มาสมัครเป็นบรรณารักษ์โรงเรียนนานาชาติกันเถอะ

ผมไม่ได้แนะนำงานบรรณารักษ์ให้เพื่อนๆ อ่านมาเกือบเดือนแล้วนะครับ
วันนี้ผมมีตำแหน่งงานบรรณารักษ์ที่น่าสนใจมาให้เพื่อนๆ พิจารณาอีกแล้วครับท่าน

librarian

ตำแหน่งงานบรรณารักษ์ที่ผมจะแนะนำนี้ เป็นบรรณารักษ์ประจำโรงเรียนนานาชาติ
(โรงเรียนนานาชาติ Traill International School)

คุณสมบัติทั่วไปของตำแหน่งนี้
– จบสาขาบรรณารักษศาสตร์ และสารสนเทศศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
– มีประสบการณ์ทำงานด้านห้องสมุด และบรรณารักษ์ตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป
– สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสารได้เป็นอย่างดี

การทำงานเป็นบรรณารักษ์ในโรงเรียนนานาชาติผมว่าเป็นโอกาสที่ดีนะครับ
นอกจากจะได้รายได้ที่ดีกว่าแล้ว ยังมีโอกาสได้ใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสารด้วย

ดังนั้นผมขอแนะนำว่าถ้าใครที่ไม่ชอบภาษาอังกฤษเลยก็อย่าสมัครเลยนะครับ
เพราะไม่งั้นคุณจะทำงานด้วยความอึดอัดใจ จนคุณต้องออกจากงานแน่ๆ

หากเพื่อนๆ สนใจตำแหน่งนี้ ก็ให้เขียน CV และ Resume เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้นแล้วส่งมาที่
Mr. David Cox (wpr@traillschool.ac.th) นะครับ

ที่อยู่ของ Traill International School
43 ซอยรามคำแหง 16, หัวหมาก, กรุงเทพฯ 10240
43 Soi Ramkhamhaeng 16, Huamark, Bangkok 10240
เบอร์โทรศัพท์ / Tel : 0-2718-8779

ผมก็ขอให้เพื่อนๆ โชคดีกันทุกคนนะครับ

จำหรือเปล่าว่าบรรณารักษ์เรียนอะไรบ้าง

หลายปีแล้วสินะครับ ที่ผมไม่ได้กลับไปที่ มหาวิทยาลัยที่ผมเรียน
สำหรับผมแล้วการเรียนที่ ม.สงขลานครินทร์ฯ วิชาเอกบรรณารักษ์ เป็นสิ่งที่มีความทรงจำมากมาย
วันนี้ผมขอย้อนเวลากลับไปเล่าเรื่องเก่าๆ ในอดีตนะครับ

library-science

ก่อนอื่น ผมคงต้องถามเพื่อนๆ ก่อนว่า เพื่อนๆ รู้มั้ยครับว่า “คนที่จบบรรณารักษ์เขาเรียนอะไรกันบ้าง”
เอาหล่ะครับไม่ต้องเดามาก วันนี้ผมจะมาเล่าเรื่องราวเก่าๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ดู

ปล.ข้อมูลนี้มาจากประสบการณ์ของผม และเป็นหลักสูตรที่ผมเรียนนะครับ
ซึ่งอาจจะไม่เหมือนมหาวิทยาลัยอื่นๆ นะครับ รวมถึงวิชาที่เรียนอาจจะต่างกันบ้าง อันนี้เพื่อนๆ ก็ต้องลองดูกันนะ

เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 1 เทอม 1

– วิชา Use of libraries and study skill

วิชานี้ผมได้รู้จักคำว่าห้องสมุดอย่างแท้จริงว่ามีหลายประเภทและเหนือสิ่งอื่นใด
ผมรู้จักคำว่า ?service mind? ในวิชานี้นั่นเอง

ปี 1 เทอม 2
– วิชา Audio Visual Material and Equipment for library and information center

วิชานี้ผมได้เข้าใจเรื่องอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีในห้องสมุด ไม่ว่าจะเป็นสื่อปรพเภทต่างๆ
ได้เข้าไปดูงานที่ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาด้วย ทำให้สนุกกับวิชาชีพนี้ขึ้นเรื่อยๆ
ตอนแรกนึกว่าเรียนบรรณารักษ์จะเกี่ยวกับหนังสืออย่างเดียว เจอวิชานี้เข้าไปต้องเปลี่ยนความคิดเลย


ปี 2 เทอม 1

– วิชา Fundamentals of library and information science
– วิชา Mass Communication
– วิชา Reading Improvement
– วิชา Information technology


เจอเข้าไปแต่ละวิชาตั้งแต่บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์เบื้องต้น
การประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการอ่าน และวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
เป็นไงบ้างหล่ะวิชาเอกบรรณฯ ของเรามีความหลากหลายขึ้นมากหรือปล่าว
อย่างที่เคยเขียนบความก่อนหน้าว่าทำไมผมถึงเรียนและเป็นบรรณารักษ์
เพราะขนาดวิชายังมีความหลากหลายและทุกวิชาชีพมีความเกี่ยวข้องกันนั่นเอง

ปี 2 เทอม 2
– วิชา Collection development
– วิชา Library service
– วิชา Application of information technology
– วิชา Computer for library system


วิชาที่เรียนในเทอมนี้เน้นไปในส่วนของห้องสมุดทั้งในงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
งานบริการในห้องสมุด รวมถึงงานไอทีในห้องสมุดด้วย
เทอมนี้เป็นเทอมที่ผมรู้สึกว่าบรรณารักษ์ในปัจจุบัน
ไม่เหมือนในอดีตที่มีเทคโนโลยีมากมายเข้ามาช่วยบรรณารักษ์ในการทำงาน
และเทอมนี้เป็นเทอมที่ผมค่อนข้างมีความสุขและประทับใจมากๆ ที่ได้เลือกเรียนบรรณารักษ์

ปี 3 เทอม 1
– วิชา Information service
– วิชา Publishing business
– วิชา Dewey decimal classification system
– วิชา Cataloging
– วิชา Lit. of science and technology

เทอมนี้ผมลงวิชาเอกเยอะที่สุดเท่าที่จำได้และเหนื่อยมากๆ ด้วย
วิชาในเทอมนี้ทั้งการจัดหมวดหมู่ และการวิเคราะห์ทรพยากรสารสนเทศ
เป็นวิชาที่ต้องเรียนกันแบบเจาะลึกกันเลยเพราะถือเป็นงานที่สำคัญมากในห้องสมุด
ส่วนวิชาการบริการสารสนเทศเป็นวิชาที่เสมือนการให้บริการตอบคำถามด้านสารสนเทศซึ่งชอบมาก
เพราะต้องไปนั่งที่ห้องสมุดจริงๆ และคอยตอบคำถามให้เพื่อนๆ นักศึกษาและผู้ใช้ห้องสมุด
ส่วนวิชาที่เหนื่อยอีกวิชาหนึ่งคือธุรกิจสิ่งพิมพ์
วิชานี้สอนเรื่องการจัดพิมพ์หนังสือแต่ละเล่มว่าต้องผ่านกระบวนการอะไรบ้าง (เป็นแนวทางในการประกอบวิชาชีพของสำนักพิมพ์)
ต้องทำหนังสือทำมือ และการรับหนังสือจากสำนักพิมพ์มาขาย จำได้ว่าตอนนั้นเราได้กำไรสักสองพันเห็นจะได้
ส่วนวิชาวรรณกรรมวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่ทำให้ผมสนใจอ่านข่าว และงานเขียนทางด้านวิทยาศาสตร์มากขึ้น

ปี 3 เทอม 2
– วิชา Library of congress classification system
– วิชา Research
– วิชา Information market and business
– วิชา Database design and development
– วิชา digital library


เทอมนี้เป็นการเรียนต่อยอดจากเทอมที่แล้ว ซึ่งเทอมที่แล้วผมเรียนจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้ แต่เทอมนี้ผมเรียนการจัดหมู่แบบ LC
อีกวิชาที่สุดหินคือการทำวิจัยตอนนั้นผมเลือกทำในเรื่อง
?การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคซีดีเถื่อนในสังคมไทย? ซึ่งต้องใช้เวลาการทำสามเดือนเต็มๆ เหนื่อยสุดๆ
วิชาตอนมาเรื่องการทำธุรกิจที่เกี่ยวกับสารสนเทศเป็นวิชาที่ต้องคิดมากซึ่งทำให้รู้จักโลกที่กว้างขึ้นนอกเหนือจากอยู่แต่ห้องสมุด
การออกแบบฐานข้อมูลวิชานี้ผมได้ลองออกแบบระบบร้านขายยาขึ้นมาดูก็พอน่าจะเอาไปใช้เล่นๆ ได้นะ อิอิ
ส่วนวิชา ห้องสมุดดิจิทัล เป็นวิชาที่บ่งบอกว่าห้องสมุดเดี๋ยวนี้มีรูปแบบใหม่ขึ้น
ได้รู้จักคำว่า ?E-library / Digital Library / Virtual Library?
ว่าทั้งสามตัวนี้แตกต่างกันอย่างไร เอาไว้ว่างๆ จะเอามาเขียนให้อ่านแล้วกันนะครับ

ปี 4 เทอม 1
– วิชา Information storage and retrieval
– วิชา Information resource in the humanities
– วิชา Library Administration
– วิชา Seminar in library and information science


4 วิชาสุดท้ายของการเรียนที่เป็นวิชาการซึ่งเป็นวิชาที่เป็นที่สุดของห้องสมุด
เรื่องระบบ IR เป็นสิ่งที่ต้องมองในเรื่องการจัดเก็บก็ต้องสามารถค้นคืนในสิ่งที่จัดเก็บได้
วรรณกรรมมนุษย์วิชานี้ทำให้เราได้ออกค่ายไปจังหวัดปราจีนบุรีด้วย
นั่งเครื่องบินจากหาดใหญ่มาลงกรุงเทพแล้วต่อด้วยรถทัวร์มาที่ปราจีนบุรี
วิชาการบริหารห้องสมุด ตอนแรกผมนึกว่าจบบรรณารักษ์ก็เป็นได้แค่เพียงผู้ปฏิบัติงานแต่พอเจอวิชานี้ก็แสดงให้เห็นว่า
คนที่จะบริหารห้องสมุดได้ควรจะต้งเรียนรู้หลักการของห้องสมุดถึงจะเข้าใจกระบวนการทำงานในห้องสมุดด้วย
วิชาสุดท้ายสัมมนาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์เป็นวิชาที่เปิดโอกาส
ให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่ตนเองชอบให้เพื่อนๆ บรรณารักษ์ได้ฟัง สนุกมากเลยได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

สุดท้ายที่ปี 4 เทอม 2 เราทุกคนก็แยกย้ายกันไปฝึกงานในแต่ละที่
และก็จบลงด้วยความภาคภูมิใจว่า ผมนี่แหละคนที่จบบรรณารักษ์

เป็นไงบ้างครับ ต่างจากเพื่อนๆ บ้างหรือปล่าว
ยังไงถ้าต่างกันบ้างก็ลองบอกผมหน่อยนะครับ อิอิ

New Avatar in Yahoo : Mr Librarian

นานๆ ทีผมจะเข้าไปแก้ avatar ใน Yahoo (http://avatars.yahoo.com/)
เพื่อให้เพื่อนๆ ดูรูปผมแล้วและเข้าใจว่าเป็นบรรณารักษ์เลยต้องปรับรูปอะไรนิดหน่อย อิอิ

librarian-man-avatar

อธิบายรูปเดิม
ในรูปเดิมของผมบ่งบอกความเป็นอะไรที่เรียบง่ายและสบายๆ
ยืนอยู่บนท้องถนน ใส่เสื้อลายดอกสีส้ม กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะ

อธิบายรูปใหม่
ในรูปใหม่ผมได้เปลี่ยนฉากสถานที่ด้านหลังให้กลายเป็นห้องสมุด
สวมเสื้อยืดแขนยาว กางเกงขายาว และรองเท้าผ้าใบ รวมไปถึงการถือหนังสืออยู่ในมือด้วย

จริงๆ แล้วเพื่อนหลายๆ คนก็อาจจะบอกว่าไม่เหมือนบรรณารักษ์ก็เหอะ
แต่ผมรู้สึกว่าอย่างน้อยรูปนี้ของผมก็มีกลิ่นไอของความเป็นห้องสมุดอยู่
เอาเป็นว่า ผมจะใช้รูปนี้อ่ะ ใครจะทำไม อิอิ

ไหนๆ ก็เขียนถึงการเปลี่ยน Avatar แล้ว
งั้นผมขอแนะนำ http://avatars.yahoo.com/ หน่อยดีกว่า
เพราะว่าผมรู้สึกว่าเป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างตัวตนของเราได้ง่ายดี เช่น
– Appearance (รูปร่าง, หน้าตา, ทรงผม, สีผิว)
– Apparel (การแต่งกาย, เสื้อผ้า)
– Extras (เครื่องแต่งกายอื่นๆ, หมวก, หน้ากาก, รวมถึงอุปกรณ์เสริม)
– Background (ฉากหลัง, พื้นหลัง)
– Branded (พื้นหลังแบบพิเศษตามงานเทศกาลสำคัญๆ)

นอกจากนี้พอเราแต่งตัว และกำหนดรูปแบบความเป็นตัวตนเสร็จ
เรายังสามารถกำหนดอารมณ์ของ avatar เราได้ด้วยนะ เช่น
– ร่าเริง สนุก ดีใจ
– เซ็งๆ เหงาๆ
– โกรธ โมโห
– หน้าตลก ขี้เก็ก

my-avatar

เป็นไงบ้างครับกับรูปของผมในอารมณ์ที่ต่างกัน

เอาเป็นว่าผมก็ชอบเข้ามาแต่งตัวในเว็บนี้บ่อยๆ เหมือนกัน
เหมือนเล่นเกมส์แต่งตัวเลยอ่ะครับ อิอิ

เพียงแต่คนที่จะเข้ามาแต่งตัวแบบนี้ได้ ต้องมี account ของ yahoo นะครับ
และเมื่อเพื่อนๆ แต่งตัวเสร็จแล้ว avatar เหล่านี้ จะใช้แทนตัวคุณในบริการต่างๆ ของ Yahoo นั่นเอง

เอาเป็นว่าผมก็ขอแนะนำแต่เพียงเท่านี้ก่อนนะครับ
ลองแต่งตัวกันดูแล้วส่งมาให้ผมดูบ้างหล่ะ อิอิ

คุณเป็นบรรณารักษ์ยุค 2.0 หรือปล่าว

มีหลายคนเคยบอกว่าการแต่งตัวก็สามารถบอกนิสัยหรือลักษณะเฉพาะตัวได้
วันนี้ผมจึงขอนำเรื่องการเลือก ทรงผม และ รองเท้า มาเล่าให้เพื่อนๆ ฟัง
เชื่อมั้ยครับว่าทั้งสองสิ่งนี้สามารถบอกได้ว่าเพื่อนๆ เป็น “บรรณารักษ์รุ่นไหน”

บทความเรื่องนี้ผมนำมาจากบล็อก http://infonatives.wordpress.com
ชื่อเรื่องว่า “Librarian 1.0 or 2.0 hair & shoes ? now we know

ในบล็อกเรื่องนี้ได้กล่าวถึงการไปสำรวจแบบทรงผม กับ รองเท้า ของบรรณารักษ์
ตอนแรกผมก็รู้สึกงงเหมือนกันว่า จะไปสำรวจทำไม แต่พออ่านชื่อเรื่องของเขาก็เลยถึงบางอ้อว่า

เขาได้สำรวจทรงผมของบรรณารักษ์ 1.0 กับ บรรณารักษ์ 2.0
และนอกจากนี้ยังสำรวจรองเท้าของบรรณารักษ์ 1.0 กับ บรรณารักษ์ 2.0 ด้วย

ทรงผม กับ รองเท้า สามารถบอกได้จริงหรือนี่ว่าเป็นบรรณารักษ์ยุคไหน
เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ลองดูผลสำรวจ ทรงผม กับ รองเท้า กันก่อนหล่ะกัน

เริ่มจากเพื่อนๆ ลองดูที่ทรงผมเหล่านี้ก่อนนะครับ
“ทรงผมแบบไหนถึงจะทำให้ดูเป็นบรรณารักษ์ 2.0”

hair-librarian

นอกจากนี้ไปดูกันต่อเลยดีกว่าว่า “รองเท้าแบบไหนถึงจะทำให้ดูเป็นบรรณารักษ์ 2.0”

shoes-librarian

เป็นยังไงกันบ้างครับ เพื่อนอยู่ในบรรณารักษ์ยุคไหนกันบ้างครับ
สำหรับของผม ทรงผมได้ 2.0 แต่รองเท้ายังเป็น 1.0 อยู่อ่ะครับ
ดังนั้นรวมๆ แล้ว ผมน่าจะได้ชื่อว่า บรรณารักษ์ 1.5 มั้งครับ

เอาเป็นว่าที่เอามาให้ดูก็ไม่ต้องซีเรียสกันมากนะครับ
ไม่ใช่ว่าดูแล้วเครียด พรุ่งนี้เปลี่ยนทรงผม กับ รองเท้าไปทำงาน
เพื่อนๆ ของคุณอาจจะตกใจก็ได้นะครับ

สรุปแล้วไม่ว่าจะเป็นบรรณารักษ์ 1.0 หรือ บรรณารักษ์ 2.0
ก็อย่าลืมให้บริการผู้ใช้ดีๆ ด้วยนะครับ ไม่งั้นผมคงต้องของริบคำว่า บรรณารักษ์จากพวกคุณแน่ๆ

หนังสือทำเนียบนามบรรณารักษ์ โดยสถาบันพระบรมราชชนก

จากการพูดคุยกับสมาชิกในบล็อกคนนึงซึ่งบอกว่า “อยากประชาสัมพันธ์หนังสือรุ่น”
ผมก็เลยต้อง “จัดไป อย่าให้เสีย” สักหน่อยดีกว่า

librarian-relationship

ตอนแรกผมก็ประหลาดใจว่าเป็น “หนังสือรุ่นของสถาบันไหน”
จึงได้สอบถามจนรู้ว่าเป็น “ทำเนียบนามบรรณารักษ์”

ผมจึงให้เขาส่งเรื่องนี้เข้ามาในอีเมล์ของผม
แต่พอดีหลายวันมานี้ผมไม่ค่อยว่าง และเพิ่งจะได้เปิดอ่านดูในวันนี้

หลังจากที่เปิดอ่าน และ download ไฟล์ e-book มาดูแล้วอดตกใจไม่ได้
เพราะว่ารู้สึกคุ้นๆ หน้าหลายคนเลย และผมก็รู้จักด้วยหลายคน อิอิ

ชื่อหนังสือรุ่นผมชอบมากเลยครับ
Librarian relationship คือความผูกพันระหว่างน้อง – พี่
นี่แหละครับที่เรียกว่าอาชีพเดียวกันย่อมไม่ทิ้งกันใช่มั้ยครับ

หนังสือเล่มนี้อาจจะเป็นตัวอย่างสำหรับเพื่อนๆ อีกหลายคนที่คิดจะทำหนังสือรุ่น
แต่ถ้าผมเอาออกมาให้ดาวน์โหลดเลย ผมก็กลัวว่าเจ้าของหนังสือรุ่นนี้จะว่าเอา

ดังนั้นเอางี้ดีกว่า ใครอยากดูหนังสือเล่มนี้เป็นตัวอย่างให้ส่งเมล์มาขอก็แล้วกันนะครับ
ที่อีเมล์ dcy_4430323@hotmail.com

วันนี้ผมก็ขอขอบคุณเพื่อนสมาชิกท่านนี้มากครับ
สมาชิกท่านนี้ใช้ชื่อในบล็อกผมว่า ?Hi-so Librarian?

อ๋อขอเช็ค rating หน่อยนะครับ
อยากรู้จังว่าเพื่อนๆ สมาชิกบล็อก projectlib
ยังมีใครมาจากสถาบันพระบรมราชชนกนี้อีกบ้าง
ช่วยยกมือกันหน่อย หรือส่งเสียงมาทักทายกันบ้างนะครับ

ปล. ใครอยากอวดหนังสือรุ่นของตัวเองก็ส่งมาให้ผมได้นะครับ แล้วผมจะเอามาให้เพื่อนๆ คนอื่นได้ชื่นชมต่อไป

อัพเดทข้อมูลงาน Libcamp#2

วันนี้ผมขอเข้ามาเขียนอัพเดทข้อมูลงาน Libcamp#2 หน่อยดีกว่า
เพื่อเป็นข้อมูลให้เพื่อนๆ หลายคนเตรียมตัวได้ถูกหน่อย

Read more

Twitter + Librarian = Twitterian

ก่อนอื่นผมคงต้องแนะนำก่อนว่า Twitter คืออะไร
เพราะผมเชื่อว่าบรรณารักษ์อีกหลายคนคงยังไม่รู้จักเครื่องมือชิ้นนี้อย่างแน่นอน

twitter Read more

100 ล้าน IPOD กับความเศร้าของเราชาวบรรณารักษ์

บล็อกเรื่องนี้เป็นเรื่องแรกที่ผมเขียนใน Projectlib เลยนะครับ
เพราะฉะนั้นผมขอเก็บเรื่องนี้ไว้เป็นที่ระลึกนะครับ

ipod Read more

ขอวิจารณ์เกณฑ์ในการสรรหาบุคคลดีเด่นในวิชาชีพบรรณารักษ์ฯ

เป็นที่รู้กันนะครับว่าทุกปีทางสมาคมห้องสมุดฯ จะมีการสรรหาบุคคลดีเด่นแห่งวงการวิชาชีพบรรณารักษ์
วันนี้ผมก็มีโอกาสได้อ่านหลักเกณฑ์ในการสรรหาเหมือนกัน เลยอยากเสนอความคิดเห็นนะครับ

good-librarian Read more