นายห้องสมุดชวนดูวีดีโอ Austin Central Library (ห้องสมุดระดับโลกอีกแห่ง)

นายห้องสมุดชวนดูวีดีโอ Austin Central Library (ห้องสมุดระดับโลกอีกแห่ง)

วันนี้เปิด Youtube เพื่อหาแรงบันดาลใจในการทำห้องสมุด ปรากฎว่าเจอวีดีโอนี้ “A Building Shaped by Light Austin Central Library” ซึ่งความน่าสนใจคือ เป็นภาพยนตร์สารคดีแบบสั้นที่ได้รางวัลที่ 3 ของ AIA Film Challenge 2019

อีกความน่าสนใจ คือ

ตัวห้องสมุดแห่งนี้ = 1 ใน 6 ห้องสมุดที่ได้รับรางวัล “AIA/ALA Library Building Awards 2018”
อ่านข่าวได้จาก https://library.austintexas.gov/press-release/austin-central-library-wins-library-2018-aiaala-library-building-award-461312

Read more

ห้องสมุดจะเพิ่มการบริการให้กับผู้ใช้กลุ่ม “ซอมบี้” ในปี 2017

เพื่อนๆ รู้จัก “ซอมบี้ (Zombie)” กันมั้ยครับ ที่ผมเขียนบล็อกเรื่องนี้ขึ้นมาไม่ใช่ว่าผมอยากจะแนะนำเพลงโปรดของผมหรอกนะครับ แต่ “ซอมบี้” ที่ผมหมายถึง นั่นหมายความถึง “ศพเดินได้” นั่นเอง

ในช่วงแรกๆ เราคงจะจินตนาการถึงความน่ากลัวของ “ซอมบี้” ได้มากมาย หลังจากที่ได้ดูถาพยนตร์ เรื่อง “ผีชีวะ (Resident Evil)” หรือเกมส์ Resident Evil ที่ให้เรายิงปืนฆ่า “ซอมบี้” กัน

ในช่วงสองถึงสามปีนี้เราพบว่า “ซอมบี้” ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดแล้ว เพราะ “ซอมบี้” เองออกมาปรากฎตัวในเกมส์ ชื่อ Plants vs. Zombies ซึ่งถือว่าเป็นการปฏิวัติความน่ากลัวของ “ซอมบี้อย่างแท้จริง” เพราะจากเกมส์เราจะเห็นว่าดอกไม้หรือต้นไม้สามารถเอาชนะ “ซอมบี้” ได้ โหน่ากลัวกว่าอีก

เอาหล่ะครับมาเข้าเรื่องกันดีกว่า เรื่องที่ผมจะนำมาเล่าในวันนี้จริงๆ แล้วก็ คือ
เรื่อง “ห้องสมุดจะเพิ่มการบริการให้กับผู้ใช้กลุ่มใหม่ “ซอมบี้” ในปี 2017″
ซึ่งเป็นวีดีโอที่จัดทำขึ้นโดย Rapid City Public Library

ซึ่งในวีดีโอได้กล่าวถึงการให้บริการของเจ้าหน้าที่ห้องสมุดกับผู้ใช้บริการที่เป็น “ซอมบี้”
(ซอมบี้ หมายถึง ศพเดินได้ และพูดได้แค่คำเดียว คือ Brain–)

เราไปดูวีดีโอนี้กันดีกว่า

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=5Md4ELD4tAA[/youtube]

จริงๆ แล้ว “ซอมบี้” มีความน่าสนใจอย่างหนึ่ง คือ brainnnnn “ซอมบี้จะกินแต่สมอง” ซึ่งในการประชุม conference ของวงการห้องสมุดครั้งหนึ่งก็มีการพูดแบบติดตลกว่า ผู้ใช้บริการที่เข้ามาห้องสมุดก็เพื่อมาหาความรู้ เหมือนการกินสมองของ “ซอมบี้” นั่นแหละ และนี่เองเป็นที่มาของเรื่องในวันนี้

สมมุติฐานของการทำคลิปวีดีโอนี้
1. อาจจะต้องการโปรโมต pathfinder หรือ SubjectGuide หัวข้อเรื่องของ “ซอมบี้” ก็ได้ เพราะมีทิ้งท้ายเรื่องนี้ให้ด้วยที่ http://zombiespathfinder.weebly.com/

2. อาจจะเป็นการสังเกตเห็นพฤติกรรมของคนบางลักษณะที่วันๆ เล่นคอมหรือนอนดึกดื่น เวลามาเข้าใช้บริการก็จะมีหน้าตาหมองๆ คล่ำๆ และบางทีอาจจะพูดไม่รู้เรื่องเหมือน “ซอมบี้” ซึ่งในฐานะที่เราเป็นผู้ให้บริการ เราก็ต้องให้บริการถึงที่สุดเช่นกัน


เอาเป็นว่าที่เขียนมานี้ก็ไม่ได้จะล้อเลียนหรอกนะครับว่าจะมีผีมาใช้ห้องสมุดจริงๆ
ที่เอามาลงให้อ่านเพราะอยากให้เห็นเทคนิคการนำเสนอของห้องสมุดในต่างประเทศ
ว่ามีไอเดียที่เฉียบขาด และนำเสนอได้น่าสนใจพอสมควร

เว็บไซต์ของ Rapid City Public Library คือ http://www.rcgov.org/Library/
และ Youtube Channel ของ Rapid City Public Library คือ http://www.youtube.com/user/rapidcitylibrary

วีดีโอเสวนาก้าวทันสื่อออนไลน์ ในงานสัปดาห์ห้องสมุด ม.รังสิต

ในที่สุดคลิปวีดีโอที่ผมบรรยายเรื่องเสวนาก้าวทันสื่อออนไลน์ ในงานสัปดาห์ห้องสมุด ม.รังสิต ก็ออกมาให้ได้รับชม
วันนี้เลยขอนำมาให้เพื่อนๆ บรรณารักษ์ที่ไม่ได้มาร่วมงานได้ชมกัน

งานเสวนานี้มีวิทยากร คือ คุณภาวุธ พงษ์วิทยภานุ, คุณฉัตรปวีณ์ ตรีชัชวาลวงศ์ และผมเอง
ซึ่งดำเนินรายการโดย อาจารย์บุญญาณิศา อ.ตันติพิบูลย์

วันนั้นเสวนาร่วมกันประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง แต่ในคลิปวีดีโอนี้ขอสรุปแต่ตอนไฮไลท์มาให้ชม 18 นาที
ซึ่งผมได้ดูเบื้องต้นแล้วเป็นช่วงที่เด่นๆ และมีไอเดียที่น่าสนใจดีครับ

ไปชมคลิปวีดีโอนี้กัน

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=Qe_4qWGUFsk[/youtube]

เป็นไงกันบ้างครับ ยังไงก็ติชมกันได้ ด้านล่างนี้เลยนะครับ

รายละเอียดเกี่ยวกับงานนี้ผมสรุปไว้ที่เก็บตกงานสัปดาห์ห้องสมุด ม.รังสิต

ปล. ขอบคุณ สำนักหอสมุด ม.รังสิต ที่จัดทำคลิปนี้มาเผยแพร่

แง่คิดจากคลิปวีดีโอสวยใสไร้สมอง ณ ห้องสมุด

คลิปวีดีโอที่ผมจะนำมาให้ดูวันนี้เป็นคลิปวีดีโอโฆษณาสินค้าอย่างหนึ่ง อยากให้เพื่อนๆ ลองเดากันดูว่าสินค้าอะไร
แต่ประเด็นมันไม่ได้อยู่ที่สินค้านั้นหรอกครับ มันอยู่ที่โฆษณาตัวนี้ใช้ห้องสมุดเป็นฉาก และมีแง่คิดขำๆ ซ่อนอยู่

อยากให้ดูคลิปวีดีโอก่อน แล้วค่อยมาอ่านสรุปแล้วกัน

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=0eN0b5qdmrA[/youtube]

เรื่องย่อๆ ของโฆษณาตัวนี้ “มีผู้หญิงหน้าตาดีเข้าใจผิดเดินเข้ามาสั่งอาหารเสียงดัง เจ้าหน้าที่คนนึงหันไปบอกว่าที่นี่ห้องสมุดนะ ผู้หญิงงงๆ แล้วสั่งอาหารกลับไปใหม่ด้วยเสียงที่เบาลง”

จริงๆ แล้วอยากให้มองสองแง่ว่า
1. ผู้หญิงคนสวยอาจจะไม่รู้เรื่องจริงๆ ว่าห้องสมุดไม่มีอาหารขาย (แอบโง่)
2. ผู้หญิงคนสวยอาจจะปล่อยมุขเพื่อแก้สถานการณ์หน้าแตก (รู้จักแก้ปัญหา)

โฆษณาตัวนี้มีประโยคเด็ดอยู่ตรงที่ “Beauty is nothing without brains”
มันทำให้ผมนึกถึงคำที่หลายๆ คนชอบพูดว่า “สวยใสแต่ไร้สมอง”

ในโฆษณาและสำนวนอาจจะดูเหมือนกับว่าเป็นการพูดถึงผู้หญิงอย่างเดียว (ผมไม่ได้เจตนาจะว่าผู้หญิงนะครับ)
แต่ผมอยากจะพูดแบบกลางๆ ว่า ไม่ว่าจะหญิงหรือชายหากคุณมีเพียงแค่หน้าตาดี รูปร่างดี เพียงอย่างเดียว
ก็คงใช้ชีวิตในสังคม ประกอบอาชีพ หรือเอาตัวรอดในสถานการณ์ต่างๆ ได้ยาก หากปราศจากความรู้
ดังนั้นความรู้ ความคิด ไหวพริบต่างๆ จะช่วยเสริมให้คนเราสามารถดำรงชีวิตได้อย่างสบายมากขึ้น

และหนทางนึงที่จะช่วยให้เรามีสมองหรือมีความคิดดีๆ ได้ก็มาจากการอ่านมากๆ การดูมากๆ การคิดมากๆ การฝึกมากๆ
ซึ่งผมว่าห้องสมุดก็เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่จะช่วยสร้างประสบการณ์และความรู้ต่างๆ ได้
นะครับ

เอาเป็นว่า ผมก็ขอฝากไว้ “สวยหรือหล่อเพียงอย่างเดียวคงกินไม่ได้ ต้องอาศัยความรู้ถึงจะช่วยให้เอาตัวรอดในสังคมได้”

หวังว่าเพื่อนๆ คงรู้แล้วแหละว่าสินค้าตัวนี้คืออะไร ยังไงก็ฝากเอาไปดูขำๆ นะครับ
คิดเห็นยังไงก็แสดงความคิดเห็นมาได้ในกรอบด้านล่างแล้วกัน

โฆษณาการอ่านทำให้เกิดสติปัญญา (Ad. by Posttoday)

โฆษณาที่ผมนำมาให้ดูในวันนี้มาจากโฆษณาของหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ที่นำเสนอเรื่องราวและสนับสนุนให้คนไทยสนใจเรื่องการอ่าน บอกตามตรงเห็นโฆษณานี้ครั้งแรกแล้วโดนใจมากๆ และคิดว่านี่คือการนำเสนอที่ดีจริงๆ

หลายคนคงเห็นโฆษณาตัวนี้ได้มาสักระยะนึงแล้ว เอาเป็นว่าไปชมคลิปโฆษณาตัวนี้กันอีกสักรอบดีกว่า

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=Titse-luroU[/youtube]

จากคลิปวีดีโอโฆษณาตัวนี้เพื่อนๆ ได้แง่คิดอะไรกันบ้าง เห็นข้อดีของการอ่านหรือยัง

ขอเสริมจากคลิปวีดีโอโฆษณาตัวนี้ เรื่องการอ่านจริงๆ แล้ว ไม่ได้เจาะจงแค่ “อ่านหนังสือ” เท่านั้น
เรายังเรียนรู้จากการอ่านสื่ออื่นๆ ได้อีกมากมาย เช่น อ่านบทความในอินเทอร์เน็ต อ่านจดหมายข่าว ฯลฯ
นอกจากนี้การรับความรู้หรือการทำให้มีสติปัญญา อาจจะมีหนทางมาจากการรับความรู้แบบอื่นๆ ด้วย เช่น การดู การฟัง การพูดคุย ฯลฯ

สิ่งสำคัญของการเกิดสติปัญญา มาจากการเลือกที่จะรับความรู้ที่ดี และต้องมีสติ คิด และวิเคราะห์เรื่องราวต่างๆ ด้วย
ไม่ใช่แค่อ่านออก อ่านได้ แต่เราต้องอ่านแล้วเข้าใจ รู้ความหมาย และรู้ว่าสื่อต้องการบอกอะไร

“อย่าสักแต่ว่าอ่านเพียงแค่อ่านออก แต่จงอ่านแล้วทำความเข้าใจและคิดตามด้วย”
อย่างนี้สิจึงจะเรียกว่าการอ่านทำให้เกิดสติปัญญา

เอาเป็นว่าผมก็ขอฝากเรื่องการอ่านแบบมีสติไว้แต่เพียงเท่านี้นะครับ

Library Trend 2011 ตอน ทำความรู้จักกับ Google eBooks

วันนี้เพิ่งเดินทางกลับมาถึงกรุงเทพฯ เลยขอเขียนบล็อกสั้นหน่อยแล้วกัน
ด้วยความบังเอิญเจอวีดีโอตัวนึงน่าสนใจมาก และกำลังเป็นกระแสที่น่าติดตามเหมือนกัน นั่นคือ “Google eBooks
จึงขอนำมาแนะนำให้เพื่อนๆ ห้องสมุดและบรรณารักษ์ดูและศึกษากันหน่อย

Google eBooks เปิดตัวไม่นานมานี้และถูกคาดหวังว่าจะเป็น trend ที่น่าสนใจในวงการห้องสมุดปีหน้าด้วย

เอาเป็นว่าไปลองดูวีดีโอตัวนี้กันก่อนแล้วกันครับ

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=ZKEaypYJbb4[/youtube]

เป็นยังไงบ้างครับ

เนื้อหาที่กล่าวไว้ในวีดีโอนี้ได้แก่
– โลกของหนังสือที่เปลี่ยนจากการเป็นหนังสือเป็น eBooks
– แนวความคิดของการทำงาน Google eBooks
– อุปกรณ์ที่สนับสนุนการทำงานของ Google eBooks

เอาเป็นว่าวีดีโอตัวนี้ทำให้เข้าใจถึงเรื่องราวต่างๆ โดยภาพรวมของ Google eBooks
ยังไงซะก็ฝากดูและศึกษากันด้วยนะครับ และที่สำคัญลองคิดดูว่าจะนำมาประยุกต์กับห้องสมุดได้อย่างไร
แล้ววันหลังผมจะนำมาเล่าให้ฟังต่อก็แล้วกันครับ

เว็บไซต์ทางการ Google eBookstore : http://books.google.com/ebooks

คลิปวีดีโอพบรักกันในห้องสมุด (Love in the library)

วันนี้เจอคลิปวีดีโอนึงที่เกี่ยวกับห้องสมุดแถมยังเป็นคลิปวีดีโอที่น่ารักมากๆ เลย
เป็นเรื่องราวของผู้ใช้บริการห้องสมุดที่มาพบรักกันในห้องสมุด วิ้วๆ โรแมนติกน่าดู

เรื่องย่อๆ ของคลิปวีดีโอนี้ คือ ประมาณว่าผู้ใช้บริการห้องสมุดสองคนที่ต่างคนต่างเดินเข้ามาในห้องสมุดตามลำพัง และใช้เวลาในการอ่านหนังสือในห้องสมุด ด้วยความบังเอิญที่ทั้งคู่เดินชนกันและพบกัน ทำให้เกิดตกหลุมรักซึ่งกันและกัน เรื่องราวจะจบด้วยความสุขขนาดไหนไปดูกันเองนะ

ชมวีดีโอพบรักกันในห้องสมุด (Love in the library)

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=cjrKYICOzbE[/youtube]

เป็นไงบ้างครับ น่ารักหรือปล่าว นอกจากวีดีโอที่ผมจะชอบแล้ว
เพลงประกอบวีดีโอตัวนี้ผมก็ชอบด้วยเช่นกัน ชื่อเพลง close to you โดย Karen Mok

เอาเป็นว่าวีดีโอนี้ก็เอามาให้ชมกันแบบเพลินๆ แล้วกันนะครับ
นอกจากนี้ขอเป็นกำลังใจให้คนที่ยังไม่มีความรักด้วย (ลองไปห้องสมุดบ่อยๆ สิครับ อาจจะเจอความรักแถวๆ นั้นก็ได้)

ปล. แถมเพลงนี้ให้ดีกว่า ฟังได้ที่ด้านล่างนี้นะครับ

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=Z49HJH07U5k[/youtube]

การสร้างห้องสมุดเพื่อเก็บสื่อ

คำถามนี้เป็นคำถามที่เพื่อนๆ ส่งมาให้ผมช่วยตอบเมื่อหลายเดือนก่อน
จริงๆ แล้วผมก็ตอบคำถามนี้ไปแล้วนะครับ
แต่วันนี้ผมขอนำเหตุการณ์นี้มาแชร์ให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันหน่อยดีกว่า

medialibrary

กรณีศึกษา : ขอคำแนะนำในการสร้างและจัดการห้องสมุดเพื่อเก็บสื่อมัลติมีเดีย
เกริ่นนำ : บริษัทผลิตสื่อโทรทัศน์มีความประสงค์ที่จะสร้างห้องสมุดเพื่อเก็บเทปถ่ายทำรายการ (footage)
คำถาม 1 : ควรจัดการกับระบบเทปอย่างไร
คำถาม 2 : มีระบบงานห้องสมุดหรือโปรแกรมใดที่มารองรับมั้ย หรือ มีตัวอย่างการวางระบบมั้ย

จากโจทย์ที่ได้รับมาจะสังเกตได้ชัดว่า ห้องสมุดที่ต้องการสร้างเป็นห้องสมุดที่มีลักษณะเฉพาะ
นั่นคือ ห้องสมุดต้องเป็นสถานที่ที่ใช้จัดเก็บสื่อมีเดียต่างๆ
หากดูเรื่องสื่อที่มีการจัดเก็บ นั่นคือ เทปบันทึกภาพ วีดีดี ดีวีดี ฯลฯ

แนวทางในการตอบโจทย์เรื่องนี้
คำถาม 1 : ควรจัดการกับระบบเทปอย่างไร
คำตอบ 1 : การจัดเก็บสื่อตามที่โจทย์ให้มาอาจจะแยกได้ 2 กรณี นั่นคือ

1.1 หากสื่อมีเดีย (เทปที่ถ่ายทำรายการ) มีความหลากหลายทางด้านเนื้อหา

ผมก็ขอเสนอแนวทางในการจัดเก็บสื่อมีเดียแบบตามหลักสากล เช่น
จัดตามหมวดหมู่ดิวอี้, จัดตามหมวดหมู่รัฐสภาอเมริกัน(LC)
เพราะจะช่วยให้เนื้อหาและหมวดหมู่ของสื่อมีเดียกระจายเป็นส่วนๆ ง่ายต่อการค้นหา

1.2 หากสื่อมีเดีย (เทปที่ถ่ายทำรายการ) มีเนื้อหาในแนวเดียวกัน

เช่น เทปถ่ายทำรายการอาหาร, เทปถ่ายทำรายการบันเทิง ฯลฯ
บรรณารักษ์อาจจะต้องมีการสร้างระบบการจัดการขึ้นมาเอง เช่น เรียงตามอักษร, เรียงตามวันถ่ายทำ
แล้วนำรายการเหล่านี้มาเขียนข้อมูลลงสมุดทะเบียนเพื่อให้สะดวกต่อการค้นหา

แต่ทั้งนี้การจัดหมวดหมู่ไม่ว่าจะจัดแบบไหนก็ตาม
เราจะต้องคำนึงถึงความสะดวกในการสืบค้นของผู้ใช้ด้วย
การจัดเก็บในช่วงเริ่มต้น บรรณารักษ์ควรทำคู่มือการจัดเก็บควบคู่ไปด้วย
เพื่อใช้ในการจัดการข้อมูลสำหรับอนาคตต่อไป

คำถาม 2 : มีระบบงานห้องสมุดหรือโปรแกรมใดที่มารองรับมั้ย หรือ มีตัวอย่างการวางระบบมั้ย

คำตอบ 2 : โปรแกรมห้องสมุดทุกโปรแกรมสามารถรองรับกับการจัดการข้อมูลเหล่านี้ได้อยู่แล้ว
การเลือกโปรแกรมห้องสมุดขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัยครับ
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจำนวนทรัพยากรสารสนเทศ งบประมาณ ฐานข้อมูลที่ใช้ ฯลฯ

ถ้าต้องการระบบจัดเก็บสื่อมีเดียที่ไม่ใหญ่มาก หรือ ไม่ซับซ้อนมาก
ก็เลือกโปรแกรมห้องสมุดแบบเล็กๆ ก็ได้ครับ หรือไม่ก็เขียนเองเลยใช้ Access ก็ได้

ถ้าต้องการระบบจัดเก็บสื่อมีเดียที่ใหญ่ขึ้นมาหน่อย
ก็อาจจะเลือกระบบห้องสมุดแบบกลางๆ ก็ได้

ในกรณีที่จำนวนสื่อมีไม่มาก และรองรับการทำงานในระดับปกติ
ผมขอแนะนำ โปรแกรม Library2000 น่าะเหมาะสมที่สุดครับ
เพราะราคาไม่แพง แถมเป็นโปรแกรมคนไทยด้วย

library2000

หากสนใจลองเข้าไปดูที่ http://www.library2000.net/ ครับ
ราคาแบบ lite verson เพียงแค่ 500 บาทเอง

สำหรับคำถามทั้งสองข้อ ผมก็ตอบได้ประมาณนี้นะครับ

ผมขอเสริมอีกสักเรื่องนะครับ เกี่ยวกับเรื่องสถานที่ที่ใช้ในการจัดเก็บสื่อมีเดีย
เรื่องนี้ผมว่าก็สำคัญไม่แพ้กับการจัดระบบหรือโปรแกรมในการจัดเก็บเลย
เพราะหากระบบจัดเก็บดี และโปรแกรมดี แต่สถานที่ใช้ไม่ได้ สื่อมีเดียก็อาจจะเสื่อมมูลค่าได้ครับ

สถานที่ที่เหมาะสมต่อการจัดเก็บสื่อควรจะ
– มีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่อับชื้น
– อุณหภูมิต้องไม่ร้อนจนเกินไป เพราะสื่ออาจจะเสียหายได้

และอื่นๆ อีกมากมาย

เอาเป็นว่ากรณีศึกษาวันนี้ก็จบแต่เพียงเท่านี้ครับ
หวังว่าเพื่อนๆ คงจะได้ไอเดียเล็กๆ น้อยๆ ไปประยุกต์ใช้กันนะครับ

ปล. คำตอบและความคิดเห็นของผม อาจจะไม่ตรงใจกับอีกหลายๆ คนก็ได้นะครับ
ดังนั้นเพื่อให้คำตอบสมบูรณ์ ผมจึงอยากเชิญชวนให้เพื่อนๆ ร่วมกันแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ด้วยครับ