Food for Thought : สร้างประสบการณ์ใหม่ให้ผู้ใช้บริการห้องสมุดกันเถอะ

Food for Thought : สร้างประสบการณ์ใหม่ให้ผู้ใช้บริการห้องสมุดกันเถอะ

เช้านี้ได้มีโอกาสมานั่งจิบกาแฟ อ่านนิตยสารแจกฟรี (Free Magazine) ในร้านกาแฟ เลยหยิบมาเล่มหนึ่ง ชื่อว่า “MICE Spotlight” ที่เน้นเนื้อหาเกี่ยวกับวงการ MICE ในบ้านเรา (MICE ย่อมาจาก Meetings, incentives, conferencing, exhibitions — กล่าวง่ายๆ ว่าเป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับการจัด Event)

ซึ่งภายในนิตยสารฉบับนี้ ผมได้เจอคอลัมน์หนึ่งที่ทำให้ต้องหยุดและอ่าน นั่นคือ “MICE SPOTLIGHT” ซึ่งในฉบับนี้ได้นำเสนอเรื่อง “Fulfill the moment : Playing with feeling…a list of techniques to create immersive experiences” หรือ แปลเป็นไทยว่า “เล่นกับความรู้สึก เทคนิคสร้างประสบการณ์ตราตรึงใจ

Read more

ประสบการณ์ทำงานห้องสมุดเล็กใหญ่ไม่สำคัญ

คนที่ทำงานในห้องสมุดใหญ่ หรือ คนที่ทำงานในห้องสมุดเล็ก
ไม่ว่าจะที่ไหนก็คือห้องสมุดเหมือนกัน และเป็นบรรณารักษ์เหมือนกัน
ดังนั้นกรุณาอย่าแตกแยกครับ บรรณารักษ์ต้องสามัคคีกัน (มาแนวรักชาติ)

librarian-in-library

ทำไมผมต้องเขียนเรื่องนี้หรอครับ สาเหตุมาจากมีน้องคนนึงมาอ่านบล็อกผมแล้วส่งเมล์มาถาม
เกี่ยวกับเรื่องการทำงานในห้องสมุดและสมัครงานในห้องสมุดนั่นเอง

ประมาณว่าน้องเขาถามว่า
“ผมทำงานในห้องสมุดเล็กๆ แห่งหนึ่ง ทำงานทุกอย่างคนเดียวในห้องสมุด
ทีนี้ผมอยากจะออกมาสมัครงานในห้องสมุดแบบใหญ่ๆ บ้าง
ขอถามว่าผมจะเสียเปรียบบรรณารักษ์คนที่เคยทำงานในห้องสมุดใหญ่ๆ บ้างหรือปล่าว”

ประเด็นนี้ผมมานั่งคิดๆ ดูแล้ว มันก็ตอบยากนะครับ เพราะว่าในแง่ของการให้บริการในห้องสมุดมันก็คล้ายๆ กันนะครับ
คือพูดง่ายๆ ว่า บรรณารักษ์ยังไงเราก็ต้องให้บริการผู้ใช้ในห้องสมุดอยู่แล้ว

จะบอกว่าห้องสมุดใหญ่ต้องให้บริการดีกว่าห้องสมุดเล็ก มันก็คงไม่ใช่ สรุปง่ายๆ ว่างานด้านบริการผมว่าเท่าๆ กัน
แต่ในแง่ของอุปกรณ์ที่อำนวยความสะดวกหรืองบประมาณอันนี้ผมคงต้องถามต่อไปอีกว่า

“ห้องสมุดของเรา บริการให้ผู้ใช้บริการได้เต็มที่แล้วหรือยัง”

ห้องสมุดในบางแห่งมีงบประมาณมากมาย อุปกรณ์อำนวยความสะดวกมาก แต่บรรณารักษ์กลับไม่สนใจในการให้บริการ
ดังนั้นการจะเปรียบเทียบห้องสมุดผมจึงไม่ขอเอาเรื่องความใหญ่โตของห้องสมุดมาเทียบนะครับ
ถ้าจะเทียบผมขอเทียบในแง่ของการให้บริการดีกว่า ถึงแม้ว่าจะวัดผลในการให้บริการยากก็ตาม

ในแง่ของผู้ใช้บริการที่ต้องเข้ามาใช้บริการในห้องสมุด
จุดประสงค์ก็คงจะไม่พ้นเพื่อค้นหาข้อมูล เพื่อหาความรู้ อ่านหนังสือ ฯลฯ
ซึ่งโดยหลักการแล้วห้องสมุดไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ก็ต้องมีบริการพื้นฐานเหล่านี้

ในเรื่องของการทำงานด้านบรรณารักษ์ในห้องสมุด อันนี้ผมคงต้องตอบว่าขึ้นอยู่กับการเรียนรู้งานของเพื่อนๆ นั่นแหละ
ซึ่งโดยปกติที่ผมเห็นคือถ้าเป็นห้องสมุดใหญ่ๆ บรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่ห้องสมุดจะมีการแบ่งงานอย่างชัดเจน
ซึ่งแน่นอนว่าคนเดียวอาจจะไม่ต้องทำทุกงานในห้องสมุดก็ได้ ดังนั้นบรรณารักษ์ก็จะได้ความชำนาญเฉพาะด้านไปใช้

แต่ถ้าหากมองไปที่ห้องสมุดขนาดเล็กซึ่งบางแห่งมีบรรณารักษ์คนเดียว
และทำงานทุกอย่างในห้องสมุดไม่ว่าจะเป็นงานบริหารไปจนถึงการจัดชั้นหนังสือ
แน่นอนครับ บรรณารักษ์ในกลุ่มนี้จะเข้าใจในกระบวนการทำงานของห้องสมุดแบบภาพรวมได้อย่างชัดเจน
รู้กระบวนการต่างๆ ในห้องสมุด ขั้นตอน แผนงาน และการดำเนินการต่างๆ อย่างเป็นระบบ

เอาเป็นว่าขอสรุปนิดนึง
ห้องสมุดใหญ่ –> บรรณารักษ์ชำนาญเฉพาะด้าน
ห้องสมุดขนาดเล็ก –> บรรณารักษ์เข้าใจภาพรวมของห้องสมุด

เวลาไปสมัครงานไม่ว่าจะมาจากห้องสมุดเล็ก หรือ ห้องสมุดใหญ่
ผมว่าต่างคนก็ต่างได้เปรียบในแต่ละเรื่องอยู่แล้ว ดังนั้นเรื่องการสมัครงานคงไม่มีผลกระทบเช่นกัน

ยังไงซะไม่ว่าจะทำงานที่ไหนก็ตาม ทุกคนก็ยังคงได้ชื่อว่าเป็นบรรณารักษ์อยู่ดี
ดังนั้นก็ขอให้เพื่อนๆ ทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุดนะครับ

บรรณารักษ์ที่มีประสบการณ์ กับ บรรณารักษ์ที่มีความรู้

วันนี้ผมขอถามความเห็นจากเพื่อนๆ หน่อยนะครับว่า
ระหว่าง “บรรณารักษ์ที่มีประสบการณ์” กับ “บรรณารักษ์ที่มีความรู้” อย่างไหนที่เพื่อนๆ คิดว่าสำคัญกว่า

librarian

แบบสอบถามเรื่องนี้มาจากการส่งเมล์สอบถามกันระหว่างกลุ่มบรรณารักษ์ที่ผมเป็นสมาชิกอยู่
ชื่อเมล์ว่า “Library needs experienced librarian, not retail guru”
ผมอ่านความคิดเห็นจากหลายๆ คนแล้วรู้สึกว่ามันน่าสนใจดี เลยขอเอามาถามเพื่อนๆ ชาวไทยบ้าง

คนบางคนอยากเป็นบรรณารักษ์มากถึงขั้นอ่านตำราบรรณารักษ์มากมาย
บางคนจบบรรณารักษ์มาแต่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับบรรณารักษ์ติดตามด้วย
บางคนไม่ได้จบบรรณารักษ์แต่ทำงานในห้องสมุดได้มากมาย

ในต่างประเทศคนที่จบบรรณารักษ์มาใหม่ๆ ได้รับการต้อนรับจากวงการกันอย่างแพร่หลาย
เพื่อที่จะนำคนเหล่านี้มาฝึกให้กลายเป็นบรรณารักษ์แบบมืออาชีพด้วย
เนื่องจากการเรียนในมหาวิทยาลัยเป็นเพียงการเรียนในตำราและสอนแต่ทฤษฎีเท่านั้น
เมื่อออกมาทำงานก็จำเป็นต้องฝึกปรือฝีมือกันหน่อย
และกว่าจะกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญก็ย่อมแสดงให้เห็นถึงประสบการณ์ที่มีในอาชีพอย่างมากมาย

บอกตรงๆ ว่าในเมล์บรรณารักษ์เกือบทุกคนเน้นย้ำว่า “แค่ความรู้อย่างเดียวไม่พอต่อการทำงานหรอกครับ”

เอาหล่ะทีนี้มาถึงความคิดเห็นของเพื่อนๆ กันแล้ว
ช่วยกันแสดงความคิดเห็นในแง่นี้หน่อยนะครับ
ผมจะได้ตอบบรรณารักษ์ชาวโลกว่า คนไทยคิดยังไงกัน!!!!