วิทยาลัยสารพัดช่างพิษณุโลก รับเจ้าหน้าที่ห้องสมุด 1 อัตรา

ช่วงนี้หายจากวงการบล็อกไปนาน วันนี้ขอนำข่าวฝากประชาสัมพันธ์มาลงให้แล้วกัน
โดยข่าวฝากประชาสัมพันธ์วันนี้ เป็นข่าวเกี่ยวกับการรับสมัครเจ้าหน้าที่ห้องสมุด
(คนที่กำลังหางานในต่างจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดพิษณุโลกต้องอ่านครับ)

วิทยาลัยสารพัดช่างพิษณุโลก ตอนนี้กำลังรับสมัครเจ้าหน้าที่ห้องสมุด (ศูนย์วิทยบริการ)
ซึ่งรับวุฒิปริญญาตรีสาขาบรรณารักษศาสตร์ สารสนเทศศาสตร์ หรือที่เกี่ยวข้อง
และรับเพียงแค่ 1 ตำแหน่งเท่านั้น

รายละเอียดเกี่ยวกับหน้าที่ ไม่ได้แจ้งไว้นะครับ (ต้องสอบถามกันเอาเองนะ)

ค่าตอบแทน
– เงินเดือน 8,340 บาท
– เงินล่วงเวลาในวันทำงานนอกเวลา
– ประกันสังคม

รับสมัครตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน – 18 กรกฎาคม 2555 ในเวลาราชการ
สอบวันที่ 20 กรกฎาคม 2555 (ความรู้ทั่วไป, เฉพาะตำแหน่ง, สัมภาษณ์)
ประกาศผลสอบวันที่ 23 กรกฎาคม 2555
รายงานตัววันที่ 24 กรกฎาคม 2555

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่
วิทยาลัยสารพัดช่างพิษณุโลก
99 หมู่ 1 ถนนปราบไตรจักร ตำบลบ้านคลอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000
โทรศัพท์ 055-252034

ขอให้เพื่อนๆ สมหวังกันนะครับ อิอิ

สื่อสังคมออนไลน์กับการใช้งานในห้องสมุดประชาชนจังหวัดร้อยเอ็ด

ช่วงเดือนที่ผ่านมามีบรรยายเยอะมากๆ เอาเป็นว่าจะเอามาสรุปให้อ่านทีละตอนแล้วกันนะครับ
วันนี้ขอคิวของการไปบรรยายที่จังหวัดร้อยเอ็ดก่อนแล้วกัน ในหัวข้อ “สื่อสังคมออนไลน์กับการใช้งานในห้องสมุดประชาชน

การบรรยายเรื่องนี้ผมใช้เวลาครึ่งวันบ่ายครับ เพราะช่วงเช้าหัวหน้าผมบรรยายไปแล้ว
(เพื่อนๆ สามารถอ่านได้ที่ “เส้นทางสู่บรรณารักษ์และห้องสมุดยุคใหม่ ณ ห้องสมุดร้อยเอ็ด“)

เริ่มจากไปดูสไลด์ที่ผมใช้บรรยายก่อนดีกว่า
Social media in library at roiet

เอาหล่ะครับมาอ่านบทสรุปของผมต่อแล้วกัน

การบรรยายเริ่มจากการเกริ่นเส้นทางจากบรรณารักษ์ในแบบเดิมๆ ไปสู่การเป็นบรรณารักษ์ยุคใหม่
และเกริ่นถึงหัวข้อที่จะบรรยายในวันนี้ คือ
– ทักษะไอทีที่บรรณารักษ์ทุกคนควรรู้….
– ทำความรู้จักสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media)
– กรณีศึกษาการใช้บล็อกสำหรับห้องสมุด
– กรณีศึกษาการใช้ Facebook สำหรับงานห้องสมุด
– แนวโน้มการก้าวสู่การเป็นห้องสมุดยุคใหม่ในโลก

บรรณารักษ์ยุคใหม่ต้องมีความรู้ด้านวิชาชีพ (บรรณารักษศาสตร์) และมีความรู้ด้านไอที ความคิดสร้างสรรค์ สื่อสังคมออนไลน์ เครือข่ายสังคมออนไลน์

การทำงานในห้องสมุดให้ราบรื่น จำเป็นที่จะต้องเห็นภาพรวม
และเครื่องมือที่จะช่วยให้เราเห็นภาพคือ Library Work Flow ตัวอย่างดังภาพ

ทำไมบรรณารักษ์ต้องรู้เรื่องไอที – ไอทีเข้ามาเกี่ยวข้องกับการทำงานของเรามากมาย เช่น งานบริหารห้องสมุด, งานจัดซื้อจัดหา, งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ, งานบริการต่างๆ, ระบบห้องสมุด

ไอทีสำหรับบรรณารักษ์ ผมย้ำแค่ 3 ประเด็น คือ ต้องรู้จัก เข้าใจ และเอาไปใช้ให้ถูก

ทักษะและความรู้ด้านไอทีที่บรรณารักษ์ควรรู้ มี 8 ด้าน ได้แก่
1. ความรู้และทักษะในกลุ่มโปรแกรมสำนักงาน
2. ความรู้และทักษะในกลุ่มโปรแกรมสำหรับสื่อ
3. ความรู้และทักษะด้านการใช้งานระบบเครือข่าย
4. ความรู้และทักษะในกลุ่มพื้นฐานคอมพิวเตอร์
5. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวกับอุปกรณ์อื่นๆ
6. ความรู้และทักษะในกลุ่มการใช้งานอินเทอร์เน็ต
7. ความรู้และทักษะการใช้งานระบบห้องสมุด
8. ความรู้และทักษะการใช้งานเว็บไซต์ 2.0

ประเด็นไอทีในข้อ 1-7 ยังเป็นเรื่องที่ทุกคนได้ใช้กันอยู่แล้วเพียงแต่ต้องฝึกฝนกันมากๆ แต่ในข้อที่ 8 อยากให้เรียนรู้กันมากๆ นั่นคือ เรื่องเว็บ 2.0 นั่นเอง

เว็บ 2.0 มีลักษณะดังนี้ (สรุปประเด็นตามสไลด์)
– ยุคใหม่ของการพัฒนาเว็บไซต์
– รูปแบบการพัฒนาเว็บไซต์ที่ให้ความสำคัญกับ “ผู้ใช้เว็บ” มากกว่า “ผู้พัฒนา” หรือ “เจ้าของเว็บไซต์”
– แนวคิดการพัฒนาเว็บที่ให้ความสำคัญกับการปฏิสัมพันธ์ การทำงานร่วมกัน การผสานความร่วมมือทั้งโครงสร้างพื้นฐาน ระบบ ซอฟต์แวร์ และเนื้อหาเว็บ
– การปรับเว็บไซต์จากการให้ข้อมูลเพียงทางเดียว เป็นการให้บริการและข้อมูลที่ “ผู้ใช้” เข้าถึงได้ง่ายและร่วมสร้าง แก้ไข


จาก “เว็บ 2.0” สู่ “ห้องสมุด 2.0” ซึ่งสิ่งที่เหมือนกัน คือ ให้ความสำคัญกับผู้ใช้บริการ รับฟังผู้ใช้บริการ …..

ในอดีตช่องทางที่จะทำให้คนทั่วไปรู้จักห้องสมุดบนโลกออนไลน์ มีเพียงวิธีเดียว คือ “เว็บไซต์ห้องสมุด” แต่ปัจจุบันมีเครื่องมือออนไลน์มากมายให้เลือกใช้ ที่สำคัญ คือ “ฟรี”

สังคมที่เต็มไปด้วยการแบ่งปันความรู้ – เครื่องมือที่ใช้ในการแบ่งปันความรู้

ใครชอบแชร์เรื่องที่เขียนก็เน้น Blog
ใครชอบแชร์รูปภาพก็ใช้บริการ Flickr
ใครชอบแชร์วีดีโอก็ใช้บริการ Youtube
ใครชอบแชร์เอกสารก็ใช้บริการ Scribd
ใครชอบแชร์ไฟล์นำเสนอก็ใช้บริการ Slideshare

กรณีศึกษาสื่อสังคมออนไลน์แบบต่างๆ เช่น Blog Facebook twitter

ทิศทางสำหรับห้องสมุดในอนาคต (Trend : Library in the Future)
1. Mobile applications.
2. E-book readers.
3. Niche social networking.
4. Google Applications.
5. Google Books.
6. Library socialized.
7. Open source software.
8. Podcasting and ItunesU.
9. Social networking classes for patrons.
10. Library Marketing.


นี่ก็เป็นการสรุปการบรรยายให้เพื่อนๆ ได้อ่านนะครับ เอาเป็นว่าขอจบแต่เพียงเท่านี้หล่ะกันครับ

ผมขอฝากเอกสารชิ้นนึงให้อ่าน เป็นบทความที่ผมเขียนลงวารสารโดมทัศน์ของธรรมศาสตร์
อยากให้อ่านเพราะว่าจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจในเรื่องของการใช้สื่อสังคมออนไลน์ได้เป็นอย่างดี
อ่านได้ที่ “คิดเล่นๆ และทำจริงๆ จึงได้เครือข่ายบรรณารักษ์ออนไลน์

The edublogaward 2011 สาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์

มีเพื่อนผมมาเตือนเกี่ยวกับเรื่อง The edublogaward ว่า “ผลของปี 2011 ยังไม่ออกหรอ ทำไมถึงไม่มีเขียนเรื่องนี้” ซึ่งเมื่อผมลองตรวจสอบดูก็เพิ่งเห็นจริงๆ ว่าผลมันออกมานานแล้ว ต้องขออภัยที่ลงข่าวล่าช้านะครับ เอาเป็นว่าลองมาติดตามกันดูดีกว่าว่าผลของปีนี้บล็อกไหนของวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ที่ได้รับรางวัลบ้าง

ติดตามผลการประกาศรางวัลปีเก่าได้ที่
The edublogaward 2009 สาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์
The edublogaward 2010 สาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์

ปีนี้ผลการประกาศรางวัล The edublogaward 2011  สาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์ดูน่าสนใจมากขึ้น
(ปกติจะประกาศสาขาละ 3 บล็อก ปีนี้ประกาศเพิ่มเป็น 5 บล็อกครับ)

The edublogaward 2011 สาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์ บล็อกที่ได้รับรางวัลมีดังนี้
Try Curiosity! – http://www.trycuriosity.com/
Bulldog Readers Blog – http://bellbulldogreaders.edublogs.org/
The Daring Librarian – http://www.thedaringlibrarian.com/
Never Ending Search – http://blog.schoollibraryjournal.com/neverendingsearch
A Media Specialist’s Guide to the Internet – http://mediaspecialistsguide.blogspot.com/

Try Curiosity! - http://www.trycuriosity.com/
Bulldog Readers Blog - http://bellbulldogreaders.edublogs.org/
The Daring Librarian - http://www.thedaringlibrarian.com/
Never Ending Search - http://blog.schoollibraryjournal.com/neverendingsearch
A Media Specialist's Guide to the Internet - http://mediaspecialistsguide.blogspot.com/

ปีนี้บล็อกที่ได้รับรางวัลนี่ เป็นบล็อกที่ไม่เคยได้รับรางวัลนี้มาก่อน (บล็อกหน้าใหม่)
ปีที่แล้วยังมีบล็อกเก่าติดอันดับ แต่ปีนี้บล็อกเก่าไม่ติดเลย นับว่าน่าสนใจมากๆ

ยังไงก็ลองเข้าไปดูนะครับ

ติดตามข้อมูลรางวัลในสาขาอื่นๆ ได้ที่ http://edublogawards.com/announcing-the-2011-winners-congrats-to-all/

ทักษะที่จำเป็นสำหรับบรรณารักษ์ยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21

เรื่องที่จะเขียนให้อ่านในวันนี้ ตั้งใจว่าจะเขียนหลายทีแล้ว แต่ด้วยภาระงานที่มากมายจึงติดไว้นานมากๆ วันนี้พอดีอยู่ว่างๆ (จริงๆ ก็ไม่ได้ว่างมากหรอก) เลยขอเขียนเรื่องราวนี้ให้จบแล้วกัน

ทักษะที่จำเป็นสำหรับบรรณารักษ์ยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21” เป็นเรื่องที่ผมอ่านมาจากบล็อกในต่างประเทศ ซึ่งต้องบอกตามตรงว่าเรื่องนี้ถูกเขียนขึ้นมาตั้งแต่ปี 2006 แล้ว แต่พออ่านแล้วเห็นทักษะต่างๆ แล้วก็จะรู้ว่ายังคงใช้ได้เลยทีเดียว

ทักษะที่จำเป็นสำหรับบรรณารักษ์ยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21 ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเด็นใหญ่ๆ คือ
1. ประเด็นความสามารถหรือทักษะในระดับต้น (สายปฏิบัติ) แบ่งออกเป็น 5 ข้อย่อย คือ
– ความสามารถที่จะยอมรับความเปลี่ยนแปลง
– นำสื่อออนไลน์เข้ามาใช้เพื่อความสะดวกสบาย
– ความสามารถในการแก้ไขปัญหาด้านเทคโนโลยีแบบเบื้องต้น
– ความสามารถในการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยี
– ความสามารถในการรวบรวมไอเดียด้านเทคโนโลยีกับเครือข่ายห้องสมุด

สำหรับบรรณารักษ์ที่ปฏิบัติงานในระดับต้นส่วนใหญ่จะเน้นความสามารถในด้านการปฏิบัติเป็นหลัก ซึ่งโดยภาพรวมแล้วจะมุ่งเน้นไปสู่เรื่องของเทคโนโลยีมากขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีเองก็มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วดังนั้นทักษะในเรื่องของการยอมรับความเปลี่ยนแปลงจึงสำคัญมาก อีกประเด็นคือการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อการทำงานตัวบรรณารักษ์เองก็จำเป็นต้องยึดหลักตามที่ผมเคยนำเสนอเรื่อง “รู้จัก – เข้าใจ – นำไปใช้” นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการดึงไอเดียหรือการหาไอเดียเพื่อการพัฒนางานบริการต่างๆ ซึ่งที่มาของไอเดียก็มาจากหลากหลายทาง ในที่นี่ขอเน้นเกี่ยวกับการทำงานกันเป็นเครือข่าย ความช่วยเหลือระหว่างวงการวิชาชีพก็มีความสำคัญมากเช่นกัน

2. ประเด็นความสามารถหรือทักษะในระดับสูง (สายการบริหาร) แบ่งออกเป็น 6 ข้อย่อย คือ
– ทักษะเรื่องการบริหารจัดการโครงการ
– ความสามารถในการตอบคำถามและการประเมินงานบริการห้องสมุด
– ความสามารถในการวิเคราะห์หาความต้องการของผู้ใช้บริการ
– วิสัยทัศน์ในการเปลี่ยนภาพลักษณ์ห้องสมุดแบบเดิมๆ ไปสู่การเป็นห้องสมุดที่ใช้สื่อออนไลน์
– ความสามารถในการหาจุดเปลี่ยนด้านเทคโนโลยีและเปรียบเทียบเทคโนโลยีด้านต่างๆ
– ความสามารถในการขายไอเดียห้องสมุด (นำเสนอห้องสมุด)

จะสังเกตได้ว่าทักษะและความสามารถของบรรณารักษ์ที่อยู่ในระดับสูง หรือสายงานบริหารจะต้องมีทักษะที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเช่นกัน แต่คงไม่ต้องลงมาปฏิบัติเหมือนขั้นต้นแล้ว จุดสำคัญอยู่ที่การประเมินการใช้งานด้านเทคโนโลยีในห้องสมุด การเปรียบเทียบระบบแบบต่างๆ รวมถึงงานวิเคราะห์หาความต้องการของผู้ใช้ พูดง่ายๆ ว่าจะมีทั้งงานบริหารและงานวิชาการเข้ามาเกี่ยวข้อง นอกจากนั้นยังต้องมีความสามารถในเรื่องการนำเสนอหรือขายไอเดียห้องสมุดให้สาธารณชนได้รู้จักและเห็นคุณค่าของห้องสมุดด้วย

เป็นไงบ้างครับ นี่ก็เป็นประเด็นทักษะและความสามารถที่น่าสนใจสำหรับบรรณารักษ์ยุคใหม่

บทสรุปที่ผมชอบของบทความนี้มีอีกอย่าง คือ

“Technologies will come and go. Change is inevitable. But if librarians can adapt to and embrace change, can easily learn technologies, can keep up with changes in the profession, can plan for new services and evaluate old services, can develop services that meet the needs of all stakeholders, can evaluate technologies, and can sell their ideas and market services they will be better able to meet the challenges of changing user populations and changing technologies.”

ต้นฉบับของเรื่องนี้ “Skills for the 21st Century Librarian” โดย Meredith Farkas

ปล. ถ้าอยากรู้รายละเอียดมากกว่าการอ่านบล็อกของผมก็ตามไปอ่านบทความนี้เต็มๆ ได้ที่ต้นฉบับด้านบนที่ผมเกริ่นนะครับ

โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ (หลักสี่) รับสมัครบรรณารักษ์ด่วนที่สุด

วันศุกร์แบบเบาๆ อย่างนี้ ขอประชาสัมพันธ์เรื่องข่าวงานบรรณารักษ์ดีกว่า วันนี้เปิดเมล์แล้วมีคนฝากมาลง Libraryhub ก็เลยจัดให้ (แบบว่าวันนี้ใจดี) เป็นตำแหน่งงานบรรณารักษ์ เห็นบอกว่า รับด่วนที่สุด ใครสนใจก็อ่านต่อด้านล่างเลยนะครับ

ปล. ขอ Copy จากเมล์มาลงแล้วกันครับวันนี้

คุณวุฒิและคุณสมบัติ
1.ปริญญาตรีด้านบรรณารักษศาสตร์, บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์, บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์, สารสนเทศศาสตร์ หรือ สารนิเทศศึกษา
2.มีประสบการณ์การทำงานในห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศ
3.สามารถสืบค้นฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ด้านการแพทย์ (E-Databases, E-Journals) ได้เป็นอย่างดี
4.สามารถใช้ภาษาอังกฤษทั้งการพูด อ่าน และเขียนได้เป็นอย่างดี
5.สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานได้เป็นอย่างดี
6.มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ กระตือรือร้น และรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย
7.มีมนุษยสัมพันธ์ดี สุขภาพจิตและกายดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หน้าที่และความรับผิดชอบโดยสังเขป
1.พัฒนาห้องสมุดของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ให้เป็นศูนย์ข้อมูลด้านโรคมะเร็งสำหรับคนไทย
2.บริหารจัดการห้องสมุดโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย มุ่งเน้นเป็น electronic / digital library
3.จัดหาหนังสือ วารสาร หรือสื่อต่างๆ เช่น CD-Rom, DVD ที่เกี่ยวกับโรคมะเร็งเข้าห้องสมุดตามความเหมาะสม
4.จัดหมวดหมู่หนังสือแบบ (NLM – National Library of Medicine) และแบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกา (LC – Library of Congress Classification)
5.บริการยืม – คืน แก่บุคลากรโรงพยาบาลจุฬาภรณ์
6.แนะนำและจัดอบรมการสืบค้นฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ด้านการแพทย์
7.บริการและตอบคำถามและช่วยค้นคว้าข้อมูลทางการแพทย์
8.จัดหาข้อมูลทางการแพทย์เพื่อเข้าประชุมทางวิชาการต่างๆ เช่น Tumor Board, Journal Club
9.จัดบริการวารสารประจำสัปดาห์ (Journal Weekly) ให้แก่บุคลากรผ่านทาง E – mail

คุณสมบัติในการคัดเลือก
หากมีประสบการณ์ในการทำงานในห้องสมุดทางการแพทย์หรือศูนย์สารสนเทศทางการแพทย์ จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ

วิธีการสมัคร
วิธีที่ 1 สมัครด้วยตนเอง : งานบริหารทรัพยากรบุคคล อาคารโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ชั้น 11
วิธีที่ 2 สมัครทางไปรษณีย์ : ส่งหลักฐานการสมัคร และจ่าหน้าซองตามที่อยู่ข้างล่างนี้ วงเล็บมุมซองว่าเอกสารสมัครงาน

ส่งที่ งานบริหารทรัพยากรบุคคล โรงพยาบาลจุฬาภรณ์
อาคารโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ชั้น 11 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงตลาดบางเขน
เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210

วิธีที่ 3 สมัครทาง E-Mail : ส่งหลักฐานการสมัคร และระบุหัวข้อ สมัครงาน ที่ E-Mail : hr_ccc@cccthai.org หรือ udomsups@hotmail.com

สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่ http://www.cccthai.org/th_/subweb/hr/
โทรสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 02-576-6663-5

ใครสนใจก็ดำเนินการสมัครตามรายละเอียดข้างบนเลยนะครับ
ขอให้เพื่อนๆ โชคดีครับ

เส้นทางสู่บรรณารักษ์และห้องสมุดยุคใหม่ ณ ห้องสมุดร้อยเอ็ด

เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ผมและหัวหน้าของผมได้มีโอกาสเดินทางไปจังหวัดร้อยเอ็ดเพื่อบรรยายให้บรรณารักษ์ที่ทำงานอยู่ในห้องสมุดจังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งในช่วงเช้าเป็นหัวข้อ “เส้นทางสู่บรรณารักษ์และห้องสมุดยุคใหม่” ซึ่งบรรยายโดยหัวหน้าของผม และตอนบ่ายเป็นหัวข้อ “สื่อสังคมออนไลน์กับการใช้งานในห้องสมุดประชาชน” โดยผมเอง

ซึ่งในขณะที่หัวหน้าของผมกำลังบรรยายในเรื่อง “เส้นทางสู่บรรณารักษ์และห้องสมุดยุคใหม่” ผมเองก็ได้ทำการถ่ายทอดสดการบรรยายในหัวข้อนี้ด้วย เผื่อที่ว่าเพื่อนๆ ที่ไม่มีโอกาสได้มาฟังก็สามารถอ่านการรายงานสดของผมได้

การรายงานสดของผมครั้งนี้ ผมใช้เครื่องมือสื่อสังคมออนไลน์ที่เรียกว่า Twitter
ซึ่งง่ายต่อการรายงานสดๆ มาก เพราะพิมพ์ข้อความละครั้งไม่เกิน 140 ตัวอักษรเท่านั้น
การดำเนินการรายงานสดของผมใช้ชื่อว่า “Live Tweet” และใช้คำหลักว่า “#Libraryatroiet

ลองอ่านดูแล้วกันนะครับว่า ผมรายงานเป็นอย่างไรบ้าง
[ผมจะเรียงจากข้อความแรกไปจนถึงข้อความสุดท้ายนะครับ]

Live Tweet : “เส้นทางสู่บรรณารักษ์และห้องสมุดยุคใหม่” #Libraryatroiet

– หัวข้อในช่วงเช้านี้ “เส้นทางสู่บรรณารักษ์ยุคใหม่ & เส้นทางสู่ห้องสมุดยุคใหม่” #LibraryatRoiet

– วิทยากรช่วงเช้านี้ หัวหน้าผมเอง คุณนพดล วีรกิตติ #LibraryatRoiet

– เมื่อกี้วิทยากรพูดถึงแนวทางในการพัฒนาห้องสมุดในต่างประเทศ โดยเฉพาะในอเมริกา #LibraryatRoiet

– การจัดชั้นวารสารที่น่าสนใจอยากให้ห้องสมุดดูร้านหนังสือเป็นตัวอย่าง #LibraryatRoiet

– ห้องสมุดหลายแห่งจัดนิตยสารโดยการเรียงตามตัวอักษร ดังนั้นผู้ใช้ที่ต้องการหานิตยสารที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกันลำบากในการเดินมากๆ #LibraryatRoiet

– ถ้าจัดชั้นนิตยสารตามหมวดหมู่ หรือ เรียงนิตยสารที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกันไว้ด้วยกัน ผู้ใช้สบาย บรรณารักษ์ก็ทำงานง่าย #LibraryatRoiet

– วิทยากรกำลังแนะนำเทคนิคเรื่องการนำ mindmap มาใช้ในการหาความคิดสร้างสรรค์ในห้องสมุด #LibraryatRoiet

– บรรณารักษ์มีเสื้อกันเปื้อยด้วย เท่ห์ป่ะหล่ะ #LibraryatRoiet

– Library2.0 แบบง่ายๆ ไม่ต้องใช้เทคโนโลยี คือ สมุดเซ้นเยี่ยมชมห้องสมุด และ สมุดแสดงความคิดเห็นในห้องสมุด #LibraryatRoiet

– สมุดเซ็นเยี่ยม หรือ สมุดแสดงความคิดเห็น ที่ดี คือ สมุดวาดเขียน (สมุดที่ไม่มีเส้นบรรทัด) จะดีมากๆ #LibraryatRoiet

– จะทำให้ห้องสมุดมีชีวิต บรรณารักษ์ต้องมีชีวิตชีวาก่อน ตื่นเช้าขึ้นมาแล้วรู้สึกอยากทำงาน #LibraryatRoiet

– อาชีพการจัดการความรู้เป็นอาชีพที่ต้องการมากในต่างประเทศ #LibraryatRoiet

– สังคมต้องช่วยให้คนมีความรู้ที่ดี เพื่อให้คนมีโอกาสในช่วง AEC ห้องสมุดคือหน่วยงานที่ต้องสร้างองค์ความรู้นั้น #LibraryatRoiet

– ในประเทศอเมริกา obama แต่งตั้งให้บรรณารักษ์ดูแลนโยบายการจัดการความรู้ของประเทศ ถ้าเมืองไทยหล่ะ ใครจะได้รับตำแหน่งนี้ #LibraryatRoiet

– ที่อุบลราชธานี ราชภัฎอุบลเองยังต้องมาดูงานที่ห้องสมุดประชาชน #LibraryatRoiet

– วิทยากรกำลังยกตัวอย่างห้องสมุดเทศบาลระยอง ที่เทศบาลกู้เงินจาก world bank เพื่อพัฒนาห้องสมุด #LibraryatRoiet

– Seattle ประชากรมีมากกว่า 168 เชื้อชาติ ห้องสมุดประชาชนจึงจัดคอร์สอบรมภาษาอังกฤษให้ฟรี #LibraryatRoiet

– ถ้าคนในพื้นที่มีความรู้มากขึ้น ก็มีโอกาสได้งานมากขึ้น ก็จะมีรายได้มากขึ้น ผลสุดท้ายท้องถิ่นก็เก็บภาษีได้มากขึ้น นี่แหละกลไล #LibraryatRoiet

– เหตุผลง่ายๆ ที่ท้องถิ่นต้องลงทุนพัฒนาห้องสมุดในท้องที่ของตัวเอง #LibraryatRoiet

– หนังสือดีๆ ควรมีในห้องสมุด #LibraryatRoiet

– ทำไมห้องสมุดถึงจะมีการ์ตูนไม่ได้หล่ะ การ์ตูนเป็นตัวเชื่อมระหว่างเกาหลีและญี่ปุ่น #LibraryatRoiet

– รักการอ่านต้องเริ่มจากความสนใจ ไม่ใช่ถูกบังคับ #LibraryatRoiet

– คนที่ทำงานด้านไอทีอยากได้องค์ความรู้ด้านไอทีมาก แต่หนังสือก็ราคาแพง ห้องสมุดทำไมถึงไม่จัดหาให้คนกลุ่มนี้บ้างหล่ะ #LibraryatRoiet

– การจะเลือกหนังสือเข้าห้องสมุด ต้องมีกรอบการเลือกที่ชัดเจน ไม่งั้นก็ได้หนังสือมาแบบไม่มีแก่นสาร #LibraryatRoiet

– การจะเลือกหนังสือเข้าห้องสมุดได้ เราต้องรู้จักพื้นที่ของเราก่อนว่าผู้ใช้บริการต้องการอะไร และเรามีอะไร #LibraryatRoiet

– ห้องสมุดวัสดุก็เป็นอีกตัวอย่างนึงที่ส่งเสริมการเรียนรู้ เพราะการเรียนรู้ไม่ได้มาจากแค่การอ่านเท่านั้น #LibraryatRoiet

– ตัวอย่างการเรียนรู้ด้วยองค์ความรู้ท้องถิ่น กรณี “ผ้าย้อมมะเกลือป้องกันแสงยูวี” เป็นเรื่องที่ห้องสมุดก็นำมาเล่าได้ #LibraryatRoiet

– ในท้องถิ่นจะมีองค์ความรู้ที่น่าสนใจอีกเพียบ หน้าที่นึงของห้องสมุด คือ การดึงองค์ความรู้เหล่านี้มาเล่าให้คนอื่นฟัง #LibraryatRoiet

– นึกอะไรไม่ออกให้เดินมาที่ห้องสมุด ห้องสมุดอยู่กับวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ได้ #LibraryatRoiet

– พักเบรค 15 นาทีครับ เดี๋ยวกลับมารายงานต่อครับ #LibraryatRoiet

– อธิบายในช่วงเบรคนิดนึง #LibraryatRoiet คือ การรายงาน live tweet การอบรมบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชนในจังหวัดร้อยเอ็ดซึ่งมีผู้เข้าร่วมอบรม 26 คน

– กลับมาจากเบรคแล้ว เริ่มด้วยของเด่นประจำจังหวัด #LibraryatRoiet

– ร้อยเอ็ดเด่นเรื่องข้าว (ข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุดอยู่ที่นี่) #LibraryatRoiet

– ช่วงนี้เน้นเรื่องการเอาองค์ความรู้ท้องถิ่นมานำเสนอในห้องสมุด ตัวอย่างกรณีศึกษาคือ “ตลาดนัดฮักสุขภาพ” ที่ห้องสมุดอุบลราชธานี #LibraryatRoiet

– คนรุ่นใหม่เรียนจบมาทำฟาร์ม ทำสวนกันเยอะเหมือนกันนะ “คนที่ต้องการใช้ความรู้เพื่อทำการเกษตร” ห้องสมุดจะทำอย่างไร #LibraryatRoiet

– การสังเกตความสนใจของผู้ใช้บริการแบบง่ายๆ คือ หยิบหนังสือมาดูด้านหลังตรงที่ประทับตรากำหนดส่ง ว่ามีเยอะแค่ไหน #LibraryatRoiet

– “คุณภาพชีวิต” เป็นประเด็นที่มีคนให้ความสนใจมาก #LibraryatRoiet

– การ survey แบบง่ายๆ และไม่ต้องใช้ค่าใช้จ่ายเลย คือ การพูดคุยกับผู้ใช้บริการมากๆ #LibraryatRoiet

– การหาความรู้ของคนในต่างจังหวัดมักจะมาจากการพูดคุย ถามกันเอง ไม่ใช่การมาอ่านหนังสือในห้องสมุด ดังนั้นห้องสมุดควรจะจัดเวทีให้ #LibraryatRoiet

– คนขายของไม่ได้ เพราะต้นทุนสูง ของจีนก็เยอะ แต่ถ้าเราหาโอกาสทางธุรกิจเจอก็ไม่ยากนะ ห้องสมุดต้องช่วยหาประเด็นเหล่านั้น #LibraryatRoiet

– ห้องสมุดไปศึกษาข้อมูลงานวิจัยผู้สูงอายุพบว่า “Lifestyle ของผู้สูงอายุในยุคนี้ต่างจากยุคก่อนหน้านี้” #LibraryatRoiet

– ผู้สูงอายุถามว่า “เวลาไปซื้อของตามศูนย์การค้าทำไมต้องให้พวกเขาเดินหลายๆ ชั้น ทีของเด็กยังมีเป็นมุมช้อปปิ้งของเด็กเลย” #LibraryatRoiet

– การจัดนิทรรศการของห้องสมุดแบบเดิมๆ คือ การจัดบอร์ด ไม่ว่าจะงานไหนก็เป็นการติดบอร์ด ไม่คิดว่าผู้ใช้บริการเบื่อบ้างหรอ #LibraryatRoiet

– คนพูดเรื่อง AEC กันเยอะ แต่ก่อนที่ห้องสมุดจะไปถึงขั้นนั้นได้ ห้องสมุดต้องให้ความสำคัญกับสารสนเทศท้องถิ่นก่อน #LibraryatRoiet

– คนอุบลราชธานีบางคนยังไม่รู้เลยว่าทำไมต้องมีคำว่า “ราชธานี” สารสนเทศท้องถิ่นสำคัญมากนะ #LibraryatRoiet

– Creative Economy = ความรู้ท้องถิ่นต่อยอดกับสินค้าและบริการ ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องที่สำคัญมาก #LibraryatRoiet

– อาจารย์ปัญญาเล่าเรื่องเมืองอุบลราชธานีได้สนุกมาก เราก็เชิญเขามาเล่าในห้องสมุดให้ผู้ใช้บริการฟังสิ #LibraryatRoiet

– จังหวัดมอบภาระในการเล่าเรื่องจังหวัดให้ห้องสมุดเป็นคนทำ #LibraryatRoiet

– การตั้งชื่อของกิจกรรมก็มีส่วนในการเรียกคนเข้าห้องสมุดเช่นกัน #LibraryatRoiet

– ขนาดภาพยนตร์ต่างๆ ยังมีการตั้งชื่อให้น่าสนใจเลย ดังนั้นห้องสมุดก็ควรตั้งชื่อกิจกรรมต่างๆ ให้โดนใจบ้าง #LibraryatRoiet

– ตัวอย่างชื่อกิจกรรมแบบโดนๆ “จัดร้านให้ได้ล้าน, นิทรรศการเฮ็ดจังสิเด้อจังสิมีโอกาส” ภาษาถิ่นก็เป็นอีกไอเดียนึง #LibraryatRoiet

– มีโอกาสและช่องทางมากมายในการพัฒนาห้องสมุด #LibraryatRoiet

– บรรณารักษ์ในอเมริกาใช้วิธีการสมัครเข้าร่วมกลุ่มชุมชนต่างๆ ในเมือง เช่น กลุ่มไพธอน เพื่อให้กลุ่มต่างๆ มาใช้พื้นที่ในห้องสมุด #LibraryatRoiet

– ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีเป็นสถานที่ที่มีคนมาขอใช้ถ่ายทำรายการมากมาย นี่คืออีกวิธีหนึ่งในการโปรโมทห้องสมุด #LibraryatRoiet

– เรื่องที่คิดไม่ถึง “มีครูมาขอเช่าพื้นที่ในห้องสมุดสอนหนังสือเด็กฟรี” สอนฟรีแถมให้เงินห้องสมุด มีแบบนี้ด้วย ห้องสมุดอุบลฯ #LibraryatRoiet

– วิทยากรกำลังเปิด stop motion เพื่อการแนะนำหนังสือในห้องสมุด ทำง่าย ใช้ได้จริง #LibraryatRoiet

– วิทยากรกำลังเล่าต่อถึงเรื่องการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานอื่นๆ กับห้องสมุด ห้องสมุดไม่ต้องทำงานคนเดียวแล้วนะ #LibraryatRoiet

– หลายๆ คนบอกว่าห้องสมุดจะพัฒนาได้ต้องขึ้นอยู่กับผู้บริหาร ซึ่งก็จริงส่วนนึง แต่ส่วนนึงผู้ปฏิบัติต้องพิสูจน์ให้ผู้บริหารเห็น #LibraryatRoiet

– วิทยากรกำลังเกริ่นถึงเรื่องสื่อสังคมออนไลน์กับงานห้องสมุดซึ่ง ช่วงบ่ายผมจะเป็นคนบรรยายเอง #LibraryatRoiet

– ช่วงบ่ายอาจจะไม่มีการรายงานสดๆ แบบนี้ แต่ผมสัญญาว่าจะเอาเรื่องที่ผมบรรยายมาโพสในบล็อกให้อ่านนะครับ #LibraryatRoiet

– แนะนำหลักสูตรการอบรม 10 ด้าน เพื่อการพัฒนาบรรณารักษ์ “ห้องสมุดมีชีวิตเมื่อคนทำงานมีชีวิตชีวา” #LibraryatRoiet

– การอบรม คือ การติดอาวุธทางปัญญาให้คนทำงาน ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความสุข #LibraryatRoiet

– ถ้าเรากลัวความผิดพลาด เราก็จะไม่มีแรงในการคิดสร้างสรรค์ #LibraryatRoiet

– การเรียนเรื่อง “การค้นหา” มันมีวิธีมากมาย #LibraryatRoiet

– วิธีการเขียนบล็อกที่ง่ายที่สุด คือ อย่าไปคิดว่าจะเขียนเพื่อเอารางวัลซีไรต์ #LibraryatRoiet

– Unconference ในวงการห้องสมุดก็น่าสนใจนะ #LibraryatRoiet

– ตัวอย่างงาน unconference “พรุ่งนี้บ่ายโมงไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนในโลกไปถ่ายรูปกัน” #photowalk #LibraryatRoiet

– ห้องสมุดสมัยใหม่ ต้องเปลี่ยนปัญหาของผู้ใช้บริการ มาเป็น ปัญหาของเรา เช่น ผู้ใช้ไม่ได้เอาบัตรมา เราก็ต้องให้ยืมได้ #LibraryatRoiet

– ผู้บริหารเตือนพนักงาน “คุณจะทะเลาะกับลูกค้าเพราะเงิน 50 บาทอย่างนั้นหรือ” เพราะหลังจากนั้นลูกค้าจะไม่กลับมาหาเราอีก #LibraryatRoiet #Like

– ความสุขของพวกเราคือ การเห็นผู้ใช้บริการมีความสุขกับการใช้ห้องสมุดที่พวกเราทำ #LibraryatRoiet

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นการสรุปประเด็นและเก็บตกไอเดียจากการบรรยายเรื่อง “เส้นทางสู่บรรณารักษ์และห้องสมุดยุคใหม่” โดยคุณนพดล วีรกิตติ นะครับ ส่วนบทสรุปในช่วงบ่าย เนื่องจากผมเป็นคนบรรยายเอง จึงไม่มีการทำ Live Tweet นะครับ แต่เดี๋ยวผมจะสรุปลงบล็อกให้อ่านในตอนหน้าแล้วกัน

ห้องสมุดมารวย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รับสมัครบรรณารักษ์

วันนี้นายห้องสมุดขอลงข่าวรับสมัครบรรณารักษ์สักหน่อยนะครับ ตำแหน่งงานนี้จริงๆ ผมก็อยากสมัครอยู่เหมือนกัน แต่ช่วงนี้ผมกำลังรอการตอบรับตำแหน่งงานของผมอยู่จึงต้องขอสละสิทธิ์จากตำแหน่งที่ลงในวันนี้ งานบรรณารักษ์ที่ผมลงในวันนี้ เป็นงานบรรณารักษ์ของห้องสมุดมารวย นั่นเอง

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงาน
ชื่อตำแหน่งงาน : บรรณารักษ์ (Librarian)
สถานที่ : ห้องสมุดมารวย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
จำนวน : 1 อัตรา

แค่คำว่า “ห้องสมุดมารวย” บางคนอาจจะงงๆ แต่ถ้าบอกว่าเป็นห้องสมุดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทุกคนก็คงร้องอ๋อนะครับ ห้องสมุดแห่งนี้ผมการันตีได้เลยว่าถ้าใครได้ทำงานที่นี่ได้ละก็เยี่ยมสุดๆ ไปเลย [โอกาสที่จะเปิดรับสมัครน้อยมาก]

หน้าที่หลักของงานในตำแหน่งนี้
– จัดเตรียมข้อมูล – นำเสนอข้อมูล – บริการข้อมูลให้กับผู้ใช้บริการ
– จัดการฐานข้อมูลสื่อสารสนเทศในห้องสมุด
– ค้นหาข้อมูลใหม่ๆ ให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้
– งานบริหารจัดการ วางแผน และควบคุมงบประมาณต่างๆ ในงานห้องสมุด
– จัดทำรายงานและสถิติที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุด

แค่หน้าที่ก็พอจะบอกได้ว่างานที่ต้องทำครอบคลุมหลายส่วน เช่น งานบริการ งานบริหาร งานฐานข้อมูล เอาเป็นว่าก็ต้องมีความสามารถเยอะหน่อยนะ

ทีนี้มาดูคุณสมบัติเบื้องต้นกันก่อน
– วุฒิปริญญาตรีขึ้นไปสาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
– มีประสบการณ์ในด้านการจัดการระบบห้องสมุดอัตโนมัติหรือฐานข้อมูลห้องสมุด
– ทักษะด้านการสื่อสารดี ทำงานเป็นทีมได้ มองโลกในแง่ดี
– สื่อสารด้วยภาษาอังกฤษในระดับดี

คุณสมบัติที่กล่าวมาไม่ยากเกินไปใช่มั้ยหล่ะครับ ที่สำคัญถ้ามีประสบการณ์ในการเป็นบรรณารักษ์ และใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ ได้ดี จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ

ผู้สนใจสามารถส่งประวัติส่วนตัวได้ที่ HumanResourceDepartment@set.or.th

ยังไงก็ขอให้ทุกท่านโชคดีนะครับ
[เสียดายแทนตัวเองมากๆ เพราะกำลังรอประกาศผลจากที่ทำงานใหม่อยู่ อิอิ]

สัมมนาวิชาการ “บทบาทของบรรณารักษ์กับการวิจัย”

วันนี้มีกิจกรรมดีๆ ในวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มาแนะนำอีกแล้วนะครับ วันนี้มาแบบวิชาการนิดนึง คือ งานสัมมนาวิชาการที่จัดโดยนักศึกษาบรรณารักษ์ระดับบัณฑิตศึกษา ม.รามคำแหง เอาเป็นว่าไปอ่านรายละเอียดกันเลยครับ

รายละเอียดการสัมมนาวิชาการเบื้องต้น
ชื่องานภาษาไทย : บทบาทของบรรณารักษ์กับการวิจัย
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุมพวงแสด ชั้น 2 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
วันและเวลาที่จัด : วันอังคารที่ 24 เมษายน 2555 เวลา 8.00-16.30 น.
ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วม : ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ

เท่าที่อ่านรายละเอียดของโครงการฯ คาดว่าเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา
ดังนั้นจากหัวข้องานสัมมนาและหน่วยงานที่จัดงานย่อมเต็มไปด้วยวิชาการล้วนๆ แน่นอนครับ

กำหนดการแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ
ช่วงเช้าจะเป็นหัวข้อ : บทบาทของบรรณารักษ์กับการวิจัย
ช่วงบ่ายจะเป็นการนำเสนอวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา


วิทยากรที่มาบรรยาในช่วงเช้า คือ รองศาสตราจารย์ ดร.สมพร พุทธาพิทักษ์ผล และรองศาสตราจารย์ ดร. พิมลพรรณ ประเสริฐวงษ์ เรพเพอร์

เอาเป็นว่าถ้าใครสนใจในแวดวงงานวิจัย หรือสนใจที่จะเรียนต่อในระดับบัณฑิตศึกษา ก็ควรเข้าฟังนะครับ เพราะคงได้หลักการ และสาระความรู้ที่เกี่ยวกับการนำไปใช้ได้ดีทีเดียว

รีบหน่อยนะครับ เพราะว่าต้องสมัครก่อนวันที่ 20 เมษายน 2555 นะครับ
(ในแบบฟอร์มที่ส่งบอกว่าให้ส่งก่อนวันอบรม 3 วันทำการ)

สุดท้ายนี้ใครที่สนใจงานสัมมนาวิชาการครั้งนี้ กรุณาอ่านรายละเอียดที่ http://www.webblog.rmutt.ac.th/yaowaluk/2012/04/07/%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9F%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87/

หรือจะติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่คุณเสาวณีย์ ไตรวิทยาศิลป์
โทร. 081-453-3394 ,  Mail: lisru-ram@hotmail.com

เอาเป็นว่าหัวข้อก็น่าสนใจ วิทยากรก็น่าสนใจ ไปกันเยอะๆ นะครับ

เก็บตกบรรยากาศในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ 2555

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (วันที่ 6 เมษายน) ผมได้มีโอกาสไปเดินงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติมา เดินชมนิทรรศการ เดินชมหนังสือลดราคา และแนวโน้มที่เกี่ยวกับหนังสือ วันนี้ผมจึงขอสรุปและลงภาพบรรยากาศในงานสัปดาห์หนังสือให้เพื่อนๆ ได้อ่านและชมกันครับ

เอาเป็นว่าภาพรวมที่เห็น คือ คนยังคงเยอะเช่นเดิม และร้านหนังสือมาออกบูธมากขึ้นด้วย (หรือปล่าว)
เพราะมีการเปิดโซนขายหนังสือด้านหน้าของศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ด้วย (บริเวณที่ขึ้นมาจากรถไฟฟ้า)

เป้าหมายหลักๆ ของงานนี้ของผมอย่างแรก คือ บูธนิทรรศการกรุงเทพเมืองหนังสือโลก (World Book Capital)
เอาเป็นว่าช่วงที่ผมอยู่บูธก็มีการสัมภาษณ์คุณทราย เจริญปุระกันอยู่

เนื้อหาที่อยู่ในบูธก็น่าสนใจดี คือ เรื่องที่เกี่ยวกับการอ่านในแบบต่างๆ
นอกเหนือจากห้องสมุดแล้ว การอ่านเกิดขึ้นได้ทุกที่จริงๆ เช่น ป้ายรถเมล์ สวนสาธารณะ บนรถเมล์ ห้องน้ำ ……

ข้อมูลที่น่าสนใจอีกหนึ่งเรื่อง คือ roadmap การพัฒนาให้กรุงเทพเป็นเมืองหนังสือโลก

เมื่อออกจากบูธนี้แล้วด้านข้างๆ ของบูธนี้ คือ บูธนิทรรศการหนังสือดีเด่น ประจำปี 2555
เป็นอีกหนึ่งนิทรรศการที่น่าสนใจมากๆ เลยทีเดียว

อีกนิทรรศการที่น่าสนใจ คือ “นิทรรศการห้องสมุดหนังสือใหม่”
เป็นนิทรรศการที่รวบรวม แนะนำ และแยกหนังสือใหม่ออกเป็นหมวดๆ เพื่อง่ายต่อการหา
ที่ประทับใจในบูธนี้ คือ คนให้ความสนใจเยอะมาก “หยิบหนังสือมานั่งอ่านได้ตามอัธยาศัย” จริงๆ

นิทรรศการที่ตามกระแสอีกเรื่อง คือ “นิทรรศการหนังสืออัญมณีแห่งอาเซียน”
รวบรวมหนังสือซีไรท์ของประเทศต่างๆ ในกลุ่มอาเซียน
แถมให้ความรู้เกี่ยวกับประเทศในกลุ่มอาเซียนต่างๆ ไว้ด้วย

ตรงข้ามกันเป็น “นิทรรศการหนังสือพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี”

หลังจากชมนิทรรศการในส่วนต่างๆ แล้ว ผมก็ได้เดินชมภาพรวมของงานหนังสือ
ทุกบูธคึกคักมาก อาจเพราะเป็นวันหยุดคนเลยเยอมากกว่าเดิมอีก

ส่วนไอเดียและหัวข้อที่น่าสนใจอีกเรื่องคือ “Ebook”
ต้องบอกว่าถ้าใครได้สังเกตจะพบว่ามีการโปรโมทเรื่อง Ebook มากขึ้น

มีบูธนึงที่นำเสนอเรื่องนี้ “Ebook Showcase @ Thailand”
ในบูธนี้จะมีการแนะนำ app ที่ใช้ในการอ่านและโหลด Ebook ซึ่งมีอยู่หลาย App เลยทีเดียว
ซึ่งที่เห็นเดี๋ยวนี้ร้านหนังสือใหญ่ๆ ก็เปิดตัว App กันเองเพียบเลย เช่น Se-ed, naiin, asia book

ที่เห็นๆ อีกอย่าง คือ การจำหน่ายเครื่อง Kindle ในงาน
แถมราคาก็ไม่แพงมากด้วย เห็นแล้วอยากได้สักเครื่อง แต่ไม่เอาดีกว่า อิอิ

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นภาพและบทสรุปที่ผมได้จากการเดินในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาตินะครับ
เพื่อนๆ ที่ไปงานนี้เอาเรื่องมาแชร์กันบ้างนะครับ ใครได้หนังสืออ่านบ้างก็เข้ามาเล่าได้

ก่อนจากกันของรวมภาพบรรยากาศทั้งหมดไว้ให้ชมนะครับ
ภาพบรรยากาศทั้งหมดในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ

[nggallery id=55]

ศูนย์สร้างสุข บ้านหลังใหม่ของ สสส. รับบรรณารักษ์ 1 อัตรา

ข่าวฝากประชาสัมพันธ์ เรื่อง การรับสมัครบรรณารักษ์ประจำศูนย์ข้อมูลข่าวสาร (Resource Center) จำนวน 1 อัตรา ของศูนย์สร้างสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)

ศูนย์สร้างสุข = บ้านหลังใหม่ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ตั้งอยู่ที่ซอยงามดูพลี เขตสาทร

คุณสมบัติทั่วไป
1. จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปในสาขาวิชาเอกบรรณารักษ์ศาสตร์หรือสารสนเทศศาสตร์หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
2. มีประสบการณ์การทำงานในตำแหน่งบรรณารักษ์ไม่ต่ำกว่า 1 ปี
3. มีความสามารถในการลงรายการบรรณานุกรม และวิเคราะห์หมวดหมู่ (cataloging)
4. มีสามารถใช้โปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติได้ (หากมีประสบการณ์ในการใช้โปรแกรม KOHA จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ)
5. สามารถปฏิบัติงานเป็นกะ และทำงานในวันเสาร์-อาทิตย์ได้ (ปฏิบัติงานวันละั 8 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 5-6 วัน)
6. มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษได้ดี
7. มีความละเอียด รอบคอบ และมีใจรักงานบริการ

ข้อกำหนดอื่นๆ
เริ่มปฏิบัติงานในวันที่ 15 พฤษภาคม 2555
สถานที่ปฏิบัติงาน ศูนย์สร้างสุข ซอยงามดูพลี ถนนพระราม 4 เขตสาทร กรุงเทพฯ
สัญญาการทำงาน 1 ปี ต่อสัญญาพร้อมพิจารณาขึ้นเงินเดือนทุกปี

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ jomkwan@thaihealth.or.th

หากสนใจในตำแหน่งนี้ กรุณาส่งประวัติของคุณมาได้ที่
พี่จ้อม e-mail : jomkwan@thaihealth.or.th

ขอให้โชคดีนะครับทุกท่าน