มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีรับบรรณารักษ์ 1 อัตรา

บรรณารักษ์ช่วยหางานวันนี้ บังเอิญว่ามีน้องคนนึงมาถามหางานบรรณารักษ์ในจังหวัดปัตตานี ผมก็เลยจัดตำแหน่งงานในจังหวัดปัตตานีมาให้ ซึ่งทำงานที่สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี หรือที่เรารู้จักกันในนาม หอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ นั่นเอง

psu pattani campus librarian job

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงานนี้
ชื่อตำแหน่ง : บรรณารักษ์
จำนวน : 1 ตำแหน่ง
เงินเดือน : 16,380 บาท
สังกัด / หน่วยงาน : สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
สถานที่ปฏิบัติงาน : หอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

ภาพรวมของงานนี้คือห้องสมุดในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งแน่นอนครับว่าต้องบริการให้กับกลุ่มนักศึกษา รวมถึงอาจารย์ และบุคลากรในมหาวิทยาลัย หน้าที่คร่าวๆ ของตำแหน่งนี้ เช่น
– บริการยืมระหว่างห้องสมุด
– บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า
– การสอนและให้ความรู้กับผู้ใช้เกี่ยวกับทักษะสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ
– การส่งเสริมการใช้บริการ และกิจกรรมส่งเสริมการใช้ห้องสมุด

เอาเป็นว่าถ้าอ่านแล้วรู้สึกสนใจ ก็ลองดูคุณสมบัติกันหน่อยครับ
1. จบปริญญาโท สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
2. มีความรู้ความสามารถ ดังนี้
– ความรู้ด้านทรัพยากรสารสนเทศ
– ความรู้ด้านภาษาต่างประเทศ
– ความรู้ด้านการใช้ฐานข้อมูล
– มีทักษะการสอนและการนำเสนอ
– การนำเสนอโครงการ

เอาเป็นว่าถ้าตรงกับบุคลิกของเราและจบปริญญาโทมาด้านนี้ แถมด้วยอยากทำงานในจังหวัดปัตตานี ผมก็ขอแนะนำงานนี้ครับ

ถ้าอยากได้รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาดาวน์โหลดเอกสารข้อมูลงานนี้มาอ่านต่อครับ ที่
http://www.oas.psu.ac.th/upload/news/prakadrab_jfk_56.pdf

และถ้าสนใจก็ดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่
http://www.oas.psu.ac.th/upload/news/app_form_jfk.pdf

ขอให้เพื่อนๆ โชคดีครับ

เว็บไซต์สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ http://www.oas.psu.ac.th/

สำนักหอสมุดกลาง ม.หอการค้า รับบรรณารักษ์ 1 ตำแหน่ง

เดือนมีนาคมเดือนแห่งบรรณารักษ์น้องใหม่ เดือนนี้ Libraryhub ขอเป็นสื่อกลางในการหางานให้น้องๆ ที่อยากทำงานห้องสมุด รวมถึงพี่ๆ ที่อยากเปลี่ยนงานมาทำงานห้องสมุด เอาเป็นว่าวันนี้วันแรก ผมขอแนะนำงานบรรณารักษ์ในมหาวิทยาลัยก่อนแล้วกัน เริ่มจาก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเลยครับ

UTCC librarian

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงานนี้
ชื่อตำแหน่ง : บรรณารักษ์
จำนวน : 1 ตำแหน่ง
สังกัด / หน่วยงาน : สำนักหอสมุดกลาง
สถานที่ปฏิบัติงาน : สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ตำแหน่งนี้เห็นว่าต้องสอบคัดเลือกด้วยนะครับ ดังนั้นเพื่อนๆ คงต้องเตรียมตัวกันหน่อยนะครับ
แต่ก่อนที่จะสมัครในตำแหน่งนี้ผมขอแนะนำคุณสมบัติเบื้องต้นก่อน

คุณสมบัติผู้สมัคร
1. วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี (เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.50) สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ สารนิเทศศาสตร์ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับระบบการจัดการห้องสมุดอัตโนมัติ
3. สามารถใช้คอมพิวเตอร์สาหรับงานสานักงานได้เป็นอย่างดี
4. มีความรู้ทางภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี
5. เพศชายต้องผ่านการเกณฑ์ทหารหรือได้รับการยกเว้นการเป็นทหารแล้ว

งานนี้มีการระบุเกรดเฉลี่ยด้วย ดังนั้นรบกวนดูกันนิดนึงนะ ส่วนเรื่องของเพศ ที่นี่ไม่ได้ระบุไว้แสดงว่าได้หมดนะครับ ส่วนผู้ชายต้องจัดการเรื่องทหารให้เรียบร้อยด้วยนะ

เอาหล่ะถ้าคุณสมบัติเบื้องต้นผ่าน เรามาดูดีกว่าว่าจะสมัครอย่างไร
ผู้สนใจโปรดติดต่อขอใบสมัครและรายละเอียด พร้อมยื่นใบสมัครตามแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนดด้วยตนเอง ที่สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ อาคาร 10 ชั้น 5 ตั้งแต่วันจันทร์ ถึงวันศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30 – 16.00 น. ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ไม่ได้ระบุเวลาปิดรับสมัครอ่ะครับ อันนี้คงต้องติดต่อไปสอบถามกันเองนะ
รายละเอียดอื่นๆ รบกวนดูที่ http://library.utcc.ac.th/library/

สำหรับวันนี้ขอให้โชคดีนะครับเพื่อนๆ

นายห้องสมุดพาเที่ยวหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ม.ศิลปากร

ไม่ค่อยได้พาเพื่อนๆ ไปเที่ยวห้องสมุดนานแล้ว วันนี้จัดให้สักทริปแล้วกันครับ สำหรับวันนี้เราจะเข้าไปชมห้องสมุดในมหาวิทยาลัยกันบ้าง ที่นั่นคือ “หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาศิลปากร” ตามมาดูกันเลยดีกว่าครับ

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับหอสมุดแห่งนี้
ชื่อห้องสมุด : หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาศิลปากร
ที่อยู่ : เลขที่ 6 ถนนราชมรรคาใน อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม 73000
โทรศัพท์ : 034-255092 / โทรสาร : 034-255092
เว็บไซต์ของห้องสมุด : http://www.snc.lib.su.ac.th/snclib/
บล็อกของห้องสมุด : http://www.snc.lib.su.ac.th/snclibblog
Facebook ห้องสมุด : http://www.facebook.com/suslib.sanamchandra

หมายเหตุ ภาพห้องสมุดผมถ่ายเอาไว้นานแล้ว ปัจจุบันไม่แน่ใจว่าเปลี่ยนไปบ้างหรือปล่าว

วันที่ไปเยี่ยมชมห้องสมุดแห่งนี้ ผมได้เดินทางไปพร้อมกับคณะเยี่ยมชมจากชมรมบรรณารักษ์ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา (ชบอ.) ซึ่งวันเดินทางไปตรงกับวันเสาร์ แต่ด้วยการนัดหมายที่ดีจึงได้เจอรุ่นพี่ มอ. บรรณารักษ์ (พี่ปอง) มาให้คำอธิบายและนำชมห้องสมุด แบบว่าแอบดีใจที่ได้เจอรุ่นพี่คนนี้มากๆ ด้วย

กระบวนการแรกก่อนเดินชมห้องสมุด พี่ปองได้พูดถึงภาพรวมของห้องสมุด รวมถึงกิจกรรมที่หอสมุดแห่งนี้ได้จัด ผมเองก็ได้เปิดมุมมองในเรื่องกิจกรรมแบบสร้างสรรค์ของที่นี่ด้วย

ตัวอย่างกิจกรรมสร้างสรรค์จากหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์
– กิจกรรมยืมไม่อั้น (ช่วงปิดเทอม)
– การเดินแบบแฟชั่นหนังสือ
– การตกแต่งรถสามล้อด้วยหนังสือ
– กิจกรรมส่งเสริมการอ่านในงานองค์พระ (งานประจำปีของจังหวัดนครปฐม)

ภายในอาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ จริงๆ แล้วจะแบ่งออกเป็น 2 อาคารนะครับ
โดยอาคารแรกที่พวกเราเยี่ยมชมจะเป็นอาคาร 4 ชั้น โดยแบ่งการให้บริการดังนี้

อาคารชั้น 1 ประกอบด้วย
– รับฝากของ
– งานบริการยืม คืน (เครื่องยืมคืนด้วยตนเอง)
– งานธุรการ
– หนังสืออ้างอิง
– โถงนิทรรศการ (ช่วงที่ไปมีการแสดงงานศิลปะด้วย)
– ร้านกาแฟ

อาคารชั้น 2 ประกอบด้วย
– หนังสือสาขาวิทยาศาสตร์-เทคโนโลยี
– วิทยานิพนธ์
– บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า
– บริการฐานข้อมูล
– ถ่ายเอกสาร
– ห้องน้ำ
– ทางเชื่อมไปอาคาร มล.ปิ่น มาลากุล

อาคารชั้น 3 ประกอบด้วย
– หนังสือสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ การศึกษา
– หนังสือเยาวชน
– ปริญญานิพนธ์
– ห้องน้ำ

อาคารชั้น 4
– หนังสือสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ การศึกษา
– หนังสือภาษาจีน ญี่ปุ่น เกาหลี เยอรมัน ฝรั่งเศส
– นวนิยาย
– ศูนย์ข้อมูลวิจัยฝรั่งเศส-ไทยศึกษา
– ฝ่ายวิเคราะห์และทรัพยากรห้องสมุด

ส่วนอีกอาคารนึงก็คือ อาคาร มล.ปิ่นมาลากุล นั่นเอง (อันนี้ไม่ได้เยี่ยมชมทั้งตึก) ได้ชมแค่ชั้น 1 เอง เพราะเวลามีจำกัด แต่ก็ต้องบอกว่าแค่ชั้น 1 ก็สุดยอดแล้ว

ส่วนอื่นๆ ที่เดินดูแล้วชอบก็คงไม่พ้นป้ายประชาสัมพันธ์ต่างๆ ในห้องสมุด เพราะอ่านแล้วโดนใจมาก เช่น แก้กรรมด้วยการออกสื่อ …..

เอาเป็นว่าถ้ามีโอกาสจะไปอีกครั้งเพื่อเก็บข้อมูลมาให้เพื่อนๆ อ่านอีก หวังว่าจะได้พบกันอีกเร็วๆ นี้นะครับพี่ปอง อิอิ
สุดท้ายนี้ก็ขอขอบคุณหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ และชมรมบรรณารักษ์ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาด้วยนะครับที่เปิดโอกาสให้ผมไปเปิดหูเปิดตาบ้าง อิอิ

ภาพบรรยากาศหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ในกล้องผม

[nggallery id=61]

Workshop : การผลิตสื่อวิชาการในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

วันนี้มีกิจกรรมที่น่าสนใจอีกกิจกรรมมาฝาก นั่นคือ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง  “การผลิตสื่อทางวิชาการในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book)” ที่จัดโดยสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รายละเอียดการอบรมเชิงปฏิบัติการเบื้องต้น
ชื่องานภาษาไทย : การผลิตสื่อวิชาการในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book)
สถานที่จัดงาน : ห้องฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ ชั้น 2 อาคาร 2 สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วันและเวลาที่จัด : วันที่ 30 – 31 กรกฎาคม 2555
จัดโดย : สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

กิจกรรมนี้น่าสนใจมากๆ โดยฌแพาะห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา หรือแม้แต่ห้องสมุดในโรงเรียนเองก็น่าสนใจนะครับ เพราะการอบรมครั้งนี้จะช่วยให้เราสามารถผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) ได้ เราสามารถนำมาสอนอาจารย์หรือครูที่สนใจอยากผลิต E-book ที่ห้องสมุดของเราได้อีก

หัวข้อที่น่าสนใจ
– มาตรฐานสื่อดิจิทัล
– การใช้งาน e-Book
– แนะนำการสร้าง e-Book ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปแบบ Open source
– การติดตั้งโปรแกรมในการสร้าง e-Book
– การใช้งานโปรแกรมสําหรับสร้าง e-Book


เมื่อจบจากการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้แล้ว ทุกท่านจะได้รับเกียรติบัตร ซึ่งเพื่อนๆ สามารถนำไปใช้เป็นใบเบิกทาง และแสดงถึงความสามารถในการใช้งานโปรแกรมการสร้าง E-book ได้


ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมการอบรมครั้งนี้

สมัครภายในวันที่ 20 กรกฎาคม 2555 คนละ 1,600 บาท
หลังจาก วันที่ 20 กรกฎาคม 2555 คนละ 1,800 บาท

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือต้องการสมัครเข้าร่วมกิจกรรม
เพื่อนๆ สามารถเข้าไปดูและสมัครที่ http://www.library.kku.ac.th/conference2012/

ขอฝากประโยคนี้ไว้ทิ้งท้ายข่าวประชาสัมพันธ์กิจกรรมนี้แล้วกัน
หากย้อนเวลากลับไปเมื่อสองถึงสามปีที่แล้วสิ่งที่ทำให้บรรณารักษ์หวั่นๆ คงหนีไม่พ้น “Google” บัดนี้ความหวั่นๆ ของบรรณารักษ์เปลี่ยนไปเมื่อโลกกำลังพูดถึง E-book การจะขจัดความหวาดหวั่นนี้ได้คงต้องเริ่มจากการที่ห้องสมุดสร้าง Content และสร้าง E-Book ขึ้นมาเองให้ได้ และลองนำมาประยุกต์กับงานให้บริการดู สิ่งที่คงจะเป็นเพียงการจุดประกายเรื่องทิศทางของห้องสมุดในอนาคต

วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ต้องการบรรณารักษ์ ด่วน!!!

งานบรรณารักษ์มาอีกแล้วครับ คราวนี้เป็นตำแหน่งงานบรรณารักษ์ที่ต้องการด่วนมากๆ ซึ่งหน่วยงานที่ต้องการรับ คือ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ใครสนใจก็อ่านดูนะ

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงาน
ชื่อตำแหน่งงาน : บรรณารักษ์
สถานที่ : วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล
จำนวน : 1 อัตรา

านนี้ต้องการด่วนมากจริงๆ นะ ส่วเรื่องของเนื้องานว่าต้องไปทำอะไรบ้าง ก็ลองอ่านจากด้านล่างนี้เลยแล้วกันครับ

รายละเอียดของงานในตำแหน่งนี้
– จัดทำสื่อการเรียนรู้ทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ โดยใช้โปรแกรมด้าน IT
– กำหนดเลขหมู่และแยกประเภทหัวเรื่องได้ตามระบบ Library of  Congress (LC)
– ให้บริการสืบค้นข้อมูลทั้งในรูปสิ่งพิมพ์ และออนไลน์
– ช่วยค้นหาแหล่งข้อมูลเพื่องานวิจัยของอาจารย์ และนักศึกษา
– ให้ความรู้และอบรมการสืบค้นงานวิจัยจากฐานข้อมูลประเภทต่างๆ

สำหรับคนที่สนใจก็ลองมาเช็คดูคุณสมบัติกันก่อนแล้วกันนะ
– เพศชาย (ตัด choice ไปได้เยอะพอควรเลยนะ)
– วุฒิปริญญาตรี สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ หรือที่เกี่ยวข้อง
– มีความรู้เกี่ยวกับการลงรายการตามหลัก AACR2 และการวิเคราะห์หมวดหมู่ตาม LC นะ การให้หัวเรื่องก็ยึดหลักตาม LCSH เลยจ้า
– มีทักษะการสืบค้นข้อมูลงานวิจัย
– ความสามารถในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เหล่านี้ :- MS Office, Web Design, Photoshop Dreamweaver, Flash

เห็นคุณสมบัติแล้วอาจจะทำให้หลายๆ คนปาดเหงื่อกันได้เลยทีเดียว
แต่ถ้าผ่านทั้งหมดตามที่ว่ามาแล้วก็ถือว่ามีโอกาสดีที่จะได้ทำงานที่นี่เลยนะครับ

อ๋อ ถ้าสามารถเริ่มงานได้ทันทีจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษด้วยนะครับ

เอาเป็นว่าถ้าใครสนใจและผ่านคุณสมบัติทั้งหมด
ก็ขอให้ส่งประวัติการศึกษา ทรานสคริปส์ และรูปถ่ายมาที่
E-mail: cmthanyaporn@mahidol.ac.th
โทร: 02-206-2000 ต่อ 2361/2365-6

ขอให้เพื่อนๆ ทุกคนโชคดีครับ

งานเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างห้องสมุด ณ ธรรมศาสตร์

ไม่ได้อัพเดทกิจกรรมห้องสมุดมานาน วันนี้ขอแนะนำกิจกรรมห้องสมุดที่ผมเข้าร่วมสักหน่อย
กิจกรรมนี้จะเกิดขึ้นในวันอังคารที่จะถึงนี้ (7 กุมภาพันธ์ 2555) ชื่อกิจกรรม “งานเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างห้องสมุด

รายละเอียดทั่วไปเกี่ยวกับกิจกรรมนี้
ชื่อกิจกรรม : งานเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างห้องสมุด
วันที่จัดงาน : 7 กุมภาพันธ์ 2555
สถานที่จัดงาน : ห้องเรวัต พุทธินันท์ หอสมุดปรีดี พนมยงค์ ชั้นใต้ดิน ๒ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ค่าใช้จ่าย : ฟรี
รับจำนวน 70 คน

กิจกรรมนี้ผมได้รับเชิญเพื่อมาเป็นผู้ดำเนินรายการ (ได้พลิกบทบาทจากวิทยากรเป็นผู้ดำเนินรายการครั้งแรก) ช่วงแรกๆ ก็ลังเลว่าจะตอบรับดีมั้ย
แต่พอได้ยินหัวข้อเท่านั้นแหละ ต้องตอบตกลงทันที เพราะผมเองก็สนใจเรื่องนี้อยู่เช่นกัน “บทเรียนจากมหาอุทกภัย 2554 กับห้องสมุด
หลังจากจบการเสวนาครั้งนี้ผมคงได้เขียนเรื่องนี้อย่างเป็นเรื่องเป็นราวสักที

หัวข้อที่เป็น Hilight ของกิจกรรมนี้ คือ
– เล่าสู่กันฟัง: ประสบการณ์ในหน้าที่ Subject Liaison โดย Mr. Larry Ashmun
– บทเรียนจากมหาอุทกภัย 2554 : เรื่องเล่าจากห้องสมุด โดย ผอ.ห้องสมุดจาก ธรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ รังสิต


ณ วันที่ผมลงข้อมูลในบล็อก ตอนนี้ปิดรับผู้ลงทะเบียนแล้วนะครับ เนื่องจากเต็มแล้ว (70คน)
เอาเป็นว่าผมจะสรุปเรื่องราวในวันนั้นมาลงให้อ่านแล้วกันครับ

รายละเอียดของกิจกรรมครั้งนี้อ่านได้จากเว็บไซต์ http://library.tu.ac.th/announcement/km/ นะครับ

การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 29

งานประชุมวิชาการของกลุ่มห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาก็เป็นอีกงานที่น่าสนใจนะครับ
ปีนี้ก็เช่นกัน ธีมงานของปีนี้คือ “มิติใหม่ในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุด”

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับการประชุมวิชาการ
ชื่องานภาษาไทย : การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 29
หัวข้อของการจัดงานภาษาไทย : มิติใหม่ในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุด
หัวข้อของการจัดงานภาษาอังกฤษ : The New Dimension of Library Cooperation Development
วันและเวลาที่จัดงาน : วันที่ 27 –  30 พฤศจิกายน 2555
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุม อาคารเรียนรวม 5 ชั้น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง

หัวข้อปีนี้ “มิติใหม่ในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุด” ได้บ่งบอกประเด็นหลักๆ คือ ห้องสมุดในมุมมองใหม่ กับ ความร่วมมือในการพัฒนาห้องสมุด การประชุมครั้งนี้ก็คงคล้ายๆ กับครั้งก่อนๆ คือ การนำเสนองานวิชาการ การระดมสมองทางงานวิชาการ ฯลฯ

ตัวอย่างหัวข้อที่น่าสนใจในงานประชุมวิชาการครั้งนี้

– Library Consortium Management
– การพัฒนาคลังสารสนเทศขนาดใหญ่โดยใช้ DSpace ของสถาบันนิติบัญญัติ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
– Virtual Newspaper in an Educational and Engaging Environment
– ห้องสมุดในฝัน
– เทคโนโลยี Cloud Computing กับการพัฒนาระบบห้องสมุด
– หนังสือลอยฟ้า : มิติใหม่ของ e-books
– องค์กร EIFL กับการพัฒนาห้องสมุดในประเทศไทย
– วิธีคิดและแนวทางความร่วมมือของห้องสมุดเครือข่าย OCLC จากการประชุม Asia Pacific Regional Council 3rd Membership Conference
– URD2 (Unified Resource Discovery and Delivery)
– แนวทางความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน
– ความร่วมมือในการจัดทำดรรชนีวารสารระหว่างห้องสมุด : มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบับัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และธนาคารแห่งประเทศไทย
– บทบาทของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสถานะความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย
– คณะกรรมการเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย
– รายงานความก้าวหน้าของคณะอนุกรรมการฯ ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในรอบปีที่ผ่านมา

เป็นยังไงบ้างครับกับหัวข้อต่างๆ ในงานประชุมวิชาการในครั้งนี้ แต่ละหัวข้อน่าสนใจมากๆ เลย เพื่อนๆ ว่ามั้ย
การประชุมครั้งนี้มีความใช้จ่ายด้วยนะครับ ค่าลงทะเบียนก็ท่านละ 2,500 บาทนะครับ

เอาเป็นว่าใครสนใจก็ลงทะเบียนได้เลยครับที่ http://203.131.219.178:8080/coconference2011/index_coconference2011.asp

รายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อนๆ สามารถอ่านได้ที่ http://203.131.219.178/coconference/

พบปะเพื่อนๆ เอกบรรณารักษ์ มอ. รหัส 44

ปีที่ผ่านมางานเยอะมากจนแทบจะไม่ได้เจอเพื่อนๆ เลย จนหลายคนกลับต่างจังหวัดกันไปแล้ว
มีโอกาสนัดกันใหม่ในวันนี้ (30 ม.ค. 54) เลยถือโอกาสออกมาพบปะเพื่อนๆ ที่เคยเรียนด้วยกันบ้าง

เพื่อนๆ เอกที่นัดกันในวันนี้มี ดังนี้ หนูนา, พิชญ์, ตี๋, จูน และวาย
สมาชิก 5 คนเองเอาเหอะแค่นี้ก็ดีกว่าไม่ได้เจอ เวลานัดหมายคือ 15.00 น. ณ เซ็นทรัลเวิลด์

ก่อนเวลานัดเพียงเล็กน้อยผมก็มาถึงห้างเซ็นทรัลเวิลด์ ภาระกิจแรกคือขึ้นไปคืนหนังสือ
จากนั้นก็มีโทรศัพท์จากหนุ่มน้อยสุดหล่อของเอกเราคือ พิชญ์ ก็มาถึงที่นัดหมายพอดี
ก็เลยชวนกันไปถ่ายรูปพริตตี้ด้านล่าง เก็บภาพพริตตี้มาฝาก 2-3 รูปเอง

จากนั้นก็มานั่งรอสมาชิกคนอื่นๆ ซึ่งก็ถยอยมา คือ ตี๋ และหนูนาซึ่งเป็นคนสุดท้าย
เวลาที่นัดหมายกันก็คาดเคลื่อนกันบ้างแต่เราก็มากันครบ และเริ่มต้นด้วยการ กิน กิน กิน
ร้านที่เราไปกินกันวันนี้คือ sizzler นั่นเอง กินไปถ่ายรูปไปพูดคุยไป
ถามข่าวคราวและปัจจุบันของแต่ละคน แถมด้วยเม้าส์เรื่องเพื่อนๆ นิดหน่อย

กินเสร็จก็ใช้เวลาไปเกือบสองชั่วโมง พูดคุยกันพอควร สมาชิกคนแรกก็ขอตัว (ตี๋กลับก่อน)
แต่สมาชิกคนที่เหลือก็ยังคงเดินไปคุยไป และจุดหมายที่ต่อไปคือ TKpark
(พิชญ์ไปคืนหนังสือ ส่วนเราไปหาหนังสือยืมต่อ) นอกจากนี้ยังเจอเพื่อนใน twitter (@bankkung) ด้วย

จากนั้นเราก็นั่งคุยกันไปคุยกันมาก็เริ่มเกรงใจสถานที่นิดนึง
เลยขยับกันไปที่สยามพารากอนไปนั่งเม้าส์กันต่อที่ร้านทรูคอฟฟี่
คุยๆ กันไป พิชญ์หิวอีกแล้ว ก็เลยเสนอให้ไปกินนม ร้านมนต์ ณ มาบุญครอง

กินเสร็จและเม้าส์กันเสร็จก็มองนาฬิกาอีกทีก็สามทุ่มแล้ว
นึกได้ว่าถึงเวลาต้องกลับบ้านกันแล้ว ก็เลยมาบอกลาเพื่อนๆ กัน ณ สถานีรถไฟฟ้า ต่างคนต่างแยกย้าย

หลักๆ วันนี้กินกับคุยกันอย่างสนุกสนาน แล้วคิดว่าในปีนี้เราคงได้นัดกันอีก
วันนี้สนุกมากๆ และดีใจที่ได้เจอเพื่อนๆ ทุกคน ไว้เจอกันใหม่นะ

ปล. เพื่อนๆ ที่ไม่ได้มา ไว้มีโอกาสเราคงได้เจอกันสักวันนะ

รูปภาพในวันนี้ทั้งหมดดูได้จาก http://www.facebook.com/#!/album.php?fbid=497063273347&id=730188347&aid=270914

ม.กรุงเทพ รับบรรณารักษ์ 1 ตำแหน่ง

งานบรรณารักษ์มาอีกแล้วครับ อาทิตย์นี้รู้สึกว่าผมจะปล่อยงานบรรณารักษ์ไปเยอะเหมือนกันนะ
เอาเป็นว่าก็ขอให้คนที่หางานบรรณารักษ์จงเลือกงานที่ตัวเองชอบแล้วไปสมัครกันนะครับ

bu-librarian

งานบรรณารักษ์ในวันนี้ เป็นตำแหน่งบรรณารักษ์ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ซึ่งประกาศรับสมัครอยู่ในช่วงนี้ (จริงๆ เข้าไม่ได้บอกชื่อตำแหน่งบรรณารักษ์หรอกนะครับ)

แต่ผมสังเกตว่าสถานที่ปฏิบัติงานคือ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
และด้วยคุณสมบัติเบื้องต้นของตำแหน่งดูยังไงก็เป็นบรรณารักษ์อยู่ดี

คุณสมบัติของตำแหน่งนี้
– ปริญญาตรี สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
– มีความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษ
– สามารถออกแบบและพัฒนาเว็บไซด์ได้
– ผลการศึกษา (GPA) ไม่ต่ำกว่า 2.50
– ไม่จำกัดเพศ
– อายุไม่เกิน 30 ปี

เอาเป็นว่าดูจากคุณสมบัติอาจจะมองว่าเป็นบรรณารักษ์ด้านไอทีหน่อยๆ นะครับ
เพราะต้องรู้เรื่องการออกแบบเว็บไซต์ด้วย งานคงอยู่ใกล้ๆ กับเว็บไซต์หอสมุดหล่ะมั้งครับ

เอาเป็นว่าถ้าเพื่อนๆ คนไหนสนใจก็เข้าไปกรอกใบสมัครไปที่
http://ursa.bu.ac.th/job/step1.cfm

หรือถ้ามีข้อสงสัยประการใดก็ลองโทรไปถามดูก็ได้ครับ ที่ 02-3503500 ต่อ 815

นอกจากตำแหน่งบรรณารักษ์แล้วยังมีงานตำแหน่งอื่นๆ อีกนะ ลองเข้าไปดูที่
http://www.bu.ac.th/NewsandInform/f_job.html

ภาพหมู่เอกบรรณารักษ์รุ่นสุดท้ายแห่ง มอ.

อันนี้ไม่ขอเขียนอะไรมากมาย แค่อยากเอารูปเก่าๆ มาให้เพื่อนๆ ดู
ซึ่งเป็นรูปถ่ายของเอกบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์แห่ง มอ.

lib-info-sci-psu

รุ่นของผมคือรุ่นสุดท้ายที่มีการใช้คำว่า “บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์” นะครับ
หลังจากรุ่นผมเป็นต้นไปที่ภาควิชาก็เปลี่ยนชื่อหลักสูตรเป็น “การจัดการสารสนเทศ” แล้วครับ

เนื้อหารายวิชาบางส่วนก็ยังคงเป็นวิชาของบรรณารักษ์ แต่ก็ได้มีการเน้นวิชาด้านไอทีมากขึ้นด้วย
ซึ่งเน้นไปในเรื่องการจัดการสารสนเทศในทุกรูปแบบนั่นเอง

ดูในรูปแล้วก็ทำเอาคิดถึงเพื่อนๆ เอกเลยนะครับ
ในรุ่นของผมเป็นรุ่นประวัติศาสตร์ที่มีผู้ชายมากถึง 6 คน ส่วนผู้หญิงก็มีทั้งหมด 16 คนครับ

เอามาให้ดูอย่างนั่นแหละครับ ไม่รู้จะอธิบายยังไง
แต่สังเกตจากภาพที่ทุกคนมีความสุขกับวิชาที่เรียน แค่นี้ก็ทำให้รู้สึกดีใจแล้วครับ
แม้ว่าบางคนจบมาก็เป็นบรรณารักษ์ หรือบางคนก็ไม่ได้เป็นบรรณารักษ์
แต่อย่างน้อยทุกคนก็ใช้วิชาที่เรียนมาสร้างความสำเร็จในชีวิตได้
ผมว่าแค่นี้ก็ดีที่สุดแล้ว?

คิดถึงเพื่อนๆ นะ

[nggallery id=23]