บรรณารักษ์
งานบรรณารักษ์ หลายที่ หลายตำแหน่ง มาเสิร์ฟแล้ว
ช่วงนี้เป็นช่วงที่ว่าที่บรรณารักษ์มือใหม่กำลังจะเรียนจบ ดังนั้นหลายๆ ห้องสมุดจึงประกาศรับสมัครงานบรรณารักษ์และงานห้องสมุดออกมามากมาย เอาเป็นว่าวันนี้ผมขอรวบรวมแล้วนำมาเขียนไว้ เพื่อให้เพื่อนๆ เลือกงานที่อยากจะทำกันดูนะครับ
ปล. รายละเอียดเกี่ยวกับงานเพื่อนๆ ต้องติดต่อไปถามที่ต้นสังกัดเองนะครับ
งานมีเยอะมาก ผมขอแยกเป็นประเด็นๆ จากแหล่งที่ผมค้นมาก็แล้วกัน
1. ข่าวฝากประชาสัมพันธ์งานบรรณารักษ์ในกลุ่ม Librarian in Thailand
– สำนักวิทยบริการฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม รับบรรณารักษ์
http://www.npru.ac.th/webdev/u_news/news_files.php?news_id=5516&&type_name
– ห้องสมุดวิทยาการสุขภาพ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รับบรรณารักษ์ชั่วคราว ติดต่อสมัครได้ที่ E-mail : jkhanitt@wu.ac.th ทางโทรศัพท์ 075- 673373
– เปิดรับสมัครตำแหน่ง บรรณารักษ์เพื่อปฏิบัติงานในศูนย์การเรียนรูู้ด้วยตนเอง สถาบันภาษา จุฬาฯ ใครสนใจสามารถดูรายละเอียดได้ที่ http://www.culi.chula.ac.th/personnel/Flie%20Data/A1.pdf
– สำนักงานปลัดกระทรวงการต่างประเทศ สำนักบริหารบุคคล
เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งบรรณารักษ์ปฏิบัติการ http://www.mfa.go.th/internet/news/42346.pdf
– มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยรับสมัครสอบคัดเลือกพนักงานตำแหน่งบรรณารักษ์ สังกัดสำนักหอสมุดกลาง http://department.utcc.ac.th/hr/recruitment/staff/456-recruit-of-staff-of-librelian-in-librely.html
2. ข่าวที่คนอื่นฝากมาผ่าน Social Media อื่นๆ เช่น Twitter
– รับสมัครบรรณารักษ์ประจำศูนย์ข้อมูล บริษัท อินโฟเควสท์ จำกัด สนใจรายละเอียด โทรสอบถาม คุณกมลวรรณ 081-9392425 via @Blossom_0210
– ห้องสมุดสำนักพิมพ์วัฒนาพานิช รับบรรณารักษ์ 1 ตำแหน่ง ถ้าสนใจโทรได้ที่เบอร์ 085-2555304
3. ข่าวงานบรรณารักษ์จากเว็บชุมชนคนหางานบรรณารักษ์
– วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา รับสมัครบรรณารักษ์ http://libjobs.ob.tc/-View.php?N=55
– หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ รับ นักจดหมายเหตุ บรรณารักษ์ หลายตำแหน่ง http://libjobs.ob.tc/-View.php?N=46
– วิทยาลัยการจัดการ กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยพะเยา รับสมัครบรรณารักษ์ 2 อัตรา http://libjobs.ob.tc/-View.php?N=43
– สำนักหอสมุด วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก รับสมัครบรรณารักษ์ (ประจำวิทยาเขตบางพลี) 1 อัตรา http://libjobs.ob.tc/-View.php?N=42
4. ข่าวงานบรรณารักษ์จากที่ผมค้นหาในเว็บหางานอื่นๆ
– สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น รับหัวหน้างานห้องสมุด 1 อัตรา http://tinyurl.com/7o72yjm
– นิทรรศน์รัตนโกสินทร์รับเจ้าหน้าที่บรรณารักษ์ 1 อัตรา http://tinyurl.com/76oq5om
– บริษัท A I System จำกัด รับ Koha library Expert Consultant 1 อัตรา http://tinyurl.com/8xw6uqc
เอาเป็นว่างานบรรณารักษ์ยังมีอีกเยอะ แต่หวังว่าเพื่อนๆ จะเห็นวิธีการรวบรวมตำแหน่งงานบรรณารักษ์ของผมแล้วใช่มั้ยครับ
จริงๆ ประเด็นที่จะเขียนบล็อกวันนี้ไม่ได้อยากจะเอางานมาป้อนให้ถึงปากหรอกนะครับ แต่อยากให้เห็นวิธีคร่าวๆ และตัวอย่างที่ผมดึงข้อมูลมาก็เท่านั้น (ผมไม่ถนัดให้ปลาเป็นตัวๆ หรอก แต่อยากสอนให้จับปลาเป็นมากกว่า)
อ๋อ ส่วนตำแหน่งงานที่เหลือผมจะเข้ามาอัพเดทเรื่อยๆ แล้วกันนะครับ
หรือห้องสมุดไหนที่ต้องการฝากข่าวรับสมัครบรรณารักษ์ก็ส่งมาได้ที่ dcy_4430323@hotmail.com นะครับ
อ่านอะไรดี : ภาษาอังกฤษสำหรับบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน
ช่วงนี้มีคนพูดเรื่องห้องสมุดกับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เยอะมาก และคำถามนึงที่เพื่อนๆ ถามมาเยอะ คือ “บรรณารักษ์ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง” ผมก็แนะนำไปหลายๆ อย่างแต่สิ่งหนึ่งที่ผมต้องย้ำ คือ ภาษาอังกฤษ และวันนี้ผมขอแนะนำหนังสือที่เกี่ยวกับ “ภาษาอังกฤษสำหรับบรรณารักษ์”
ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่องภาษาไทย : ภาษาอังกฤษสำหรับบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน
ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ : English for Public Librarians
จัดพิมพ์โดย : โครงการวิจัยการพัฒนาชุดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ปีพิมพ์ : 2552
จำนวนหน้า : 406 หน้า
ISBN : 9786115050086
โจทย์การพัฒนาบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชนให้มีความสามารถด้านภาษาอังกฤษเป็นโจทย์ที่ท้าทายผมมาก
ดังนั้นผมจึงต้องค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือสอนภาษาอังกฤษ การฝึกอบรมด้านภาษา ฯลฯ
ซึ่งการค้นพบหนังสือเล่มนี้ทำให้ผมรู้สึกตื่นเต้นมากๆ ครับ จึงต้องเอามาเขียนลงบล็อกให้ได้
หนังสือเล่มนี้อย่างที่ข้อมูลเบื้องต้นบอกว่าเป็นของ มสธ. นั่นแหละครับ
ผมจึงตามไปที่ มสธ. และถามหาหนังสือเล่มนี้ ซึ่งรู้มาว่า มีหนังสือเล่มนี้อยู่จริง แต่ไม่มีจำหน่าย
ดังนั้นผมจึงต้องเสาะหามาให้ได้เพื่อนำมาศึกษา ซึ่งต้องขอขอบคุณอาจารย์น้ำทิพย์มากๆ ที่กรุณาให้ผมนำมาศึกษา
ภายในหนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
หน่วยที่ 1 Welcoming Visitors
หน่วยที่ 2 Reading for Professional Development
หน่วยที่ 3 Writing for Professional Development
ในแต่ละส่วนเน้นทักษะที่ไม่เหมือนกัน เช่น
หน่วยที่ 1 ที่เกี่ยวกับการต้อนรับผู้ใช้บริการ จะเป็นบทที่เน้นการสนทนา (พูด) เป็นหลัก ซึ่งในบทนี้ที่ผมชอบมากๆ คือ มีสคริปส์ให้อ่านด้วย ประมาณว่าถ้ามีผู้ใช้บริการเข้ามาที่ห้องสมุด สามารถอ่านบทสคริปส์ตามนี้ได้เลยทีเดียว ในหน่วยนี้จะแบ่งออกเป็นหัวข้อย่อยๆ อีก เช่น
1.1 การกล่าวต้อนรับผู้ใช้บริการ
1.2 การนำชมห้องสมุดในส่วนต่างๆ
1.3 คำถามจำพวก FAQ และการกล่าวขอบคุณและอำลาผู้เยี่ยมชม
หน่วยที่ 2 เน้นทักษะการอ่านเป็นหลัก ซึ่งบรรณารักษ์สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้หลายรูปแบบ เช่น การอ่านเพื่อเพิ่มความรู้ หรือการอ่านข้อมูลที่เกี่ยวกับห้องสมุด ในหน่วยนี้จะแบ่งออกเป็นหัวข้อย่อยๆ อีก เช่น
2.1 การอ่านข้อมูลสารสนเทศ เช่น ข่าว เว็บไซต์ห้องสมุด
2.2 การอ่านที่เกี่ยวกับงานห้องสมุด เช่น catalog
2.3 การอ่านที่เกี่ยวกับการพัฒนาอาชีพ
หน่วยที่ 3 เน้นทักษะการเขียนเป็นหลัก ซึ่งการเขียนเป็นเรื่องหนึ่งที่เราจะใช้สื่อสารกับผู้ใช้บริการหรือการติดต่อสื่อสารกับเครือข่ายห้องสมุดอื่นๆ ในต่างประเทศด้วย ในหน่วยนี้จะแบ่งออกเป็นหัวข้อย่อยๆ อีก เช่น
3.1 การติดต่อสื่อสารอย่างเป็นทางการ เช่น จดหมาย เอกสารต่างๆ
3.2 การติดต่อผ่าน E-mail
3.3 การเขียนแบบฟอร์มต่างๆ
เอาเป็นว่าน่าสนใจมากๆ เลยใช่มั้ยครับ เอาเป็นว่าก็ลองหามาอ่านกันบ้างแล้วกัน
หนังสือเล่มนี้หายากมากครับ เพราะทำออกมาจำกัด แต่ในช่วงนั้นได้ยินว่ามีหลายห้องสมุดได้รับและเข้าอบรมเรื่องนี้กันไปแล้ว คำแนะนำของผมง่ายๆ คือ หยิบออกมาทบทวนกันบ้างนะครับ ส่วนใครที่ยังไม่มีหนังสือเล่มนี้ ขอให้รอสักครู่ ผมจะนำมาเล่าให้อ่านในบล็อกเรื่อยๆ แล้วกันครับ
ปล. หนังสือเล่มนี้ต้องขอขอบคุณ อาจารย์น้ำทิพย์ วิภาวิน ที่กรุณาให้ผมยืมอ่านและนำมาถ่ายเอกสารครับ
วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ต้องการบรรณารักษ์ ด่วน!!!
งานบรรณารักษ์มาอีกแล้วครับ คราวนี้เป็นตำแหน่งงานบรรณารักษ์ที่ต้องการด่วนมากๆ ซึ่งหน่วยงานที่ต้องการรับ คือ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ใครสนใจก็อ่านดูนะ
รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงาน
ชื่อตำแหน่งงาน : บรรณารักษ์
สถานที่ : วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล
จำนวน : 1 อัตรา
งานนี้ต้องการด่วนมากจริงๆ นะ ส่วเรื่องของเนื้องานว่าต้องไปทำอะไรบ้าง ก็ลองอ่านจากด้านล่างนี้เลยแล้วกันครับ
รายละเอียดของงานในตำแหน่งนี้
– จัดทำสื่อการเรียนรู้ทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ โดยใช้โปรแกรมด้าน IT
– กำหนดเลขหมู่และแยกประเภทหัวเรื่องได้ตามระบบ Library of Congress (LC)
– ให้บริการสืบค้นข้อมูลทั้งในรูปสิ่งพิมพ์ และออนไลน์
– ช่วยค้นหาแหล่งข้อมูลเพื่องานวิจัยของอาจารย์ และนักศึกษา
– ให้ความรู้และอบรมการสืบค้นงานวิจัยจากฐานข้อมูลประเภทต่างๆ
สำหรับคนที่สนใจก็ลองมาเช็คดูคุณสมบัติกันก่อนแล้วกันนะ
– เพศชาย (ตัด choice ไปได้เยอะพอควรเลยนะ)
– วุฒิปริญญาตรี สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ หรือที่เกี่ยวข้อง
– มีความรู้เกี่ยวกับการลงรายการตามหลัก AACR2 และการวิเคราะห์หมวดหมู่ตาม LC นะ การให้หัวเรื่องก็ยึดหลักตาม LCSH เลยจ้า
– มีทักษะการสืบค้นข้อมูลงานวิจัย
– ความสามารถในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เหล่านี้ :- MS Office, Web Design, Photoshop Dreamweaver, Flash
เห็นคุณสมบัติแล้วอาจจะทำให้หลายๆ คนปาดเหงื่อกันได้เลยทีเดียว
แต่ถ้าผ่านทั้งหมดตามที่ว่ามาแล้วก็ถือว่ามีโอกาสดีที่จะได้ทำงานที่นี่เลยนะครับ
อ๋อ ถ้าสามารถเริ่มงานได้ทันทีจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษด้วยนะครับ
เอาเป็นว่าถ้าใครสนใจและผ่านคุณสมบัติทั้งหมด
ก็ขอให้ส่งประวัติการศึกษา ทรานสคริปส์ และรูปถ่ายมาที่
E-mail: cmthanyaporn@mahidol.ac.th
โทร: 02-206-2000 ต่อ 2361/2365-6
ขอให้เพื่อนๆ ทุกคนโชคดีครับ
บรรณารักษ์จำเป็นต้องรู้จักหนังสือในห้องสมุดตนเองหรือไม่
“คนขายจำเป็นต้องรู้จักสินค้าของตนเอง”
“คนขายต้องเข้าใจสินค้าของตนเอง”
“คนขายต้องรู้ว่าสินค้าของตนเองเป็นอย่างไร”
ประโยคข้างต้นเป็นประโยคที่ผมคิดขึ้นมาหลังจากที่ผมไปซื้อของมาชิ้นนึง
เหตุการณ์มันเริ่มจากการที่ผมเดินเข้าไปในร้านขายของที่หนึ่งที่ขายของเฉพาะทาง
ผมตัดสินใจที่จะซื้อของชิ้นหนึ่ง จึงอยากให้คนขายแนะนำสิ่งของที่ผมต้องการซื้อ
ปรากฎว่าเขาแนะนำอะไรไม่ได้เลย จนต้องส่งคำถามเหล่านี้ไปให้คนขายอีกคนจึงอธิบายได้
ผมรู้สึกหงุดหงิดมากที่เกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้
จนผมต้องอุทานว่า “ไม่รู้จักสินค้าของตนเองแล้วจะมาขายทำไม”
ประโยคที่ผมอุทานขึ้นมานี้ เป็นที่มาของเรื่องที่ผมจะถามในวันนี้นั่นเอง
ลองนึกดูเล่นๆ นะครับว่า ถ้าเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นในห้องสมุด ผู้ใช้บริการจะรู้สึกเช่นใด
แน่นอนครับว่าเราไม่ใช่องค์กรเชิงธุรกิจ แต่องค์กรของเราเป็นองค์กรที่เน้นบริการ
ยิ่งคำขวัญของเรา “บริการด้วยใจ (Service mind)” เรายิ่งต้องให้ความสำคัญมากๆ
พื่อนๆ ว่า ตกลงเราควรจะต้องรู้จักหนังสือหรือสื่อความรู้ในห้องสมุดของเราหรือไม่
บรรณารักษ์อย่างพวกเราจำเป็นต้องอ่านหนังสือบ้างหรือไม่
[poll id=”25″]
เอาเป็นว่าช่วยๆ กันตอบดูนะครับ
แล้วเดี๋ยวผมจะเอามาเขียนเล่าให้ฟังแบบเต็มๆ อีกสักตอนนึง
มหาวิทยาลัยคริสเตียนรับสมัครบรรณารักษ์ด่วน 1 อัตรา
ข่าวฝากประชาสัมพันธ์เรื่องงานบรรณารักษ์มาถึงอีเมล์ผมอีกรอบ ที่สำคัญคือห้องสมุดที่รับสมัครบรรณารักษ์นี้ คือ ห้องสมุดที่ผมเพิ่งไปบรรยายเมื่อเดือนที่แล้วเอง นั่นก็คือ ห้องสมุด มหาวิทยาลัยคริสเตียน นั่นเอง
รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงาน
ชื่อตำแหน่งงาน : บรรณารักษ์
สถานที่ : มหาวิทยาลัยคริสเตียน
จำนวน : 1 อัตรา
งานบรรณารักษ์ของที่นี่จากการที่ผมได้เข้าไปดูสถานที่ และการทำงานภายในห้องสมุดแห่งนี้ จริงๆ แล้วก็คงไม่ต่างจากงานห้องสมุดทั่วๆ ไปที่ต้องทำ เช่น งาน catalog งานจัดหา งานบริการ และอื่นๆ
ข้อมูลเบื้องต้นอีกอย่างที่อยากให้รู้ก่อน คือ มหาวิทยาลัยคริสเตียน มีคณะเด่นๆ และเป็นหลัก คือ พยาบาลศาสตร์
นั่นหมายถึง ห้องสมุดแห่งนี้มีข้อมูลและหนังสือที่เกี่ยวกับการแพทย์และพยาบาลพอสมควรเลยทีเดียว
การจัดหมวดหมู่ของห้องสมุดแห่งนี้ คือ ระบบ LC และ NLM นะครับ (ถ้าเพื่อนๆ จะสมัครคงต้องเตรียมพร้อมเรื่องนี้ด้วย)
คุณสมบัติเบื้องต้นของตำแหน่งนี้
1. เพศชาย/หญิงอายุ 22-35 ปี สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
2. มีความสามารถใช้โปรแกรม Microsoft Office ได้ดีและ
3. มีความสามารถในการใช้ฐานข้อมูล
4. มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้ดี
5. สามารถปฏิบัติงานนอกเวลาได้
สำหรับคนที่สนใจงานในตำแหน่งนี้ เพื่อนๆ ต้องเตรียมเอกสารดังนี้
1. รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 ใบ
2. ทะเบียนบ้านพร้อมสำเนา 1 ชุด
3. บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนา 1 ชุด
4. หลักฐานการศึกษาวุฒิที่จบพร้อมสำเนา 1 ชุด
5. หลักฐานการเกณฑ์ทหารหรือหลักฐานการผ่อนผัน 1 ชุด
ติดต่อสมัครได้ที่ มหาวิทยาลัยคริสเตียน 144 หมู่ 7 ต.ดอนยายหอม อ.เมือง จ.นครปฐม 73000
หรือส่งทาง E-mail : supatrak@christian.ac.th ทางโทรสาร 0-3422-9499
เอาเป็นว่าผมก็ขอให้เพื่อนๆ โชคดีครับ
(จะอ้างอิงนิดนึงก็ได้นะครับ ว่ารู้ข่าวจาก Libraryhub)
ตุ๊กตาโมเดล Nancy Pearl บรรณารักษ์หญิงคนดังจากอเมริกา
วันนี้ผมขอแนะนำตุ๊กตาโมเดลหรือของสะสมสักอย่างนึงนะครับ ตุ๊กตาโมเดลที่ว่านี้ย่อมต้องเกี่ยวกับวงการบรรณารักษ์แน่นอนครับ ตุ๊กตาโมเดลนี้ คือ ตุ๊กตาโมเดลของ Nancy Pearl บรรณารักษ์คนดังคนหนึ่งในอเมริกานั่นเอง
หลายคนอาจจะแปลกใจว่า Nancy Pearl คือใคร ผมขอเล่าประวัติย่อๆ แล้วกันนะครับ
เธอคือบรรณารักษ์ที่มีชื่อเสียงมากคนนึงในอเมริกา เธอเป็นคนชอบอ่านหนังสือและขยันหาความรู้ใหม่ๆ ตลอดเวลา คนอเมริกาจะได้ยินเสียงของเธอในวิทยุค่อนข้างบ่อยในรายการวิจารณ์หนังสือ (BOOK REVIEW) เธอเคยเป็นผู้บริหารในห้องสมุดซีแอตเติล เธอได้รับรางวัลมากมายจากวงการหนังสือ วงการห้องสมุด และวงการบรรณารักษ์
รางวัลที่เคยได้รับ
– 1997 Open Book Award from the Pacific Northwest Writers Conference
– 1998 Totem Business and Professional Women’s “Woman of Achievement Award”
– 1998 Library Journal’s Fiction Reviewer of the Year
– 2001 Allie Beth Martin Award from the American Library Association
– 2003 Washington (State) Humanities Award
– 2004 Brava Award from Women’s University Club in Seattle, recognizing “women of exceptional ability in the greater Seattle area”;
– 2004 Louis Shores–Greenwood Publishing Group Award
– 2004-2005 Annual award from the Women’s National Book Association
– 2004 Ontario Library Association Media and Communications Award
– 2011 Library Journal Librarian of the Year (ผลงานล่าสุด)
ประวัติและผลงานฉบับเต็มอ่านได้ที่
http://en.wikipedia.org/wiki/Nancy_Pearl
http://www.nancypearl.com/?page_id=2
เอาหล่ะครับเข้าเรื่องตุ๊กตาโมเดลบ้างดีกว่า
[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=WJdEXb8bRQ0[/youtube]
บรรณารักษ์ผู้หญิงในชุดสีน้ำเงิน ราคา $8.95
http://www.mcphee.com/shop/products/Librarian-Action-Figure.html
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ น่าสนใจดีมั้ยครับ ผมเองเห็นแล้วก็ยังอยากจะซื้อมาเก็บไว้สักตัวเลย
เอาเป็นว่าใครซื้อมาเล่นแล้วถ่ายภาพส่งมาให้ผมดูกันบ้างนะครับ
บรรณารักษ์ยุคใหม่ (Cybrarian) ต้องมีบุคลิกภาพแบบนี้…
บทความที่เกี่ยวกับ Cybrarian ผมเคยเขียนไปแล้วหลายครั้ง (ลองค้นคำว่า Cybrarian ดู)
วันนี้ผมขอเติมมติในเรื่องของบุคลิกภาพของบรรณารักษ์ยุคใหม่ที่ควรเป็นบ้างดีกว่า
เอาเป็นว่าลองอ่านแล้วลองคิดดุแล้วกันว่า “เราเป็นแบบนั้นแล้วหรือยัง”
บุคลิกภาพของบรรณารักษ์ยุคใหม่ (Cybrarian) ควรมีดังนี้
1. รักในงานบริการ – อันนี้แน่นอนครับสำหรับงานด้านบรรณารักษ์หรือสารสนเทศ ซึ่งเป็นงานที่เราจะต้องเจอผู้คนมากมายที่เขามาขอความช่วยเหลือด้านข้อมูลกันอยู่แล้ว ตั้งแต่ตอนเรียนพวกเราทุกคนจะต้องถูกปลูกฝังเรื่องจิตบริการ (service mind) อยู่แล้ว ดังนั้นเรื่องนี้คงไม่ยากมาก
2. รักการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา – ประเด็นนี้จะกล่าวถึงข่าวสารในชีวิตประจำวัน และสาระความรู้ทั่วๆ ไป บรรณารักษ์ยุคใหม่จะรู้เพียงเรื่องใดเรื่องหนึ่งไม่ได้ ควรจะมีความรู้รอบตัวสามารถเข้าใจพื้นฐานของทุกวิชาได้ เช่น หากเราทำงานเป็นบรรณารักษ์ในศูนย์การแพทย์ เราก็ควรจะต้องรู้และเข้าใจเนื้อหาแบบพื้นฐานของวิชานี้บ้างก็ดีครับ
3. ชอบการเปลี่ยนแปลงและมีการปรับตัวอยู่ตลอดเวลา – ในสังคมปัจจุบัน ผมคงไม่ต้องบอกเพื่อนๆ หรอกนะครับว่า ทุกวันโลกเราเปลี่ยนแปลงเร็วขนาดไหน ยิ่งเรื่องของเทคโนโลยีที่ค่อนข้างไปเร็ว จนบางครั้งผู้ใช้บริการไปเร็วกว่าเราอีก บรรณารักษ์ยุคใหม่ควรจะเป็นคนที่อัพเดทข่าวสารอยู่ตลอดเวลา ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ได้ เช่น เรียนรู้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีการอัพเดทเวอร์ชั่นตลอดเพื่อปรับปรุงงานด้านต่างๆ ในศูนย์สารสนเทศ
4. มีความสามารถในการถ่ายทอดสิ่งที่ได้เรียนรู้ให้กับผู้อื่นได้ – ความสามารถในด้านนี้จะกล่าวได้ว่าบรรณารักษ์ยุคใหม่ก็เปรียบเสมือนกับครู อาจารย์กันเลยทีเดียว เพราะหากเรามีองค์ความรู้ที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์กับผู้ใช้บริการเราเราก็คอยถ่ายทอดสิ่งที่รู้ออกมาได้เพื่อให้เป็นประโยชน์กับผู้ใช้บริการต่อไป
5. มีบุคลิกว่องไว กระตือรือร้นในการทำงาน – การบริการด้วยความว่องไว และรวดเร็วย่อมเป็นการสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ใช้ได้เป็นอย่างดีทีเดียว
6. ยอมรับฟังความคิดเห็น และมีจิตใจกว้างขวาง – สำคัญนะครับประเด็นนี้เนื่องจากหากเรายึดติดความคิดของตัวเองเป็นที่ตั้งโดยไม่ยอมรับฟังความคิดของผู้อื่นเลยจะทำให้เราไม่รู้จักโลกกว้างๆ ใบนี้เลย
จริงๆ แล้วยังบรรณารักษ์ยุคใหม่ยังต้องมีบุคลิกภาพและความสามารถอีกมากนะครับ
ที่สำคัญอย่างที่ผมเกริ่นไว้ว่าต้องมีการปรับตัวตลอดเวลา และการเปิดใจรับฟังคนอื่น
เพียงเท่านี้เราก็จะมีโอกาสเรียนรู้และพัฒนาให้เป็นบรรณารักษ์ยุคใหม่ได้ตลอดเวลา
The edublogaward 2010 สาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์
ไม่ได้ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับวงการศึกษาและบล็อกในต่างประเทศซะนานเลย
วันนี้ผมขอนำผลการประกาศรางวัล The edublogaward 2010 มาลงนะครับ
(ปีที่แล้วผมเขียนเรื่องการประกาศผลรางวัล The edublogaward 2009 ไปแล้ว)
ปีนี้ผลการประกาศรางวัล The edublogaward 2010 ดูน่าสนใจมากขึ้น
บล็อกเดิมที่เคยได้รับรางวัลบางบล็อกหลุดไปอย่างน่าเสียดาย และมีบล็อกใหม่ๆ ที่เข้ามาด้วย
ขอเกริ่นนำถึงรางวัลนี้สักหน่อยนะครับ
The edublogaward เป็นรางวัลที่แจกให้แก่บล็อกในวงการศึกษาดีเด่นซึ่งมีหลายสาขานะครับ
เช่น บล็อกส่วนตัว บล็อกแบบกลุ่ม บล็อกของอาจารย์ บล็อกของนักเรียน บล็อกของชั้นเรียน บล็อกนักวิจัย ฯลฯ
แน่นอนครับ ถถ้าพูดเรื่องวงการศึกษาคงต้องมีรางวัลที่เกี่ยวกับ “ห้องสมุดและบรรณารักษ์” ด้วย
ผลการประกาศรางวัล The edublogaward 2010
ผู้ที่ชนะเลิศในปี 2010 คือ บล็อก Castilleja School Library
ส่วนอันดับที่สอง คือ บล็อก A Media Specialist’s Guide to the Internet
ส่วนอันดับที่สาม คือ Bright Ideas ซึ่งเป็นของ School Library Association of Victoria (ปีที่แล้วได้ที่ 2)
การประกวด The edublogaward 2010 สาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์ มีผู้เสนอชื่อบล็อกวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์อีกมาก ซึ่งแต่ละบล็อกผมว่าน่าสนใจเช่นกัน เลยขอนำมาลงเพื่อเป็นตัวเลือกให้เพื่อนๆ เข้าไปอ่านต่อ โดยมีรายชื่อดังนี้
- Aberfoyle Park Campus Resource Centre Blog
- A Media Specialist’s Guide to the Internet
- Bloggit
- Booked Inn
- Blue Skunk
- Bright Ideas
- Castilleja School Library
- Cathy Nelson’s Professional Blog
- Gryphon LRC
- Heart of School
- Informania
- Library Grits
- Librarian By Day
- Lucacept – intercepting the web
- Never Ending Search
- Skerricks
- Springston School Library Blog
- Tales from a Loud Librarian
- The Daring Librarian
- The Unquiet Librarian
- The WebFooted Booklady
- Van Meter Library Voice
- VCS Skyway Library
ผลการโหวต The edublogaward 2010 สาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์
เป็นยังไงบ้างครับ คิดยังไงกับเรื่องการประกวดบล็อกในวงการศึกษา
ผมว่ามันก็เป็นการพัฒนางานอย่างหนึ่งนะครับ นอกจากนี้ยังถือว่าช่วยในเรื่องการจัดการความรู้ได้อย่างดีทีเดียว
บ้านเราก็ควรจะทำบ้างนะ (อยากให้ทำเชิงคุณภาพนะครับ ไม่ใช่ประกวดแล้วเล่นพรรคเล่นพวก)
เว็บไซต์ทางการของงาน The edublogaward 2010 – http://edublogawards.com/2010/
ถ้าหากเพื่อนๆ อยากรู้เกี่ยวกับบล็อกการศึกษาที่ประกวดในปีก่อนหน้านี้ก็สามารถเข้าไปดูได้ที่ – http://edublogawards.com/