4 บทบาทใหม่ที่ห้องสมุดควรทำหลัง COVID-19 (Next Normal for Library)

4 บทบาทใหม่ที่ห้องสมุดควรทำหลัง COVID-19 (Next Normal for Library)

มีคำถามส่งมาถึงผมมากมายเพื่อถามว่า “หลัง COVID-19 ห้องสมุดคงไม่เหมือนเดิม แล้วห้องสมุดของเราจะต้องปรับและเปลี่ยนอย่างไร” วันนี้ผมขอนำบทความจากหนังสือพิมพ์ The Straits Times เรื่อง “Beyond Covid-19: The new roles libraries can play” มาแชร์ให้เพื่อนๆ อ่าน


Mr Ng Cher Pong (left), founding CEO of SSG since 2016, will succeed Mrs Elaine Ng as CEO of NLB.
ข้อมูลและภาพจาก : https://www.straitstimes.com/singapore/new-heads-for-national-library-board-skillsfuture

ผู้ที่ให้ข้อมูลกับ The Straits Times ก็ไม่ใช่ใครอื่น เขาคือ Mr. Ng Cher Pong (CEO, National Library Board) ก่อนที่เขาจะมาเป็น CEO ให้กับ NLB เขาเคยเป็น CEO ของ SkillsFuture Singapore (SSG) มาก่อน บทความนี้จึงทำให้ผมรู้จักความคิดและมุมมองของ CEO ท่านนี้ได้ดีขึ้น

Read more
8 แนวทางในการสร้างความมั่นใจเจ้าหน้าที่ห้องสมุดและผู้ใช้บริการให้รู้สึกปลอดภัย

8 แนวทางในการสร้างความมั่นใจเจ้าหน้าที่ห้องสมุดและผู้ใช้บริการให้รู้สึกปลอดภัย

สถานการณ์ COVID-19 ทั่วโลกยังไม่สงบ และกระทบกับการดำเนินงานของห้องสมุดในหลายๆ ประเทศอยู่อย่างต่อเนื่อง หากเพื่อนๆ ติดตามสถานการณ์ในช่วงนี้อยู่ ก็คงทราบดีว่า ห้องสมุดบางประเทศยังไม่ได้เปิดให้บริการ หรือ ห้องสมุดบางประเทศที่เปิดให้บริการไปแล้วก็ยังต้องมีมาตรการเฝ้าระวังกันอย่างใกล้ชิด

วันนี้ผมได้เข้าไปอ่านบทความจาก Vendor เจ้าหนึ่งที่ทำธุรกิจกับวงการห้องสมุด (bibliotheca) ซึ่งมีหัวข้อที่น่าสนใจ ชื่อเรื่องว่า “Reimagine the future of library services” ซึ่งในบทความนี้ได้กล่าวถึง “Ensure library staff and users feel safe” หรือ แนวทางในการสร้างความมั่นใจให้เจ้าหน้าที่ห้องสมุดและผู้ใช้บริการให้รู้สึกปลอดภัย ซึ่งผมรู้สึกว่าเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ เลยขอนำมาเขียนแชร์ให้อ่าน

Read more
Food for Thought : สร้างประสบการณ์ใหม่ให้ผู้ใช้บริการห้องสมุดกันเถอะ

Food for Thought : สร้างประสบการณ์ใหม่ให้ผู้ใช้บริการห้องสมุดกันเถอะ

เช้านี้ได้มีโอกาสมานั่งจิบกาแฟ อ่านนิตยสารแจกฟรี (Free Magazine) ในร้านกาแฟ เลยหยิบมาเล่มหนึ่ง ชื่อว่า “MICE Spotlight” ที่เน้นเนื้อหาเกี่ยวกับวงการ MICE ในบ้านเรา (MICE ย่อมาจาก Meetings, incentives, conferencing, exhibitions — กล่าวง่ายๆ ว่าเป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับการจัด Event)

ซึ่งภายในนิตยสารฉบับนี้ ผมได้เจอคอลัมน์หนึ่งที่ทำให้ต้องหยุดและอ่าน นั่นคือ “MICE SPOTLIGHT” ซึ่งในฉบับนี้ได้นำเสนอเรื่อง “Fulfill the moment : Playing with feeling…a list of techniques to create immersive experiences” หรือ แปลเป็นไทยว่า “เล่นกับความรู้สึก เทคนิคสร้างประสบการณ์ตราตรึงใจ

Read more
7 สิ่งที่ผู้ใช้ห้องสมุดต้องการ เดี๋ยวนี้!!!

7 สิ่งที่ผู้ใช้ห้องสมุดต้องการ เดี๋ยวนี้!!!

วันนี้ได้อ่านเรื่องราวเกี่ยวกับงานบริการห้องสมุด เพื่อหาไอเดีย และ Keyword ไปใช้ในการพัฒนาห้องสมุดของตัวเอง ซึ่งผมเจอบทความเรื่องหนึ่ง ชื่อว่า “7 Things Library Customers Want NOW” ซึ่งอ่านแล้วโดนใจผมมากๆ วันนี้จึงขอนำ 7 สิ่งนี้มาเล่าให้เพื่อนๆ อ่าน

photo: pixabay.com

เนื้อหาอาจจะเก่าไปสักนิดนะครับ (ต้นฉบับถูกเขียนตั้งแต่ปี 2012) แต่ใจความสำคัญหลักอยู่ที่ “การพัฒนางานบริการที่โดนใจลูกค้า” และลูกค้าที่ว่าคือ “ผู้ใช้บริการของห้องสมุด” อย่างที่ผมกล่าวไว้เมื่อวันก่อนว่า “อย่าคิดว่าบรรณารักษ์ถูกใจอะไรแล้วจะนำสิ่งนั้นมาใช้ เพราะเราไม่ใช่ลูกค้าของตัวเรา

Read more
วิธีง่ายๆ ที่จะทำให้เข้าใจความต้องการของผู้ใช้บริการห้องสมุด

วิธีง่ายๆ ที่จะทำให้เข้าใจความต้องการของผู้ใช้บริการห้องสมุด

ทุกวันนี้ เราเข้าใจ “ลูกค้า” “ผู้ใช้บริการ” ของห้องสมุดที่เราดูแลแค่ไหน
“ลูกค้า” ของเราเข้ามาทำอะไรในห้องสมุด
“ผู้ใช้บริการ” ของเราคาดหวังอะไรจากการมาถึงห้องสมุด
วันนี้ผมอยากแนะนำวิธีง่ายๆ ซึ่งบางแห่งก็นำไปใช้แล้ว บางเห็นก็ยังคงหาหนทางอยู่

slide1

วิธีง่ายๆ ที่จะทำให้เข้าใจความต้องการของผู้ใช้บริการห้องสมุด
ผมขอแนะนำเบื้องต้น 4 วิธีที่ผมใช้เป็นประจำก่อนนะครับ

1. หากเราอยากเข้าใจลูกค้า/ผู้ใช้บริการ ให้เราลองทำตัวเป็นผู้ใช้บริการ
แต่ขอย้ำว่า “ไปที่ห้องสมุดที่อื่น (ห้ามเป็นห้องสมุดของตัวเองนะ)”
แล้วลองดูว่าห้องสมุดที่เราไป เรารู้สึกอย่างไร เราชอบอะไร เราไม่ชอบอะไร
บันทึกแล้วกลับมาทบทวนที่ห้องสมุดของเราดูว่าเราเป็นแบบนั้นหรือไม่

2. ลองเป็นแบ่งคนที่ทำงานในห้องสมุดออกเป็นส่วนๆ ให้สังเกตและสนใจเรื่องต่างกัน
เช่น งานบริการเคาน์เตอร์ มุมบริการคอมพิวเตอร์ มุมอ่านหนังสือ มุมที่เก็บหนังสือ….
เมื่อแบ่งย่อยๆ เราจะเห็นข้อมูลเชิงลึกไม่เหมือนกัน ใช้เวลาสังเกตสักเดือนแล้วเอามาคุยกัน
จากนั้นเปลี่ยนมุมกันใหม่และทำเช่นเดิมไปเรื่อยๆ

3. สอบถามผู้ใช้บริการไปตรงๆ เลย อาจใช้แบบสอบถาม หรือ เข้าไปนั่งพูดคุยก็ได้
ลักษณะคำถามที่ใช้ ควรเป็นคำถามปลายเปิด เพื่อถามไปเรื่อยๆ
ควรหลีกเลี่ยงคำถามที่มีคำตอบให้เลือก เช่น ใช่หรือไม่ ชอบหรือไม่ชอบ ….

4. เก็บรวบรวมคำถามของผู้ใช้บริการอยู่เสมอ
เช่น ถามผ่านโทรศัพท์ ถามผ่านหน้าเคาน์เตอร์บริการ ถามผ่านอีเมล์
แล้วนำมารวบรวมเพื่อหาความถี่ จะได้รู้ว่าลูกค้ายังต้องการรู้อะไรบ้าง…

4 วิธีที่ว่ามานี้ ผมว่าเพื่อนๆ ทำได้อยู่แล้ว เพียงแต่ต้องใช้เวลาและความใส่ใจ
ทั้งนี้ในยุคปัจจุบัน การมานั่งมโนว่าลูกค้าชอบแบบนั้นแบบนี้มันทำไม่ได้อีกแล้ว
การคิดแทนผู้ใช้บริการอาจทำให้ห้องสมุดของเราไม่ตอบโจทย์ผู้ใช้บริการก็ได้

ทั้งนี้หากเพื่อนๆ มีแนวทางเสนอเพิ่มเติม ลองโพสมาที่ช่องแสดงความคิดเห็นนะครับ

ตัวแทนคนในยุคดิจิทัล อยากบอกสิ่งที่ต้องการจากห้องสมุด

ภาวะน้ำท่วมที่กำลังเกิดขึ้นในตอนนี้ทำให้หลายๆ คนเครียดและหลายๆ คนก็ประสบปัญหา
ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วมที่ห้องสมุดที่ทำงานหรือท่วมที่พักอาศัย หรือไม่ได้ท่วมแต่หาของกินลำบาก

เอาเป็นว่าผมก็ขอเป็นกำลังใจให้ทุกๆ ท่านผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปให้ได้นะครับ

วันนี้ผมเองก็ได้รับอีเมล์จากเพื่อนชาวต่างชาติคนนึง เขาถามถึงปัญหาน้ำท่วมในไทย
ซึ่งรวมถึงถามเกี่ยวกับห้องสมุดที่ได้รับความเสียหายจากปัญหาน้ำท่วมด้วย

เพื่อนผมเลยส่งคลิปวีดีโอนี้มาให้ดูแบบขำขำคลายเครียด
ซึ่งเป็นคลิปวีดีโอที่พูดถึง “ในยุคดิจิทัลแบบนี้คนต้องการอะไรจากห้องสมุด”

ไปดูคลิปวีดีโอกันได้เลยครับ

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=7_zzPBbXjWs[/youtube]

คลิปวีดีโอนี้เป็นคลิปที่ถูกเปิดในงาน VALA 2010 ภายในคลิปวีดีโอนี้เพื่อนๆ จะพบกับสาวน้อย Abbey (เด็กอายุ 3 ขวบ) ซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนของเด็กที่เกิดในยุคดิจิทัล เธอจะมาพูดให้ฟังว่าเธอต้องการอะไรจากห้องสมุดของเธอ

สรุปสิ่งที่คนในยุคดิจิทัลอยากได้จากห้องสมุด
– ห้องสมุดออนไลน์
– สื่อมัลติมีเดียมากๆ
– บริการที่รวดเร็วและง่าย
– อยากแชร์สิ่งที่ต้องการให้คนอื่นได้รู้ด้วย (อยากบอกต่อ)
– บริการผ่านโทรศัพท์มือถือ (iphone)
– อ่านหนังสือผ่าน Ebook reader
– Mash up content
– Sematic search
– ข้อมูลแบบ real time
– เทคโนโลยี AR (Augmented Reality)
– ระบบ tagging
– ระบบโต้ตอบด้วย Touch screen

เอาหล่ะครับ ได้ดูแล้วรู้สึกยังไงบ้าง
สำหรับผมต้องขอบอกก่อนว่าแอบอึ้งมากๆ ที่เด็ก 3 ขวบสามารถพูดได้ขนาดนี้
จริงๆ แล้วผมก็คิดว่าคงมีคนเขียนบทให้เด็กอ่านแน่ๆ เพราะไม่งั้นน้องเขาคงพูดแบบนี้ไม่ได้แน่ๆ
แต่ก็เอาเถอะครับ อย่างน้อยที่น้องเขาพูดก็เป็นสิ่งที่คนในยุคดิจิทัลต้องการจริงๆ

เอาเป็นว่าก็ขอฝากให้ดูแล้วกันครับ

ห้องสมุด TK park ต่ออายุบัตรสมาชิกให้ฟรี! 6 เดือน

ข่าวนี้ผมนำมาจากเมล์ที่ได้รับจากอุทยานการเรียนรู้ หรือ TK park ที่เรารู้จักกันนั่นแหละครับ
เกี่ยวกับเรื่องการต่ออายุสมาชิกให้ฟรีๆ 6 เดือน

banner742x200

หลังจากที่ไม่สามารถเปิดให้บริการตั้งแต่เดือนเมษายน 2553 จนวันนี้เข้าสู่เดือนที่ 3 แล้วนะครับ
สมาชิกหลายๆ คนคงคิดถึงห้องสมุดแห่งนี้มากๆ หลายๆ คนยังไม่ได้คืนหนังสือ และหลายๆ คนหมดอายุสมาชิก

วันนี้ทาง TK park จึงใจดีมีข่าวดีๆ มาประกาศให้รับทราบ
นั้นคือ ข่าวการต่ออายุสมาชิก 6 เดือนแบบฟรีๆ ให้สมาชิกที่มีกำหนดหมดอายุ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2553 เป็นต้นไป

ผมว่าเป็นแนวทางที่ดีเหมือนกันนะครับ
เพราะหลายๆ คนที่เข้าใช้บริการประจำจะได้ไม่เสียสิทธิในการเข้าใช้ 3 เดือนที่ต้องเสียไปด้วย
เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ที่บัตรสมาชิกหมดหลังวันที่ 1 เมษายนคงสบายใจขึ้นนะครับ

นอกจากนี้ทาง TK park ยังมีข่าวมาประชาสัมพันธ์อีกนิด คือ
สำหรับคนที่คิดถึง TK park ทาง TK park ก็ได้จัดให้บริการ Mini TK park ให้
โดยจัด Mini TK park ที่ ชั้น G อาคาร The Offices at Centralworld

ยังไงก็ลองไปใช้บริการกันดูนะครับ

หากมีข้อสงสัยประการใดสามารถโทรไปที่ 02-2645963-65
และอย่าลืมอัพเดทข่าวสาร TK park ได้ที่ www.tkpark.or.th นะครับ

ระเบียบการเข้าใช้ห้องสมุดแบบขำขำ…

เรื่องเก่าขอเอามาเล่าใหม่นะ…วันนี้นั่งค้นข้อมูลเรื่องการใช้ห้องสมุดอยู่ดีๆ
ผมก็บังเอิญไปเจอข้อมูลเรื่องมารยาทในการเข้าใช้ห้องสมุด
(ถ้ามารยาทในการเข้าใช้ห้องสมุดแบบธรรมดา ผมคงไม่นำมาลงให้อ่านหรอกนะ)

sleep-in-library

หมายเหตุ : ผมขอสงวนในการบอกชื่อห้องสมุดนะครับ
และสิ่งที่ผมเขียนนี้ไม่ได้ตั้งใจจะว่าอะไรห้องสมุดแห่งนี้หรอกนะครับ
เพียงแต่นำมาเขียนเพื่อให้เพื่อนๆ คนอื่นนำไปเป็นแนวทางในการสร้างสีสันในห้องสมุด

มารยาทในการเข้าใช้ห้องสมุด มีดังนี้
* ไม่นำกระเป๋า? แฟ้ม? หรือถุงย่ามเข้าห้องสมุด
* ไม่ส่งเสียงรบกวนผู้อื่น
* ไม่นอนหลับในห้องสมุด
* ไม่เสริมสวยในห้องสมุด
* ไม่นำน้ำ อาหารมากินในห้องสมุดกลาง
* ไม่ค้นหนังสือกระจุยกระจาย
* ช่วยรักษาความสะอาดของห้องสมุด
* เก็บเก้าอี้ให้เรียบร้อยก่อนออกจากห้องสมุด
* เก็บหนังสือเข้าที่ก่อนออกจากห้องสมุด

เพื่อนๆ สังเกตุเห็นบางข้อมั้ยครับ เช่น

“ไม่เสริมสวยในห้องสมุด”
อันนี้ผมขอเดานะครับว่าผู้ใช้ที่เข้ามาต้องมีผู้หญิงเยอะแน่ๆ
และแต่ละคนคงอาศัยห้องสมุดเป็นห้องแต่งหน้าจนบรรณารักษ์สังเกตุเห็น
ดังนั้นเลยมีการกำหนดมารยาทข้อนี้เอาไว้แน่ๆ

“ไม่ค้นหนังสือกระจุยกระจาย”
ส่วนอันนี้ขอเดานะครับว่าผู้ใช้ที่เข้ามาต้องเป็นคนที่ชอบอ่านหนังสือมากๆ เลย
ถึงได้ลื้อหนังสือกระจุยกระจายได้ใจบรรณารักษ์ จึงทำให้เกิดมารยาทในข้อนี้

เอาเป็นว่าแซวเล่นๆ นะครับ เพื่อนๆ คิดเหมือนผมมั้ยว่า
มันก็น่าสนใจเหมือนกันในเรื่องของการออกกฎหรือข้อปฏิบัติในห้องสมุด

เอาเป็นว่าห้องสมุดไหนมีมารยาทจ๊าบๆ กว่านี้ลองส่งมาให้ผมดูบ้างแล้วกันนะครับ

7 อย่างที่ห้องสมุดจะช่วยคุณยามเศรษฐกิจตกต่ำ

ในยามที่เศรษฐกิจกำลังมีปัญหา ห้องสมุดก็มีวิธีที่ทำให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้
โดยบทความที่ผมนำมาแปลและเรียบเรียงนี้ มาจากเว็บไซต์ consumerist ชื่อบทความว่า
7 Ways Your Public Library Can Help You During A Bad Economy

ภาพประกอบจาก http://www.gettyimages.com/
ภาพประกอบจาก http://www.gettyimages.com/

7 วิธีที่ห้องสมุดประชาชนจะช่วยคุณได้ในยามเศรษฐกิจตกต่ำ มีดังนี้

1. You can get pretty much any book at the library
คุณสามารถหยิบยืมหนังสือที่คุณต้องการอ่านได้จากที่ห้องสมุด
ซึ่งหนังสือก็มีให้เลือกมากมาย หลายหมวดหมู่ หลายประเภท
และหากจะยืมข้ามห้องสมุด ก็สามารถใช้บริการยืมระหว่างห้องสมุด (Inter Library loan) ได้ด้วย

2. Yes, we have movies
ห้องสมุดเรามีกิจกรรมฉายภาพยนตร์ทุกสัปดาห์นะครับ
นั่นเท่ากับว่าคุณไม่ต้องไปเปลืองเงินที่โรงภาพยนตร์เลยครับ

3. Kids Activities
ห้องสมุดมีกิจกรรมสำหรับเด็กๆ มากมาย
ดังนั้นพวกคุณสามารถนำลูกหลานมาทำกิจกรรมได้
นอกจากจะเป็นการเสริมทักษะมห้ลูกหลานของคุณแล้ว
ยังสร้างความสัมพันธ์ให้กับครอบครัวของคุณได้อีกด้วย

4. Save Money and maybe your life
มาห้องสมุดทำให้คุณมีเงินเก็บมากขึ้นด้วย เพราะในห้องสมุดคุณไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรมากมาย

5. Make new friends
มาห้องสมุดคุณอาจจะได้เพื่อนใหม่เลยก็ได้
มันก็ไม่แน่นะครับเพราะว่า คุณอาจจะเจอเพื่อนที่ชอบอ่านหนังสือแนวเดียวกันก็ได้

6. Find a new job
ห้องสมุดหลายๆ แห่งมีบริการอินเทอร์เน็ตบริการผู้ใช้อยู่แล้ว
คุณก็ลองใช้อินเทอร์เน็ตในการค้นหางานดูสิครับ
ไม่แน่นะครับ คุณอาจจะเจองานที่ถูกใจก็ได้

7. Libraries listen to consumers
ในขณะที่คนอื่นๆ อาจจะไม่ฟังคุณ แต่ขอให้จงระลึกไว้เสมอว่าห้องสมุดจะฟังคุณเอง

เอาเป็นว่านี่ก็คือ 7 วิธีที่ห้องสมุดประชาชนจะช่วยคุณในยามเศรษฐกิจตกต่ำได้นั่นเอง
ผมก็อยากให้เพื่อนๆ เข้าห้องสมุดกันมากๆ นะครับ
อย่างน้อยคุณก็สามารถที่จะใช้ชีวิตผ่านวิกฤตเศรษฐกิจไปได้ด้วยตัวเอง

พฤติกรรมของผู้ใช้ห้องสมุดแบบไหนที่แย่ที่สุด

หลังจากที่ผมตั้งคำถามเพื่อบรรณารักษ์มาก็เยอะแล้ว
วันนี้ผมขอตั้งคำถามเกี่ยวกับผู้ใช้ห้องสมุดบ้างดีกว่า

bad-user-library

ในห้องสมุดแต่ละแห่ง บางที่ก็เจอผู้ใช้ที่ดี บางที่ก็เจอผู้ใช้แย่ๆ เช่นกัน
พฤติกรรมหลายอย่างอาจจะไม่เหมาะสม แต่ผมอยากรู้ว่า พฤติกรรมไหนที่บรรณารักษ์อย่างเราไม่เห็นด้วยมากๆ

เราลองไปโหวตกันก่อนดีกว่า…

[poll id=”12″]

อยากถามเพื่อนๆ ว่า
?ถ้าคุณเจอผู้ใช้ห้องสมุดที่มีพฤติกรรมดังกล่าว คุณว่าผู้ใช้ห้องสมุดแบบไหนที่คุณจะไม่พอใจมากที่สุด?
หากไม่มีให้เลือกด้านบน กรุณาระบุหน่อยนะครับว่ามีอะไรเพิ่มอีกมั้ย
แล้วเราจะมาหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน

สำหรับผมเองตอนนี้เจอปัญหาเรื่องการแอบตัดหรือฉีกหนังสือบ่อยขึ้นเรื่อยๆ
ซึ่งเมื่อผู้ใช้นำมาคืนมักจะอ้างว่า

?มันขาดอยู่แล้ว ผมไม่ได้ทำอะไรสักหน่อย?
?คนที่ยืมก่อนผมทำขาดหรือปล่าว?
?ตอนผมเอาไปมันก็ไม่มีหน้านี้อยู่แล้วนะ?

ดังนั้นในช่วงนี้จึงมีป้ายเตือน ณ จุดบริเวณเคาน์เตอร์ว่า

?หากหนังสือเล่มนั้นชำรุดกรุณาอย่ายืมออก ให้แจ้งเจ้าหน้าที่บรรณารักษ์ทันที มิฉะนั้นท่านต้องรับผิดชอบต่อสภาพหนังสือที่ท่านยืมไป?

และก่อนทำการยิงบาร์โค้ตทุกครั้ง บรรณารักษ์จะลองเปิดดูแบบผ่านๆ เพื่อตรวจสอบว่าไม่มีรอยขีดเขียน หรือรอยขาด
และหากผู้ใช้นำมาคืนในสภาพที่หนังสือถูกฉีกอีก
จะทำให้ไม่สามารถอ้างเหตุผลใดๆ ต่อบรรณารักษ์ได้

หลังจากนั้นให้ปรับเป็นค่าหนังสือ / ซื้อหนังสือมาชดใช้ / ตัดสิทธิการยืม / ตัดสิทธิการใช้ห้องสมุด / ติดประจาน

วิธีต่างๆ ก็จะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมต่อไปด้วยนะครับ

อิอิ ขอเปิดนำร่องก่อนเลยใครมีความคิดยังไง หรือแนวทางการแก้ไขยังไงเสนอได้นะครับ