่อเรื่องอาจจะทำให้เพื่อนๆ หลายคนตกใจ และหลายๆ คนก็คงช็อค
แต่ต้องขอบอกไว้ก่อนนะครับว่า ชื่อเรื่องนี้ผมไม่ได้มีเจตนาจะลบหลู่วงการบรรณารักษ์ของพวกเราเลย

บทความเรื่อง “ว่าไงนะ บรรณรักษ์ตายแล้วหรือ” ได้ลงในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจฉบับวันนี้ (วันที่ 9 ธันวาคม 2553)
ซึ่งนักข่าวจากกรุงเทพธุรกิจมาขอสัมภาษณ์ผมเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และพูดคุยกันในเรื่องต่างๆ ของห้องสมุด
และจากการคุยในวันนั้นก็ได้บทความชิ้นนี้ออกมา (นักข่าวถอดคำพูดจากการสัมภาษณ์ผมนะ)

ใครที่ยังไม่ได้อ่านผมขอนำบทความนี้มาลงในบล็อกนี้ด้วยนะครับ

ว่าไงนะ บรรณรักษ์ตายแล้ว ?
โดย : จุฑารัตน์ ทิพย์นำภา

เคยมีรายงานสำรวจพฤติกรรมการอ่านหนังสือโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติเมื่อปี 2546 พบว่า คนไทยอ่านหนังสือโดยเฉลี่ยปีละ 7 บรรทัด

กลายเป็นข้อมูลอ้างอิงที่ถูกหยิบมากพูดกันน้ำหูน้ำตาเล็ด

อีก 5 ปีต่อมา 2551 ผลสำรวจสำนักเดิมอีกพบว่า แนวโน้มคนไทยอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นเป็น 39 นาทีต่อวัน

จนล่าสุด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสำรวจพบว่าคนไทยอ่านหนังสือนานถึง 94 นาทีต่อวัน เท่ากับว่าเวลาผ่านไปไม่ถึง 10 ปี คนไทยมีนิสัยรักการอ่านมากขึ้น หรือไม่ช่องทางการเข้าถึงหนังสือของคนไทยเพิ่มมากขึ้น

แน่นอนว่า อินเทอร์เน็ตเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นพฤติกรรมการอ่านของคนทั่วโลก

การอ่านหนังสือ และการค้นคว้าเอกสารของนักเรียนนักศึกษาไม่ได้จำกัดตัวอยู่ในห้องสมุดอย่าง เดียวแล้ว ภาพของนักศึกษายืนอยู่หน้าตู้ดัชนี ดึงลิ้นชักออกมาค้นหารายชื่อหนังสือ แทบจะไม่ปรากฏให้เห็นอีกแล้ว พวกเขาไม่ต้องการความรู้เกี่ยวกับการจัดระบบห้องสมุดแบบดิวอี้ และรัฐสภาอเมริกัน อีกต่อไป

เมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ นักพัฒนาระบบห้องสมุด จากโครงการศูนย์ความรู้กินได้ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (OKMD) ยอมรับว่า ทิศทางการสืบค้นแบบใหม่ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตทำให้การค้นหาแบบเดิมถูกตัดทิ้ง ห้องสมุดจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้ทันสมัย บรรณารักษ์ต้องเป็นได้มากกว่าคนเฝ้าห้องสมุด

ที่ผ่านมาแม้ห้องสมุด จะเปลี่ยนผ่านสู่ยุคของเทคโนโลยีโดยแปลงหนังสือทั้งเล่มให้อยู่ในรูปของอี บุ๊ค จัดเก็บในฐานข้อมูลดิจิทัลเพื่อความสะดวกในการค้นหา แต่เขากลับมองว่า นั่นไม่ใช่แนวทางที่จะสนับสนุนให้คนอ่านหนังสือมากขึ้น ขณะเดียวกันสิ่งที่เขามองคือการสร้างเนื้อหาที่น่าสนใจในรูปของบทความ นอกเหนือจากข่าวสาร บันเทิง ที่ปรากฏอยู่บนโลกอินเตอร์เน็ตในทุกวันนี้

เหตุผล ดังกล่าวผลักดันให้บรรณารักษ์ วัย 28 ปี ริเริ่มแนวคิดการสร้างชุมชนบรรณารักษ์ออนไลน์ขึ้นในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เพื่อหากลุ่มคนที่มีแนวความคิดเดียวกัน สร้างเป็นเครือข่าย ผลักดันให้เกิด libraryhub.in.th ศูนย์กลางข้อมูลสำหรับบรรณารักษ์โดยเฉพาะ

?แนวคิด นี้เกิดขึ้นจากความสนใจส่วนตัวที่หลงไหลในเสน่ห์ของห้องสมุด จนกระทั่งตัดสินใจเรียนต่อเพื่อที่จะเป็นบรรณารักษ์ ในขณะที่คนอื่นอาจเลือกเรียนในสายวิศวะ แพทย์ ที่ดูดีมากกว่า? เขากล่าว

libraryhub ที่เริ่มต้นโดยมีเป้าหมายแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และรวบรวมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพนี้โดยเฉพาะ ปัจจุบันเว็บไซต์ได้รับการยอมรับให้เป็นประตูของกลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่า นักพัฒนาห้องสมุด ในยุค 2.0

?ทุกวันนี้ห้องสมุดเกือบทุกแห่งเริ่ม เอานำสื่อออนไลน์เข้ามาใช้ อย่างเช่น เฟซบุ๊ค แฟนเพจ เข้ามาใช้ บรรณารักษ์ในโลกยุคใหม่ที่สามารถทำหน้าที่เป็นคนป้อนความรู้ให้กับผู้อ่าน ได้เลย โดยไม่ต้องยัดเยียด ต่างจากทฤษฎีของบรรณารักษ์รุ่นเก่าที่ใครจะเข้ามาใช้ห้องสมุดต้องมาค้นหา ข้อมูลเอง? เขาอธิบาย

เมฆินทร์ เล่าว่า ห้องสมุดในบ้านกับต่างประเทศแตกต่างกันมาก ยกตัวอย่าง สหรัฐ อาชีพบรรณารักษ์ส่วนใหญ่มาจากสายไอที อีกทั้งมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางเช่น ชีวะ ธุรกิจ แพทย์ ซึ่งโจทย์ของบรรณารักษ์คือจะทำอย่างไรให้คนห้องสมุด และอ่านหนังสือมากขึ้น

ครั้งหนึ่ง เมฆินทร์ เคยแก้โจทย์ที่ว่าจะทำอย่างไรให้เด็กช่างกลเข้าห้องสมุด เขาคิดหาแผนการทุกวันทั้งที่ใช้แล้วได้ผลและไม่ได้ผล ตั้งแต่หลอกล่อโดยวิธีการแปะสกอร์ฟุตบอล ไว้ข้างบอร์ดหางานพิเศษ แสดงถึงคุณสมบัติของคนที่ต้องการ ซึ่งเขามองว่าบรรณารักษ์สามารถแนะนำหนังสือที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เด็กที่ไม่ เคยสนใจอ่านหนังสือเลยได้ลองอ่านดู

แม้จะไม่มีทักษะด้านงานเขียนมา ก่อน แต่ด้วยสไตล์เขียนแบบเล่าเรื่อง ช่วยสื่อสารให้คนเข้าใจดีกว่าเขียนเป็นทางการแต่ไม่มีใครอ่านเลย หลังจากเขียนไปสักระยะหนึ่งเริ่มมีการส่งต่อเนื้อหา คอมเม้นท์ และสร้างเป็นกลุ่มสังคมออนไลน์ ด้วยฐานสมาชิกประมาณ 700 คน เกิดเป็นคอมมูนิตี้ ห้องสมุดที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน

จนกระทั่งเครือ ข่ายเริ่มขยายตัว เกิดเป็นไลเบอร์เลี่ยนแมกาซีนออนไลน์ ไลเบอร์เลี่ยนออนไลน์ดอทคอม ไลเบอร์เลี่ยนทีวี ในขณะที่ตัวเขาเองรับหน้าที่เดินสายบรรยายและเป็นที่ปรึกษาให้ห้องสมุดหลาย ที่ คิดโครงการใช้ประโยชน์จากสื่อสังคมออนไลน์ เช่น รณรงค์ให้นักอ่านแบ่งบันหนังสือ โดยใส่แท็กในแฟซบุ๊ค รวมถึงจัดลิมแคปม์ เปิดเวทีสัมมนาเฉพาะกลุ่มสำหรับบรรณารักษ์ในยุคดิจิทัล

เขามองว่า งานห้องสมุดยังมีอีกหลายเรื่องที่ต้องทำ เช่นการจัดการระบบห้องสมุดที่มีอยู่กระจัดกระจายทั่วกรุงเทพให้อยู่บนฐาน ข้อมูลเดียวกัน โดยยึดแบบอย่างจากห้องสมุดในประเทศสิงคโปร์ที่มีองค์กรกลางเข้ามาดูแลจัดการ ในเรื่องหนังสือ ฐานข้อมูล ทำให้ห้องสมุดขนาดเล็กทำหน้าที่ให้บริการเพียงอย่างเดียว

ขณะที่ ห้องสมุดในเครือข่ายของห้องสมุดกรุงเทพ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 20 แห่ง ทำงานแยกส่วนกัน ซึ่งหากมีการทำงานเป็นภาพรวมก็จะทำให้เห็นสถิติการอ่านของคนกรุงเทพ ซึ่งมาจากข้อมูลที่มีตัวชี้วัดที่แน่นอน รวมถึงการปรับเปลี่ยนหนังสือในห้องสมุดระดับจังหวัดให้มีเนื้อหาตรวจกับความ ต้องการของท้องถิ่น

เขามองว่า การสร้างห้องสมุคในยุคใหม่ต้องเริ่มต้นจากการสำรวจความต้องการของคนใน พื้นที่ สำรวจว่าท้องถิ่นมุ่งไปทางไหนได้บ้าง ไม่ว่าจะเป็น เกษตรกรรม หัตถกรรม หรือการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับนักอ่านที่แท้จริง

?ห้องสมุดจะนั่งอยู่เฉยให้คนมาบอกว่าไม่พัฒนา จะยอมจำนน หรือต้องสู้เพื่อการพัฒนา? เขาตั้งคำถามไปยังบรณารักษ์ทั้งมวล

ประเด็นหลักๆ ที่ผมอ่านแล้วช็อคตั้งแต่แรกคือ การใช้ชื่อเรื่องที่ค่อนข้างแรง (กลัวเพื่อนๆ รับไม่ได้)
แต่เนื้อหาด้านในพออ่านแล้วก็น่าจะได้ข้อคิดบ้างนิดๆ หน่อยๆ นะครับ (อยากให้อ่านเนื้อมากกว่าชื่อเรื่อง)

เอาเป็นว่าคิดเห็นยังไงก็เอามาลองคุยกันหน่อยครับ ขอเชิญแสดงความคิดเห็นด้านล่างนี้นะครับ
แต่สุดท้ายนี้ประโยคด้านล่างสุดของบทความ ผมก็ยังคงอยากบอกเพื่อนๆ อยู่เหมือนเดิม

?ห้องสมุดจะนั่งอยู่เฉยให้คนมาบอกว่าไม่พัฒนา จะยอมจำนน หรือต้องสู้เพื่อการพัฒนา?

ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/global/20101209/366647/%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B0-%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7–.html

กลุ่มบรรณารักษ์ไทย (Librarian in Thailand) ใน Facebook

ตอนนี้ผมได้สร้างเครือข่ายกลุ่มบรรณารักษ์ไทยออนไลน์ใน facebook แล้วนะครับ
วันนี้ผมจึงขอแนะนำเครือข่ายกลุ่มบรรณารักษ์ไทย หรือ กลุ่ม Librarian in Thailand ใน Facebook นะครับ

หากเพื่อนๆ จำได้หรือสังเกตด้านบนของบล็อกผม (Banner ด้านบน) นั่นก็คือเครือข่ายบรรณารักษ์ไทยออนไลน์ใน hi5 นั่นเอง แต่กลุ่มนั่นผมเปิดมาเกือบๆ จะสามปีแล้ว ซึ่งเมื่อสามปีที่แล้ว Hi5 กำลังเป็นที่นิยมของคนไทย แต่ปัจจุบันเพื่อนๆ หลายคนหันมาเล่น Facebook กันแทน ผมจึงเกิดไอเดียในการเปิดกลุ่มเพิ่มเติม


แรงบันดาลใจแรกเกิดจากการหาพื้นที่เพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนความรู้ในเรื่องห้องสมุดและบรรณารักษ์บนโลกออนไลน์ การที่ผมใช้พื้นที่ส่วนตัวของผมใน facebook มาตอบคำถามห้องสมุด มันก็จะไม่ค่อยเหมาะสมสักเท่าไหร่ เนื่องจากผมมีเพื่อนอยู่หลายกลุ่มไม่ใช่เพียงกลุ่มบรรณารักษ์อย่างเดียว หากในหน้าส่วนตัวผมมีแต่เรื่องห้องสมุด เพื่อนๆ คนอื่นก็จะไม่ค่อยชอบ และการเอาเรื่องอื่นๆ มาเขียนก็จะทำให้มันไม่ใช่พื้นที่ของบรรณารักษ์และห้องสมุด ดังนั้นจากการสังเกตเพื่อนๆ หลายคนพบว่า มีช่องทางบน facebook ที่สามารถทำได้ ดังนี้
1. เปิด account ใหม่ แล้วใช้ตอบคำถามและลงเรื่องเกี่ยวกับห้องสมุดอย่างเดียว
2. ตั้งหน้า fanpage ของ libraryhub ใน facebook เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยน
3. ตั้งกลุ่ม Librarian in Thailand แล้วดึงเพื่อนๆ ที่เป็นบรรณารักษ์เข้ากลุ่ม

ซึ่งผลสรุปแล้วผมเลือกที่จะตั้งกลุ่ม Librarian in Thailand แทน เนื่องจาก
– การตั้ง account เพื่อให้คนเข้ามาแอดเป็นเพื่อนเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมากและต้องใช้เวลาในการตกแต่งนาน
– การเปิด fanpage ก็ดี แต่ไม่เหมาะสมเท่าไหร่เพราะเห็นหลายคนตั้งไว้แล้ว แต่ไม่มีกิจกรรมเท่าที่ควร และไม่เป็นกลุ่มใหญ่
– การตั้งกลุ่มเป็นสิ่งที่ง่ายที่สุด และเพื่อนๆ สามารถดึงคนอื่นเข้ามาร่วมได้มาก

จากเหตุผลต่างๆ นานา ผมจึงใช้ Librarian in Thailand เพื่อ
– เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านห้องสมุดและบรรณารักษ์
– เป็นเวทีในการประชาสัมพันธ์ข่าวสารด้านห้องสมุดและบรรณารักษ์
– เป็นที่พบปะเพื่อนๆ ร่วมวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์

กลุ่ม Librarian in Thailand เปิดมาเกือบจะครบหนึ่งสัปดาห์แล้ว (เปิดเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2553)
ตอนนี้มีสมาชิกเข้าร่วมแล้ว 184 คน และมีหัวข้อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านห้องสมุดทุกวัน

โดยสมาชิก 184 คน ที่อยู่ในวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ซึ่งผมขอสรุปดังนี้
– คนทำงานบรรณารักษ์
– อาจารย์หรือครูบรรณารักษ์
– นักศึกษาเอกบรรณารักษ์
– ผู้ที่สนใจด้านห้องสมุดและบรรณารักษ์

ใครที่สนใจจะเข้ากลุ่มก็เข้าไปดูได้ที่ http://www.facebook.com/home.php?sk=group_133106983412927&ap=1

เอาเป็นว่าทุกสัปดาห์ผมจะนำ topic ต่างๆ ในกลุ่มมาสรุปและนำเสนอให้เพื่อนๆ ได้อ่านนะครับ
ขอบอกเลยว่าไอเดียของแต่ละคนในกลุ่มสุดยอดและน่าอ่านมากๆ เลยครับ

ปล. ขอบคุณเพื่อนๆ ที่เข้าร่วมอุดมการณ์ครับ

เรื่องห้องสมุดและบรรณารักษ์ยอดฮิตประจำเดือนพฤศจิกายน 2553

ฟีเจอร์ใหม่ของ Libraryhub ที่ผมกำลังจะทำหลังจากนี้คือ การสรุปเรื่องยอดฮิตของบล็อกห้องสมุดและบรรณารักษ์ประจำเดือน
ซึ่งเพื่อนๆ สามารถติดตามได้ในวันที่ 1 ของทุกเดือนเลยนะครับ เริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม เป็นต้นไป

เรื่องยอดฮิตนี้ผมก็นำมาจากสถิติในบล็อก Libraryhub ว่าเรื่องไหนเพื่อนๆ เข้ามาดูเยอะที่สุด
ซึ่งเกณฑ์ในการให้คะแนนเรื่องยอดฮิตมาจาก จำนวนคนเข้าดู, จำนวนคนคอมเม้นต์, จำนวนเรื่องที่ถูกอ้างอิง
ซึ่งในบล็อกของผมมีระบบประมวลผลคะแนนของบล็อกอยู่แล้ว ผมก็แค่นำมาเสนอให้เพื่อนๆ ดูก็แค่นั้นเอง

เอาหล่ะไปดูกันเลยดีกว่าว่า เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา บล็อกเรื่องไหนได้คะแนนนิยมมากที่สุด 10 อันดับ

1. 53% สรุปงาน New technology and Best Practice in Library Services
2. 22% นายบรรณารักษ์พาทัวร์ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ซอยพระนาง
3. 16% ไอเดียมุมแสดงหนังสือที่ไม่เคยมีใครหยิบอ่านในห้องสมุด
4. 15% คลิปวีดีโอสอนการจัดห้องสมุดในบ้านของคุณอย่างง่าย
5. 15% แนะนำงานสัมมนา How to be a Global Library Participant
6. 15% เตรียมสอบข้าราชการบรรณารักษ์ต้องอ่านอะไรบ้าง
7. 12% วีดีโอศูนย์ความรู้กินได้ ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี
8. 10% สุขสันต์วันเกิด LISNews.org ปีที่ 11
9. 9% นายบรรณารักษ์พาเที่ยวห้องสมุดนิทรรศน์รัตนโกสินทร์
10. 9% บ้านหนังสือ : ห้องสมุดหลังเล็กสำหรับชุมชน

เอาเป็นว่าตรงใจหลายๆ คนหรือปล่าวครับ คะแนนเหล่านี้มันจะถูกเก็บสะสมต่อไปเรื่อยๆ นะครับ
ดังนั้นหากเพื่อนๆ ชอบเรื่องไหนเป็นพิเศษก็โหวตกันได้ (ด้านล่างของบทความจะมีรูปดาวให้ใส่คะแนนได้)

เดือนหน้าเรื่องไหนจะได้รับความนิยม เรามาลุ้นกันต่อครับ
สำหรับเดือนนี้ผมคงรายงานไว้เพียงเท่านี้ก่อน แต่บล็อกก็ยังคงอัพเดททุกวันต่อไปนะครับ

เป็นกำลังใจให้กันด้วยหล่ะ อิอิ ไปและครับ

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 3 เล่มที่ 5

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 3 เล่มที่ 5
ออกในเดือนพฤศจิกายน 2553

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์กลับมาพบกลับเพื่อนๆ ชาวบรรณารักษ์และห้องสมุดกันอีกครั้งแล้วนะครับ
นับว่าเป็นนิตยสารที่อยู่คู่กับ projectlib และ libraryhub มากกว่า 3 ปีแล้ว (แอบดีใจที่มีเพื่อนร่วมทาง)
เอาเป็นว่าฉบับนี้มีเนื้อหาที่น่าสนใจมากมายหลายบทความ ร่วมถึงบทความที่เข้ากับช่วงนี้ด้วย (น้ำท่วม)

ไฮไลท์ของเล่มอยู่ที่ห้องสมุดในมหาวิทยาลัยที่ผมเรียนปริญญาตรี (ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี)
ช่วงเดือนที่ผ่านมาที่มีข่าวเรื่องพายุเข้าในจังหวัดปัตตานีทำให้เกิดน้ำท่วมรุนแรงในมหาวิทยาลัย
ผลกระทบนี้ส่งผลไปถึงห้องสมุดต่าง ๆที่อยู่ที่นั่นด้วย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ หอสมุดจอร์นเอฟเคนเนดี้ นั่นเอง

เอาเป็นว่าเกริ่นมาเยอะแล้ว เราไปดูเนื้อหาในฉบับนี้กันดีกว่า

เรื่องจากปก 😕 หอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ ปะทะ ดีเปรสชั่น

พาเที่ยว : ห้องสมุดประชาชนเมืองTampere ฟินแลนด์

พาเที่ยว : เล่าเรื่องกิจกรรม ?โครงการหนังสือเพื่อน้อง?

บทความ : Chair & Share

บทความ : จุฬาฯ ส่งมอบห้องสมุด 3 ดี

บทความ : Top 10 Books From Library Journal

บทความ 😕 ทำอย่างไรจึงเป็นดาว

บทความ : การดูแลและเอาใจใส่ลูกค้า … ยังต้องพยายามกันต่อไป

บทความ : ซอฟต์แวร์อิสระ ถึง ระบบห้องสมุดอิสระ

ป็นยังไงกันบ้างครับ ลองเข้าไปอ่านกันดูนะครับ

เว็บไซต์บรรณารักษ์ออนไลน์ : http://www.librarianmagazine.com

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 3 เล่ม 5 : http://www.librarianmagazine.com/VOL3/NO5/index.html

เตรียมสอบข้าราชการบรรณารักษ์ต้องอ่านอะไรบ้าง

ช่วงนี้หลายคนส่งอีเมล์มาถามผมเกี่ยวกับเรื่องการเตรียมสอบบรรณารักษ์ในวงการราชการ
ว่าข้อสอบที่ใช้สอบบรรณารักษ์จะออกเนื้อหาไหนบ้างแล้วจุดไหนน่าจะเน้นเป็นพิเศษ
วันนี้ผมจึงนำเนื้อหาในหนังสือสำหรับเตรียมสอบบรรณารักษ์มาให้ดูว่าเขาเน้นเรื่องไหนบ้าง

สำหรับเนื้อหาในหนังสือเตรียมสอบผมอ่านแล้วก้รู้สึกว่าอาจจะเก่าไปสักหน่อย
และบางเรื่องหาอ่านบนเว็บน่าจะชัดเจนกว่า (ไม่แน่ใจว่าคนที่เขียนหนังสือเล่มนี้จบบรรณารักษ์หรือปล่าว)
แต่ผมก็ขอบคุณในความหวังดีที่นำเนื้อหามาจัดพิมพ์เป็นหนังสือนะครับ

เนื้อหาที่มีการออกสอบ เช่น
1. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับห้องสมุด
– ความหมายของห้องสมุด
– การศึกษากับห้องสมุด
– บทบาทของห้องสมุดโรงเรียน
– วัตถุประสงค์ของห้องสมุด
– ประโยชน์ของห้องสมุด
– ประเภทของห้องสมุด
– บริการห้องสมุด
– มารยาทการใช้ห้องสมุด
– ลักษณะห้องสมุดที่ดี

2. การบริหารงานห้องสมุด
– ความหมายและประเภทของหนังสือ
– ส่วนประกอบของหนังสือ
– ทรัพยากรห้องสมุด
– การดูแลรักษาหนังสือ
– การใช้ห้องสมุด
– แนวทางในการจัดห้องสมุด
– การจัดหมู่หนังสือ
– การบริหารจัดการห้องสมุด
– สถานภาพของผู้ปฏิบัติงานและวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์
– ลักษณะและบทบาทบรรณารักษ์

3. ห้องสมุดกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
– ISBN พัฒนาการบนโลกดิจิตอล
– ทรัพยากรไอที
– ระบบสารสนเทศ
– เทคโนโลยีสารสนเทศ
– ความหมายของห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
– บทบาทภาคีห้องสมุดในยุคดิจิทัล


4. เทคโนโลยีสารสนเทศ

– ทรัพยากรสารนิเทศ
– เทคนิคการอ่าน
– บัตรรายการ


5. การจัดการฐานข้อมูลและการสืบค้นสารสนเทศ

– ความหมายของฐานข้อมูลและการจัดการฐานข้อมูล
– สถาบันบริการสารสนเทศ
– การสืบค้นสารสนเทศและการใช้เครื่องช่วยค้น
– การสืบค้นด้วยระบบโอแพค

นี่ก็เป็นหัวข้อต่างๆ ในหนังสือเล่มที่ผมมีนะครับ เอามาแชร์ให้เพื่อนๆ เตรียมตัวถูก
สำหรับใครที่อยากหาอ่านเล่มนี้ ก็ลองไปเดินดูแถวๆ รามคำแหงนะครับ
แต่ผมว่าดูหัวข้อพวกนี้แล้วค้นบนอินเทอร์เน็ตก็ได้ข้อมูลเช่นกันครับ

เอาเป็นว่าสู้ๆ กันนะครับ

บรรณารักษ์ระดับ 3, 4, 5, 6, 7 แตกต่างกันตรงไหน

เพื่อนๆ นอกวิชาชีพหลายๆ คนสงสัยและถามผมมาว่า บรรณารักษ์ 3 ที่สอบในราชการนี่คืออะไร
แล้วมันยังมีตำแหน่งบรรณารักษ์ระดับอื่นๆ อีกหรือไม่ วันนี้ผมจึงขอเขียนเรื่องตำแหน่งบรรณารักษ์ในระดับต่างๆ

สายงานบรรณารักษ์ในวงการราชการก็มีระดับของตำแหน่งเหมือนวิชาชีพอื่นๆ แหละครับ
นอกจากบรรณารักษ์ 3 แล้ว ในวงการราชการอาจจะพบคำว่า บรรณารักษ์ 4,5,6,7 อีก
ซึ่งตำแหน่งต่างๆ ที่เพิ่มเข้ามานี้มาจากการสอบซึ่งดูที่ความสามารถและประสบการณ์ทำงานเช่นกัน

เรามาดูความรู้ความสามารถของบรรณารักษ์ระดับต่างๆ กันดีกว่า

บรรณารักษ์ระดับ 3
1. มีความรู้ในวิชาการบรรณารักษ์ศาสตร์อย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
2. มีความรู้ความเข้าในในกฎหมายสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล และกฎหมาย กฎ ระเบียบ และข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่
3. มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยเฉพาะ อย่างยิ่งของประเทศไทย
4. มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
5. มีความสามารถในการศึกษาหาข้อมูล วิเคราะห์ปัญหา และสรุปเหตุผล


บรรณารักษ์ระดับ 4 (ทำงานระดับ 3 แล้ว 2 ปี)

1. มีความรู้ความเข้าใจในนโยบายและแผนงานต่าง ๆ ของส่วนราชการที่สังกัด
2. มีความสามารถในการจัดทำแผนงาน ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำปรึกษาแนะนำและ เสนอแนะวิธีการแก้ไขปรับปรุงการปฏิบัติงานที่อยู่ในความรับผิดชอบ
3. มีความสามารถในการปกครองบังคับบัญชา
4. มีความสามารถในการติดต่อประสานงาน

บรรณารักษ์ระดับ 5 (ทำงานระดับ 4 แล้ว 2 ปี, ทำงานระดับ 3 แล้ว 4 ปี, ปริญญาเอกบรรณารักษ์)
1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักการบริหารงานบุคคล
2. มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
3. มีความรู้ความสามารถในการใช้งานคอมพิวเตอร์


บรรณารักษ์ระดับ 6 (ทำงานระดับ 5 แล้ว 2 ปี)

1. มีความสามารถในการบริหารงานและจัดระบบงาน
2. มีความสามารถในการริเริ่ม ปรับปรุงนโยบายและแผนงาน
3. มีความรู้ความสามารถในการใช้งานคอมพิวเตอร์


บรรณารักษ์ระดับ 7 (ทำงานระดับ 6 แล้ว 2 ปี)

1. มีความสามารถในการบริหารงานและจัดระบบงาน
2. มีความสามารถในการริเริ่ม ปรับปรุงนโยบายและแผนงาน
3. มีความรู้ความสามารถในการใช้งานคอมพิวเตอร์

จะสังเกตได้ว่า ในบรรณารักษ์ระดับที่ 6 กับ 7 จะคล้ายๆ กัน แต่การที่จะวัดระดับชั้นกันนั้นอยู่ที่ประสบการณ์ทำงานต่างหาก
และถ้าสังเกตดูจะเห็นว่าทุกๆ 2 ปี จะมีการเปลี่ยนตำแหน่งขึ้นนั่นเอง ดังนั้นก็ทำงานเก็บประสบการณ์กันไปเรื่อยๆ นะครับ

อ๋อเรื่องตำแหน่งที่สูงขึ้น แน่นอนครับเงินก็ต้องเพิ่มขึ้นเช่นกัน แต่ผมคงไม่ทราบหรอกนะครับว่าตำแหน่งไหนได้เงินเท่าไหร่
ใครรู้ก็ช่วยนำมาแชร์ให้ผมรู้บ้างนะครับ จะขอบคุณมากๆ อิอิ วันนี้ก็อ่านเล่นๆ กันดูนะครับ อย่างน้อยก็เพื่อพัฒนาตัวเอง

เทศบาลเมืองลำพูนรับสมัครผู้ช่วยบรรณารักษ์

วันนี้มีงานบรรณารักษ์มาแนะนำอีกแล้วครับ งานนี้สำหรับคนที่อยากทำงานต่างจังหวัดนะครับ
ซึ่งงานในวันนี้เป็นงาน “ผู้ช่วยบรรณารักษ์” ที่ห้องสมุดเทศบาลเมืองลำพูน

รายละเอียดงานเบื้องต้น
ชื่อตำแหน่ง : ผู้ช่วยบรรณารักษ์
ลักษณะงาน : สัญญาจ้าง 1 ปี
จำนวน : 1 อัตรา
เงินเดือน : 7940 บาท
สถานที่ : ห้องสมุดเทศบาลเมืองลำพูน

อย่างที่บอกอ่ะครับว่าสำหรับคนที่อยากทำงานที่จังหวัดลำพูนนะครับ และที่สำคัญคือไม่ใช่งานประจำนะครับ เป็นแค่สัญญาจ้าง 1 ปี ดังนั้นคิดให้ดีๆ ก้อนการสมัครนะครับ เอาเป็นว่าใครสนใจก็อ่านต่อได้เลยครับ

หน้าที่และความรับผิดชอบของตำแหน่งนี้
ปฏิบัติงานในหน้าที่บรรณารักษ์ ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดหา และคัดเลือกหนังสือเข้าห้องสมุด วิเคราะห์และจัดหมวดหมู่หนังสือ ทำบัตรรายการ ทำบรรณานุกรม ทำดรรชนี ทำสารสังเขป จัดทำคู่มือการศึกษาค้นคว้าหนังสือในห้องสมุด ให้บริการแก่ผู้ใช้ห้องสมุด จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ศึกษา ค้นคว้าการจัดระบบงานที่เหมาะสมของห้องสมุด และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ที่ต้องการสมัคร ขอแค่จบปริญญาตรีเอกบรรณารักษ์หรือสาขาที่เกี่ยวข้องก็พอ อายุไม่เกิน 60 ก็พอแล้วครับ

เกณฑ์ในการรับ ไม่มีการสอบข้อเขียน แต่กรรมการจะพิจารณาจากประวัติของผู้สมัครและการสัมภาษณ์เป็นหลักครับ

ตำแหน่งงานนี้รับสมัครถึงวันที่ 3 – 19 พฤศจิกายน 2553 และสมัครได้ที่
งานการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัด เทศบาลเมืองลำพูน เบอร์โทรติดต่อ 0-5356-1524

เอาเป็นว่าใครสนใจก็เข้ามาดูรายละเอียดได้ที่
http://www.nmt.or.th/lamphun/mueanglamphun/Lists/List2/Attachments/348/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A.pdf

ขอให้เพื่อนๆ โชคดีนะครับ

อ่านรายละเอียดของงานได้ที่
http://www.nmt.or.th/lamphun/mueanglamphun/Lists/List2/DispForm.aspx?ID=348&Source=http%3A%2F%2Fwww.nmt.or.th%2Flamphun%2Fmueanglamphun%2FLists%2FList2%2Fview1.aspx%3FSortField%3DModified%26SortDir%3DDesc%26View%3D%257b621EDFA8%252d7D84%252d4295%252d87BF%252d8FA28C14D278%257d