วารสารห้องสมุด IFLA Journal ฉบับเดือนธันวาคม 2010

วารสารห้องสมุด IFLA Journal ประจำเดือนธันวาคม 2010 ออกแล้วครับ
เลยต้องนำมาลงให้เพื่อนๆ เข้าไปอ่านกัน (ดาวน์โหลดได้ฟรีๆ เลยครับ)

อย่างที่เคยลงเอาไว้แหละครับว่า IFLA Journal ออก 3 เดือนครั้ง และออกมาในรูปแบบ PDF ไฟล์
ซึ่งครั้งที่แล้วผมนำฉบับเดือนตุลาคมมาลงซึ่งเพื่อนๆ หลายคนก็เมล์มาบอกผมว่าชอบ
และถ้าฉบับใหม่มาให้นำมาลงให้อ่านบ้าง ผมก็เลยจัดไปอย่าให้เสีย

วารสาร IFLA Journal ฉบับนี้มีเรื่องน่าสนใจอะไรบ้างไปดูกันก่อนเลยครับ

– Diversity in librarianship: The United States perspective
– Preserving traditional knowledge: Initiatives in India
– Assessing information literacy competency of Information Science and Library Management graduate students of Dhaka University
– Research output in the field of natural sciences: A bibliometric case study of Jamia Millia Islamia University, New Delhi
– Non-users? evaluation of digital libraries: A survey at the Universita` degli studi di Milano
– Building capacity through the IFLA Building Strong Library Associations programme

เข้าไปดาวน์โหลดเต็มๆ เล่มได้ที่
http://www.ifla.org/files/hq/publications/ifla-journal/ifla-journal-36-4_2010.pdf

เอาเป็นว่าแต่ละหัวข้อและบทความน่าอ่านมากๆ จริงๆ ครับ
ที่สำคัญของฟรีๆ แบบนี้มีให้อ่านเรื่อยๆ ดังนั้นไม่อยากให้พลาดกัน
โหลดไปอ่านแล้วส่งต่อให้เพื่อนๆ อ่านกันด้วยนะครับ

สำหรับเล่มเก่าๆ ก็ลองเข้าไปดูได้ที่ http://www.ifla.org/en/ifla-publications นะครับ

ปล. IFLA Journal ฉบับเดือนตุลาคม 2010 อ่านได้ที่
http://www.libraryhub.in.th/2010/10/28/ifla-journal-volume-36-no-3-october-2010/

วารสารห้องสมุด IFLA Journal ฉบับเดือนตุลาคม 2010

วารสาร IFLA Journal ประจำเดือนตุลาคม 2010 ออกแล้วครับ
เลยต้องนำมาลงให้เพื่อนๆ เข้าไปอ่านกัน (ดาวน์โหลดได้ฟรีๆ เลยครับ)

โดยปกติ วารสาร IFLA Journal จะออกทุกๆ 3 เดือนนะครับ
ซึ่งจะออกมาในรูปแบบ pdf ซึ่งเราสามารถดาวน์โหลดได้ฟรีและสั่งพิมพ์ออกมาอ่านได้ครับ

วารสาร IFLA Journal ฉบับนี้มีเรื่องน่าสนใจอะไรบ้างไปดูกันก่อนเลยครับ
– Bringing the benefits of information technology to underserved populations: An introduction to ICTD for the library community
– Symbiotic partnerships: The global library community and the ICTD stakeholders
– Main factors affecting the preservation of Chinese paper documents: A review and recommendations
– Arab online book clubs: A survey
– System migration from Horizon to Symphony at King Fahd University of Petroleum and Minerals

เป็นไงกันบ้างครับน่าสนใจมากๆ เลยใช่มั้ยครับ
งั้นไปดาวน์โหลดกันเลยครับที่ “IFLA Journal Volume 36 Number 3 October 2010

สำหรับเล่มเก่าๆ ก็ลองเข้าไปดูได้ที่ http://www.ifla.org/en/ifla-publications นะครับ

แนะนำ Journallink เพื่อใช้ค้นหาบทความวิชาการ

วันนี้ผมขอออกแนววิชาการบ้างนะครับ หลังจากเขียนเรื่องสบายๆ มาหลายวัน
โดยวันนี้ผมจะขอนำเสนอเกี่ยวกับ ฐานข้อมูลชี้แหล่งวารสารในประเทศไทย (Journallink)

journallink

ทำไมผมถึงต้องเขียนเรื่องนี้นะหรอครับ เอาเป็นว่าสาเหตุมาจาก
มีเพื่อนบรรณารักษ์คนนึงใน Hi5 กลุ่ม Librarian in Thailand มาตั้งคำถามว่า

?ผู้ใช้ ต้องการวารสารเล่มนี้อ่ะคับ ทีไหนมี รบกวนบอกด้วยนะคับ รบกวน จิงๆ นะคับ American Journal of Enology and Viticulture?

ผมจึงขอนำเสนอวิธีการค้นหาวารสาร และบทความวารสารเล่มนี้มาฝากนะครับ
เผื่อว่าถ้าเพื่อนๆ บรรณารักษ์ เจอคำถามประมาณนี้จะตอบผู้ใช้ห้องสมุดได้อย่างถูกต้อง

journal-link

ทางออกของการค้นหาวารสารสักเล่มว่าอยู่ที่ห้องสมุดไหน
โดยทั่วไปผมจะใช้ ฐานข้อมูลชี้แหล่งวารสารในประเทศไทย หรือ Journallink
เพื่อนๆ สามารถเข้าไปดูได้ที่ http://www.journallink.or.th/

———————————————————————————

ฐานข้อมูลชี้แหล่งวารสารในประเทศไทย จะเป็นฐานข้อมูลเพื่อค้นหาว่าวารสารเล่มที่เราค้น อยู่ที่ห้องสมุดไหนบ้าง
ที่มาของฐานข้อมูลชี้แหล่งวารสารในประเทศไทย (Journallink)
เกิดจากการร่วมมือกันของห้องสมุดภายในประเทศจำนวน 211 แห่ง

ในการใช้งานแบ่งออกเป็น 2 สถานะ คือ :-
1. ห้องสมุดที่ต้องการเข้าร่วมเป็นสมาชิก
2. ผู้ใช้ทั่วไป (อันนี้แหละครับที่ผมจะแนะนำให้ค้น)

แต่การค้นแบบผู้ใช้ทั่วไป เพื่อนๆ จะต้องกรอกข้อมูลลงทะเบียนดังนี้
– ที่พัก (เลือกจังหวัดที่เราอยู่)
– อาชีพ (เลือกอาชีพของเรา)
– สังกัด (รัฐ / เอกชน / สถานศึกษา)

พอลงทะเบียนเสร็จก็จะเข้าสู่เมนูการสืบค้น เพื่อนๆ สามารถเลือกสืบค้นข้อมูลได้หลายรูปแบบ เช่น
– ตามลำดับอักษร คือ เรียงชื่อวารสารตามลำดับอักษร A ? Z และ ก ? ฮ
– ชื่อวารสาร
– ISSN คือ หมายเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (International Standard Serial Number)
– องค์กรหรือสถาบัน/Institution
– หัวเรื่อง/keyword

———————————————————————————

นี่ก็เป็นการแนะนำแบบคร่าวๆ นะครับ สำหรับฐานข้อมูลชี้แหล่งวารสารในประเทศไทย (Journallink)
คราวนี้เรามาดูโจทย์ของเราดีกว่า (อันนี้ยกกรณีของคำถามมาแสดงให้ดู)
ผมต้องการหาว่า ?American Journal of Enology and Viticulture? อยู่ที่ห้องสมุดไหนบ้าง

ขั้นตอนในการค้นหา

1. ผมก็เลือกการค้นแบบ ชื่อวารสาร จากนั้นผมก็กรอกรายชื่อวารสารในช่องสืบค้น

example-search1

2. ผลลัพธ์จากการสืบค้น คือ ผมพบวารสารเล่มนี้

result-search1

3. เข้าไปดูรายละเอียด ของวารสารที่สืบค้น

result-search2

เป็นอันจบกระบวนการสืบค้นวารสารนะครับ

สรุปจากการสืบค้นวารสาร ชื่อ American Journal of Enology and Viticulture
ผมพบว่าที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีวารสารเล่มนี้อยู่ที่ ห้องสมุดกลาง (Main Library)
ผมก็จะทำการติดต่อไป เพื่อขอทำสำเนาบทความ หรือสืบค้นชื่อบทความในวารสารเล่มนั้นต่อได้

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับการใช้งาน และตอบคำถามของผม
ไม่รู้ว่าเจ้าของคำถามจะงงอีกหรือปล่าว หรือว่าผมตอบผิดประเด็นหรือปล่าว
ยังไงถ้าได้อ่านก็แสดงความคิดเห็นมาได้นะครับ

สำหรับเพื่อนๆ ที่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ Journallink มากกว่านี้ สามารถดูได้ที่

http://www.car.chula.ac.th/gotoweb/guides_journal2.pdf

http://tanee.oas.psu.ac.th/images/tutorial/new/db-jour.pdf

หลักการทำสาระสังเขปภาษาอังกฤษ (Abstract)

วันนี้สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ฝากข่าวมาประชาสัมพันธ์
ผมอ่านแล้ว เห็นว่ามีประโยชน์ต่อเพื่อนๆ มากๆ เลยต้องเอามาเล่าสู่กันฟังหน่อย

abstract Read more