The edublogaward 2011 สาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์

มีเพื่อนผมมาเตือนเกี่ยวกับเรื่อง The edublogaward ว่า “ผลของปี 2011 ยังไม่ออกหรอ ทำไมถึงไม่มีเขียนเรื่องนี้” ซึ่งเมื่อผมลองตรวจสอบดูก็เพิ่งเห็นจริงๆ ว่าผลมันออกมานานแล้ว ต้องขออภัยที่ลงข่าวล่าช้านะครับ เอาเป็นว่าลองมาติดตามกันดูดีกว่าว่าผลของปีนี้บล็อกไหนของวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ที่ได้รับรางวัลบ้าง

ติดตามผลการประกาศรางวัลปีเก่าได้ที่
The edublogaward 2009 สาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์
The edublogaward 2010 สาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์

ปีนี้ผลการประกาศรางวัล The edublogaward 2011  สาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์ดูน่าสนใจมากขึ้น
(ปกติจะประกาศสาขาละ 3 บล็อก ปีนี้ประกาศเพิ่มเป็น 5 บล็อกครับ)

The edublogaward 2011 สาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์ บล็อกที่ได้รับรางวัลมีดังนี้
Try Curiosity! – http://www.trycuriosity.com/
Bulldog Readers Blog – http://bellbulldogreaders.edublogs.org/
The Daring Librarian – http://www.thedaringlibrarian.com/
Never Ending Search – http://blog.schoollibraryjournal.com/neverendingsearch
A Media Specialist’s Guide to the Internet – http://mediaspecialistsguide.blogspot.com/

Try Curiosity! - http://www.trycuriosity.com/
Bulldog Readers Blog - http://bellbulldogreaders.edublogs.org/
The Daring Librarian - http://www.thedaringlibrarian.com/
Never Ending Search - http://blog.schoollibraryjournal.com/neverendingsearch
A Media Specialist's Guide to the Internet - http://mediaspecialistsguide.blogspot.com/

ปีนี้บล็อกที่ได้รับรางวัลนี่ เป็นบล็อกที่ไม่เคยได้รับรางวัลนี้มาก่อน (บล็อกหน้าใหม่)
ปีที่แล้วยังมีบล็อกเก่าติดอันดับ แต่ปีนี้บล็อกเก่าไม่ติดเลย นับว่าน่าสนใจมากๆ

ยังไงก็ลองเข้าไปดูนะครับ

ติดตามข้อมูลรางวัลในสาขาอื่นๆ ได้ที่ http://edublogawards.com/announcing-the-2011-winners-congrats-to-all/

The edublogaward 2010 สาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์

ไม่ได้ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับวงการศึกษาและบล็อกในต่างประเทศซะนานเลย
วันนี้ผมขอนำผลการประกาศรางวัล The edublogaward 2010 มาลงนะครับ
(ปีที่แล้วผมเขียนเรื่องการประกาศผลรางวัล The edublogaward 2009 ไปแล้ว)

ปีนี้ผลการประกาศรางวัล The edublogaward 2010 ดูน่าสนใจมากขึ้น
บล็อกเดิมที่เคยได้รับรางวัลบางบล็อกหลุดไปอย่างน่าเสียดาย และมีบล็อกใหม่ๆ ที่เข้ามาด้วย

ขอเกริ่นนำถึงรางวัลนี้สักหน่อยนะครับ
The edublogaward เป็นรางวัลที่แจกให้แก่บล็อกในวงการศึกษาดีเด่นซึ่งมีหลายสาขานะครับ
เช่น บล็อกส่วนตัว บล็อกแบบกลุ่ม บล็อกของอาจารย์ บล็อกของนักเรียน บล็อกของชั้นเรียน บล็อกนักวิจัย ฯลฯ
แน่นอนครับ ถถ้าพูดเรื่องวงการศึกษาคงต้องมีรางวัลที่เกี่ยวกับ “ห้องสมุดและบรรณารักษ์” ด้วย

ผลการประกาศรางวัล The edublogaward 2010
ผู้ที่ชนะเลิศในปี 2010 คือ บล็อก Castilleja School Library
ส่วนอันดับที่สอง คือ บล็อก A Media Specialist’s Guide to the Internet
ส่วนอันดับที่สาม คือ Bright Ideas ซึ่งเป็นของ School Library Association of Victoria (ปีที่แล้วได้ที่ 2)

การประกวด The edublogaward 2010 สาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์ มีผู้เสนอชื่อบล็อกวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์อีกมาก ซึ่งแต่ละบล็อกผมว่าน่าสนใจเช่นกัน เลยขอนำมาลงเพื่อเป็นตัวเลือกให้เพื่อนๆ เข้าไปอ่านต่อ โดยมีรายชื่อดังนี้

  1. Aberfoyle Park Campus Resource Centre Blog
  2. A Media Specialist’s Guide to the Internet
  3. Bloggit
  4. Booked Inn
  5. Blue Skunk
  6. Bright Ideas
  7. Castilleja School Library
  8. Cathy Nelson’s Professional Blog
  9. Gryphon LRC
  10. Heart of School
  11. Informania
  12. Library Grits
  13. Librarian By Day
  14. Lucacept – intercepting the web
  15. Never Ending Search
  16. Skerricks
  17. Springston School Library Blog
  18. Tales from a Loud Librarian
  19. The Daring Librarian
  20. The Unquiet Librarian
  21. The WebFooted Booklady
  22. Van Meter Library Voice
  23. VCS Skyway Library

ผลการโหวต The edublogaward 2010 สาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์

เป็นยังไงบ้างครับ คิดยังไงกับเรื่องการประกวดบล็อกในวงการศึกษา
ผมว่ามันก็เป็นการพัฒนางานอย่างหนึ่งนะครับ นอกจากนี้ยังถือว่าช่วยในเรื่องการจัดการความรู้ได้อย่างดีทีเดียว
บ้านเราก็ควรจะทำบ้างนะ (อยากให้ทำเชิงคุณภาพนะครับ ไม่ใช่ประกวดแล้วเล่นพรรคเล่นพวก)

เว็บไซต์ทางการของงาน The edublogaward 2010http://edublogawards.com/2010/
ถ้าหากเพื่อนๆ อยากรู้เกี่ยวกับบล็อกการศึกษาที่ประกวดในปีก่อนหน้านี้ก็สามารถเข้าไปดูได้ที่ – http://edublogawards.com/

สรุปเรื่องห้องสมุดและบรรณารักษ์ยอดฮิตประจำเดือนเมษายน 2554

ไม่ได้รายงานผลซะนานเลยนะครับ เพราะผมเองก็หายไปจากบล็อกบรรณารักษ์เกือบ 2 เดือน
เอาเป็นว่าผมกลับมาตั้งแต่ต้นเดือนแล้วหล่ะ วันนี้เลยต้องกลับมาทำหน้าที่รายงานเรื่องยอดฮิต

เรื่องยอดฮิตของบล็อกห้องสมุดและบรรณารักษ์ประจำเดือนเมษายน 2554
จากการสำรวจข้อมูลคร่าวๆ พบว่าสถิติในช่วงก่อนการเขียนบล็อกตกลงไปเยอะเลย
แต่หลังจากการกลับมาเขียนอีกครั้งพบว่าสมาชิกหลายๆ คนเริ่มกลับมาอ่าน

แล้วเพื่อนๆ ว่าเรื่องไหนที่ได้รับความนิยม 10 อันดับบ้างหล่ะครับ เราไปดูกันเลยดีกว่า

เรื่องยอดฮิตของบล็อกห้องสมุดและบรรณารักษ์ประจำเดือนเมษายน 2554 10 อันดับได้แก่

1. 3% – บรรณารักษ์สามารถ copy catalog หนังสือจาก Amazon ได้แล้วนะ
2. 3% – ไอเดียจากร้านหนังสือที่ห้องสมุดน่าทำบ้าง : หนังสือละครทีวี
3. 3% – ห้องสมุดจำเป็นต้องใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) หรือไม่
4. 3% – บทสรุปการพัฒนาห้องสมุดไทยคิดด้วยชุมชนห้องสมุดไทยคิด
5. 2% – พาเที่ยวห้องสมุด SCG ? XP Library
6. 2% – แผ่นดินไหวทำให้ห้องสมุดเสียหายแค่ไหน (ชมภาพจากประเทศญี่ปุ่น)
7. 2% – คิดเล่นๆ และทำจริงๆ จึงได้เครือข่ายบรรณารักษ์ออนไลน์
8. 2% – สวัสดีปีใหม่ไทยและทักทายวันสงกรานต์
9. 1% – นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 4 เล่มที่ 2
10. 1% – คลิปวีดีโอคนต่อแถวแย่งกันเข้าห้องสมุดประชาชนเป็นไปได้หรือนี่

ปล. เรื่องยอดฮิตมีเกณฑ์ในการให้คะแนนเรื่องยอดฮิตมาจาก จำนวนคนเข้าดู, จำนวนคนคอมเม้นต์, จำนวนเรื่องที่ถูกอ้างอิง

เอาเป็นว่าตรงใจหลายๆ คนหรือปล่าวครับ คะแนนเหล่านี้มันจะถูกเก็บสะสมต่อไปเรื่อยๆ นะครับ
ดังนั้นหากเพื่อนๆ ชอบเรื่องไหนเป็นพิเศษก็โหวตกันได้ (ด้านล่างของบทความจะมีรูปดาวให้ใส่คะแนนได้)
นอกจากโหวตแล้วเพื่อนๆ สามารถคอมเม้นตืเรื่องที่ชอบได้ด้วยนะครับ

สำหรับเดือนพฤษภาคมเรื่องไหนจะได้รับความนิยม เรามาลุ้นได้ในวันที่ 1 มิถุนายนนะครับ

สรุปเรื่องห้องสมุดและบรรณารักษ์ยอดฮิตประจำเดือนมกราคม 2554

การสรุปเรื่องยอดฮิตของบล็อกห้องสมุดและบรรณารักษ์ประจำเดือนมกราคมมาแล้วครับ
เดือนนี้เป็นเดือนที่คนเข้าบล็อกเงียบเหงามากๆ เลย ไม่รู้ว่ามีใครยังอ่านอยู่บ้าง
แต่ช่างเถอะครับ ผมเขียนเพราะอยากเขียน ใครอยากอ่านก็อ่านแล้วกัน

เดือนมกราคมที่ผ่านมา บล็อกเรื่องไหนได้คะแนนนิยมมากที่สุด 10 อันดับ

1. 3% – เก็บตกงานสัปดาห์ห้องสมุด ม.รังสิต
2. 3% – โฆษณาการอ่านทำให้เกิดสติปัญญา (Ad. by Posttoday)
3. 2% – เปรียบเทียบข้อดีของหนังสือฉบับกระดาษกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
4. 2% – คลิปวีดีโอพบรักกันในห้องสมุด (Love in the library)
5. 2% – Infographic : เมื่อเราอยากแชร์ข้อมูลที่น่าสนใจให้คนอื่น
6. 2% – สัปดาห์ห้องสมุด ม.รังสิต ตอน เครือข่ายทางสังคมกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต
7. 2% – ม.ราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ รับบรรณารักษ์
8. 2% – ต้อนรับงาน WUNCA 23 ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
9. 1% – วารสารห้องสมุด IFLA Journal ฉบับเดือนธันวาคม 2010
10. 1% – วีดีโอเสวนาก้าวทันสื่อออนไลน์ ในงานสัปดาห์ห้องสมุด ม.รังสิต

ปล. เรื่องยอดฮิตมีเกณฑ์ในการให้คะแนนเรื่องยอดฮิตมาจาก จำนวนคนเข้าดู, จำนวนคนคอมเม้นต์, จำนวนเรื่องที่ถูกอ้างอิง

เอาเป็นว่าตรงใจหลายๆ คนหรือปล่าวครับ คะแนนเหล่านี้มันจะถูกเก็บสะสมต่อไปเรื่อยๆ นะครับ
ดังนั้นหากเพื่อนๆ ชอบเรื่องไหนเป็นพิเศษก็โหวตกันได้ (ด้านล่างของบทความจะมีรูปดาวให้ใส่คะแนนได้)

สำหรับเดือนกุมภาพันธ์เรื่องไหนจะได้รับความนิยม เรามาลุ้นได้ในวันที่ 1 มีนาคมนะครับ

สรุปเรื่องห้องสมุดและบรรณารักษ์ยอดฮิตประจำเดือนธันวาคม 2553

การสรุปเรื่องยอดฮิตของบล็อกห้องสมุดและบรรณารักษ์ประจำเดือนธันวาคมมาแล้วครับ
เดือนนี้เป็นเดือนที่คนเข้าบล็อกของผมน้อยกว่าเดือนที่แล้ว อาจจะเนื่องมาจากวันหยุดเยอะ

เดือนธันวาคมที่ผ่านมา บล็อกเรื่องไหนได้คะแนนนิยมมากที่สุด 10 อันดับ

1. 25% – เพื่อนๆ คิดยังไงกับบทความ “ว่าไงนะ บรรณรักษ์ตายแล้วหรือ”
2. 17% – แนวโน้มของ Social Media กับงานห้องสมุดในปี 2011
3. 14% – สรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook#2
4. 14% – คำว่า CYBRARIAN ย่อมาจากอะไร
5. 8% – เทศกาลให้หนังสือเป็นของขวัญ ครั้งที่ 1 (Book For Gift 2010)
6. 7% – สรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook#1
7. 7% – ไอเดียการจัดต้นคริสต์มาสในห้องสมุดทั่วโลก
8. 7% – กลุ่มบรรณารักษ์ไทย (Librarian in Thailand) ใน Facebook
9. 6% – การแบ่งปันความรู้คือพลังอันยิ่งใหญ่ (Sharing Knowledge is Power)
10. 5% – วีดีโอเมื่อบรรณารักษ์กลายเป็นมนุษย์ดัดแปลง Cybrarian

ปล. เรื่องยอดฮิตมีเกณฑ์ในการให้คะแนนเรื่องยอดฮิตมาจาก จำนวนคนเข้าดู, จำนวนคนคอมเม้นต์, จำนวนเรื่องที่ถูกอ้างอิง

เอาเป็นว่าตรงใจหลายๆ คนหรือปล่าวครับ คะแนนเหล่านี้มันจะถูกเก็บสะสมต่อไปเรื่อยๆ นะครับ
ดังนั้นหากเพื่อนๆ ชอบเรื่องไหนเป็นพิเศษก็โหวตกันได้ (ด้านล่างของบทความจะมีรูปดาวให้ใส่คะแนนได้)

เดือนมกราคมเรื่องไหนจะได้รับความนิยม เรามาลุ้นได้ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์นะครับ แล้วพบกับการรายงานแบบนี้ได้ใหม่ทุกต้นเดือน

เรื่องห้องสมุดและบรรณารักษ์ยอดฮิตประจำเดือนพฤศจิกายน 2553

ฟีเจอร์ใหม่ของ Libraryhub ที่ผมกำลังจะทำหลังจากนี้คือ การสรุปเรื่องยอดฮิตของบล็อกห้องสมุดและบรรณารักษ์ประจำเดือน
ซึ่งเพื่อนๆ สามารถติดตามได้ในวันที่ 1 ของทุกเดือนเลยนะครับ เริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม เป็นต้นไป

เรื่องยอดฮิตนี้ผมก็นำมาจากสถิติในบล็อก Libraryhub ว่าเรื่องไหนเพื่อนๆ เข้ามาดูเยอะที่สุด
ซึ่งเกณฑ์ในการให้คะแนนเรื่องยอดฮิตมาจาก จำนวนคนเข้าดู, จำนวนคนคอมเม้นต์, จำนวนเรื่องที่ถูกอ้างอิง
ซึ่งในบล็อกของผมมีระบบประมวลผลคะแนนของบล็อกอยู่แล้ว ผมก็แค่นำมาเสนอให้เพื่อนๆ ดูก็แค่นั้นเอง

เอาหล่ะไปดูกันเลยดีกว่าว่า เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา บล็อกเรื่องไหนได้คะแนนนิยมมากที่สุด 10 อันดับ

1. 53% สรุปงาน New technology and Best Practice in Library Services
2. 22% นายบรรณารักษ์พาทัวร์ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ซอยพระนาง
3. 16% ไอเดียมุมแสดงหนังสือที่ไม่เคยมีใครหยิบอ่านในห้องสมุด
4. 15% คลิปวีดีโอสอนการจัดห้องสมุดในบ้านของคุณอย่างง่าย
5. 15% แนะนำงานสัมมนา How to be a Global Library Participant
6. 15% เตรียมสอบข้าราชการบรรณารักษ์ต้องอ่านอะไรบ้าง
7. 12% วีดีโอศูนย์ความรู้กินได้ ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี
8. 10% สุขสันต์วันเกิด LISNews.org ปีที่ 11
9. 9% นายบรรณารักษ์พาเที่ยวห้องสมุดนิทรรศน์รัตนโกสินทร์
10. 9% บ้านหนังสือ : ห้องสมุดหลังเล็กสำหรับชุมชน

เอาเป็นว่าตรงใจหลายๆ คนหรือปล่าวครับ คะแนนเหล่านี้มันจะถูกเก็บสะสมต่อไปเรื่อยๆ นะครับ
ดังนั้นหากเพื่อนๆ ชอบเรื่องไหนเป็นพิเศษก็โหวตกันได้ (ด้านล่างของบทความจะมีรูปดาวให้ใส่คะแนนได้)

เดือนหน้าเรื่องไหนจะได้รับความนิยม เรามาลุ้นกันต่อครับ
สำหรับเดือนนี้ผมคงรายงานไว้เพียงเท่านี้ก่อน แต่บล็อกก็ยังคงอัพเดททุกวันต่อไปนะครับ

เป็นกำลังใจให้กันด้วยหล่ะ อิอิ ไปและครับ

หนทางในการแชร์เรื่องหรือไอเดียของคุณ (How to Share Idea)

?ถ้าเราเขียนเรื่องสักเรื่องนึงบนเว็บ แล้วอยากให้คนอื่นเข้ามาอ่าน เราจะทำอย่างไร?
?นักวิชาการเขียนเรื่องๆ นึงดีมาก แต่ขาดการประชาสัมพันธ์ แล้วงี้คนจะอ่านจากไหน?
?อยากกระจายเรื่องที่เราเขียนให้คนอื่นๆ อ่านทำไงดี?

และอีกหลายๆ คำถามประมาณนี้ วันนี้ผมเลยขอสรุปเป็นประเด็นต่างๆ แล้วกัน
(ผมอาจจะไม่ใช่ผู้ชำนาญนะครับ แต่จะถ่ายทอดตามความคิดให้อ่านแล้วกัน)

ทางเลือกในการแชร์เรื่องที่คุณเขียนไปให้คนอื่นอ่าน มีดังนี้

– Blog / Website


วิธีนี้ คือ เมื่อคุณมีไอเดีย หรือเรื่องที่อยากเขียน คุณก็เขียนลงในบล็อกหรือเว็บไซต์ของคุณก่อน
การสมัครบล็อกเดี๋ยวนี้มีบล็อกฟรีมากมาย ก็เลือกสักบล็อกแล้วกัน

????????????????????????

– E-mail

วิธีนี้ คือ พอเขียนเสร็จก็ส่งเมล์ให้เพื่อนๆ ได้อ่านก่อน พอเพื่อนๆ อ่านแล้วชอบก็จะเริ่มกระบวนการส่งต่อเอง
อิอิ วิธีนี้ขอบอกก่อนว่าต้องเป็น Content ที่ดีนะครับ ไม่ใช่โฆษณาขายตรง หรือขายประกัน
เพราะไม่งั้นเพื่อนคุณเลิกคบแน่ๆ อิอิ

????????????????????????

– Forum / Comment Blog

วิธีนี้ คือ พอเราไปอ่านเว็บบอร์ด หรือบล็อกที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของเรา
บางครั้งเราก็ฝากเรื่องเพิ่มเติมของเราให้กับ Forum หรือ Comment บล็อกของเขาด้วย
แต่ต้องเกี่ยวจริงๆ นะครับ ไม่งั้นก็คงโดนลบออกไปจาก forum หรือ โดนตั้งเป็น Spam บล็อก

????????????????????????

– IM(Instant Messenger)

วิธีนี้ จะคล้ายๆ กับการส่งเมล์ แต่จะส่งได้ข้อความสั้นๆ หน่อย เพราะอ่านยาวค่อนข้างลำบาก
ดังนั้นอาจจะส่ง link ของบล็อก หรือเว็บที่น่าสนใจให้เพื่อนๆ ของเราได้

????????????????????????

– Twitter

วิธีนี้มักจะใช้ในกลุ่มไอที เพราะว่าคนไอทีเล่นเยอะๆ แนววามคิดก็คล้ายๆ กับ IM
เพียงแต่ การใช้ Twitter ถือเป็นการ broadcast text ให้เพื่อนๆ ในกลุ่มของเราได้ง่ายกว่า IM
อ๋อ แต่ขอจำกัดของ Twitter คือส่งได้ครั้งละ 140 ตัวอักษร ดังนั้นคงต้องส่งแค่ link เหมือน IM

????????????????????????

– Social Network(hi5, Facebook)

วิธีนี้ ก็ดีเหมือนกันเพราะคนที่เล่นใน Social Network เดียวกันคือ คนที่ชอบในเรื่องๆ เดียวกัน
ดังนั้นเป็นการง่ายที่เราจะแชร์เรื่องที่เราสนใจให้คนที่สนใจเหมือนกันอ่าน
(แต่ในเมืองไทย ผมไม่แน่ใจจุดประสงค์การใช้งาน เพราะส่วนใหญ่เห็นว่าหาคนสวยๆ หล่อๆ กัน)

????????????????????????

– Social News (Social bookmark)

วิธีนี้ คือการส่งเรื่องไปให้เว็บที่รวมข่าวสารต่างๆ โดยวิธีนี้ผมก็ใช้อยู่และถือว่าค่อนข้างเยี่ยม
เพราะว่าเป็นการแชร์เรื่องของเราสู่สาธารณะชน ทำให้คนอื่นๆ ได้รู้จักเว็บหรือบล็อกของเรา
โดยที่เราอาจจะไม่รู้จักเขาเลยก็ได้ เว็บพวกนี้ เช่น Digg, Zickr, Duocore?.

????????????????????????

เป็นไงบ้างครับ การแชร์เรื่องของตัวเองให้คนอื่นได้รู้ มีวิธีมากมายเลย
ยากไปหรือปล่าว เรื่องพวกนี้ไม่ยากเกินไปใช่มั้ยครับ
แต่ที่สำคัญเราต้องเขียนเรื่องหรือ แนะนำเรื่องที่ดีนะครับ เพื่อประโยชน์ต่อสังคม

The edublogaward 2009 สาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์

ปีนี้ก็ 2010 แล้วนะครับ ผมอาจจะนำเรื่องนี้มารายงานช้าไปหน่อย
แต่อย่างน้อย The edublogaward 2010 ก็ยังไม่เริ่มประกาศผลนะครับ

The edublogaward 2009 รางวัลนี้ได้แจกให้แก่บล็อกในวงการศึกษาดีเด่นหลายสาขานะครับ
เช่น บล็อกส่วนตัว บล็อกแบบกลุ่ม บล็อกของอาจารย์ บล็อกของนักเรียน บล็อกของชั้นเรียน ฯลฯ

แน่นอนครับในกลุ่มด้านการศึกษานี้คงต้องมีรางวัลเกี่ยวกับ บล็อกห้องสมุดและบรรณารักษ์ ด้วย

ดังนั้นผมจึงของนำมารายงานให้เพื่อนๆ ได้รับทราบกันนะครับ
โดยผู้ที่ชนะเลิศในปี 2009 คือ บล็อก Never Ending Search ซึ่งเป็นบล็อกภายใต้ schoollibraryjournal นั่นเอง
ส่วนอันดับที่สอง คือ บล็อก Bright Ideas ซึ่งเป็นของ School Library Association of Victoria
ส่วนอันดับที่สาม คือ Library Tech Musings ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น thedaringlibrarian

เอาเป็นว่าผมก็ลองเข้าไปดูบล็อกเหล่านี้มาแล้วแหละ นับว่าน่าสนใจจริงๆ
ดังนั้นผมว่าเพื่อนๆ เซฟลิ้งค์พวกนี้แล้วลองหาเวลาเข้าไปอ่านบ้างนะครับ

อ๋อ นอกจากนี้แล้ว ในบล็อกวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ที่ถูกเสนอชื่อและเป็นคู่แข่งในการประกวดครั้งนี้ยังมีอีกมากมาย เช่น

  1. A Fuse #8 Productions
  2. Bloggit
  3. Bright Ideas
  4. Blue Skunk
  5. Cathy Nelson?s Professional Thoughts
  6. Hey Jude
  7. LCS ES Media Blog
  8. Librarian by Day Blog
  9. Library Tech Musings
  10. Lucacept
  11. My Mind Gap
  12. Never Ending Search
  13. Not So Distant Future
  14. The Unquiet Librarian
  15. The Unquiet Library
  16. The Waki Librarian
  17. The Web Footed Book Lady
  18. Wired Librarian
  19. World?s Strongest Librarian

คะแนนในการตัดสิน The edublogaward 2009 สาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์

เอาเป็นว่าน่าสนใจทุกบล็อกเลย จริงๆ แล้วในเมืองไทยผมอยากให้มีการจัดประกวดบล็อกด้านการศึกษาแบบนี้บ้างจัง
แต่คงต้องมีการวัดผลที่เป็นมาตรฐานกว่าที่ผ่านมาหน่อยนะครับ เพราะเท่าที่เห็นก็คือ พวกเยอะมักได้รางวัล
ซึ่งบางทีแล้วไม่ยุติธรรมต่อบล็อกหรือเว็บที่มีประโยชน์สักเท่าไหร่ ยังไงก็ฝากไว้แค่นี้แหละครับ

เว็บไซต์ทางการของงาน The edublogaward 2009 – http://edublogawards.com/2009/
ถ้าหากเพื่อนๆ อยากรู้เกี่ยวกับบล็อกการศึกษาที่ประกวดในปีก่อนหน้านี้ก็สามารถเข้าไปดูได้ที่? http://edublogawards.com/

นายห้องสมุดพาเที่ยวงาน Thailand Mobile Expo 2010

เมื่อวานนี้ผมได้มีโอกาสไปเดินงาน Thailand Mobile Expo 2010 ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
วันนี้ผมจึงขออาศัยบล็อกนี้ถ่ายทอดและเล่าเรื่องราวต่างๆ ในงานให้เพื่อนๆ อ่านกัน

เริ่มจากทำไมถึงต้องไปงาน Thailand Mobile Expo 2010
– ไปดูเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือ เช่น โปรแกรมบนโทรศัพท์ ฯลฯ
– ไปสำรวจราคาโทรศัพท์และเทรนด์ของโทรศัพท์มือถือในปัจจุบัน
– ไปเอาหนังสือจากพี่ @mimee เรื่องการตลาด 2.0 (ของรางวัลที่เล่นใน twitter)
– ไปเอาเรื่องราวต่างๆ มาเล่าให้เพื่อนๆ อ่าน (อิอิ)

ว่าแล้วก็เริ่มเข้าไปในงานกันเลย เมื่อเดินทางจากรถไฟฟ้าใต้ดินมาขึ้นที่สถานีศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เดินออกมาตามทางจะมีลูกศรบอกทางเข้างาน Thailand Mobile Expo 2010
(ที่ศูนย์ประชุมฯ ไม่ได้มีงาน Thailand Mobile Expo 2010 อย่างเดียวนะ เขามีจัดงานบ้านและคอนโดด้วย)

img_0872 img_0877

เมื่อพบทางเข้างาน Thailand Mobile Expo 2010 ส่วนแรกที่เราจะเจอ คือ งาน TMAS2010
หรือที่เรียกว่า Thailand Mobile Application Symposium 2010
ในส่วนนี้จะเป็นส่วนที่โชว์เทคโนโลยีและให้ความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมต่างๆ เช่น
– TOT = เทคโนโลยี 3G อุปกรณ์ต่างๆ และพื้นที่ในการให้บริการ
– Nectec = โปรแกรมระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะ
– Nectec = สื่อการเรียนการสอนมัลติมีเดียภาษามลายูท้องถิ่น (http://malayu.nectec.or.th)

พอออกจากส่วนนี้แล้ว และเดินเข้าสู่ส่วนที่แสดงสินค้าเราจะพบบูธเด่นๆ อีกบูธ คือ บูธของ Google นั่นเอง
ก็เข้าไปดูสักหน่อยว่ามี application ตัวไหนที่สามารถนำมาใช้บนโทรศัพท์มือถือได้บ้าง
ซึ่งเพื่อนๆ ลองเข้าไปดูได้ที่ m.google.co.th

img_0916

ในส่วนแสดงสินค้าผมคงไม่เขียนอะไรมากมายหรอก แต่จะขอเน้น hilight ที่ผมชอบจริงๆ ในงาน เช่น
– Iphone4
– Samsung GalaxyTab
– Wellcom W-pac
– TOT 3G
– Nokia N8
– Blackberry Torch 9800

img_0904

นอกจากนี้แนะนำไปบูธ สบท นะครับ เพราะมีหนังสิอแจกฟรี 3 เล่ม ซึ่งน่าสนใจมากๆ (ผมนำกลับมาให้ห้องสมุดชุดนึง)
– รู้ไว้ปลอดภัย (กว่า) : คู่มือลดความเสี่ยงในการใช้มือถือและอินเทอร์เน็ต
– มือถือในมือเด็ก
– เวทีผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมปี 2552 : “พลังผู้บริโภค สร้างสรรค์โลก โทรคมนาคม”

ในงานนี้เดินไปเดินมาก็เจออพี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ มากมายในงานนี้ด้วย เช่น @neokain @bankkung @aum2u @mimee @patsonic @ripmilla @pongrat @charathBank และอีกหลายๆ คนที่ผมไม่รู้จักชื่อ

เอาเป็นว่าก็ถือว่าเป็นงานที่น่าสนใจอีกงานนึงนะครับ วันนี้ก็คงจัดวันสุดท้ายแล้ว (3 ตุลาคม 2553)
ใครที่อ่านบล็อกของผมวันนี้ยังพอมีเวลา แนะนำว่าควรไปเดินนะครับ (ช่วงต้นเดือนด้วย อิอิ)

เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของงานนี้ : http://www.thailandmobileexpo.com/

รวมภาพบรรยากาศที่ผมถ่ายเล่นในงาน

[nggallery id=28]

คำมั่นสัญญา : 1 วัน 1 เรื่องกลับมาแล้วครับ

หลายเดือนแล้วที่ผมไม่ตรงต่อเวลาในเรื่องการอัพบล็อก “ผมขอโทษนะครับ”
เมื่อเวลาผ่านไปยิ่งนานยิ่งทำให้ผมรู้สึกว่าเหมือนหายไปจากวงการบรรณารักษ์ซะเยอะเลย

วันนี้ผมจึงขอเริ่ม “อุดมการณ์เดิม” ของผม ซึ่งเป็นอุดมการณ์สมัยตอนยังเขียน projectlib
ยังจำประโยคนี้กันได้มั้ยครับ “365 days in library” นั่นหมายถึง 1 วัน 1 เรื่องห้องสมุดจะกลับมา

เรื่องราวต่างๆ ยังมีให้เขียนมากมายเช่นเดิม แต่ผมอาจจะเปลี่ยนรูปแบบการเขียนนิดหน่อย
เพราะเข้าใจว่าหลายคนไม่อยากอ่านอะไรยาวๆ ดังนั้นการเขียนของผมจะแตกต่างไปจากเดิมบ้าง
เพื่อให้เพื่อนๆ ที่ไม่ค่อยมีเวลา เข้ามาบล็อกนี้และใช้เวลาน้อยที่สุดแล้วกัน

วันนี้ก็เขียนแค่นี้แหละครับมาทักทายเล็กน้อย เดี๋ยวรออ่านเรื่องวงการบรรณารักษ์และห้องสมุดกันต่อเลยแล้วกัน