การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ: สรรค์สร้างสังคมไทยเป็นสังคมการอ่าน

งานประชุมประจำปีของสมาคมห้องสมุดฯ จัดทุกปีในช่วงเดือนธันวาคม
วันนี้ผมเลยขอนำมาประชาสัมพันธ์ให้เพื่อนๆ ได้รับทราบกันหน่อยนะครับ

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการประชุมวิชาการครั้งนี้
ชื่อการประชุมภาษาไทย : การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ: สรรค์สร้างสังคมไทยเป็นสังคมการอ่าน
ชื่อการประชุมภาษาอังกฤษ : A Decade of National Reading Agenda : Create Reading Thai Society
วันและเวลา : 20-23 ธันวาคม 2553
สถานที่จัดการอบรม : โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพมหานคร
ผู้จัดการประชุม : สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

ในช่วงนี้อย่างที่เพื่อนๆ รู้แหละครับว่าเป็นทศวรรษแห่งการอ่าน ดังนั้นทางสมาคมห้องสมุดก็เลยพลักดันเรื่องนี้อยู่เช่นกัน
การอ่านกับเรื่องห้องสมุดย่อมไปในแนวทางเดียวกัน “กิจกรรมส่งเสริมการอ่านในห้องสมุด” ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน
งานประชุมครั้งนี้ได้เชิญวิทยากรจากหลายสาขาวิชาชีพมาบรรยายเพื่อแนะนำบรรณารักษ์ให้มีเทคนิคในการจัดกิจกรรมใหม่ๆ

หัวข้อที่น่าสนใจในการประชุมครั้งนี้
1. การดำเนินงานทศวรรษแห่งการอ่านของรัฐบาล
2. ต้นแบบความสำเร็จที่ได้จากการอ่านของนักเรียน และนักศึกษา
3. การจัดศึกษาดูงานห้องสมุด แหล่งเรียนรู้ และการส่งเสริมการอ่านภายในประเทศและต่างประเทศ
4. การบริหารจัดการการอ่านของเด็กปัญญาเลิศ
5. ไขปัญหาชีวิตด้วยการอ่าน
6. การเสนอผลงานวิจัย/วิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการอ่าน และผลงานที่เกี่ยวข้อง
7. อ่านเพื่อเสริมสร้างปัญญา
8. กิจกรรมของชมรมต่าง ๆ และการระดมความคิด: การบริหารจัดการการอ่าน
9. รายงานผลการดำเนินงานกิจการของสมาคมฯประจำปี พ.ศ.2553 และการประกาศผลการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ พ.ศ. 2554-2555
10. การพัฒนาการอ่านของสถานศึกษาตามนโยบายแนวทางทศวรรษแห่งการอ่าน

ใครที่สนใจจะเข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้ ผมแนะนำว่าลองติดต่อไปที่สมาคมห้องสมุดกันดูนะครับ
ที่เบอร์โทรดังนี้ โทร. 0-2734-9022-23, 0-2736-7838

ปล.หมายเหตุในเว็บไซต์สมาคมห้องสมุดผมไม่สามารถเปิดเอกสารในการลงทะเบียนได้
ไฟล์ที่ไม่สามารถเปิดดูได้
(แบบลงทะเบียน , ใบตอบรับเข้าร่วมกิจกรรม)

ส่วนรายละเอียดเพื่อนๆ สามารถเปิดดูได้ตามปกตินะครับ ที่
http://www.tla.or.th/pdf/prjectsi2010.pdf

งานประชุมวิชาการ “ห้องสมุดดิจิตอล : ปัจจุบันและอนาคต” (แก้ไข)

ช่วงนี้กระแสของห้องสมุดดิจิตอลกำลังมาแรง และถูกไถ่ถามหนาหูขึ้นเรื่อยๆ
เนื่องจากเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วการเข้าถึงข้อมูลดิจิตอลทำได้สะดวกขึ้น
วันนี้ผมจึงขอแนะนำงานประชุมวิชาการงานหนึ่งที่น่าสนใจ และพูดถึงทิศทางของห้องสมุดดิจิตอล

รายละเอียดงานประชุมวิชาการเบื้องต้น
ชื่อการประชุมวิชาการ : ห้องสมุดระบบดิจิตอล : ปัจจุบันและอนาคต
จัดวันที่ : 5 พฤศจิกายน 2553
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุมชั้น 7 ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จัดโดย : ชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

ชื่องานนี้ก็นับว่าน่าสนใจอยู่เหมือนกันนะครับ ประมาณว่าให้ข้อมูลปัจจุบันและทิศทางในอนาคต
แต่ประเด็นที่ผมจับตาดูอยู่คือ เป็นงานของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
ซึ่งแน่นอนครับว่ามีศักยภาพในการจัดทำและพัฒนาระบบห้องสมุดดิจิตอล

เอาเป็นว่าไปดูหัวข้อที่น่าสนใจในงานนี้ก่อนดีกว่าครับ

– ห้องสมุดระบบดิจิตอล : ปัจจุบันและอนาคต
– IT สำหรับห้องสมุดระบบดิจิตอล
– มาตรฐานการแปลงภาพเป็นดิจิตอล
– ห้องสมุดระบบดิจิตอล : แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์

เอาเป็นว่าหัวข้อก็น่าสนใจดีครับ แต่การเข้าฟังต้องมีค่าใช้จ่ายสักหน่อยนะครับ
คือถ้าเป็นสมาชิกของสมาคมห้องสมุดก็ 300 บาท แต่ถ้าไม่ได้เป็นก็ 350 บาท
ซึ่งผมว่าก็คุ้มค่าในการเข้าฟังนะครับ ยังไงก็สมัครเข้าไปฟังกันดู

หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติมก็เข้าไปดูที่เอกสารที่นี่เลยครับ “เอกสารประชาสัมพันธ์งานนี้

Workshop : การบริหารความเสี่ยงสำหรับห้องสมุดยุคใหม่

การประชุมประจำปีของชมรมห้องสมุดเฉพาะใกล้เข้ามาแล้ว
และเป็นประจำของทุกปีที่ผมจะต้องนำมาประชาสัมพันธ์สักหน่อย

slgconference1

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ
ชื่องานภาษาไทย : การบริหารความเสี่ยงสำหรับห้องสมุดยุคใหม่
จัดวันที่ : 30 – 31 สิงหาคม 2553
สถานที่จัดงาน : กรมวิทยาศาสตร์บริการ
จัดโดย : ชมรมห้องสมุดเฉพาะ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

หัวข้อเกี่ยวกับเรื่อง “การบริหารจัดการความเสี่ยง” เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากในปัจจุบัน
เนื่องจากวิถีชีวิตในปัจจุบันของคนเรามีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
บางอย่างที่เราวางแผนไว้อาจจะไม่สามารถปฏิบัติได้ตามแผน
ถ้ามันเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็คงไม่เป็นอะไรมาก แต่ถ้าเป็นเรื่องใหญ่ๆ ระดับองค์กรหล่ะ
มันอาจจะทำให้องค์กรของคุณล้มลงอย่างไม่เป็นท่าเลยก็อาจเป็นได้

ดังนั้นการสัมมนาเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ผมจึงอยากให้เพื่อนๆ ได้เข้าร่วมกันมากๆ
นอกจากจะได้รับความรู้ดีๆ แล้ว ยังถือว่าเป็นการระดมสมองเพื่อการแก้ปัญหาในวงการห้องสมุดเลยก็ว่าได้

ตัวอย่างหัวข้อที่น่าสนใจในการบรรยายและเสวนา
– ห้องสมุดยุคใหม่ต้องใส่ใจความเสี่ยง
– การบริหารความเสี่ยงของห้องสมุด : กรณีศึกษา
– การบริหารจัดการความเสี่ยง…สำคัญอย่างไร
– คุยเฟื่องเรื่องความเสี่ยง? : กลยุทธ์พิชิตความเสี่ยงในห้องสมุด
– แผนยุทธศาสตร์การบริหารความเสี่ยงสำหรับห้องสมุด
– การจัดทำแผนยุทธศาสตร์บริหารความเสี่ยง

เห็นหัวข้อแล้วผมก็เริ่มสนใจแล้วหล่ะครับ
ยิ่งวิทยากรและผู้บรรยายหลายๆ คนมาจากนอกวงการห้องสมุดด้วย
เช่น ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการเพิ่มผลผลิต สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
ผู้จัดการสายงานด้านการบริหารความเสี่ยง บริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส เอฟเอเอส จำกัด

เอาเป็นว่าใครสนใจก็ต้องเสียเงินกันหน่อยนะ เพราะงานนี้มีค่าใช้จ่าย
หากลงทะเบียนก่อนวันที่? 6? สิงหาคม 2553 สมาชิก = 1,500 บาท บุคคลทั่วไป = 1,800 บาท
ค่าลงทะเบียนหลังวันที่ 6? สิงหาคม 2553 สมาชิก = 1,800 บาท บุคคลทั่วไป = 2,100 บาท

เอาเป็นว่าใครสนใจรายละเอียดก็เข้าไปดูได้ที่
รายละเอียดโครงการ

แล้วพบกันในงานครับผม

โครงการประกวดห้องสมุดดีเด่น ประจำปี 2553

เริ่มต้นกันแล้วนะครับสำหรับปีนี้ การคัดเลือกห้องสมุดดีเด่น ประจำปี 2553
ซึ่งเช่นเคยครับงานนี้จัดโดยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย (TLA)

library-award

ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายนของทุกปี
เป็นที่รู้กันว่าจะเป็นช่วงที่มีการคัดเลือกห้องสมุดดีเด่นในแต่ละปี

ปีนี้ก็เช่นกันครับ ทางสมาคมห้องสมุดฯ ได้ประกาศโครงการประกวดห้องสมุดดีเด่น ประจำปี 2553 แล้ว
และกำหนดการก็ไม่ได้ต่างอะไรจากเดิมมากมาย (ก.ค-ก.ย = คัดเลือกห้องสมุดดีเด่น)

การประกวดห้องสมุดดีเด่นแบ่งออกเป็นหลายประเภท ดังนี้
1. ห้องสมุดเฉพาะดีเด่น
2. ห้องสมุดมหาวิทยาลัยดีเด่น
3. ห้องสมุดประชาชนดีเด่น
4. ห้องสมุดโรงเรียนขนาดเล็กดีเด่น
5. ห้องสมุดโรงเรียนขนาดกลางดีเด่น
6. ห้องสมุดโรงเรียนขนาดใหญ่ดีเด่น
7. ห้องสมุดโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษดีเด่น

ซึ่งกำหนดการของโครงการประกวดห้องสมุดดีเด่น
พค. 53 สมาคมฯ จัดทำบันทึกแจ้งประธานชมรมฯ เพื่อพิจารณาคัดเลือกห้องสมุดดีเด่น
กค. ? กย. 53 แต่ละชมรมฯ ดำเนินการคัดเลือกห้องสมุดดีเด่น ประจำปี 2553
ตค. 53 แต่ละชมรมฯ นำเสนอห้องสมุดดีเด่นแก่สมาคมฯ
พย. 53 สมาคมฯ รวบรวมข้อมูลห้องสมุดดีเด่นเพื่อจัดทำ Presentation
ธค. 53 สมาคมฯ จัดพิธีมอบรางวัลห้องสมุดดีเด่นในการประชุมสามัญประจำปี

ทำไมต้องให้รางวัล แล้วรางวัลนี้มันมีประโยชน์อย่างไร
– ความภูมิใจของหน่วยงานหรือองค์กร
– กำลังใจในการทำงาน และพัฒนาห้องสมุดตนเองต่อไป
– ทำให้ห้องสมุดอื่นๆ มีต้นแบบในการทำงาน

เอาเป็นว่าถ้าเพื่อนๆ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม ให้เข้าไปอ่านได้ที่
เอกสารแนะนำโครงการประกวดห้องสมุดดีเด่น ประจำปี 2553

งานสัมมนา “การสร้างความเข้มแข็งโดยพัฒนานิสัยรักการอ่าน”

วันนี้ผมมีกิจกรรมดีๆ มาแนะนำให้เพื่อนๆ รู้จักกันอีกแล้ว
กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ใช้ในการเตรียมการจัดงานสัปดาห์ห้องสมุดประจำปีนี้ด้วย

reading

รายละเอียดเบื้องต้นของงานนี้
ชื่องานสัมมนาภาษาไทย? : ?การสร้างความเข้มแข็งโดยพัฒนานิสัยรักการอ่าน?
ภายใต้งาน : ประชุมเพื่อเตรียมการจัดงานสัปดาห์ห้องสมุด ครั้งที่ 34
วันและเวลาที่จัด : วันที่ 23 กรกฏาคม 2553 เวลา 07.30-16.45 น.
สถานที่อบรม : ห้องประชุม สำนักหอสมุดแห่งชาติ

การจัดงานสัปดาห์ห้องสมุดจะมีการจัดขึ้นทุกปีในเดือนสิงหาคม
ซึ่งหากเพื่อนๆ จำได้ ปีที่แล้วจะมีธีมงานหลักว่า “การอ่านเพื่อพัฒนาตนและพัฒนาชาติ”
ส่วนในปีนี้อย่างที่เกริ่นไว้ข้างต้นนั่นก็คือธีมงานหลักของปีนี้นั่นเอง
ธีมงานหลักของงานสัปดาห์ห้องสมุด “การสร้างความเข้มแข็งโดยพัฒนานิสัยรักการอ่าน”

ในงานสัมมนาในครั้งนี้มีผู้ทรงคุณวุฒิมากมายด้วย


ตัวอย่างหัวข้อที่น่าสนใจในงานสัมมนา
เช่น
– กลยุทธ์การสร้างนิสัยรักการอ่านสำหรับเด็ก
– กลยุทธ์การสร้างนิสัยรักการอ่านสำหรับวัยรุ่น
– กลยุทธ์การสร้างนิสัยรักการอ่านสำหรับผู้ใหญ่
– การสร้างสาระอิเล็กทรอนิกส์ในห้องสมุดเพื่อส่งเสริมการอ่าน

งานนี้ผมเชื่อว่าคนที่ได้เข้าร่วมจะได้รู้จักเทคนิคในการสร้างนิสัยการรักการอ่านให้กับคนในชุมชนได้แน่นอน
ดังนั้นบรรณารักษ์จึงไม่ควรจะพลาดงานนี้นะครับ

งานนี้มีค่าใช้จ่ายเล็กน้อยครับ
สำหรับสมาชิกสมาคมฯ ชำระเงินก่อนวันที่ 20/7/53 คนละ 500 บาท? และถ้าชำระเงินหลังวันที่ 20/7/53 คนละ 700 บาท
สำหรับบุคคลทั่วไป ชำระเงินก่อนวันที่ 20/7/53 คนละ 600 บาท และถ้าชำระเงินหลังวันที่ 20/7/53 คนละ 800 บาท

เอาเป็นว่าใครสนใจข้อมูลเพิ่มเติมก็เข้ามาดูได้ที่
http://www.tla.or.th/pdf/libraryweek34.pdf

สำหรับวันนี้ผมต้องขอตัวก่อนนะครับ

ผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุด ประจำปี 2552

หลังจากที่เมื่อวานนี้ผมเขียนเรื่อง “บุคคลดีเด่นในวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์ ประจำปี 2552
วันนี้ผมขอนำเรื่องต่อเนื่องมาเขียนต่อเลยนะครับ นั่นก็คือ การประกาศรางวัล
“ผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุดและการศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ประจำปี 2552”

library-support

ผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุด คือ ผู้ที่ให้การสนับสนุนกิจการของห้องสมุด
ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนด้วยกำลังกาย หรือกำลังทรัพย์ ต่างก็ล้วนแล้วแต่จะทำให้ห้องสมุดพัฒนา

ดังนั้นผมขอนำรายชื่อมาลงไว้ให้เพื่อเป็นการขอบคุณแทนวงการวิชาชีพนี้ด้วยนะครับ

ปีนี้มีผู้ได้รับการเสนอชื่อทั้งหมด 14 รายชื่อ ซึ่งมีดังนี้
(ผมขอเขียนแบบย่อๆ นะครับ รายละเอียดดูจากต้นฉบับที่ผมทำ link ไว้ให้นะครับ)

1. พระครูธรรมสรคุณ ขนธสโร
ได้สนับสนุนงบประมาณสร้างอาคารห้องสมุดประชาชน ?เฉลิมราชกุมารี? จังหวัดจันทบุรี ตั้งแต่ปี 2547 ? 2549 มูลค่า 20 ล้านบาท อีกทั้งได้มอบให้ กศน. เขาคิชฌกูฎ ระหว่างปี 2550-2552

2. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์จิตตินัดด์ หะวานนท์
ได้จัดสรรงบประมาณบอกรับฐานข้อมูลอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลากว่า 5 ปี มูลค่าปีละกว่า 5 ล้าน รวมมูลค่า 25 ล้านบาท ให้กับห้องสมุดคณะแพทย์และหน่วยงานในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ

3. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ได้จัด ?มุมความรู้ตลาดทุน? หรือ SET Corner เพื่อร่วมพัฒนาสังคมไทยสู่สังคมฐานความรู้ ตั้งแต่ปี 2547 ถึงปัจจุบัน

4. นายชรินทร์ เลอเกียรติจรัส

ผู้ผลักดันโครงการห้องสมุดไทยบริดจสโตน โดยได้เริ่มดำเนินการอย่างต่อเนื่องมากว่า 7 ปี ได้สร้างห้องสมุดไทยบริดจสโตน จำนวน 94 โรงเรียน

5. ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ

ประธานโครงการห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ปรีดี-พูนสุข พนมยงค์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูล ผลงาน ภาพถ่าย คำบรรยาย สื่อโสตทัศน์ กิจกรรมต่าง ๆ และงานเขียน ให้สามารถสืบค้นผ่านอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว

6. บริษัท ไทยบริดจสโตน จำกัด

ผู้สนับสนุนงบประมาณสร้างห้องสมุดใน โครงการ ?ห้องสมุดไทยบริดจสโตน? ส่งเสริมและสนับสนุนงบประมาณในการจัดโครงงานสารานุกรมไทย ใส่ใจธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

7. นายปรีชา ประกอบกิจ กรรมการ มูลนิธิแอมเวย์เพื่อสังคมไทย

โครงการ One by One : เปิดโลกกว้างทางปัญญา โดยในปี 2551 ได้ร่วมมือกับองค์กรไม่แสวงผลกำไร 3 แห่ง ได้แก่ มูลนิธิสงเคราะห์เด็กยากจนฯ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก และมูลนิธิกระจกเงา จัดสร้างห้องสมุดแอมเวย์จำนวน 10 โรงเรียน

8. นายพจน์ นฤตรรกกุล
สนับสนุนการทำวิจัยและพัฒนาเทคโลยีสำหรับห้องสมุดให้กับเครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนกลางของรัฐ ติดตามและศึกษาเทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ เช่น การสร้าง eBook, eJournal, Library Automation, Web Portal

9. นายวรวิทย์ ศุภโชคชัย
นผู้ผลักดันและสนับสนุนงบประมาณติดต่อกันเป็นระยะเวลา 5 ปี ระหว่างปี 2548 ? 2552 โดยได้สร้างห้องสมุด อาคารห้องสมุดและศูนย์เยาวชน (สวนศรีเมือง) ซึ่งมีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 2,100 ตารางเมตร รวมมูลค่า 18 ล้านบาท

10. นายวานิช เอกวาณิช

ผู้สนับสนุนงบประมาณสร้างห้องสมุดเอกวาณิช โรงเรียนภูเก็ตไทหัว ให้เป็นห้องสมุดมีชีวิต สำหรับนักเรียน ครู อาจารย์ ผู้ปกครอง ตลอดจนประชาชนในจังหวัดภูเก็ต

11. บริษัท เดอเบล จำกัด
ผู้จัดโครงการ ?ห้องสมุดนี้…พี่ให้น้อง? ตั้งแต่ปี 2550-2553 โดยมีโรงเรียนที่ได้รับทุนทั่วประเทศ จำนวน 134 โรง รวมมูลค่ากว่า 15 ล้านบาท

12. สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล สนับสนุนห้องสมุดในสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในปี 2551

13. ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์

อธิการบดีและผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยรังสิต เป็นผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ยาวไกล และตระหนักในความสำคัญของห้องสมุดในฐานะเป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญต่อการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา ริเริ่มโครงการก่อตั้งห้องสมุด พร้อมกับการก่อตั้งมหาวิทยาลัยรังสิต

14. นางสาวอินดา แตงอ่อน

ผู้สนับสนุนและสร้างบรรยากาศการใช้ห้องสมุดโดยการจัดโครงการทอดผ้าป่าการศึกษา ในปี 2548 ได้รับงบประมาณกว่า 3 ล้านบาท

เป็นไงกันบ้างครับกับการสนับสนุนห้องสมุดของแต่ละคน แบบว่าขอปรบมือให้แบบดังที่สุดเลยครับ
ถ้ามีผู้ใจดีกับห้องสมุดแบบนี้เยอะๆ ห้องสมุดหลายที่คงจะเลิกบ่นเรื่องไม่มีงบกันสักทีนะครับ

สุดท้ายนี้ก็ขอขอบคุณอีกครั้งสำหรับความใจดีของทุกๆ ท่านนะครับ

รายละเอียดของผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุดและการศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ประจำปี 2552 แบบเต็มๆ
อ่านได้ที่ http://tla.or.th/pdf/support.pdf

บุคคลดีเด่นในวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์ ประจำปี 2552

วันนี้ผมขอเอาเรื่องที่น่ายินดีและชมเชยมาให้เพื่อนๆ อ่านนะครับ
เป็นเรืองเกี่ยวกับ “บุคคลดีเด่นในวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์ ประจำปี 2552”

librarian-awards

จริงๆ ข่าวนี้ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ประกาศมาได้สักระยะนึงแล้วนะ
วันนี้ผมขอเอามาลงให้เพื่อนๆ อ่านอีกสักทีนะครับ

ปีนี้มีผู้ที่ได้รับรางวัล 5 ท่านครับ ซึ่งมีรายชื่อดังต่อไปนี้

1. นางกันป์หา เก้าเอี้ยน – บรรณารักษ์ วิทยาลัยการอาชีพนครศรีธรรมราช
เนื่องจากท่านเป็นผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งบรรณารักษ์ตั้งแต่ปี 2526 ท่านได้จัดห้องสมุดให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของสถานการศึกษา อีกทั้งยังจัดกิจกรรมมหกรรมรักการอ่าน ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ซึ่งนับว่าเป็นแบบอย่างของบุคคลแห่งการเรียนรู้

2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์นงนารถ ชัยรัตน์ – ผู้อำนวยการ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
เนื่องจากทั้งมีผลงานทั้งในด้านการสอน และการบริหารห้องสมุด รวมถึงการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น พัฒนาห้องสมุดโรงเรียนมงคลวิทยา จังหวัดระยอง (โรงเรียนพระปริยัติธรรมของสามเณร) รวมถึงจัดพิมพ์ชุดนิทานภาษาของแผ่นดินเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 2,400 ชุด

3. นางนาถระพินทร์ เบ็ญจวงศ์ – ครูชำนาญการ วิทยาลัยเทคนิคนครปฐม
เนื่องจากท่านเป็นบุคคลที่เสียสละ อุทิศตนเพื่อพัฒนาห้องสมุดวิทยาลัยเทคนิคนครปฐมให้ก้าวหน้าเป็นลำดับ อย่างต่อเนื่อง เป็นเวลากว่า 30 ปี และเผยแพร่บทความต่างๆ เกี่ยวกับวงการบรรณารักษ์อย่างต่อเนื่อง

4. นางจินัฐดา ชูช่วย – ครูชำนาญการพิเศษ หัวหน้างานห้องสมุดโรงเรียนสตูลวิทยา
เนื่องจากท่านได้ผลักดันห้องสมุดจนทำให้ได้รับรางวัลห้องสมุดดีเด่น 2 ปีซ้อน จากกรมสามัญศึกษา โล่เกียรติยศรางวัลห้องสมุดดีเด่น 3 ปีซ้อนจากเขตการศึกษา นอกจากนี้ท่านยังได้รับตำแหน่งเป็นหัวหน้าคณะดำเนินงานของมูลนิธิชัยพัฒนาในจังหวัดสตูล และเป็นแกนนำการพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนในเขตพื้นที่ห่างไกลและโรงเรียนในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

5. นางวราพร รสมนตรี – หัวหน้างานห้องสมุด โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ
เนื่องจากท่านได้สนับสนุนและส่งเสริมโครงการด้านการอ่านมากมาย เช่น โครงการพัฒนาการอ่านสู่ครูมืออาชีพ โครงการสุดยอดฑูตส่งเสริมการอ่าน โครงการส่งเสริมการอ่านวรรณกรรมเยาวชนแว่นแก้ว และได้รับโล่เกียรติคุณครูดีเด่นทางด้านการศึกษา ในปี 2551

เอาเป็นว่าผมก็ขอแสดงความยินดีกับทุกๆ ท่านด้วยนะครับ
และอยากให้มีบรรณารักษ์และคุณครูเช่นนี้มากๆ จัง
วงการห้องสมุดเราจะได้พัฒนาอย่างก้าวหน้าต่อไป

สำหรับรายละเอียดอื่นๆ เพื่อนๆ สามารถอ่านได้จาก
http://tla.or.th/pdf/person1.pdf

สรุปสัมมนาเรื่องสารสนเทศและภูมิปัญญาท้องถิ่น

ขอเล่าต่อจากงานสัมมนาเมื่อกี้นะครับ “การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Preservation of Local Wisdom)

stou2

ชื่อของการจัดสัมมนา
– การสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง สารสนเทศและภูมิปัญญาท้องถิ่น (19/2/52)

สถานที่ในการจัดงาน
– อาคารสัมมนา 2 ห้อง 233 (19/2/52)

งานสัมมนาครั้งนี้ จัดโดย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ร่วมกับ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย และ IFLA RSCAO

หัวข้องานสัมมนาในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2552 ที่น่าสนใจ

?????????????????????????

การบรรยาย เรื่อง การจัดการสารสนเทศท้องถิ่น
โดย ศ.ดร.ฉวีลักษณ์ บุณยะกาญจน

ขอบเขตของสารสนเทศท้องถิ่น
– สารสนเทศท้องถิ่นชุมชน ?> สารสนเทศตามเขตภูมิศาสตร์ ?> สารสนเทศตามอาณาเขตวัฒนธรรม

ภูมิปัญญา คือ ความรู้ ความคิด ความเชื่อ ความสามารถ ความชัดเจน ที่เป็นผลจากการใช้สติปัญญา

ภูมิปัญญาชาวบ้าน? -> ภูมิปัญญาไทย -> ภูมิปัญญาสากล

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา แบ่งภูมิปัญญา เป็น 9 ด้าน ดังนี้
– เกษตรกรรม
– อุตสาหกรรม
– การแพทย์แผนไทย
– การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
– กองทุนและธุรกิจชุมชน
– ศิลปวัฒนธรรม
– ภาษาและวรรณกรรม
– ปรัชญา ศาสนา และประเพณี
– โภชนาการ

ข้อมูลท้องถิ่นที่จะสามารถนำมาแปลงเป็นสารสนเทศท้องถิ่นได้ เช่น
– การบันทึกข้อมูลของท้องถิ่น
– ชีวประวัติของบุคคลสำคัญในท้องถิ่น
– การดำเนินชีวิตของคนในท้องถิ่น
– ปรากฎการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น เช่น ภัยพิบัติ ฯลฯ
– สิ่งต่างๆ ที่มีคุณค่าต่อท้องถิ่น

ภูมิปัญญาเป็นรากฐานของสารสนเทศท้องถิ่นทุกยุคสมัย

ปรากฎการณ์สารสนเทศท้องถิ่นท่วมท้ม มีดังนี้
– สารสนเทศท้องถิ่นคืออำนาจ
– สารสนเทศท้องถิ่นเป็นสมบัติ
– มลพิษทางสารสนเทศท้องถิ่น
– เกิดช่องว่างในการใช้สารสนเทศทองถิ่น

มุมมองของคนที่มีต่อสารสนเทศท้องถิ่น
– นักวิชาการ ต้องการรวบรวมองค์ความรู้เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยน และพัฒนาในอนาคต
– ชาวบ้าน จะหวงแหนภูมิปัญญาของพวกเขา เพราะว่ากลัวจะเสียประโยชน์ทางธุรกิจ

หลัก 4A ของการนำสารสนเทศท้องถิ่นมาใช้ในวงการศึกษา
– Availablility (รวบรวมสารสนเทศให้พร้อมต่อการใช้งาน)
– Accessibility (สร้างการเข้าถึงให้กับสารสนเทศท้องถิ่น)
– Affordability (ให้ชุมชนเข้าถึงสารสนเทศท้องถิ่น)
– Accountability (รับผิดชอบความถูกต้องของสารสนเทศท้องถิ่น)

?????????????????????????

การบรรยาย เรื่อง ประสบการณ์จากการจัดการสารสนเทศท้องถิ่นด้าน ?นนทบุรีศึกษา?
โดย รศ.ดร.สมพร พุทธาพิทักษ์ผล

องค์ประกอบสำคัญของห้องสมุดดิจิทัล มีดังนี้
– Digital Collection ข้อมูลสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัล
– Standard มาตรฐานในการจัดการสารสนเทศ
– Technology เทคโนโลยีระบบห้องสมุด
– Metadata ข้อมูลที่ใช้อธิบายสารสนเทศ

สำนักบรรณสารสนเทศ มสธ กับ นนทบุรีศึกษา
– ห้องสมุดมหาวิทยาลัย = บริการ และเผยแพร่สารสนเทศ
– มสธ = มหาวิทยาลัยเปิด
– นนทบุรี = มสธ เป็น มหาวิทยาลัยรัฐในจังหวัดนนทบุรี

ขอบเขตของภูมิปัญญาในจังหวัดนนทบุรี
– องค์รวมแห่งวิถีชีวิตของคน
– พื้นฐานสำคัญในการมองชีวิต ความรู้
– ลักษณะเฉพาะ เอกลักษณ์ในตนเอง
– ความรู้ ทักษะ(ความชำนาญ)

การสร้าง ยุ้งฉางภูมิปัญญา แบ่งคนออกเป็น 3 กลุ่ม
– กลุ่มผู้สร้างองค์ความรู้
– กลุ่มสร้างห้องสมุดดิจิทัล
– กลุ่มเผยแพร่ และนำไปใช้ประโยชน์

มาตรฐานทางเทคนิคที่ใช้สำหรับห้องสมุดดิจิทัล ได้แก่
Metadata ?> MODS, METS, MADS

?????????????????????????

เป็นไงบ้างครับกับการสรุปหัวข้อการบรรยาย
แต่เสียดายที่ช่วงบ่ายผมไม่สามารถอยู่ฟังต่อได้
เลยไม่สามารถสรุปเนื้อหาให้เพื่อนๆ ได้ทั้งหมด

จากงานสัมมนาในครั้งนี้ ทำให้ผมจุดประกายในการเขียนบล็อกต่อได้อีกสองสามเรื่อง
แล้วเดี๋ยวผมจะค่อยๆ เขียนให้เพื่อนๆ อ่านในโอกาสต่อไปนะครับ

ตัวอย่างเรื่องที่อยากเขียน
1. หลักสูตร ICS (Information Communication Science)
2. Opensource กับการจัดการสารสนเทศท้องถิ่น
3. การสร้างความร่วมมือในการพัฒนาสารสนเทศท้องถิ่น

นี่ก็เป็นเพียงน้ำจิ้มเล็กๆ นะครับ เอาไว้รออ่านกันได้เลยครับ

สุดท้ายนี้ขอเลาเรื่องความประทับใจนอกการสัมมนาสักนิดนะครับ
ในงานสัมมนาครั้งนี้ผมได้มีโอกาสพูดคุยกับอาจารย์น้ำทิพย์ถึงเรื่องการพัฒนาวงการบรรณารักษ์ในประเทศไทย
ซึ่งได้ความรู้ และข้อแนะนำจากอาจารย์ ซึ่งอยากจะบอกว่าได้ข้อคิดดีๆ มากมาย
เร็วๆ นี้กิจกรรมต่างๆ ของวงการบรรณารักษ์จะมีความเข้มข้นมากขึ้นครับ ยังไงก็รอติดตามกันนะครับ

LibCamp#3 : นายกสมาคมห้องสมุดฯ กล่าวต้อนรับ

กล่าวต้อนรับและเปิดงานโดย นายกสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ : ศาสตราจารย์ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต
ซึ่งได้รับความรู้และตอบคำถามต่างๆ เกี่ยวกับสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

openlibcamp

บทสรุปที่คุณหญิงฯ ได้กล่าวให้พวกเราฟังมีสาระมากมายซึ่งผมได้สรุปประเด็นดังนี้

แนะนำที่มาของการก่อตั้งสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย
(อันนี้ผมขอเล่าไม่มากนะครับเพราะว่าเพื่อนๆ สามารถอ่านได้ที่ http://www.tla.or.th/history.htm)
แต่หลักๆ ตอนก่อตั้งครั้งแรกคุณหญิงฯ ก็เป็นผู้บุกเบิกในการก่อตั้งสมาคมห้องสมุดในช่วงนั้นเช่นกัน
ซึ่งปีนี้ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีอีกครั้งที่คุณหญิงฯ ได้กลับมาเป็นประธานสมาคมฯ อีกครั้ง

ความสามัคคีในวิชาชีพ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
คุณหญิงเน้นย้ำให้วงการวิชาชีพเราให้มีความสามัคคีกัน
และสร้างเครือข่ายความร่วมมือกันมากๆ เพื่อการพัฒนาวิชาชีพของเราต่อไป

การบริการของห้องสมุดในปัจจุบันบางครั้งผู้ใช้อาจจะไม่จำเป็นต้องมาที่ห้องสมุดแล้วก็ได้
และบรรณารักษ์อย่างเราก็ต้องคอยบริการผู้ใช้ต่างๆ ด้วย
การบริการเชิงรุกในลักษณะนี้ คุณหญิงฯ ได้เคยกล่าวไว้นานแล้ว ซึ่งเรียกว่า “โครงการห้องสมุดสุดขอบฟ้า”
ซึ่งมีนิยามว่า “ไม่ว่าห้องสมุดจะอยู่ที่ไหนก็ตาม แต่บริการห้องสมุดและบริการความรู้จะต้องไปถึงในทุกๆ ที่”

หลายคนบอกว่าอาชีพบรรณารักษ์เป็นงานที่สบาย แต่ในความเป็นจริงแล้ว
“งานบรรณารักษ์เป็นอาชีพที่ทำงานหนักกว่าอาชีพอื่นๆ เพราะต้องคอยรวบรวมความรู้ของทุกสาขาอาชีพมาเก็บไว้ที่เดียวกัน

การทำงานบรรณารักษ์จำเป็นต้องใช้ความรู้และทักษะของวิชาชีอยู่ตลอด
แต่เราก็ไม่จำเป็นที่จะต้องบริการด้วยความเครียดนะครับ คุณหญิงได้กล่าวให้เราเข้าใจเรื่อง “ความรู้คู่บันเทิง”

หลังจากที่ได้รับความรู้ต่างๆ มากมายแล้ว คุณหญิงฯ ก็เปิดโอกาสให้คณะกรรมการของสมาคมห้องสมุดแนะนำตัวเอง
และเชิญผู้เข้าร่วมงานสัมมนาแนะนำตัวเอง ซึ่งเพื่อทำความรู้จักกันก่อนการสัมมนา

อ๋อ เกือบลืมไปอย่างนึง วันนี้ผมได้รับคำตอบเกี่ยวกับเรื่อง “บุคคลดีเด่นของวงการบรรณารักษ์มาด้วย”
เพื่อนๆ ยังจำคำถามของผมเกี่ยวกับประเด็นเรื่องนี้หรือปล่าวครับ ว่า
“ทำไมบุคคลดีเด่นในวงการห้องสมุด จะต้องเป็นสมาชิกแบบตลอดชีพของสมาคมฯ ด้วย”
เหตุผลนั่นก็คือ เพื่อการอุปถัมภ์วงการห้องสมุด หากเรารักในวงการห้องสมุดเราก็ควรที่จะเข้าร่วมกับสมาคมห้องสมุดฯ
เพื่อร่วมกันพัฒนาวงการวิชาชีพนั่นแหละครับ
คือคำตอบของคำถามข้อนี้

เป็นครั้งแรกที่ผมยอมเปิดใจให้สมาคมมากขึ้นเลยนะครับเนี้ย
ขอบคุณครับคุณหญิงฯ ที่ให้เกียรติมาเปิดงานสัมมนาครั้งนี้ด้วยนะครับ
และหวังว่าเราจะร่วมกันสร้างเครือข่ายระหว่างสมาคมห้องสมุดและเครือข่าย Libraryhub ได้นะครับ

สรุปรายชื่อ ผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุดฯ ประจำปี 2551

วันนี้ผมขอเอาเรื่องเก่าจากสมาคมห้องสมุดมาโพสให้อ่านกันนะครับ นั่นก็คือ
เรื่อง การประกาศรายชื่อผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุด และการศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์ 2551

librarian

ถ้าหากเพื่อนๆ เข้าไปที่เว็บไซต์ของสมาคมห้องสมุดฯ จะเห็นว่า
ข่าวนี้ทางสมาคมได้นำเสนอเป็นไฟล์ .jpg ให้อ่านกัน

เพื่อนๆ สามารถดาวน์โหลดไฟล์ภาพดูได้ที่
http://tla.or.th/document/good1.jpg
http://tla.or.th/document/good2.jpg
http://tla.or.th/document/good3.jpg
http://tla.or.th/document/good4.jpg

แต่สำหรับใครที่ไม่ชอบอ่านไฟล์ .jpg เหมือนอย่างผม
ก็ลองอ่านข้อมูลด้านล่างนี้ได้ เนื่องจากผมนำมาเขียนใหม่เป็น text แบบสรุปให้นะครับ

รายชื่อของผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุดฯ ประจำปี 2551 มีดังนี้

– นายทวีศักดิ์ เดชเดโช (ผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรมกีฬาและการท่องเที่ยว)
ผลงานเด่น : ให้การสนับสนุนห้องสมุดประชาชนสวนลุมพินี และห้องสมุดประชาชนซอยพระนาง
สนับสนุนการจัดสร้างห้องสมุดประชาชนแห่งใหม่จำนวน 8 แห่ง นอกจากนี้ยังผลักดันโครงการบ้านหนังสือ

– เทศบาลนครพิษณุโลก
จัดสรรงบประมาณในการสร้างหอสมุดเทศบาลนครพิษณุโลกแห่งใหม่
ให้มีบรรยากาศที่ทันสมัย และทำให้ห้องสมุดมีภาพลักษณ์ใหม่

– เทศบาลเมืองพัทลุง
บริจาคเงินให้ กศน. เพื่อใช้ในการสร้างอาคารห้องสมุดประชาชนหลังใหม่
เพื่อให้บริการการเรียนรู้ รวมถึงเป็นศูนย์ข้อมูลชุมชน และจังหวัดพัทลุง

– บริษัท ไทยบริดจสโตน จำกัด
จัดทำโครงการแหล่งการเรียนรู้ และให้การสนับสนุนในการสร้างห้องสมุดโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง
ในเขตจังหวัดปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา และสระบุรี จำนวน 10 โรงเรียน

– ศาสตราจารย์ คลินิก นายแพทย์ ปิยะสกล สกลสัตยาทร (อธิการบดีมหาวิทยามหิดล)
สนับสนุนในเรื่องการปรับปรุงอาคารหอสมุดศิริราช การจัดสร้างคลังหนังสือศิริราช
รวมถึงการพัฒนาบุคลากรในการจัดทำระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารคลังหนังสือ
และผลักดันจนหอสมุดศิริราช ได้รับรางวัลหน่วยงานดีเด่นในเรื่อง Quality Fair 2551

– รศ. ดร. พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ (คณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
ให้การสนับสนุนการพัฒนาห้องสมุด และสถานภาพของครูบรรณารักษ์
โดยให้ความสำคัญเรื่องการยกระดับสถานภาพครูบรรณารักษ์โรงเรียน

– นางสาวเพ็ญจรัส สิงห์ทอง (ผู้อำนวยการโรงเรียนตาคลีประชาสรรค์)
เป็นผู้บริหารที่เห็นความสำคัญของห้องสมุด และแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน
ดำเนินการระดมทุนจากแหล่งต่างๆ เพื่อสร้างห้องสมุดโรงเรียนที่สมบูรณ์ และทันสมัย

– รองศาสตราจารย์ วุฒิชัย กปิลกาญจน์ (อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
จัดสรรงบประมาณให้กับสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เพื่อใช้ในการพัฒนาห้องสมุดในส่วนต่างๆ เช่น การเปิดบริการห้องสมุดตลอดคืนในช่วงสอบ
หรือ โครงการบริการยืมคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับใช้งานภายในห้องสมุด

– ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม)
สนับสนุนเงินในการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ห้องสมุดโรงเรียนมงคลวิทยา
และพัฒนาองค์ความรู้สำหรับห้องสมุดชุมชนต้นแบบบนพื้นฐานคุณธรรม

– สหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจแห่งชาติ
สนับสนุนเงินทุนในการดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียนในชนบท
และบริการจัดสร้างอาคารห้องสมุดสำหรับโรงเรียนในชุมชนต่างๆ

– ศาตราจารย์ ดร. สุรพล นิติไกรพจน์ (อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
ให้การสนับสนุนในการพัฒนาห้องสมุด สัญญา ธรรมศักดิ์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เพื่อให้เป็นห้องสมุดกฎหมายที่ทันสมัย และสมบูรณ์แบบ

เป็นยังไงกันบ้างครับกับรายชื่อและข้อมูลของผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุดฯ ประจำปี 2551
ซึ่งสรุปว่ามีทั้งหมดจำนวน 5 หน่วยงาน และ 6 ท่าน

ผมก็ขอเป็นตัวแทนของคนที่อยากเห็นห้องสมุดเมืองไทยพัฒนา
ก็ขอขอบคุณแทนบรรณารักษ์ และห้องสมุดต่างๆ ด้วยนะครับ
ที่ท่านและหน่วยงานให้การสนับสนุนสิ่งดีๆ เพื่อสังคมไทย