หนังสือ : Introduction to the Library and Information Professions

ด้วยความที่ว่าวันนี้เป็นวันที่สบายๆ ผมเลยไปเดินหาหนังสืออ่านเล่นที่ kinokuniya มา
แล้วใช้บริการค้นหาหนังสือของร้าน kinokuniya ด้วยคำสำคัญ (Keyword) ว่า Library
ซึ่งทำให้ผมเจอหนังสือที่เกี่ยวกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มากมาย
ผมจึงขอหยิบตัวอย่างหนังสือเกี่ยวกับวงบรรณารักษ์มาแนะนำเพื่อนๆ แล้วกันนะครับ

ภาพประกอบจาก Amazon
ภาพประกอบจาก Amazon

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้
ชื่อหนังสือ : Introduction to the Library and Information Professions
ผู้แต่ง : Greer, Roger C. | Grover, Robert J. | Fowler, Susan G.
สำนักพิมพ์ : Libraries Unlimited
ISBN : 1591584868
ราคา : $60.00

โดยอ่านคร่าวๆ แล้วเป็นการแนะนำเรื่องของการเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านห้องสมุดและนักสารสนเทศมากมาย
เช่นวิธีการสร้างและผลิตองค์ความรู้ต่างๆ รวมไปถึงความรู้ที่ผู้เชี่ยวชาญควรจะมี เป็นต้น

เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ประกอบด้วย
Chapter 1: Introduction: Purpose And Objectives Of This Book
Chapter 2: Creation, Diffusion and Utilization of Knowledge
Chapter 3: The Role of Professionals as Change Agents
Chapter 4: The Science Supporting the Information Professions
Chapter 5: Information Transfer in the Information Professions
Chapter 6: The Cycle of Professional Service
Chapter 7: The Information Infrastructure
Chapter 8: The Processes and Functions of Information Professionals
Chapter 9: The Infrastructure of the Information Professions
Chapter 10: Trends and Issues

พอกลับมาถึงบ้านผมก็รีบค้นหาข้อมูลหนังสือเล่มนี้ทันทีเลยครับ (Google book search) เพื่ออ่านเล็กน้อย
นับว่าเป็นหนังสือที่น่าสนใจ และให้แง่คิดเรื่องการทำงานได้ดีทีเดียวครับ
หากเพื่อนๆ อยากอ่านตัวอย่างหนังสือเล่มนี้ก็อ่านได้ที่
http://books.google.com/books?id=zlm2hJ7H0wIC&printsec=frontcover&dq=Introduction+to+the+Library+and+Information+Professions#v=onepage&q=&f=false

เอาเป็นว่าหากเพื่อนๆ สนใจก็ลองสอบถามได้ที่ร้าน kinokuniya นะครับ เผื่อว่าเขาจะดำเนินการสั่งซื้อให้
เอาเป็นว่าวันนี้ขอแนะนำไว้แค่นี้ก่อน วันหน้าจะหาหนังสือเรื่องอื่นๆ มาแนะนำอีกครับ

ข้อมูลหนังสือ http://lu.com/showbook.cfm?isbn=9781591584865

บรรณารักษ์ที่มีประสบการณ์ กับ บรรณารักษ์ที่มีความรู้

วันนี้ผมขอถามความเห็นจากเพื่อนๆ หน่อยนะครับว่า
ระหว่าง “บรรณารักษ์ที่มีประสบการณ์” กับ “บรรณารักษ์ที่มีความรู้” อย่างไหนที่เพื่อนๆ คิดว่าสำคัญกว่า

librarian

แบบสอบถามเรื่องนี้มาจากการส่งเมล์สอบถามกันระหว่างกลุ่มบรรณารักษ์ที่ผมเป็นสมาชิกอยู่
ชื่อเมล์ว่า “Library needs experienced librarian, not retail guru”
ผมอ่านความคิดเห็นจากหลายๆ คนแล้วรู้สึกว่ามันน่าสนใจดี เลยขอเอามาถามเพื่อนๆ ชาวไทยบ้าง

คนบางคนอยากเป็นบรรณารักษ์มากถึงขั้นอ่านตำราบรรณารักษ์มากมาย
บางคนจบบรรณารักษ์มาแต่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับบรรณารักษ์ติดตามด้วย
บางคนไม่ได้จบบรรณารักษ์แต่ทำงานในห้องสมุดได้มากมาย

ในต่างประเทศคนที่จบบรรณารักษ์มาใหม่ๆ ได้รับการต้อนรับจากวงการกันอย่างแพร่หลาย
เพื่อที่จะนำคนเหล่านี้มาฝึกให้กลายเป็นบรรณารักษ์แบบมืออาชีพด้วย
เนื่องจากการเรียนในมหาวิทยาลัยเป็นเพียงการเรียนในตำราและสอนแต่ทฤษฎีเท่านั้น
เมื่อออกมาทำงานก็จำเป็นต้องฝึกปรือฝีมือกันหน่อย
และกว่าจะกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญก็ย่อมแสดงให้เห็นถึงประสบการณ์ที่มีในอาชีพอย่างมากมาย

บอกตรงๆ ว่าในเมล์บรรณารักษ์เกือบทุกคนเน้นย้ำว่า “แค่ความรู้อย่างเดียวไม่พอต่อการทำงานหรอกครับ”

เอาหล่ะทีนี้มาถึงความคิดเห็นของเพื่อนๆ กันแล้ว
ช่วยกันแสดงความคิดเห็นในแง่นี้หน่อยนะครับ
ผมจะได้ตอบบรรณารักษ์ชาวโลกว่า คนไทยคิดยังไงกัน!!!!

ผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุด ประจำปี 2552

หลังจากที่เมื่อวานนี้ผมเขียนเรื่อง “บุคคลดีเด่นในวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์ ประจำปี 2552
วันนี้ผมขอนำเรื่องต่อเนื่องมาเขียนต่อเลยนะครับ นั่นก็คือ การประกาศรางวัล
“ผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุดและการศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ประจำปี 2552”

library-support

ผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุด คือ ผู้ที่ให้การสนับสนุนกิจการของห้องสมุด
ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนด้วยกำลังกาย หรือกำลังทรัพย์ ต่างก็ล้วนแล้วแต่จะทำให้ห้องสมุดพัฒนา

ดังนั้นผมขอนำรายชื่อมาลงไว้ให้เพื่อเป็นการขอบคุณแทนวงการวิชาชีพนี้ด้วยนะครับ

ปีนี้มีผู้ได้รับการเสนอชื่อทั้งหมด 14 รายชื่อ ซึ่งมีดังนี้
(ผมขอเขียนแบบย่อๆ นะครับ รายละเอียดดูจากต้นฉบับที่ผมทำ link ไว้ให้นะครับ)

1. พระครูธรรมสรคุณ ขนธสโร
ได้สนับสนุนงบประมาณสร้างอาคารห้องสมุดประชาชน ?เฉลิมราชกุมารี? จังหวัดจันทบุรี ตั้งแต่ปี 2547 ? 2549 มูลค่า 20 ล้านบาท อีกทั้งได้มอบให้ กศน. เขาคิชฌกูฎ ระหว่างปี 2550-2552

2. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์จิตตินัดด์ หะวานนท์
ได้จัดสรรงบประมาณบอกรับฐานข้อมูลอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลากว่า 5 ปี มูลค่าปีละกว่า 5 ล้าน รวมมูลค่า 25 ล้านบาท ให้กับห้องสมุดคณะแพทย์และหน่วยงานในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ

3. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ได้จัด ?มุมความรู้ตลาดทุน? หรือ SET Corner เพื่อร่วมพัฒนาสังคมไทยสู่สังคมฐานความรู้ ตั้งแต่ปี 2547 ถึงปัจจุบัน

4. นายชรินทร์ เลอเกียรติจรัส

ผู้ผลักดันโครงการห้องสมุดไทยบริดจสโตน โดยได้เริ่มดำเนินการอย่างต่อเนื่องมากว่า 7 ปี ได้สร้างห้องสมุดไทยบริดจสโตน จำนวน 94 โรงเรียน

5. ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ

ประธานโครงการห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ปรีดี-พูนสุข พนมยงค์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูล ผลงาน ภาพถ่าย คำบรรยาย สื่อโสตทัศน์ กิจกรรมต่าง ๆ และงานเขียน ให้สามารถสืบค้นผ่านอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว

6. บริษัท ไทยบริดจสโตน จำกัด

ผู้สนับสนุนงบประมาณสร้างห้องสมุดใน โครงการ ?ห้องสมุดไทยบริดจสโตน? ส่งเสริมและสนับสนุนงบประมาณในการจัดโครงงานสารานุกรมไทย ใส่ใจธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

7. นายปรีชา ประกอบกิจ กรรมการ มูลนิธิแอมเวย์เพื่อสังคมไทย

โครงการ One by One : เปิดโลกกว้างทางปัญญา โดยในปี 2551 ได้ร่วมมือกับองค์กรไม่แสวงผลกำไร 3 แห่ง ได้แก่ มูลนิธิสงเคราะห์เด็กยากจนฯ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก และมูลนิธิกระจกเงา จัดสร้างห้องสมุดแอมเวย์จำนวน 10 โรงเรียน

8. นายพจน์ นฤตรรกกุล
สนับสนุนการทำวิจัยและพัฒนาเทคโลยีสำหรับห้องสมุดให้กับเครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนกลางของรัฐ ติดตามและศึกษาเทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ เช่น การสร้าง eBook, eJournal, Library Automation, Web Portal

9. นายวรวิทย์ ศุภโชคชัย
นผู้ผลักดันและสนับสนุนงบประมาณติดต่อกันเป็นระยะเวลา 5 ปี ระหว่างปี 2548 ? 2552 โดยได้สร้างห้องสมุด อาคารห้องสมุดและศูนย์เยาวชน (สวนศรีเมือง) ซึ่งมีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 2,100 ตารางเมตร รวมมูลค่า 18 ล้านบาท

10. นายวานิช เอกวาณิช

ผู้สนับสนุนงบประมาณสร้างห้องสมุดเอกวาณิช โรงเรียนภูเก็ตไทหัว ให้เป็นห้องสมุดมีชีวิต สำหรับนักเรียน ครู อาจารย์ ผู้ปกครอง ตลอดจนประชาชนในจังหวัดภูเก็ต

11. บริษัท เดอเบล จำกัด
ผู้จัดโครงการ ?ห้องสมุดนี้…พี่ให้น้อง? ตั้งแต่ปี 2550-2553 โดยมีโรงเรียนที่ได้รับทุนทั่วประเทศ จำนวน 134 โรง รวมมูลค่ากว่า 15 ล้านบาท

12. สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล สนับสนุนห้องสมุดในสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในปี 2551

13. ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์

อธิการบดีและผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยรังสิต เป็นผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ยาวไกล และตระหนักในความสำคัญของห้องสมุดในฐานะเป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญต่อการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา ริเริ่มโครงการก่อตั้งห้องสมุด พร้อมกับการก่อตั้งมหาวิทยาลัยรังสิต

14. นางสาวอินดา แตงอ่อน

ผู้สนับสนุนและสร้างบรรยากาศการใช้ห้องสมุดโดยการจัดโครงการทอดผ้าป่าการศึกษา ในปี 2548 ได้รับงบประมาณกว่า 3 ล้านบาท

เป็นไงกันบ้างครับกับการสนับสนุนห้องสมุดของแต่ละคน แบบว่าขอปรบมือให้แบบดังที่สุดเลยครับ
ถ้ามีผู้ใจดีกับห้องสมุดแบบนี้เยอะๆ ห้องสมุดหลายที่คงจะเลิกบ่นเรื่องไม่มีงบกันสักทีนะครับ

สุดท้ายนี้ก็ขอขอบคุณอีกครั้งสำหรับความใจดีของทุกๆ ท่านนะครับ

รายละเอียดของผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุดและการศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ประจำปี 2552 แบบเต็มๆ
อ่านได้ที่ http://tla.or.th/pdf/support.pdf

บุคคลดีเด่นในวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์ ประจำปี 2552

วันนี้ผมขอเอาเรื่องที่น่ายินดีและชมเชยมาให้เพื่อนๆ อ่านนะครับ
เป็นเรืองเกี่ยวกับ “บุคคลดีเด่นในวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์ ประจำปี 2552”

librarian-awards

จริงๆ ข่าวนี้ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ประกาศมาได้สักระยะนึงแล้วนะ
วันนี้ผมขอเอามาลงให้เพื่อนๆ อ่านอีกสักทีนะครับ

ปีนี้มีผู้ที่ได้รับรางวัล 5 ท่านครับ ซึ่งมีรายชื่อดังต่อไปนี้

1. นางกันป์หา เก้าเอี้ยน – บรรณารักษ์ วิทยาลัยการอาชีพนครศรีธรรมราช
เนื่องจากท่านเป็นผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งบรรณารักษ์ตั้งแต่ปี 2526 ท่านได้จัดห้องสมุดให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของสถานการศึกษา อีกทั้งยังจัดกิจกรรมมหกรรมรักการอ่าน ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ซึ่งนับว่าเป็นแบบอย่างของบุคคลแห่งการเรียนรู้

2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์นงนารถ ชัยรัตน์ – ผู้อำนวยการ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
เนื่องจากทั้งมีผลงานทั้งในด้านการสอน และการบริหารห้องสมุด รวมถึงการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น พัฒนาห้องสมุดโรงเรียนมงคลวิทยา จังหวัดระยอง (โรงเรียนพระปริยัติธรรมของสามเณร) รวมถึงจัดพิมพ์ชุดนิทานภาษาของแผ่นดินเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 2,400 ชุด

3. นางนาถระพินทร์ เบ็ญจวงศ์ – ครูชำนาญการ วิทยาลัยเทคนิคนครปฐม
เนื่องจากท่านเป็นบุคคลที่เสียสละ อุทิศตนเพื่อพัฒนาห้องสมุดวิทยาลัยเทคนิคนครปฐมให้ก้าวหน้าเป็นลำดับ อย่างต่อเนื่อง เป็นเวลากว่า 30 ปี และเผยแพร่บทความต่างๆ เกี่ยวกับวงการบรรณารักษ์อย่างต่อเนื่อง

4. นางจินัฐดา ชูช่วย – ครูชำนาญการพิเศษ หัวหน้างานห้องสมุดโรงเรียนสตูลวิทยา
เนื่องจากท่านได้ผลักดันห้องสมุดจนทำให้ได้รับรางวัลห้องสมุดดีเด่น 2 ปีซ้อน จากกรมสามัญศึกษา โล่เกียรติยศรางวัลห้องสมุดดีเด่น 3 ปีซ้อนจากเขตการศึกษา นอกจากนี้ท่านยังได้รับตำแหน่งเป็นหัวหน้าคณะดำเนินงานของมูลนิธิชัยพัฒนาในจังหวัดสตูล และเป็นแกนนำการพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนในเขตพื้นที่ห่างไกลและโรงเรียนในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

5. นางวราพร รสมนตรี – หัวหน้างานห้องสมุด โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ
เนื่องจากท่านได้สนับสนุนและส่งเสริมโครงการด้านการอ่านมากมาย เช่น โครงการพัฒนาการอ่านสู่ครูมืออาชีพ โครงการสุดยอดฑูตส่งเสริมการอ่าน โครงการส่งเสริมการอ่านวรรณกรรมเยาวชนแว่นแก้ว และได้รับโล่เกียรติคุณครูดีเด่นทางด้านการศึกษา ในปี 2551

เอาเป็นว่าผมก็ขอแสดงความยินดีกับทุกๆ ท่านด้วยนะครับ
และอยากให้มีบรรณารักษ์และคุณครูเช่นนี้มากๆ จัง
วงการห้องสมุดเราจะได้พัฒนาอย่างก้าวหน้าต่อไป

สำหรับรายละเอียดอื่นๆ เพื่อนๆ สามารถอ่านได้จาก
http://tla.or.th/pdf/person1.pdf

คุณรักห้องสมุดเท่านี้หรือปล่าว

เวลาผมไปบรรยายตามที่ต่างๆ ผมก็มักจะได้พูดคุยกับเพื่อนๆ บรรณารักษ์หลายๆ คน
เพื่อนๆ เหล่านั้นถามผมว่าทำไมถึงเขียนบล็อกห้องสมุดไม่มีวันหยุดได้หล่ะ

ilovelibrary

ผมจึงได้ย้อนถามกลับไปว่า

เพื่อนๆ รักในวิชาชีพนี้แล้วหรือยัง
เพื่อนๆ รักในห้องสมุดที่ท่านทำงานหรือปล่าว

คำถามเหล่านี้ ผมไม่ต้องการคำตอบหรอกครับ
แต่คำถามเหล่านี้อาจจะทำให้เพื่อนๆ คิดได้ว่าทำไมผมถึงทำอะไรเพื่อวงการนี้

อ๋อ เกือบลืมวันนี้ผมมีคลิปวีดีโอนึงมาให้เพื่อนๆ ดู เป็นคลิปวีดีโอที่ชื่อว่า I Love the Library

ไปดูกันเลยครับ

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=_3z7VGJSrQ4[/youtube]

ดูแล้วเป็นยังไงกันบ้างครับ

ตอนผมดูแรกๆ ก็อดขำบรรณารักษ์ที่ยืนกอดหนังสือไม่ได้
จะบอกว่ารักห้องสมุดจนยืนกอดหนังสือมันก็ดูตลกไปสักหน่อยครับ
แต่ก็ถือว่าอย่างน้อยคลิปวีดีโอนี้ เขาทำมาก็เพื่อสะท้อนว่า พวกเขารักห้องสมุด

ย้อนกลับมาที่ผม สำหรับผมแล้วการที่ได้รักห้องสมุด รักในวิชาชีพ
ผมคงไม่ต้องมายืนกอดหนังสือแล้วถ่ายคลิปหรอกนะครับ
เพียงแต่พยายามคิดหาหนทางในการพัฒนาห้องสมุด
แล้วเอามาเขียนบล็อกเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านแค่นี้ก็ก็อาจจะเป็นการยืนยันได้ในส่วนนึงแล้ว

แล้วเพื่อนๆ หล่ะครับ รักห้องสมุดหรือเปล่า!!!

จรรยาบรรณบรรณารักษ์และนักสารสนเทศฉบับปี 2550

ประกาศจรรยาบรรณของบรรณารักษ์ฉบับแรกประกาศเมื่อปี 2521 และมีการปรับปรุงครั้งที่ 1 ในปี 2529
และหลังจากนั้นไม่เคยมีการปรับปรุงจรรยาบรรณฉบับนี้อีกเลย จนมีการปรับปรุงครั้งที่ 2 ในปี 2550

ethic-library

ผมเลยแปลกใจว่าตั้งแต่การปรับปรุงครั้งแรกจนถึงครั้งนี้มันห่างกันตั้ง 21 ปีนะครับ
แสดงว่าที่เราใช้ๆ กันอยู่นี่มันล้าสมัยมากๆๆๆๆๆ
แต่เอาเถอะไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว ยังไงฉบับนี้ก็ถือว่าแก้ไขมาแล้ว
ผมจะมาพูดถึงเนื้อหาจรรยาบรรณทั้ง 9 ข้อ แบบย่อๆ ให้เพื่อนๆ ได้อ่านแล้วกัน

———————————————————————————————–

ประกาศสมาคมห้องสมุดฯ เรื่อง จรรยาบรรณบรรณารักษ์และนักสารสนเทศ พ.ศ. 2550

1. ให้บริการอย่างเต็มที่โดยไม่แบ่งแยกผู้ใช้บริการ
2. รักษาความลับและเคารพสิทธิของผู้ใช้บริการ
3. ซื่อสัตย์สุจริต เสียสละ อดทน และคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม
4. เรียนรู้ให้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน
5. เป็นมิตรกับเพื่อนร่มงาน เพื่อร่วมมือร่มใจกันทำงานเพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ
6. สร้างสัมพันธภาพและสร้างความร่วมมือกันระหว่างสถาบันให้ดี
7. ไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่หาประโยชน์เข้าตัวเอง
8. ยึดถือหลักเสรีภาพทางปัญญาและรักษาเกียรติภูมิของห้องสมุดและวิชาชีพ (ไม่ทำให้วิชาชีพเสื่อมเสีย)
9. มีความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อสร้างสรรค์สังคมไทยให้เป็นสังคมภูมิปัญญาและการเรียนรู้

———————————————————————————————–

เป็นยังไงกันบ้างครับ กับจรรยาบรรณของวิชาชีพเราฉบับใหม่
ผมวี่ามันก็เป็นสิ่งที่เราพึงกระทำอยู่แล้วนะครับ
แต่สำหรับผม ผมชอบข้อ 4 ที่รู้สึกว่า
ทางสมาคมคงจะเผื่อเอาไว้ในอนาคตเลย
เพราะว่าวิชาชีพเรา เราต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลาครับ
สำหรับเพื่อนๆ ที่สนใจอ่านจรรยาบรรณฉบับเต็มก็สามารถดาวนโหลดได้ที่
ประกาศสมาคมห้องสมุดฯ เรื่อง จรรยาบรรณบรรณารักษ์และนักสารสนเทศ พ.ศ. 2550

สุดท้ายนี้ก็ขอเป็นกำลังใจให้สมาคมห้องสมุดสร้างสรรค์สิ่งดีๆ เพื่อวงการห้องสมุดต่อไปนะครับ

การพัฒนาครูบรรณารักษ์เพื่อเลื่อนวิทยฐานะให้สูงขึ้น

วันนี้ผมมีงานอบรมเชิงปฏิบัติการมาประชาสัมพันธ์ อาจจะช้าไปหน่อยแต่ก็ยังน่าจะเข้าร่วมได้บ้าง
งานนี้ต้องขอบอกก่อนนะครับว่าเหมาะสำหรับ “บรรณารักษ์ที่เป็นครูหรืออยากเป็นครู”
เพราะเป็นคอร์สที่จะสอนและช่วยพัฒนาครูบรรณารักษ์ให้ได้รับการเลื่อนวิทยฐานะให้สูงขึ้น

tla-training

ชื่องานอบรมเชิงปฏิบัติการอย่างเป็นทางการ
ชื่องาน : การพัฒนาครูบรรณารักษ์เพื่อเลื่อนวิทยฐานะให้สูงขึ้น
วันที่จัดงาน : 30-31 ตุลาคม 2552
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุม คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
หน่วยงานที่จัด : สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ (แผนกพัฒนาวิชาชีพ)

เรื่องของการเขียนผลงานทางวิชาการเป็นจุดอ่อนที่ผมมีมาตั้งแต่สมัยตอนเรียบนแล้วครับ
(อ๋อ ต้องบอกก่อนนะครับว่าบล็อกที่ผมเขียนไม่ถือว่าเป็นงานวิชาการนะครับ)
ดังนั้นถ้ามีโอกาสผมก็อยากแนะนำคอร์สการอบรมเหล่านี้ให้เพื่อนๆ เช่นกัน
เพราะว่ามันมีประโยชน์ต่ออนาคตของเพื่อนๆ เลยนะครับ

ไม่ว่าจะเป็น
– การเขียนผลงานวิชาการเพื่อแบ่งปันความรู้
– การเขียนผลงานวิชาการเพื่อพัฒนาวงการวิชาชีพ
– การเขียนผลงานวิชาการเพื่อเลื่อนตำแหน่ง

ทุกอย่างก็ล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์มากๆ

ดังนั้นเราลองไปดู หัวข้อของการอบรมที่น่าสนใจกัน เช่น
– มาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะของข้าราชการครู
– หลักเกณฑ์และวิธีการเลื่อนวิทยฐานะสำหรับครูบรรณารักษ์
– แนวทางการจัดทำผลงานทางวิชาการของครูบรรณารักษ์
– การเขียนรายงานผลการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์การเลื่อนวิทยฐานะสำหรับครูบรรณารักษ์

เอาเป็นว่าแค่เห็นหัวข้อก็น่าสนใจพอสมควรเลยนะครับ
นี่ถ้าผมทำงานเป็นครูบรรณารักษ์ ผมคงต้องบอกหัวหน้าให้ส่งผมไปอบรมแน่นอนครับ

วิทยากรที่จะมาอบรมในงานนี้ เช่น
– ดร. สงบ? อินทรมณี วิทยากรจาก กคศ.
– รศ. พวา? พันธุ์เมฆา อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยศรีนครทรวิโรฒ
– อ. พวงรัตน์ อินทรฤทธิ์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
– อ. เกษร บัวทอง ครูบรรณารักษ์เชี่ยวชาญ (คศ.3) โรงเรียนนนทรีวิทยา
– อ. กิ่งแก้ว อ่วมศรี บรรณารักษ์ชำนาญการ ระดับ 8 มหาวิทยาลัยมหิดล

ค่าลงทะเบียนในการเข้าร่วมงานอบรมในครั้งนี้ จำนวน 1,000 บาท
ซึ่งผมว่ามันคุ้มนะครับกับการจ่ายเงินเพื่อให้ได้ความรู้เพื่อนำมาประกอบวิชาชีพ
แถมยังได้พัฒนาทักษะความรู้ของตัวเองเพื่อการเลื่อนตำแหน่งได้อีก

เพื่อนๆ สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่
คุณกิ่งแก้ว อ่วมศรี แผนกพัฒนาวิชาชีพ สมาคมห้องสมุด ฯ โทร. 02 441 5000 ต่อ 3108
นางสาวปรีดา อิ่มใจดี? สำนักงานสมาคมห้องสมุด ฯ? โทร.? 02-734-9022-3

เอาเป็นว่าก็เป็นงานอบรมเชิงปฏิบัติการนึงที่น่าสนใจครับ

ทำไมคนถึงไม่เข้าห้องสมุดประชาชน ???

เพื่อนๆ ในแต่ละจังหวัด คงจะเคยสังเกตห้องสมุดประชาชนของจังหวัดตัวเองดูนะครับ
ว่ามีห้องสมุดประชาชนของจังหวัดนั้นๆ มีผู้ใช้บริการ หรือคนเข้ามาในห้องสมุดมากน้อยเพียงใด

public-library

หลายๆ คนอาจจะตอบผมว่า น้อย หรือไม่ก็น้อยมาก (ส่วนใหญ่)

สาเหตุที่คนไม่ค่อยเข้าใช้ห้องสมุดประชาชน เกิดจากอะไรได้บ้าง
– ทรัพยากรสารสนเทศมีน้อย
– บรรยากาศในห้องสมุดไม่ค่อยดี
– ห่างไกลจากชุมชน
– บรรณารักษ์ต้อนรับไม่ดี

ประเด็นต่างๆ ที่ผมกล่าวอาจจะมีส่วนที่ทำให้คนไม่เข้าห้องสมุดนะครับ (แค่อาจจะมีส่วนนะครับ)

บางครั้งถ้าผมไปถามบรรณารักษ์ หรือ คนทำงานห้องสมุดบ้างว่าทำไมไม่มีใครเข้าใช้
ผมก็เชื่อว่าส่วนหนึ่งอาจจะตอบผมว่า
– พฤติกรรมของคนไม่ชอบการอ่าน (คนไทยไม่ชอบอ่าน)
– งบประมาณไม่มีเลยไม่ได้พัฒนาห้องสมุด

โอเคครับ สำหรับคำตอบที่กล่าวมา

จากเสียงของผู้ใช้ จนถึงเสียงของบรรณารักษ์ ผมสรุปได้ง่ายๆ ว่า
เกิดจากห้องสมุดไม่สามารถพัฒนาขีดความสามารถของตัวห้องสมุดได้
ไม่ว่าจะเป็นสารสนเทศที่มีจำนวนน้อย หรือสภาพห้องสมุดที่ไม่มีการปรับปรุง

โอเคครับ นั่นคือปัญหา และปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหา
ด้วยความเป็นจริงที่เลี่ยงไม่ได้ ห้องสมุดประชาชนก็ยังคงต้องประสบปัญหานี้ต่อไป

ผมได้เปิดโอกาสให้เพื่อนๆ หลายคนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ และได้ข้อคิดมากมาย เช่น

คุณ PP ได้แสดงความคิดเห็นในฐานะของผู้ใช้บริการห้องสมุดว่า

จำได้ว่าเคยไปหาหนังสือทำรายงานที่ห้องสมุดเทศบาล หนุงสือน้อยกว่าที่โรงเรียนอีก แถมเก่า เดือนก่อนเพิ่งสังเกตุว่ามีห้องสมุด มสธ เปิดอีกแห่งทั้งสภาพ บรรยากาศ พอๆ กัน ถ้ารวมกันได้? คงประหยัดงบได้เยอะ อย่างน้อยก็ไม่ต้องซื้อหนังสือพิมย์ฉบับเดียวกัน ส่วนงบประมาณถ้าทำดีๆ แล้วขอบริจาคคงได้งบมาบ้างละ แต่บริการตอนนี้บอกตรงๆ เห็นแล้วเซ็ง

คุณ Jimmy ได้แสดงความคิดเห็นในฐานะของผู้ใช้บริการห้องสมุดว่า

บรรณารักษ์มีส่วนทำให้คนเข้าห้องสมุดได้น้อยเหมือนกันนะ อย่างสมัยเรียนห้องสมุดประชาชนอยู่ไม่ไกลจากโรงเรียนมากนัก พอเข้าไปใช้ เจ้าหน้าที่นั่งหลับ ทำหน้าทีแค่เปิดปิดห้อง ทำความสะอาดนิดหน่อย หน้าที่หลักคือ เฝ้าห้อง

จากเรื่องด้านบนที่ผมได้เขียนมาก็เป็นเพียงแค่ห้องสมุดประชาชนส่วนหนึ่งเท่านั้นนะครับ
ผมก็อยากจะบอกว่า ยังมีห้องสมุดประชาชนอีกส่วนหนึ่งที่มีผู้ใช้บริการเยอะเช่นกัน
ซึ่งไว้ผมจะขอเล่าให้ฟังในตอนหน้านะครับว่า ห้องสมุดเหล่านั้นทำไมจึงมีผู้ใช้บริการมากมาย

แต่ทั้งหลายทั้งปวลที่เล่านี่ก็ไม่ได้อยากให้ท้อนะครับ
เพียงแต่เรื่องหลายๆ เรื่องเราต้องทำความเข้าใจและช่วยกันปรับปรุงกันต่อไป

10 เหตุผลยอดฮิตของการเป็นบรรณารักษ์

บทความนี้ผมเขียนตั้งแต่ปี 2007 แต่ขอเอามาเขียนใหม่นะครับ
ด้วยเหตุที่ว่า มีเพื่อนหลายคนถามอยู่เสมอว่า “ทำไมถึงอยากเป็นบรรณารักษ์”
ผมก็เลยไปหาคำตอบมาตอบให้เพื่อนๆ อ่าน ซึ่ง 10 เหตุผลดังกล่าวผมว่าก็มีส่วนที่ค่อนข้างจริงนะ

reason-librarian

ปล. 10 เหตุผลยอดนิยมของการบรรณารักษ์ ต้นฉบับเป็นของต่างประเทศ
ดังนั้นอาจจะมีบางส่วนที่เพื่อนๆ อาจจะรับไม่ได้ก็ได้นะครับ ต้องขออภัยล่วงหน้า

ต้นฉบับของเรื่องนี้ ชื่อเรื่องว่า “The Top 10 Reasons to Be a Librarian
ซึ่งเขียนโดย Martha J. Spear

10 เหตุผลยอดฮิตของการเป็นบรรณารักษ์ มีดังนี้
1. Grand purpose – ตั้งใจอยากจะเป็น
2. Cool coworkers – เพื่อนร่วมงานดี
3. Good working conditions – สภาพการทำงานใช้ได้
4. It pays the rent – สามารถยืนด้วยลำแข้งตัวเอง
5. A job with scope – เป็นงานที่มีความหลากหลาย
6. Time off – มีเวลาพักเยอะ
7. Great conferences – มีการจัดงานประชุมได้ดีมาก
8. Useful skills – ใช้ทักษะที่เรียนอย่างเต็มที่
9. Romance – อาชีพที่มีความโรแมนติก
10. Ever-changing and renewing – เป็นอาชีพที่ทำได้นานกว่าอาชีพอื่นๆ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ มีเหตุผลไหนที่ตรงใจคุณกันบ้าง
อย่างที่ผมบอกไว้แต่แรกหล่ะครับ ว่านี่เป็นเหตุผลของบรรณารักษ์ในต่างประเทศ
อย่าเพิ่งโต้เถียงนะครับ เพราะว่าบ้านเมืองเขาเป็นอย่างนั้น

วันนี้ผมคงได้แค่แปลให้อ่านนะครับ แล้ววันหลังจะมาเขียนอธิบายทีละข้อเลย
เพราะว่าเท่าที่อ่านดูคร่าวๆ นับว่ามีแง่คิดเยอะเหมือนกันครับ
เช่น ข้อที่ 7 ที่พูดถึงเรื่องการจัดประชุมทางวิชาการของสาขาวิชาชีพนี้ ที่เขาบอกว่าดีที่สุด มันเป็นอย่างไร เอาไว้อ่านคราวหน้านะครับ

นั่นคือเหตุผลของบรรณารักษ์ในต่างประเทศ เอาเป็นว่าทีนี้ในบ้านเรา ผมก็อยากรู้เหมือนกันนะครับว่า
“ทำไมเพื่อนๆ ถึงเรียนบรรณารักษ์ หรือทำงานบรรณารักษ์” อิอิ ว่างๆ จะขอสำรวจนะครับ

บรรณารักษ์มือใหม่ควร follow ใครใน twitter

กระแส twitter เริ่มจะแรงขึ้นเรื่อยๆ นะครับ ห้องสมุดหลายๆ ที่ใช้ twitter
แต่คำถามหนึ่งที่ผมได้รับมา คือ “แล้วจะ follow ใครดีหล่ะใน twitter”
วันนี้ผมจึงต้องมาตอบคำถามข้อนี้ให้ชาวห้องสมุดได้เข้าใจกันสักหน่อย

twitter

แต่ก่อนอื่นหากเพื่อนๆ คนไหนที่ยังไม่รู้จัก twitter
ผมขอแนะนำว่าลองกลับไปอ่านบทความเก่าๆ ของผมก่อน

“Twitter + Librarian = Twitterian”

คุณควรจะ follow ใครบ้างใน twitter
(ขอแนะนำใช้สำหรับบรรณารักษ์ที่ใช้ twitter มือใหม่นะครับ)

1. ผู้ใช้บริการทั่วไปของห้องสมุด หรือ สมาชิกของห้องสมุด
2. หน่วยงานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้ๆ คุณ หรือจังหวัดเดียวกัน
3. ห้องสมุดอื่นๆ
4. บรรณารักษ์คนอื่นๆ
5. ผู้แต่งหนังสือ, สำนักพิมพ์, หนังสือพิมพ์
6. @Ylibraryhub (อันนี้แนะนำแบบพิเศษ)

นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว
ผมแนะนำว่าคุณอาจจะ follow กลุ่มเป้าหมายของห้องสมุดของคุณก็ได้

เช่น หากเพื่อนๆ เป็นบรรณารักษ์ในห้องสมุดเฉพาะก็ลองหาคนที่สนใจในเรื่องเฉพาะที่ตรงกับห้องสมุดของคุณก็ได้ ตัวอย่างง่ายๆ เช่น
– ห้องสมุดมารวย อาจจะ follow คนที่ชอบเล่นหุ้นหรือสนใจเกี่ยวกับเรื่องการลงทุนก็ได้
– ห้องสมุดกรมวิทยาศาสตร์ อาจจะ follow นักวิทยาศาสตร์ หรือนักศึกษาที่เรียนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ก็ได้
– ห้องสมุดการออกแบบ อาจจะ follow นักออกแบบ สถาปนิก หรือผู้รับเหมาก่อสร้างก็ได้

แต่ไม่ว่าคุณจะ follow ใครก็ตาม
ผมก็อยากให้คุณทำความรู้จักกับ social network tool เหล่านี้ และขอให้ใช้ในทางที่ถูกต้องและเหมาะสมนะครับ

เพราะหากเพื่อนๆ ใช้ในทางที่ผิด “ห้องสมุดของท่านก็อาจจะมีชื่อเสียมากกว่าชื่อเสียงนะครับ”
ยังไงก็ลองหาคน follow ดูนะครับพี่น้องชาวห้องสมุด