งานสัปดาห์ห้องสมุด 2556 : มรดกล้ำค่าวรรณคดีไทย

วันนี้ผมขอประชาสัมพันธ์กิจกรรมที่น่าสนใจประจำปี 2556 ของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยนะครับ งานนี้จัดทุกปีเช่นกัน เป็นงานการประชุมเพื่อเตรียมการจัดงานสัปดาห์ห้องสมุด ครั้งที่ 37 พุทธศักราช 2556 ซึ่งปีนี้มีธีมหลัก คือ “มรดกล้ำค่าวรรณคดีไทย

library_conference

รายละเอียดกิจกรรมนี้เบื้องต้น
ชื่องาน : การประชุมเพื่อเตรียมการจัดงานสัปดาห์ห้องสมุด ครั้งที่ 37 พุทธศักราช 2556
ธีมงาน / หัวข้องาน : มรดกล้ำค่าวรรณคดีไทย
วันที่จัดงาน : 2 สิงหาคม 2556
สถานที่จัดงาน : โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพมหานคร
ผู้จัดงาน : สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ที่มาของธีมงาน / หัวข้องาน : มรดกล้ำค่าวรรณคดีไทย
เป็นงานที่จัดเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งทรงเห็นความสำคัญและส่งเสริมวรรณคดีไทย เมื่อปี 2552 พระองค์ทรงพระกรุณาพระราชทานรายชื่อหนังสือดีเด่น 6 เรื่องที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่านมายังกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเผยแพร่และส่งเสริมให้มีการอ่านหนังสืออย่างแพร่หลาย

รายชื่อหนังสือดีเด่น 6 เรื่องที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน
1. พระอภัยมณี
2. รามเกียรติ์
3. นิทานชาดก
4. อิเหนา
5. พระราชพิธีสิบสองเดือน
6. กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้ากุ้ง

หัวข้อที่น่าสนใจในการประชุมครั้งนี้
– จากวรรณคดีถึงวรรณกรรมไทยร่วมสมัย: มรดกแห่งภูมิปัญญาไทย
– อ่านวรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างไรให้สนุกและได้ประโยชน์
– กวีรางวัลสุนทรภู่จาก 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน
– การยอสักวา เรื่อง สักวาคุณค่าวรรณคดีไทย
– แนวทางการจัดกิจกรรมและนิทรรศการเกี่ยวกับมรดกล้ำค่าวรรณคดีไทย

เอาเป็นว่าเป็นหัวข้อที่น่าติดตามมากๆ ครับ เรื่องอาจจะดูธรรมดาแต่ผมว่าผู้ที่บรรยายแต่ละคนก็ล้วนแล้วแต่มีความสามารถมากๆ และเชี่ยวชาญในเรื่องดังกล่าวอย่างแท้จริง

ผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานนี้ต้องเสียค่าใช้จ่ายดังนี้
หากสมัครและชำระภายในวันที่ 24 กรกฎาคม 2556 — สมาชิกสมาคมห้องสมุดฯ คนละ 1,000 บาท ผู้สนใจ 1,100 บาท
หากสมัครและชำระหลังวันที่ 24 กรกฎาคม 2556 — สมาชิกสมาคมห้องสมุดฯ คนละ 1,100 บาท ผู้สนใจ 1,200 บาท
ซึ่งค่าลงทะเบียนรวมเอกสารประกอบการประชุม แฟ้มเอกสาร อาหารว่าง และอาหารกลางวัน

หากเพื่อนๆ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณา ดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ “โครงการสัปดาห์ห้องสมุด ปี 2556

หากสนใจกิจกรรมนี้กรุณาดาวน์โหดแบบตอบรับและลงทะเบียนตามแบบฟอร์มด้านล่างนี้เลย
แบบตอบรับ ประชุมสัปดาห์ห้องสมุด

ทักษะแห่งอนาคต การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูบรรณารักษ์

เมื่อปลายเดือนที่แล้ว (31 มกราคม) ได้มีโอกาสไปบรรยายให้ชมรมบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียน สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ในงานประชุมวิชาการ “บรรณารักษ์กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21”  วันนี้จึงขอนำสื่อ เอกสารประกอบการบรรยาย และสรุปการบรรยาย “ทักษะแห่งอนาคต การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูบรรณารักษ์” ให้เพื่อนๆ ได้ติดตามกัน

21st century skill for librarian

เอกสารประกอบการบรรยายสามารถชมได้ที่นี่เลย

[slideshare id=16363371&doc=21stcenturyskillforlibrarianok-130205100722-phpapp02]

วีดีโอที่ใช้ประกอบการบรรยาย

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=O35n_tvOK74[/youtube]

เนื้อหาการบรรยาย “ทักษะแห่งอนาคต การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูบรรณารักษ์” โดยสรุป

เทคโนโลยีทำให้โลกของเราเล็กลงเรื่อยๆ การติดต่อสื่อสารกันทำได้สะดวก การค้นหาความรู้ทำได้ง่าย ก่อให้เกิดโลกที่เต็มไปด้วยความรู้ ซึ่งเมื่อโลกเต็มไปด้วยความรู้ การเข้าถึงความรู้ทำได้ง่าย ข้อดีมีมากมายแต่ก็มีข้อเสียมากมายด้วยเช่นกัน มีสิ่งที่เราไม่รู้เยอะมาก แถมต้องมานั่งคิดวิเคราะห์ว่าข้อมูลหรือความรู้ไหนที่เป็นความจริง หรือข้อมูลไหนที่สามารถทำมาใช้ประโยชน์ได้

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เกิดจากแนวคิดของกลุ่มนักวิชาการในประเทศสหรัฐอเมริกา (ประเทศที่ขึ้นชื่อว่าการศึกษาดีเยี่ยม) เห็นว่าการศึกษาในโลกศตวรรษที่ 20 ซึ่งเน้นแต่เรื่องเทคโนโลยี มันไม่เหมาะกับการเรียนการสอนในยุคใหม่แล้ว และการเรียนในแบบเก่าไม่เหมาะกับสังคมปัจจุบันแล้ว จึงได้สร้างกรอบแนวคิดและหาแนวทางในการเรียนรู้แบบใหม่ๆ ซึ่งได้นำเสนอกรอบแนวคิดออกมาดังรูป

21st Century Skills

วิชาแกนที่ต้องเรียนรู้ (Core Subject)
– ภาษาอังกฤษ การอ่าน หรือศิลปะการใช้ภาษา
– ภาษาที่สำคัญของโลก
– ศิลปะ
– คณิตศาสตร์
– เศรษฐศาสตร์
– วิทยาศาสตร์
– ภูมิศาสตร์
– ประวัติศาสตร์
– การปกครองและหน้าที่พลเมือง

แนวคิดสำคัญในศตวรรษที่ 21 (21st CENTURY THEMES)
– จิตสำนึกต่อโลก
– ความรู้พื้นฐานด้านการเงิน และการเป็นผู้ประกอบการ
– ความรู้พื้นฐานด้านพลเมือง
– ความรู้พื้นฐานด้านสุขภาพ
– ความรู้พื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อม

ทักษะและความสามารถที่ต้องเรียนรู้เพิ่มเติมในศตวรรษที่ 21 มีอยู่ 3 ด้านใหญ่ๆ คือ
1. ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม มีดังนี้
– ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
– การคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหา
– การสื่อสารและการร่วมมือทำงาน

2. ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี มีดังนี้
– ความรู้พื้นฐานด้านสารสนเทศ
– ความรู้พื้นฐานด้านสื่อ
– ความรู้พื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

3. ทักษะชีวิตและการทำงาน  มีดังนี้
– ความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัว
– ความคิดริเริ่มและการชี้นำตนเอง
– ทักษะทางสังคมและการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม
– การเพิ่มผลผลิตและการรู้รับผิด
– ความเป็นผู้นำและความรับผิดชอบ

ทุกสิ่งจะสำเร็จได้ด้วยระบบสนับสนุนการศึกษาของศตวรรษที่ 21 ซึ่งประกอบด้วย
– มาตรฐานและการประเมินของศตวรรษที่ 21
– หลักสูตรและการสอนของศตวรรษที่ 21
– การพัฒนาทางวิชาชีพของศตวรรษที่ 21
– สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของศตวรรษที่ 21

นอกจากนี้ยังมีสูตรที่ถูกคิดออกมาเกี่ยวกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อีกตัวคือ 3Rs 4Cs ซึ่งประกอบด้วย
3Rs มาจาก
Reading การอ่าน
Writing การเขียน
Arithmetic การคำนวณ

4Cs มาจาก
Critical Thinking การคิดวิเคราะห์ Communication การสื่อสาร
Collaboration ความร่วมมือ
Creativity ความคิดสร้างสรรค์

เรื่องของแนวคิดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สิ่งที่น่าสนใจอีกเรื่องคือ การตอบสนองความต้องการทางประสบการณ์ของผู้เรียนรู้ ซึ่งผู้เรียนรู้ในยุคใหม่สนใจแนวคิดที่เกี่ยวกับเรื่องนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ในการต่อยอดสิ่งต่างๆได้

คำถามหลักของการนำเสนอของวงการต่างๆ “อะไรคือสิ่งที่เรากำลังนำเสนอ ?”
Starbucks นำเสนอ สถานที่ที่อยู่ระหว่างบ้านกับที่ทำงาน
Apple นำเสนอ เครื่องมือที่ใช้ปลดปล่อยศักยภาพของมนุษย์
บริษัทเงินทุน นำเสนอ หนทางในการไปสู่อิสระภาพทางการเงิน
แล้วโรงเรียน – ห้องสมุด – แหล่งเรียนรู้ กำลังนำเสนออะไร…. ทิ้งไว้ให้คิดนะครับ

แนวคิดในโลกมีมากมาย แต่ขอยกตัวอย่างแนวคิดที่น่าสนใจ และแนวคิดที่ควรรู้ดังนี้
– Long Tail
– Free economy
– Critical Mass
– Wikinomic
– Socialnomic
– Crowdsourcing

คุณครูและบรรณารักษ์ยุคใหม่กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จริงๆ แล้วแนวคิดก็คล้ายๆ กัน คือ เน้นเรื่องเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ สื่อสังคมออนไลน์ และการทำงานเป็นเครือข่าย

สุดท้ายแนะนำให้อ่านหนังสือ “ทักษะแห่งอนาคตใหม่ : การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21

Picture2

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นบทสรุปที่ผมบรรยาย “ทักษะแห่งอนาคต การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูบรรณารักษ์” นะครับ ขอบคุณที่ติดตามอ่านครับ

การประชุมวิชาการ บรรณารักษ์กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

มีงานประชุมวิชาการดีๆ มาแนะนำเพื่อนๆ ครับ ซึ่งเป็นงานไม่ใกล้ไม่ไกลตัวผมอีกแล้ว เพราะผมต้องบรรยายในงานนี้ด้วยเช่นกัน งานประชุมวิชาการนี้ใช้ชื่อว่า “บรรณารักษ์กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21” เอาเป็นว่าน่าสนใจมากๆ สำหรับครูบรรณารักษ์ หรือ บรรณารักษ์ในโรงเรียน

future_learning

รายละเอียดงานประชุมวิชาการเบื้องต้น
ชื่องาน : บรรณารักษ์กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
สถานที่จัดงาน : ห้อง Auditorium2 ชั้น 3 บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด
วันที่จัด : วันที่ 31 มกราคม 2555
จัดโดย : ชมรมบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียน สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

ช่วงนี้ผมเขียนเรื่องการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ค่อนข้างเยอะพอสมควร แถมด้วยเคยรับปากชมรมบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนมานานแล้วว่าจะไปบรรยายให้ ดังนั้นพอหัวข้อออกมาแบบนี้ เลยค่อนข้างรู้สึกโล่งใจ และอยากถ่ายทอดให้เพื่อนๆ ฟังมาก

นอกจากผมจะบรรยายแล้ว วิทยากรอีกคนต้องบอกว่าเป็นสุดยอดอาจารย์อีกคนที่ผมเคารพเลย คือ อาจารย์น้ำทิพย์ วิภาวิน นั่นเอง อาจารย์จะมาพูดในเรื่องบรรณารักษ์ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งถ้ามีโอกาสก็อยากให้เพื่อนๆ มาฟังเช่นเดียวกัน

กำหนดการแบบคร่าวๆ
ช่วงเช้าจะเป็นหัวข้อ “ทักษะแห่งอนาคต : การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21” บรรยายโดยผมเอง
หลังเที่ยงจะมีหัวข้อ “Best Practice กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน” โดย บริษัทนานมีบุ๊คส์
และต่อจากนั้นจะเป็นหัวข้อ “บรรณารักษ์ในศตวรรษที่ 21” โดย อาจารย์น้ำทิพย์ นั่นเอง

การเข้าร่วมงานครั้งนี้มีค่าเข้าร่วมงานแค่ 300 บาทเท่านั้นเองครับ ซึ่งสอบถามรายละเอียดได้ที่ 085 9556789

เอาเป็นว่าใครสนใจก็ลองอ่านรายละเอียดโครงการดูก่อนที่นี่เลยครับ
–project proposal–

ใครที่มาร่วมงานก็มาทักผมได้ครับ อิอิ จะรอครับ

การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้และการเขียนเอกสารประกอบการจัดการเรียนรู้

นานๆ ทีผมจะเข้ามาที่เว็บไซต์ของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ พอเข้ามาวันนี้ก็รู้สึกชื่นใจนิดนึง ตรงที่มาเว็บไซต์มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลบ้างนิดหน่อยแล้ว นัดว่าอัพเดทเรื่อยๆ ก็จะดีนะครับ

เอาหล่ะเข้าเรื่องดีกว่า…วันนี้เข้าไปเจอคอร์สการอบรมที่น่าสนใจ ผมจึงขอนำเอามาบอกเล่าสักหน่อย เป็นคอร์สการอบรม “การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้และการเขียนเอกสารประกอบการจัดการเรียนรู้”


รายละเอียดของการอบรมเบื้องต้น
ชื่องานภาษาไทย : การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้และการเขียนเอกสารประกอบการจัดการเรียนรู้ รุ่นที่ 2
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุมสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ
วันและเวลาที่จัด : วันที่ 25-27 กรกฎาคม 2555
จัดโดย : สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

การอบรมเรื่องแผนจัดการเรียนรู้เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากโดยเฉพาะกับครูบรรณารักษ์ที่นอกเหนือจากงานห้องสมุดแล้ว ยังต้องมีหน้าที่ด้านการสอนต่างๆ ด้วย ดังนั้นการอบรมนี้จะช่วยพัฒนาทักษะและแง่คิดในเรื่องการจัดการเรียนรู้ด้วย

หัวข้อที่น่าสนใจในการอบรม
– การวิเคราะห์หลักสูตร
– การเขียนแผนหน่วยการเรียนรู้
– การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
– การเขียนเอกสารประกอบการจัดการเรียนรู้

การอบรมครั้งนี้มีค่าใช้จ่ายนะครับ
สำหรับคนที่เป็นสมาชิกสมาคมฯ 2,500 บาท
สำหรับคนที่ไม่ได้เป็นสมาชิก/บุคคลทั่วไป 2,700 บาท

เอาเป็นว่าใครสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมก็ติดต่อได้ที่
รักษาการผู้จัดการสำนักงานสมาคมฯ นางวีระวรรณ วรรณโท มือถือ 081-5641308
หรือเจ้าหน้าที่สมาคมฯ นางสาวปรีดา อิ่มใจดี มือถือ 086-0153516

หรือดาวน์โหลดแผ่นพับเอกสารและใบสมัครได้ที่
http://www.libraryhub.in.th/wp-content/uploads/2012/07/TLA-form.doc

Branding…การสื่อสารอัตลักษณ์ของห้องสมุดและการบริการสารสนเทศ

ในช่วงเดือนกันยายนของทุกปี ชมรมห้องสมุดเฉพาะ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ จะจัดงานประชุมวิชาการ ประจำปี ซึ่งในปีนี้กำหนดการและหัวข้อก็ออกมาแล้ว วันนี้ผมจึงขอประชาสัมพันธ์ให้เพื่อนๆ ผู้สนใจเข้าร่วมกันสักหน่อย

รายละเอียดงานประชุมวิชาการประจำปี ชมรมห้องสมุดเฉพาะ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย
ชื่องานภาษาไทย : Branding…การสื่อสารอัตลักษณ์ของห้องสมุดและการบริการสารสนเทศ
สถานที่จัดงาน : โรงแรมมารวยการ์เด้น
วันและเวลาที่จัด : วันที่ 6 – 7 กันยายน 2555
จัดโดย : ชมรมห้องสมุดเฉพาะ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

จริงๆ แล้วเรื่องของการสร้างแบรนด์หรือตราสินค้าเป็นเรื่องที่หลายๆ คนอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องที่อยู่แต่เฉพาะในแวดวงธุรกิจเท่านั้น ซึ่งต้องบอกว่าเราลองมาเปลี่ยนทัศนคติตรงนี้กันใหม่ดีกว่า เพราะเรื่องของการสร้างแบรนด์เองปัจจุบันเป็นเรื่องที่แม้แต่หน่วยงานด้านการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ หรือแม้แต่ห้องสมุดก็จำเป็นที่จะต้องรู้จักการสร้างภาพลักษณ์และแบรนด์ของหน่วยงานตนเอง

“การสร้างแบรนด์ ไม่ใช่ การประชาสัมพันธ์ แต่ การสร้างแบรนด์ เป็นส่วนหนึ่งและขั้นตอนหนึ่งของประชาสัมพันธ์”

การจัดการประชุมวิชาการในเรื่องนี้ผมจึงมองว่ามันก็น่าสนใจอยู่นะ
เพราะเป็นเรื่องที่ทุกท่านจะได้รับรู้และเปลี่ยนทัศนคติของพวกเรา
ให้เข้าใจคำว่าการสร้างแบรนด์ของห้องสมุดอย่างแท้จริง

หัวข้อที่น่าสนใจของงานนี้
– Brand Identity กับห้องสมุด
– อัตลักษณ์ของการอ่าน….มุมหนังสือเพื่ออาเซียน…
– Branding การสร้างอัตลักษณ์ท่ามกลางยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง
– นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการสร้าง branding ของห้องสมุด
– Branding อย่างไร เพื่อก้าวไกลสู่อนาคต

เอาเป็นว่าแต่ละหัวข้อก็น่าสนใจมากๆ เลยใช่มั้ยหล่ะครับ
ถ้าสนใจก็ลงทะเบียนมาฟังกันก็แล้วกันนะครับ

การลงทะเบียนเข้าร่วมงานนี้มีค่าใช้จ่ายสักหน่อยนะครับ
สมัครก่อนวันที่ 17 สิงหาคม 2555 ค่าลงทะเบียน 1800 บาท
สมัครในช่วงวันที่ 18-31 สิงหาคม 2555 ค่าลงทะเบียน 2200 บาท
ปิดรับสมัครวันที่ 31 สิงหาคม 2555 นะครับ

เอาเป็นว่าถ้าสนใจก็สมัครเข้าร่วมงานกันได้นะครับ ซึ่งรายละเอียดเพิ่มเติมและใบสมัครสามารถดูได้ที่
http://library.md.chula.ac.th/guide/slg6-7sep55.pdf
หรือ http://www.libraryhub.in.th/wp-content/uploads/2012/07/slgannual.pdf

สรุปการบรรยาย สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการบริการห้องสมุด

เมื่อวันอาทิตย์ที่มา (วันที่ 25 มีนาคม 2555) ผมได้รับเกียรติให้ไปเป็นวิทยากรการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการบริการห้องสมุด” ซึ่งจัดโดยห้องสมุดนงเยาว์ ชัยเสรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา สมาคมห้องสุมดแห่งประเทศไทยฯ ตามธรรมเนียมครับที่ผมจะต้องมาสรุปงานให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน

รายละเอียดเกี่ยวกับการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ เพื่อนๆ สามารถอ่านได้ที่
http://www.libraryhub.in.th/2012/02/28/workshop-facebook-for-library-service/

การบรรยาย แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ
– ช่วงเช้า เน้นทฤษฎี ความรู้ที่เกี่ยวกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ และแนะนำการใช้งาน Facebook เบื้องต้น
– ช่วงบ่าย เน้นการปฏิบัติ เริ่มตั้งแต่การสมัครใช้งาน Facebook การปรับแต่งหน้าตา และเครื่องมือที่ไม่ควรพลาด

ปล. สื่อสังคมออนไลน์มีมากมาย แต่หลักๆ วันนั้นผมลงรายละเอียดที่ Facebook Fanpage เป็นหลัก

Slide ที่ผมใช้บรรยายมีจำนวน 3 Slide ประกอบด้วย
1. เปิดมุมมองห้องสมุดในต่างประเทศ
2. พฤติกรรมของผู้ใช้ห้องสมุด “ระดับนักศึกษา” 2005-2010 (ไม่สามารถเผยแพร่ได้เนื่องจากยังไม่สมบูรณ์)
3. Facebook Fanpage สำหรับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์

ผมขอสรุปไปทีละ Slide เลยแล้วกันนะครับ เพื่อที่ว่าเพื่อนๆ จะได้เปิด  Slide และดูตามไป

1. เปิดมุมมองห้องสมุดในต่างประเทศ

Slide ชุดนี้ผมอยากให้ผู้ที่เข้าฟังการบรรยายได้รู้จักคำศัพท์และเครื่องมือต่างๆ กันสักหน่อย ซึ่งได้แก่ Blog, Wiki, IM, Tag, Widget, Library Search, RSS, Flickr, Ning, Facebook, Slideshare, Youtube, Scribd, Spokeo, Zoomii, Zotero, Yahoo Pipe, Bibme

2. พฤติกรรมของผู้ใช้ห้องสมุด “ระดับนักศึกษา” 2005-2010 (ไม่สามารถเผยแพร่ได้เนื่องจากยังไม่สมบูรณ์)

3. Facebook Fanpage สำหรับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์

Slide ชุดนี้เป็นเนื้อหาหลักของการบรรยายในวันนั้นเลย (จริงๆ เป็นสไลด์ชุดเดียวกับที่ผมบรรยายที่โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ซึ่งเพื่อนๆ สามารถอ่านได้จาก http://www.libraryhub.in.th/2012/02/16/facebook-fanpage-for-thai-junior-encyclopedia-project/) แต่ผมขอเอามาสรุปอีกครั้งก็แล้วกัน

เรื่องของความหมายของ Facebook คงไม่ต้องอธิบายกันแล้วเนื่องจากผู้ที่เข้าอบรมทุกคนใช้ Facebook กันอยู่แล้ว

รูปแบบการใช้ Facebook ในปัจจุบัน เราสามารถแบ่งได้เป็น 3 แบบใหญ่ๆ คือ
1. Profile
2. Group
3. Page

แต่ละแบบใช้งานและมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน

ในวงการห้องสมุดเมืองไทยก็มีความเข้าใจในเรื่องการใช้ Facebook กันผิดประเภทหลายแห่ง
ส่วนใหญ่มักจะสมัครใช้ Facebook ในแบบ Profile จำนวนมากเนื่องจากสมัครง่าย
แต่หลายๆ คนลืมคิดถึงข้อจำกัดด้านต่างๆ เช่น ความเป็นส่วนตัว จำนวนสมาชิก การวัดผลการใช้งาน…

ดังนั้นข้อสรุปแล้ว ผมจึงนำเสนอให้ ห้องสมุดใช้แบบ Page จะดีกว่า เพราะ
ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ (แม้ว่าผู้ใช้จะไม่ได้เล่น Facebook) จำนวนสมาชิกที่ไม่จำกัด และการวัดผลที่ชัดเจน

ตัวอย่าง Facebook Fanpage ในวงการห้องสมุดที่น่าสนใจ
– Tkpark อุทยานการเรียนรู้ (http://www.facebook.com/tkparkclub)
– Thailand Creative & Design Center (TCDC) (http://www.facebook.com/tcdc.thailand)
– ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี ศูนย์ความรู้กินได้ (http://www.facebook.com/Ubonpubliclibrary)
– เครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย (http://www.facebook.com/THLibrary)
– Thammasat University Libraries (http://www.facebook.com/pages/Thammasat-University-Libraries/100107346702609)

ข้อแนะนำสำหรับการใช้ Facebook Fanpage
1. คอยอัพเดทข่าวสารและกิจกรรมของห้องสมุดใหม่ให้ผู้ใช้บริการอย่างสม่ำเสมอ อยากปล่อยให้ข่าวไม่อัพเดทเกิน 1 เดือน
2. หากผู้ใช้บริการขอความช่วยเหลือผ่านเว็บไซต์ห้องสมุดหรือสื่อสังคมออนไลน์ เช่น ขอต่ออายุการยืมหนังสือ ห้องสมุดไม่ควรปฏิเสธ
3. ใส่ใจกับความคิดเห็นหรือคำถามของผู้ใช้บริการด้วย อย่าเงียบหายหรือละเลย พยายามตอบและให้บริการด้วยความเร็ว
4. ไม่นำเรื่องราวพฤติกรรมที่แย่ๆ ของผู้ใช้บริการมาลงในเว็บไซต์หรือสื่อสังคมออนไลน์ของห้องสมุด
5. พยายามพูดคุยหรือถามความคิดเห็นจากผู้ใช้บริการในห้องสมุดเกี่ยวกับสื่อสังคมออนไลน์บ้าง
6. การจัดกิจกรรมในห้องสมุดทุกครั้งควรนำมาลงในเว็บไซต์ห้องสมุดและสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อให้ผู้ใช้บริการติดตามข่าวสารของห้องสมุด

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นเพียงบทสรุปแบบคร่าวๆ ในวันนั้นนะครับ
ก่อนปิดบล็อกวันนี้ ผมขอขอบคุณ บริษัท Mercuri Data ด้วยนะครับที่สนับสนุนกิจกรรมในครั้งนี้

ภาพการอบรมในวันนั้นผมลงให้แล้วใน Facebook เพื่อนๆ สามารถเข้าไปชมภาพบรรยากาศได้เลยที่
http://www.facebook.com/media/set/?set=a.352474518127142.74790.196587720382490&type=1

แล้วอย่าลืมมากด Like เป็น Fanpage ของเครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย ด้วยนะครับ http://www.facebook.com/THLibrary

ภาพบรรยากาศการอบรมในวันนั้นทั้งหมด

[nggallery id=54]

ก้าวใหม่ของห้องสมุด (Libraries on the Move) วันที่ 28-30 มีนาคม 2555

ใกล้สิ้นปีแบบนี้เพื่อนๆ หลายคนคงกำลังรอฟังข่าวเรื่อง “การประชุมประจำปีของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย” กันอยู่ วันนี้ผมจึงขอนำมาประชาสัมพันธ์ให้เพื่อนๆ ทุกคนทราบแล้วกันครับ เอาเป็นว่าคร่าวๆ ก่อน คือ ปกติจะจัดในเดือนธันวาคมแต่ปีนี้ขอเลื่อนไปจัดในเดือนมีนาคมนะครับ

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการประชุมวิชาการครั้งนี้
ชื่อการประชุมภาษาไทย : ก้าวใหม่ของห้องสมุด
ชื่อการประชุมภาษาอังกฤษ : Libraries on the Move
วันและเวลา : 28-30 มีนาคม 2555
สถานที่จัดการอบรม : โรงแรมอะเดรียติกพาเลซ
ผู้จัดการประชุม : สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

หัวข้อในการประชุมครั้งนี้นับว่าน่าสนใจมาก (เป็นครั้งแรกที่รู้สึกว่าสมาคมห้องสมุดน่าจะมาถูกทางแล้ว)
หัวข้อก้าวใหม่ของห้องสมุดเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC นั่นเอง
ถ้าห้องสมุดของเพื่อนๆ เตรียมพร้อมมากกว่าคนอื่นก็ย่อมได้เปรียบนะครับ

ตัวอย่างหัวข้อที่น่าสนใจของการประชุมครั้งนี้
– บทบาทของบรรณารักษ์และห้องสมุดในการพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืนตามแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559)
– กรุงเทพมหานคร “เมืองหนังสือโลก ปี 2556” (World Book Capital 2013)
– แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดกิจกรรมและส่งเสริมการอ่านเชิงรุก
– การเตรียมบรรณารักษ์และห้องสมุดเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
– การใช้งานลิขสิทธิ์สำหรับบรรณารักษ์ห้องสมุด
– การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสงวนรักษาทรัพยากรสารนิเทศของห้องสมุด
– ห้องสมุดกับการให้บริการนวนิยายไทยอิเล็กทรอนิกส์ (e-novel)

เป็นไงกันบ้างครับกับหัวข้อที่จะพบในงานประชุมนี้ ตื่นตัวและเตรียมพร้อมกันมากๆ เลยว่ามั้ย
เอาเป็นว่าถ้ามีเวลาผมก็อาจจะเข้าร่วมกับการประชุมครั้งนี้เช่นกัน

การเข้าร่วมประชุมวิชาการครั้งนี้ไม่ฟรีนะครับ มีค่าใช้จ่ายพอสมควรเอาเป็นว่าใครสนใจก็เข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมตาม link ที่อยู่ด้านล่างนี้นะครับ
ดาวน์โหลดเอกสารและอ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.libraryhub.in.th/wp-content/uploads/2011/11/Conference54.pdf (รอการอัพเดทจากสมาคมห้องสมุดฯ อีกทีนะครับ)

โครงการศึกษาดูงานชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา 2554

“ไปเที่ยวกันมั้ย มั้ย มั้ย มั้ย มั้ย…..จะไปก็รีบไป ไป ไป ไป ไป …….ไปดูงานห้องสมุดกันเถอะ!!!”
วันนี้มีโครงการดีๆ มาประชาสัมพันธ์ครับ เป็นโครงการของชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา สมาคมห้องสมุดฯ
อย่างที่เกริ่นนั่นแหละครับ โครงการนี้เป็น “โครงการศึกษาดูงาน” ครับ ว่าแต่ไปดูกันที่ไหนบ้าง ลองอ่านโครงการกันก่อนเลยครับ

โครงการศึกษาดูงานชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา สมาคมห้องสุมดแห่งประเทศไทย ฯ ประจำปี 2554
Academic Librarian Group Thai Library Association (ALG TLA) Study Tour :  2011

……………………………………………………..

ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรุ้งทิพย์ ห่อวโนทยาน (รองประธาน และ กรรมการฝ่ายวิชาการ)

หลักการและเหตุผล

ชมรมบรรณารักษ์ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ฯ (Academic Librarian Group: Thailand Library Association) เป็นชมรมหนึ่งในสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ฯ โดยเป็นกลุ่มของบรรณารักษ์ และผู้ปฏิบัติงานในห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย เป็นองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อให้ความรู้ทางวิชาการ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์จาการปฏิบัติงานในห้องสมุด และเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ของข้อมูลข่าวสารระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา

ชมรม ฯ เล็งเห็นความสำคัญของการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เรียนรู้และเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิก  จึงจัดโครงการศึกษาดูงานแหล่งบริการสารสนเทศ / แหล่งเรียนรู้ที่มีการดำเนินงานที่เข้มแข็งมีกิจกรรมที่น่าสนใจ ณ จังหวัดนครปฐม ได้แก่ หอสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากรพระราชวังสนามจันทร์ และหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) เพื่อให้สมาชิกและผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้และประสบการณ์  ตลอดจนสร้างความสัมพันธ์ที่ดีนำไปสู่การพัฒนาวงการวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ต่อไป

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้สมาชิกและผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ศึกษาแนวทางในการพัฒนาการดำเนินงานสถาบันบริการสารนิเทศ และแหล่งเรียนรู้
2. เพื่อให้สมาชิกและผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เพิ่มความรู้ประสบการณ์ในการดำเนินงานสถาบันบริการสารนิเทศ และแหล่งเรียนรู้
3. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิกและผู้เข้าร่วมกิจกรรม

วัน – เวลา : วันเสาร์ที่ 10 กันยายน  2554  เวลา 7.00 – 17.00 น.

สถานที่ : หอสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากรพระราชวังสนามจันทร์ และ หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม : กรรมการ/ทีมงาน สมาชิกชมรม และผู้สนใจ จำนวน 15 คน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. สมาชิกและผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ศึกษาแนวทางในการพัฒนาการดำเนินงานห้องสมุดจากห้องสมุดและ / หรือ สถาบันบริการสารสนเทศอื่น ๆ
2. สมาชิกและผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เพิ่มความรู้ประสบการณ์ในการดำเนินงานห้องสมุดและ / หรือ สถาบันบริการสารสนเทศอื่น ๆ
3. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิกและผู้เข้าร่วมกิจกรรม

เป็นยังไงกันบ้างครับ อ่านโครงการแล้วเริ่มสนใจกันบ้างหรือปล่าว ไปดูงานได้พูดคุยได้แลกเปลี่ยนความรู้กันในหลายๆ ด้าน พบปะและสร้างเครือข่ายกลุ่มบรรณารักษ์ด้วยนะครับ สิ่งดีๆ มีมากขนาดนี้แล้ว ไม่เข้าร่วมไม่ได้แล้ว

เรามาดูกำลังการแบบคร่าวๆ กันก่อนดีกว่าครับ
6.15 น. เดินทางจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต  ไปอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
7.00 น. แวะรับที่จุดจอดรถตู้ มธ.ศูนย์รังสิต อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มุมใกล้สมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์
7.00 – 8.30 น. เดินทางจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ไปจังหวัดนครปฐม
8.30 – 11.00 น. ศึกษาดูงานหอสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากรพระราชวังสนามจันทร์
11.00 –12.30 น. รับประทานอาหารกลางวัน ณ บริเวณใกล้มหาวิทยาลัยศิลปากรพระราชวังสนามจันทร์
12.30 – 14.00 น. เดินทางจากจังหวัดนครปฐม ไปหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) พุทธมณฑลสาย 5
14.00 – 16.00 น. ศึกษาดูงานหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)
16.00 น. ออกเดินทางกลับ
17.30 น. เดินทางถึงกรุงเทพ โดยสวัสดิภาพ

เอาเป็นว่าใครสนใจก็ติดต่อและแจ้งรายชื่อเข้าร่วมโดยด่วนที่ คุณรุ้งทิพย์ ห่อวโนทยาน.  โทร. 086-5284042  นะครับ

สรุปงานประชุมประจำปีของสมาคมห้องสมุดฯ 2553

วันนี้ผมขอนำสรุปการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2553 และประชุมวิชาการเรื่อง ?การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ : สรรค์สร้างสังคมไทยเป็นสังคมการอ่าน? โดยสมาคมห้องสมุดฯ ได้สรุปข้อมูลออกมาเป็น File PDF และอัพโหลดขึ้นเว็บของสมาคมฯ แต่หลายๆ คนอาจจะไม่สะดวกในการอ่านใน file PDF ผมจึงขออนุญาติแปลงข้อมูลออกมาลงบล็อกของผมให้เพื่อนๆ ได้อ่านครับ

ไฟล์ต้นฉบับอ่านได้ที่ http://tla.or.th/pdf/an2553.pdf

ไฟล์ที่ผมแปลงออกมา อ่านได้เลยด้านล่างนี้ครับ

การประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2553 และประชุมวิชาการเรื่อง ?การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ : สรรค์สร้างสังคมไทยเป็นสังคมการอ่าน?

วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พุทธศักราช 2553 เวลา 9.00 น. นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2553 และประชุมวิชาการเรื่อง ?การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ : สรรค์สร้างสังคมไทยเป็นสังคมการอ่าน? จัดโดย สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ณ ห้องคอนเวนชั่นฮอล์ล A-B โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ถนนสุขุมวิท กรุงเทพมหานคร ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต นายกสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ได้กล่าวรายงานความเป็นมาและวัตถุประสงค์ในการจัดงานว่า สืบเนื่องจาก คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2552 ให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ ให้วันที่ 2 เมษายน ของทุกปี เป็นวันรักการอ่าน ให้ พ.ศ. 2552-2561 เป็นทศวรรษแห่งการอ่าน และให้มีคณะกรรมการส่งเสริมการอ่านเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นกลไกขับเคลื่อนการส่งเสริมการอ่านให้เกิดเป็นรูปธรรม สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการอ่านมาโดยตลอด สนับสนุนให้ห้องสมุดสถานศึกษาและสถาบันต่างๆ มีบทบาทในการปลูกฝังและส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ได้มีบทบาทร่วมกับองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหนังสือ และการอ่านในการผลักดันเรื่องของการอ่านให้เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อพัฒนาคนไทยและประเทศไทยสู่สังคมความรู้ได้อย่างยั่งยืนแม้ในยามที่ประเทศชาติเผชิญปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจและได้นำเรื่องการอ่านเป็นวาระแห่งชาตินี้ เป็นหัวข้อในการประชุมวิชาการของสมาคมฯ ตั้งแต่ปี 2552 ที่ผ่านมา สำหรับในปี 2553 นี้ สมาคมฯ ได้กำหนดการประชุมวิชาการประจำปีของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ในหัวข้อ ?การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ: สรรค์สร้างสังคมไทยเป็นสังคมการอ่าน? เพื่อเน้นย้ำให้ห้องสมุดและสถานศึกษาร่วมกันรณรงค์เรื่องความสำคัญของการอ่าน และตระหนักในบทบาทการส่งเสริมการอ่านและสร้างนิสัยรักการอ่านให้กับเด็ก เยาวชน และประชาชนทุกเพศ ทุกวัย และทุกสาขาอาชีพ เพื่อสร้างสังคมการอ่านและการเรียนรู้ตลอดชีวิต จากนั้น ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้กล่าวเปิดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2553 และประชุมวิชาการของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ โดยมีใจความสรุปว่า

?…ขอขอบคุณที่สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ที่ได้ตอบสนองแผนยุทธศาสตร์ของรัฐบาลที่กำหนดให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อสร้างสังคมการเรียนรู้ตลอดชีวิตใน 3 ประเด็น คือ 1.การพัฒนาคนไทยให้มีความสามารถในการอ่าน 2. การพัฒนาคนไทยให้มีนิสัยรักการอ่าน และ 3. การสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในการอ่านอย่างยั่งยืน และสมาคมฯ ได้จัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อสรรคสร้างสังคมไทยเป็นสังคมการอ่านมาอย่างต่อเนื่อง… ในฐานะป็นประธานในการรณรงค์ส่งเสริมการอ่าน ได้ตั้งเป้าหมายให้คนไทยพัฒนาความสามารถในการอ่านและการรู้หนังสือ โดยภายในปี 2555 ประชากรวัยแรงงานจะต้องรู้หนังสือในระดับใช้งานได้ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 92.64 เป็นร้อยละ 99 ขณะที่ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปสามารถอ่านออกเขียนได้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 92.64 เป็นร้อยละ 95 และการอ่านหนังสือของคนไทยจะต้องเพิ่มขึ้นเฉลี่ยจากปีละ 5 เล่ม เป็น 10 เล่ม รวมทั้งเพิ่มแหล่งการอ่านที่มีคุณภาพให้ทั่วถึงทุกตำบลและชุมชน ตลอดจนเน้นสร้างภาคีเครือข่ายการอ่านเพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่านและการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน…? ในโอกาสเดียวกันนี้ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้เกียรติบรรยายพิเศษเรื่อง ?การดำเนินงานทศวรรษแห่งการอ่านของรัฐบาล? และมอบโล่เกียรติคุณแก่ 1. บุคคลดีเด่นรางวัล ศาสตราจารย์พิเศษคุณหญิงแม้นมาส ชวลิต 2. ผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุดจำนวน 8 ท่าน 3.บุคคลดีเด่นในวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ จำนวน 6 ท่าน และ 4. รางวัลห้องสมุดดีเด่นจำนวน 17 แห่ง

รายนามบุคคลและห้องสมุดที่ได้รับรางวัลและโล่เกียรติคุณ ประจำปี 2553
– รางวัลศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต
นางจินัฏดา ชูช่วย

– ผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุดและการศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
1. นายไกรสร นันทมานพ
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นรงค์ ฉิมพาลี
3. พระศุภคณิชย์ สุภจิตโต
4. นายเรื่องเดช วงศ์หล้า
5. รองศาสตราจารย์ ดร. ศิริพร ขัมภลิขิต
6. นางสาวสมสุณีย์ ดวงแข
7. นายสุเมธ สิมะกุลธร
8. ศาสตราจารย์ ดร. อักขราทร จุฬารัตน

– รางวัลบุคคลดีเด่นในวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
1. นางสาวกนกวรรณ นิลจาด
2. นางนฤมล กิจไพศาลรัตนา
3. นางนาตยา ไทพาณิชย์
4. นางสาวนิสา ป้อมภู่
5. นางระวีวรรณ แสงลอย
6. นางราศี แสงจักร

– รางวัลห้องสมุดดีเด่น ประจำปี 2553
1. หอสมุดกฎหมายมหาชน สำนักงานศาลปกครอง
2. ห้องสมุดโรงเรียนม่วงสามปี จังหวัดลำพูน
3. ห้องสมุดโรงเรียนบ้านแพะ จังหวัดอุตรดิตถ์
4. ห้องสมุดโรงเรียนชุมแพพิทยาคม จังหวัดขอนแก่น
5. ห้องสมุดโรงเรียนบ้านเจ้าเณร จังหวัดกาญจนบุรี
6. ห้องสมุดหลวงพธานอำนวยกิจ โรงเรียนบ้านพูด กรป. กลาง จังหวัดพัทลุง
7. ห้องสมุดพระครูภาวนารังสี โรงเรียนวัดใหญ่ชัยมงคล (ภาวนารังสี) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
8. ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
9. ห้องสมุดโรงเรียนพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา
10. ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก โรงเรียนปากท่อพิทยาคม จังหวัดราชบุรี
11. ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติฉลองครองราชย์ครบรอบ 60 ปี ในหลวง โรงเรียนบ้านบูกิ๊ดยือแร จังหวัดนราธิวาส
12. ห้องสมุดโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายประถม) กรุงเทพมหานคร
13. ห้องสมุดคอวนิช โรงเรียนนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
14. หอสมุด 72 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ห้องสมุดโรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล จังหวัดสกลนคร
15. ห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
16. ห้องสมุดโรงเรียนสตูลวิทยา จังหวัดสตูล
17. ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ 48 พรรษา โรงเรียนสารวิทยา กรุงเทพมหานคร

ข้อความที่ถอดออกมาก็ได้แบบนี้แหละครับ หวังว่าเพื่อนๆ จะอ่านกันง่ายขึ้นนะครับ
เครดิต
ครั้งนี้ผมยกให้สมาคมห้องสมุดฯ แล้วกันที่เป็นคนสรุปงานออกมา
แต่อยากให้สมาคมห้องสมุดเปลี่ยนวิธีการในการนำเสนอข้อมูลได้แล้ว
เนื่องจากการอ่านไฟล์ PDF มันมีขั้นตอนซับซ้อนนิดหน่อย แถมยังไม่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ด้วย

เอาเป็นว่าวันนี้ขอนำเสนอแค่นี้แล้วกัน เพื่อนๆ ก็สามารถแสดงความคิดเห็น หรือ ใครที่ไปร่วมงานแล้วเขียนสรุปมาก็ส่งมาให้อ่านกันบ้างนะครับ เพื่อเปิดโอกาสให้กับผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมจะได้รับความรู้เท่าเทียมกัน “การแบ่งปันความรู้คือพลังอันยิ่งใหญ่”

เว็บไซต์สมาคมห้องสมุด : http://tla.or.th

ประกาศผลประกวดสุดยอดห้องสมุดโรงเรียนดีเด่น 2553

ข่าวประกาศในวันนี้ผมนำมาจากเว็บไซต์ของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยนะครับ
รายละเอียดเกี่ยวกับการประกวดห้องสมุด ผมไม่สามารถบอกได้เนื่องจากไม่มีข้อมูลให้ผมอ่านนะครับ

การประกวดห้องสมุดโรงเรียน ทางสมาคมก็มีการแบ่งกลุ่มห้องสมุดโรงเรียน ออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ
1. ห้องสมุดโรงเรียนขนาดเล็ก
2. ห้องสมุดโรงเรียนขนาดกลาง
3. ห้องสมุดโรงเรียนขนาดใหญ่

หากเพื่อนๆ อยากรู้ว่าห้องสมุดแบบไหนที่เรียกว่า เล็ก กลาง หรือ ใหญ่ ลองอ่านบทความนี้ดูครับ
http://school.obec.go.th/e-lb/pic/Library2.htm (จะได้เข้าใจเพิ่มเติม)

การประกวดห้องสมุดโรงเรียนดีเด่นทางสมาคมห้องสมุดฯ แบ่งรางวัลออกเป็น 2 ระดับ คือ
1. รางวัลระดับประเทศ
2. รางวัลระดับภาค ซึ่งแบ่งย่อยลงไปอีก คือ

2.1 ภาคเหนือ
2.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2.3 ภาคกลาง
2.4 ภาคใต้
2.5 กรุงเทพมหานคร

ซึ่งผมขอนำมาลงทีละส่วนนะครับ

1. รางวัลระดับประเทศ มีห้องสมุดที่ได้รับรางวัล ดังนี้
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดเล็ก = ห้องสมุดโรงเรียนม่วงสามปี จังหวัดลำพูน
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดกลาง = ห้องสมุดพระครูภาวนารังสี โรงเรียนวัดใหญ่ไชยมงคล (ภาวนารังสี) จังหวัดอยุธยา
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดใหญ่ = ห้องสมุดโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายประถม) จังหวัดกรุงเทพฯ

2. รางวัลระดับภาค มีห้องสมุดที่ได้รับรางวัล ดังนี้
2.1 ภาคเหนือ
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดเล็ก = ห้องสมุดโรงเรียนบ้านแพะ จังหวัดอุตรดิตถ์
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดกลาง = ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนภิเษก โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดใหญ่ = ห้องสมุดคอวนิช โรงเรียนนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์

2.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดเล็ก = ห้องสมุดโรงเรียนชุมแพพิทยาคม จังหวัดขอนแก่น
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดกลาง = ห้องสมุดโรงเรียนพระทองคำวิทยา จังหวัดนครราชสีมา
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดใหญ่ = หอสมุด 72 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล จังหวัดสกลนคร

2.3 ภาคกลาง
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดเล็ก = ห้องสมุดโรงเรียนบ้านเจ้าเณร จังหวัดกาญจนบุรี
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดกลาง = ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนภิเษก โรงเรียนปากท่อพิทยาคม จังหวัดราชบุรี
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดใหญ่ = ห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ

2.4 ภาคใต้
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดเล็ก = ห้องสมุดหลวงพิธานอำนวยกิจ โรงเรียนบ้านพูด กรป.กลาง จังหวัดพัทลุง
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดกลาง = ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติฉลองครองราชย์ครบรอบ 60 ปี ในหลวง โรงเรียนบูกิ๊ตยือแร จังหวัดนราธิวาส
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดใหญ่ = ห้องสมุดโรงเรียนสตูลวิทยา จังหวัดสตูล

2.5 กรุงเทพมหานคร
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดเล็ก = ไม่มีโรงเรียนส่งเข้าประกวด
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดกลาง = ไม่มีโรงเรียนส่งเข้าประกวด
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดใหญ่ = ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ 48 พรรษา โรงเรียนสารวิทยา

เอาเป็นว่าผมก็ขอแสดงความยินดีกับห้องสมุดโรงเรียนที่ได้รับรางวัลทุกแห่งนะครับ
ส่วนห้องสมุดโรงเรียนอื่นๆ ก็ไม่ต้องเสียใจ ผมก็ยังคงเป็นกำลังใจให้ทุกแห่งเสมอครับ

ผมเชื่อว่าห้องสมุดหลายๆ แห่งที่ตั้งใจหลายๆ ที่อาจจะไม่ได้รับรางวัลนี้ แต่ผมอยากให้ทุกๆ คนคิดว่าห้องสมุดของคุณนะได้รับรางวัลทางใจจากผู้ใช้บริการของห้องสมุดทุกคนแล้วแหละ ผู้ใช้บริการและผมจะเป็นกำลังใจให้พวกคุณต่อไปครับ สู้ๆ

รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้จาก http://tla.or.th/pdf/school.pdf