Blogging Workshop @ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

วันนี้มีการอบรมเรื่อง “ใช้ blog ดึงลูกค้า” ที่ ศูนย์ความรู้กินได้ ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี
ผมจึงขอสรุปการบรรยายดังกล่าวให้เพื่อนๆ คนอื่นๆ ได้อ่านกันบ้างแล้วกัน

blog-photo

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการอบรม
ชื่อการอบรม : ใช้ blog ดึงลูกค้า
ผู้บรรยาย : คุณบุญเลิศ อรุณพิบูลย์
วันและเวลาในการอบรม : วันที่ 8 สิงหาคม 2553
สถานที่ : ห้องฝึกอบรม ชั้น 2 ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

สรุปการอบรมช่วงเช้า
– ความแตกต่างระหว่าง Web, Blog และ Wiki
– แนะนำหลักการและแนวคิดของเว็บไซต์ Web 2.0
– แนะนำการสมัคร wordpress.com เพื่อสร้างบล็อกส่วนตัว
– การตั้งชื่อบล็อกให้น่าสนใจต่อการทำธุรกิจของเรา
– กำหนดรหัสผ่านอย่างไรไม่ให้ถูก hack
– ทำความรู้จักส่วนต่างๆ ของ wordpress เช่น header, blog, widgets
– การตั้งค่าต่างๆ ใน wordpress.com เช่น ชื่อบล็อก เวลา ภาษา
– ความแตกต่างระหว่าง page กับ post
– การเลือกธีม และ widgets ใน wordpress.com
– การเขียน blog 1 เรื่อง ต้องทำอย่างไรบ้าง = ชื่อเรื่อง ชื่อลิงค์ เนื้อเรื่อง tag หมวดหมู่ ฯลฯ

สรุปการอบรมช่วงบ่าย
– การปรับแต่งรูปภาพก่อนนำเข้าบล็อก & การใช้โปรแกรม Xnview
– ข้อแตกต่างระหว่าง wordpress.com กับ wordpress.org
– การจำลองการติดตั้ง wordpress บน server ด้วยโปรแกรม server2go
– การอัพโหลดรูป วีดีโอ ไฟล์ต่างๆ เข้าบล็อก
– การติดตั้งธีมและการเลือกธีมเพื่อใช้ในบล็อก
– การติดตั้ง plugin และการเลือก Plugin เพื่อใช้ในบล็อกสำหรับการประกอบธุรกิจ
– การใช้งาน Plugin WP e-commerce

นี่ก็เป็นการสรุปแบบคร่าวๆ ให้เพื่อนๆ ที่ไม่ได้มาได้อ่านนะครับ
จริงๆ แล้วเรื่องของการทำบล็อกผมว่าคงต้องใช้เวลาในการอบรมมากกว่านี้

เวลาเพียง 1 วันอาจจะทำให้เรารู้จักการใช้งานแบบคร่าวๆ
ซึ่งถ้าต้องลงรายละเอียดและการทำงานขั้นสูงคงต้องฝึกฝนด้วยตัวเอง
หรือเกิดจากการทดลองใช้งานจริงๆ และจะทำให้มีประสบการณ์ในการทำงานจริงๆ

สำหรับคนที่ไม่ได้มาในวันนี้ ห้องสมุดประชาชนก็จะจัดทำวีดีโอเพื่อการสอนทำบล็อกนี้ด้วย
ไม่เพียงแค่การอบรมในวันนี้เท่านั้นนะครับ แต่รวมถึงการอบรม เสวนา กิจกรรมต่างๆ ของห้องสมุด
ที่ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีจะมีการบันทึกวีดีโอและตัดต่อวีดีโอเพื่อนำมาให้บริการภายหลังด้วย

ประมวลรูปภาพในงานฝึกอบรมครั้งนี้

[nggallery id=26]

ทำไมผมถึงเขียนบล็อกเกี่ยวกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์

เรื่องเก่าเล่าใหม่วันนี้เป็นเรื่องที่มาและที่ไปของการกำเนิดบล็อกวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์แห่งนี้
ผมเขียนบล็อกเรื่องนี้ตั้งแต่ตอนอยู่ที่ projectlib.wordpress.com เรื่อยมาจนถึง projectlib.in.th และ libraryhub.in.th

10-reason-i-write-blog-library

เหตุผลที่ผมเขียนไม่ได้มาจากการที่ถูกองค์กรบังคับแต่อย่างใด
เพราะจริงๆ แล้ว Projectlib และ Libraryhub ก็ไม่ได้มีสังกัดเหมือนกับบล็อกห้องสมุดที่อื่นๆ

คำถามที่ผมเจอมาบ่อย คือ ?ทำไมถึงเขียนบล็อกห้องสมุด ในเมื่อมีเรื่องที่น่าเขียนอย่างอื่นเยอะกว่า?

นั่นสิเนอะ “ทำไม” เอาเป็นว่าไปดูเหตุผลของผมเลยดีกว่า

1. อยากเห็นวงการบรรณารักษ์ และห้องสมุดในประเทศไทยพัฒนาและปรับปรุงตนเองมากกว่านี้

2. ห้องสมุดถือเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ของคนในสังคม ไม่ว่าจะยากดีมีจน ห้องสมุดในชุมชนก็บริการฟรีนะครับ

3. อยากให้เพื่อนๆ รู้จักการนำสิ่งต่างๆ มาประยุกต์ใช้กับวิชาชีพของตัวเอง ซึ่งในบางครั้งเราอาจจะคาดไม่ถึงกับเรื่องบางเรื่อง เช่น การนำ MSN มาใช้ในงานตอบคำถามออนไลน์ ฯลฯ

4. การอ่านมากๆ ทำให้สมองของเราแข็งแรง พัฒนาความรู้ และต่อยอดได้เยอะขึ้น

5. ลบภาพบรรณารักษ์ยุคเก่า และสร้างภาพบรรณารักษ์ยุคใหม่ (จำไว้นะครับบรรณารักษ์ไม่ได้มีแต่ผู้หญิง อิอิ)

6. งานด้านบรรณารักษ์ และห้องสมุดสามารถนำไปต่อยอดเพื่อการประกอบอาชีพอื่นๆ ได้ด้วย

7. อยากบอกว่าข่าววงการบรรณารักษ์ทั่วโลกมีมากมาย แต่ในประเทศไทยไม่ค่อยมีใครนำเสนอเลย

8. งานห้องสมุดมีมากกว่าแค่นั่งเฝ้าหนังสือก็แล้วกัน

9. ห้องสมุดก็มีเรื่องสนุกๆ มากมาย ไม่ได้น่าเบื่อเหมือนที่หลายๆ คนคิดนะครับ

10. สำคัญที่สุดแล้วคือ ผมรักวิชาชีพนี้มาก และเป็นความใฝ่ฝันตั้งแต่เด็ก(ขอบอกว่าเกิดมาเพื่อบรรณารักษ์จะมีใครว่าหรือปล่าว)

เป็นยังไงกันบ้างครับกับเหตุผลดังกล่าว ชัดเจนกันมากขึ้นมั้ยครับ
คำตำหนิ หรือฉายาที่ตั้งให้ผมเรื่อง ?บรรณารักษ์แหกคอก? ผมก็ขอรับไว้ด้วยใจครับ
ไม่ว่าจะถูกด่าว่า ?โง่หรือปล่าวที่เขียนบล็อกแล้วไม่ได้อะไรตอบแทน? หรือ ?เขียนไปแล้วจะมีใครมาอ่านกัน?

เอาเป็นว่าวันนี้ผมก็ยังคงอยู่กับเพื่อนๆ ร่วมวงการไปแบบนี้แหละครับ
ยังไงก็ขอให้ช่วยกันติดตามบล็อกนี้กันต่อไปด้วยนะครับ

ปล. ช่วงนี้อัพเดทบล็อกไม่บ่อยต้องขออภัยด้วยนะครับ เนื่องจากภาระงานประจำเยอะไปหน่อย

รวมลิงค์ที่ผมชอบเข้าไปอ่านข่าวบรรณารักษ์

มีหลายคนส่งเมล์มาถามเกี่ยวกับเรื่องข่าวบรรณารักษ์และวงการห้องสมุดจากทั่วโลก ว่า
ผมเข้าไปอ่านจากที่ไหนบ้างเพราะเห็นว่าผมอัพเรื่องราวได้เยอะแยะเลย จึงอยากตามอ่านบ้าง

topsitelib

ตัวอย่างเมล์นึงที่ส่งมาให้ผม ดังนี้
“มีเรื่องจะรบกวนนะคะ ทราบมาว่าคุณวายจะอ่านเรื่องของห้องสมุดจากต่างประเทศ อยากจะขอ link ด้วยคนได้ไหมคะ เผื่อว่าจะอ่านบ้างค่ะ”

เอาเป็นว่าเพื่อไม่ให้ขัดศรัทธา…
ผมจึงขอแนะนำเว็บไซต์ที่ผมเข้าไปอ่านประจำและรู้สึกว่าอัพเดทได้เรื่อยๆ นะครับ

เว็บไซต์ที่ผมเข้าไปอ่านประจำ 5 เว็บไซต์ มีดังนี้

1. Librarian 1.5
http://lib1point5.wordpress.com/

2. ALA TechSource (American Library Association)
http://www.techsource.ala.org/blog/

3. Tame the web
http://tametheweb.com/

4. Librarian in black
http://librarianinblack.net/librarianinblack/

5. Librarian by day
http://librarianbyday.net/

เอาเป็นว่าผมเลือกมาให้แล้ว 5 เว็บไซต์แต่หากเพื่อนๆ ยังอยากอ่านเพิ่มอีก
ก็ลองดูทางด้านขวามือกรอบล่างๆ นะครับ เพื่อนๆ จะเห็น “Library Blog
นั่นแหละครับ เข้าไปเลือกดูได้เลย ทุกเว็บมีประโยชน์ทั้งนั้นครับ
ทำให้อัพเดทข่าวสารวงการบรรณารักษ์และห้องสมุดจากทั่วโลกทันกระแสแน่นอน

สำหรับวันนี้ผมไปก่อนนะครับ ใครมีเว็บไซต์ดีๆ ก็เอามาแบ่งปันกันได้นะครับ

Top 25 บล็อกบรรณารักษ์จาก onlinedegrees.org

สวัสดีครับเพื่อนๆ ชาวบรรณารักษ์และห้องสมุดทุกท่าน
ผมขอแนะนำสุดยอดบล็อกบรรณารักษ์ 25 แห่งที่ได้รับความนิยมโดยการรายงานของ onlinedegrees.org

top-librarian-blog

onlinedegrees.org เป็นเว็บไซต์ทางการศึกษาออนไลน์ที่ได้รับความนิยมแห่งหนึ่ง
ซึ่งเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคมที่ผ่านมา ทางเว็บไซต์ได้ประกาศ Top 25 Librarian Blogs
ซึ่งแต่ละบล็อกนี่มีรางวัลการันตีพอสมควร และที่สำคัญเป็นบล็อกในวงการบรรณารักษ์ด้วย

จากการสแกนดูคร่าวๆ ก็มีหลายเว็บที่ผมอ่านประจำด้วยหล่ะครับ
เอาเป็นว่า 25 บล็อกที่สุดยอดในวงการบรรณารักษ์มีอะไรบ้างไปดูกันเลย

1. Never Ending Search – http://www.schoollibraryjournal.com/
2. Bright Ideas – http://slav.globalteacher.org.au/
3. Connie Crosby – http://conniecrosby.blogspot.com/
4. The Daring Librarian – http://www.thedaringlibrarian.com/
5. The Dewey Blog – http://ddc.typepad.com/
6. Annoyed Librarian – http://annoyedlibrarian.blogspot.com/
7. No Shelf Required – http://www.libraries.wright.edu/noshelfrequired/
8. Social Networking in Libraries – http://socialnetworkinglibrarian.com/
9. Peter Scott?s Library Blog – http://xrefer.blogspot.com/
10. Resource Shelf – http://www.resourceshelf.com/
11. What I Learned Today – http://www.web2learning.net/
12. The Travelin? Librarian – http://travelinlibrarian.info/
13. The Law Librarian Blog – http://lawprofessors.typepad.com/law_librarian_blog/
14. The Association for Library Service to Children Blog – http://www.alsc.ala.org/blog/
15. Library Link of the Day – http://www.tk421.net/librarylink/
16. Library Garden – http://librarygarden.net/
17. In the Library with the Leadpipe – http://www.inthelibrarywiththeleadpipe.org/
18. A Librarian?s Guide to Etiquette – http://libetiquette.blogspot.com/
19. Tame the Web – http://tametheweb.com/
20. Librarian By Day – http://librarianbyday.net/
21. TeleRead: Bring the E-Books Home – http://www.teleread.com/
22. The Blah, Blah, Blah Blog – http://neflin.blogspot.com/
23. Closed Stacks – http://closedstacks.wordpress.com/
24. Handheld Librarian – http://handheldlib.blogspot.com/
25. David Lee King – http://www.davidleeking.com/

สำหรับบล็อกบรรณารักษ์ที่ผมเข้าประจำเลยก็มี หมายเลขที่ 5, 6, 9 ,10, 12, 19 ,20, 24, 25 ครับ
เอาเป็นว่าพอเห็นแบบนี้แล้ว ผมคงต้องเข้าไปเยี่ยมชมทุกบล็อกแล้วหล่ะครับ

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ก็อย่าลืมแวะเข้าไปดูกันบ้างนะครับ
และที่สำคัญห้ามลืมเข้า Libraryhub เด็ดขาด (โปรโมทตัวเองบ้าง)

OMG : บล็อกบรรณารักษ์ของผมโดนลอกหรือนี่

อ่านข่าววงการบรรณารักษ์ไปเรื่อยๆ แล้วบังเอิญเจอบทความของตัวเองในบล็อกของคนอื่น
แถมอ่านไปอ่านมาก็ไม่พบข้อความอ้างอิงเลยสักนิด แบบว่าแอบเซ็งนิดนึงนะครับ

libraryhub-copy

เรื่องของเรื่องจริงๆ แล้วก็ไม่อยากจะบ่นหรอกครับ
แต่เหตุการณ์เรื่องลอกบทความแล้วไม่อ้างอิงมันเกิดขึ้นบ่อยมากๆ
แล้วที่สำคัญเป็นบล็อกของวงการห้องสมุดด้วยกันเนี้ยสิ —> ทำกันได้ลง (เสียความรู้สึกมาก)

ผมลองเข้าไปดูบล็อกห้องสมุดแห่งนี้อย่างจริงจังปรากฎว่า
1. ไม่ได้ลอกแค่บทความเดียว (มีหลายบทความ)
2. เอาเนื้อความในบล็อกของผมมาเปลี่ยนจาก “ครับ” เป็น “คะ”
3. เอารูปที่อยู่ในบล็อกของผมมาลงด้วย
4. ไม่พบข้อความที่บอกว่ามาจากบล็อกของผม

เอาเป็นว่าแค่นี้ผมก็เสียความรู้สึกมากมายแล้วครับ

ไม่ได้งกบทความตัวเองหรอกนะครับ
ไม่ได้อยากดังหรือทวงสิทธิอะไรมากมายหรอก
ไม่ได้อยากต้องการคำขอโทษอะไรเลย

แค่ขอให้หยุดพฤติกรรมดังกล่าวก็เท่านั้นเอง

cc-by-nc-sa_340x340

ในบล็อกห้องสมุดแห่งนี้มีการใช้อนุสัญญา creative common ด้วย
แต่ผมไม่แน่ใจว่าเขาจะเข้าใจเรื่องนี้จริงหรือปล่าว หรือแค่ติดเพื่อตามกระแสก็ไม่รู้
เอาเป็นว่าอยากให้ลองศึกษาเรื่องสัญลักษณ์ใน Creative common ให้ดี โดยเฉพาะ “BY” นะครับ

เอาเป็นว่าผมคงไม่เจอเรื่องราวเช่นนี้อีกนะครับ ขอบคุณมากมาย

ปล. ผมไม่บอกนะครับว่าห้องสมุดไหน เอาเป็นว่าถ้ายังมีเหตุการณ์เช่นนี้อีกผมจะเอามาลงอีกแน่ๆ

IBSN – Internet Blog Serial Number

เลขมาตรฐานที่คนในวงการบรรณารักษ์ต้องรู้ เช่น ISBN, ISSN
แต่วันนี้ผมขอนำเสนอเลขมาตรฐานอีกอย่างนึงให้เพื่อนๆ รู้จัก นั่นก็คือ IBSN

libraryhub

IBSN คืออะไร

“The IBSN (Internet Blog Serial Number) is created on February 2, 2006 in answer to a denial from current administration to assign ISSN numbers to Internet blogs.”

แปลให้อ่านง่ายๆ ครับ IBSN คือ
เลขมาตรฐานสำหรับบล็อกบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งถูกจัดตั้งขึ้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2006
เพื่อเป็นเลขที่ใช้ชี้หรืออ้างอิงบล็อกบนอินเทอร์เน็ต

การสมัครก็ง่ายๆ ครับ ไปที่หน้า http://ibsn.org/register.php ได้เลย

แล้วกรอกตัวเลขในช่องที่ปรากฎซึ่งต้องเป็นเลข 10 หลัก และจะขีดขั้น (-) ตรงไหนก็ได้ 4 ขีด

register

จากนั้นก็ให้กรอกข้อมูลเกี่ยวกับบล็อกตามภาพเลยนะครับ

blogggg

URL del blog : ใส่ URL ของบล็อกคุณในช่องนี้
Nombre del blog : ใส่ชื่อของ blog คุณในช่องนี้
e-mail : กรอกอีเมล์ของคุณ
Comentario : ใส่รายละเอียดและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบล็อกของคุณในช่องนี้

จากนั้นให้กดตรงปุ่ม Solicitar แล้วก็จะได้เลข IBSN ครับ

Libraryhub ของผมก็ไปจดเลข IBSN มาแล้วนะ ไม่เชื่อดูดิ

libraryhub_ibsn

เลข IBSN ของผม คือ 0-29-09-19820

สำหรับเพื่อนๆ ที่ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมลองเข้าไปดูที่
http://ibsn.org

สร้างภาพศิลปะจาก twitter แบบง่ายๆ

วันนี้ผมมีของเล่นใหม่มาให้เพื่อนๆ ได้เล่นกัน นั่นก็คือ Twitter Mosaic
หลักการก็ง่ายๆ ครับ คือ การนำรูปเพื่อนๆ ของคุณใน twitter มาเรียงต่อกันเป็นภาพ Mosaic

twittermosaic

วิธีเล่นก็ง่ายๆ ครับ แค่คุณพิมพ์ชื่อ twitter ของคุณในช่อง Username
เช่น ผมพิมพ์ชื่อของผมในช่อง ?ylibraryhub?

จากนั้นก็เลือกรูปเพื่อนๆ ได้ 2 รูปแบบ ดังนี้
– Show Twitter followers
– Show Twitter friends

จากนั้นก็กดตกลงได้เลยครับ (ตัวอย่างที่ผมโชว์ด้านล่างเป็นแบบ follower นะครับ)

Get your twitter mosaic here.

เพื่อนๆ สามารถเอารูปที่โชว์แบบนี้ไปลงและผลิตเป็นสินค้าที่ระลึกได้นะครับ เช่น

twittermosaicproduct

เพื่อนๆ ว่าโอเคมั้ยครับ ยังไงก็ลองเล่นและอัพเดทบล็อกของเพื่อนๆ มาให้ผมดูบ้างหล่ะ

วันนี้ก็ขอตัวไปหาของเล่นอื่นๆ ก่อนนะครับ

เล่าเรื่องเก่าๆ ในงาน Thinkcamp#1

หลังจากเมื่อวันเสาร์ที่ผมไปร่วมงาน Thinkcamp#2 ก็มีคนถามมากมายว่าคืองานอะไร
แล้วงาน Thinkcamp#1 ผมได้ไปหรือปล่าว
ผมเลยขอเอาเรื่องที่ผมเคยเขียนถึง Thinkcamp#1 มาลงให้อ่านอีกสักรอบแล้วกัน

thinkcamp-logo1

ข้อมูลเบื้องต้นของงานนี้
ชื่องาน THINK camp 2009
ชื่อเต็ม THai INtegrated Knowledge camp
วันที่จัดงาน วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552
เวลา 10.00 น. ? 17.15 น.
สถานที่ ห้อง 702, 703 และ 704 ชั้น 7 อาคารมหิตลาธิเบศร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

งานนี้เป็นงานอะไร แนวไหนอ่ะ (ผมขออนุญาตินำข้อความจากเว็บไซต์ THINK camp มาลงเลยนะครับ)

THINK camp คือ งานสัมมนาในลักษณะที่เรียกว่า Unconferenced Pecha Kucha กล่าวคือ การผสมผสานระหว่าง BarCamp กับ Pecha Kucha night โดยผู้ต้องการร่วมงานทุกคนจะมีสิทธิ์เสนอหัวข้ออะไรก็ได้เกี่ยวกับเว็บไซต์ ของคนไทยคนละหนึ่งเรื่องก่อนวันงาน ซึ่งหากต้องการใช้ Slide presentation ประกอบ ก็จะต้องส่งมาล่วงหน้า โดยมีจำนวนจำกัดไม่เกิน 10 แผ่นเท่านั้น

งานสัมมนาในครั้งนี้มีรูปแบบการนำเสนอไม่เหมือนใคร
นั่นคือ ผู้ที่จะมานำเสนอจะต้องเตรียม slide มา 1 slide
ซึ่งภายใน slide จะต้องไม่เกิน 10 หน้าเท่านั้น
และที่สำคัญกว่านั้นคือ 1 หน้าจะถูกเปลี่ยนอัตโนมัติทุกๆ 1 นาที
สรุปง่ายๆ ว่า แต่ละคนจะมีโอกาสพูดเพียงแค่ 10 นาทีเท่านั้นเอง

น่าสนุกใช่มั้ยครับ

ตัวอย่างหัวข้อจากเพื่อนๆ ที่ได้รับการเชิญให้เข้าร่วม
1. คุณสุกรี พัฒนภิรมย์ จากเว็บไซต์ drupal.in.th
พูดเรื่อง ?ชุมชนผู้ใช้ Drupal อย่างเป็นทางการของประเทศไทย?

2. คุณเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ จากเว็บไซต์ projectlib.in.th
พูดเรื่อง ?ห้องสมุดไม่ได้เป็นแค่ กล่องสี่เหลี่ยม อีกต่อไป?

3. คุณวิลาส ฉ่ำเลิศวัฒน์ จากเว็บไซต์ tag.in.th, iam.in.th
พูดเรื่อง ?Social bookmark เพื่อสังคมไทย?

4. คุณณัฐชัย อึ๊งศรีวงศ์ จากเว็บไซต์ pg.in.th
พูดเรื่อง ?ถ่ายรูปจากมือถือ แล้วขึ้นเว็บทันที พร้อมทั้งแสดง location บน Google Maps?

5. คุณชิตพงษ์ กิตตินราดร จากเว็บไซต์ cc.in.th
พูดเรื่อง ?โครงการเผยแพร่สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และแนวคิดเนื้อหาเสรีในประเทศไทย?

นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างนักพูดที่เข้าร่วมงานวันนั้นนะครับ

สำหรับผมในวันนั้นก็พูดเช่นเดียวกันครับ

slide

หัวข้อบนสไลด์ของผมคือ ?ProjectLib กับการเปิดมุมมองใหม่ของห้องสมุด?
หัวข้อรองคือ ?เพราะเรื่องห้องสมุดไม่ได้น่าเบื่อเหมือนที่หลายคนคิด?

– มุมมองของคนทั่วไปที่มีต่อห้องสมุด (ภาพลักษณ์ของคนทั่วไปที่มีต่อห้องสมุด)
(งานนี้ผมลงทุนทำแบบสำรวจด้วยตัวเองเลยนะครับ)

– ห้องสมุดที่คนส่วนใหญ่ใช้บริการ หรือรู้จัก

– Projectlib กับการลบภาพห้องสมุดแบบเดิมๆ

– การนำเทคโนโลยีที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์

– ไอเดียใหม่ๆ ในวงการห้องสมุด (ตัวอย่างเรื่องที่ได้รับความนิยมจากบล็อก projectlib)

– สักวันนึง?ห้องสมุดเมืองไทยต้อง?

– บทสรุปแห่งความสำเร็จ projectlib

เอาเป็นว่าใครอยากเห็นสไลด์ของผมก็ลองเข้าไปดูที่

หลายคนคงจะงงกับสไลด์ชุดนี้เอาเป็นว่าผมจะอธิบายแบบคร่าวๆ เลยนะครับ

หน้าที่ 1 เป็นชื่อเรื่องของสไลด์ รวมถึงแนะนำตัว และผลงานในการเขียนบล็อก (1 นาที)
อธิบายว่าเรื่องห้องสมุดไม่ใช่มีแต่เรื่องการจัดหนังสือ หรือเก็บหนังสือครับ
แต่ห้องสมุดมีเรื่องมากมายที่น่าสนใจ ไม่แพ้กับห้างสรรพสินค้าชื่อดังเลยก็ว่าได้

หน้าที่ 2 มุมมองของคนทั่วไปที่มีต่อห้องสมุด (1 นาที)
อธิบายภาพทั่วไปที่คนในกรุงเทพฯ มองห้องสมุด
ข้อมูลต่างๆ ได้มาจากการเดินถามคนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษา คนทำงาน หรือคนทั่วไป

หน้าที่ 3 เคยไปหรือรู้จักห้องสมุดที่ไหนบ้าง (1 นาที)
อธิบายแบบสอบถามเกี่ยวกับการใช้ห้องสมุด
และที่สำคัญคนเหล่านี้รู้จักห้องสมุดอะไรบ้าง

หน้าที่ 4 ทำยังไงถึงจะลบภาพห้องสมุดแบบเดิมๆ (1 นาที)
แนะนำวิธีลบภาพห้องสมุดแบบเดิมๆ สไตล์ projectlib
กลยุทธ์ในการสร้างภาพห้องสมุดแบบใหม่ของ projectlib

หน้าที่ 5 นำเทคโนโลยีที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ (1 นาที)
บางคนอาจจะคิดว่าการนำเทคโนโลยีมาใช้กับงานห้องสมุดจะต้องมีค่าใช้จ่ายที่สูง
แต่ความเป็นจริงแล้วแทบจะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เลย นอกจากค่าอินเทอร์เน็ต
เทคโนโลยีต่างๆ ที่นำมาเสนอล้วนแล้วแต่ใช้ที่ projectlib หมดแล้วด้วย

หน้าที่ 6 – 8 ไอเดียใหม่ๆ ในวงการห้องสมุด (3 นาที)
แนะนำเรื่องเด่นๆ ที่ผมเขียนและได้รับการตอบรับที่ดี
รวมถึงไอเดียที่สร้างบรรยากาศให้น่าเข้าใช้ห้องสมุด

หน้าที่ 9 สักวันนึง?ห้องสมุดเมืองไทยคงจะเหมือนห้องสมุดเมืองนอก (1 นาที)
ความคาดหวังของผมต่อวงการห้องสมุดเมืองไทย
ผมเชื่อว่าสักวันเราต้องเปลี่ยนได้เหมือนครั้งหนึ่งที่บัตรรายการยังต้องเปลี่ยนสถานะเป็น OPAC

หน้าที่ 10 บทสรุปแห่งความสำเร็จ (1 นาที)
ผลงาน และบทสรุปของเรื่องราวต่างๆ ใน projectlib

รวม 10 นาที กับมุมมองใหม่ของห้องสมุดสไตล์ projectlib

นี่ก็คือบทสรุปของงาน thinkcamp#1 สำหรับผมเองนะครับ

แรงบันดาลใจจากงาน wordcampbkk2

วันนี้ขอเล่าเรื่องต่อเนื่องจากวันอาทิตย์ที่ผ่านมาด้วยดีกว่า นั่นคืองาน wordcampbkk2
งานที่รวมพลคนใช้ Microsoft word เอ้ยไม่ใช่ งานนี้เป็นงานที่รวมพลคนใช้ WordPress ต่างหาก

wordcamp-banner

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับงาน wordcampbkk
ชื่องาน : wordcamp bangkok 2
วันที่จัดงาน : 15 พฤศจิกายน 2552
สถานที่จัดงาน : มหาวิทยาลัยศรีปทุม

กำหนดการของงานนี้ ใครที่ยังไม่รู้ก็ไปตามอ่านได้ที่
http://wordcamp.kapook.com/agenda-speakers/

ผมขอเล่าแบบภาพรวมแล้วกันนะครับ

งาน wordcampbkk กำหนดการแบบว่าเช้ามากจริงๆ อ่ะครับ แถมอยู่ไกลจากบ้านผมพอควรเลย
ดังนั้นไม่ต้องถามนะครับว่าตื่นกี่โมง เอาเป็นว่าตื่นเช้ามากๆ ครับ

เริ่มจากผู้ร่วมเดินทางมางาน wordcampbkk ด้วยกัน
นั่นก็คือ @junesis และ @maeyingzine

@junesis
@junesis
@Maeyingzine
@Maeyingzine

พอมาถึง ม.ศรีปทุมก็เล่นเอางงเล็กน้อยว่า อาคาร 1 มันอยู่ตรงไหน
แต่ก็เห็นหลายๆ คนเดินไปที่ๆ นึง ผมก็เลยตามเขาไปนั่นแหละครับ
จนสุดท้ายก็มาถึงหน้างาน wordcamp นั่นเอง

หน้างานวันนี้ของแจกยังคงเป็นป้ายชื่อ badge เข็มกลัด และเสื้อwordcamp เช่นเดิม
วันนี้ผมขอสีดำแล้วกันครับ (จริงๆ ได้เสื้อ wordcamp มาจากงาน Thinkcamp แล้ว)

หลายคนเข้ามาทักเพราะว่าทรงผมของผมเปลี่ยนไป แค่ 1 วันที่เจอกัน
(เมื่อวานไปงาน thinkcamp ยังไม่ได้ตัดผมครับ)

มาถ่ายรูปกันเพื่อนๆ
@Thangman22 @porpeangseller @iwhale @patsonic @ylibraryhub

ลงทะเบียนและถ่ายรูปเพื่อเป็นพิธีนิดนึง
ก็เข้าไปหาที่นั่งเพื่อรองานเปิด ในระหว่างนั้นเองก็เจอเพื่อนมากมาย
ก็เลยได้ทักทายกันบ้างและก้ไม่พลาดถ่ายรูปมาให้ดู

อ๋อในงานผมชอบ Twitter Wall มากๆ เลยครับ
จอทางด้านซ้ายมือของผมมันจะขึ้น tweet ของคนที่ใช้ tag #wordcampbkk
ดังนั้นหลายๆ คนจึงใช้ช่องทางนี้เป็นสื่อการตลาดมากๆ ครับ
เช่น ประชาสัมพันธ์บล็อกตัวเอง หรือ โพสเพื่อให้ขึ้นบนจอกัน สนุกกันไป

อ่ะงานเริ่มแล้ว เริ่มจากผู้ใหญ่กันก่อนเลยครับ เช่น
อาจารย์อำนวย มุทิตาเจิรญ, ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์, คุณปรเมศวร์ มินศิริ

หลังจากนั้นผู้พูดที่ได้รับความฮือฮาคนแรก และสุดยอดจริงๆ ก็เริ่มมาครับ
นั่นก็คือ คุณฟูเกียรติ จุลนวล จากไมโครซอฟต์ นี่เอง
ขึ้นมาพูดเรื่อง The power of PHP and Windows นั่นเอง
(มีหลายคนแซวว่า Microsoft จะมาขายของหรือปล่าว อิอิ)

ช่วง 11 โมง ผมมีโอกาสได้ขึ้นเวทีแล้วครับ ขึ้นไปครั้งแรกเพื่อยกโต๊ะและเก้าอี้ไปให้แขกในช่วงต่อไป
ซึ่งแขกในช่วงต่อไปนี้ก็คือพวกผมเอง Blogger ที่ได้รับการโหวตให้พูดครับ

ในช่วง Inspiration Showcase ซึ่งประกอบด้วย 10 บล็อก ดังนี้
http://www.ladyvisa.com
http://www.bkkza.com
http://www.powerontv.com
http://www.songjapan.com
http://www.108blog.net
http://www.mysoju.wordpress.com
http://dmslib2008.wordpress.com
http://don-jai.com
http://www.libraryhub.in.th
http://polypink.com

บล็อกเกอร์ทั้งหลายกำลังพูดถึงแรงบันดาลใจ
บล็อกเกอร์ทั้งหลายกำลังพูดถึงแรงบันดาลใจ

ในช่วง Inspiration Showcase ประทับใจทุกๆ คนมากเลยครับ
แต่ละคนมีแรงบันดาลใจดีๆ มานำเสนอให้คิด และนำไปใช้ได้มากมาย
ซึ่งหนึ่งในผู้ร่วมงาน wordcamp ปีที่แล้วอย่างพี่สุวรรณ (ห้องสมุดกรมการแพทย์)
ก็ยังเปิดตัวบล็อกกรมการแพทย์ได้อย่างน่าทึ่งเลยทีเดียว

หลังจากนั้นก็ได้เวลาพักกินข้าวกันแล้ว และระหว่างกินข้าวนี่เองวง #ihear ก็เริ่ม set วงกัน
กินข้าวไปฟังเพลงไปสุนทรีย์ดีจริงๆ ครับ

set วงกันก่อนนะครับ #ihear
set วงกันก่อนนะครับ #ihear

ระหว่างที่เดินไปเดินมาในงาน ผมก็มีโอกาสได้พบกับคนดังมากมายหลายคน
เช่น พี่ @markpeak และ พี่ @jakrapong ก็เลยขอถ่ายรูปซะหน่อย อิอิ

@markpeak แห่ง Blognone
@markpeak แห่ง Blognone
@jakrapong & @ylibraryhub
@jakrapong & @ylibraryhub

ในช่วงของ ?Independent Blog? มีคนดังมาพูดหลายคนเลยครับ
ไม่ว่าจะเป็นคุณนิ้วกลม (@roundfinger) คุณวิภว์ บูรพาเดชะ (@VipHappening)
คุณทรงกลด บางยี่ขัน (@zcongklod) และคุณวรรณสิงห์ ประเสริฐกุล (@wannasingh)

แบบว่าฟังในช่วงนี้แล้วได้แง่คิดเพียบเลย คนคุณภาพจริงๆ

session ไฮไลท์ก็มาถึง นั้นคือการสัมภาษณ์คู่รัก twitter นั่นเอง
@imenn และ @sweetener ที่กำลังจะแต่งงานกันในเดือนกุมภาพันธ์แล้ว
แบบว่าฟังแล้วหวานกันมากๆ อิอิ โรแมนติกที่สุดเลยครับ
ทั้งคู่เปิดตัวเว็บแต่งงานด้วย นั่นคือ http://www.wedding.sweetandmellow.com/

ช่วงต่อมาเป็นคุณ @mooooyai มาบรรยายเรื่องการนำบล็อกมาใช้สร้าง portfolio ให้ตัวเอง
อันนี้ผมว่าน่าสนใจดีครับ และคิดว่าเอาไปใช้ประโยชน์ได้เยอะเลยทีเดียว
พี่เขาแนะนำ plugin และ Theme เพื่อใช้ในการสร้าง portfolio ได้ดีทีเดียว

Session ที่พลาดไม่ได้อีกช่วง คือ ?Plungins & Themes โดนใจ? โดย @iannnnn
แบบว่ามาแนะนำแหล่ง plugin และ Theme ได้เจ๋งมา (หาใน google เอาได้เลย)
ที่สำคัญนำกรณ๊ศึกษาของ fail.in.th มาแนะนำอีก ทำให้ผมรู้จัก plugins เจ๋งๆ หลายตัวเลย
นับว่าเป็น session ที่ฮาแล้วได้สาระเอามากๆ ครับ

หลังจาก session นี้ผมก็เริ่มไม่ไหวแล้วครับ ง่วงมากมาย
แถมเป็นห่วงเรื่องงานที่ยังค้างอยู่ที่บ้านมากมาย ดังนั้นผมจึงขออนุญาตกลับก่อนครับ

ผมคงเล่าได้แค่นี้นะครับที่เหลือผมจะรออ่านจากบล็อกเกอร์หลายๆ คนนะ

สุดท้ายก่อนจบ ผมขอขอบคุณทีมงานทุกๆ ท่านที่ร่วมกันเหน็ดเหนื่อยเพื่องานนี้
และหวังว่าคงจะมีงานแบบนี้มาให้พวกเราเข้าร่วมกันอีกนะครับ

เว็บไซต์งาน wordcamp – http://wordcamp.kapook.com

รวมภาพบรรยากาศงาน wordcampbkk2

[nggallery id=16]

รวมบล็อกที่เขียนถึงงาน wordcampbkk

บรรยากาศงาน WordCamp Bangkok 2009

WordCamp Bangkok 2009 / wordcampbkk โดย @ipatt

บรรยากาศงาน WordCamp Bangkok 2009 โดย @gootum

ความโดนใจจากงาน WordCamp Bangkok 2009 โดย @nongoffna

Inspiration from Word Press Bangkok 2009 โดย บล็อกพี่หมู

เก็บตกค่ายความคิด 2 – Thinkcamp#2

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสเข้าร่วมงาน “ค่ายความคิด 2” หรือที่เรียกว่า “Thinkcamp2”
ดังนั้นเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ของการไปงาน ดังนั้นผมก็ต้องเล่าสู่กันฟังสักหน่อย

thinkcamp-logo

เริ่มจากข้อมูลทั่วไปของงานนี้
ชื่องานภาษาไทย : ค่ายความคิด 2
ชื่องานภาษาอังกฤษ : Thinkcamp2
วันที่จัดงาน : 14 พฤศจิกายน 2552
สถานที่จัดงาน : มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาคารพญาไท อาคาร SM Tower ชั้น 20

ก่อนเข้าสู่การบรรยายก็ต้องมีการเปิดงานก่อน
ซึ่งผู้ที่มาพูดในช่วงเปิดงานก็ต้องทำตามกติกาของงานนี้เช่นกัน คือ 10 สไลด์ 10 นาที
ผู้พูด คือ @Aerodust ซึ่งหลักๆ ก็ได้มาแนะนำงาน Thinkcamp และConcept ของงานครั้งนี้

เอาหล่ะครับ เข้าเรื่องหลักของงานนี้เลยดีกว่า นั่นก็คือ หัวข้อของแต่ละคน
หัวข้อที่พูดในงานทั้งหมด มี 24 หัวข้อ แบ่งออกเป็น 2 ห้องๆ ละ 12 หัวข้อนะครับ

หัวข้อที่ผมได้เข้าฟังมีดังนี้
– “9 ประสบการณ์แปลก จากการเป็น เว็บมาสเตอร์ Dek-D.com” โดย @ponddekd
– “WTF Library website in Thailand” โดย @ylibraryhub
– “imyourcard นามบัตรออนไลน์ ที่จะทำให้คุณลืมนามบัตรกระดาษไปตลอดกาล” โดย @thangman22
– “เว็บไซต์บันเทิง สร้างยังไงให้บันเทิง” โดย @patsonic
– “2553:ไทย.ไทย” โดย @pensri
– จำชื่อหัวข้อไม่ได้อ่ะครับ รู้แต่ว่าพูดเกี่ยวกับพลัง social network โดย @iwhale
– “Break the rule with openhat.tv, the social network for the real artist” โดย @aircoolsa
– “ร้อยแปดบล็อก บล็อกไทยๆ สไตล์เบ็ดเตล็ด อ่านง่ายๆ สั้นๆ ไม่ถึง 1 นาที” โดย @kajeaw
– “เว็บไซต์กินข้าวกินปลา restaurants.in.th” โดย คุณภาณุ ตั้งเฉลิมกุล
– “panoramap” โดยแก๊งค์สามสี
– “ITCOOLGANG กับการเปลี่ยนแปลงรูปโฉมใหม่ ITCOOLGANG NEWS CYBERWORLD ปี2” โดย @aum2u
– “ช่องว่างแห่ง เวลา และสถานที่ กับ eventpro” โดย @aircoolsa

อยากสรุปของแต่ละคนลงบล็อกนะครับ แต่ยังไม่มีเวลาเลย
เอาเป็นว่าอีกเดี๋ยวเว็บ http://www.thinkcamp.in.th
ก็จะมีวีดีโอของแต่ละคนเอามาลงให้ดูกัน เพื่อนๆ ก็สามารถตามดูได้นะครับ

อ๋อลืมบอกส่วนใน session ผม ไม่ขอเล่านะครับ
เพราะว่าพูดเรื่องไม่ดีเกี่ยวกับเว็บไซต์ห้องสมุดไปเยอะ กลัวเพื่อนๆ ในบล็อกจะรับไม่ได้ อ่า


เอาเป็นว่าเดี๋ยวถ้านึกอะไรออกแล้วจะมา update เพิ่มแล้วกันนะครับ อิอิ (update 16/11/2009)

รวมรูปภาพบรรยากาศในงานค่ายความคิด 2 (Thinkcamp#2)

[nggallery id=15]