พาชมนิทรรศการ ?เครื่องรางของขลัง? ณ มิวเซียมสยาม

วันนี้มีโอกาสมาดูงานนิทรรศการที่มิวเซียมสยาม ผมจึงไม่พลาดที่จะต้องรายงานให้เพื่อนๆ ได้ติดตามด้วย
งานนิทรรศการที่จัดขึ้นที่มิวเซียมสยามนี้ เป็นนิทรรศการเกี่ยวกับเรื่อง “เครื่องรางของขลัง” ที่มีอิทธิพลต่อความคิดของคนไทยอยู่

ภายในนิทรรศการประกอบด้วยเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวกับความเชื่อ ของขลัง และสิ่งศักดิ์สิทธิ์มากมาย
ซึ่้งผมจะขอเล่าเรื่องตั้งแต่เดินเข้าไปในห้องนิทรรศการจนออกจากห้องนิทรรศการ

ในส่วนแรกจะพบกับเรื่อง “ทำไมต้องสร้างเครื่องราง” ซึ่งจะมีส่วนแสดงที่น่าสนใจ คือ เรื่องราวของพระเครื่อง นางกวัก และพวงมาลัยที่แขวนหน้ารถ (ในส่วนนี้เป็นการเกริ่นก่อนเข้าเรื่องราวของของขลัง)

ภายในห้องนิทรรศการจะมีข้อมูลต่างๆ นำเสนอ พร้อมกับ display ที่จัดไว้ค่อนข้างดี มีบรรยากาศมืดๆ ชวนขนลุกมาก ข้อมูลที่นำเสนอ เช่น สิ่งของบางอย่างที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติคนเราก็สามารถนำมาเป็นของขลังได้ เช่น เหล็กไหล คดต่างๆ เขากวาง เขี้ยวหมู ฯลฯ และป้ายข้อมูลความรู้ต่างๆ เช่น
– สิ่งเร้นลับกับมนุษย์
– ความกลังของคน
– ลัทธิผีและศาสนา
– ความเชื่อ
– ผีกับพราหมณ์
– ผีกับวิทยาศาสตร์
– ของขลังของผี
– พรจากเทพ
– เทศกาลขอพร
– ชุมนุมเทพเจ้า
– พิธีกรรมคู่ชีวิต
– กำเนิดพระพิมพ์และวัตถุมงคล
– ยุคแห่งพระเครื่อง
– ผีกับพุทธ
– ผลผลิตของลัทธิผี
– ไสยศาสตร์ ไสยดำ ไสยขาว
– ความเชื่อ : ไม่เชื่ออย่าลบหลู่
– ธุรกิจศรัทธา
– ยิ่งขลัง ยิ่ง (ราคา) สูง

หลังจากที่เดินผ่านห้องแสดงความรู้ต่างๆ มาแล้ว ก็จะพบกับห้องที่แสดงของขลัง โดยจัดวางของขลังในตู้กระจก แบบแยกเป็นกลุ่มต่างๆ ซึ่งเข้าไปห้องนี้ ผมเองก็รู้สึกขนลุกอย่างบอกไม่ถูกเลย เพราะมันขลังจนดูน่ากลัวไปเลยจริงๆ ของต่างๆ ที่แสดงเป็นของจริงๆ ไม่ใช่ของที่ทำขึ้นเพื่อโชว์นะครับ

เอาเป็นว่างานนี้ก็น่าสนใจมากๆ ครับ ใครว่างๆ ผมก็แนะนำให้เข้ามาชมงานนิทรรศการนี้นะครับ
งานนี้ไม่เสียค่าใช้จ่ายด้วย ชมฟรีตลอดงาน แถมได้ความรู้และไอเดียดีๆ ในการทำนิทรรศการ เผื่อเอาไปใช้กับห้องสมุดก็ได้นะ

จัดบอร์ดต้อนรับวันแม่แห่งชาติในห้องสมุด

พรุ่งนี้เป็นวันที่ 12 สิงหาคม ซึ่งตรงกับวันสำคัญอย่างหนึ่งของเมืองไทย วันสำคัญวันนี้ คือ วันแม่แห่งชาติ
และแน่นอนครับห้องสมุดอย่างพวกเราคงต้องมีการจัดนิทรรศการเล็กๆ ในห้องสมุด

mother-day

ไอเดียเรื่องการจัดนิทรรศการผมเชื่อว่าห้องสมุดหลายๆ แห่งมีไอเดียมากมายอยู่แล้ว
และห้องสมุดเกือบทุกแห่งก็จัดได้ด้วยดีและเก๋ไก๋เช่นกัน

ตัวอย่างการจัดกิจกรรมและการจัดนิทรรศการในห้องสมุด
– จัดบอร์ดเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
– จัดบอร์ดทั่วไปเกี่ยวกับวันแม่
– ประกวดเรียงความ คำกลอน คำขวัญวันแม่
– เปิดเพลงที่เกี่ยวกับแม่คลอเบาๆ ในห้องสมุด
– ฉายภาพแม่ลูกตามจอโทรทัศน์ต่างๆ ในห้องสมุด

และอื่นๆ อีกมากมายที่ผมได้พบเจอมา…

วันนี้ผมคงไม่ต้องแนะนำอะไรมากมายหรอก เพราะเพื่อนๆ ก็คงทำกันเป็นประจำอยู่แล้ว
แต่สิ่งที่ผมจะนำมาเพิ่มเติมให้เพื่อนๆ ในวันนี้ก็เช่น แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวกับวันสำคัญวันนี้

แหล่งข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับวันแม่แห่งชาติ
วันแม่แห่งชาติ – Kapook.com
– วันแม่ – Wikipedia
– วันแม่แห่งชาติ – Sanookpedia

อ๋อ แล้วเพื่อนๆ รู้มั้ยครับว่าประเทศอื่นๆ เขาจัดงานวันแม่กันเมื่อไหร่บ้าง ผมจะขอสรุปดังนี้
– นอร์เวย์จัดในวันอาทิตย์ที่สองของเดือนกุมภาพันธ์
– บัลแกเรีย, แอลเบเนีย จัดในวันที่ 8 มีนาคม
– สหราชอาณาจักร, ไอร์แลนด์ จัดในวันอาทิตย์ที่สี่ในฤดูถือบวชเล็นท์
– จอร์แดน, ซีเรีย, เลบานอน, อียิปต์ จัดในวันที่ 21 มีนาคม (วันแรกของฤดูใบไม้ผลิ)
– โปรตุเกส, ลิทัวเนีย, สเปน, แอฟริกาใต้, ฮังการี จัดในวันอาทิตย์แรกของเดือนพฤษภาคม
– เกาหลีใต้ จัดในวันที่ 8 พฤษภาคม และเรียกว่า วันผู้ปกครอง
– กาตาร์, ซาอุดีอาระเบีย, ประเทศส่วนใหญ่ในทวีปอเมริกาใต้, บาห์เรน, ปากีสถาน, มาเลเซีย, เม็กซิโก, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, อินเดีย, โอมาน จัดในวันที่ 10 พฤษภาคม
– แคนาดา, สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน), สาธารณรัฐประชาชนจีน, ญี่ปุ่น, เดนมาร์ก, ตุรกี, นิวซีแลนด์, เนเธอร์แลนด์, บราซิล, เบลเยียม, เปรู, ฟินแลนด์, มอลตา, เยอรมนี, ลัตเวีย, สโลวาเกีย, สิงคโปร์, สหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย, ออสเตรีย, อิตาลี, เอสโตเนีย, ฮ่องกง จัดในวันอาทิตย์ที่สองของเดือนพฤษภาคม???? – โปแลนด์ จัดในวันที่ 26 พฤษภาคม
– โบลิเวีย จัดในวันที่ 27 พฤษภาคม
– สาธารณรัฐโดมินิกัน, สวีเดน จัดในวันอาทิตย์ที่สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม
– ฝรั่งเศส จัดในวันอาทิตย์แรกของเดือนมิถุนายนหรือ อาทิตย์ที่สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม
– คอสตาริกา, แอนท์เวิร์ป (เบลเยียม) จัดในวันที่ 15 สิงหาคม หรือเรียกว่าวันอัสสัมชัญ
– อาร์เจนตินา จัดในวันอาทิตย์ที่สองหรือสามของเดือนตุลาคม
– รัสเซีย จัดในวันที่ 28 พฤศจิกายน
– ปานามา จัดในวันที่ 8 ธันวาคม
– อินโดนีเซีย จัดในวันที่ 22 ธันวาคม

เอาเป็นว่าก็หวังว่าเพื่อนๆ คนจะได้สาระและเนื้อหาในการนำไปจัดนิทรรศการและทำกิจกรรมในห้องสมุดนะครับ

สุดท้ายก่อนจากกัน อย่าฝากไว้ว่า “บอกรักแม่กันแล้วหรือยัง”
สำหรับผมแม้ว่าจะต้องมาทำงานไม่ได้กลับบ้านแต่ผมก็จะโทรไปบอกรักแม่ครับ
และขอส่งข้อความถึงแม่ผมในบล็อกนี้ด้วย “รักแม่ครับ”

รับเจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์และห้องสมุด มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (กทม.)

มีข่าวรับสมัครเจ้าหน้าที่บรรณารักษ์มาให้เพื่อนๆ เลือกอ่านอีกแล้วครับท่าน
ใครสนใจก็ลองอ่านข้อมูลด้านล่างกันเองนะ แล้วก็รีบๆ สมัครกันด้วยหล่ะ

librarian-wu

คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง (ผมขอตัดเอาแต่คุณสมบัติที่เกี่ยวกับเอกบรรณารักษ์นะครับ)
– สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์/สารสนเทศศึกษา/การจัดการสารสนเทศ
– มีประสบการณ์การทำงานด้านประชาสัมพันธ์ในสถาบันอุดมศึกษาจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
– ปฏิบัติงานประจำ ณ หน่วยประสานงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กรุงเทพมหานคร
– มีความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรม MS Office
– มีทักษะด้านการสื่อสารและการประสานงาน
– มีความกระตือรือร้นในการทำงาน
– มีอัธยาศัยและมนุษยสัมพันธ์ดี รักงานบริการ

ตำแหน่งนี้จะได้บรรจุเป็นพนักงานสัญญาจ้างเท่านั้นนะครับ
โดยสัญญาจ้างครั้งแรกจะจ้างไว้ 2 ปี และจะต้องทดลองงาน 6 เดือนนะครับ
ส่วนการเซ็นต์สัญญาครั้งต่อไปก็จะต่ออายุไม่เกิน 4 ปีไปเรื่อยๆ ครับ

ภาระงานหลักที่ต้องทำ ก็อย่างที่ชื่อตำแหน่งกำหนดนั่นแหละครับ
เน้นประชาสัมพันธ์ กับ งานห้องสมุดเป็นหลัก แต่ก็อาจจะมีงานเสริมมาให้ทำเป็นระยะๆ

อัตราเงินเดือน 10,500 บาท/เดือน (ผมว่าค่อนข้างที่จะใช้ได้เลย)

อ๋อเกือบลืม รับสมัครถึงวันที่ 15 กันยายน 2552 เท่านั้นนะครับ
ดังนั้นคิดให้ดีๆ ครับ แล้วก็รีบตัดสินใจกันได้แล้วเพราะเหลือเวลาแค่หนึ่งอาทิตย์เท่านั้น

รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องหลักฐานการสมัคร และการสอบ
ผมอยากให้เพื่อนๆ อ่านเองมากกว่าจะได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบไปด้วย
ก็ตามอ่านได้ที่ http://www.wu.ac.th/2552/news/showNewsV.php?id=12818 นะครับ

สำหรับวันนี้ผมก็ขอแนะนำไว้เพียงเท่านี้ก่อน
ถ้ามีงานที่น่าสนใจมาอีกจะรีบรายงานให้เพื่อนๆ ทราบทันทีครับ

โปรโมทห้องสมุดใน Facebook ดีกว่า

ช่วงนี้กระแสการใช้งาน facebook กำลังมาแรงครับ
เท่าที่ผมสังเกตมีคนใช้งานfacebook ในเมืองไทยมากขึ้น
ดังนั้นห้องสมุดของพวกเราก็อย่าน้อยหน้ากันนะครับ เอาห้องสมุดของคุณไปอยู่ใน facebook กันเถอะ

library-facebook

การสร้าง account facebook มันไม่ยากหรอกครับ
แต่ประเด็นที่น่าคิดก็คือ…เราจะเอาข้อมูลห้องสมุดอะไรไปใส่ใน facebook บ้างหล่ะ???

วันนี้ผมไปอ่านเรื่องนึงมา เห็นว่าเกี่ยวกับประเด็นนี้พอดี เลยเอามาให้อ่านกันครับ ชื่อเรื่องว่า
10 Great Things to Include on Your Library?s Facebook Fan Page

ในบทความนี้ได้กล่าวถึงข้อมูล 10 อย่างที่ควรจะอยู่ในหน้า Facebook
เราลองไปอ่านกันเลยดีกว่าครับว่ามีอะไรกันบ้าง

ข้อมูล 10 อย่างที่เราควรเอาลงใน Facebook มีดังนี้

1. photos of your library.
รูปของห้องสมุดคุณ (อันนี้คงไม่ยากครับ ถ่ายมุมสวยๆ สัก 10 รูปกำลังดี)

photo-fb

2. a library video tour or other promotional videos.
วีดีโอแนะนำห้องสมุดของคุณ (อันนี้อาจจะยากสักนิดในการถ่ายวีดีโอ แต่ถ้ามีผมว่าน่าสนใจครับ)

3. a calendar of library events.
ปฏิทินกิจกรรมของห้องสมุดคุณ (พยายามอัพเดทตลอดนะครับ คนเข้ามาจะได้รู้ว่าเรา ตั้งใจทำ)

4. a rss feed of your library blog.
feed ข้อมูลของเนื้อหาบนเว็บของคุณมาที่นี่ด้วยก็จะดีมากเลย

5. information about how to contact your library.
อันนี้ลืมไม่ได้เลยนะครับ ข้อมูลสำหรับการติดต่อ เช่น ที่อยู่ เบอร์โทร อีเมล์ เว็บไซต์? ฯลฯ

6. library hours
วันเวลาที่ให้บริการของห้องสมุด ข้อมูลนี้จำเป็นจริงๆ นะครับ เพราะว่าเผื่อผู้ใช้อยากจะมาห้องสมุดจะได้เช็คเวลาก่อนว่าปิด หรือ เปิด

7. lib guides widget
เครื่องมือแนะนำการใช้งานห้องสมุด (อันนี้ก็เพื่อให้ผู้ใช้รู้จักห้องสมุดมากขึ้นนะครับ)

8. a survey for your patrons to answer about your library.
แบบสำรวจการใช้งาน หรือแบบสำรวจอื่นๆ ที่ห้องสมุดต้องการทำสำรวจ (แนะนำว่าไม่ต้องสำรวจเยอะนะ)

9. information about new book arrivals

แนะนำหนังสือมาใหม่ อันนี้จะทำให้ผู้ใช้อัพเดทและรู้ว่าห้องสมุดมีหนังสือใหม่เล่มไหนบ้าง

10. links to popular library databases.

เว็บแนะนำ ถ้าได้เว็บด้านฐานข้อมูลจะยิ่งดีมากๆ เลยนะครับ

เอาเป็นว่าข้อมูล ทั้ง 10 อย่างที่ได้กล่าวมา ผมเห็นด้วยหมดเลยนะครับ
เพราะจะช่วยให้ผู้ใช้ที่ออนไลน์สามารถเข้าถึงห้องสมุดได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น
ทั้งในเรื่องของกิจกรรม แบบสำรวจ แนะนำหนังสือใหม่ และเว็บไซต์แนะนำ

เอาเป็นว่าถ้าเพื่อนๆ ว่างๆ ก็เข้าไปสมัคร account ของ facebook กันได้นะครับที่
http://www.facebook.com/

ภาพประกอบจาก http://www.facebook.com/pages/Chelan-Friends-of-the-Library/92545314975#/pages/Chelan-Friends-of-the-Library/92545314975?v=wall

คุณรู้จักบล็อก Libraryhub ของผมได้อย่างไร

เปิดบล็อกนี้มาเกือยสี่เดือนแล้วนะครับ สมาชิกที่เข้ามาดูก็เพิ่มขึ้นมาก
วันนี้ผมก็เลยขอสำรวจเพื่อนๆ ดูหน่อยว่าเพื่อนๆ ที่เข้ามาอ่านบล็อกของผม
“รู้จักบล็อกนี้ได้อย่างไร ใครแนะนำมา หรือว่าบังเอิญผ่านมาเจอ”

referer

ผมขอความร่วมมือจากทุกๆ คนด้วยนะครับ ช่วยกันตอบคำถามผมหน่อย

[poll id=”10″]

การสำรวจในครั้งนี้ ถือว่าเป็นการศึกษาเรื่องการประชาสัมพันธ์บล็อกด้วยนะครับ
บางครั้งคนทำบล็อกก็อยากรู้เหมือนกันว่า คนที่เข้ามาที่บล็อกของเรา
รู้จักบล็อกของเราได้จากที่ไหนบ้าง แล้วทำไมถึงเข้ามาบล็อกของเราถูก

เอาไว้ว่างๆ วันหลัง ผมจะเขียนสูตรการเรียกคนเข้าบล็อกห้องสมุด
ให้เพื่อนๆ ได้อ่าน และศึกษาไว้ใช้งานสำหรับห้องสมุดของเพื่อนๆ นะครับ

หนังสือทำเนียบนามบรรณารักษ์ โดยสถาบันพระบรมราชชนก

จากการพูดคุยกับสมาชิกในบล็อกคนนึงซึ่งบอกว่า “อยากประชาสัมพันธ์หนังสือรุ่น”
ผมก็เลยต้อง “จัดไป อย่าให้เสีย” สักหน่อยดีกว่า

librarian-relationship

ตอนแรกผมก็ประหลาดใจว่าเป็น “หนังสือรุ่นของสถาบันไหน”
จึงได้สอบถามจนรู้ว่าเป็น “ทำเนียบนามบรรณารักษ์”

ผมจึงให้เขาส่งเรื่องนี้เข้ามาในอีเมล์ของผม
แต่พอดีหลายวันมานี้ผมไม่ค่อยว่าง และเพิ่งจะได้เปิดอ่านดูในวันนี้

หลังจากที่เปิดอ่าน และ download ไฟล์ e-book มาดูแล้วอดตกใจไม่ได้
เพราะว่ารู้สึกคุ้นๆ หน้าหลายคนเลย และผมก็รู้จักด้วยหลายคน อิอิ

ชื่อหนังสือรุ่นผมชอบมากเลยครับ
Librarian relationship คือความผูกพันระหว่างน้อง – พี่
นี่แหละครับที่เรียกว่าอาชีพเดียวกันย่อมไม่ทิ้งกันใช่มั้ยครับ

หนังสือเล่มนี้อาจจะเป็นตัวอย่างสำหรับเพื่อนๆ อีกหลายคนที่คิดจะทำหนังสือรุ่น
แต่ถ้าผมเอาออกมาให้ดาวน์โหลดเลย ผมก็กลัวว่าเจ้าของหนังสือรุ่นนี้จะว่าเอา

ดังนั้นเอางี้ดีกว่า ใครอยากดูหนังสือเล่มนี้เป็นตัวอย่างให้ส่งเมล์มาขอก็แล้วกันนะครับ
ที่อีเมล์ dcy_4430323@hotmail.com

วันนี้ผมก็ขอขอบคุณเพื่อนสมาชิกท่านนี้มากครับ
สมาชิกท่านนี้ใช้ชื่อในบล็อกผมว่า ?Hi-so Librarian?

อ๋อขอเช็ค rating หน่อยนะครับ
อยากรู้จังว่าเพื่อนๆ สมาชิกบล็อก projectlib
ยังมีใครมาจากสถาบันพระบรมราชชนกนี้อีกบ้าง
ช่วยยกมือกันหน่อย หรือส่งเสียงมาทักทายกันบ้างนะครับ

ปล. ใครอยากอวดหนังสือรุ่นของตัวเองก็ส่งมาให้ผมได้นะครับ แล้วผมจะเอามาให้เพื่อนๆ คนอื่นได้ชื่นชมต่อไป

อบรมการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในงานสารสนเทศ

วันนี้ผมมีงานอบรมดีๆ มาประชาสัมพันธ์ให้เพื่อนๆ ให้ทราบ
เกี่ยวกับการจัดการอบรมบรรณารักษ์ให้มีทักษะด้านการสื่อสารและประชาสัมพันธ์

librarian-communication Read more

กิจกรรมที่น่าสนใจ จาก ห้องสมุดวิลเลี่ยม วอร์เรน

วันนี้มีเรื่องจะมาประชาสัมพันธ์ให้เพื่อนๆ ได้รับทราบกัน?เป็น 2 กิจกรรมที่น่าสนใจ
งานนี้จัดโดย ห้องสมุดวิลเลี่ยม วอร์เรน (William Warren Library)

william-warren-library

กิจกรรมทั้ง 2 กิจกรรม ที่ผมจะแนะนำ ก็คือ
1. กิจกรรมฉายภาพยนตร์สารคดีสั้น พื้นที่แห่ง?สาธารณะ?
2. กิจกรรมการบรรยาย เรื่อง ?วิถีการทอผ้าในชุมชนอีสานจากเศรษฐกิจชุมชนสู่การเติบโตในระดับมหภาค?

โดยรายละเอียดของแต่ละกิจกรรมแบบละเอียดมีดังนี้

??????????????????

1. กิจกรรมฉายภาพยนตร์สารคดีสั้น พื้นที่แห่ง?สาธารณะ?
จัดฉายในวันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม 2551 เวลา 14.00-15.00 น.
และจะฉายซ้ำในวันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม 2551 เวลา 18.00-19.00 น.
ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาล Bangkok Design Festival

พื้นที่แห่ง ?สาธารณะ?

แนว คิดเรื่องพื้นที่สาธารณะดูเหมือนเป็นที่ยอมรับและเข้าใจตรงกันว่ามีความจำ เป็นต่อการดำรงอยู่ของชีวิตในเมือง แต่ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวเป็นเสมือนตาบอดคลำช้าง แต่ละฝ่ายต่างก็เข้าใจกันไปตามมุมมองของตนเอง อย่างไรก็ตาม พื้นที่กำเนิดมาจากคน พื้นที่สาธารณะในเมืองอย่างกรุงเทพแตกต่างจากเมืองอื่นๆเพราะเงื่อนไขในการ กำเนิดและคลี่คลายของมันเอง นับแต่อดีตจนปัจจุบัน

ภาพยนตร์ สั้นจำนวน 5 เรื่องจะเป็นการค้นหามุมมองใหม่เกี่ยวกับพื้นที่สาธารณะในกรุงเทพ กรุงเทพเป็นหนึ่งในเมืองที่มีผู้อยู่อาศัยที่ซับซ้อน หลายเผ่าพันธ์มากที่ สุดในโลก คนเหล่านี้ผลิตและมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งของและพื้นที่แวดล้อมตัวเอง ทั้งจากความบังเอิญและจากกรอบวัฒนธรรม ปฏิสัมพันธ์นี้มีส่วนในการพัฒนาการ คลี่คลายสภาวะทางกายภาพของเมือง ในขนาดย่อยและขนาดใหญ่ ภาพยนตร์นับว่าเป็นสื่อที่เหมาะสมแก่การนำเสนอแนวคิดที่หลากหลายของพื้นที่ สาธารณะในเมือง เนื่องจากเป็นสื่อที่กินพื้นที่และเวลาในตัวเอง เฉกเช่นเดียวกับเมืองที่เป็นพื้นที่รองรับเวลาแห่งกิจกรรม

ภาพยนตร์สั้นจำนวน 5 เรื่อง ประกอบด้วย

เรื่องที่หนึ่ง กำเนิด
ถ้าความหมายของพื้นที่เกิดจากคน กรุงเทพก็แตกต่างจากเมืองอื่นๆในแง่ที่ถือกำเนิดจากสถานะการณ์เฉพาะตัว ต้นกำเนิดของพื้นที่สาธารณะในเมืองหลวงของเรามีความเป็นมาอย่างไร

เรื่องที่สอง ปฏิกิริยา
เรามีปฏิสัมพันธ์กับพื้นที่และสิ่ง ของตามสัญชาตญาณและตามวิถีวัฒนธรรม มาลองดูกันใกล้ๆว่าคนกรุงเทพทำตัวกลมกลืนและ/หรือขัดแย้งกับสภาพแวดล้อมของ เมืองอย่างไร

เรื่องที่สาม ทัศนะเบื้องบนและล่าง
ชั้นของข้อมูลข่าวสารบนพื้นที่ สาธารณะที่ทับซ้อนกัน ส่งผลให้การรับรู้เกี่ยวกับพื้นที่บริเวณเดียวกันของคนที่อยู่คนละตำแหน่ง แตกต่างกัน

เรื่องที่สี่ สาธารณะหรือส่วนตัว
พื้นที่ที่คนกลุ่มหนึ่งมองว่าสาธารณะแต่คนกลุ่มหนึ่งมองว่าเป็นพื้นที่ส่วนตัว อาณาบริเวณเหล่านี้เหลื่อมทับกันอย่างไร ตามมุมมองของคน

เรื่องที่ห้า สินค้าและพื้นที่
เมืองตะวันตกเป็นกายภาพและทัศนีย วิทยา เมืองแบบญี่ปุ่นเป็นชุดของเหตุการณ์ เมืองกรุงเทพเป็นชุดของการแลกเปลี่ยน? พิจารณาแง่มุมของการแลกเปลี่ยนบนพื้นที่สาธารณะในระดับต่างๆ บนพื้นที่ต่างๆ

??????????????????

2. กิจกรรมการบรรยาย เรื่อง ?วิถีการทอผ้าในชุมชนอีสานจากเศรษฐกิจชุมชนสู่การเติบโตในระดับมหภาค?
บรรยายโดย อาจารย์สุริยา สมุทคุปต์ (ผู้เชี่ยวชาญวัฒนธรรมสิ่งทออีสาน) และ
ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ (จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง)
ในวันอาทิตย์ที่ 2 พฤศจิกายน 2551 เวลา 13.00-15.00 น.

การ บรรยายครั้งนี้จะกล่าวถึงบทบาทผู้หญิงผ่านวิถีและกระบวนการทอผ้าที่มีผลต่อ สถานภาพและโครงสร้างทางสังคมอีสานในความเปลี่ยนแปลงจากอดีตสู่ปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวยังคงเป็นการปรับตัวที่วางอยู่บนรากฐานทางวัฒนธรรม ดั้งเดิมการทอผ้ายังคงเป็นต้นทุนทางวัฒนธรรมของผู้หญิงอีสาน และในฐานะแม่ที่ต้องรับผิดชอบงานในครัวเรือนและกิจกรรมทางเศรษฐกิจ วิถีการทอผ้าซึ่งฝังรากลึกอยู่ในบทบาทผู้หญิงอีสานจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงและ ขยายขนาดจากหัตถกรรมเพื่อหาเลี้ยงชีพในชุมชนสู่การเปลี่ยนแปลงเป็นระบบ อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ สิ่งเหล่านี้มีกระบวนการการเปลี่ยนแปลงอย่างไร และเกิดผลกระทบกับวิถีการดำรงชีวิตของคนในชุมชนอีสานอย่างไร

??????????????????

กิจกรรมทั้งสองที่ได้กล่าวมา ผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
และท่านสามารถขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ : 02-612-6741

ที่ตั้งของ ห้องสมุดวิลเลี่ยม วอร์เรน (William Warren Library)
อาคารเฮนรี่บี ทอมป์สัน เลขที่ 6 ซอยเกษมสันต์ 2 ถนนพระรามที่ 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน
โทรศัพท์ : 02-612-6741

ต้องขอขอบคุณข้อมูลจาก คุณลัดดาวัลย์ อู่แสงทอง (บรรณารักษ์ ห้องสมุดวิลเลี่ยม วอร์เรน)