ห้องสมุดโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยรับบรรณารักษ์ (รับไปแล้วนะ)

บรรณารักษ์ช่วยหางานมาพบกับเพื่อนๆ อีกครั้งแล้วนะครับ ในวันนี้ผมมีงานบรรณารักษ์มานำเสนอ
งานบรรณารักษ์ในวันนี้มาจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย แนวนอนครับ “บรรณารักษ์โรงเรียน”

รายละเอียดทั่วไปของตำแหน่งงาน
ชื่อตำแหน่ง : บรรณารักษ์
ห้องสมุด : โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย

หน้าที่โดยทั่วไปของตำแหน่งนี้ คือ การปฏิบัติงานในห้องสมุด ให้บริการยืมคืน catalog และช่วยสอนนักเรียนในเรื่องของการสืบค้นและการเข้าใช้ห้องสมุด เอาเป็นว่างานผมว่าก็ไม่ได้ยากเกินไปหรอกนะครับ บรรณารักษ์ทุกคนต้องทำได้อยู่แล้ว

คุณสมบัติของผู้ที่ต้องการสมัคร
1.? ชาย / หญิง? อายุไม่เกิน 40 ปี
2. วุฒิ ป.ตรี / โท? สาขาบรรณารักษ์ศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
3. มีใจรักการบริการ ซื่อสัตย์ ขยัน
4. มีประสบการณ์และใบประกอบวิชาชีพครูจะพิจารณาเป็นพิเศษ

ปล. รับไปแล้วนะครับ

สัมมนาวิชาการ “จากสารสนเทศสู่นวัตกรรม”

วันนี้มีข่าวงานสัมมนาวิชาการที่น่าสนใจมาฝากเพื่อนๆ วงการบรรณารักษ์และห้องสมุดนะครับ
การสัมมนานี้เป็นการนำเสนอผลงานของอาจารย์และนักศึกษาปริญญาเอกด้านสารสนเทศศาสตร์ของ มสธ. ครับ

รายละเอียดงานสัมมนาเบื้องต้น
ชื่องานสัมมนา(ภาษาไทย) : จากสารสนเทศสู่นวัตกรรม
ชื่องานสัมมนา(ภาษาอังกฤษ) : From Information to Innovation
วันที่จัดงาน : 12 พฤศจิกายน 2553
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุม 5209 อาคารสัมมนา 1 มสธ.

ในงานนี้เป็นงานที่อาจารย์และนักศึกษา ป.เอกของภาคสารสนเทศศาสตร์ มสธ
นำผลงานและนวัตกรรมของตัวเองมานำเสนอ ซึ่งความน่าสนใจมีมากมาย

ตัวอย่างหัวข้อที่บรรยายในงานนี้ เช่น
– จากสารสนเทศสู่นวัตกรรม : กรณีศึกษาประเทศฟินแลนด์
– การพัฒนาต้นแบบคลังข้อมูลเพื่อการวางแผนลดอัตราการออกกลางคัน : กรณีศึกษานักศึกษาระดับปริญญาตรี มสธ.
– การประเมินโครงการอบรมและประกวดห้องสมุดมีชีวิต สอร.
– การติดตามผลมหาบัณฑิตสารสนเทศศาสตร์ มสธ.
– เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับงานพัฒนาประเทศ : การเตรียมความพร้อมสู่การแข่งขันยุคเศรษฐกิจฐานความรู้
– การวิเคราะห์เนื้อหาในงานวิจัยทางบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ระดับนานาชาติ
– นวัตกรรมห้องสมุด : โปรแกรมโอเพนซอร์ส Senayan
– การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ของห้องสมุดมารวย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
– การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดซื้อยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ : กรณีศึกษาโรงพยาบาลภาครัฐในจังหวัดนนทบุรี
– การพัฒนาบทเรียนทางเว็บเรื่อง การค้นฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และงานวิจัยของนักศึกษาบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา
– การใช้สารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้าและการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เอาเป็นว่าแต่ละหัวข้อก็น่าสนใจมากๆ ครับ แนะนำว่าถ้าใครว่างๆ ไม่ควรพลาดงานนี้เลยครับ
นอกจากจะได้รับความรู้แล้วยังอาจจะได้ไอเดียไปทำงานในห้องสมุดก็ได้นะ

งานนี้ฟรีไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ หากสนใจจะเข้าร่วมก็สามารถแจ้งความจำนงมาได้ที่ รศ.ดร.น้ำทิพย์ วิภาวิน (nwipawin@gmail.com)ได้นะครับ

ซูเปอร์บรรณารักษ์ (Super librarian) มาปฏิบัติภาระกิจแล้ว

วันนี้วันเสาร์วันชิวๆ ไม่อยากเอาเรื่องหนักๆ มาเขียน เลยขอนำคลิปวีดีโอมาให้ดูแทนก็แล้วกัน
คลิปวีดีโอวันนี้เป็นคลิปวีดีโอที่แสดงให้เห็นว่าวันๆ นึงบรรณารักษืมีงานเยอะแค่ไหน
แต่บรรณารักษ์ไม่เคยย่อท้อแถมต้องทำงานแบบกระฉับกระเฉง
เหมือนเป็น ซูเปอร์บรรณารักษ์

คลิปนี้เป็นคลิปที่จัดทำขึ้นเพื่อโปรโมทห้องสมุดแห่งหนึ่ง
ผมชอบในแนวความคิดที่นำเสนอ คือ การนำภาระงานของบรรณารักษ์มาแสดง
เนื่องจากทุกวันนี้หลายคนยังคงเข้าใจผิดนึกว่าบรรณารักษ์มีงานแค่นั่งเฝ้าหนังสือ
แต่จริงๆ แล้วงานบรรณารักษ์เยอะกว่านี้อีก เช่น
– เปิดไฟ เปิดคอม
– catalog หนังสือ
– จัดชั้นหนังสือ
– ช่วยผู้ใช้บริการค้นหาหนังสือ

…..ยังมีอีกมากมาย

ไปดูวีดีโอนี้กันเลยดีกว่า

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=Bu-TijjVs_g[/youtube]

บรรณารักษ์ต้องทำงานอย่างมีความสุข ถ้าบรรณารักษ์หลายๆ คนคิดแบบนี้แล้ว
ผมเชื่อว่าบรรณารักษ์ที่อยู่ในคลิปวีดีโอนี้ เพื่อนๆ ก็สามารถเป็น ซุเปอร์บรรณารักษ์ได้ทุกคน

ปล.ที่มาของคลิปวีดีโอนี้คือ http://www.youtube.com/watch?v=Bu-TijjVs_g

บรรณารักษ์ผู้ชายไม่จำเป็นต้องเป็นเกย์นะ

เรื่องนี้เขียนแล้ว เขียนอีก และเขียนหลายครั้งแล้วด้วย ไม่เข้าใจว่าทำไมยังคงได้ยินอยู่เรื่อยๆ
ประเด็นมันคือเรื่อง ?ปัญหาการมองบรรณารักษ์เพศชายว่าต้องเป็นเกย์หรือกระเทยเท่านั้น?

เรื่องนี้ผมเขียนไปปีที่แล้วนะครับ แต่วันนี้ก็ยังคงมีคน MSN มาถามผมอีกว่า “เป็นผู้ชายแท้หรือปล่าว
เอิ่ม การเป็นผู้ชายแล้วชอบเรื่องห้องสมุดหรือบรรณารักษ์จำเป็นต้องไม่ใช่ชายแท้ด้วยหรอครับ

ไม่รู้ว่าจะต้องให้ผมพูดย้ำกันอีกสักกี่ครั้งว่า…
ทุกๆ อาชีพในปัจจุบันเขาก็เท่าเทียมกันหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นอาชีพอะไรก็ตาม
ดูอย่างทหาร หรือตำรวจสิ ยังมีผู้หญิงเป็นเลย แล้วคนเหล่านั้นก็ไม่ได้เป็นทอมด้วยซ้ำ
แต่พอผู้ชายทำอาชีพบรรณารักษ์ทำไมต้องมองว่าเป็นชายไม่แท้ เป็นเกย์ หรือเป็นกระเทยด้วยหรอ
เฮ้อออออ!!!! อยากจะจับไอ้พวกเข้าใจผิดเรื่องแบบนี้ มานั่งฟังอบรมจิงๆ มันน่านัก?

บทความที่ผมเคยเขียนเกี่ยวกับเรื่องบรรณารักษ์กับผู้ชาย เขาคงไม่เคยอ่านมั้งครับ
งั้นแนะนำให้ไปอ่านเรื่อง “ผู้ชายก็เป็นบรรณารักษ์ได้นะ?”

แล้วก็ขออธิบายอีกสักเรื่องด้วยว่า การที่คนเหล่านั้นมีอยากเป็นเพศอื่น
เช่น เป็นเกย์ กระเทย ทอม ดี้ ตุ๊ด แต๋ว หรือจะเรียกอะไรก็เรียก
พวกเขาก็ไม่ได้มีความผิดอะไรหรอก เขาก็เป็นคนเหมือนกัน

ทุกคนก็ มีมือ มีเท้า มีจิตใจ มีสมองทำงานได้ก็เหมือนทุกคนนั่นแหละ
ดังนั้นอย่าพยายามไปกีดกั้นสิทธิเสรีภาพของพวกเขาเลยครับ
บางทีเราต้องให้เขาพิสูจน์ในความสามารถในการทำงานน่าจะดีกว่า

เอาเป็นว่าเรื่องมันไม่เป็นเรื่องเลยนะครับ….

ปล. เรื่องบรรณารักษ์กับเพศชายผมเคยเขียนไปแล้ว ลองอ่านได้ที่ “ผู้ชายก็เป็นบรรณารักษ์ได้นะ?” ดูนะครับ
แล้วจะรู้ว่าไม่ว่าจะเพศอะไรก็สามารถทำงานบรรณารักษ์หรือห้องสมุดได้แหละ

ข้อสอบบรรณารักษ์ : จงกล่าวถึงผลงานทางด้านห้องสมุดของบุคคลต่อไปนี้

อยากเอาแนวข้อสอบบรรณารักษ์มาเขียนถึงหลายรอบแล้ว
วันนี้ขอเอาแนวข้อสอบบรรณารักษ์ ภาค ก อัตนัยมาให้เพื่อนๆ ดูสักข้อนึง พร้อมเฉลย (ผมเฉลยเอง)

ข้อสอบ : จงกล่าวถึงผลงานทางด้านห้องสมุดของบุคคลต่อไปนี้
– สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
– ดร.ฟรานซีส แลนเดอร์ สเปน
– เมลวิล ดิวอี้

คำตอบ (ผมช่วยหามาให้อ่านนะ)
– สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ – ในปี พ.ศ. ๒๔๖๘? พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงก่อตั้งราชบัณฑิตยสถานขึ้น โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพดำรงตำแหน่งนายกราชบัณฑิตยสถานพระองค์แรก ราชบัณพิตยสถานมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานหอสมุด พระนคร และพิพิธภัณฑสถาน (ข้อมูลจาก http://www.m-culture.go.th/detail_page.php?sub_id=492)

– ดร.ฟรานซีส แลนเดอร์ สเปน? (Frances Lander Spain) – เขียนหลักสูตรบรรณารักษศาสตร์ให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในคณะกรรมการของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทสไทยในปี 1954 ในปี 1960 ได้รับตำแหน่งประธาน ALA (อ่านต่อที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Frances_Lander_Spain)

– เมลวิล ดิวอี้ (Melvil Dewey)บรรณารักษ์ชาวอเมริกันเป็นผู้คิดระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมขึ้น ดิวอี้เป็นที่รู้จักกันทั่วโลกในวงการห้องสมุดและบรรรณารักษศาสตร์ เพราะนอกจากจะเป็นผู้คิดระบบการจัดหมู่แบบระบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification) แล้ว ยังเป็นผู้หนึ่งที่ริเริ่ม ก่อตั้งสมาคมห้องสมุดอเมริกันซึ่งเป็นสมาคมอาชีพบรรณารักษ์แห่งแรกในโลก (ข้อมูลจาก http://guru.sanook.com/pedia/topic/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A5_%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B9%89/)
(อ่านต่อที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Melvil_Dewey)

ข้อสอบบรรณารักษ์ใน ภาค ก มีหลายข้อที่ดูแล้วผมก็อึ้งเหมือนกัน แต่ผมจะไม่วิจารณ์นะครับ
เอาเป็นว่าไว้วันหลังผมจะนำข้ออื่นๆ มาเฉลยเรื่อยๆ เลยนะครับ อิอิ
เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับคนที่อยากสอบ ภาค ก ด้านบรรณารักษ์

The edublogaward 2009 สาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์

ปีนี้ก็ 2010 แล้วนะครับ ผมอาจจะนำเรื่องนี้มารายงานช้าไปหน่อย
แต่อย่างน้อย The edublogaward 2010 ก็ยังไม่เริ่มประกาศผลนะครับ

The edublogaward 2009 รางวัลนี้ได้แจกให้แก่บล็อกในวงการศึกษาดีเด่นหลายสาขานะครับ
เช่น บล็อกส่วนตัว บล็อกแบบกลุ่ม บล็อกของอาจารย์ บล็อกของนักเรียน บล็อกของชั้นเรียน ฯลฯ

แน่นอนครับในกลุ่มด้านการศึกษานี้คงต้องมีรางวัลเกี่ยวกับ บล็อกห้องสมุดและบรรณารักษ์ ด้วย

ดังนั้นผมจึงของนำมารายงานให้เพื่อนๆ ได้รับทราบกันนะครับ
โดยผู้ที่ชนะเลิศในปี 2009 คือ บล็อก Never Ending Search ซึ่งเป็นบล็อกภายใต้ schoollibraryjournal นั่นเอง
ส่วนอันดับที่สอง คือ บล็อก Bright Ideas ซึ่งเป็นของ School Library Association of Victoria
ส่วนอันดับที่สาม คือ Library Tech Musings ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น thedaringlibrarian

เอาเป็นว่าผมก็ลองเข้าไปดูบล็อกเหล่านี้มาแล้วแหละ นับว่าน่าสนใจจริงๆ
ดังนั้นผมว่าเพื่อนๆ เซฟลิ้งค์พวกนี้แล้วลองหาเวลาเข้าไปอ่านบ้างนะครับ

อ๋อ นอกจากนี้แล้ว ในบล็อกวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ที่ถูกเสนอชื่อและเป็นคู่แข่งในการประกวดครั้งนี้ยังมีอีกมากมาย เช่น

  1. A Fuse #8 Productions
  2. Bloggit
  3. Bright Ideas
  4. Blue Skunk
  5. Cathy Nelson?s Professional Thoughts
  6. Hey Jude
  7. LCS ES Media Blog
  8. Librarian by Day Blog
  9. Library Tech Musings
  10. Lucacept
  11. My Mind Gap
  12. Never Ending Search
  13. Not So Distant Future
  14. The Unquiet Librarian
  15. The Unquiet Library
  16. The Waki Librarian
  17. The Web Footed Book Lady
  18. Wired Librarian
  19. World?s Strongest Librarian

คะแนนในการตัดสิน The edublogaward 2009 สาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์

เอาเป็นว่าน่าสนใจทุกบล็อกเลย จริงๆ แล้วในเมืองไทยผมอยากให้มีการจัดประกวดบล็อกด้านการศึกษาแบบนี้บ้างจัง
แต่คงต้องมีการวัดผลที่เป็นมาตรฐานกว่าที่ผ่านมาหน่อยนะครับ เพราะเท่าที่เห็นก็คือ พวกเยอะมักได้รางวัล
ซึ่งบางทีแล้วไม่ยุติธรรมต่อบล็อกหรือเว็บที่มีประโยชน์สักเท่าไหร่ ยังไงก็ฝากไว้แค่นี้แหละครับ

เว็บไซต์ทางการของงาน The edublogaward 2009 – http://edublogawards.com/2009/
ถ้าหากเพื่อนๆ อยากรู้เกี่ยวกับบล็อกการศึกษาที่ประกวดในปีก่อนหน้านี้ก็สามารถเข้าไปดูได้ที่? http://edublogawards.com/

ยุวพุทธิกสมาคมฯ รับบรรณารักษ์นะจ้ะ

บรรณารักษ์ช่วยหางานมาพบกับเพื่อนๆ อีกแล้วเจ้าครับ
วันนี้มีงานมาแนะนำซึ่งได้รับการฝากมาจากเพื่อนใน Facebook

รายละเอียดของงานที่รับสมัคร
ตำแหน่ง : บรรณารักษ์
วุฒิการศึกษา : ปริญญาตรีขึ้นไป
สาขา : บรรณารักษศาสตร์หรือที่เกี่ยวข้อง
สถานที่ : ห้องสมุดนาลันทา ยุวพุทธิกสมาคมฯ

ห้องสมุดแห่งนี้เป็นห้องสมุดที่เน้นข้อมูลด้านพุทธศาสนา ธรรมะ
ดังนั้นบรรณารักษ์ที่ไปสมัครยังไงก็ขอแบบที่สำรวมนิดนึงนะครับ

ใครที่สนใจก็ติดต่อไปได้ที่
ห้องสมุดนาลันทา ยุวพุทธิกสมาคมฯ
เพชรเกษม 54 เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ โทร 02-4552525 ต่อ 1203

http://www.ybat.org/nalanda/ หรือ email ประวัติมาที่ nalanda_library@ybat.org

เอาเป็นว่าผมก็ขอให้เพื่อนๆ โชคดีในการสมัครนะครับ

ห้องสมุดยุคใหม่ควรใช้ twitter อย่างไร

เมื่อวานผมได้เขียนเรื่องที่ไม่ควรปฏิบัติสำหรับห้องสมุดที่ใช้ Twitter แล้ว
วันนี้ผมก็ขอนำเสนอภาคต่อด้วยการแนะนำสิ่งที่ควรปฏิบัติบ้างน่าจะดีกว่า

เริ่มจากคำแนะนำแบบเบื้องต้นเรื่องของการจัดการ profile ตัวเอง
– ชื่อ account สื่อถึงห้องสมุดตัวเองหรือไม่
– รูปภาพแสดงตัว ถ้าเป็นรูปห้องสมุดก็คงดีสินะ
– website ให้ใส่เว็บไซต์ของห้องสมุดตัวเอง
– Bio เขียนแนะนำห้องสมุดแบบสั้นๆ เช่น “การติดต่อสื่อสารออนไลน์กับห้องสมุด….ทำได้ไม่ยาก”

สำหรับข้อความที่ควร tweet (จากบทความ Six Things Libraries Should Tweet)
1. Library events – งานกิจกรรมต่างๆ ของห้องสมุด
เป็นการบอกให้ผู้ที่ติดตามเราได้รู้ว่ากำลังจะมีงานอะไรในห้องสมุด เช่น
“วันเสาร์นี้ 10 โมงเช้า จะมีการจัดฉายภาพยนตร์เรื่องแฮร์รี่พอตเตอร์ในห้องสมุด”

2. Links to articles, videos, etc. – Feed ข้อมูลจากเว็บไซต์หรือบล็อกของห้องสมุด
เป็นการเชื่อมการทำงานระหว่างเว็บไซต์และการกระจายข่าวสารสู่โลกออนไลน์
หากต้องการ tweet ข้อความมากๆ เราควรใช้บริการย่อ link จาก bit.ly หรือ tinyurl ก็ได้

เช่น “The Library of Congress Revives Public Domain Works via CreateSpace Print on-Demand and Amazon Europe Print on-Demand – http://bit.ly/9nE8H1”

3. Solicit feedback – การแสดงความคิดเห็น หรือ การสำรวจข้อมูลต่างๆ

เป็นช่องทางในการสอบถามเรื่องความคิดเห็นหรือแสดงไอเดียใหม่ๆ ของห้องสมุด
แต่ต้องระวังคำถามนิดนึงนะครับ เพราะมันมีผลตอบสนองกับมาที่ห้องสมุดแน่ๆ เช่น
ไม่ควรถามคำถามที่เดาคำตอบได้อยู่แล้ว ประมาณว่า “ห้องสมุดควรเปิด 24 ชั่วโมงหรือไม่
ผู้ใช้บริการทุกคนย่อมต้องการสิ่งนี้แน่นอน และห้องสมุดจะต้องรับผิดชอบในการกระทำนั้นๆ


4. New additions to your collection – ทรัพยากรใหม่ๆ ในห้องสมุด

เป็นช่องทางในการแนะนำหนังสือหรือสื่อใหม่ๆ ในห้องสมุด
ซึ่งเพื่อนๆ อาจจะใช้ feed ข้อมูลจากฐานข้อมูลห้องสมุดหรือเว็บไซต์ก็ได้

5. Marketing – การตลาดและประชาสัมพันธ์
เป็นช่องทางในการสร้างกระแสให้ห้องสมุด ข้อมูลของห้องสมุดอาจเป็นที่สนใจกับผู้ใช้บริการ
เช่น หนังสือที่ถูกยืมในปีที่แล้วทั้งหมดจำนวน 35,000 ครั้ง

6. Answer questions – ถามตอบปัญหาต่างๆ
เป็นช่องทางในการถามตอบระหว่างบรรณารักษ์ห้องสมุดกับผู้ใช้บริการ ซึ่งเป็นวิธีที่ค่อนข้างดีและได้ผล

เป็นไงกันบ้างครับกับเรื่องของ twitter ที่มีความสัมพันธ์กับงานห้องสมุด
พื่อนๆ สามารถอ่านบทความย้อนหลังเกี่ยวกับเรื่อง Twitter ในงานห้องสมุดได้นะครับ
ซึ่งผมได้เขียนไว้หลายเรื่องแล้ว ลองดูจาก
http://www.libraryhub.in.th/tag/twitter/

แล้วอย่าลืมเข้ามา follow ผมกันเยอะๆ ด้วยหล่ะ @ylibraryhub

สิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติสำหรับห้องสมุดที่ใช้ Twitter

จริงๆ แล้วอยากเขียนเรื่องเกี่ยวกับข้อควรปฏิบัติ และข้อไม่ควรปฏิบัติในบล็อกเดียวกัน
แต่กลัวว่ามันจะยาวเกินไปเดี๋ยวเพื่อนๆ จะเบื่อเอาง่ายๆ
วันนี้ผมจึงขอเลือกข้อไม่ควรปฏิบัติสำหรับห้องสมุดที่ใช้ Twitter ก่อนน่าจะดีกว่า

เรื่องที่จะนำเสนอนี้สำหรับห้องสมุดหรือบรรณารักษ์ที่เปิด Account เพื่อใช้ในองค์กรเท่านั้น
ไม่รวมถึง Account Twitter ส่วนตัวของเพื่อนๆ นะครับ (ง่ายๆ twitter องค์กร only)

ผมก็ใช้เวลาในการเล่น Twitter มาสามปีกว่าๆ สังเกตมาสักระยะแล้วว่า
ห้องสมุดหลายๆ แห่งเริ่มมีการนำ twitter มาใช้ในองค์กรมากขึ้น
เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร กิจกรรม แนะนำหนังสือ ฯลฯ ในห้องสมุด ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ดี

แต่ห้องสมุดบางแห่งเมื่อผมได้เข้าไปใน twitter ผมก็รู้สึกแปลกๆ และสงสัยเล็กน้อย
ถึงความผิดปกติในแง่ต่างๆ เช่น lock ไม่ให้คนอื่นดู, ปล่อยให้ twitter ร้าง ฯลฯ

ผมจึงอยากนำเรื่องต่างๆ เหล่านี้มาแนะนำให้เพื่อนๆ ห้องสมุดและบรรณารักษ์อ่าน
สิ่งที่ Twitter ห้องสมุดหรือบรรณารักษ์ไม่ควรทำในโลกออนไลน์ ได้แก่

– การ lock หรือ การ protected Account ของห้องสมุดหรือบรรณารักษ์
เพราะห้องสมุดของเราควรเปิดกว้างให้ผู้ใช้บริการบนโลกออนไลน์ทุกคน
ดังนั้นเราไม่ควรจำกัดการเข้าถึงห้องสมุดด้วยวิธียุ่งยาก

– ทำตัวเสมือนเป็นหุ่นยนต์ (ดึง feed ข่าวของห้องสมุดมาลงเพียงอย่างเดียว)
ในโลกของ twitter ห้องสมุดก็สามารถมีชีวิตได้ หากมีคนถามห้องสมุดก็ควรตอบ
นอกจากนี้ห้องสมุดยังสามารถทักทายผู้ใช้บริการออนไลน์อยู่อย่างต่อเนื่องเพื่อความเป็นกันเอง

– อย่าปล่อยให้การอัพเดทข้อความใน twitter ทิ้งช่วงเกิน 2-3 วัน
เพราะนั้นหมายถึงความไม่ใส่ใจของห้องสมุด (ห้องสมุดร้าง)

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นเพียงคำแนะนำเล็กๆ น้อยๆ ก็แล้วกันนะครับ
เพื่อเป็นคำเตือนให้เพื่อนๆ บรรณารักษ์และห้องสมุดมือใหม่ระวังในการใช้เครื่องมือออนไลน์

จุฬารับสมัครเจ้าหน้าที่บริการสารสนเทศ 2 ตำแหน่ง

ช่วงนี้บรรณารักษ์ช่วยหางานมาพบกับเพื่อนๆ บ่อยเป็นพิเศษ
เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงที่ห้องสมุดหลายๆ แห่งกำลังต้องการบุคลากรเพิ่ม
ดังนั้น Libraryhub ก็จะนำมารายงานให้เพื่อนๆ ได้เลือกงานก็แล้วกันนะ

รายละเอียดของงานเบื้องต้น
ชื่อตำแหน่ง 😕 เจ้าหน้าที่บริการสารสนเทศ
ลักษณะงาน : พนักงานมหาวิทยาลัย
วุฒิการศึกษา : ปริญญาโท
จำนวน : 2 ตำแหน่ง
ห้องสมุด : ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เงินเดือน : 10900 บาท (ถ้ามีประสบการณ์ตรงจะได้รับการพิจารณาเงินเดือนเพิ่ม)

ตำแหน่งนี้ผมต้องย้ำว่าเพื่อนๆ ที่อยากได้งานนี้ต้องจบปริญญาโทแล้วเท่านั้นนะครับ
อ๋อ ไม่จำเป็นต้องจบวุฒิบรรณารักษ์นะครับ ครุศาสตร์ก็ได้ นิติศาสตร์ นิเทศศาสตร์ ฯลฯ
สาขาที่จบมาเพื่อนๆ สามารถดูได้จากเอกสารเพิ่มเติมของตำแหน่งนี้ (ดาวน์โหลดได้จากด้านล่าง)
ความสามารถที่ต้องการพิเศษ คือ ภาษาอังกฤษ และคอมพิวเตอร์ ถ้าได้จะดีเยี่ยมเลย

ตำแหน่งนี้รับสมัครตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 26 ตุลาคม นี้นะครับ
เพื่อนๆ ยังมีเวลาตัดสินใจได้อยู่นะครับ แต่ทำงานในมหาวิทยาลัยผมว่าก็โอนะ

ลืมบอกไปเลยตำแหน่งนี้ทำอะไรบ้าง
– งานบริการสารสนเทศ
– งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ
– งานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
– ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

ผมว่ารายละเอียดของงานดูแปลกๆ ไปหน่อยนะครับ มันเหมือนงานบรรณารักษืเลย
แต่เปิดโอกาสให้คนสาขาอื่นมาทำได้ เอิ่มแสดงว่าเข้าได้แล้วคงต้องเรียนรู้งานอีกสักระยะแน่ๆ

เอาเป็นว่าใครสนใจก็ลองติดต่อไปที่ hr@car.chula.ac.th ดูนะครับ
หรือถ้ามั่นใจแล้วก็สมัครไปเลยตามแบบฟอร์มออนไลน์ที่อยู่ด้านล่างนี้

ข่าวรับสมัครจาก http://www.car.chula.ac.th/news/274/
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับตำแหน่ง http://www.car.chula.ac.th/downloader2/3bfdb4ecab0b240f1bd80fb33f6a315a/

ดาวน์โหลดใบสมัครที่นี่
http://www.car.chula.ac.th/apply/apply2.php

ขอให้ทุกๆ ท่านโชคดีครับ