สรุปเรื่องห้องสมุดและบรรณารักษ์ยอดฮิตประจำเดือนเมษายน 2554

ไม่ได้รายงานผลซะนานเลยนะครับ เพราะผมเองก็หายไปจากบล็อกบรรณารักษ์เกือบ 2 เดือน
เอาเป็นว่าผมกลับมาตั้งแต่ต้นเดือนแล้วหล่ะ วันนี้เลยต้องกลับมาทำหน้าที่รายงานเรื่องยอดฮิต

เรื่องยอดฮิตของบล็อกห้องสมุดและบรรณารักษ์ประจำเดือนเมษายน 2554
จากการสำรวจข้อมูลคร่าวๆ พบว่าสถิติในช่วงก่อนการเขียนบล็อกตกลงไปเยอะเลย
แต่หลังจากการกลับมาเขียนอีกครั้งพบว่าสมาชิกหลายๆ คนเริ่มกลับมาอ่าน

แล้วเพื่อนๆ ว่าเรื่องไหนที่ได้รับความนิยม 10 อันดับบ้างหล่ะครับ เราไปดูกันเลยดีกว่า

เรื่องยอดฮิตของบล็อกห้องสมุดและบรรณารักษ์ประจำเดือนเมษายน 2554 10 อันดับได้แก่

1. 3% – บรรณารักษ์สามารถ copy catalog หนังสือจาก Amazon ได้แล้วนะ
2. 3% – ไอเดียจากร้านหนังสือที่ห้องสมุดน่าทำบ้าง : หนังสือละครทีวี
3. 3% – ห้องสมุดจำเป็นต้องใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) หรือไม่
4. 3% – บทสรุปการพัฒนาห้องสมุดไทยคิดด้วยชุมชนห้องสมุดไทยคิด
5. 2% – พาเที่ยวห้องสมุด SCG ? XP Library
6. 2% – แผ่นดินไหวทำให้ห้องสมุดเสียหายแค่ไหน (ชมภาพจากประเทศญี่ปุ่น)
7. 2% – คิดเล่นๆ และทำจริงๆ จึงได้เครือข่ายบรรณารักษ์ออนไลน์
8. 2% – สวัสดีปีใหม่ไทยและทักทายวันสงกรานต์
9. 1% – นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 4 เล่มที่ 2
10. 1% – คลิปวีดีโอคนต่อแถวแย่งกันเข้าห้องสมุดประชาชนเป็นไปได้หรือนี่

ปล. เรื่องยอดฮิตมีเกณฑ์ในการให้คะแนนเรื่องยอดฮิตมาจาก จำนวนคนเข้าดู, จำนวนคนคอมเม้นต์, จำนวนเรื่องที่ถูกอ้างอิง

เอาเป็นว่าตรงใจหลายๆ คนหรือปล่าวครับ คะแนนเหล่านี้มันจะถูกเก็บสะสมต่อไปเรื่อยๆ นะครับ
ดังนั้นหากเพื่อนๆ ชอบเรื่องไหนเป็นพิเศษก็โหวตกันได้ (ด้านล่างของบทความจะมีรูปดาวให้ใส่คะแนนได้)
นอกจากโหวตแล้วเพื่อนๆ สามารถคอมเม้นตืเรื่องที่ชอบได้ด้วยนะครับ

สำหรับเดือนพฤษภาคมเรื่องไหนจะได้รับความนิยม เรามาลุ้นได้ในวันที่ 1 มิถุนายนนะครับ

คิดเล่นๆ และทำจริงๆ จึงได้เครือข่ายบรรณารักษ์ออนไลน์

ไม่ได้อัพเดทบล็อกตัวเองนานมากๆ เพราะมีอะไรหลายๆ เรื่องเข้ามารบกวน
วันนี้ได้โอกาสเข้ามาอัพเดทเลยอยากเขียนถึงจุดกำเนิดของบล็อกเครือข่ายบรรณารักษ์ออนไลน์

ปล. บทความนี้เพื่อนๆ สามารถอ่านได้ในวารสาร “โดมทัศน์” ของธรรมศาสตร์ ปีที่ 31 ฉบับที่ 2
ชื่อบทความว่า “คิดเล่นๆ และทำจริงๆ จึงได้เครือข่ายบรรณารักษ์ออนไลน์ Projectlib – Libraryhub

เอาเป็นว่าใครหาอ่านจากตัวเล่มไม่ได้ก็อ่านได้บนบล็อกผมเลย ด้านล่างนี้เลยครับ

“คิดเล่นๆ และทำจริงๆ จึงได้เครือข่ายบรรณารักษ์ออนไลน์ Projectlib – Libraryhub”

มีคนเคยบอกผมว่า ?หากเราไม่เริ่มที่จะทำอะไรสักอย่าง สิ่งๆ นั้นก็จะไม่มีทางเกิด….? เมื่อผมได้ฟังประโยคนี้แล้ว ผมได้หันกลับมามองย้อนการทำงานของตัวเอง ในช่วงนั้นผมเป็นเพียงเจ้าหน้าที่ห้องสมุดตำแหน่งเล็กๆ ในห้องสมุดแห่งหนึ่ง ผมถามตัวเองว่า ?ทำไมวงการบรรณารักษ์ถึงไม่มีศูนย์กลางของข่าวสารด้านวงการห้องสมุดเลย หรือ ทำไมถึงหาบทความอ่านเกี่ยวกับเรื่องบรรณารักษ์ยากจัง? เมื่อคิดแล้วในสมองของผมมันก็ตอบกลับมาว่า ?จริงๆ เราน่าจะมีเว็บไซต์เพื่อวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์บ้างนะ? นี่คือความคิดเล็กๆ ในวันนั้นที่ทำให้มีเว็บไซต์ชุมชนบรรณารักษ์ออนไลน์ในวันนี้

เริ่มคิด…เริ่มค้นหา…

ใครๆ ก็คิดว่าอยากมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง แต่ปัญหาหนึ่งที่หลายๆ คนเจอ คือ ไม่มีความรู้เรื่องการเขียนโปรแกรมและไม่มีความรู้เรื่องการออกแบบเว็บไซต์ ผมเองก็ประสบปัญหาเดียวกันครับ เมื่อตั้งโจทย์ขึ้นว่าอยากมีเว็บไซต์แต่ทำเว็บไซต์ไม่เป็น ที่พึ่งหนึ่งของผมก็คือห้องสมุดและอินเทอร์เน็ต การค้นหาข้อมูลเรื่องการสร้างเว็บไซต์เริ่มต้นขึ้นผ่านไปหนึ่งเดือนหนังสือหลายเล่มที่อ่านจบไปก็ไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้นเลย การเข้าไปดูเว็บไซต์อื่นๆ ก็เป็นเพียงแค่รูปแบบที่ทำให้ผมจินตนาการเว็บไซต์ส่วนตัวให้ดูอลังการมากมายแต่ทำไม่ได้จริง เมื่อใกล้พบกับความสิ้นหวังก็มีแสงสว่างหนึ่งปรากฎขึ้นมา ผมได้พบกับเพื่อนคนหนึ่งในเว็บไซต์และรู้ว่าเขาสามารถทำเว็บไซต์ได้จึงขอคำปรึกษา ซึ่งเขาให้คำแนะนำมากมาย รวมถึงแนะนำคำว่า ?บล็อก (Blog)? ให้ผมรู้จัก

ช่วงนั้นมีบล็อกมากมายที่ให้บริการฟรีบนเว็บไซต์ เช่น Gotoknow, Exteen, OKnation, Blogspot, WordPress ฯลฯ ผมจึงไม่รอช้าที่จะเข้าไปเล่นและใช้งานบล็อกหลายๆ ที่ และสิ่งที่ทำให้ผมรู้ คือ การเขียนบล็อกมันง่ายจริงๆ แทบจะไม่ต้องเข้าใจเรื่องการเขียนโปรแกรมเว็บไซต์เลยก็ว่าได้ จากบล็อกต่างๆ เหล่านั้น ผมจึงเลือกWordpress เพื่อใช้เป็นบล็อกหลักของผม

ชื่อบล็อกสำคัญไฉน

เพื่อให้ทุกคนรู้จักบล็อกของเรา สิ่งที่ต้องคิดตามมาคือ ชื่อบล็อก การตั้งชื่อบล็อกมีแนวทางในการเลือกชื่อบล็อกมากมาย เช่น เอาชื่อหน่วยงานตัวเอง เอาชื่อจริงของตัวเอง หรือแม้กระทั่งการเอาชื่อนามปากกาของตัวเองมาใช้ ซึ่งสำหรับผมแล้วการใช้ชื่อ Projectlib ดูเหมือนว่าจะเป็นชื่อที่เข้าใจได้ง่ายที่สุด เนื่องจากบล็อกของผมไม่ได้สังกัดใครดังนั้นจึงไม่มีชื่อหน่วยงาน และการเอาชื่อจริงมาใช้ก็ไม่สามารถกระทำได้เนื่องจากมีคนนำชื่อจริงผมไปจดทะเบียนโดเมนเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นเมื่อพิจารณาจากจุดประสงค์และการสื่อสาร ผมจึงเลือก Projectlib มาใช้ด้วยความหมายว่า Project หมายถึง โครงการ และ Lib มาจาก Library ซึ่งหมายถึงห้องสมุด เมื่อนำมารวมกันเป็น Projectlib นั่นหมายถึงโครงการสำหรับห้องสมุดนั่นเอง

หัวใจของการสร้างชุมชนแห่งนี้

เมื่อได้พื้นที่ในการเขียนและได้ชื่อบล็อกในการสื่อสาร สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คืออุดมการณ์ในการเขียนบล็อก ซึ่งเรื่องนี้ผมเขียนในบล็อกของผมเองหลายครั้งแล้ว และก็ขอนำมาเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านอีกครั้ง เพราะนี่คือจุดประสงค์ที่แท้จริงของการทำบล็อก Projectlib และ Libraryhub 10 ข้อนี้เป็น 10 ข้อจากใจผม ซึ่งมีดังนี้

1. วงการบรรณารักษ์และห้องสมุดในประเทศไทยต้องพัฒนาและปรับปรุงตนเองมากกว่าที่เป็นอยู่ในตอนนี้
2. ห้องสมุดถือเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ของคนในสังคม
3. การนำสิ่งต่างๆ รอบๆ ตัวมาประยุกต์ใช้การทำงาน เช่น การนำ MSN มาใช้เพื่อตอบคำถามออนไลน์ ฯลฯ
4. การอ่านมากๆ ทำให้สมองของเราแข็งแรง พัฒนาความรู้ และต่อยอดได้เยอะขึ้น
5. ลบภาพบรรณารักษ์ยุคเก่า และสร้างภาพลักษณ์บรรณารักษ์ยุคใหม่
6. งานด้านบรรณารักษ์ และห้องสมุดสามารถนำไปต่อยอดเพื่อการประกอบอาชีพอื่นๆ ได้ด้วย
7. อยากบอกว่าข่าววงการบรรณารักษ์ทั่วโลกมีมากมาย แต่ในประเทศไทยไม่ค่อยมีใครนำเสนอเลย
8. งานห้องสมุดมีมากกว่าแค่นั่งเฝ้าหนังสือ
9. ห้องสมุดก็มีเรื่องสนุกๆ มากมาย ไม่ได้น่าเบื่อเหมือนที่หลายๆ คนคิดนะครับ
10. สำคัญที่สุดแล้วคือ ผมรักวิชาชีพนี้มาก และเป็นความใฝ่ฝันตั้งแต่เด็ก

เขียนบล็อกไม่ใช่เรื่องยาก

เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้วไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ในการเขียน ชื่อบล็อกและอุดมการณ์ของบล็อก เรื่องยากที่หลายๆ คนชอบพูดถึงก็คือ ?แล้วจะเขียนเรื่องอะไรลงในบล็อก? คำแนะนำต่อจากนี้ก็มาจากเพื่อนผมอีกเช่นกัน เพื่อนผมบอกว่า ?ให้เราคิดว่าบล็อกก็เหมือนไดอารี่เล่มหนึ่งของเรา เราอยากเขียนอะไรลงไปก็เขียนได้ จะเล่าเรื่องราวในชีวิตประจำวันก็ได้ เอารูปมาลงก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเขียนเป็นทางการมากก็ได้? เพียงแค่นี้แหละครับทำให้ความคิดผมมองการเขียนบล็อกว่าง่าย ผมจับเอาเรื่องการทำงานในแต่ละวัน ข่าวสาร และความคิดเห็นของผมใส่ลงไปในบล็อกทุกวัน วันแรกๆ อาจจะเขียนแค่สามสี่บรรทัด พอผ่านไปสักเดือนผมก็สามารถเขียนได้มากขึ้นเรื่อยๆ เอง

ตัวอย่างแนวทางในการเขียนเรื่องในบล็อก Projectlib และ Libraryhub

– นำบทความจากบล็อกบรรณารักษ์ ห้องสมุดต่างประเทศมาแปล
– ประชาสัมพันธ์กิจกรรมงานเสวนา สัมมนา ที่เกี่ยวกับวงการบรรณารักษ์ ห้องสมุด หรืองานอื่นๆ ที่น่าติดตาม
– แนะนำห้องสมุดที่ผมไปเยี่ยมชมด้วยการถ่ายรูปและเล่าเรื่องราวห้องสมุด
– ตำแหน่งงานห้องสมุดก็สามารถนำมาเขียนเป็นเรื่องเป็นราวได้
– เทคโนโลยีที่ห้องสมุดและบรรณารักษ์ควรติดตาม
– คลิปวีดีโอจาก Youtube ที่พูดถึงวงการห้องสมุด
นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้นนะครับ อย่างที่บอกคือเราสามารถเขียนได้ทุกเรื่อง ขอแค่เราฝึกและเขียนบ่อยๆ เราก็จะชินไปเอง

เครื่องมือฟรีๆ บนโลกออนไลน์ที่ช่วยให้คนรู้จักเครือข่ายของเรา

เมื่อเรามีบล็อกส่วนตัวแล้ว สิ่งหนึ่งที่เราอยากทำให้มันเกิดคือการให้คนอื่นได้เข้ามาอ่าน และเข้ามาแสดงความคิดเห็น ยิ่งเยอะเท่าไหร่ก็ยิ่งดี เพราะถือว่าเราได้ฝึกฝีมือเราไปเรื่อยๆ ซึ่งเครื่องมือฟรีๆ ที่ผมนำมาใช้สร้างเครือข่ายบรรณารักษ์ออนไลน์ ได้แก่

– จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) มีไว้สำหรับการอัพเดทข่าวสารความเคลื่อนไหวของบล็อกให้เพื่อนๆ ติดตาม
– MSN / Gtalk มีไว้สำหรับสนทนาออนไลน์ และตอบคำถามออนไลน์กับเพื่อนๆ สมาชิก
– Skype มีไว้สนทนาออนไลน์และประชุมงานออนไลน์ (คุยเป็นกลุ่มเครื่องมือนี้ขอแนะนำ)
– Hi5 ? Librarian in Thailand มีไว้รวบรวมกลุ่มบรรณารักษ์ที่เล่น hi5
– Facebook มีไว้พูดคุย ตอบคำถาม ประชาสัมพันธ์เรื่องราวของบล็อก (กระแสกำลังมาแรง)
– Twitter มีไว้กระจายข่าวสารให้เพื่อนๆ นอกวิชาชีพได้เข้าใจถึงงานห้องสมุดและบรรณารักษ์
– Slideshare มีไว้เผยแพร่สไลด์ไฟล์นำเสนอในงานเสวนาต่างๆ ซึ่งเป็นสไลด์ที่ผมทำเอง

นี่ก็เป็นเพียงเครื่องมือฟรีๆ ส่วนหนึ่งที่ผมใช้อยู่ และเครื่องมืออีกส่วนที่ไม่ได้กล่าวจริงๆ ก็ยังมีอยู่อีกมาก ซึ่งหากเพื่อนๆ มีเวลาก็ลองเข้าไปอ่านในบล็อกของผมต่อได้ เนื่องจากเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ดังนั้นบล็อกหรือเว็บไซต์ของห้องสมุดก็ควรจะตามให้ทันด้วย

การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่จาก Projectlib สู่บ้านใหม่ Libraryhub

หลังจากที่ดำเนินการสร้างเครือข่ายบรรณารักษ์ออนไลน์ได้ระยะหนึ่ง บล็อก Projectlib ที่อาศัยของฟรีอย่างเดียวก็มีความต้องการที่จะสร้างและพัฒนาเครือข่ายให้สมบูรณ์ขึ้นไปอีก ดังนั้นจึงมีการศึกษาเรื่องการเปลี่ยนชื่อ การย้ายพื้นที่ของบล็อก ซึ่งพบว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ต้องมีการลงทุน (เสียค่าใช้จ่าย) โดยหลังจากที่ปรึกษาพี่ๆ ในวงการเว็บไซต์หลายคน ผมจึงได้ข้อสรุปในการลงทุนครั้งนี้

จะสังเกตได้ว่าค่าใช้จ่ายที่ต้องเสีย 1 ปีเพียงแค่ 700 บาทซึ่ง คิดเฉลี่ยแล้ววันละไม่ถึง 2 บาท เป็นการลงทุนที่ไม่มากเกินไปหรอกครับ เทียบกับผลที่ได้แล้วมันคุ้มกว่ามาก ได้ความเป็นส่วนตัวของบล็อก แถมยังเพิ่มลูกเล่นให้บล็อกเราได้อีกมากมาย

กิจกกรมจากโลกออกไลน์สู่โลกแห่งความเป็นจริง

นอกจากกิจกรรมออนไลน์แล้ว ผมให้ความสำคัญกับการจัดกิจกรรมบนโลกแห่งความเป็นจริงด้วย ซึ่งที่ผ่านมาก็มีกิจกรรมหลายรูปแบบ เช่น

– งาน Libcamp คืองานสัมมนาแบบไม่เป็นทางการของกลุ่มเครือข่ายบรรณารักษ์รุ่นใหม่ ซึ่งปีที่แล้วจัดไป 3 ครั้ง งานดังกล่าวได้รับความร่วมมือจากหลายๆ องค์กร ซึ่งทำให้ผู้เข้าร่วมงานไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แถมยังได้รับความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาบรรณารักษ์รุ่นใหม่ด้วย
– งานสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งมีหลายองค์กรชวนผมไปช่วยจัด ก็ได้รับความสนใจจากคนในองค์กรต่างๆ เข้าร่วมอย่างดี
– ตัวกลางในการรับบริจาคหนังสือให้ห้องสมุดที่ยังขาดแคลนหนังสือ

นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างนะครับ ผมให้ความสำคัญทั้งกิจกรรมออนไลน์ แต่ก็ไม่ได้ละเลยกิจกรรมในโลกแห่งความเป็นจริงด้วย

อนาคตและทิศทางของเครือข่ายบรรณารักษ์ออนไลน์

ทิศทางของเครือข่ายบรรณารักษ์ออนไลน์ในอนาคต การเพิ่มบทบาทของเครือข่ายต่อวงการบรรณารักษ์และห้องสมุดจะมีเพิ่มขึ้น โดยอาจจะทำความร่วมมือกับองค์กรที่เกี่ยวกับการพัฒนาวงการห้องสมุด เช่น สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย หอสมุดแห่งชาติ หรือองค์กรอื่นๆ ซึ่งการสร้างเครือข่ายและร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นสิ่งที่วิชาชีพกำลังต้องการในตอนนี้ นอกจากการสร้างเครือข่ายความร่วมมือแล้ว กิจกรรมสู่ภูมิภาคจะมีมากขึ้นด้วยเนื่องจากสมาชิกของบล็อก Projectlib และ Libraryhub ซึ่งมีกระจายตัวอยู่หลายจังหวัด และช่วงนี้มีแผนที่จะเขียนหนังสือสำหรับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ด้วย ซึ่งคาดว่าปีหน้าจะมีหนังสือออกมาให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน

บทสรุปแห่งความสำเร็จ

ความสำเร็วของบล็อก Projectlib และ Libraryhub ผมคงไม่วัดด้วยการบอกว่ามีจำนวนเรื่องที่เขียนและสมาชิกมากเท่าไหร่ แต่ความสำเร็จที่ผมได้จากการเขียนและสร้างชุมชนแห่งนี้คือ การที่วงการบรรณารักษ์และห้องสมุดตื่นตัวกันเรื่องการพัฒนามากกว่า จากสามปีที่แล้วที่ผมเปิดบล็อกในช่วงนั้นผมแทบจะหาคนที่เขียนเรื่องห้องสมุดไม่ได้ จนวันนี้ห้องสมุดหลายๆ ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องเว็บไซต์และบล็อก เพียงเท่านี้แหละครับผมก็พอใจมากแล้ว

บทความที่จะทำให้รู้จักผมเพิ่มเติม

เจ้าของบล็อก projectlib.wordpress.com – http://www.librarianmagazine.com/VOL1NO7/projectlib.html
Projectlib – Librarian 2.0 – http://tag.in.th/interview?show=projectlib
มาทำความรู้จักกับเจ้าของ Libraryhub – http://www.libraryhub.in.th/my-portfolio/

เอาเป็นว่าหากอ่านบนบล็อกแล้วรู้สึกว่ามันยาวเกินไป ผมก็อนุญาติที่จะให้เพื่อนๆ ดาวน์โหลดแล้ว print ไปอ่านครับ
โหลดได้ที่ http://www.libraryhub.in.th/wp-content/uploads/2011/04/Projectlib-Libraryhub.pdf

เอาเป็นว่าก็หวังว่าจะเป็นการกลับมาอีกครั้งที่เพื่อนๆ จะให้การต้อนรับผมนะ

สรุปเรื่องห้องสมุดและบรรณารักษ์ยอดฮิตประจำเดือนมกราคม 2554

การสรุปเรื่องยอดฮิตของบล็อกห้องสมุดและบรรณารักษ์ประจำเดือนมกราคมมาแล้วครับ
เดือนนี้เป็นเดือนที่คนเข้าบล็อกเงียบเหงามากๆ เลย ไม่รู้ว่ามีใครยังอ่านอยู่บ้าง
แต่ช่างเถอะครับ ผมเขียนเพราะอยากเขียน ใครอยากอ่านก็อ่านแล้วกัน

เดือนมกราคมที่ผ่านมา บล็อกเรื่องไหนได้คะแนนนิยมมากที่สุด 10 อันดับ

1. 3% – เก็บตกงานสัปดาห์ห้องสมุด ม.รังสิต
2. 3% – โฆษณาการอ่านทำให้เกิดสติปัญญา (Ad. by Posttoday)
3. 2% – เปรียบเทียบข้อดีของหนังสือฉบับกระดาษกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
4. 2% – คลิปวีดีโอพบรักกันในห้องสมุด (Love in the library)
5. 2% – Infographic : เมื่อเราอยากแชร์ข้อมูลที่น่าสนใจให้คนอื่น
6. 2% – สัปดาห์ห้องสมุด ม.รังสิต ตอน เครือข่ายทางสังคมกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต
7. 2% – ม.ราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ รับบรรณารักษ์
8. 2% – ต้อนรับงาน WUNCA 23 ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
9. 1% – วารสารห้องสมุด IFLA Journal ฉบับเดือนธันวาคม 2010
10. 1% – วีดีโอเสวนาก้าวทันสื่อออนไลน์ ในงานสัปดาห์ห้องสมุด ม.รังสิต

ปล. เรื่องยอดฮิตมีเกณฑ์ในการให้คะแนนเรื่องยอดฮิตมาจาก จำนวนคนเข้าดู, จำนวนคนคอมเม้นต์, จำนวนเรื่องที่ถูกอ้างอิง

เอาเป็นว่าตรงใจหลายๆ คนหรือปล่าวครับ คะแนนเหล่านี้มันจะถูกเก็บสะสมต่อไปเรื่อยๆ นะครับ
ดังนั้นหากเพื่อนๆ ชอบเรื่องไหนเป็นพิเศษก็โหวตกันได้ (ด้านล่างของบทความจะมีรูปดาวให้ใส่คะแนนได้)

สำหรับเดือนกุมภาพันธ์เรื่องไหนจะได้รับความนิยม เรามาลุ้นได้ในวันที่ 1 มีนาคมนะครับ

สรุปเรื่องห้องสมุดและบรรณารักษ์ยอดฮิตประจำเดือนธันวาคม 2553

การสรุปเรื่องยอดฮิตของบล็อกห้องสมุดและบรรณารักษ์ประจำเดือนธันวาคมมาแล้วครับ
เดือนนี้เป็นเดือนที่คนเข้าบล็อกของผมน้อยกว่าเดือนที่แล้ว อาจจะเนื่องมาจากวันหยุดเยอะ

เดือนธันวาคมที่ผ่านมา บล็อกเรื่องไหนได้คะแนนนิยมมากที่สุด 10 อันดับ

1. 25% – เพื่อนๆ คิดยังไงกับบทความ “ว่าไงนะ บรรณรักษ์ตายแล้วหรือ”
2. 17% – แนวโน้มของ Social Media กับงานห้องสมุดในปี 2011
3. 14% – สรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook#2
4. 14% – คำว่า CYBRARIAN ย่อมาจากอะไร
5. 8% – เทศกาลให้หนังสือเป็นของขวัญ ครั้งที่ 1 (Book For Gift 2010)
6. 7% – สรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook#1
7. 7% – ไอเดียการจัดต้นคริสต์มาสในห้องสมุดทั่วโลก
8. 7% – กลุ่มบรรณารักษ์ไทย (Librarian in Thailand) ใน Facebook
9. 6% – การแบ่งปันความรู้คือพลังอันยิ่งใหญ่ (Sharing Knowledge is Power)
10. 5% – วีดีโอเมื่อบรรณารักษ์กลายเป็นมนุษย์ดัดแปลง Cybrarian

ปล. เรื่องยอดฮิตมีเกณฑ์ในการให้คะแนนเรื่องยอดฮิตมาจาก จำนวนคนเข้าดู, จำนวนคนคอมเม้นต์, จำนวนเรื่องที่ถูกอ้างอิง

เอาเป็นว่าตรงใจหลายๆ คนหรือปล่าวครับ คะแนนเหล่านี้มันจะถูกเก็บสะสมต่อไปเรื่อยๆ นะครับ
ดังนั้นหากเพื่อนๆ ชอบเรื่องไหนเป็นพิเศษก็โหวตกันได้ (ด้านล่างของบทความจะมีรูปดาวให้ใส่คะแนนได้)

เดือนมกราคมเรื่องไหนจะได้รับความนิยม เรามาลุ้นได้ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์นะครับ แล้วพบกับการรายงานแบบนี้ได้ใหม่ทุกต้นเดือน

นายห้องสมุดทักทายบรรณารักษ์ในวันปีใหม่ (Happy New Year 2011)

เนื่องในวันนี้เป็นวันขึ้นปีใหม่ 2554 (วันแรกของปี 2554) วันนี้ผมก็มี ส.ค.ส. มาอวยพรให้เพื่อนๆ เหมือนกัน
เอาเป็นว่าไปดู ส.ค.ส. ของผมก่อนดีกว่าแล้วก็รับคำอวยพรของผมไปด้วยนะครับ

การ์ดอวยพรด้านบนเป็นภาพของห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีครับ

ในปี 2554 นี้ ผมในฐานะบล็อกเกอร์ห้องสมุดและบรรณารักษ์ก็ขออวยพรให้เพื่อนๆ :-
– ขอให้มีความสุขกาย สุขใจ คิดสิ่งใดก็ขอให้ได้ตามที่คิด
– สุขภาพร่างกาย และจิตใจดี ปราศจากโรคภัยเบียดเบียน
– ประสบความสำเร็จในการทำงาน เรียน หรือพัฒนางานด้านห้องสมุดหรือบรรณารักษ์
– พบเจอแต่สิ่งที่ดี และผ่านพ้นสิ่งเลวร้ายไปได้
– ฯลฯ

เอาเป็นว่าวันนี้ก็ขออวยพรให้เพื่อนๆ อย่างเดียวก่อนแล้วกันนะครับ

สุขสันต์วันเกิด LISNews.org ปีที่ 11

ไม่ได้เข้าไปอ่านข่าวห้องสมุดและบรรณารักษ์หลายวัน วันนี้ได้ฤกษ์เข้า Lisnews.org
ก็เจอสิ่งแปลกๆ นิดหน่อยนั่น คือ “LISNews : This Site Goes To 11

เว็บไซต์ที่รวบรวมข่าวสารของวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
แถมด้วยบล็อกที่มีบรรณารักษ์ร่วมกันเขียนเยอะที่สุดในโลก
อย่าง LISNews ครบรอบ 11 ปีแล้ว

ผมอาจจะมาอวยพรช้ากว่าชาวบ้านนิดนึง แต่ก็อยากอวยพรให้
LISNews จงอยู่คู่กับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ของโลกไปนานนาน

สำหรับเพื่อนๆ ที่ไม่รู้จัก LISNews.com ผมก็ขอแนะนำอย่างยิ่งครับ
เพราะเขามีเรื่องใหม่ๆ ในวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มาให้อ่านทุกวัน
แถมเรื่องที่ลงในเว็บนี้มาจากการร่วมกันเขียนของเหล่าบรรณารักษ์จากทั่วโลกด้วย

สำหรับคนที่เข้ามาที่เว็บนี้อยู่แล้ว ก็เข้ามาอ่านได้เรื่อยๆ นะครับ
ผมชอบที่เว็บนี้มี podcast ให้ฟังด้วย ลองเข้าไปดูได้ที่ http://lisnews.org/topic/lisnews_podcast

สำหรับวันนี้ผมต้องขอตัวก่อนนะครับ

เว็บไซต์ Lisnews.org = http://lisnews.org/

The edublogaward 2009 สาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์

ปีนี้ก็ 2010 แล้วนะครับ ผมอาจจะนำเรื่องนี้มารายงานช้าไปหน่อย
แต่อย่างน้อย The edublogaward 2010 ก็ยังไม่เริ่มประกาศผลนะครับ

The edublogaward 2009 รางวัลนี้ได้แจกให้แก่บล็อกในวงการศึกษาดีเด่นหลายสาขานะครับ
เช่น บล็อกส่วนตัว บล็อกแบบกลุ่ม บล็อกของอาจารย์ บล็อกของนักเรียน บล็อกของชั้นเรียน ฯลฯ

แน่นอนครับในกลุ่มด้านการศึกษานี้คงต้องมีรางวัลเกี่ยวกับ บล็อกห้องสมุดและบรรณารักษ์ ด้วย

ดังนั้นผมจึงของนำมารายงานให้เพื่อนๆ ได้รับทราบกันนะครับ
โดยผู้ที่ชนะเลิศในปี 2009 คือ บล็อก Never Ending Search ซึ่งเป็นบล็อกภายใต้ schoollibraryjournal นั่นเอง
ส่วนอันดับที่สอง คือ บล็อก Bright Ideas ซึ่งเป็นของ School Library Association of Victoria
ส่วนอันดับที่สาม คือ Library Tech Musings ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น thedaringlibrarian

เอาเป็นว่าผมก็ลองเข้าไปดูบล็อกเหล่านี้มาแล้วแหละ นับว่าน่าสนใจจริงๆ
ดังนั้นผมว่าเพื่อนๆ เซฟลิ้งค์พวกนี้แล้วลองหาเวลาเข้าไปอ่านบ้างนะครับ

อ๋อ นอกจากนี้แล้ว ในบล็อกวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ที่ถูกเสนอชื่อและเป็นคู่แข่งในการประกวดครั้งนี้ยังมีอีกมากมาย เช่น

  1. A Fuse #8 Productions
  2. Bloggit
  3. Bright Ideas
  4. Blue Skunk
  5. Cathy Nelson?s Professional Thoughts
  6. Hey Jude
  7. LCS ES Media Blog
  8. Librarian by Day Blog
  9. Library Tech Musings
  10. Lucacept
  11. My Mind Gap
  12. Never Ending Search
  13. Not So Distant Future
  14. The Unquiet Librarian
  15. The Unquiet Library
  16. The Waki Librarian
  17. The Web Footed Book Lady
  18. Wired Librarian
  19. World?s Strongest Librarian

คะแนนในการตัดสิน The edublogaward 2009 สาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์

เอาเป็นว่าน่าสนใจทุกบล็อกเลย จริงๆ แล้วในเมืองไทยผมอยากให้มีการจัดประกวดบล็อกด้านการศึกษาแบบนี้บ้างจัง
แต่คงต้องมีการวัดผลที่เป็นมาตรฐานกว่าที่ผ่านมาหน่อยนะครับ เพราะเท่าที่เห็นก็คือ พวกเยอะมักได้รางวัล
ซึ่งบางทีแล้วไม่ยุติธรรมต่อบล็อกหรือเว็บที่มีประโยชน์สักเท่าไหร่ ยังไงก็ฝากไว้แค่นี้แหละครับ

เว็บไซต์ทางการของงาน The edublogaward 2009 – http://edublogawards.com/2009/
ถ้าหากเพื่อนๆ อยากรู้เกี่ยวกับบล็อกการศึกษาที่ประกวดในปีก่อนหน้านี้ก็สามารถเข้าไปดูได้ที่? http://edublogawards.com/

คำมั่นสัญญา : 1 วัน 1 เรื่องกลับมาแล้วครับ

หลายเดือนแล้วที่ผมไม่ตรงต่อเวลาในเรื่องการอัพบล็อก “ผมขอโทษนะครับ”
เมื่อเวลาผ่านไปยิ่งนานยิ่งทำให้ผมรู้สึกว่าเหมือนหายไปจากวงการบรรณารักษ์ซะเยอะเลย

วันนี้ผมจึงขอเริ่ม “อุดมการณ์เดิม” ของผม ซึ่งเป็นอุดมการณ์สมัยตอนยังเขียน projectlib
ยังจำประโยคนี้กันได้มั้ยครับ “365 days in library” นั่นหมายถึง 1 วัน 1 เรื่องห้องสมุดจะกลับมา

เรื่องราวต่างๆ ยังมีให้เขียนมากมายเช่นเดิม แต่ผมอาจจะเปลี่ยนรูปแบบการเขียนนิดหน่อย
เพราะเข้าใจว่าหลายคนไม่อยากอ่านอะไรยาวๆ ดังนั้นการเขียนของผมจะแตกต่างไปจากเดิมบ้าง
เพื่อให้เพื่อนๆ ที่ไม่ค่อยมีเวลา เข้ามาบล็อกนี้และใช้เวลาน้อยที่สุดแล้วกัน

วันนี้ก็เขียนแค่นี้แหละครับมาทักทายเล็กน้อย เดี๋ยวรออ่านเรื่องวงการบรรณารักษ์และห้องสมุดกันต่อเลยแล้วกัน

ทำไมผมถึงเขียนบล็อกเกี่ยวกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์

เรื่องเก่าเล่าใหม่วันนี้เป็นเรื่องที่มาและที่ไปของการกำเนิดบล็อกวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์แห่งนี้
ผมเขียนบล็อกเรื่องนี้ตั้งแต่ตอนอยู่ที่ projectlib.wordpress.com เรื่อยมาจนถึง projectlib.in.th และ libraryhub.in.th

10-reason-i-write-blog-library

เหตุผลที่ผมเขียนไม่ได้มาจากการที่ถูกองค์กรบังคับแต่อย่างใด
เพราะจริงๆ แล้ว Projectlib และ Libraryhub ก็ไม่ได้มีสังกัดเหมือนกับบล็อกห้องสมุดที่อื่นๆ

คำถามที่ผมเจอมาบ่อย คือ ?ทำไมถึงเขียนบล็อกห้องสมุด ในเมื่อมีเรื่องที่น่าเขียนอย่างอื่นเยอะกว่า?

นั่นสิเนอะ “ทำไม” เอาเป็นว่าไปดูเหตุผลของผมเลยดีกว่า

1. อยากเห็นวงการบรรณารักษ์ และห้องสมุดในประเทศไทยพัฒนาและปรับปรุงตนเองมากกว่านี้

2. ห้องสมุดถือเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ของคนในสังคม ไม่ว่าจะยากดีมีจน ห้องสมุดในชุมชนก็บริการฟรีนะครับ

3. อยากให้เพื่อนๆ รู้จักการนำสิ่งต่างๆ มาประยุกต์ใช้กับวิชาชีพของตัวเอง ซึ่งในบางครั้งเราอาจจะคาดไม่ถึงกับเรื่องบางเรื่อง เช่น การนำ MSN มาใช้ในงานตอบคำถามออนไลน์ ฯลฯ

4. การอ่านมากๆ ทำให้สมองของเราแข็งแรง พัฒนาความรู้ และต่อยอดได้เยอะขึ้น

5. ลบภาพบรรณารักษ์ยุคเก่า และสร้างภาพบรรณารักษ์ยุคใหม่ (จำไว้นะครับบรรณารักษ์ไม่ได้มีแต่ผู้หญิง อิอิ)

6. งานด้านบรรณารักษ์ และห้องสมุดสามารถนำไปต่อยอดเพื่อการประกอบอาชีพอื่นๆ ได้ด้วย

7. อยากบอกว่าข่าววงการบรรณารักษ์ทั่วโลกมีมากมาย แต่ในประเทศไทยไม่ค่อยมีใครนำเสนอเลย

8. งานห้องสมุดมีมากกว่าแค่นั่งเฝ้าหนังสือก็แล้วกัน

9. ห้องสมุดก็มีเรื่องสนุกๆ มากมาย ไม่ได้น่าเบื่อเหมือนที่หลายๆ คนคิดนะครับ

10. สำคัญที่สุดแล้วคือ ผมรักวิชาชีพนี้มาก และเป็นความใฝ่ฝันตั้งแต่เด็ก(ขอบอกว่าเกิดมาเพื่อบรรณารักษ์จะมีใครว่าหรือปล่าว)

เป็นยังไงกันบ้างครับกับเหตุผลดังกล่าว ชัดเจนกันมากขึ้นมั้ยครับ
คำตำหนิ หรือฉายาที่ตั้งให้ผมเรื่อง ?บรรณารักษ์แหกคอก? ผมก็ขอรับไว้ด้วยใจครับ
ไม่ว่าจะถูกด่าว่า ?โง่หรือปล่าวที่เขียนบล็อกแล้วไม่ได้อะไรตอบแทน? หรือ ?เขียนไปแล้วจะมีใครมาอ่านกัน?

เอาเป็นว่าวันนี้ผมก็ยังคงอยู่กับเพื่อนๆ ร่วมวงการไปแบบนี้แหละครับ
ยังไงก็ขอให้ช่วยกันติดตามบล็อกนี้กันต่อไปด้วยนะครับ

ปล. ช่วงนี้อัพเดทบล็อกไม่บ่อยต้องขออภัยด้วยนะครับ เนื่องจากภาระงานประจำเยอะไปหน่อย

รวมลิงค์ที่ผมชอบเข้าไปอ่านข่าวบรรณารักษ์

มีหลายคนส่งเมล์มาถามเกี่ยวกับเรื่องข่าวบรรณารักษ์และวงการห้องสมุดจากทั่วโลก ว่า
ผมเข้าไปอ่านจากที่ไหนบ้างเพราะเห็นว่าผมอัพเรื่องราวได้เยอะแยะเลย จึงอยากตามอ่านบ้าง

topsitelib

ตัวอย่างเมล์นึงที่ส่งมาให้ผม ดังนี้
“มีเรื่องจะรบกวนนะคะ ทราบมาว่าคุณวายจะอ่านเรื่องของห้องสมุดจากต่างประเทศ อยากจะขอ link ด้วยคนได้ไหมคะ เผื่อว่าจะอ่านบ้างค่ะ”

เอาเป็นว่าเพื่อไม่ให้ขัดศรัทธา…
ผมจึงขอแนะนำเว็บไซต์ที่ผมเข้าไปอ่านประจำและรู้สึกว่าอัพเดทได้เรื่อยๆ นะครับ

เว็บไซต์ที่ผมเข้าไปอ่านประจำ 5 เว็บไซต์ มีดังนี้

1. Librarian 1.5
http://lib1point5.wordpress.com/

2. ALA TechSource (American Library Association)
http://www.techsource.ala.org/blog/

3. Tame the web
http://tametheweb.com/

4. Librarian in black
http://librarianinblack.net/librarianinblack/

5. Librarian by day
http://librarianbyday.net/

เอาเป็นว่าผมเลือกมาให้แล้ว 5 เว็บไซต์แต่หากเพื่อนๆ ยังอยากอ่านเพิ่มอีก
ก็ลองดูทางด้านขวามือกรอบล่างๆ นะครับ เพื่อนๆ จะเห็น “Library Blog
นั่นแหละครับ เข้าไปเลือกดูได้เลย ทุกเว็บมีประโยชน์ทั้งนั้นครับ
ทำให้อัพเดทข่าวสารวงการบรรณารักษ์และห้องสมุดจากทั่วโลกทันกระแสแน่นอน

สำหรับวันนี้ผมไปก่อนนะครับ ใครมีเว็บไซต์ดีๆ ก็เอามาแบ่งปันกันได้นะครับ