บรรณารักษ์ระดับ 3, 4, 5, 6, 7 แตกต่างกันตรงไหน

เพื่อนๆ นอกวิชาชีพหลายๆ คนสงสัยและถามผมมาว่า บรรณารักษ์ 3 ที่สอบในราชการนี่คืออะไร
แล้วมันยังมีตำแหน่งบรรณารักษ์ระดับอื่นๆ อีกหรือไม่ วันนี้ผมจึงขอเขียนเรื่องตำแหน่งบรรณารักษ์ในระดับต่างๆ

สายงานบรรณารักษ์ในวงการราชการก็มีระดับของตำแหน่งเหมือนวิชาชีพอื่นๆ แหละครับ
นอกจากบรรณารักษ์ 3 แล้ว ในวงการราชการอาจจะพบคำว่า บรรณารักษ์ 4,5,6,7 อีก
ซึ่งตำแหน่งต่างๆ ที่เพิ่มเข้ามานี้มาจากการสอบซึ่งดูที่ความสามารถและประสบการณ์ทำงานเช่นกัน

เรามาดูความรู้ความสามารถของบรรณารักษ์ระดับต่างๆ กันดีกว่า

บรรณารักษ์ระดับ 3
1. มีความรู้ในวิชาการบรรณารักษ์ศาสตร์อย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
2. มีความรู้ความเข้าในในกฎหมายสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล และกฎหมาย กฎ ระเบียบ และข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่
3. มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยเฉพาะ อย่างยิ่งของประเทศไทย
4. มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
5. มีความสามารถในการศึกษาหาข้อมูล วิเคราะห์ปัญหา และสรุปเหตุผล


บรรณารักษ์ระดับ 4 (ทำงานระดับ 3 แล้ว 2 ปี)

1. มีความรู้ความเข้าใจในนโยบายและแผนงานต่าง ๆ ของส่วนราชการที่สังกัด
2. มีความสามารถในการจัดทำแผนงาน ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำปรึกษาแนะนำและ เสนอแนะวิธีการแก้ไขปรับปรุงการปฏิบัติงานที่อยู่ในความรับผิดชอบ
3. มีความสามารถในการปกครองบังคับบัญชา
4. มีความสามารถในการติดต่อประสานงาน

บรรณารักษ์ระดับ 5 (ทำงานระดับ 4 แล้ว 2 ปี, ทำงานระดับ 3 แล้ว 4 ปี, ปริญญาเอกบรรณารักษ์)
1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักการบริหารงานบุคคล
2. มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
3. มีความรู้ความสามารถในการใช้งานคอมพิวเตอร์


บรรณารักษ์ระดับ 6 (ทำงานระดับ 5 แล้ว 2 ปี)

1. มีความสามารถในการบริหารงานและจัดระบบงาน
2. มีความสามารถในการริเริ่ม ปรับปรุงนโยบายและแผนงาน
3. มีความรู้ความสามารถในการใช้งานคอมพิวเตอร์


บรรณารักษ์ระดับ 7 (ทำงานระดับ 6 แล้ว 2 ปี)

1. มีความสามารถในการบริหารงานและจัดระบบงาน
2. มีความสามารถในการริเริ่ม ปรับปรุงนโยบายและแผนงาน
3. มีความรู้ความสามารถในการใช้งานคอมพิวเตอร์

จะสังเกตได้ว่า ในบรรณารักษ์ระดับที่ 6 กับ 7 จะคล้ายๆ กัน แต่การที่จะวัดระดับชั้นกันนั้นอยู่ที่ประสบการณ์ทำงานต่างหาก
และถ้าสังเกตดูจะเห็นว่าทุกๆ 2 ปี จะมีการเปลี่ยนตำแหน่งขึ้นนั่นเอง ดังนั้นก็ทำงานเก็บประสบการณ์กันไปเรื่อยๆ นะครับ

อ๋อเรื่องตำแหน่งที่สูงขึ้น แน่นอนครับเงินก็ต้องเพิ่มขึ้นเช่นกัน แต่ผมคงไม่ทราบหรอกนะครับว่าตำแหน่งไหนได้เงินเท่าไหร่
ใครรู้ก็ช่วยนำมาแชร์ให้ผมรู้บ้างนะครับ จะขอบคุณมากๆ อิอิ วันนี้ก็อ่านเล่นๆ กันดูนะครับ อย่างน้อยก็เพื่อพัฒนาตัวเอง

มาตรฐานสื่อดิจิทัลเพื่อการบริการยุคสังคมฐานความรู้

วันนี้ผมก็มีโอกาสเข้าร่วมงานสัมมนา “มาตรฐานสื่อดิจิทัลเพื่อการบริการยุคสังคมฐานความรู้
และได้ฟัง ศ.ดร. ไพรัช ธัชยพงศ์ บรรยายในเรื่อง “ความสำคัญของมาตรฐานสื่อดิจิทัล”
ผมจึงขอสรุปเนื้อหามาให้เพื่อนๆ ที่ไม่ได้มีโอกาสเข้าร่วมได้อ่านและเติมความรู้นะครับ

standard-for-digital-media

ปล.ผมขออนุญาตเรียกท่านวิทยากรว่า อาจารย์ นะครับ

หัวข้อแรกที่อาจารยืได้พูดถึง คือ เรื่อง “นิยามและวิวัฒนาการสังคมสารสนเทศ”
ซึ่งอาจารย์ได้อธิบายความหมายของคำว่า “สังคมความรู้” ให้พวกเราฟัง

“สังคมความรู้” คือ “สังคมที่ทุกคนช่วยกันสร้าง แบ่งปัน และใช้ความรู้ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดี”

ไม่ว่าสังคมของเราจะเป็นเกษตร อุตสาหกรรม หรือ บริการ ถ้าเราเอาความรู้ไปใช้
มันก็อาจจะช่วยเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการของเราได้ด้วย

เรื่องต่อมาที่อาจารย์ได้บรรยาย คือ เรื่องของวิวัฒนาการของสื่อ
โดยยกตัวอย่างภาพเขียนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคการเขียนหนังสือ และยุคการพิมพ์

สิ่งที่เราเห็นถึงความก้าวหน้าของสื่อ เช่น
กระดาษ -> หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ -> เครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

Example : LG Display unveils newspaper-size flexible e-paper
เครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีความยืดหยุ่นคล้ายๆ กระดาษ และมีขนาดใหญ่เท่าหนังสือพิมพ์

จากนั้นอาจารย์ก็หยิบเอาตารางการสำรวจยอดการจำหน่ายหนังสือในสหรัฐอเมริกามาให้พวกเราดู
และชี้ให้เห็นว่ายอดการอ่านหนังสือพิมพ์ของคนในสหรัฐอเมริกาลดลง สาเหตุมาจากสื่อออนไลน์

จากนั้นอาจารย์ก็ยกข้อมูลการใช้อินเทอร์เน็ตมาให้พวกเราดู (internetworldstats.com)
ประชากรบนโลกประมาณ 6,700 ล้านคน มีการใช้อินเทอร์เน็ต 1,700 ล้านคน

สิ่งที่กล่าวมาข้างต้น นี่เป็นเพียงการชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของสื่อดิจิทัล
แต่สิ่งที่ทำให้ต้องมีการมาพูดเรื่องมาตรฐานของสื่อดิจิทัลก็เนื่องมาจาก

ปัญหาของสื่อดิจิทัล เช่น font error, configuration, non format

ดังนั้นจากปัญหาต่างๆ จึงต้องมีการจัดการสื่อดิจิทัล เช่น
– การถ่ายทอดและจัดเก็บอย่างเป็นระบบ
– ต้องทำให้สามารถเข้าถึงได้อย่างกว้างขวาง
– ต้องมีการกำหนดมาตรฐานและแนวทาง
– สร้างความไหลเวียนของข้อมูล

ซึ่งหากพูดถึงมาตรฐานของสื่อดิจิทัลแล้ว เรามีรูปแบบในการกำหนดมาตรฐานหลายอย่าง เช่น
– การจัดการโฟลเดอร์และแฟ้มเอกสาร
– การจัดการเอกสารงานพิมพ์
– การจัดการเอกสารบนเว็บไซต์
– การจัดการเอกสารในการนำเสนอ
– การจัดการไฟล์เสียง
– การจัดการไฟล์ภาพ
– การจัดการสื่อมัลติมีเดีย

หลังจากที่พูดในส่วนนี้เสร็จ อาจารย์ก็อธิบายถึงเรื่องที่เกี่ยวกับเอกสารอย่างคร่าวๆ เช่น
– รูปแบบและระบบรหัสตัวอักษรและสัญลักษณ์
– รูปแบบของเสียงและการบีบอัดข้อมูล
– รูปแบบของไฟล์ภาพและการอ่าน spec กล้อง digital
– รูปแบบของไฟล์วีดีโอ และ MPEG ชนิดต่างๆ

(ผมไม่ขอลงรายละเอียดนะครับ เนื่องจากเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก)

สรุปปิดท้ายอาจารย์ได้เน้นให้พวกเราทำความเข้าใจในเรื่องของการกำหนดมาตรฐาน
และให้ช่วยกันรณงค์การใช้ข้อมูลมาตรฐาน รวมถึงช่วยกันปรับปรุงและพัฒนาข้อกำหนดต่อไป

เอาเป็นว่าผมก็หวังว่าเพื่อนๆ คงจะเข้าใจถึงความสำคัญของงานมาตรฐานสื่อดิจิทัลกันเพิ่มมากขึ้นนะครับ

การให้หัวเรื่องด้วย BISAC Subject heading

ถ้าเราถามบรรณารักษ์ว่า “คุณให้หัวเรื่องหนังสือเล่มนี้อย่างไร มีมาตรฐานอะไรในการให้
บรรณารักษ์หลายๆ คนก็คงตอบว่า “ก็เปิดดูจาก LC Subject Heading” นะสิ
ตกลงว่าในโลกนี้มีการให้หัวเรื่องอยู่แบบเดียวจริงหรือ

bisac-library

การให้หัวเรื่องที่ผมจะนำเสนอวันนี้อาจจะต่างจากการให้หัวเรื่องตามหลักบรรณารักษ์หน่อยนะครับ
แต่ผมว่ามันก็สามารถนำมาใช้แทนกันได้นะ บางทีอาจจะดีกว่าด้วยซ้ำ

การให้หัวเรื่องที่ผมจะกล่าว ถูกเรียกว่า “BISAC”
ซึ่งย่อมาจากคำว่า “Book Industry Standards and Communications”
ซึ่งถูกคิดค้นด้วยองค์กรที่ชื่อว่า Book Industry Study Group ซึ่งทำงานกับตัวหนังสือเช่นกัน

วัตถุประสงค์หลักๆ ก็คือ ใช้เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล EDI(electronic data interchange) ของสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือและวารสารเป็นหลัก

ลองเข้าดูการให้หัวเรื่องของระบบ BISAC ได้ที่
http://www.bisg.org/what-we-do-0-136-bisac-subject-headings-list-major-subjects—2009-edition.php

ตัวอย่างหัวเรื่องในระบบ BISAC เช่น
ANTIQUES & COLLECTIBLES
ARCHITECTURE
ART
BIBLES
BIOGRAPHY & AUTOBIOGRAPHY
(นี่เป็นหัวเรื่องใหญ่นะครับ หากต้องการรายละเอียดต้องเข้าไปดูในหัวเรื่องอีกที)

และจากการที่ผมได้ลองเข้าไปดู ผมก็พบว่าจริงๆ แล้วมันก็คล้ายๆ กับ LC subject heading เหมือนกัน
บางทีผมว่ามันก็สามารถนำมาใช้แทน LC subject heading ได้เหมือนกัน

เอาเป็นว่าสำหรับผมคิดว่ามันก็เป็นทางเลือกที่ดีในการนำมาใช้นะครับ

หากเพื่อนๆ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่ http://www.bisg.org

สัมมนาเรื่อง “มาตรฐานสื่อดิจิทัลเพื่อการบริการยุคสังคมฐานความรู้”

วันนี้ผมมีงานสัมมนาที่น่าสนใจสำหรับงานห้องสมุดมาประชาสัมพันธ์ให้เพื่อนๆ เข้าร่วม
งานนี้เป็นงานสัมมนาที่ว่าด้วยเรื่องมาตรฐานของสื่อดิจิทัลในรูปแบบต่างๆ นั่นเอง

digital-media

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงานสัมมนานี้
ชื่องานสัมมนา : มาตรฐานสื่อดิจิทัลเพื่อการบริการยุคสังคมฐานความรู้
วันและเวลาที่จัดงาน : วันที่ 27 มกราคม 2553 เวลา 8.30-17.00 น.
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุมประกอบ หุตะสิงห์ อาคารอเนกประสงค์ 1 ชั้น 3 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

งานสัมมนาครั้งนี้จะทำให้เพื่อนๆ เข้าใจในเรื่องของการเผยแพร่เนื้อหาสารสนเทศที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัลในรูปแบบต่างๆ
ซึ่งจะเน้นในเรื่องของรูปแบบและมาตรฐานในการเข้าถึงสารสนเทศต่างๆ เพื่อทำให้เกิดคุณภาพต่อการให้บริการ
ในอนาคตผมว่าสื่อประเภทดิจิทัลจะเข้ามามีบทบาทต่อวงการห้องสมุดอีกมากมาย
ดังนั้นเพื่อนๆ ควรจะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงด้วย

หัวข้อที่น่าสนใจในงานนี้
– การบรรยายพิเศษ เรื่อง ความสำคัญของมาตรฐานสื่อดิจิทัล โดย ศ.ดร. ไพรัช ธัชยพงศ์
– การพัฒนาคลังความรู้ด้วย Open Source Software โดย นางสาวสุภาพร ชัยธัมมะปกรณ์
– ข้อกำหนดการพัฒนาสื่อดิจิทัลที่มีคุณภาพ โดย นายบุญเลิศ อรุณพิบูลย์
– โครงการเครือข่ายห้องสมุดดิจิทัลประเทศไทย และการหารือเพื่อจัดทำโครงการ โดย แผนงาน ICT สสส.

งานสัมมนาครั้งนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายนะครับ ดังนั้นเพื่อนๆ รีบๆ ลงทะเบียนกันด้วยนะครับ
ลงทะเบียนได้ที่ http://library.tu.ac.th/registeronline3/register.asp
และเพื่อนๆ สามารถตรวจดูชื่อของคนลงทะเบียนได้ที่ http://library.tu.ac.th/registeronline3/master.asp

งานนี้เป็นงานที่น่าสนใจและน่าเข้าร่วมมากๆ ครับ
เพื่อที่จะทำให้เพื่อนๆ ได้เข้าใจและสามารถนำไปใช้ประยุกต์ต่องานห้องสมุดของเพื่อนๆ ได้

เอาเป็นว่าสำหรับเพื่อนๆ ที่ไป ก็สามารถเข้ามาทักทายผมได้นะครับ เพราะว่าผมก็เข้าร่วมงานนี้เช่นกัน
แต่สำหรับเพื่อนๆ ที่ไม่สามารถเข้าร่วมงานนี้ได้ เอาไว้กลับมาผมจะเขียนเล่าเรื่องในบล็อกนี้ให้นะครับ

หากเพื่อนๆ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมก็สามารถเข้าไปดูได้ที่ http://library.tu.ac.th/digitalconference/

การจัดหมวดหมู่หนังสือทางการแพทย์ (NLM Classification)

การจัดหมวดหมู่หนังสือตามมาตรฐานของห้องสมุดมีอยู่หลายรูปแบบ
แล้วแต่ว่าเพื่อนๆ จะเอาไปปรับใช้ให้เข้ากับห้องสมุดของเพื่อนๆ เอง
วันนี้ผมจึงขอนำเสนอการจัดหมวดหมู่ทางการแพทย์ให้เพื่อนๆ รู้จักนะครับ

nlm

การจัดหมวดหมู่หนังสือทางการแพทย์ หรือที่หลายๆ คนรู้จักในนาม NLM
หรือชื่อเต็มๆ คือ National Library of Medicine นั่นเอง

ประวัติของการจัดหมวดหมู่แบบ NLM
เกิดจาก Army Medical Library ได้ตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับเรื่องการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุดในปี 1944
ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่หนังสือโดยใช้สัญลักษณ์เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษและตัวเลข (ลักษณะการจัดหมวดหมู่ของแอลซี)
และได้เสนอแนะให้ห้องสมุดทางการแพทย์มีการจัดหมวดหมู่ในลักษณะดังกล่าว
จึงได้มีการตั้งคณะกรรมการเพื่อกำหนดการจัดหมวดหมู่หนังสือทางการแพทย์ขึ้น

ซึ่งทำให้ได้แม่แบบในการจัดหมวดหมู่หนังสือทางการแพทย์ฉบับแรกขึ้น ในปี 1948
โดยพัฒนามาจากการจัดหมวดหมู่แบบแอลซีนั่นเอง

การปรับปรุงหมวดหมู่ต่างๆ ใน NLM Classification ก็มีการปรับปรุงมาโดยตลอด
เนื่องจากในวงการแพทย์ก็มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดเช่นเดียวกับด้านเทคโนโลยี

ในปี 2002 ก็มีการจัดทำเว็บไซต์และตีพิมพ์ข้อมูลของการจัดหมวดหมู่ทางการแพทย์ขึ้น
ลองเข้าไปดูได้ที่ http://www.nlm.nih.gov/class/index.html

การจัดหมวดหมู่หนังสือทางการแพทย์ โดยทั่วไปจะใช้ตัวอักษรหลัก 2 ตัว คือ Q และ W

โดยแต่ละตัวอักษรสามารถแบ่งหมวดย่อยลงไปอีกระดับได้ ซึ่งเหมือนกับการจัดหมวดหมู่แบบแอลซี เช่น
หมวดหลัก Q – Preclinical Sciences (วิชาว่าด้วยสุขภาวะเบื้องต้น)
หมวดย่อย QS – Human Anatomy กายวิภาคศาสตร์มนุษย์
หมวดย่อย QT – Physiology สรีรวิทยา
หมวดย่อย QU – Biochemistry ชีวเคมี
หมวดย่อย QV – Pharmacology เภสัชวิทยา

หมวดหลัก W – Medicine and Related Subjects (การแพทย์และเรื่องที่เกี่ยวข้อง)
หมวดย่อย WA – Public Health สาธารณสุขศาสตร์
หมวดย่อย WB – Practice of Medicine แพทยศาสตร์
หมวดย่อย WC – Communicable Diseases โรคติดต่อ

นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างแค่บางหมวดหมู่เท่านั้น หากจะดูหมวดแบบเต็มๆ ลองเข้าไปดูที่
http://wwwcf.nlm.nih.gov/class/OutlineofNLMClassificationSchedule.html

หลังจากที่ได้หมวดหมู่แล้ว หลังจากนี้ก็ต้องใช้การเปิดตารางดัชนี
เพื่อกำหนดเลขอารบิค 1 – 999 เพื่อให้ได้หมวดหมู่และรายละเอียดที่ชัดเจนเกี่ยวกับหนังสือเล่มนั้นๆ

เช่น หากต้องการพจนานุกรมเกี่ยวกับโรคติดต่อ ก็ต้องไปดูเลขเฉพาะของหมวดนั้นๆ ลงไปอีก
ซึ่งจะได้ หมวดโรคติดต่อ + พจนานุกรม = WC + 13
ดังนั้น พจนานุกรมเกี่ยวกับโรคติดต่อ = WC13

และถ้าอยากได้รายละเอียดมากกว่านี้ ก็จะต้องมีเลขผู้แต่ง และปีพิมพ์ของหนังสือเล่มนั้นด้วย

เป็นยังไงกันบ้างครับ กับเรื่องราวการจัดหมวดหมู่หนังสือทางการแพทย์
มันก็มีความซับซ้อนไม่ต่างจากการจัดหมวดหมู่หนังสือแบบอื่นๆ เช่นกัน

รู้รึยังครับการงานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดไม่ใช่เรื่องง่ายจริงๆ

IBSN – Internet Blog Serial Number

เลขมาตรฐานที่คนในวงการบรรณารักษ์ต้องรู้ เช่น ISBN, ISSN
แต่วันนี้ผมขอนำเสนอเลขมาตรฐานอีกอย่างนึงให้เพื่อนๆ รู้จัก นั่นก็คือ IBSN

libraryhub

IBSN คืออะไร

“The IBSN (Internet Blog Serial Number) is created on February 2, 2006 in answer to a denial from current administration to assign ISSN numbers to Internet blogs.”

แปลให้อ่านง่ายๆ ครับ IBSN คือ
เลขมาตรฐานสำหรับบล็อกบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งถูกจัดตั้งขึ้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2006
เพื่อเป็นเลขที่ใช้ชี้หรืออ้างอิงบล็อกบนอินเทอร์เน็ต

การสมัครก็ง่ายๆ ครับ ไปที่หน้า http://ibsn.org/register.php ได้เลย

แล้วกรอกตัวเลขในช่องที่ปรากฎซึ่งต้องเป็นเลข 10 หลัก และจะขีดขั้น (-) ตรงไหนก็ได้ 4 ขีด

register

จากนั้นก็ให้กรอกข้อมูลเกี่ยวกับบล็อกตามภาพเลยนะครับ

blogggg

URL del blog : ใส่ URL ของบล็อกคุณในช่องนี้
Nombre del blog : ใส่ชื่อของ blog คุณในช่องนี้
e-mail : กรอกอีเมล์ของคุณ
Comentario : ใส่รายละเอียดและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบล็อกของคุณในช่องนี้

จากนั้นให้กดตรงปุ่ม Solicitar แล้วก็จะได้เลข IBSN ครับ

Libraryhub ของผมก็ไปจดเลข IBSN มาแล้วนะ ไม่เชื่อดูดิ

libraryhub_ibsn

เลข IBSN ของผม คือ 0-29-09-19820

สำหรับเพื่อนๆ ที่ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมลองเข้าไปดูที่
http://ibsn.org

งานเสวนาและวิพากษ์ (ร่าง)มาตรฐานห้องสมุดเฉพาะ 2552

งานนี้ผมได้รับเชิญให้เข้าร่วมวงเสวนาด้วย เลยขอเอามาประชาสัมพันธ์สักหน่อยดีกว่า
งานนี้หลักๆ ก็คือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ (ร่าง)มาตรฐานห้องสมุดเฉพาะ 2552

speciallibrarystandard

ข้อมูลทั่วไปของงานนี้
ชื่องาน : โครงการ “การเสวนาและวิพากษ์ (ร่าง) มาตรฐานห้องสมุดเฉพาะ พ.ศ. 2552”
วันและเวลาที่จัดงาน : วันศุกร์ที่? 31 กรกฎาคม? พ.ศ. 2552 เวลา 8.30 – 17.00 น.
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุมหอสมุดและจดหมายเหตุ? ธนาคารแห่งประเทศไทย
จัดโดย : ชมรมห้องสมุดเฉพาะ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ

งานนี้ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์? สารสนเทศศาสตร์? และวิทยาการคอมพิวเตอร์ จำนวน 70 คน
มาเพื่อ พิจารณา (ร่าง)มาตรฐานห้องสมุดเฉพาะ พ.ศ. 2552 ก่อนที่จะนำไปประกาศและเผยแพร่ต่อไป

กำหนดการของงานเสวนาในครั้งนี้ มีดังนี้
ช่วงเช้า – การเสวนาและวิพากษ์? เรื่อง? บทบาทมาตรฐานห้องสมุดเฉพาะของประเทศไทย
โดย ศาสตราจารย์คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต, รองศาสตราจารย์ ดร.ประจักษ์ พุ่มวิเศษ, รองศาสตราจารย์ดร.เอื้อน? ปิ่นเงิน
และมีผู้ดำเนินรายการ คือ ผศ. วรางคณา อินทรพิณทุวัฒน์

ช่วงบ่าย – ประชุมกลุ่มย่อย? พิจารณาและวิพากษ์ (ร่าง) มาตรฐานชมรมห้องสมุดเฉพาะ
และสรุปผลการประชุมกลุ่มย่อย ก่อนจบรายการในวันนั้น

เอาเป็นว่าผลของการเสวนาในวันนั้น ผมจะนำมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังก็แล้วกันนะครับว่า
“ผลสุดท้ายแล้วหน้าตาของมาตรฐานห้องสมุดเฉพาะ 2552 จะออกมาเป็นอย่างไร”
แต่ก่อนจะถึงวันนั้น ผมขอเกริ่นคร่าวๆ เกี่ยวกับ (ร่าง)มาตรฐานห้องสมุดเฉพาะ พ.ศ.2552 สักหน่อยดีกว่า

สรุป (ร่าง)มาตรฐานห้องสมุดเฉพาะ 2552 ซึ่งประกอบด้วย 9 หมวด ดังนี้
หมวดที่ 1 วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายและยุทธศาสตร์
หมวดที่ 2 การบริหาร
หมวดที่ 3 งบประมาณ
หมวดที่ 4 บุคลากร
หมวดที่ 5 ทรัพยากรสารสนเทศ
หมวดที่ 6 อาคารสถานที่ และครุภัณฑ์
หมวดที่ 7 การบริการ
หมวดที่ 8 เครือข่ายและความร่วมมือระหว่างห้องสมุด
หมวดที่ 9 การประเมินคุณภาพห้องสมุด

เป็นยังไงกันบ้างครับ ลักษณะหน้าตาของหมวดต่างๆ จะคล้ายๆ กับมาตรฐานของห้องสมุดประชาน 2550 เลยนะครับ
แต่ต่างกันตรงที่ข้อสุดท้ายนั่นเอง คือ เรื่องของ “การประเมินคุณภาพห้องสมุด” ประเด็นนี้สิครับน่าสนใจ

เอาไว้ว่างๆ ผมจะขอเอาประเด็นนี้มาเล่าต่อแล้วกันนะครับ
สำหรับคนที่ได้ไปงานนี้ก็เจอกันในงานนะครับ