7 อย่างที่ห้องสมุดจะช่วยคุณยามเศรษฐกิจตกต่ำ

ในยามที่เศรษฐกิจกำลังมีปัญหา ห้องสมุดก็มีวิธีที่ทำให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้
โดยบทความที่ผมนำมาแปลและเรียบเรียงนี้ มาจากเว็บไซต์ consumerist ชื่อบทความว่า
7 Ways Your Public Library Can Help You During A Bad Economy

ภาพประกอบจาก http://www.gettyimages.com/
ภาพประกอบจาก http://www.gettyimages.com/

7 วิธีที่ห้องสมุดประชาชนจะช่วยคุณได้ในยามเศรษฐกิจตกต่ำ มีดังนี้

1. You can get pretty much any book at the library
คุณสามารถหยิบยืมหนังสือที่คุณต้องการอ่านได้จากที่ห้องสมุด
ซึ่งหนังสือก็มีให้เลือกมากมาย หลายหมวดหมู่ หลายประเภท
และหากจะยืมข้ามห้องสมุด ก็สามารถใช้บริการยืมระหว่างห้องสมุด (Inter Library loan) ได้ด้วย

2. Yes, we have movies
ห้องสมุดเรามีกิจกรรมฉายภาพยนตร์ทุกสัปดาห์นะครับ
นั่นเท่ากับว่าคุณไม่ต้องไปเปลืองเงินที่โรงภาพยนตร์เลยครับ

3. Kids Activities
ห้องสมุดมีกิจกรรมสำหรับเด็กๆ มากมาย
ดังนั้นพวกคุณสามารถนำลูกหลานมาทำกิจกรรมได้
นอกจากจะเป็นการเสริมทักษะมห้ลูกหลานของคุณแล้ว
ยังสร้างความสัมพันธ์ให้กับครอบครัวของคุณได้อีกด้วย

4. Save Money and maybe your life
มาห้องสมุดทำให้คุณมีเงินเก็บมากขึ้นด้วย เพราะในห้องสมุดคุณไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรมากมาย

5. Make new friends
มาห้องสมุดคุณอาจจะได้เพื่อนใหม่เลยก็ได้
มันก็ไม่แน่นะครับเพราะว่า คุณอาจจะเจอเพื่อนที่ชอบอ่านหนังสือแนวเดียวกันก็ได้

6. Find a new job
ห้องสมุดหลายๆ แห่งมีบริการอินเทอร์เน็ตบริการผู้ใช้อยู่แล้ว
คุณก็ลองใช้อินเทอร์เน็ตในการค้นหางานดูสิครับ
ไม่แน่นะครับ คุณอาจจะเจองานที่ถูกใจก็ได้

7. Libraries listen to consumers
ในขณะที่คนอื่นๆ อาจจะไม่ฟังคุณ แต่ขอให้จงระลึกไว้เสมอว่าห้องสมุดจะฟังคุณเอง

เอาเป็นว่านี่ก็คือ 7 วิธีที่ห้องสมุดประชาชนจะช่วยคุณในยามเศรษฐกิจตกต่ำได้นั่นเอง
ผมก็อยากให้เพื่อนๆ เข้าห้องสมุดกันมากๆ นะครับ
อย่างน้อยคุณก็สามารถที่จะใช้ชีวิตผ่านวิกฤตเศรษฐกิจไปได้ด้วยตัวเอง

นักศึกษาภาคค่ำก็ต้องการใช้ห้องสมุดเหมือนกัน

วันนี้ผมขอเขียนถึงเรื่องการให้บริการห้องสมุดในช่วงกลางคืนบ้างนะครับ และเข้าใจว่าหลายๆ ห้องสมุดก็ให้บริการซึ่งดีอยู่แล้ว
แต่ห้องสมุดบางแห่งกลับละเลยเกี่ยวกับการให้บริการผู้ใช้เฉพาะกลุ่มโดยเฉพาะ “นักศึกษาภาคค่ำ” หรือ “นักเรียนภาคค่ำ
ซึ่งวันนี้ผมจะเขียนแสดงความคิดเห็นในฐานะของผู้ใช้บริการห้องสมุดและผู้ให้บริการห้องสมุดให้เพื่อนๆ อ่านกัน

libraryinnight

เมื่อสถาบันการศึกษาเปิดรับนักเรียนหรือนักศึกษาภาคค่ำแล้ว (โดยเฉพาะโรงเรียนอาชีวะ โรงเรียนพาณิชย์ ฯลฯ)
การบริการสนับสนุนด้านการศึกษา เช่น ห้องสมุด จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับนักเรียน หรือ นักศึกษาดังกล่าว
เนื่องจากนักเรียนและนักศึกษาเหล่านี้ก็ต้องจ่ายค่าเทอมและค่าบริการต่างๆ ให้กับสถาบันการศึกษา เช่น ค่าบำรุงห้องสมุด ฯลฯ

หลายๆ สถาบันการศึกษาก็มีการบริการห้องสมุดให้นักศึกษาภาคค่ำด้วยโดยจะเปิดให้บริการดึกขึ้น
แต่ประเด็นตรงนั้นผมจะไม่พูดถึง แต่จะขอกล่าวถึงบางสถาบันการศึกษาเท่านั้น
ที่มีการเปิดการเรียนการสอนภาคค่ำแต่ไม่จัดบริการพื้นฐานดังกล่าว
โดยเหตุการณ์นี้ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในฐานะที่ผมเป็นทั้งผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ

มุมมองของผมในฐานะผู้ใช้บริการ (นักศึกษาปริญญาโทภาคค่ำ) ต่อห้องสมุดคณะ
ผมเรียนปริญญาโทในภาคค่ำ ซึ่งเรียนเวลา 18.00 – 21.00 น. แต่ห้องสมุดของสถาบันที่ผมเรียนปิดเวลา 21.00 น.
ซึ่งทำให้ผมไม่ค่อยมีโอกาสได้ใช้ห้องสมุดในวันที่ผมเรียน เนื่องจากพอเรียนเสร็จห้องสมุดก็ปิดไปแล้ว
และข้อจำกัดของคนที่เรียนปริญญาโทภาคค่ำ คือ เป็นคนที่ทำงานประจำอยู่แล้ว พอมาถึงที่เรียนก็มักจะถึงเวลาเข้าเรียนพอดี
ดังนั้นหากพิจารณาจากเหตุการณ์ต่างๆ จะรู้ว่านักศึกษาเหล่านี้แทบไม่ได้ใช้ห้องสมุดเลยในช่วงกันธรรมดา


มุมมองของผมในฐานะบรรณารักษ์ของสถานศึกษาที่มีการเปิดหลักสูตรภาคค่ำ

นโยบายของผู้บริหารมีการกำหนดช่วงเวลาการเปิดปิดห้องสมุดอย่างชัดเจน คือ ให้บริการในช่วงเวลา 8.00 – 18.00 น.
ซึ่งทางบรรณารักษ์ได้ยื่นเรื่องขอขยายเวลาในการเปิดให้บริการห้องสมุดไปจนถึงเวลา 22.00 น.
แต่ผู้บริหารปฏิเสธในการขยายเวลาเนื่องจากมองในเรื่องของการใช้ทรัพยากรและความคุ้มค่าของการให้บริการเป็นหลัก
(ได้แก่ ค่าน้ำ ค่าไฟ เครื่องปรับอากาศ ค่าจ้างพนักงานล่วงเวลา ฯลฯ)

อ่านแล้วเข้าใจภาพรวมกันบ้างหรือยังครับ จริงๆ แล้วเรื่องนี้สำหรับผมเองในฐานะที่เป็นบรรณารักษ์
ผมก็อยากให้บริการห้องสมุดกับนักศึกษาภาคค่ำด้วยเช่นกันนะครับ ผมใช้หลักการเอาใจเขามาใส่ใจเรานะครับ
ลองมองย้อนว่าถ้าคุณเป็นนักศึกษาเหล่านี้ คุณเองอยากจะใช้ห้องสมุดบ้างหรือปล่าว

แนวทางที่ผมจะเสนอจะทำได้หรือไม่ได้อันนี้เพื่อนๆ ก็ลองพิจารณากันดูนะครับ
ผมขอเสนอให้ห้องสมุดปิดหลังจากหมดการเรียนการสอนของนักศึกษาภาคค่ำสัก 1 ชั่วโมงครับ
เช่น ถ้านักศึกษาภาคค่ำเลิกเรียน 21.00 น. ห้องสมุดก็ควรปิดสักประมาณ 22.00 น.

ทั้งนี้ก็เพื่อให้บริการในการยืมคืนกับนักศึกษาภาคค่ำบ้าง

สุดท้ายก็ขอฝากว่า “การบริการเราต้องยึดผู้ใช้เป็นหลัก ไม่ใช่ยึดความสบายของบรรณารักษ์เป็นหลัก”
อย่างน้อยนักศึกษาภาคค่ำจะได้ไม่ต้องมาบ่นว่า ?เสียเงินจ่ายค่าห้องสมุดไปแล้วไม่เห็นได้ใช้เลย?

เมื่อบรรณารักษ์อย่างผมเจอกับผู้ใช้บริการหัวหมอ

วันนี้ขอเล่าเรื่องในอดีตนิดนึงนะครับ สมัยตอนที่ผมยังเป็นบรรณารักษ์ของห้องสมุดแห่งหนึ่งอยู่
อ๋อ ต้องบอกไว้ก่อนนะครับ ว่าเป็นห้องสมุดสถานศึกษาแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ (ลองอ่านประวัติผมดูจะรู้ว่าที่ไหน)
ผมก็พบเจอกับผู้ใช้บริการห้องสมุดหลากหลายรูปแบบ (อาจารย์ นักศึกษา พนักงาน เจ้าหน้าที่) วันนี้เป็นเพียงเคสหนึ่งเท่านั้น

userlibrary

ผู้ใช้หัวหมอ คือ ผู้ใช้บริการที่ฉลาดแกมโกง มีความรู้แต่มักใช้ในทางที่ผิด
เมื่อเข้ามาใช้บริการทีไรก็มักจะหาเรื่องปวดหัวมาให้เหล่าบรรณารักษ์ประจำ

ผู้ใช้หัวหมอที่ผมมักจะพบประจำ คือ นักศึกษา ครับ

เข้าเรื่องกันเลยดีกว่า

เพื่อนๆ เคยได้ยินประโยคนี้หรือไม่
ผมเอาหนังสือมาคืนแล้วจริงๆ นะครับ

เรื่องมันมีอยู่ว่า…วันหนึ่งนักศึกษา ก. ก็เข้ามาที่ห้องสมุดเพื่อยืมหนังสือ
แต่ผมไม่สามารถให้ยืมได้เนื่องจากระบบมีข้อความเตือนว่า “ยังมีหนังสือค้างส่ง”
ผมจึงทวงถามถึงหนังสือเล่มดังกล่าว แต่นักศึกษาบอกว่านำมาคืนแล้ว
ผมจึงได้ให้นักศึกษาไปหาหนังสือบนชั้นหนังสือแล้วนำมาแสดงเป็นหลักฐาน

ผ่านไป 10 นาที นักศึกษากลับมาพร้อมกับหนังสือดังกล่าว แล้วพูดว่า
?ก็บอกแล้วว่าคืนแล้วก็ไม่เชื่อ ไม่ตรวจสอบให้รอบคอบเลยนะครับคุณบรรณารักษ์?

ครั้งนั้นเป็นครั้งแรกที่ผมโดนผู้ใช้ตำหนิว่าไม่รอบคอบ
แต่ก็เอาเถอะครับผมคงไม่รอบคอบเอง เลยถูกผู้ใช้ตำหนิซะบ้าง

แต่ผมก็ยังมีเรื่องที่สงสัยหลายเรื่อง เช่น
– ระบบห้องสมุดในช่วงเดือนที่ผ่านมาก็ไม่มีอะไรที่ผิดปกติ
– หนังสือที่มาคืนทุกเล่มผมต้องเพิ่มสัญญาณในแถบแม่เหล็ก แต่เล่มนี้กลับยังไม่ได้เพิ่ม

(ผมทดลองหยิบหนังสือเล่มนี้เดินผ่านประตูจับสัญญาณ)

แต่เอาเถอะครับ บรรณารักษ์มือใหม่อย่างผมอาจจะพลาดเองก็ได้

อีกหลายสัปดาห์ต่อมา ก็เกิดเหตุการณ์เดียวกันกับคนๆ เดิมอีกแล้ว
นักศึกษาคนนี้มาขอยืมหนังสือ และระบบก็เตือนอีกแล้วว่ายังมีหนังสือค้างส่ง
ผมจึงต้องทวงถามไปตามปกตินั่นแหละครับ ซึ่งนักศึกษาก็บอกว่าคืนไปแล้ว “ระบบมั่วปล่าว
วิธีเดิมครับ ถ้าคืนแล้วก็ต้องอยู่ที่ชั้น ผมจึงบอกให้เด็กคนนี้ไปหาที่ชั้นอีกที

หลังจากที่เด็กคนนี้เดินไปสักพัก ผมก็เดินตามไปแบบเงียบๆ

สุดท้ายผมก็พบความจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้
นั่นคือ “นักศึกษาคนนั้นเดินไปที่ชั้นหนังสือ สักพักก็หยิบหนังสือที่ซ่อนอยู่ในกระเป๋าออกมา

พอเขาหันหลังกลับมา ก็เห็นผมยืนอยู่ข้างหลังก็ตกใจเล็กน้อย
แล้วก็ยังหยิบหนังสือมาโชว์ผมอีกว่า “นี่ไงหาเจอแล้ว
ผมก็เลยบอกไปว่ามา “ยืนดูอยู่นานแล้ว…

เอาเป็นว่าผมคงไม่ลงโทษอะไรมากมายหรอกครับ แค่ทำเรื่องส่งไปให้อาจารย์ที่ปรึกษาก็เท่านั้น

เป็นยังไงกันบ้างครับเพื่อนๆ อ่านแล้วรู้สึกยังไง มีใครเคยเจอเหตุการณ์แบบนี้บ้างมั้ยครับ
เอาเป็นว่าเล่าสู่กันฟังครับ แล้วหาทางแก้ไขกันดีกว่า…

ห้องสมุดเพื่อผู้ใช้บริการหรือเพื่อบรรณารักษ์กันแน่

ในการจัดตั้งห้องสมุดไม่ว่าที่ไหนก็ตาม จุดมุ่งหมายสำคัญที่บรรณารักษ์ได้ยินมาตลอดคือ “เพื่อผู้ใช้บริการ”
ประโยคนี้ผมก็ได้ยินตั้งแต่สมัยที่ผมยังเรียนบรรณารักษ์เหมือนกัน
ในเรื่องของการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ “ผู้ใช้บริการเหมือนพระเจ้า” ก็ว่าได้

libraryforuser

แต่พอเราลองมองย้อนดูเวลาทำงานเราตอบสนองให้กับผู้ใช้จริงๆ หรือปล่าว
อันนี้ต้องคิดดูอีกทีนะครับ เพราะเท่าที่ผมเคยใช้บริการและเป็นบรรณารักษ์ในห้องสมุดหลายๆ ที่
ผมก็คิดอยู่เสมอว่าทำไมบางครั้งการสั่งหนังสือ หรือการบริการต่างๆ บรรณารักษ์ยังอิงความเป็นบรรณารักษ์
และตอบสนองผู้ใช้ได้ไม่เต็มที่ การวิเคราะห์เพื่อให้เข้าถึงความเข้าใจของผู้ใช้เป็นสิ่งที่ยากมาก

ในบางครั้งจึงอาจมีการถกเถียงกันว่า…
ความจริงแล้วเราทำเพื่อผู้ใช้จริงหรือ หรือเป็นเพียงการบริการที่ทำให้บรรณารักษ์สบาย

—————————————————

กรณีการสืบค้นหนังสือในห้องสมุด

ห้องสมุด ก. เวลาผมไปห้องสมุดนี้ทีไรต้องการสืบค้นหนังสือผมก็จะเข้าไปถามบรรณารักษ์ว่า
หนังสือที่ผมต้องการหาอยู่ตรงไหน” แต่กลับได้รับคำตอบว่า “ไปหาในคอมพิวเตอร์ดู

ซึ่งทำเอาผมงงไปชั่วขณะ…
จากนั้นผมเดินไปทางมุมสืบค้นคอมพิวเตอร์บ้าง ปรากฎว่าไม่มีคอมพิวเตอร์ตั้งอยู่เลย
ผมจึงเดินกลับไปถามบรรณารักษ์ใหม่อีกรอบว่า “ที่มุมสืบค้นไม่เห็นมีคอมพิวเตอร์เลย
บรรณารักษ์คนนั้นก็ตอบกลับมาอีกว่า “คอมพิวเตอร์เสีย” “งั้นไปใช้บัตรรายการดูแล้วกัน

ประมาณว่าจะขอความช่วยเหลือจากบรรณารักษ์ เขาก็บอกให้ไปใช้คอมพิวเตอร์
แถมพอคอมพิวเตอรืเสียก็แนะนำไปให้ใช้อย่างอื่น

สรุปว่าบรรณารักษ์เป็นคนที่คอบให้ความช่วยเหลือในห้องสมุดจริงหรือ


—————————————————

ผมขอแถมให้อ่านอีกสักตัวอย่างแล้วกัน

—————————————————

ตัวอย่างกรณีการสั่งหนังสือเข้าห้องสมุด

ห้องสมุด ข. อันนี้ผมเคยทำงานอยู่แล้วกันแต่ไม่ขอเอ่ยชื่ออีก
ในการสั่งหนังสือแต่ละครั้งทางบรรณารักษ์จะนำแบบฟอร์มแล้วให้ผู้ใช้เขียนเสนอแนะรายชื่อหนังสือ
แต่พอรวบรวมเสร็จทีไร ไม่เคยเอารายชื่อนั้นมาส่งให้สำนักพิมพ์สักที

ผมจึงได้เข้าไปสอบถามว่า “ทำไมเราไม่เอารายชื่อหนังสือที่ผู้ใช้บริการเสนอไปสั่งสำนักพิมพ์หล่ะ
บรรณารักษ์ผู้ที่รับผิดชอบงานนั้นก็ตอบอย่างหน้าตาเฉยว่า
ทำอย่างนั้นจะทำให้เสียเวลาต้องมาแยกสำนักพิมพ์ที่สั่งอีก มันจะไม่สะดวกและเพิ่มภาระงานนะ
เอางี้เราก็ให้ทางสำนักพิมพ์ส่งรายชื่อมาให้เราดีกว่าแล้วเราเลือกเรื่องที่มีหรือที่ใกล้เคียงก็ได้

ผมจึงถามต่อไปว่า “ถ้าสมมุติว่าผู้ใช้บริการเดินเข้ามาถามหาหนังสือที่เขาเสนอไว้หล่ะ จะทำอย่างไร
บรรณารักษ์คนเดิมก็ตอบว่า “ก็บอกไปว่าหนังสือเล่มนั้นทางสำนักพิมพ์แจ้งว่าขาดตลาด

ผมก็ได้แต่นั่งคิดว่า “ทำไปได้นะคนเรา

สั่งหนังสือเพื่อการทำงานของบรรณารักษ์ หรือ เพื่อผู้ใช้บริการเนี้ย

—————————————————

จากตัวอย่างที่ได้กล่าวมาเป็นเพียงส่วนน้อยของห้องสมุดหล่ะมั้งครับ
ผมเชื่อว่าด้วยจรรยาบรรณของความเป็นวิชาชีพบรรณารักษ์จะยังอยู่กับทุกคนที่ประกอบอาชีพนี้อยู่
เพียงแต่ก็อยากฝากบอกเพื่อนๆ ร่วมวิชาชีพทุกคนว่า ผู้ใช้ของเราสำคัญที่สุด
การบริการด้วยใจ (Service mind) ทุกคนคงมีอยู่ในสายเลือดนะครับ

ก่อนจบขอฝากบทความเรื่อง service mind ให้ลองอ่านดูนะครับ

การมีหัวใจบริการ (Service Mind)

เทคนิคการสร้างจิตสำนึกในงานบริการ ( Service Mind)

การมีหัวใจบริการ (Service Mind)

ไม่เอานะ!!! ป้ายเตือนแบบนี้ในห้องสมุด

วันนี้เจอบทความเกี่ยวกับการใช้ป้ายเตือนผู้ใช้บริการในห้องสมุด
ก็เลยขอเอามาเตือนสติและแนะนำเพื่อนๆ วงการห้องสมุดแล้วกัน
จะได้ไม่โดนผู้ใช้บริการหมั่นไส้เอา…

presentation

เป็นยังไงกันบ้างครับกับรูปป้ายเตือนแบบนี้

บรรทัดแรกมาดูเป็นมิตรกับผู้ใช้บริการมากๆ นั่นคือ ยินดีต้อนรับสู่ห้องสมุด (Welcome to the library)
แต่พอเราได้เห็นข้อควรปฏิบัติและคำเตือนในป้ายนี้แล้ว เลยไม่ค่อยกล้าเข้าห้องสมุดเลย

ในป้ายนะครับ
– ห้ามใช้โทรศัพท์มือถือ
– ไม่มีคอมพิวเตอร์ส่วนตัวหรืออุปกรณ์อื่นๆ ให้บริการ
– คอมพิวเตอร์สำหรับบุคลากรในโรงเรียนเท่านั้น
– ห้ามพูดคุย
– ห้ามกินอาหารหรือทานเครื่องดื่ม
– ไม่เอาบัตรมาห้ามยืม

ห้ามทำนู้น ต้องทำนี่ ห้ามใช้นู้น ห้ามใช้นี่…..อ่านแล้วอยากจะคลั่งไปเลย
ตกลงนี่มันคุกหรือว่าห้องสมุดกันแน่เนี้ย

เอาเป็นว่าถ้าเราลองเปลี่ยนจากป้ายเมื่อกี้เป็นป้ายด้านล่างนี่หล่ะ

presentation1

ในป้ายที่ดูเป็นมิตรกว่า
– ใช้โทรศัพท์ได้นะครับแต่กรุณาเงียบนิดนึง
– ถ้าคุณต้องการอินเทอร์เน็ตไร้สาย กรุณาแจ้งที่เจ้าหน้าที่เลยครับ
– ถ้าค้นหาอะไรแล้วไม่เจอ พวกเราพร้อมจะช่วยคุณนะ
– พวกเรามีพื้นที่ในการเรียนรู้ร่วมกันด้วยนะครับ
– จะกินหรือจะดื่มอะไรก็ระมัดระวังนิดนึงนะครับ หรือจะใช้บริการร้านกาแฟของเราก็ได้
– พวกเราสามารถช่วยคุณค้นหาหนังสือหรือนิตยสารได้นะครับ
– ห้องสมุดใช้สำหรับเรียนรู้ ดังนั้นกรุณาบอกให้เรารู้หน่อยว่าคุณต้องการข้อมูลอะไร

อ่านแล้วรู้สึกดีกว่ากันเยอะเลยนะครับ
จากป้ายแรกเมื่อเทียบกับป้ายนี้ต่างกันฟ้ากับเหวเลย

เอาเป็นว่าการจะเขียนป้ายเตือนหรือข้อแนะนำผู้ใช้กรุณาเลือกใช้คำที่ดีๆ นะครับ
คำบางคำความหมายเหมือนกันแต่ให้อารมณ์ต่างกัน

เปลี่ยนจากคำว่า “ห้าม” เป็น “ควรจะ” น่าจะดีกว่านะครับ

สุดท้ายนี้ใครมีประโยคแนวๆ นี้ลองส่งมาให้ผมดูหน่อยนะครับ
จะได้แลกเปลี่ยนไอเดียกัน ขอบคุณครับ

ภาพของเรื่องนี้จาก http://doug-johnson.squarespace.com/blue-skunk-blog/2009/11/7/signs-signs-everywhere-theres-signs.html

พฤติกรรมของผู้ใช้ห้องสมุดแบบไหนที่แย่ที่สุด

หลังจากที่ผมตั้งคำถามเพื่อบรรณารักษ์มาก็เยอะแล้ว
วันนี้ผมขอตั้งคำถามเกี่ยวกับผู้ใช้ห้องสมุดบ้างดีกว่า

bad-user-library

ในห้องสมุดแต่ละแห่ง บางที่ก็เจอผู้ใช้ที่ดี บางที่ก็เจอผู้ใช้แย่ๆ เช่นกัน
พฤติกรรมหลายอย่างอาจจะไม่เหมาะสม แต่ผมอยากรู้ว่า พฤติกรรมไหนที่บรรณารักษ์อย่างเราไม่เห็นด้วยมากๆ

เราลองไปโหวตกันก่อนดีกว่า…

[poll id=”12″]

อยากถามเพื่อนๆ ว่า
?ถ้าคุณเจอผู้ใช้ห้องสมุดที่มีพฤติกรรมดังกล่าว คุณว่าผู้ใช้ห้องสมุดแบบไหนที่คุณจะไม่พอใจมากที่สุด?
หากไม่มีให้เลือกด้านบน กรุณาระบุหน่อยนะครับว่ามีอะไรเพิ่มอีกมั้ย
แล้วเราจะมาหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน

สำหรับผมเองตอนนี้เจอปัญหาเรื่องการแอบตัดหรือฉีกหนังสือบ่อยขึ้นเรื่อยๆ
ซึ่งเมื่อผู้ใช้นำมาคืนมักจะอ้างว่า

?มันขาดอยู่แล้ว ผมไม่ได้ทำอะไรสักหน่อย?
?คนที่ยืมก่อนผมทำขาดหรือปล่าว?
?ตอนผมเอาไปมันก็ไม่มีหน้านี้อยู่แล้วนะ?

ดังนั้นในช่วงนี้จึงมีป้ายเตือน ณ จุดบริเวณเคาน์เตอร์ว่า

?หากหนังสือเล่มนั้นชำรุดกรุณาอย่ายืมออก ให้แจ้งเจ้าหน้าที่บรรณารักษ์ทันที มิฉะนั้นท่านต้องรับผิดชอบต่อสภาพหนังสือที่ท่านยืมไป?

และก่อนทำการยิงบาร์โค้ตทุกครั้ง บรรณารักษ์จะลองเปิดดูแบบผ่านๆ เพื่อตรวจสอบว่าไม่มีรอยขีดเขียน หรือรอยขาด
และหากผู้ใช้นำมาคืนในสภาพที่หนังสือถูกฉีกอีก
จะทำให้ไม่สามารถอ้างเหตุผลใดๆ ต่อบรรณารักษ์ได้

หลังจากนั้นให้ปรับเป็นค่าหนังสือ / ซื้อหนังสือมาชดใช้ / ตัดสิทธิการยืม / ตัดสิทธิการใช้ห้องสมุด / ติดประจาน

วิธีต่างๆ ก็จะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมต่อไปด้วยนะครับ

อิอิ ขอเปิดนำร่องก่อนเลยใครมีความคิดยังไง หรือแนวทางการแก้ไขยังไงเสนอได้นะครับ

คุณรักห้องสมุดเท่านี้หรือปล่าว

เวลาผมไปบรรยายตามที่ต่างๆ ผมก็มักจะได้พูดคุยกับเพื่อนๆ บรรณารักษ์หลายๆ คน
เพื่อนๆ เหล่านั้นถามผมว่าทำไมถึงเขียนบล็อกห้องสมุดไม่มีวันหยุดได้หล่ะ

ilovelibrary

ผมจึงได้ย้อนถามกลับไปว่า

เพื่อนๆ รักในวิชาชีพนี้แล้วหรือยัง
เพื่อนๆ รักในห้องสมุดที่ท่านทำงานหรือปล่าว

คำถามเหล่านี้ ผมไม่ต้องการคำตอบหรอกครับ
แต่คำถามเหล่านี้อาจจะทำให้เพื่อนๆ คิดได้ว่าทำไมผมถึงทำอะไรเพื่อวงการนี้

อ๋อ เกือบลืมวันนี้ผมมีคลิปวีดีโอนึงมาให้เพื่อนๆ ดู เป็นคลิปวีดีโอที่ชื่อว่า I Love the Library

ไปดูกันเลยครับ

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=_3z7VGJSrQ4[/youtube]

ดูแล้วเป็นยังไงกันบ้างครับ

ตอนผมดูแรกๆ ก็อดขำบรรณารักษ์ที่ยืนกอดหนังสือไม่ได้
จะบอกว่ารักห้องสมุดจนยืนกอดหนังสือมันก็ดูตลกไปสักหน่อยครับ
แต่ก็ถือว่าอย่างน้อยคลิปวีดีโอนี้ เขาทำมาก็เพื่อสะท้อนว่า พวกเขารักห้องสมุด

ย้อนกลับมาที่ผม สำหรับผมแล้วการที่ได้รักห้องสมุด รักในวิชาชีพ
ผมคงไม่ต้องมายืนกอดหนังสือแล้วถ่ายคลิปหรอกนะครับ
เพียงแต่พยายามคิดหาหนทางในการพัฒนาห้องสมุด
แล้วเอามาเขียนบล็อกเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านแค่นี้ก็ก็อาจจะเป็นการยืนยันได้ในส่วนนึงแล้ว

แล้วเพื่อนๆ หล่ะครับ รักห้องสมุดหรือเปล่า!!!

จุดประสงค์การเข้าห้องสมุดแบบขำขำ

วันนี้ขอเล่าเรื่องแบบไม่เครียดแล้วกันนะครับ (ปกติมีแต่เรื่องเครียดๆ หรอ)
เอาเป็นว่าเพื่อนๆ รู้หรือปล่าวครับว่าผู้ใช้แต่ละคนที่เข้าห้องสมุดมีวัตถุประสงค์การใช้ห้องสมุดแตกต่างกัน
วันนี้ผมขอรวบรวมจุดประสงค์ของการเข้าห้องสมุดแบบขำขำมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟัง

library-tour-237

จุดประสงค์ของการเข้าห้องสมุดแบบขำขำ

1. หนอนหนังสือ – ชอบอ่านหนังสือเลยเข้าห้องสมุด
เข้ามาเพื่อจุดประสงค์อ่าน อ่าน แล้วก็อ่าน?แบบว่าขยันสุดๆ ไปเลยพวกนี้

2. มาเรียนคร้าบ – มีทั้งกรณีที่วิชาเรียนมีเรียนที่ห้องสมุด (พวกเอกบรรณฯ)
และอาจารย์ขอใช้ห้องสมุดเป็นคาบในการค้นหาข้อมูลหรือกิจกรรมต่างๆ

3. มาหาเนื้อหาทำรายงาน – จริงๆ เหตุผลนี้น่าจะเอาไปรวมกะข้อสองนะ
เพียงแต่อาจารย์ไม่ได้บังคับให้หาในห้องสมุดนะ หาเนื้อหาที่ไหนก็ได้แต่นักศึกษาเลือกห้องสมุด ก็ดีเหมือนกันนะ

4. มาเล่นคอมคร้าบ – พวกนี้ไม่ได้อยากอ่านเนื้อหาที่เป็นกระดาษครับ
ในห้องสมุดมีบริการอินเทอร์เน็ตก็เลยมาเล่นซะ ให้พอใจกันไปเลย

5. มาติวหนังสือในห้องสมุดดีกว่า – พวกนี้ก็ชอบเข้าห้องสมุดเพื่อติวหนังสือ นับว่าขยันกันมากๆ
เหตุผลก็เพราะว่าห้องสมุดมีห้องประชุมกลุ่มแล้วพวกนี้แหละก็จะขอใช้บริการประจำเลย
และในห้องประชุมนี้เอง ภายในมีโต๊ะใหญ่ แล้วก็กระดานสำหรับเขียน ทำให้เหมือนห้องเรียนแบบย่อมๆ เลย
เอกบรรณฯ เราก็ชอบห้องนี้แหละ เพราะมันส่วนตัวกว่าห้องเรียนที่ตึกเรียนรวมคร้าบบบบ

6. จุดรอคอยการเรียนวิชาต่อไป – กลุ่มนี้คือนักศึกษาที่เรียนแบบไม่ต่อเนื่องกัน พอมีเวลาว่างนาน
ก็ไม่รู้จะทำอะไรก็เลยมานั่งเล่นที่ห้องสมุด มาดูข่าว หนังสือพิมพ์ ฆ่าเวลา
เพราะว่าห้องสมุดอยู่ใกล้กับตึกเรียน และที่สำคัญคือ เย็นสบายครับ

7. มาหลับ – กลุ่มนี้คือกลุ่มที่มีการเปลี่ยนแปลงจากจุดประสงค์ต่างๆ ครับ
เช่น ตั้งใจมาอ่านหนังสือ อ่านไปอ่านมาง่วงซะงั้นก็เลยหลับ
หรือนั่งติวหนังสือกันอยู่แอบหลับไปซะงั้น เพราะด้วยบรรยากาศที่เย็นสบาย เป็นใครก็ต้องเคลิ้มไปซะงั้น

8. มาหม้อ – กลุ่มนี้คือกลุ่มพวกที่ชอบใช้ห้องสมุดเพื่อการบันเทิง
เนื่องจากห้องสมุดมักมีผู้ใช้บริการเป็นผู้หญิง ดังนั้นกลุ่มนี้ผมคงไม่ต้องบอกหรอกนะครับว่าเป็นผู้ชาย
(อดีตผมก็ทำ อิอิ กล้าบอกไว้ด้วย 5555)

เอาเป็นว่าไม่ว่ากลุ่มไหนก็ตาม แต่ทุกคนมีสถานที่ในดวงใจเหมือนกันนั้นคือ ห้องสมุด
ยังไงซะ บรรณารักษ์อย่างเราก็จะดูแลคุณอยู่แล้วหล่ะครับ

ปล.จุดประสงค์ต่างๆ ที่เขียนมา เขียนให้อ่านขำๆ นะครับ
อย่าคิดมาก ไม่ได้มีปัญหาอะไรมากมายหรอกนะครับ

ห้องสมุดประชาชนบางแห่งคนก็เข้าเยอะนะ

เมื่อวานผมเขียนเรื่อง “ทำไมคนถึงไม่เข้าห้องสมุดประชาชน ???
ในตอนจบของเรื่องนั้น ผมได้กล่าวไว้ว่า ห้องสมุดประชาชนบางที่ก็มีผู้ใช้บริการเยอะนะ
วันนี้ผมจึงขอมาเล่าเรื่องนี้ให้จบ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติให้เพื่อนๆ

lumpinidll0111-copy

ตัวอย่างที่ผมจะยกขึ้นมาเพื่อนๆ บางคนอาจจะเคยได้ใช้บริการ
และผมก็เชื่อว่าบางคนอาจจะไม่เคยแม้แต่จะได้ยินชื่อเลยก็ว่าได้

เริ่มจากที่แรก ?ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้สวนลุมพินี?
สถานที่ตั้งผมคงไม่ต้องบรรยายมากนะครับ เพราะชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าอยู่ใน ?สวนลุมพินี?
สภาพอาคารเป็นแค่อาคารชั้นเดียวเท่านั้น
แต่ภายในมีการจัดพื้นที่ออกเป็นโซนต่างๆ อย่างที่ห้องสมุดเขาจัดกันนั่นแหละ

จุดเด่นของ ?ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้สวนลุมพินี?
– ตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพฯ ในสวนสาธารณะ
– ได้รับการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีจาก บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด
– มีความทันสมัยด้านการสืบค้นข้อมูล
– บรรณารักษ์อัธยาศัยดี ยิ้มแย้ม และให้ความช่วยเหลือได้ดี
– การจัดมุมต่างๆ แบ่งแยกอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นมุมสืบค้น มุมหนังสือเด็ก มุมบริการคอมพิวเตอร์

เพียงแค่นี้ห้องสมุดแห่งนี้ก็เรียกได้ว่าหัวกระไดไม่แห้งเลย
เพราะว่ามีคนแวะเวียนมาอ่านหนังสือ ทำงาน กันอย่างไม่ขาดสายเลย

ต่อด้วยอีกตัวอย่างนึงแล้วกัน ?ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ ซอยพระนาง?
ห้องสมุดแห่งนี้อยู่ใกล้ๆ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเองครับ
เพื่อนๆ สามารถเดินจากอนุสาวรีย์ไปที่ห้องสมุดแห่งนี้ได้ครับ
ห้องสมุดแห่งนี้ ประกอบด้วย 2 อาคาร อาคารนึงก็มี 3 ชั้นครับ
ภายในมีการจัด และตกแต่งได้ดี และจัดสรรพื้นที่ได้เหมาะสม

จุดเด่นของ ?ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ ซอยพระนาง?
– สามารถเดินทางมาที่นี่ได้สะดวก (อนุสาวรีย์ชัยมีรถไปเกือบทุกที่ของกรุงเทพฯ)
– มีการตกแต่งสถานที่ และจัดการภายในที่ดี
– ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมีครบครัน เช่น อินเทอร์เน็ต, wireless, ระบบสืบค้น ฯลฯ
– มีการจัดกิจกรรมกลางแจ้งบ่อยครั้ง จึงทำให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง
– หนังสือที่ให้บริการมีความทันสมัย และน่าติดตาม (หนังสือใหม่)
– มีการบริการสื่อที่ค่อนข้างหลากหลาย เช่น ดีวีดี, โปรแกรมช่วยสอน ฯลฯ

จากที่ได้ยกตัวอย่างมาทั้งสองห้องสมุด ผมขอ สรุปปัจจัยที่ทำให้ห้องสมุดประสบความสำเร็จ ดังนี้
– อยู่ใกล้แหล่งชุมชน และการเดินทางสะดวก
– มีการจัดระเบียบ และตกแต่งภายในที่ชัดเจน และดึงดูด
– สื่อ หรือทรัพยากรในห้องสมุดมีความใหม่ และทันสมัยอยู่เสมอๆ
– มีการจัดกิจกรรม? หรือนิทรรศการเพื่อให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมมากขึ้น
– ผู้ที่ทำงานในห้องสมุด ต้องบริการด้วยใจ และเต็มที่ในการให้บริการ
– เทคโนโลยีสารสนเทศในห้องสมุด ก็เป็นอีกปัจจัยนึงในการพัฒนาห้องสมุด
– การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนกับห้องสมุด เช่น ให้การสนับสนุนห้องสมุด ฯลฯ

จริงๆ ยังมีมากกว่านี้อีกนะครับ ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับพื้นที่ ที่ตั้งของห้องสมุดนั้นๆ ด้วย
อ๋อแล้วก็พยายาม อย่าพยายามบอกว่า ?เพราะว่าคนไม่ชอบการอ่านครับ?
จริงๆ แล้ว คนอาจจะต้องการอ่านก็ได้ แต่จะสามารถสนับสนุนผู้ใช้เหล่านี้ได้แค่ไหนก็เท่านั้นเองครับ

ก่อนจากกันวันนี้ผมจะ็ขอจบเรื่องห้องสมุดประชาชนในสังคมไทยแต่เพียงเท่านี้
เอาไว้ว่างๆ ผมจะมาบ่นเรื่องนี้ให้เพื่อนฟังกันใหม่นะครับ

ทำไมคนถึงไม่เข้าห้องสมุดประชาชน ???

เพื่อนๆ ในแต่ละจังหวัด คงจะเคยสังเกตห้องสมุดประชาชนของจังหวัดตัวเองดูนะครับ
ว่ามีห้องสมุดประชาชนของจังหวัดนั้นๆ มีผู้ใช้บริการ หรือคนเข้ามาในห้องสมุดมากน้อยเพียงใด

public-library

หลายๆ คนอาจจะตอบผมว่า น้อย หรือไม่ก็น้อยมาก (ส่วนใหญ่)

สาเหตุที่คนไม่ค่อยเข้าใช้ห้องสมุดประชาชน เกิดจากอะไรได้บ้าง
– ทรัพยากรสารสนเทศมีน้อย
– บรรยากาศในห้องสมุดไม่ค่อยดี
– ห่างไกลจากชุมชน
– บรรณารักษ์ต้อนรับไม่ดี

ประเด็นต่างๆ ที่ผมกล่าวอาจจะมีส่วนที่ทำให้คนไม่เข้าห้องสมุดนะครับ (แค่อาจจะมีส่วนนะครับ)

บางครั้งถ้าผมไปถามบรรณารักษ์ หรือ คนทำงานห้องสมุดบ้างว่าทำไมไม่มีใครเข้าใช้
ผมก็เชื่อว่าส่วนหนึ่งอาจจะตอบผมว่า
– พฤติกรรมของคนไม่ชอบการอ่าน (คนไทยไม่ชอบอ่าน)
– งบประมาณไม่มีเลยไม่ได้พัฒนาห้องสมุด

โอเคครับ สำหรับคำตอบที่กล่าวมา

จากเสียงของผู้ใช้ จนถึงเสียงของบรรณารักษ์ ผมสรุปได้ง่ายๆ ว่า
เกิดจากห้องสมุดไม่สามารถพัฒนาขีดความสามารถของตัวห้องสมุดได้
ไม่ว่าจะเป็นสารสนเทศที่มีจำนวนน้อย หรือสภาพห้องสมุดที่ไม่มีการปรับปรุง

โอเคครับ นั่นคือปัญหา และปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหา
ด้วยความเป็นจริงที่เลี่ยงไม่ได้ ห้องสมุดประชาชนก็ยังคงต้องประสบปัญหานี้ต่อไป

ผมได้เปิดโอกาสให้เพื่อนๆ หลายคนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ และได้ข้อคิดมากมาย เช่น

คุณ PP ได้แสดงความคิดเห็นในฐานะของผู้ใช้บริการห้องสมุดว่า

จำได้ว่าเคยไปหาหนังสือทำรายงานที่ห้องสมุดเทศบาล หนุงสือน้อยกว่าที่โรงเรียนอีก แถมเก่า เดือนก่อนเพิ่งสังเกตุว่ามีห้องสมุด มสธ เปิดอีกแห่งทั้งสภาพ บรรยากาศ พอๆ กัน ถ้ารวมกันได้? คงประหยัดงบได้เยอะ อย่างน้อยก็ไม่ต้องซื้อหนังสือพิมย์ฉบับเดียวกัน ส่วนงบประมาณถ้าทำดีๆ แล้วขอบริจาคคงได้งบมาบ้างละ แต่บริการตอนนี้บอกตรงๆ เห็นแล้วเซ็ง

คุณ Jimmy ได้แสดงความคิดเห็นในฐานะของผู้ใช้บริการห้องสมุดว่า

บรรณารักษ์มีส่วนทำให้คนเข้าห้องสมุดได้น้อยเหมือนกันนะ อย่างสมัยเรียนห้องสมุดประชาชนอยู่ไม่ไกลจากโรงเรียนมากนัก พอเข้าไปใช้ เจ้าหน้าที่นั่งหลับ ทำหน้าทีแค่เปิดปิดห้อง ทำความสะอาดนิดหน่อย หน้าที่หลักคือ เฝ้าห้อง

จากเรื่องด้านบนที่ผมได้เขียนมาก็เป็นเพียงแค่ห้องสมุดประชาชนส่วนหนึ่งเท่านั้นนะครับ
ผมก็อยากจะบอกว่า ยังมีห้องสมุดประชาชนอีกส่วนหนึ่งที่มีผู้ใช้บริการเยอะเช่นกัน
ซึ่งไว้ผมจะขอเล่าให้ฟังในตอนหน้านะครับว่า ห้องสมุดเหล่านั้นทำไมจึงมีผู้ใช้บริการมากมาย

แต่ทั้งหลายทั้งปวลที่เล่านี่ก็ไม่ได้อยากให้ท้อนะครับ
เพียงแต่เรื่องหลายๆ เรื่องเราต้องทำความเข้าใจและช่วยกันปรับปรุงกันต่อไป