ก้าวใหม่ของห้องสมุด (Libraries on the Move) วันที่ 28-30 มีนาคม 2555

ใกล้สิ้นปีแบบนี้เพื่อนๆ หลายคนคงกำลังรอฟังข่าวเรื่อง “การประชุมประจำปีของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย” กันอยู่ วันนี้ผมจึงขอนำมาประชาสัมพันธ์ให้เพื่อนๆ ทุกคนทราบแล้วกันครับ เอาเป็นว่าคร่าวๆ ก่อน คือ ปกติจะจัดในเดือนธันวาคมแต่ปีนี้ขอเลื่อนไปจัดในเดือนมีนาคมนะครับ

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการประชุมวิชาการครั้งนี้
ชื่อการประชุมภาษาไทย : ก้าวใหม่ของห้องสมุด
ชื่อการประชุมภาษาอังกฤษ : Libraries on the Move
วันและเวลา : 28-30 มีนาคม 2555
สถานที่จัดการอบรม : โรงแรมอะเดรียติกพาเลซ
ผู้จัดการประชุม : สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

หัวข้อในการประชุมครั้งนี้นับว่าน่าสนใจมาก (เป็นครั้งแรกที่รู้สึกว่าสมาคมห้องสมุดน่าจะมาถูกทางแล้ว)
หัวข้อก้าวใหม่ของห้องสมุดเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC นั่นเอง
ถ้าห้องสมุดของเพื่อนๆ เตรียมพร้อมมากกว่าคนอื่นก็ย่อมได้เปรียบนะครับ

ตัวอย่างหัวข้อที่น่าสนใจของการประชุมครั้งนี้
– บทบาทของบรรณารักษ์และห้องสมุดในการพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืนตามแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559)
– กรุงเทพมหานคร “เมืองหนังสือโลก ปี 2556” (World Book Capital 2013)
– แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดกิจกรรมและส่งเสริมการอ่านเชิงรุก
– การเตรียมบรรณารักษ์และห้องสมุดเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
– การใช้งานลิขสิทธิ์สำหรับบรรณารักษ์ห้องสมุด
– การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสงวนรักษาทรัพยากรสารนิเทศของห้องสมุด
– ห้องสมุดกับการให้บริการนวนิยายไทยอิเล็กทรอนิกส์ (e-novel)

เป็นไงกันบ้างครับกับหัวข้อที่จะพบในงานประชุมนี้ ตื่นตัวและเตรียมพร้อมกันมากๆ เลยว่ามั้ย
เอาเป็นว่าถ้ามีเวลาผมก็อาจจะเข้าร่วมกับการประชุมครั้งนี้เช่นกัน

การเข้าร่วมประชุมวิชาการครั้งนี้ไม่ฟรีนะครับ มีค่าใช้จ่ายพอสมควรเอาเป็นว่าใครสนใจก็เข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมตาม link ที่อยู่ด้านล่างนี้นะครับ
ดาวน์โหลดเอกสารและอ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.libraryhub.in.th/wp-content/uploads/2011/11/Conference54.pdf (รอการอัพเดทจากสมาคมห้องสมุดฯ อีกทีนะครับ)

Thailand Conference on Reading 2011 (TCR2011)

ช่วงนี้มีเพื่อนๆ ส่งงานประชุมวิชาการที่เกี่ยวกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มาให้ผมมากมาย ซึ่งวันนี้ผมขอแนะนำงานประชุมวิชาการที่เกี่ยวกับการอ่านที่น่าสนใจให้เพื่อนๆ ได้อัพเดทกันหน่อย งานนี้จัดโดยห้องสมุดทีเคพาร์คด้วยนะ

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงาน
ชื่องาน : Thailand Conference on Reading
ลักษณะของงาน : การประชุมวิชาการ
วันและเวลาที่จัดงาน : 24-25 สิงหาคม 2554
สถานที่จัดงาน : โรงแรมAmari Watergate

งานนี้น่าสนใจมากเพราะว่าเราจะได้ฟังคำแนะนำและรายงานดีๆ ที่เกี่ยวกับการอ่าน
ไม่เพียงแค่ประเทศไทยเท่านั้นนะมีอีกหลายประเทศที่เข้าร่วมบรรยายด้วย
แถมด้วยเรื่องที่หลายๆ คนอยากฟัง คือ เรื่อง “Bangkok World Book Capital 2013

มาดูหัวข้อที่น่าสนใจในงานนี้ดีกว่า
– คิดสร้างสรรค์ ด้วยการอ่าน
– How Malaysia Reads
– The development of Book Reading Activity for Promoting Better Life of Citizen in Vietnam
– นโยบายส่งเสริมการอ่านของประเทศไทย
– ช่องว่างและความเท่าเทียมในการเข้าถึงหนังสือและแหล่งเรียนรู้
– ข้อสังเกตบางประการต่อกระบวนการส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ของไทย
– นิสัยการอ่านของคนไทยในมิติด้านวัฒนธรรม
– Korea’s experience to promote reading and literacy
– Reading Culture in the Youth Kids
– ปัจจัยส่งเสริมคนไทยให้มีวัฒนธรรมการอ่าน
– Bangkok World Book Capital 2013
– ร่วมสร้างรากฐาน อ่าน คิด เรียนรู้ เตรียมคนสู่พลเมืองอาเซียน

งานประชุมวิชาการดีๆ แบบนี้มีค่าใช้จ่ายนะครับ
แต่ถ้าสมัครก่อนวันที่ 15 กรกฎาคม จะได้ราคาพิเศษ คือ 2000 บาท
และถ้าสมัครก่อนสิ้นเดือนนี้ก็ได้ราคา 2500 บาท และสมัครในเดือนสิงหาคมราคา 3000 บาท

เอาเป็นว่าใครสนใจก็ลองเข้ามาดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.tcr2011.com เลยนะครับ
สำหรับวันนี้ก็แนะนำแต่เพียงเท่านี้ก่อนนะครับ เลยเจอกันครั้งหน้า

สรุปงานประชุมประจำปีของสมาคมห้องสมุดฯ 2553

วันนี้ผมขอนำสรุปการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2553 และประชุมวิชาการเรื่อง ?การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ : สรรค์สร้างสังคมไทยเป็นสังคมการอ่าน? โดยสมาคมห้องสมุดฯ ได้สรุปข้อมูลออกมาเป็น File PDF และอัพโหลดขึ้นเว็บของสมาคมฯ แต่หลายๆ คนอาจจะไม่สะดวกในการอ่านใน file PDF ผมจึงขออนุญาติแปลงข้อมูลออกมาลงบล็อกของผมให้เพื่อนๆ ได้อ่านครับ

ไฟล์ต้นฉบับอ่านได้ที่ http://tla.or.th/pdf/an2553.pdf

ไฟล์ที่ผมแปลงออกมา อ่านได้เลยด้านล่างนี้ครับ

การประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2553 และประชุมวิชาการเรื่อง ?การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ : สรรค์สร้างสังคมไทยเป็นสังคมการอ่าน?

วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พุทธศักราช 2553 เวลา 9.00 น. นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2553 และประชุมวิชาการเรื่อง ?การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ : สรรค์สร้างสังคมไทยเป็นสังคมการอ่าน? จัดโดย สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ณ ห้องคอนเวนชั่นฮอล์ล A-B โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ถนนสุขุมวิท กรุงเทพมหานคร ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต นายกสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ได้กล่าวรายงานความเป็นมาและวัตถุประสงค์ในการจัดงานว่า สืบเนื่องจาก คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2552 ให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ ให้วันที่ 2 เมษายน ของทุกปี เป็นวันรักการอ่าน ให้ พ.ศ. 2552-2561 เป็นทศวรรษแห่งการอ่าน และให้มีคณะกรรมการส่งเสริมการอ่านเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นกลไกขับเคลื่อนการส่งเสริมการอ่านให้เกิดเป็นรูปธรรม สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการอ่านมาโดยตลอด สนับสนุนให้ห้องสมุดสถานศึกษาและสถาบันต่างๆ มีบทบาทในการปลูกฝังและส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ได้มีบทบาทร่วมกับองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหนังสือ และการอ่านในการผลักดันเรื่องของการอ่านให้เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อพัฒนาคนไทยและประเทศไทยสู่สังคมความรู้ได้อย่างยั่งยืนแม้ในยามที่ประเทศชาติเผชิญปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจและได้นำเรื่องการอ่านเป็นวาระแห่งชาตินี้ เป็นหัวข้อในการประชุมวิชาการของสมาคมฯ ตั้งแต่ปี 2552 ที่ผ่านมา สำหรับในปี 2553 นี้ สมาคมฯ ได้กำหนดการประชุมวิชาการประจำปีของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ในหัวข้อ ?การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ: สรรค์สร้างสังคมไทยเป็นสังคมการอ่าน? เพื่อเน้นย้ำให้ห้องสมุดและสถานศึกษาร่วมกันรณรงค์เรื่องความสำคัญของการอ่าน และตระหนักในบทบาทการส่งเสริมการอ่านและสร้างนิสัยรักการอ่านให้กับเด็ก เยาวชน และประชาชนทุกเพศ ทุกวัย และทุกสาขาอาชีพ เพื่อสร้างสังคมการอ่านและการเรียนรู้ตลอดชีวิต จากนั้น ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้กล่าวเปิดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2553 และประชุมวิชาการของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ โดยมีใจความสรุปว่า

?…ขอขอบคุณที่สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ที่ได้ตอบสนองแผนยุทธศาสตร์ของรัฐบาลที่กำหนดให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อสร้างสังคมการเรียนรู้ตลอดชีวิตใน 3 ประเด็น คือ 1.การพัฒนาคนไทยให้มีความสามารถในการอ่าน 2. การพัฒนาคนไทยให้มีนิสัยรักการอ่าน และ 3. การสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในการอ่านอย่างยั่งยืน และสมาคมฯ ได้จัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อสรรคสร้างสังคมไทยเป็นสังคมการอ่านมาอย่างต่อเนื่อง… ในฐานะป็นประธานในการรณรงค์ส่งเสริมการอ่าน ได้ตั้งเป้าหมายให้คนไทยพัฒนาความสามารถในการอ่านและการรู้หนังสือ โดยภายในปี 2555 ประชากรวัยแรงงานจะต้องรู้หนังสือในระดับใช้งานได้ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 92.64 เป็นร้อยละ 99 ขณะที่ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปสามารถอ่านออกเขียนได้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 92.64 เป็นร้อยละ 95 และการอ่านหนังสือของคนไทยจะต้องเพิ่มขึ้นเฉลี่ยจากปีละ 5 เล่ม เป็น 10 เล่ม รวมทั้งเพิ่มแหล่งการอ่านที่มีคุณภาพให้ทั่วถึงทุกตำบลและชุมชน ตลอดจนเน้นสร้างภาคีเครือข่ายการอ่านเพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่านและการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน…? ในโอกาสเดียวกันนี้ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้เกียรติบรรยายพิเศษเรื่อง ?การดำเนินงานทศวรรษแห่งการอ่านของรัฐบาล? และมอบโล่เกียรติคุณแก่ 1. บุคคลดีเด่นรางวัล ศาสตราจารย์พิเศษคุณหญิงแม้นมาส ชวลิต 2. ผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุดจำนวน 8 ท่าน 3.บุคคลดีเด่นในวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ จำนวน 6 ท่าน และ 4. รางวัลห้องสมุดดีเด่นจำนวน 17 แห่ง

รายนามบุคคลและห้องสมุดที่ได้รับรางวัลและโล่เกียรติคุณ ประจำปี 2553
– รางวัลศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต
นางจินัฏดา ชูช่วย

– ผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุดและการศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
1. นายไกรสร นันทมานพ
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นรงค์ ฉิมพาลี
3. พระศุภคณิชย์ สุภจิตโต
4. นายเรื่องเดช วงศ์หล้า
5. รองศาสตราจารย์ ดร. ศิริพร ขัมภลิขิต
6. นางสาวสมสุณีย์ ดวงแข
7. นายสุเมธ สิมะกุลธร
8. ศาสตราจารย์ ดร. อักขราทร จุฬารัตน

– รางวัลบุคคลดีเด่นในวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
1. นางสาวกนกวรรณ นิลจาด
2. นางนฤมล กิจไพศาลรัตนา
3. นางนาตยา ไทพาณิชย์
4. นางสาวนิสา ป้อมภู่
5. นางระวีวรรณ แสงลอย
6. นางราศี แสงจักร

– รางวัลห้องสมุดดีเด่น ประจำปี 2553
1. หอสมุดกฎหมายมหาชน สำนักงานศาลปกครอง
2. ห้องสมุดโรงเรียนม่วงสามปี จังหวัดลำพูน
3. ห้องสมุดโรงเรียนบ้านแพะ จังหวัดอุตรดิตถ์
4. ห้องสมุดโรงเรียนชุมแพพิทยาคม จังหวัดขอนแก่น
5. ห้องสมุดโรงเรียนบ้านเจ้าเณร จังหวัดกาญจนบุรี
6. ห้องสมุดหลวงพธานอำนวยกิจ โรงเรียนบ้านพูด กรป. กลาง จังหวัดพัทลุง
7. ห้องสมุดพระครูภาวนารังสี โรงเรียนวัดใหญ่ชัยมงคล (ภาวนารังสี) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
8. ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
9. ห้องสมุดโรงเรียนพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา
10. ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก โรงเรียนปากท่อพิทยาคม จังหวัดราชบุรี
11. ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติฉลองครองราชย์ครบรอบ 60 ปี ในหลวง โรงเรียนบ้านบูกิ๊ดยือแร จังหวัดนราธิวาส
12. ห้องสมุดโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายประถม) กรุงเทพมหานคร
13. ห้องสมุดคอวนิช โรงเรียนนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
14. หอสมุด 72 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ห้องสมุดโรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล จังหวัดสกลนคร
15. ห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
16. ห้องสมุดโรงเรียนสตูลวิทยา จังหวัดสตูล
17. ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ 48 พรรษา โรงเรียนสารวิทยา กรุงเทพมหานคร

ข้อความที่ถอดออกมาก็ได้แบบนี้แหละครับ หวังว่าเพื่อนๆ จะอ่านกันง่ายขึ้นนะครับ
เครดิต
ครั้งนี้ผมยกให้สมาคมห้องสมุดฯ แล้วกันที่เป็นคนสรุปงานออกมา
แต่อยากให้สมาคมห้องสมุดเปลี่ยนวิธีการในการนำเสนอข้อมูลได้แล้ว
เนื่องจากการอ่านไฟล์ PDF มันมีขั้นตอนซับซ้อนนิดหน่อย แถมยังไม่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ด้วย

เอาเป็นว่าวันนี้ขอนำเสนอแค่นี้แล้วกัน เพื่อนๆ ก็สามารถแสดงความคิดเห็น หรือ ใครที่ไปร่วมงานแล้วเขียนสรุปมาก็ส่งมาให้อ่านกันบ้างนะครับ เพื่อเปิดโอกาสให้กับผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมจะได้รับความรู้เท่าเทียมกัน “การแบ่งปันความรู้คือพลังอันยิ่งใหญ่”

เว็บไซต์สมาคมห้องสมุด : http://tla.or.th

การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ: สรรค์สร้างสังคมไทยเป็นสังคมการอ่าน

งานประชุมประจำปีของสมาคมห้องสมุดฯ จัดทุกปีในช่วงเดือนธันวาคม
วันนี้ผมเลยขอนำมาประชาสัมพันธ์ให้เพื่อนๆ ได้รับทราบกันหน่อยนะครับ

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการประชุมวิชาการครั้งนี้
ชื่อการประชุมภาษาไทย : การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ: สรรค์สร้างสังคมไทยเป็นสังคมการอ่าน
ชื่อการประชุมภาษาอังกฤษ : A Decade of National Reading Agenda : Create Reading Thai Society
วันและเวลา : 20-23 ธันวาคม 2553
สถานที่จัดการอบรม : โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพมหานคร
ผู้จัดการประชุม : สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

ในช่วงนี้อย่างที่เพื่อนๆ รู้แหละครับว่าเป็นทศวรรษแห่งการอ่าน ดังนั้นทางสมาคมห้องสมุดก็เลยพลักดันเรื่องนี้อยู่เช่นกัน
การอ่านกับเรื่องห้องสมุดย่อมไปในแนวทางเดียวกัน “กิจกรรมส่งเสริมการอ่านในห้องสมุด” ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน
งานประชุมครั้งนี้ได้เชิญวิทยากรจากหลายสาขาวิชาชีพมาบรรยายเพื่อแนะนำบรรณารักษ์ให้มีเทคนิคในการจัดกิจกรรมใหม่ๆ

หัวข้อที่น่าสนใจในการประชุมครั้งนี้
1. การดำเนินงานทศวรรษแห่งการอ่านของรัฐบาล
2. ต้นแบบความสำเร็จที่ได้จากการอ่านของนักเรียน และนักศึกษา
3. การจัดศึกษาดูงานห้องสมุด แหล่งเรียนรู้ และการส่งเสริมการอ่านภายในประเทศและต่างประเทศ
4. การบริหารจัดการการอ่านของเด็กปัญญาเลิศ
5. ไขปัญหาชีวิตด้วยการอ่าน
6. การเสนอผลงานวิจัย/วิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการอ่าน และผลงานที่เกี่ยวข้อง
7. อ่านเพื่อเสริมสร้างปัญญา
8. กิจกรรมของชมรมต่าง ๆ และการระดมความคิด: การบริหารจัดการการอ่าน
9. รายงานผลการดำเนินงานกิจการของสมาคมฯประจำปี พ.ศ.2553 และการประกาศผลการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ พ.ศ. 2554-2555
10. การพัฒนาการอ่านของสถานศึกษาตามนโยบายแนวทางทศวรรษแห่งการอ่าน

ใครที่สนใจจะเข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้ ผมแนะนำว่าลองติดต่อไปที่สมาคมห้องสมุดกันดูนะครับ
ที่เบอร์โทรดังนี้ โทร. 0-2734-9022-23, 0-2736-7838

ปล.หมายเหตุในเว็บไซต์สมาคมห้องสมุดผมไม่สามารถเปิดเอกสารในการลงทะเบียนได้
ไฟล์ที่ไม่สามารถเปิดดูได้
(แบบลงทะเบียน , ใบตอบรับเข้าร่วมกิจกรรม)

ส่วนรายละเอียดเพื่อนๆ สามารถเปิดดูได้ตามปกตินะครับ ที่
http://www.tla.or.th/pdf/prjectsi2010.pdf

งานประชุมวิชาการ “ห้องสมุดดิจิตอล : ปัจจุบันและอนาคต” (แก้ไข)

ช่วงนี้กระแสของห้องสมุดดิจิตอลกำลังมาแรง และถูกไถ่ถามหนาหูขึ้นเรื่อยๆ
เนื่องจากเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วการเข้าถึงข้อมูลดิจิตอลทำได้สะดวกขึ้น
วันนี้ผมจึงขอแนะนำงานประชุมวิชาการงานหนึ่งที่น่าสนใจ และพูดถึงทิศทางของห้องสมุดดิจิตอล

รายละเอียดงานประชุมวิชาการเบื้องต้น
ชื่อการประชุมวิชาการ : ห้องสมุดระบบดิจิตอล : ปัจจุบันและอนาคต
จัดวันที่ : 5 พฤศจิกายน 2553
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุมชั้น 7 ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จัดโดย : ชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

ชื่องานนี้ก็นับว่าน่าสนใจอยู่เหมือนกันนะครับ ประมาณว่าให้ข้อมูลปัจจุบันและทิศทางในอนาคต
แต่ประเด็นที่ผมจับตาดูอยู่คือ เป็นงานของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
ซึ่งแน่นอนครับว่ามีศักยภาพในการจัดทำและพัฒนาระบบห้องสมุดดิจิตอล

เอาเป็นว่าไปดูหัวข้อที่น่าสนใจในงานนี้ก่อนดีกว่าครับ

– ห้องสมุดระบบดิจิตอล : ปัจจุบันและอนาคต
– IT สำหรับห้องสมุดระบบดิจิตอล
– มาตรฐานการแปลงภาพเป็นดิจิตอล
– ห้องสมุดระบบดิจิตอล : แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์

เอาเป็นว่าหัวข้อก็น่าสนใจดีครับ แต่การเข้าฟังต้องมีค่าใช้จ่ายสักหน่อยนะครับ
คือถ้าเป็นสมาชิกของสมาคมห้องสมุดก็ 300 บาท แต่ถ้าไม่ได้เป็นก็ 350 บาท
ซึ่งผมว่าก็คุ้มค่าในการเข้าฟังนะครับ ยังไงก็สมัครเข้าไปฟังกันดู

หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติมก็เข้าไปดูที่เอกสารที่นี่เลยครับ “เอกสารประชาสัมพันธ์งานนี้

กระบวนทัศน์การพัฒนาห้องสมุดสู่ความสำเร็จ

วันนี้ผมขอแนะนำงานประชุมวิชาการประจำปีของหอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นะครับ
เพราะว่างานนี้เป็นงานที่น่าสนใจมากๆ เพราะอัดแน่นไปด้วยเนื้อหาสาระเพื่อการพัฒนาห้องสมุด

tu-seminar-library

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับงานประชุมวิชาการ
ชื่องานภาษาไทย : กระบวนทัศน์การพัฒนาห้องสมุดสู่ความสำเร็จ
ชื่องานภาษาอังกฤษ : Paradigm of library development for success
จัดวันที่ : 2 – 3 กันยายน 2552
สถานที่จัดงาน : โรงแรมปรินซ์พาเลช กรุงเทพฯ
จัดโดย : สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

จากการที่ผมติดตามข่าวสารด้านห้องสมุดมาตลอดสามปี
ผมได้ลองอ่านเอกสารประกอบการประชุมวิชาการนี้มาโดยตลอด
(ต้องขอบคุณพี่ๆ ที่ธรรมศาสตร์ที่ส่งมาให้ผมอ่าน)
ซึ่งต้องขอบอกเลยว่าเป็นงานประชุมทางวิชาการด้านห้องสมุดที่ดีที่สุดในเมืองไทยเลยก็ว่าได้

ดังนั้นปีนี้พอมีงานผมเลยต้องขอบอกต่อให้เพื่อนๆ ร่วมวิชาชีพเข้าร่วมกันสักหน่อย
เอาเป็นว่าถ้าใครมีโอกาสไปงานนี้ผมเชื่อว่าเพื่อนๆ จะได้ไอเดียดีๆ มากมายเพื่อนำมาพัฒนาห้องสมุด

ตัวอย่างหัวข้อการบรรยายในงานนี้
– การบรรยายเรื่อง การพัฒนาห้องสมุดสู่ยุค Generation G
– การบรรยายเรื่อง คุณภาพบริการ ความพึงพอใจ การวัดและประเมินบริการห้องสมุด
– การบรรยายเรื่อง ศาสตร์แห่งความสำเร็จพิชิตอุปสรรคในงานห้องสมุด
– การบรรยายเชิงปฏิบัติ การเรื่องเทคนิคการทำ Mind Map เพื่อผลสำเร็จของงานห้องสมุด
– การบรรยายเรื่อง Libraries – A Framework for Excellence : A Report on Work in Progress at Technische Universit?t M?nchen Library, Germany
– การบรรยายเรื่อง Social Networking, Social Media และ I-Society กับการพัฒนาห้องสมุด
– การบรรยายเรื่อง Seven Habits : หลักการเพื่อสร้างความสำเร็จแก่ตนเองและงาน

เห็นมั้ยครับแค่หัวข้อยังน่าสนใจมากๆ เลยครับ
ถ้าได้ไปฟังจะได้ไอเดียดีๆ กลับมามากแค่ไหน

อ๋อ แต่ก็ต้องบอกก่อนนะครับว่า งานนี้มีค่าใช้จ่ายนะครับ
ค่าลงทะเบียนคนละ 2,500 บาท (ค่าเอกสารและอาหาร)

นอกจากนี้หากเพื่อนๆ สนใจเอกสารประกอบการประชุมวิชาการที่ผ่านมา เพื่อนๆ สามารถดูได้ที่
“ห้องสมุดเชิงรุก : การปรับตัวสู่การเป็นห้องสมุดในโลกไร้พรมแดน” (2550)
“การพัฒนาศักยภาพห้องสมุดยุคใหม่” (2551)
“การจัดการการเปลี่ยนแปลงห้องสมุดในทศวรรษหน้า” (2552)

ใครที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปดูได้ที่ http://203.131.219.180/conference2010

และถ้าใครสนใจลงทะเบียนเข้าร่วมงานก็เข้าไปได้ที่ http://library.tu.ac.th/conference2010/index.asp

เก็บตกหัวข้อที่น่าสนใจสำหรับห้องสมุดและบรรณารักษ์จากงาน CIL2010

งาน Computers in libraries 2010 หรือ CIL2010 เริ่มตั้งแต่วันที่ 12 เมษายนที่ผ่านมา
ซึ่งภายในงานนี้มีหัวข้อการบรรยายที่น่าสนใจมากมาย เอาเป็นว่าวันนี้ผมจะมาสรุปให้เพื่อนๆ ได้อ่านนะครับ

cil2010

อย่างที่เคยบอกแหละครับว่า งานนี้เป็น “งานประชุมวิชาการครั้งใหญ่เกี่ยวกับเทคโนโลยีในห้องสมุด”
แน่นอนครับหัวข้อที่บรรยายในงานนี้จะเกี่ยวกับเทคโนโลยีในห้องสมุดทุกอย่างครับ
รวมถึงจากงานประชุมวิชาการนี้จะทำให้เราได้เห็นแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงในวงการห้องสมุดด้วยครับ

หัวข้อบรรยายในงานนี้ก็ยังคงแบ่งออกเป็น 5 ห้องเช่นเดิม (5 Track)
ซึ่งในแต่ละห้องก็จะมีหัวข้อย่อยๆ อีก ดังนี้

TRACK A
– INFORMATION DISCOVERY & SEARCH
– DIGITAL PRACTICES
– CONTENT MANAGEMENT

TRACK B
– WEB PRESENCE & EXPERIENCE
– NEXT-GEN CATALOGS
– MOBILE TRENDS, STRATEGIES & PRACTICES

TRACK C
– MANAGING 2.0
– PLANNING & FOCUSING ON THE FUTURE
– COOL TOOLS

TRACK D
– COLLABORATION STRATEGIES & TOOLS
– ENTERPRISE TRENDS & PRACTICES
– CULTIVATING INNOVATION & CHANGE

TRACK E
– LITERACIES & FLUENCIES
– TEACHING : TECHNOLOGIES & APPROACHES
– LEARNING : EXPANDING OUR KNOWLEDGE

————————————————————————————-

นอกจากนี้ในแต่ละหัวข้อของ Track ต่างๆ ก็จะมีผู้บรรยายมาพูดในหัวข้อที่เกี่ยวกับ Track ดังนี้

สำหรับหัวข้อใน Track A

INFORMATION DISCOVERY & SEARCH
– Super Searcher Shares : Search Tips Spectacular!
– Trends in Search & Search Engines
– New & Hot : The Best of Resource Shelf
– Innovative Applications of Federated Search Technology
– Discovery Tools : Case Study

DIGITAL PRACTICES
– Crafting Online Personas
– Library Engagement Through Open Data
– Usability & Libraries
– Using Technology, Creativity & Partnerships
– Reference for a Digital World

CONTENT MANAGEMENT
– Content Containers : Tranforming Publishing & Purchasing
– Licensing Content & Creative Common (CC)
– Digitization Practices
– Ebooks : Landscape & Implications
– Ebooks : Experience & Learnings

———————————————

สำหรับหัวข้อใน Track B

WEB PRESENCE & EXPERIENCE
– Experience Design Makeover
– Improving Visual Web Experience
– Website Redesign : Two case studies
– Analyzing, Evaluating & Communicating the Value of Web Presence
– Well-Organized Sites & Portals

NEXT-GEN CATALOGS
– From OPAC to SOPAC : Steps to a Social Library
– SOPAC 2.1 : Digital Strategy for the New Library
– Open Source Models : Hybrid ILS & Multiple Sites
– Fluency in OS Systems : Pilots in Different Size Libraries
– Global Library Landscape

MOBILE TRENDS, STRATEGIES & PRACTICES
– Mobile Literacy : Competencies for Mobile Tech
– Developing & Designing for Mobile
– Mobile Tips & Practices
– What?s Happening With Mobile in Libraries
– Practices & Search: What?s Hot!

———————————————

สำหรับหัวข้อใน Track C

MANAGING 2.0
– Tips for Fast Tech Project Implementation
– Achieving Org 2.0
– Decision Making & Decisions in a Digital Age
– Gen X Librarians: Leading From the Middle
– Digital Managers Sound Off

PLANNING & FOCUSING ON THE FUTURE
– Strategic Planning & Encouraging Change
– Critical Thinking : Getting to the Right Decision
– Bridging Community, Research, Skill Building, & Entertainment With World of Warcraft & Libraries
– Planning & Partnerships : Strategic Initiatives
– Feedback & Proving Worth With Library Scorecards

COOL TOOLS
– New & Open Source Tools
– Productivity Tools
– What?s Hot in RSS
– Cloud Computing & Digital Video
– Best Free Web Services for Broke Libraries

———————————————

สำหรับ หัวข้อใน Track D

COLLABORATION STRATEGIES & TOOLS
– Digital Commons: Building Digital Communities Using Digital Collections
– Real-Time Collaboration Tools
– What Administrators Need to Know About Technology
– Google Wave
– Twitter Tools: Applications & Success Stories

ENTERPRISE TRENDS & PRACTICES

– Web 2.0 Tools: Innovation, Awareness, & Knowledge-Sharing
– Info Pros & SharePoint: Good Fit
– Drupal Applications & Practices
– Search Enhancements for the Enterprise
– Building Communities & Engaging Clients

CULTIVATING INNOVATION & CHANGE
– The 24th Thing: What?s Next?
– Persuasion, Influence, & Innovative Ideas
– Google Gambol
– Information Discovery With Surfaces
– Engaging Communities

———————————————

สำหรับ หัวข้อใน Track E

LITERACIES & FLUENCIES
– Information Fluency Strategies & Practices
– Libraries & Transliteracy
– Developing Specific Fluencies: Case Studies
– Information Literacy : Life Cycle & Economic Benefits
– LibGuides: Web Tools to Enhance Information Fluency?

TEACHING : TECHNOLOGIES & APPROACHES
– LMS: What?s Out There & How to Decide!
– Reaching Reluctant Learners
– Training in the Cloud or Mobile Labs!
– Virtual Learning & Training : From Classrooms to Communities
– Instructional Technology: It?s a Team Thing

LEARNING : EXPANDING OUR KNOWLEDGE
– Staff Development: Soft Skills, Firm Results
– Peer Training for Digital Literacy
– From Podcasts to Blogs and Beyond!
– Ref Desk Adventure : Simulation Game for Training
– 23 Things for an International Audience

———————————————

เป็นยังไงกันบ้างครับกับงานประชุมวิชาการของวงการบรรณารักษ์ในต่างประเทศ
ในเมืองไทยผมก็จะพยายามจัดให้ได้ถ้ามีโอกาสนะครับ

หากเพื่อนๆ ต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมของหัวข้อต่างๆ ก็สามารถดูได้ที่
http://conferences.infotoday.com/documents/84/CIL2010-FinalProgram.pdf

และหากต้องการทราบความเคลื่อนไหวของการประชุม CIL ให้เข้าไปที่
http://www.infotoday.com/cil2010/twitter.asp

งานประชุมวิชาการด้านเทคโนโลยีห้องสมุด (Computer in Libraries 2009)

วันนี้ผมขอเขียนเรื่องย้อนหลังไปเมื่อเดือนมีนาคม – เมษายน ที่ผ่านมานะครับ
ในช่วงเดือนนั้นมีงานประชุมวิชาการครั้งใหญ่เกี่ยวกับเทคโนโลยีในห้องสมุด หรือที่เราเรียกกันว่า Computer in Libraries 2009

cil2009

Computer in Libraries 2009 หรือที่ในวงการเรียกย่อๆ ว่า CiL 2009
งานนี้ถือว่าเป็นงานประชุมด้านเทคโนโลยีสำหรับบรรณารักษ์ที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือเลยก็ว่าได้
กำหนดการของงานนี้เริ่มในวันที่ 30 มีนาคม ถึง 1 เมษายน 2009

ข้อมูลทั่วไปของงาน CIL2009
ชื่องาน : Computer in Libraries
จัดมาแล้วเป็นครั้งที่ : 24
วันที่จัด : 30 มีนาคม – 1 เมษายน 2552
สถานที่ : Hyatt Regency Crystal City (จัดในประเทศสหรัฐอเมริกานะครับ)

สโลแกนของงานนี้
?CREATING TOMORROW : SPREADING IDEAS & LEARNING?
มาสร้างวันพรุ่งนี้กันดีกว่า ด้วยการกระจายไอเดียและกระจายการเรียนรู้ (แชร์ไอเดียร่วมกัน)

งานนี้ไม่ได้จัดโดยห้องสมุดใดห้องสมุดหนึ่งนะครับ
แต่องค์กรหลักที่เป็นผู้จัดงานนี้คือ บริษัท Information Today

เอาเป็นว่ามาดูหัวข้อเด่นๆ ในงานแบบเต็มๆ กันเลยดีกว่า

cil2009-book

โดยในงานนี้จะแบ่งออกเป็น 5 ห้อง โดยเริ่มจาก Track A – Track E
ซึ่งผู้เข้าประชุมจะต้องเลือกเข้า 1 Track ซึ่งแต่ละ Track จะมีเนื้อหาที่ไม่เหมือนกัน
โดยเนื้อหาของแต่ละ Track มีดังนี้

TRACK A
– INFORMATION DISCOVERY & SEARCH
– CULTIVATING INNOVATION & CHANGE
– SEARCH & SEARCH ENGINES

TRACK B
– WEB DESIGN & DEVELOPMENT
– OPEN LIBRARIES
– NEW WORLDS: MOBILE, VIRTUAL, & GAMES

TRACK C
– COMMUNITIES & COLLABORATION
– SOCIAL SOFTWARE
– CONTENT MANAGEMENT (CM)

TRACK D
– DIGITAL LIBRARIES
– SERVICES & VIRTUAL REFERENCE
– LEARNING

TRACK E
– INNOVATION IN SMALLER LIBRARIES
– NEXT GEN CATALOGS
– 2.0 PLANNING & MANAGING

?????????????????????-

นอกจากนั้นในแต่ละหัวข้อของ Track ต่างๆ? ก็จะมีผู้บรรยายมาพูดในหัวข้อที่เกี่ยวกับ Track ต่างๆ ดังนี้

สำหรับหัวข้อใน Track A

INFORMATION DISCOVERY & SEARCH
– Super Searcher Search Tips
– Searching Conversations: Twitter, Facebook, & the Social Web
– What?s New & Hot: The Best Resource Shelf
– Searching Google Earth
– Information Discovery: Science & Health

CULTIVATING INNOVATION & CHANGE
– New Strategies for Digital Natives
– Designing the Digital Experience
– Googlization & Gadget Support for the Library
– Library Transformation With Robotics
– Innovative Services & Practices

SEARCH & SEARCH ENGINES
– The Future of Federated Search
– Federated Search: Growing Your Own Tools
– Mobile Search
– What?s Hot in RSS
– Emerging Search Technologies

?????????????????????-

สำหรับหัวข้อใน Track B

WEB DESIGN & DEVELOPMENT
– Website Redesign Pitfalls
– Help Your Library Be Omnipresent Without Spending a Dime
– 40-Plus New Tools & Gadgets for Library Webmasters
– What Have We Learned Lately About Academic Library Users
– Library Facebook Applications

OPEN LIBRARIES
– Open Source Software
– Open Source Browsers
– Unconferences
– Open Source Library Implementations
– Open Access: Green and Gold

NEW WORLDS: MOBILE, VIRTUAL, & GAMES
– Mobile Practices & Search: What?s Hot!
– Mobile Usability: Tips, Research, & Practices
– Mobile Library Apps
– Real Librarians in Virtual Worlds
– Gaming & Learning

?????????????????????-

สำหรับหัวข้อใน Track C

COMMUNITIES & COLLABORATION
– Who Put the Blawg in My Collection?
– Building Community Partnerships: 25 Ideas in 40 Minutes
– Building Communities: Wikis & Ning
– Flickr Commons for Libraries & Museums
– Continued Online Community Engagement

SOCIAL SOFTWARE
– The Best of the Web
– Social Network Profile Management
– Web 2.x Training for Customers & Staff
– Evaluating, Recommending, & Justifying 2.0 Tools
– Pecha Kucha: 2.0 Top Tips

CONTENT MANAGEMENT (CM)
– CM Tools: Drupal, Joomla, & Rumba
– Implementing CMS: Academic
– Implementing CMS: Public
– Customized Content Portals
– Content Collage: Institutional Repositories

?????????????????????-

สำหรับหัวข้อใน Track D

DIGITAL LIBRARIES
– Digital Preservation, E-Government & ERM
– Digital Rights Management (DRM) Copyright, & Creative Commons
– Moving Libraries to the Cloud
– Developing a Sustainable Library IT Environment
– Achieving the Dream to Go Green


SERVICES & VIRTUAL REFERENCE

– Next Gen Digital Reference Tools
– Reference Odyssey: Still Dealing with Real People
– Embedding Services: Go Where the Client Is
– More than Just Cruising: SL & Web 2.0
– Service at Point of Need: SharePoint & Mobile Tools

LEARNING
– Learning Solutions Through Technology
– Enhancing Learning Anytime, Anywhere: Spread Your Reach
– E-Learning: Trends, Tools & Interoperability
– Embedding Ourselves: Using Web 2.0 and Second Life for Instructional Presence
– Dynamic Learning Spaces & Places

?????????????????????-

สำหรับหัวข้อใน Track E

INNOVATION IN SMALLER LIBRARIES
– I Wanna Be 2.0 Too!: Web Services for Underfunded Libraries
– Tiny Libraries, Tiny Tech, Innovative Services
– Social Software Solutions for Smaller Libraries
– Obstacle or Opportunity? It’s Your Choice!
– Blogs as Websites

NEXT GEN CATALOGS
– Global Library Automation Scene
– Library Automation Highlights
– Library Website & Library Catalog: One-Stop!
– Open Source Implementations
– Cooperative Systems Trump Integrated Systems

2.0 PLANNING & MANAGING
– Setting Up a Trends Analysis Program
– What’s the Return on Investment for Your Library?
– Future Space: The Changing Shape of Libraries
– Successful Online Collaborative: A Tale of Three Libraries
– New Tools for Metrics & Measures

?????????????????????-

เป็นยังไงกันบ้างครับกับงานประชุมวิชาการของวงการบรรณารักษ์ในต่างประเทศ
ในเมืองไทยผมก็จะพยายามจัดให้ได้ถ้ามีโอกาสนะครับ

การประชุมนานาชาติ ?จดหมายเหตุวัฒนธรรมในยุคดิจิทัล?

ขอประชาสัมพันธ์งาน การประชุมนานาชาติ ?จดหมายเหตุวัฒนธรรมในยุคดิจิทัล?
ซึ่งจัดโดย โครงการจดหมายเหตุมานุษยวิทยา ของ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

banner Read more

การจัดการการเปลี่ยนแปลงห้องสมุดในทศวรรษหน้า

วันนี้ขอเพิ่งงานสัมมนาอีกงานนึงที่น่าสนใจไม่แพ้งานอื่นเหมือนกัน คือ
งานประชุมวิชาการประจำปี ของหอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นั่นเอง

tu-annual-conference

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับงานประชุมวิชาการ
ชื่องานภาษาไทย : การจัดการการเปลี่ยนแปลงห้องสมุดในทศวรรษหน้า
ชื่องานภาษาอังกฤษ : Change Management of Libraries in the Next Decade
จัดวันที่ : 3 – 4 กันยายน 2552
สถานที่จัดงาน : ห้องคอนเวนชั่น โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ
จัดโดย : สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ปีนี้ก็เป็นปีที่สามแล้วนะครับที่ผมติดตามงานประชุมวิชาการ ของ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
จำได้ว่าปีแรกจัดในเรื่อง “ห้องสมุดเชิงรุก : การปรับตัวสู่การเป็นห้องสมุดในโลกไร้พรมแดน” (2550)
และปีที่สองจัดในเรื่อง “การพัฒนาศักยภาพห้องสมุดยุคใหม่” (2551)
ปีนี้มาในธีมงาน “การจัดการการเปลี่ยนแปลงห้องสมุดในทศวรรษหน้า”

อันนี้ขอแซวเล่นๆ นะครับว่า
“โปรดสังเกตว่าธีมงานทั้งสามปีจะเน้นให้ห้องสมุดต่างๆ ตื่นตัวต่อการเปลี่ยนแปลงมากๆ
ตั้งแต่ต้องเชิงเปลี่ยนเป็นห้องสมุดเชิงรุกก่อน แล้วถึงจะมาเป็นห้องสมุดยุคใหม่
นอกจากนี้ยังต้องบอกให้ทุกๆ คนยอมรับเรื่องการจัดการความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ด้วย”

เราลองไปดูหัวข้อการบรรยายกันเลยดีกว่าว่ามีหัวข้อไหนที่น่าสนใจบ้าง
– สุ จิ ปุ ลิ – ฟัง คิด ถาม เขียน : หัวใจของผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด
– การเปลี่ยนแปลงบทบาทของห้องสมุดและบรรณารักษ์ :กรณีศึกษาห้องสมุดมหาวิทยาลัยฮ่องกง
– เทคโนโลยี 2.0 : Web 2.0, Library 2.0, Enterprise 2.0 จำเป็นสำหรับห้องสมุดจริงหรือ
– ห้องสมุดในฝันของนักวิจัย
– พลังแห่งบุคลิกภาพสำหรับผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด
– กลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงสู่ความสำเร็จในห้องสมุด
– กล้าคิด กล้าทำ กล้านำ กล้าเปลี่ยน

เอาเป็นว่าหัวข้อทุกหัวข้อย่อมน่าสนใจทั้งหมดอยู่แล้วหล่ะครับ
ช่วงวันแรกของการบรรยายเริ่มจากเรื่องเบาๆ แล้วค่อยหนักขึ้นเรื่อยๆ
วันที่สองก็เน้นในเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ กิจกรรม และการนำเสนอเป็นหลัก

ผมว่าทุกอย่างในงานบรรยายทั้งสองวันคงจะตอบโจทย์ว่า
“เราจะจัดการความเปลี่ยนแปลงได้ยังไง” กันนะครับ

มาพูดเรื่องเสียงเงินกันบ้างดีกว่า งานนี้ผู้เข้าร่วมต้องเสียค่าเข้าร่วมประชุมดังนี้
ชำระก่อน 31 กรกฎาคม ต้องจ่าย 2,500 บาท ถ้าหลังจากนั้น 3,000 บาท
แต่เดี๋ยวก่อนงานนี้มีข่าวดีสำหรับนักศึกษาปริญญาตรีและปริญญาโท จ่ายแค่ 2,000 บาทเท่านั้น


นับว่าเป็นโอกาสอันดีจริงๆ ที่มีการจัดงานในครั้งนี้
ผมก็หวังอย่างยิ่งว่าจะมีคนมาเล่าให้ฟังเหมือนงานก่อนๆ อีกนะครับ
สุดท้ายนี้ก็หวังว่าผมจะว่างในวันดังกล่าวด้วยแล้วกันนะครับ แล้วเจอกันครับ