คนทำงานด้านห้องสมุดจำเป็นต้องจบบรรณารักษศาสตร์หรือไม่

นานมากแล้วที่ผมไม่ได้ถามความคิดเห็นของเพื่อนๆ ผ่านทาง Library poll วันนี้ผมจึงขอตั้งคำถามแบบง่ายๆ ที่เกี่ยวกับวิชาชีพของเราให้เพื่อนๆ ช่วยกันตอบ

ซึ่งคำถามในวันนี้มาจากประโยคบอกเล่าต่างๆ เช่น
“ใครๆ ก็เป็นบรรณารักษ์ได้”
“เอาใครมาทำงานห้องสมุดก็ได้”
“งานห้องสมุดง่ายๆ ใครๆ ก็ทำได้”

เมื่อได้ฟังแล้วเพื่อนๆ มีความคิดเห็นอย่างไร เห็นด้วยหรือไม่ครับ

เอาเป็นว่าไปโหวตกันได้เลย

[poll id=”26″]

เอาเป็นว่าช่วยกันโหวตเยอะๆ นะครับ
แล้ววันหลังผมจะมาเขียนบทความนี้ให้อ่านครับ

บทสรุปงานเสวนา เส้นทางสู่อาชีพนักสารสนเท​ศ

เมื่อวันก่อนได้มีโอกาสไปบรรยายในงานเสวนาประสบการณ์วิช​าชีพนักสารสนเทศ ในประเด็นเรื่อง “เส้นทางสู่อาชีพนักสารสนเท​ศ” ที่จัดโดยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสต​ร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วันนี้เลยขอนำสไลด์และรูปภาพมาให้เพื่อนๆ ได้ชมกันนะครับ

รายละเอียดเบื้องต้นของงานนี้
ชื่องาน : เส้นทางสู่อาชีพนักสารสนเทศ
จัดโดย : นักศึกษาชั้นปี 3 เอกบรรณฯ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
วันและเวลาที่จัดงาน : วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม 2554 เวลา 13.00 น.
สถานที่จัดงาน : ห้องพิบูลสงคราม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสต​ร์

พักหลังมานี่ผมเริ่มรับบรรยายให้น้องๆ ฟังมากขึ้น เพราะรู้สึกว่าอยากจะเปลี่ยนความคิดของน้องๆ หลายคนว่า วิชาด้านบรรณารักษ์ก็สามารถทำให้น้องๆ ประสบความสำเร็จในชีวิตได้มากมายไม่แพ้วิชาในสาขาอื่นๆ การที่ได้มาบรรยายที่นี่ จริงๆ แล้วเริ่มมาจากการคุยกันเมื่อเดือนที่แล้วระหว่างผมกับน้องที่อ่านบล็อกของผมและการทาบทามของอาจารย์ในภาคฯ จนทำให้ผมต้องตอบรับมาที่นี่ (ทั้งๆ ที่ไม่เคยบรรยายให้จังหวัดอื่นเลย)

เอกสารที่ผมใช้ในการบรรยายครั้งนี้ คือ
– สไลด์เรื่อง I would like to be librarian
– เอกสาร Social Revolution

สำหรับสไลด์ เพื่อนๆ สามารถดูได้จากด้านล่างนี้เลยครับ

หรือเข้าไปดูได้ที่ http://www.slideshare.net/projectlib/i-would-like-to-be-librarian

คำถามหลักๆ ที่พบในงานเสวนาครั้งนี้ คือ
– การเลือกเข้ามาเรียนในสาขาวิชาสารสนเทศ ซึ่งอาจจะมีเรื่องเข้าใจผิดกันในชื่อวิชาที่เรียน (นึกว่ามาเรียนคอมฯ แต่ที่ไหนได้บรรณารักษ์นั่นเอง)
– การเลือกสถานที่ฝึกงานที่เหมาะกับตัวเอง ย่อมดีกว่าเลือกตามคนอื่น
– การทำงานในสายอื่นๆ ที่ไม่ใช่ห้องสมุด ซึ่งก็มีให้เลือกมากมาย เช่น เว็บไซต์, เปิดร้านขายหนังสือ……..
– เรียนต่อปริญญาโทด้านไหนดี : อันนี้ต้องแล้วแต่ว่าใจเราอยากไปทางไหน

เท่าที่พบในการเสวนาครั้งนี้ มีน้องๆ บางคนเริ่มเห็นอนาคตของตัวเองแล้ว เช่น บางคนไม่ชอบงานเทคนิคและอยากไปในสายไอที, บางคนอยากทำงานในห้องสมุดสายการแพทย์, บางคนอยากเปิดธุรกิจของตัวเองจำพวกร้านขายหนังสือ…….. ต่างๆ เหล่านี้ผมเชื่อว่าถ้ามีเป้าหมายแบบนี้แล้วจะทำให้น้องๆ เห็นภาพอนาคตที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

บทสรุปที่ผมบรรยายหลักๆ ก็เป็นเรื่องประสบการณ์การทำงานของผมที่ผ่านมา รวมไปถึงเล่าย้อนไปในช่วงที่ผมเรียนบรรณารักษศาสตร์ที่ ม.สงขลานครินทร์บ้างเล็กน้อย รวมถึงแรงบันดาลใจที่ทำให้ผมมาเรียนในสาขาวิชานี้

ความประทับใจในงานเสวนาครั้งนี้ : น้องๆ ที่เข้าร่วมฟังเสวนาได้มีการซับถามคำถามกันอย่างคึกคัก นับว่าเป็นเรื่องที่น่าตกใจมาก (ปกติเวลาผมไปบรรยายที่อื่นไม่เคยเจอคำถามเยอะขนาดนี้) แต่ต้องขอบอกว่าเป็นการซักถามที่สนุกมากๆ ครับ

สุดท้ายนี้ผมต้องขอขอบคุณอาจารย์ทิพภา และทีมงานนักศึกษาที่ร่วมกันจัดงานดีๆ แบบนี้ และเชิญผมมาเข้าร่วมกิจกรรม ณ ที่แห่งนี้ รวมไปถึงการดูแลวิทยากรได้ดีมากๆ ครับ ตั้งแต่ต้อนรับจนถึงส่งขึ้นรถกลับกรุงเทพฯ ขอบคุณทุกๆ ท่านอีกครั้งครับ

เอาเป็นว่าคราวหน้าผมจะไปบรรยายที่ไหนอีกเดี๋ยวจะเอามาเล่าให้อ่านในบล็อกนะครับ อย่าลืมติดตาม Libraryhub กันไปได้เรื่อยๆ นะครับ

ปล. ภาพทั้งหมดที่ผมนำมาลงเป็นฝีมือการถ่ายภาพของน้องๆ ที่เข้าฟังในวันนั้นนะครับ ต้องขอขอบคุณมากที่ส่งมาให้ผมได้ดู

ภาพถ่ายในงานเสวนาประสบการณ์วิชาชีพนักสารสนเทศ

[nggallery id=40]

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพบรรณารักษ์ (Librarians’ Licensure)

คำถามในเรื่องวิชาชีพที่หลายๆ คนอยากรู้เรื่องหนึ่งคงหนีไม่พ้นเรื่อง “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพบรรณารักษ์”
ซึ่งผมเองก็สงสัยมานานแล้วเหมือนกันว่า ทำไมวิชาชีพของเราจึงไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
เรื่องราวที่ผมจะเขียนต่อไปนี้อาจจะอ้างอิงจากประเทศฟิลิปปินส์นะครับ แต่ก็เป็นข้อมูลที่น่าสนใจเหมือนกัน


เรื่องของเรื่องผมตามอ่านบล็อก filipinolibrarian มาสักระยะหนึ่งแล้ว
และพบบทความชื่อเรื่องว่า “Librarians’ Licensure Examination 2010: Results

ซึ่งเมื่อเข้าไปอ่านแล้ว ผมก็พบข้อมูลว่า
“ผลการสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพบรรณารักษ์ในปี 2010 มีคนผ่าน 27% (191 จาก 699 คน) ซึ่งน้อยกว่าปี 2009 ซึ่งมี 30% ที่ผ่าน”

เพียงแค่ประโยคนี้ประโยคเดียวมันก็ทำให้ผมสนใจเรื่องนี้มากขึ้นแล้ว “เรื่องใบอนุญาตประกอบวิชาชีพบรรณารักษ์”
ในประเทศฟิลิปปินส์บรรณารักษ์ที่จะประกอบวิชาชีพได้ต้องมีใบอนุญาตเท่านั้นนะครับ
คนที่ไม่มีใบอนุญาตแล้วทำงานบรรณารักษ์ถือว่าผิดกฎหมายด้วย

ซึ่งแตกต่างจากประเทศของเรานะครับ “เอาใครก็ได้มาเป็นบรรณารักษ์”
เมื่อได้ “ใครก็ได้” มาทำงาน “มันเกิดอะไรขึ้นบ้าง” ผมว่าเพื่อนๆ หลายคนคงรู้นะครับ

แต่ก็มีหลายๆ คนคงคิดต่อไปอีกว่า แล้วในประเทศฟิลิปปินส์เขาไม่ถกเถียงกันเรื่องนี้บ้างหรอ
จริงๆ แล้วมีการถกเถียงเรื่องนี้กันมากๆ เลย ลองอ่านได้จาก “Unlicensed Librarians and R.A. 9246

เอกสาร R.A. 9246 คือ กฎหมายหรือบทบัญญัติที่เกี่ยวกับวิชาชีพบรรณารักษ์ในฟิลิปปินส์ ออกมาตั้งแต่ปี 2004
(ดาวน์โหลดได้ที่ http://www.congress.gov.ph/download/ra_12/RA09246.pdf)

ตัวอย่างบทบัญญัติที่น่าสนใจ

SECTION 31. Employment of Librarians. ? Only qualified and licensed librarians shall be employed as librarians in all government libraries. Local government units shall be given a period of three (3) years from the approval of this Act to comply with this provision.

SECTION 32. Penal Provisions. ? Any person who practices or offers to practice any function of a librarian as provided for under Section 5 of this Act who is not registered and has not been issued by the Commission a Certificate of Registration and Professional Identification Card, or a temporary license/permit or who violates any of the provisions of this Act, its Implementing Rules and Regulations, shall, upon conviction, be penalized by a fine of not less than Thirty thousand pesos (P30,000.00) nor more than One hundred thousand pesos (P100,000.00), or imprisonment of not less than one (1) month nor more than three (3) years at the discretion of the court.

นอกจากนี้สำหรับชาวต่างชาติที่จะเข้าไปเป็นบรรณารักษ์ในฟิลิปปินส์ ในบทบัญญัติก็กล่าวไว้ว่าต้องสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเช่นกัน เป็นไงกันบ้างครับแรงไปหรือปล่าว แต่เหตุผลหลักๆ ที่เขาปฏิบัติกันมาเช่นนี้เพราะเขาต้องการรักษามาตรฐานความเป็นวิชาชีพบรรณารักษ์ นั่นเอง

สำหรับคนที่ไม่ได้เรียนบรรณารักษ์แต่อยากเป็นบรรณารักษ์ที่ฟิลิปปินส์ก็เปิดโอกาสนะ แต่ต้องไปเรียนหรือเข้าคอร์สตามมหาวิทยาลัยที่รับรองมาตรฐานวิชาชีพ ซึ่งจะมีประกาศออกมาทุกปี ดูได้จากตัวอย่างนะครับ “The Best and the Worst LIS Schools, 2007-2009.”

Librarian Licensure Examination 2009

ขอสรุปแบบคร่าวๆ เลยแล้วกันครับว่า “หากบรรณารักษ์ไทยอยากมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพบรรณารักษ์” บ้างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีดังนี้
– สภาวิชาชีพบรรณารักษ์
– สภาทนายความ
– วุฒิสภา
– มหาวิทยาลัยที่มีหลักสูตรบรรณารักษ์
– ผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพ
ฯลฯ

ซึ่งถามว่า “ยากมั้ย”? คำตอบ “ยากครับ แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้”
เอาเป็นว่าก็ขอเอาใจช่วยลุ้นก็แล้วกันนะครับ (ใจจริงอยากให้มีนะ วงการห้องสมุดจะได้พัฒนากันมากกว่านี้)

บรรณารักษ์ระดับ 3, 4, 5, 6, 7 แตกต่างกันตรงไหน

เพื่อนๆ นอกวิชาชีพหลายๆ คนสงสัยและถามผมมาว่า บรรณารักษ์ 3 ที่สอบในราชการนี่คืออะไร
แล้วมันยังมีตำแหน่งบรรณารักษ์ระดับอื่นๆ อีกหรือไม่ วันนี้ผมจึงขอเขียนเรื่องตำแหน่งบรรณารักษ์ในระดับต่างๆ

สายงานบรรณารักษ์ในวงการราชการก็มีระดับของตำแหน่งเหมือนวิชาชีพอื่นๆ แหละครับ
นอกจากบรรณารักษ์ 3 แล้ว ในวงการราชการอาจจะพบคำว่า บรรณารักษ์ 4,5,6,7 อีก
ซึ่งตำแหน่งต่างๆ ที่เพิ่มเข้ามานี้มาจากการสอบซึ่งดูที่ความสามารถและประสบการณ์ทำงานเช่นกัน

เรามาดูความรู้ความสามารถของบรรณารักษ์ระดับต่างๆ กันดีกว่า

บรรณารักษ์ระดับ 3
1. มีความรู้ในวิชาการบรรณารักษ์ศาสตร์อย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
2. มีความรู้ความเข้าในในกฎหมายสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล และกฎหมาย กฎ ระเบียบ และข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่
3. มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยเฉพาะ อย่างยิ่งของประเทศไทย
4. มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
5. มีความสามารถในการศึกษาหาข้อมูล วิเคราะห์ปัญหา และสรุปเหตุผล


บรรณารักษ์ระดับ 4 (ทำงานระดับ 3 แล้ว 2 ปี)

1. มีความรู้ความเข้าใจในนโยบายและแผนงานต่าง ๆ ของส่วนราชการที่สังกัด
2. มีความสามารถในการจัดทำแผนงาน ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำปรึกษาแนะนำและ เสนอแนะวิธีการแก้ไขปรับปรุงการปฏิบัติงานที่อยู่ในความรับผิดชอบ
3. มีความสามารถในการปกครองบังคับบัญชา
4. มีความสามารถในการติดต่อประสานงาน

บรรณารักษ์ระดับ 5 (ทำงานระดับ 4 แล้ว 2 ปี, ทำงานระดับ 3 แล้ว 4 ปี, ปริญญาเอกบรรณารักษ์)
1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักการบริหารงานบุคคล
2. มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
3. มีความรู้ความสามารถในการใช้งานคอมพิวเตอร์


บรรณารักษ์ระดับ 6 (ทำงานระดับ 5 แล้ว 2 ปี)

1. มีความสามารถในการบริหารงานและจัดระบบงาน
2. มีความสามารถในการริเริ่ม ปรับปรุงนโยบายและแผนงาน
3. มีความรู้ความสามารถในการใช้งานคอมพิวเตอร์


บรรณารักษ์ระดับ 7 (ทำงานระดับ 6 แล้ว 2 ปี)

1. มีความสามารถในการบริหารงานและจัดระบบงาน
2. มีความสามารถในการริเริ่ม ปรับปรุงนโยบายและแผนงาน
3. มีความรู้ความสามารถในการใช้งานคอมพิวเตอร์

จะสังเกตได้ว่า ในบรรณารักษ์ระดับที่ 6 กับ 7 จะคล้ายๆ กัน แต่การที่จะวัดระดับชั้นกันนั้นอยู่ที่ประสบการณ์ทำงานต่างหาก
และถ้าสังเกตดูจะเห็นว่าทุกๆ 2 ปี จะมีการเปลี่ยนตำแหน่งขึ้นนั่นเอง ดังนั้นก็ทำงานเก็บประสบการณ์กันไปเรื่อยๆ นะครับ

อ๋อเรื่องตำแหน่งที่สูงขึ้น แน่นอนครับเงินก็ต้องเพิ่มขึ้นเช่นกัน แต่ผมคงไม่ทราบหรอกนะครับว่าตำแหน่งไหนได้เงินเท่าไหร่
ใครรู้ก็ช่วยนำมาแชร์ให้ผมรู้บ้างนะครับ จะขอบคุณมากๆ อิอิ วันนี้ก็อ่านเล่นๆ กันดูนะครับ อย่างน้อยก็เพื่อพัฒนาตัวเอง

ผู้ชายก็เป็นบรรณารักษ์ได้นะ…

เพื่อนๆ หลายคนคงสงสัยและถามผมอยู่เสมอว่า “ทำไมผู้ชายถึงไม่ค่อยเรียนบรรณารักษ์”
หรือไม่บางคนก็ถามว่า “วิชาชีพบรรณารักษ์ทำไมไม่ค่อยมีผู้ชาย” วันนี้ผมจะมาเล่าเรื่องนี้ให้ฟัง
เกี่ยวกับเรื่องมุมมองของคนส่วนใหญ่ต่อ อาชีพบรรณารักษ์ และ ผู้ชาย

librarian-male

เริ่มจากในสมัยที่ผมเรียนบรรณารักษืก่อนแล้วกันนะครับ
เพื่อนๆ เชื่อหรือไม่ว่า 4 ปี รวมกันมีเพศชายแค่ 10 คนเท่านั้นเอง
ซึ่งถ้าเทียบกับสาขาวิชาอื่นๆ ถือว่าน้อยมากๆ

หลังจากที่ผมเรียนจบแล้ว ได้ไปสมัครงานบรรณารักษ์หลายๆ ที่
ผมมักเจอคำถามลักษณะนี้บ่อยมากว่า ?ผู้ชายแท้หรือปล่าว ทำไมถึงเลือกเรียนและมาเป็นบรรณารักษ์?
ตอนแรกผมก็อึ้งไปนิดหน่อยเพราะไม่คิดว่าเขาจะล้อเล่นได้แรงแบบนี้
แต่พอได้คุยกับหลายๆ คน ผมก็เริ่มเข้าใจครับว่า คงเป็นเพราะมุมมองของวิชาชีพหล่ะมั้ง

ยกตัวอย่างง่ายๆ ว่า บรรณารักษ์เป็นอาชีพหนึ่งที่มีผู้หญิงทำงานเยอะ หรือมีค่านิยมในการทำงานนั่นเอง
อาชีพที่คนมองว่าเป็นอาชีพสำหรับผู้หญิง เช่น พยาบาล บรรณารักษ์ ฯลฯ
อาชีพที่คนมองว่าเป็นอาชีพสำหรับผู้ชาย เช่น ตำรวจ ทหาร ฯลฯ

ขอเล่าต่อนะครับ ที่ทำงานบางแห่งถามผมว่า “ผู้ชายสามารถเป็นบรรณารักษ์ได้ด้วยหรอ”
ผมก็ตอบไปว่า ?ต้องทำได้สิครับ เพราะว่าผมเรียนจบมาด้านนี้ แถมมันก็เป็นอาชีพที่ผมรักด้วย ทำไมถึงจะทำไม่ได้?
เค้าก็ตอบว่า ?ผู้หญิงน่าจะเป็นบรรณารักษ์ได้ดีกว่าผู้ชาย? ตกลงมันเป็นแบบนี้จริงหรอ

นอกจากนี้ในใบประกาศรับสมัครงานขององค์กรบางแห่ง ได้มีการระบุว่ารับสมัครบรรณารักษ์ที่เป็นเพศหญิงเท่านั้น
ผมก็แปลกใจว่าทำไมถึงต้องระบุคุณสมบัติว่า เฉพาะเพศหญิง บางทีองค์กรนี้อาจจะมีเหตุผลสักอย่าง ซึ่งผมยังไม่เข้าใจ

ที่ร้ายแรงกว่านั้นยังมีอีกกรณีหนึ่งครับ เนื่องจากผมมีเพื่อนที่เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลขององค์กรแห่งหนึ่ง
พอผมถามถึงเรื่องนี้ เขาก็ตอบว่า ?ก็เป็นปกติที่เวลารับบรรณารักษ์ เขาจะดูผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย?

ผมจึงถามต่อว่าทำไมหล่ะ ก็ได้คำตอบว่า
?เพราะว่าผู้หญิงทำงานละเอียดกว่าผู้ชาย และมีการบริการที่สุภาพ อ่อนโยน และดึงดูดผู้ใช้บริการได้?
เอาเป็นว่ายังไงๆ ถ้าองค์กรนี้จะรับบรรณารักษ์ องค์กรนี้จะรับบรรณารักษ์ผู้หญิงเท่านั้น

เอาเป็นว่าที่กล่าวมาก็เป็นเพียงบางองค์กรเท่านั้นนะครับ

จริงๆ แล้วผมก็ไม่อยากจะพูดเรื่องนี้หรอกนะครับ แต่เพราะว่าในสิ่งที่เพื่อนผมตอบมาให้ฟังนั้น
บางทีผมก็รู้สึกว่าไม่เห็นด้วยสักเท่าไหร่หรอก เพราะ “เพื่อนชายบางคนที่ผมรู้จักเขาก็ทำงานแบบว่าละเอียดกว่าผู้หญิง” ก็มี
เรื่องการบริการ บรรณารักษ์ทุกคนที่เรียนมักจะถูกสอนมาอยู่แล้วว่าเราต้อง service mind อยู่แล้ว
ส่วนสุดท้ายผมคงเถียงไม่ได้ เนื่องจากเพศชายยังไงๆ ก็ไม่สามารถดึงดูดใครเข้าห้องสมุดได้
และอีกอย่างการจะดึงดูดใครเข้าห้องสมุดมันไม่ใช่แค่เรื่องว่าเพศหญิงหรือเพศชาย
แต่มันขึ้นอยู่กับภาพรวมของห้องสมุดว่าสามารถบริการและตอบสนองผู้ใช้บริการมากที่สุดหรือไม่

สรุปจากเรื่องนี้นะครับ ไม่ว่าจะเป็นเพศหญิงหรือชายก็สามารถทำงานบรรณารักษ์ได้ทั้งนั่นแหละ
และจะทำงานดีหรือไม่ดียังไง มันขึ้นอยู่กับลักษณะและพฤติกรรมการให้บริการของแต่ละคนไม่ใช่ขึ้นอยู่กับเพศ

หมายเหตุก่อนจบ ผมยืนยันครับว่า ผมเป็นผู้ชาย 100% ที่ทำงานบรรณารักษ์นะครับ

แรงบันดาลใจที่ทำให้อยากเป็นบรรณารักษ์

เรื่องเก่าขอเล่าใหม่เกี่ยวกับบทความหนึ่งที่สร้างแรงบันดาลใจให้หลายๆ คนอยากเป็นบรรณารักษ์
หลายๆ คนจะต้องนึกถึงบทความเรื่องนี้ “โตขึ้นหนูอยากเป็น – บรรณารักษ์” (คุ้นๆ กันบ้างหรือปล่าว)

librarian

ลองอ่านต้นฉบับได้ที่ โตขึ้นหนูอยากเป็น – บรรณารักษ์

ผมขอสรุปเนื้อหาในบทความนี้

– ในปัจจุบันเป็นยุคของสังคมสารสนเทศ มีข้อมูลข่าวสารเกิดขึ้นในแต่ละวันมากมาย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีผลต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ใช้ในการตัดสินใจ ใช้ทำธุรกิจ ต่างๆ แต่ในบางครั้งเราไม่สามารถใช้สารสนเทศได้อย่างเต็มที่ เหมือนกับปลาในมหาสมุทรซึ่งมีอยู่มากมาย หากแต่เราไม่มีเครื่องมือในการจับปลาและไม่รู้จักวิธีในการจับปลานั่นเอง ดังนั้น บรรณารักษ์จึงทำหน้าที่เสือนชาวประมงซึ่งรู้วิธีจับปลาและมีอุปกรณ์ในการจับปลานั่นเอง

– หลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับสายวิชาชีพนี้มีชื่อเรียกต่างๆ มากมาย เช่น บรรณารักษศาสตร์, บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์, บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์, สารนิเทศศึกษา, สารสนเทศศาสตร์, การจัดการสารสนเทศ เป็นต้น

– บรรณารักษ์ไม่ใช่แค่คนจัดชั้นแต่บรรณารักษ์เป็นคนที่ดูแลและจัดการหนังสือแต่ละเล่มให้อยู่ในระบบห้องสมุด

– อาชีพที่บรรณารักษืสามารถทำได้มีมากมายเช่น บรรณารักษ์, นักจัดการข้อมูลในศูนย์ข้อมูลต่างๆ หรือเรียกว่าศูนย์สารสนเทศขององค์กรต่างๆ นักข่าว, ฝ่ายข้อมูลบริษัทโฆษณา, เว็บมาสเตอร์, เจ้าหน้าที่บริการงานทั่ว?ไป, นักวิชาการสารสนเทศ, อาจารย์ หรือแม้กระทั่งเป็นเจ้าของร้านทองก็เป็นร้านทอง IT เป็นต้น

– จุดเด่นของสาขาบรรณารักษ์ก็คือสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับวิชาชีพอื่นๆ ได้ ทำให้มีความยืดหยุ่นในเรื่องการทำงาน

ประโยคทิ้งท้ายของบทความนี้ผมชอบมากๆ เลย นั่นก็คือ
“เมื่อรู้เช่นนี้แล้วกรุณา อย่าคิดว่าจบบรรณารักษ์แล้วต้องจัดชั้นหนังสืออีกไม่เช่นนั้นคราวหน้าจะเอา LC SUBJECT HEADING ฟาดหัวเสียให้เข็ด”

เพราะว่าคนที่เรียนหรือทำงานในด้านนี้จะรู้ครับว่า หนังสือ “LC SUBJECT HEADING” มันเล่มใหญ่มาก
ถ้าเอาตาฟาดหัวคนคงมีหวังสลบไปหลายวันเลยครับ อิอิ

เมื่ออ่านบทความนี้จบผมขอแสดงความคิดเห็นสักนิดนะครับ ว่า
ผมเห็นด้วยอย่างมากกับบทความนี้ เพราะวิชาชีพนี้ทำให้ผมเป็นคนที่อยากรู้อยากเห็นมากขึ้น
ต้องตามข่าวสารให้ทันอยู่เสมอๆ มีนิสัยการรักการอ่าน และทำให้เข้าศาสตร์ของวิชาอื่นๆ ได้ดี

อ่านแล้วรู้สึกอยากเป็นบรรณารักษ์ขึ้นมาเลยหรือปล่าวครับ อิอิ

บรรณารักษ์ที่มีประสบการณ์ กับ บรรณารักษ์ที่มีความรู้

วันนี้ผมขอถามความเห็นจากเพื่อนๆ หน่อยนะครับว่า
ระหว่าง “บรรณารักษ์ที่มีประสบการณ์” กับ “บรรณารักษ์ที่มีความรู้” อย่างไหนที่เพื่อนๆ คิดว่าสำคัญกว่า

librarian

แบบสอบถามเรื่องนี้มาจากการส่งเมล์สอบถามกันระหว่างกลุ่มบรรณารักษ์ที่ผมเป็นสมาชิกอยู่
ชื่อเมล์ว่า “Library needs experienced librarian, not retail guru”
ผมอ่านความคิดเห็นจากหลายๆ คนแล้วรู้สึกว่ามันน่าสนใจดี เลยขอเอามาถามเพื่อนๆ ชาวไทยบ้าง

คนบางคนอยากเป็นบรรณารักษ์มากถึงขั้นอ่านตำราบรรณารักษ์มากมาย
บางคนจบบรรณารักษ์มาแต่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับบรรณารักษ์ติดตามด้วย
บางคนไม่ได้จบบรรณารักษ์แต่ทำงานในห้องสมุดได้มากมาย

ในต่างประเทศคนที่จบบรรณารักษ์มาใหม่ๆ ได้รับการต้อนรับจากวงการกันอย่างแพร่หลาย
เพื่อที่จะนำคนเหล่านี้มาฝึกให้กลายเป็นบรรณารักษ์แบบมืออาชีพด้วย
เนื่องจากการเรียนในมหาวิทยาลัยเป็นเพียงการเรียนในตำราและสอนแต่ทฤษฎีเท่านั้น
เมื่อออกมาทำงานก็จำเป็นต้องฝึกปรือฝีมือกันหน่อย
และกว่าจะกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญก็ย่อมแสดงให้เห็นถึงประสบการณ์ที่มีในอาชีพอย่างมากมาย

บอกตรงๆ ว่าในเมล์บรรณารักษ์เกือบทุกคนเน้นย้ำว่า “แค่ความรู้อย่างเดียวไม่พอต่อการทำงานหรอกครับ”

เอาหล่ะทีนี้มาถึงความคิดเห็นของเพื่อนๆ กันแล้ว
ช่วยกันแสดงความคิดเห็นในแง่นี้หน่อยนะครับ
ผมจะได้ตอบบรรณารักษ์ชาวโลกว่า คนไทยคิดยังไงกัน!!!!

ขอวิจารณ์เกณฑ์ในการสรรหาบุคคลดีเด่นในวิชาชีพบรรณารักษ์ฯ

เป็นที่รู้กันนะครับว่าทุกปีทางสมาคมห้องสมุดฯ จะมีการสรรหาบุคคลดีเด่นแห่งวงการวิชาชีพบรรณารักษ์
วันนี้ผมก็มีโอกาสได้อ่านหลักเกณฑ์ในการสรรหาเหมือนกัน เลยอยากเสนอความคิดเห็นนะครับ

good-librarian Read more

บรรณารักษ์ขาดแคลนขั้นวิกฤติ จริงๆ หรือนี่

จากข่าวในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 12 มีนาคม 2552 หน้า 8

librarian1

ได้ตีพิมพ์เกี่ยวกับเรื่อง “บรรณารักษ์ขาดแคลนขั้นวิกฤติ” ผมจึงขอวิเคราะห์ดังนี้

เพื่อนๆ สามารถอ่านข่าวได้จากการคลิกรูปด้านล่างนี้นะครับ

newspaper

ประเด็นที่พอจะสรุปได้จากการอ่านข่าว คือ
– เด็กรุ่นใหม่ไม่นิยมเรียนบรรณารักษ์ เพราะขาดความก้าวหน้า
– คนเรียนบรรณารักษ์น้อย แต่ตลาดมีต้องการสูง
– ห้องสมุดที่มีปัญหาเรื่องการขาดแคลนบรรณารักษ์ คือ ห้องสมุดประชาชน
– ห้องสมุดต้องนำคนวิชาชีพอื่นมาทำหน้าที่แทนบรรณารักษ์

จากการสรุปประเด็นต่างๆ ของผม ทำให้ผมต้องเอามาวิพากษ์ดังนี้

– เด็กรุ่นใหม่ไม่นิยมเรียนบรรณารักษ์ เพราะขาดความก้าวหน้า
คนส่วนใหญ่คิดว่าเรียนบรรณารักษ์แล้วขาดความก้าวหน้า
จริงๆ แล้วอาจจะเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้องเสมอนะครับ
เพราะว่าการที่คนเราจะก้าวหน้าในอาชีพนั้น ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลไม่ใช่ขึ้นอยู่กับอาชีพนะครับ
หลายๆ คนเอาแต่โทษว่าอาชีพว่าทำให้เราไม่ก้าวหน้า
แต่แท้จริงแล้วเราพิสูจน์ให้คนอื่นได้เห็นหรือปล่าวหล่ะครับ
อ๋อ ลืมบอกอีกอย่าง การก้าวหน้าในอาชีพไม่ใช่ว่าจะขึ้นอยู่กับว่า ซีอะไรนะครับ
แต่มันขึ้นอยู่กับการยอมรับในสังคมมากกว่าต่างหากหล่ะครับ

– คนเรียนบรรณารักษ์น้อย แต่ตลาดมีต้องการสูง
ประเด็นเรื่องคนเรียนบรรณารักษ์น้อย อันนี้คงต้องศึกษากันจริงๆ นะครับ
เพราะหลักสูตรของบรรณารักษ์ที่มีในประเทศไทย
หลายๆ มหาวิทยาลัยมีการเปลี่ยนหลักสูตรนะครับ
เช่น การจัดการสารสนเทศ หรือสารสนเทศศาสตร์
ซึ่งจริงๆ แล้วก็ยังมีกลิ่นไอเป็นบรรณารักษ์อยู่นั่นแหละครับ
รวมถึงราชภัฎหลายๆ แห่งยังคงมีหลักสูตรบรรณารักษ์อยู่
เรื่องจำนวนอาจจะน้อยไปถ้าเทียบกับคนในประเทศ

วิธีแก้ง่ายๆ คือ การสนับสนุนหลักสูตรนี้ให้มีความทันสมัยและน่าเรียนให้มากกว่านี้
ปรับปรุงหลักสูตรบรรณารักษ์ให้เข้ากับโลกยุคปัจจุบัน เพื่อให้นักศึกษามีทางเลือกในการประกอบอาชีพ
แค่นี้ก็จะเพิ่มจำนวนนักศึกษาในหลักสูตรบรรณารักษ์ได้แล้วครับ

– ห้องสมุดที่มีปัญหาเรื่องการขาดแคลนบรรณารักษ์ คือ ห้องสมุดประชาชน
อันนี้ผมว่าต้องศึกษากันใหม่อีกทีนะครับ เพราะเท่าที่รู้มาผมก็เห็นว่ามีคนสอบเต็มทุกพื้นที่นะครับ
และที่เพิ่งผ่านมาก็มีบรรณารักษ์ที่ต้องรอเรียกคิวมากมาย รอจนต้องไปทำอาชีพอื่น
อันนี้ผมเลยงงว่า ตกลงเรื่องราวมันเป็นยังไง

– ห้องสมุดต้องนำคนวิชาชีพอื่นมาทำหน้าที่แทนบรรณารักษ์
ส่วนข้อนี้ผมคงไม่วิจารณ์นะครับ เพราะว่าบางคนที่ผมคุยด้วยเขาไม่ได้จบบรรณารักษ์
แต่มีจิตใจที่อยากเป็นบรรณารักษ์จริงๆ และพยายามที่จะเรียนรู้มัน
ผมว่าเราก็ควรให้โอกาสกับคนที่อยากเป็นบรรณารักษ์มากๆ บ้างนะครับ
อาจจะมีการจัดหลักสูตรอบรม หรือ แนะนำการเป็นบรรณารักษ์แบบเร่งรัดให้เขาก็ได้

เอางี้ถามตรงๆ ดีกว่า ว่า
?คนที่ไม่ได้จบบรรณารักษ์แต่อยากเป็นบรรณารักษ์ และพยายามเรียนรู้งานบรรณารักษ์? กับ
?คนที่จบบรรณารักษ์ แต่ไม่ได้อยากเป็นบรรณารักษ์ และทำงานไปวันๆ? คุณจะเลือกใคร

นอกจากการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องดังกล่าวโดยผมแล้ว มีเพื่อนอีกหลายๆ คนแสดงความคิดเห็น เช่น

คุณบรรณารักษ์นอกระบบ ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า
“ห้องสมุดประชาชนนั้นขาดแตลนบรรณารักษ์จริงครับ ในแต่ละจังหวัดจะมีลูกจ้างชั่วคราวอยู่มากในตำแหน่งบรรณารักษ์ซึ่งทางกศน.ก็ ได้ทำการเปิดสอบไปไม่นานนี้และได้ประกาศผลแล้วตามที่ทุกท่านคงทราบข่าวกัน แต่?ไม่พอหรอกครับ ผมบอกได้เลยเพราะว่าสอบผ่านกัน 282 คน แต่ขาดแคลนมากกว่านี้ครับ 282 คนนี้เรียกบรรจุครบทุกคนแน่ครับ(แต่ใครสละสิทธิ์ก็อีกเรื่องนะครับ) ต่างกันแค่ระยะเวลาแต่ภายใน 2 ปีนี้หมดแน่ครับ แล้วที่บอกว่าเรียนบรรณารักษ์แล้วไม่ก้าวหน้านั้น ขอบอกว่าป่าวเลยครับ เป็นบรรณารักษ์แล้วถ้าขึ้นไปถึงขั้น บรรณารักษ์ 7 ว. เมื่อไหร่ก็โอนไปเป็นข้าราชการครูได้นี่ครับ หรือจะไปเรียนโทเพื่อสอบเป็นผอ.ศูนย์อำเภอ หรือรองผอ.ศูนย์จังหวัดก็ได้ครับ จังหวัดผมรองผอ.ศูนย์จังหวัดมาจากบรรณารักษ์ครับ แล้วจะบอกว่าไม่ก้าวหน้าหรือครับ แล้วพอมีใครสอบได้หรือโอนได้ ตำแหน่งบรรณารักษ์นั้นก็จะว่าง รอคนรุ่นใหม่ไปบรรจุต่อไปไงครับ วันนี้ขออนุญาตกล่าวแค่นี้ก่อนนะครับ หากมีข้อสงสัยประการใดผมจะมาคลายข้อสงสัยอีกครั้งนะครับ”

คุณ Jimmy ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า
“เรื่องของการบรรจุ ที่เคยเห็นและสัมผัสมาในเรื่องของบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน บางแห่งว่าจ้างแต่ลูกจ้าง เวลาทางศูนย์สอบถามมาก็บอกว่าไม่ขาดแคลน เนื่องจากการจ้างลูกจ้างกับบรรณารักษ์ อัตราค่าจ้างต่างกัน แล้วลูกจ้างที่ว่าก็เป็นญาติพี่น้องของบรรณารักษ์ที่มีอยู่ก่อนบ้าง เด็กฝากจากท่านผู้ใหญ่ในท้องที่บ้าง แล้วอย่างนี้จะให้มีตำแหน่งว่าได้ยังไง ไม่เข้าใจจริง ๆ เคยไปสอบแล้วต้องเสียความรู้สึกมาก ๆ เมื่อมีคนบอกว่าให้ดูรายชี่อนี้ให้ดี ๆ เพราะนี่คือคนที่จะได้ทำงานที่นี่ ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้เข้าห้องสอบเลยด้วยซ้ำ แล้วผลก็เป็นอย่างนั้นจริง ๆ ทุกวันนี้เลยไม่คิดจะสอบราชการเลย ทำงานในส่วนของเอกชน ให้รู้ไปว่าจะไม่มีงานทำ เหนื่อยแล้วท้อใจกับระบบนี้จริง ๆ (ระบบเครือญาติ) หลาย ๆ คนอาจจะเถียงว่าไม่จริง แต่ขอโทษมันเกิดขึ้นแล้วค่ะ”

คุณ Nantamalin ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า
ถามว่าทำไมถึงขาดแคลนบรรณารักษ์ ตอบเลยว่าเพราะตอนนี้โลกเราเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เด็กรุ่นใหม่ไม่เข้าใจว่าบรรณารักษ์หมายถึงอะไร ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าสำคัญอย่างไร เดี๋ยวนี้ไม่รู้อะไรก็หาจาก Internet สังคมมันเปลี่ยนเป็นยุค 2.0 หมดแล้ว บรรณารักษ์เปลี่ยนรูปแบบเป็นนักสารสนเทศหมดแล้ว ความสำคัญในการวิเคราะห์หนังสือก็เปลี่ยนมาเป็นวิเคราะห์เนื้อหาของ web แทน บริการตอบคำถามก็เปลี่ยนเป็น e-service แทน สังคมทำให้คำว่าบรรณารักษ์เปลี่ยน หลักสูตรก็สอนให้คนที่เรียนคิดอย่างคนรุ่นใหม่ไม่เจาะลึกเนื้อหา จับแบบผิวเผิน คิดแค่ว่าจับข้อมูลมารวมกันให้เยอะ แล้วเอาลง web ก็เสร็จแล้ว ลืมไปแล้วว่าหัวใจ และจิตวิญญาณของบรรณารักษ์อยู่ที่ไหน แล้วอย่างนี้จะโทษใครคงไม่ได้ เพราะสังคมเปลี่ยนไป ทุกอย่างก็เปลี่ยนไปเป็นเรื่องธรรมดา แต่วันนี้วิชาบรรณารักษ์จะกลับมาเมื่อยุคดิจิตอลล่มสลาย เพราะมีสูงสุดย่อมมีต่ำสุด?มันก้เป็นเช่นนั้นเอง”

คุณ yayaing ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า
“โดยส่วนตัวแล้ว?เคยทำงานที่ห้องสมุดประชาชนเหมือนกันค่ะ..ตำแหน่ง บรรณารักษ์อัตราจ้าง ทำสัญญาปีต่อปีกัน?ทำอยู่ประมาณ 2 ปีครึ่งน่ะคะ..หมดสัญญาจ้างแล้วก้อไม่ได้ต่ออีก..ตอนนี้ทำงานอยู่ที่ มหาวิทยาลัย แต่ก้อไม่ได้ทำงานกับห้องสมุดหรอกนะคะ..แต่ตอนนี้มาทำงานทางด้านวารสาร.. ซึ่งเหมือนก่อนนี้ตอนที่เรียนนะคะ..จำได้ว่ามีเรียนวิชาเกี่ยวกับการพิมพ์ แล้วอาจารย์พาไปดูงานตามโรงพิมพ์..ยังเคยคิดเล่นๆ ว่าไม่เกี่ยวกับเราตรงไหน..แต่พอมาทำงานจริงๆๆ..กลับเกี่ยวกับเราเต็มๆ เลย ยังดีที่เก็บเอกสารที่เรียนไว้อยู่น่ะคะ?ก้ออยากจะเข้ามาบอกว่าทุกวิชาที่ เราได้เรียนน่ะ?บางวิชาอาจจะคิดว่าไม่เกี่ยวกับเรา แต่จริงๆ แล้วอาจจะมีประโยชน์ก้อได้นะคะ?ส่วนเรื่องที่ว่าการขาดแคลนบรรณารักษ์..คิด ว่าตามราชภัฏต่างๆ ก้อมีคนที่เรียนบรรณารักษ์เยอะนะคะ..แต่เมื่อเรียนจบ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้มาทำงานที่ตัวเองเรียนหรอกค่ะ บางคนหางานไม่ได้..หรือบางคนก้อคือไม่ชอบงานห้องสมุดไปเลยก้อมี..แต่อยากจะ ให้กำลังใจสำหรับผู้ที่หางานทุกคนนะคะ (โดยเฉพาะผู้ที่เรียนจบบรรณารักษ์น่ะคะ) ตัวเองเคยมีประสบการณ์มาก่อน?.ไม่อยากให้คนอื่นต้องเป็นเหมือนตัวเองน่ะคะ”

จริงๆ แล้วยังมีอีกหลายๆ คนที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้นะครับ
ผมก็ต้องขอขอบคุณทุกคนที่แสดงความคิดเห็นต่างๆ เข้ามาด้วยเช่นกัน

สรุปแล้วเรื่องที่ผมนำมาวิจารณ์ในครั้งนี้ ไม่ว่าจะจริง หรือ เท็จแค่ไหน
ผมก็อยากจะบอกและพูดกับทุกคน ว่า

?ถึงแม้ว่าอาชีพบรรณารักษ์จะเป็นอาชีพที่คนในสังคมไทยไม่เคยให้ความสำคัญ
แต่ขอให้จำเอาไว้ว่าเราเป็นอาชีพหนึ่งที่สร้างความสำคัญให้สังคมไทย
ทุกอาชีพ ทุกคน ต้องเคยผ่านสถานที่ที่เราทำงาน (ห้องสมุด)?

ขอบคุณครับที่ทนอ่านบล็อกยาวๆ ครั้งนี้

อาชีพที่ดีที่สุดของปี 2009 คือ บรรณารักษ์

บทความแห่งความภูมิใจของวิชาชีพบรรณารักษ์บทความนี้
หากเพื่อนๆ ได้อ่านแล้ว จะทำให้มีกำลังใจในการปฏิบัติงานมากขึ้นหรือปล่าวครับ

librarian

เรื่องนี้มาจากบทความที่ชื่อว่า “Best Careers 2009: Librarian
ซึ่งถูกตีพิมพ์ใน U.S.News & World Report ในวันที่ 11 ธันวาคม 2008
ซึ่งเพื่อนๆ สามารถอ่านเรื่องแบบเต็มๆ ได้ที่
http://www.usnews.com/articles/business/best-careers/2008/12/11/best-careers-2009-librarian.html

ซึ่งผมได้สรุปเนื้อหานี้ ออกมาเป็นประเด็นๆ มีดังนี้
– บรรณารักษ์เป็นอาชีพที่อยู่กับความรู้ และมีการปรับตัวให้เข้ากับความทันสมัยของเทคโนโลยี
– สิ่งที่บรรณารักษ์มีเหนืออาชีพอื่นๆ คือ การช่วยเหลือผู้ใช้บริการด้วยใจ และทำให้ผู้อื่นเข้าถึงข้อมูลด้วยหนังสือ หรือ สื่อดิจิตอล
– การให้บริการอย่างเต็มใจ เป็นสิ่งที่สำคัญ และเป็นปรัชญาประจำตัวของบรรณารักษ์
– บรรณารักษ์เป็นอาชีพที่ต้องทำงานตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นวันหยุด หรือวันทำงาน แถมยังเลิกงานดึกอีก
– หนึ่งวันของบรรณารักษ์ทำงานต่างๆ มากมาย เช่น นั่งวิเคราะห์รายการหนังสือ ให้บริการอ้างอิง ตอบคำถามผู้ใช้ จัดเก็บหนังสือ และเรียนรู้งานใหม่ๆ
– รายได้ของบรรณารักษ์ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงดีมาก

นอกจากการยกย่องวิชาชีพนี้แล้ว ในบทความนี้ยังกล่าวถึงความนิยมในการเรียนวิชาชีพบรรณารักษ์ในสหรัฐอเมริกาอีก
โดยมีการรายงานแบบสรุปของหลักสูตรว่า หลักสูตรบรรณารักษ์ที่หลายๆ คนให้ความสนใจ มีดังนี้
– Archives and Preservation
– Digital Librarianship
– Health Librarianship
– Information Systems
– Law Librarianship
– School Library Media
– Services for Children and Youth

เป็นยังไงกันบ้างครับ อ่านแล้วรู้สึกภาคภูมิใจในวิชาชีพบรรณารักษ์บ้างหรือปล่าว
ถึงแม้ว่าเรื่องบางเรื่องอาจจะไม่จริงสำหรับเมืองไทย (รายได้ของบรรณารักษ์)
แต่ผมเชื่อว่าการบริการของเราเป็นสิ่งที่ทำให้วิชาชีพเราได้ใจคนทุกคน