Change the Game โลกเปลี่ยน ห้องสมุดเปลี่ยน คนก็ต้องเปลี่ยน

Change the Game โลกเปลี่ยน ห้องสมุดเปลี่ยน คนก็ต้องเปลี่ยน

วันนี้มาเปิดหูเปิดตาและอัพเดทความรู้ในแบบงานประชุมนานาชาติ (International Conference) ของวงการห้องสมุดในระดับนานาชาติอีกงานหนึ่งที่จัดในประเทศไทย งานนี้ชื่อเต็มๆ คือ “2018 OCLC Asia Pacific Regional Council Conference” ธีมของงานนี้ก็คือ “Change the game” เอาเป็นว่าในวันนี้มีอะไรมาอ่านได้เลยครับ

https://www.oclc.org/en/events/councils/2018-19/asia-pacific-regional-council-meetings-home.html

ทำไมผมถึงมางานนี้
ผมรู้จักงานนี้จากเว็บไซต์ของสมาคมห้องสมุดฯ “The OCLC Asia Pacific Regional Council Meeting 2018
http://tla.or.th/index.php/news-and-events/news-and-events/activities-2561/242-oclc2018
ซึ่งหากดูในเนื้อหาของข่าวมีระบุประโยคหนึ่งที่น่าสนใจมาก คือ “register to attend for free!” ใช่ครั้บ “มันฟรี” อีกจุดหนึ่งที่ทำให้ผมต้องรีบลงทะเบียน คือ งานนี้มี speaker ท่านหนึ่งเป็นแรงบันดาลใจของผม นั่นคือ Skip Prichard นั่นเอง

เอาเป็นว่าเข้าสาระกันเลยดีกว่า วันนี้ผมฟัง session ไหนบ้าง

————————————————————————–

1. How can we change the game? โดย Skip Prichard

เริ่มจากที่ speaker นำเสนอเรื่องรอบๆ ตัวที่มีการเปลี่ยนแปลงไป เช่น
แผนที่แบบกระดาษ กลายเป็น แผนที่ที่ดูจากคอมพิวเตอร์ จากโทรศัพท์มือถือ
ตู้โทรศัพท์หยอดเหรียญ ที่ไม่มีใครใช้อีกแล้ว กลายเป็น ทุกคนมีโทรศัพท์ในมือของตนเอง
การเฝ้าบ้านที่เคยใช้สุนัข กลายเป็น เราดูแลบ้านผ่านโทรศัพท์มือถือ (Smart home)

จากนั้นก็เหล่าถึงคำว่า เกมส์ ให้เราเข้าใจมากขึ้น จากพัฒนาการแบบง่ายๆ
ตู้เกมส์จอดำ – เกมส์แบบตลับ – เกมส์คอมพิวเตอร์ – เกมส์ออนไลน์ – เกมส์ผ่านแว่น VR – เกมส์ที่รวมกับโลกจริงอย่าง AR
สิ่งเหล่านี้ใครเป็นคนเปลี่ยน คนหรือเทคโนโลยี

4 จุดเปลี่ยนที่ Speaker กล่าวถึง​ คือ
1) เปลี่ยนกรอบ/เปลี่ยนสิ่งที่ต้องเห็น
2) เปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงานใหม่
3) เปลี่ยนความคิดของตัวเอง
4) เปลี่ยนวิธีการเล่าใหม่ๆ

บทสรุปของจุดเปลี่ยนทั้ง 4 ต้องเริ่มจากตัวเราเอง เปลี่ยนที่ตัวเราแล้วส่งต่อการเปลี่ยนแปลงให้คนอื่น
อย่าสั่งให้คนอื่นเปลี่ยนโดยที่ตัวเองทำแค่สั่ง เพราะสุดท้ายมันไม่มีประโยชน์

นอกจากเรื่องที่ต้องเปลี่ยนแล้ว ขอให้ระวังเพราะมีบางเรื่องที่เราไม่ควรเปลี่ยนไปตามกระแส ซึ่งมี 4 อย่างเช่นกัน ได้แก่
1) คุณค่าของห้องสมุด
2) หลักการพื้นฐานของห้องสมุด
3) จุดประสงค์ของการทำงานห้องสมุด
4) ความหลงใหลที่คุณมีในงานห้องสมุด

———————————————————————-—-

2. Collaboration, Visibility and Data-driven decision making โดย Ellen Hartman

ถึงข้อมูลที่เอามาแสดงมันจะเยอะแค่ไหน​ก็ตาม แต่ Speaker ก็ไม่ได้กล่าวถึงคำว่า​ “Big Data”​ เลย​ แต่จะบอกถึง​ “power ของความร่วมมือ”​ และ “การนำแนวคิด​ data driven มาใช้”

จุดแรกของการได้มาซึ่งข้อมูล​ คือ​ WORLDSHARE และ​ WORLDCAT ซึ่งปัจจุบันทั้งสองระบบทำงานบน CLOUD BASE SYSTEM

ทำความรู้จักกับระบบ​ Worldshare ในแง่มุมต่างๆ
– Power of cooperative cataloging
– WORLDCAT knowledge based
– Freely available and open access content
– Shared license template
– Shared vendor information center

ในฐานะของการ​ shared content หรือ​ practical content หน่วยงาน OCLC มี​ Community center ที่​ active ตลอด​ และมากไปกว่านั้นยังมี​ Developer​ network ที่พัฒนาการเชื่อมต่อระบบกับข้อมูลด้านอื่นๆ​ ที่สำคัญอีกด้วย

เรื่องต่อมาที่สำคัญพอๆ กับระบบ Worldshare และ Worldcat คือ​
– แล้วห้องสมุดจะเอาข้อมูลไปใช้ได้ยังไง
– เราจะหาข้อมูลที่ต้องการได้จากที่ไหน
– การออกแบบ​ ux เกิดจากการวิเคราะห์​ web analytics และ​ การหา best practices ซึ่ง OCLC ก็พัฒนาเรื่องนี้มาตลอด

พฤติกรรมผู้ใช้ในการค้นข้อมูล​
– ใช้​ 5 คำในระบบห้องสมุด​ ใช้​ 3 คำใน​ google
– หน้าจอที่ใช้ง่ายมีผลต่อการค้นหาด้วย
– อัลกอริทึ่มในการแสดงผล​มีความถูกต้องเพียงใดก็มีผล
– ฟีเจอร์ใหม่ๆ​ ที่น่าสนใจ​ ช่วยเพิ่มจำนวนการใช้ได้

OCLC​ ให้ความสำคัญกับเชื่อมโยงข้อมูล​ ไม่ใช่​ CATALOG ให้ห้องสมุดตัวเองเพียงอย่างเดียว​ แต่ยังเชื่อมโยงและส่งต่อให้​ partner อย่าง​ google Amazon​ ด้วย เช่น​ หากเราค้นข้อมูลหนังสือใน​ google​book จะสามารถดูห้องสมุดที่มีหนังสือเล่มนั้นที่อยู่ใกล้เราที่สุดได้ด้วย

From​ data to insight นำข้อมูลไปให้ผู้บริหารดูได้อย่างไรบ้าง​ ข้อมูลสามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจได้
– ใช้เพื่อวางแผนเรื่องงบประมาณ
– ใช้เพื่อคัดเลือกทรัพยากร​ เช่น​ วารสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ได้ถูกใช้​ เราควรต่ออายุการสมัครสมาชิกหรือไม่
– ใช้เพื่อบริหารจัดการห้องสมุดสาขา
– ใช้ในการนำเสนอคุณค่าของการมีห้องสมุด
– ใช้ในการกำหนดตัวชี้วัดที่วัดผลได้

ที่สำคัญข้อมูลที่จะนำมาให้ผู้บริหารหรือผู้ใช้ดู​ อย่าลืมทำ visualized เพื่อให้เห็นภาพด้วยนะ​ ไม่งั้นดูไม่รู้เรื่อง

————————————————————————–

3. Evolving Scholarly Record โดย Aaron Tay และ Titia van der Werf

Speaker 1 Aaron Tay จาก SMU (Blogger : http://musingsaboutlibrarianship.blogspot.com/)

ตำแหน่งงานที่ทำอยู่ คือ Librarian Analytics ซึ่งทำอะไรบ้าง
– ศึกษานโยบายขององค์กร และนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อหาโอกาสให้กับองค์กร
– ศึกษาเรื่องใหม่ๆ ที่เกี่ยวกับข้อมูล (Big data)

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้งาน/เอกสารทางวิชาการเปลี่ยนไป มี 3 เรื่อง ดังนี้
1. ความหลากหลายในการจัดเก็บ
2. สารสนเทศแบบเปิด (Open Access)
3. เทคโนโลยีใหม่ๆ (New Technology)

จากทั้งสามเรื่องทำให้เรามีบทบาทใหม่ๆ เช่น
– รวบรวมและจัดเก็บตัวแปรใหม่ๆ ทั้งในเรื่องของ inputs, processes, outputs *** อันนี้คืองานเทคนิคแบบใหม่ๆ หรือเปล่า
– ค้นหาและอำนวยความสะดวก *** อันนี้คืองานบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าหรือเปล่า
– การให้การศึกษาในเรื่องกระบวนการและเทคโนโลยีใหม่ๆ *** งานสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องสารสนเทศหรือเปล่า

จะเห็นได้ว่าไม่ได้ต่างจากงานเดิมนะ แต่แค่เราต้องรู้เรื่องใหม่

ตัวอย่างที่น่าสนใจ (Open Access + ML)
Scholarcy – auto summarization
Scite – semantic parsing of citations

สุดท้ายตัดจบแบบเบาๆ ว่า ข้อมูลใน scholar ไม่ใช่ของห้องสมุดแต่ห้องสมุดจะ take role ในเรื่องของการอำนวยความสะดวก และพัฒนาเครื่องมือต่างๆ เพื่อทำให้ผู้ใช้เข้าถึงเรื่องต่างๆ ได้ง่าย

Speaker 2 (Titia van der Werf) ได้กล่าวถึงเรื่องบทบาทของ OCLC Research ว่าเป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นมาเพื่อศึกษาเรื่องใหม่ๆ ในวงการ เช่น การใช้สื่อสังคมออนไลน์ การเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อใหม่ๆ อีกเรื่องที่ถูกพูดถึงเยอะ คือ Lifelong Learning (Trend ในวงการศึกษา) ซึ่ง OCLC ก็ได้จัดทำคอร์สศึกษาระยะสั้นเพื่อให้เกิดการเรียนการสอนและออกใบประกาศนียบัตรได้

ทำไม Scholar ต้องเปลี่ยน : เพราะในยุคเดิมเราพูดแค่เรื่องเอกสารที่จับต้องได้เพียงอย่างเดียว แต่ปัจจุบัน Landscape ของเรื่องนี้มันขยายตัวตามสื่อสังคมออนไลน์ยุคใหม่

Factor สำคัญที่ทำให้เกมส์เปลี่ยน
1. Competition (มหาวิทยาลัย, สถานศึกษา, สำนักพิมพ์)
2. Digital (เทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว)
3. Library Stewardship (การดูแลห้องสมุด)

—————————————————————————————–

4. Transforming trend insights into innovations โดย Nathania Christy

ก่อนเข้าเรื่องก็ตามธรรมเนียมคือแนะนำ​ trend watching ว่าเป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมข้อมูล​ Trend​ หลายๆ​ อุตสาหกรรม​ แล้วมีสำนักงานกระจายอยู่หลายเมือง​ ซึ่งแถวนี้เองออฟฟิตก็อยู่ที่สิงคโปร์

ทุกอย่างเปลี่ยนไป​ และเปลี่ยนไปเร็วมาก​ ตัวอย่างหนึ่งที่เราเห็น​ คือ​ ห้องสมุดไม่ได้มีแค่หนังสือให้ยืมเพียงอย่างเดียว​ แต่สามารถให้ยืมเครื่องครัวได้แล้ว

การที่เราต้องรู้​ Trend​ สาเหตุหลักๆ​ มาจากการที่เราต้องการรู้ความคาดหวังของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป

Trend​ หลักๆ​ ที่น่าจะเกี่ยวกับเรา​ ขอยกมา​ 4 ตัว​ ดังนี้
1.Status Sandcastle
2.Fantastic IRL
3.Magic Touchpoint
4.Village Squares

Trend ต่างๆ​ ตอบโจทย์ความต้องการของสังคมในแต่ละด้าน​ เช่น
ข้อที่​ 1 จะ​ link กับ​ Social​ status ทุกอย่างที่เราใช้​ ที่เราซื้อ​ ที่เราทำ​ เพราะหน้าตาของสังคม
ข้อที่​ 2 จะ​ link กับ​ Escapism การหนีออกจากโลกแห่งความเป็นจริง
ข้อที่ 3 จดไม่ทันครับ
ข้อที่​ 4 link กับเรื่อง​ connection ทุกคนต้องการเชื่อมต่อและติดต่อกับคนอื่น​ อยู่ด้วยตัวคนเดียวไม่ได้

โดยการบรรยายของ Speaker ได้ตั้งคำถามให้เราคิดด้วยทุกข้อ

ตัวอย่างที่วิทยากรนำมาพูดมันเยอะมากๆ​ ขอยกเป็นตัว​อย่างนะครับ​ เช่น
– The met การไปชมพิพิธภัณฑ์ในแบบที้ไม่เหมือนเดิม
– Ikea สอนทำอาหารอย่างง่าย
– Tabi kaeru เกมส์กบจากญี่ปุ่น
– พิพิธภัณฑ์​ louvre นำชมตามลองมิวสิควีดีโอของ​ beyonce
– man city and fantom นาฬิกาที่บอกตารางการแข่งขันฟุตบอลของทีม MAN​ city
– game minecraft ที่สอนให้เด็กรักการอ่าน
– instanovel ของ​ nypl
– wechat mini program
– Intime mall ที่มีบริการ​ magic mirror ในห้องน้ำหญิง
ฯลฯ

คลิปวีดีโอที่เปิดใน session นี้
1) Ikea​ easy recipes – https://youtu.be/uLCnabTJTIA
2) #airmaxline – https://youtu.be/v2_dxeq0LlQ
3) Heineken’s generation apart – https://youtu.be/82cPgU_D15s

ปิดท้ายด้วยการบอกว่า​ Trend​ ไม่ใช่ทุกอย่าง​ และถ้าอยากทำให้เห็นภาพชัด​ วิทยากรแนะนำเครื่องมือ​ the customer trend canvas

—————————————————————————————–

นี่ก็เป็นเพียงการสรุปตามความเข้าใจของผมนะครับ
ขอบคุณทุกท่านที่อ่านมาจนถึงบรรทัดนี้

ภาพบรรยายกาศโดยรวมในงานนี้

สรุปทักษะแห่งอนาคต การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ฉบับคุณครูบรรณารักษ์

เมื่อวานนี้ (13 ก.ค. 56) ผมได้รับเกียรติจากสำนักพิมพ์สกายบุ๊คส์ให้มาบรรยายในหัวข้อบรรณารักษ์ยุคใหม่ หัวใจนักพัฒนา เรื่อง “ทักษะแห่งอนาคต การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21” ที่จังหวัดอุบลราชธานี ผมเขียนเรื่องนี้ระหว่างที่รอขึ้นเครื่องกลับ กทม มีเวลาว่างพอสมควร จึงขอสรุปข้อมูลจากการบรรยายมาให้อ่านครับ

21st century skill for librarian

ทักษะแห่งอนาคต การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
โดย นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ นักจัดการความรู้อาวุโส สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (TK park)

สไลด์ที่ใช้บรรยายFuture skill for 21st century skill librarian version

[slideshare id=24173944&doc=futureskillfor21stcenturyskilllibrarianversion-130712072653-phpapp02]

หัวข้อที่ผมบรรยายในวันนี้ครอบคลุมในเรื่องดังต่อไปนี้
–  แนวคิดและทฤษฎีการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
–  หลัก 3Rs 4Cs ที่ควรรู้
–  รู้จักโลก – กระแสสังคม
– ไอซีทีเพื่อการศึกษา
– ความคิดสร้างสรรค์
– สื่อสังคมออนไลน์
– เครือข่ายสังคมออนไลน์

เนื้อหาโดยสรุป “สรุปทักษะแห่งอนาคต การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21”

1. แนวคิดและทฤษฎีการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

ที่มาของทักษะแห่งอนาคต มาจากภาคีความร่วมมือเพื่อทักษะการเรียนรู้ใน ศตวรรษที่ 21 (เครือข่าย P21) (Partnership for 21st Century Skills) ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นภาคีที่รวมกันระหว่าง บริษัทเอกชนชั้นนำขนาดใหญ่ เช่น บริษัทแอปเปิ้ล บริษัทไมโครซอฟ บริษัทวอล์ดิสนีย์ องค์กรวิชาชีพระดับประเทศ และสำนักงานด้านการศึกษาของรัฐ โดยกำหนดกรอบแนวความคิดออกมาดังนี้

– แกนวิชาหลัก และธีมหลักของศตวรรษที่ 21 ซึ่งทั้งสองส่วนนี้ต้องมีการบูรณาการวิชาให้ครอบคลุม
– ทักษะ 3 อย่างที่เด็กควรจะมี ได้แก่ ทักษะชีวิตและการทำงาน, ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม, ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี
– ระบบสนับสนุนการศึกษาของศตวรรษที่ 21

นอกจากนี้แนวความคิดหลักอีกเรื่องที่น่าสนใจ คือ TEACH LESS, LEARN MORE คือ สอนน้อยๆ แต่ให้เด็กเรียนรู้มากๆ

นอกจากนี้ยังอธิบายเกี่ยวกับเรื่อง PBL – Problem based Learning (กระบวนการเรียนรู้จากปมปัญหาสู่ปัญญา)

การเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะใฝ่หา ความรู้เพื่อแก้ปัญหา โดยเน้นผู้เรียนเป็นผู้ตัดสินใจในสิ่งที่ต้องการแสวงหาความรู้ และรู้จักการทำงานร่วมกันเป็นทีมภายในกลุ่มผู้เรียน โดยผู้สอนมีส่วนร่วมน้อยที่สุด ซึ่งการเรียนรู้จากปัญหาอาจเป็นสถานการณ์จริง (ที่มาจาก ส่วนส่งเสริมวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์)

2. หลัก 3Rs 4Cs ที่ควรรู้

3Rs มาจาก

Reading การอ่าน
Writing การเขียน
Arithmetic คณิตศาสตร์

และ 4Cs มาจาก

Critical Thinking การคิดวิเคราะห์
Communication การสื่อสาร
Collaboration ความร่วมมือ
Creativity ความคิดสร้างสรรค์

3. รู้จักโลก – กระแสสังคม — โลกไม่ได้กลมเหมือนที่เราคิดแล้ว มันแบนลงจริงๆ ตามอ่านหนังสือเรื่อง The world is flat ต่อนะ

10 เหตุการณ์ที่ทำให้โลกแบน (ข้อมูลจาก http://www.gotoknow.org/posts/308285 (อ.แอมมี่))

1. วันที่ 9 พ.ย. 1989 กำแพงเบอร์ลินถูกทำลาย ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการเริ่มโลกไร้พรมแดน และหลังจากนั้นอีก 5 เดือน โปรแกรม Windows 3.0 เริ่มวางตลาด
2. บริษัท Netscape เข้าเป็นบริษัทมหาชน ซึ่งทำให้เกิดสิ่งสำคัญ 3 เรื่อง คือ 1)browser 2)www 3)dot com
3. การที่มีมาตรฐานและการเชื่อมโยงให้เกิดการสื่อสารกันได้ระหว่างผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์และโปรแกรม
4. การเปิดให้ใช้โปรแกรม Linux ฟรีแก่คนทั่วไป ทำให้เกิดรูปแบบใหม่ของการสร้างสรรค์
5. รูปแบบใหม่ของการร่วมกันในกระบวนการทำงาน โดยกิจกรรมต่าง ๆ ของบริษัท สามารถแยกออกไปทำนอกบริษัทในที่อื่นได้
6. การย้ายฐานการผลิต หรือแยกกิจกรรมต่าง ๆ ของบริษัทไปต่างประเทศ
7. การบริหารห่วงโซ่อุปทานในปัจจุบันทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก บริษัท Wal-Mart ซื้อของจากประเทศจีนเป็นมูลค่าอันดับที่ 8
8. การที่บริษัทเข้าไปทำงานต่าง ๆ ในบริษัทอื่น เช่น UPS ซึ่งขณะนี้รับทำงาน logistics ให้กับหลายบริษัท
9. เราสามารถหาข้อมูลให้ตัวเองได้อย่างง่ายดายจาก Internet และ search engine เช่น Google
10. เราจะสามารถเชื่อมต่อกับใครก็ได้ ที่ไหนก็ได้ ด้วยเครื่องมือที่หลากหลาย

นอกจากนี้ผมยังอธิบายถึง 10 เรื่องที่ต้องรีบทำความรู้จักเพื่อให้ทันต่อโลก คือ

1. The Long tail
2. The World is Flat
3. Critical Mass
4. Web 2.0
5. The Wealth of Networks
6. Free Economy
7. Crowdsourcing
8. Socialnomic
9. Wikinomic
10. Wisdom of Crowd

4.ไอซีทีเพื่อการศึกษา

การเรียนรู้มันเปลี่ยนไปเยอะแค่ไหน…ลองมองผ่านห้องสมุดจากอดีตถึงปัจจุบัน ความต้องการของผู้ใช้เปลี่ยนไป
หนังสือ –> สื่อมัลติมีเดีย –> คอมพิวเตอร์ –> Notebook/Netbook –> Tablet

คุณครูบรรณารักษ์ ต้อง [รู้จัก – เข้าใจ – นำไปใช้] ไอทีบ้างไม่ต้องเก่งถึงขั้นโปรแกรมเมอร์ เรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับไอที มีดังนี้

– ความรู้และทักษะในกลุ่มโปรแกรมสำนักงาน
– ความรู้และทักษะในกลุ่มโปรแกรมสำหรับสื่อ
– ความรู้และทักษะด้านการใช้งานระบบเครือข่าย
– ความรู้และทักษะในกลุ่มพื้นฐานคอมพิวเตอร์
– ความรู้และทักษะที่เกี่ยวกับอุปกรณ์อื่นๆ
– ความรู้และทักษะในกลุ่มการใช้งานอินเทอร์เน็ต
– ความรู้และทักษะการใช้งานเว็บไซต์ 2.0

นอกจากนี้ผมได้แนะนำวิธีการเลือก app สำหรับ tablet และ smart phone ด้วย

5. ความคิดสร้างสรรค์ – เป็นของทุกคนไม่ใช่เพียงแค่นักออกแบบเท่านั้น

– ความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้นได้ทุกเวลา บางครั้งแค่เพียงเราคิดจะแก้ไขปัญหาใดปัญหาหนึ่ง นั้นก็คือการสร้างความคิดสร้างสรรค์แล้ว
– แผนที่ความคิด (Mind Map) = เครื่องมือกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์

6. สื่อสังคมออนไลน์

– ทำความเข้าใจกับคำว่าเว็บ 2.0 ก่อน แล้วจะรู้ว่าเว็บในยุคนี้จะเน้นเรื่องการแชร์และการแบ่งปันข้อมูลเป็นหลัก
– เครื่องมือที่แนะนำให้ใช้มี 10 อย่าง ดังนี้

1) Blog
2) Wikipedia
3) Twitter
4) Facebook
5) Google+
6) LinkedIn
7) Youtube
8) Slideshare
9) Flickr
10) Pinterest

7. เครือข่ายสังคมออนไลน์

– ผมแนะนำแฟนเพจ “เครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย” และข้อดีของการรวมกันเป็นกลุ่ม

เอาหล่ะครับนี้ก็เป็นเพียงบทสรุปที่ผมบรรยายให้เพื่อนๆ ฟัง งานวันนี้ขอบอกว่าแอบตกใจเล็กน้อยว่า คนมาเยอะมากเกือบ 300 คนเลย และเป็นครั้งแรกที่สำนักพิมพ์เชิญผมบรรยาย เอาไว้มีโอกาสคงได้บรรยายให้ที่อื่นฟังในเรื่องดังกล่าวต่อนะครับ สำหรับวันนี้ก็ขอบคุณครับ

ทักษะแห่งอนาคต การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูบรรณารักษ์

เมื่อปลายเดือนที่แล้ว (31 มกราคม) ได้มีโอกาสไปบรรยายให้ชมรมบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียน สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ในงานประชุมวิชาการ “บรรณารักษ์กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21”  วันนี้จึงขอนำสื่อ เอกสารประกอบการบรรยาย และสรุปการบรรยาย “ทักษะแห่งอนาคต การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูบรรณารักษ์” ให้เพื่อนๆ ได้ติดตามกัน

21st century skill for librarian

เอกสารประกอบการบรรยายสามารถชมได้ที่นี่เลย

[slideshare id=16363371&doc=21stcenturyskillforlibrarianok-130205100722-phpapp02]

วีดีโอที่ใช้ประกอบการบรรยาย

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=O35n_tvOK74[/youtube]

เนื้อหาการบรรยาย “ทักษะแห่งอนาคต การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูบรรณารักษ์” โดยสรุป

เทคโนโลยีทำให้โลกของเราเล็กลงเรื่อยๆ การติดต่อสื่อสารกันทำได้สะดวก การค้นหาความรู้ทำได้ง่าย ก่อให้เกิดโลกที่เต็มไปด้วยความรู้ ซึ่งเมื่อโลกเต็มไปด้วยความรู้ การเข้าถึงความรู้ทำได้ง่าย ข้อดีมีมากมายแต่ก็มีข้อเสียมากมายด้วยเช่นกัน มีสิ่งที่เราไม่รู้เยอะมาก แถมต้องมานั่งคิดวิเคราะห์ว่าข้อมูลหรือความรู้ไหนที่เป็นความจริง หรือข้อมูลไหนที่สามารถทำมาใช้ประโยชน์ได้

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เกิดจากแนวคิดของกลุ่มนักวิชาการในประเทศสหรัฐอเมริกา (ประเทศที่ขึ้นชื่อว่าการศึกษาดีเยี่ยม) เห็นว่าการศึกษาในโลกศตวรรษที่ 20 ซึ่งเน้นแต่เรื่องเทคโนโลยี มันไม่เหมาะกับการเรียนการสอนในยุคใหม่แล้ว และการเรียนในแบบเก่าไม่เหมาะกับสังคมปัจจุบันแล้ว จึงได้สร้างกรอบแนวคิดและหาแนวทางในการเรียนรู้แบบใหม่ๆ ซึ่งได้นำเสนอกรอบแนวคิดออกมาดังรูป

21st Century Skills

วิชาแกนที่ต้องเรียนรู้ (Core Subject)
– ภาษาอังกฤษ การอ่าน หรือศิลปะการใช้ภาษา
– ภาษาที่สำคัญของโลก
– ศิลปะ
– คณิตศาสตร์
– เศรษฐศาสตร์
– วิทยาศาสตร์
– ภูมิศาสตร์
– ประวัติศาสตร์
– การปกครองและหน้าที่พลเมือง

แนวคิดสำคัญในศตวรรษที่ 21 (21st CENTURY THEMES)
– จิตสำนึกต่อโลก
– ความรู้พื้นฐานด้านการเงิน และการเป็นผู้ประกอบการ
– ความรู้พื้นฐานด้านพลเมือง
– ความรู้พื้นฐานด้านสุขภาพ
– ความรู้พื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อม

ทักษะและความสามารถที่ต้องเรียนรู้เพิ่มเติมในศตวรรษที่ 21 มีอยู่ 3 ด้านใหญ่ๆ คือ
1. ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม มีดังนี้
– ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
– การคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหา
– การสื่อสารและการร่วมมือทำงาน

2. ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี มีดังนี้
– ความรู้พื้นฐานด้านสารสนเทศ
– ความรู้พื้นฐานด้านสื่อ
– ความรู้พื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

3. ทักษะชีวิตและการทำงาน  มีดังนี้
– ความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัว
– ความคิดริเริ่มและการชี้นำตนเอง
– ทักษะทางสังคมและการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม
– การเพิ่มผลผลิตและการรู้รับผิด
– ความเป็นผู้นำและความรับผิดชอบ

ทุกสิ่งจะสำเร็จได้ด้วยระบบสนับสนุนการศึกษาของศตวรรษที่ 21 ซึ่งประกอบด้วย
– มาตรฐานและการประเมินของศตวรรษที่ 21
– หลักสูตรและการสอนของศตวรรษที่ 21
– การพัฒนาทางวิชาชีพของศตวรรษที่ 21
– สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของศตวรรษที่ 21

นอกจากนี้ยังมีสูตรที่ถูกคิดออกมาเกี่ยวกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อีกตัวคือ 3Rs 4Cs ซึ่งประกอบด้วย
3Rs มาจาก
Reading การอ่าน
Writing การเขียน
Arithmetic การคำนวณ

4Cs มาจาก
Critical Thinking การคิดวิเคราะห์ Communication การสื่อสาร
Collaboration ความร่วมมือ
Creativity ความคิดสร้างสรรค์

เรื่องของแนวคิดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สิ่งที่น่าสนใจอีกเรื่องคือ การตอบสนองความต้องการทางประสบการณ์ของผู้เรียนรู้ ซึ่งผู้เรียนรู้ในยุคใหม่สนใจแนวคิดที่เกี่ยวกับเรื่องนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ในการต่อยอดสิ่งต่างๆได้

คำถามหลักของการนำเสนอของวงการต่างๆ “อะไรคือสิ่งที่เรากำลังนำเสนอ ?”
Starbucks นำเสนอ สถานที่ที่อยู่ระหว่างบ้านกับที่ทำงาน
Apple นำเสนอ เครื่องมือที่ใช้ปลดปล่อยศักยภาพของมนุษย์
บริษัทเงินทุน นำเสนอ หนทางในการไปสู่อิสระภาพทางการเงิน
แล้วโรงเรียน – ห้องสมุด – แหล่งเรียนรู้ กำลังนำเสนออะไร…. ทิ้งไว้ให้คิดนะครับ

แนวคิดในโลกมีมากมาย แต่ขอยกตัวอย่างแนวคิดที่น่าสนใจ และแนวคิดที่ควรรู้ดังนี้
– Long Tail
– Free economy
– Critical Mass
– Wikinomic
– Socialnomic
– Crowdsourcing

คุณครูและบรรณารักษ์ยุคใหม่กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จริงๆ แล้วแนวคิดก็คล้ายๆ กัน คือ เน้นเรื่องเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ สื่อสังคมออนไลน์ และการทำงานเป็นเครือข่าย

สุดท้ายแนะนำให้อ่านหนังสือ “ทักษะแห่งอนาคตใหม่ : การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21

Picture2

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นบทสรุปที่ผมบรรยาย “ทักษะแห่งอนาคต การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูบรรณารักษ์” นะครับ ขอบคุณที่ติดตามอ่านครับ

ทำงานห้องสมุดอย่างสนุก…ด้วยสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media)

วันก่อนมีโอกาสไปบรรยายเรื่อง “ทำงานห้องสมุดอย่างสนุก…ด้วยสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media)” ที่อุทยานการเรียนรู้ยะลา (TK park Yala) เลยอยากเอามาสรุปให้เพื่อนๆ ได้อ่าน

ไปชมสไลด์ที่ใช้บรรยายกันก่อน

[slideshare id=13954579&doc=libraryworkisfunbysocialmedia-120813010522-phpapp01]

เนื้อหาการบรรยายโดยสรุปมีดังนี้

จุดเริ่มต้นของสื่อสังคมออนไลน์และเครือข่ายสังคมออนไลน์คงหนีไม่พ้นเรื่องเว็บ 2.0 ซึ่งความหมายและจุดเด่นของเว็บ 2.0 คือ เป็นยุคใหม่ของการพัฒนาเว็บไซต์ และมีรูปแบบการพัฒนาเว็บไซต์ที่ให้ความสำคัญกับ “ผู้ใช้เว็บ” มากกว่า “ผู้พัฒนา” หรือ “เจ้าของเว็บไซต์” นอกจากนี้ยังเน้นแนวคิดการพัฒนาเว็บที่ให้ความสำคัญกับการปฏิสัมพันธ์ การทำงานร่วมกัน การผสานความร่วมมือทั้งโครงสร้างพื้นฐาน ระบบ ซอฟต์แวร์ และเนื้อหาเว็บ

จากความหมายและจุดเด่นข้างต้นของ “เว็บ 2.0” จะพบว่า”ผู้ใช้บริการมีความสำคัญอย่างมากต่อเว็บไซต์” และสิ่งที่ตามมา คือ “สังคมแห่งการแบ่งปันข้อมูล” โลกของการแบ่งปัน โลกของเว็บ 2.0 ทำให้เกิดเครื่องมือที่ใช้ในการแบ่งปันมากมาย เช่น

– ใครชอบแชร์เรื่องที่เขียนก็เน้น Blog
– ใครชอบแชร์รูปภาพก็ใช้บริการ Flickr
– ใครชอบแชร์วีดีโอก็ใช้บริการ Youtube
– ใครชอบแชร์เอกสารก็ใช้บริการ Scribd
– ใครชอบแชร์ไฟล์นำเสนอก็ใช้บริการ Slideshare

กรณีศึกษาสื่อสังคมออนไลน์ที่ควรนำมาใช้ : แนะนำวิธีใช้งานและการนำสื่อสังคมออนไลน์มาใช้สำหรับงานห้องสมุด ดังนี้ Blog, Facebook, Pinterest, Social cam และ Twitter ซึ่งเมื่อห้องสมุดหรือบรรณารักษ์นำมาใช้แล้วก็ควรจัดทำแผนและกำหนดทิศทางในการใช้งาน รวมถึงประเมินและวัดผลสัมฤทธิ์ของการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ด้วย ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล เช่น
Facebook Insight
Google Analytic

เอาเป็นว่าเครื่องมือต่างๆ เหล่านี้เมื่อใช้ให้ถูกจุด มีเป้าหมาย กลยุทย์ และการวัดผลที่ชัดเจน จะทำให้เครื่องมือต่างๆ เหล่านี้มีประสิทธิภาพในการใช้งานขึ้นมากกว่าเดิม

นี่ก็เป็นบทสรุปของสไลด์เรื่อง “ทำงานห้องสมุดอย่างสนุก…ด้วยสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media)” ครับ

ภาพบรรยากาศในช่วงที่บรรยาย

[nggallery id=60]

สรุปการบรรยาย : มาสร้างสื่อดิจิทัลง่ายๆ บนโลกออนไลน์

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (วันที่ 30 มิถุนายน 2555) ผมได้มีโอกาสมาบรรยายในงาน “การอบรมการใช้งานสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ TK” เรื่อง “มาสร้างสื่อดิจิทัลง่ายๆ บนโลกออนไลน์” วันนี้จึงขอแชร์เรื่องดังกล่าวให้เพื่อนๆ อ่าน

ก่อนอื่นมาดูสไลด์ที่ผมใช้ประกอบการบรรยายนี้กันก่อน

สรุปเนื้อหาจากการบรรยาย “มาสร้างสื่อดิจิทัลง่ายๆ บนโลกออนไลน์”

เรื่องของสื่อดิจิทัล กับ สื่อออนไลน์ มีความสอดคล้องและสัมพันธ์กันอย่างชัดเจนมากๆ เพราะเมื่อข่าวสาร ข้อมูล และความรู้อยู่บนโลกออนไลน์แล้ว จริงๆ มันก็คือสื่อดิจิทัลนั่นแหละ ซึ่งสื่อออนไลน์มันก็มีหลายประเภท เช่น
– เว็บไซต์
– ฐานข้อมูล
– เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ เช่น หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วารสารอิเล็กทรอนิกส์ นิตยสารอิเล็กทรอนิกส์ หนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
– ไฟล์เสียง
-ไฟล์วีดีโอ

และอื่นๆ อีกมากมาย เมื่อเทคโนโลยีมันเปลี่ยนแปลงเร็วมากๆ เราก็จะพบว่า สื่อดิจิทัลมากมายเปลี่ยนแปลงรูปลักษณะและการเข้าถึงได้ง่ายขึ้นด้วย

ตัวอย่างสื่อดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบ เช่น  E-Book ในอดีตเป็นเอกสารที่พิมพ์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ .txt .doc วันเวลาผ่านไปจากไฟล์เอกสารธรรมดาก็ถูกแปลงสภาพเป็นไฟล์ PDF จากนั้นก็เปลี่ยนเป็นไฟล์ Flash และนอกจากจะอ่านได้เพียงอย่างเดียวก็เปลี่ยนเป็นการนำสื่อวีดีโอและเสียงมาประกอบกับหนังสือด้วย ซึ่งนับเวลาการเปลี่ยนแปลงได้ไม่กี่ปีเท่านั้น

ในสไลด์ที่ผมจะแนะนำนี้เป็นเพียงตัวอย่างเว็บไซต์ในโลกของ 2.0 ที่เราสามารถนำมาใช้ในวงการศึกษาเท่านั้น (ตัวอย่างแค่เล็กน้อยเท่านั้น) ได้แก่

http://www.flipsnack.com = สร้าง E-book ง่ายๆ ด้วย Flipsnack เพียงแค่อัพโหลดไฟล์ PDF ที่ต้องการจะทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ขึ้นไปบนเว็บไซต์นี้ คุณก็จะได้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบ Flip Book ที่สวยงามแบบง่ายๆ ได้เลยทีเดียว

http://issuu.com = สร้างและค้นหา E-book แบบง่ายๆ ด้วย ISSUU นอกจากจะสร้าง E-book ได้แล้วเรายังสามารถหา E-book ที่น่าสนใจอ่านได้อีก ตัวอย่างที่ผมแนะนำคือ หนังสือแบบเรียนมานะมานีที่เราเคยเรียนกันในอดีตก็อยู่บนเว็บไซต์นี้เช่นกัน

http://paper.li/ = หนังสือพิมพ์ข่าวสารในแบบฉบับของเรา Paper.li หนังสือพิมพ์ที่รวบรวมข่าวสารที่เราสนใจ และแบ่งปันให้คนอื่นได้อ่าน….

http://youtubemp3.tv/ = แปลงวีดีโอบน Youtube ให้กลายเป็น MP3 คลิบวีดีโอไหนที่มีสาระน่ารู้และน่าสนใจ แล้วเราอยากเก็บไว้มาฟังคนเดียว ก็สามารถแปลงออกมาให้เป็นไฟล์ MP3 ได้

http://www.oxytube.com/ = เก็บวีดีโอบน Youtube มาไว้ในเครื่องของเราดีกว่า

http://www.uppsite.com/ = เปลี่ยนบล็อกของคุณให้กลายเป็น APP บนมือถือ

http://www.makebeliefscomix.com/Comix/ = สร้างการ์ตูนง่ายๆ ด้วย Makebeliefscomix (อันนี้ผมย้ำเยอะหน่อยเพราะว่าน่าสนใจมากๆ เหมาะแก่การนำไปจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน หรือแม้กระทั่งจัดเป็นคอร์สอบรมแก่หน่วยงานอื่นๆ ได้ด้วย)

และก่อนจะจบการบรรยายผมก็ย้ำถึงความสำคัญของโลกออนไลน์อีกครั้งว่า โลกแห่งสื่อสังคมออนไลน์มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ถ้าเรารู้จักที่จะเรียนรู้เราก็จะเจอหนทางและแนวทางที่จะนำมาใช้งานได้อีก

นี่ก็เป็นเพียงบทสรุปของการบรรยายของผมครับ

สื่อสังคมออนไลน์กับการใช้งานในห้องสมุดประชาชนจังหวัดร้อยเอ็ด

ช่วงเดือนที่ผ่านมามีบรรยายเยอะมากๆ เอาเป็นว่าจะเอามาสรุปให้อ่านทีละตอนแล้วกันนะครับ
วันนี้ขอคิวของการไปบรรยายที่จังหวัดร้อยเอ็ดก่อนแล้วกัน ในหัวข้อ “สื่อสังคมออนไลน์กับการใช้งานในห้องสมุดประชาชน

การบรรยายเรื่องนี้ผมใช้เวลาครึ่งวันบ่ายครับ เพราะช่วงเช้าหัวหน้าผมบรรยายไปแล้ว
(เพื่อนๆ สามารถอ่านได้ที่ “เส้นทางสู่บรรณารักษ์และห้องสมุดยุคใหม่ ณ ห้องสมุดร้อยเอ็ด“)

เริ่มจากไปดูสไลด์ที่ผมใช้บรรยายก่อนดีกว่า
Social media in library at roiet

เอาหล่ะครับมาอ่านบทสรุปของผมต่อแล้วกัน

การบรรยายเริ่มจากการเกริ่นเส้นทางจากบรรณารักษ์ในแบบเดิมๆ ไปสู่การเป็นบรรณารักษ์ยุคใหม่
และเกริ่นถึงหัวข้อที่จะบรรยายในวันนี้ คือ
– ทักษะไอทีที่บรรณารักษ์ทุกคนควรรู้….
– ทำความรู้จักสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media)
– กรณีศึกษาการใช้บล็อกสำหรับห้องสมุด
– กรณีศึกษาการใช้ Facebook สำหรับงานห้องสมุด
– แนวโน้มการก้าวสู่การเป็นห้องสมุดยุคใหม่ในโลก

บรรณารักษ์ยุคใหม่ต้องมีความรู้ด้านวิชาชีพ (บรรณารักษศาสตร์) และมีความรู้ด้านไอที ความคิดสร้างสรรค์ สื่อสังคมออนไลน์ เครือข่ายสังคมออนไลน์

การทำงานในห้องสมุดให้ราบรื่น จำเป็นที่จะต้องเห็นภาพรวม
และเครื่องมือที่จะช่วยให้เราเห็นภาพคือ Library Work Flow ตัวอย่างดังภาพ

ทำไมบรรณารักษ์ต้องรู้เรื่องไอที – ไอทีเข้ามาเกี่ยวข้องกับการทำงานของเรามากมาย เช่น งานบริหารห้องสมุด, งานจัดซื้อจัดหา, งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ, งานบริการต่างๆ, ระบบห้องสมุด

ไอทีสำหรับบรรณารักษ์ ผมย้ำแค่ 3 ประเด็น คือ ต้องรู้จัก เข้าใจ และเอาไปใช้ให้ถูก

ทักษะและความรู้ด้านไอทีที่บรรณารักษ์ควรรู้ มี 8 ด้าน ได้แก่
1. ความรู้และทักษะในกลุ่มโปรแกรมสำนักงาน
2. ความรู้และทักษะในกลุ่มโปรแกรมสำหรับสื่อ
3. ความรู้และทักษะด้านการใช้งานระบบเครือข่าย
4. ความรู้และทักษะในกลุ่มพื้นฐานคอมพิวเตอร์
5. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวกับอุปกรณ์อื่นๆ
6. ความรู้และทักษะในกลุ่มการใช้งานอินเทอร์เน็ต
7. ความรู้และทักษะการใช้งานระบบห้องสมุด
8. ความรู้และทักษะการใช้งานเว็บไซต์ 2.0

ประเด็นไอทีในข้อ 1-7 ยังเป็นเรื่องที่ทุกคนได้ใช้กันอยู่แล้วเพียงแต่ต้องฝึกฝนกันมากๆ แต่ในข้อที่ 8 อยากให้เรียนรู้กันมากๆ นั่นคือ เรื่องเว็บ 2.0 นั่นเอง

เว็บ 2.0 มีลักษณะดังนี้ (สรุปประเด็นตามสไลด์)
– ยุคใหม่ของการพัฒนาเว็บไซต์
– รูปแบบการพัฒนาเว็บไซต์ที่ให้ความสำคัญกับ “ผู้ใช้เว็บ” มากกว่า “ผู้พัฒนา” หรือ “เจ้าของเว็บไซต์”
– แนวคิดการพัฒนาเว็บที่ให้ความสำคัญกับการปฏิสัมพันธ์ การทำงานร่วมกัน การผสานความร่วมมือทั้งโครงสร้างพื้นฐาน ระบบ ซอฟต์แวร์ และเนื้อหาเว็บ
– การปรับเว็บไซต์จากการให้ข้อมูลเพียงทางเดียว เป็นการให้บริการและข้อมูลที่ “ผู้ใช้” เข้าถึงได้ง่ายและร่วมสร้าง แก้ไข


จาก “เว็บ 2.0” สู่ “ห้องสมุด 2.0” ซึ่งสิ่งที่เหมือนกัน คือ ให้ความสำคัญกับผู้ใช้บริการ รับฟังผู้ใช้บริการ …..

ในอดีตช่องทางที่จะทำให้คนทั่วไปรู้จักห้องสมุดบนโลกออนไลน์ มีเพียงวิธีเดียว คือ “เว็บไซต์ห้องสมุด” แต่ปัจจุบันมีเครื่องมือออนไลน์มากมายให้เลือกใช้ ที่สำคัญ คือ “ฟรี”

สังคมที่เต็มไปด้วยการแบ่งปันความรู้ – เครื่องมือที่ใช้ในการแบ่งปันความรู้

ใครชอบแชร์เรื่องที่เขียนก็เน้น Blog
ใครชอบแชร์รูปภาพก็ใช้บริการ Flickr
ใครชอบแชร์วีดีโอก็ใช้บริการ Youtube
ใครชอบแชร์เอกสารก็ใช้บริการ Scribd
ใครชอบแชร์ไฟล์นำเสนอก็ใช้บริการ Slideshare

กรณีศึกษาสื่อสังคมออนไลน์แบบต่างๆ เช่น Blog Facebook twitter

ทิศทางสำหรับห้องสมุดในอนาคต (Trend : Library in the Future)
1. Mobile applications.
2. E-book readers.
3. Niche social networking.
4. Google Applications.
5. Google Books.
6. Library socialized.
7. Open source software.
8. Podcasting and ItunesU.
9. Social networking classes for patrons.
10. Library Marketing.


นี่ก็เป็นการสรุปการบรรยายให้เพื่อนๆ ได้อ่านนะครับ เอาเป็นว่าขอจบแต่เพียงเท่านี้หล่ะกันครับ

ผมขอฝากเอกสารชิ้นนึงให้อ่าน เป็นบทความที่ผมเขียนลงวารสารโดมทัศน์ของธรรมศาสตร์
อยากให้อ่านเพราะว่าจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจในเรื่องของการใช้สื่อสังคมออนไลน์ได้เป็นอย่างดี
อ่านได้ที่ “คิดเล่นๆ และทำจริงๆ จึงได้เครือข่ายบรรณารักษ์ออนไลน์

เส้นทางสู่บรรณารักษ์และห้องสมุดยุคใหม่ ณ ห้องสมุดร้อยเอ็ด

เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ผมและหัวหน้าของผมได้มีโอกาสเดินทางไปจังหวัดร้อยเอ็ดเพื่อบรรยายให้บรรณารักษ์ที่ทำงานอยู่ในห้องสมุดจังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งในช่วงเช้าเป็นหัวข้อ “เส้นทางสู่บรรณารักษ์และห้องสมุดยุคใหม่” ซึ่งบรรยายโดยหัวหน้าของผม และตอนบ่ายเป็นหัวข้อ “สื่อสังคมออนไลน์กับการใช้งานในห้องสมุดประชาชน” โดยผมเอง

ซึ่งในขณะที่หัวหน้าของผมกำลังบรรยายในเรื่อง “เส้นทางสู่บรรณารักษ์และห้องสมุดยุคใหม่” ผมเองก็ได้ทำการถ่ายทอดสดการบรรยายในหัวข้อนี้ด้วย เผื่อที่ว่าเพื่อนๆ ที่ไม่มีโอกาสได้มาฟังก็สามารถอ่านการรายงานสดของผมได้

การรายงานสดของผมครั้งนี้ ผมใช้เครื่องมือสื่อสังคมออนไลน์ที่เรียกว่า Twitter
ซึ่งง่ายต่อการรายงานสดๆ มาก เพราะพิมพ์ข้อความละครั้งไม่เกิน 140 ตัวอักษรเท่านั้น
การดำเนินการรายงานสดของผมใช้ชื่อว่า “Live Tweet” และใช้คำหลักว่า “#Libraryatroiet

ลองอ่านดูแล้วกันนะครับว่า ผมรายงานเป็นอย่างไรบ้าง
[ผมจะเรียงจากข้อความแรกไปจนถึงข้อความสุดท้ายนะครับ]

Live Tweet : “เส้นทางสู่บรรณารักษ์และห้องสมุดยุคใหม่” #Libraryatroiet

– หัวข้อในช่วงเช้านี้ “เส้นทางสู่บรรณารักษ์ยุคใหม่ & เส้นทางสู่ห้องสมุดยุคใหม่” #LibraryatRoiet

– วิทยากรช่วงเช้านี้ หัวหน้าผมเอง คุณนพดล วีรกิตติ #LibraryatRoiet

– เมื่อกี้วิทยากรพูดถึงแนวทางในการพัฒนาห้องสมุดในต่างประเทศ โดยเฉพาะในอเมริกา #LibraryatRoiet

– การจัดชั้นวารสารที่น่าสนใจอยากให้ห้องสมุดดูร้านหนังสือเป็นตัวอย่าง #LibraryatRoiet

– ห้องสมุดหลายแห่งจัดนิตยสารโดยการเรียงตามตัวอักษร ดังนั้นผู้ใช้ที่ต้องการหานิตยสารที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกันลำบากในการเดินมากๆ #LibraryatRoiet

– ถ้าจัดชั้นนิตยสารตามหมวดหมู่ หรือ เรียงนิตยสารที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกันไว้ด้วยกัน ผู้ใช้สบาย บรรณารักษ์ก็ทำงานง่าย #LibraryatRoiet

– วิทยากรกำลังแนะนำเทคนิคเรื่องการนำ mindmap มาใช้ในการหาความคิดสร้างสรรค์ในห้องสมุด #LibraryatRoiet

– บรรณารักษ์มีเสื้อกันเปื้อยด้วย เท่ห์ป่ะหล่ะ #LibraryatRoiet

– Library2.0 แบบง่ายๆ ไม่ต้องใช้เทคโนโลยี คือ สมุดเซ้นเยี่ยมชมห้องสมุด และ สมุดแสดงความคิดเห็นในห้องสมุด #LibraryatRoiet

– สมุดเซ็นเยี่ยม หรือ สมุดแสดงความคิดเห็น ที่ดี คือ สมุดวาดเขียน (สมุดที่ไม่มีเส้นบรรทัด) จะดีมากๆ #LibraryatRoiet

– จะทำให้ห้องสมุดมีชีวิต บรรณารักษ์ต้องมีชีวิตชีวาก่อน ตื่นเช้าขึ้นมาแล้วรู้สึกอยากทำงาน #LibraryatRoiet

– อาชีพการจัดการความรู้เป็นอาชีพที่ต้องการมากในต่างประเทศ #LibraryatRoiet

– สังคมต้องช่วยให้คนมีความรู้ที่ดี เพื่อให้คนมีโอกาสในช่วง AEC ห้องสมุดคือหน่วยงานที่ต้องสร้างองค์ความรู้นั้น #LibraryatRoiet

– ในประเทศอเมริกา obama แต่งตั้งให้บรรณารักษ์ดูแลนโยบายการจัดการความรู้ของประเทศ ถ้าเมืองไทยหล่ะ ใครจะได้รับตำแหน่งนี้ #LibraryatRoiet

– ที่อุบลราชธานี ราชภัฎอุบลเองยังต้องมาดูงานที่ห้องสมุดประชาชน #LibraryatRoiet

– วิทยากรกำลังยกตัวอย่างห้องสมุดเทศบาลระยอง ที่เทศบาลกู้เงินจาก world bank เพื่อพัฒนาห้องสมุด #LibraryatRoiet

– Seattle ประชากรมีมากกว่า 168 เชื้อชาติ ห้องสมุดประชาชนจึงจัดคอร์สอบรมภาษาอังกฤษให้ฟรี #LibraryatRoiet

– ถ้าคนในพื้นที่มีความรู้มากขึ้น ก็มีโอกาสได้งานมากขึ้น ก็จะมีรายได้มากขึ้น ผลสุดท้ายท้องถิ่นก็เก็บภาษีได้มากขึ้น นี่แหละกลไล #LibraryatRoiet

– เหตุผลง่ายๆ ที่ท้องถิ่นต้องลงทุนพัฒนาห้องสมุดในท้องที่ของตัวเอง #LibraryatRoiet

– หนังสือดีๆ ควรมีในห้องสมุด #LibraryatRoiet

– ทำไมห้องสมุดถึงจะมีการ์ตูนไม่ได้หล่ะ การ์ตูนเป็นตัวเชื่อมระหว่างเกาหลีและญี่ปุ่น #LibraryatRoiet

– รักการอ่านต้องเริ่มจากความสนใจ ไม่ใช่ถูกบังคับ #LibraryatRoiet

– คนที่ทำงานด้านไอทีอยากได้องค์ความรู้ด้านไอทีมาก แต่หนังสือก็ราคาแพง ห้องสมุดทำไมถึงไม่จัดหาให้คนกลุ่มนี้บ้างหล่ะ #LibraryatRoiet

– การจะเลือกหนังสือเข้าห้องสมุด ต้องมีกรอบการเลือกที่ชัดเจน ไม่งั้นก็ได้หนังสือมาแบบไม่มีแก่นสาร #LibraryatRoiet

– การจะเลือกหนังสือเข้าห้องสมุดได้ เราต้องรู้จักพื้นที่ของเราก่อนว่าผู้ใช้บริการต้องการอะไร และเรามีอะไร #LibraryatRoiet

– ห้องสมุดวัสดุก็เป็นอีกตัวอย่างนึงที่ส่งเสริมการเรียนรู้ เพราะการเรียนรู้ไม่ได้มาจากแค่การอ่านเท่านั้น #LibraryatRoiet

– ตัวอย่างการเรียนรู้ด้วยองค์ความรู้ท้องถิ่น กรณี “ผ้าย้อมมะเกลือป้องกันแสงยูวี” เป็นเรื่องที่ห้องสมุดก็นำมาเล่าได้ #LibraryatRoiet

– ในท้องถิ่นจะมีองค์ความรู้ที่น่าสนใจอีกเพียบ หน้าที่นึงของห้องสมุด คือ การดึงองค์ความรู้เหล่านี้มาเล่าให้คนอื่นฟัง #LibraryatRoiet

– นึกอะไรไม่ออกให้เดินมาที่ห้องสมุด ห้องสมุดอยู่กับวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ได้ #LibraryatRoiet

– พักเบรค 15 นาทีครับ เดี๋ยวกลับมารายงานต่อครับ #LibraryatRoiet

– อธิบายในช่วงเบรคนิดนึง #LibraryatRoiet คือ การรายงาน live tweet การอบรมบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชนในจังหวัดร้อยเอ็ดซึ่งมีผู้เข้าร่วมอบรม 26 คน

– กลับมาจากเบรคแล้ว เริ่มด้วยของเด่นประจำจังหวัด #LibraryatRoiet

– ร้อยเอ็ดเด่นเรื่องข้าว (ข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุดอยู่ที่นี่) #LibraryatRoiet

– ช่วงนี้เน้นเรื่องการเอาองค์ความรู้ท้องถิ่นมานำเสนอในห้องสมุด ตัวอย่างกรณีศึกษาคือ “ตลาดนัดฮักสุขภาพ” ที่ห้องสมุดอุบลราชธานี #LibraryatRoiet

– คนรุ่นใหม่เรียนจบมาทำฟาร์ม ทำสวนกันเยอะเหมือนกันนะ “คนที่ต้องการใช้ความรู้เพื่อทำการเกษตร” ห้องสมุดจะทำอย่างไร #LibraryatRoiet

– การสังเกตความสนใจของผู้ใช้บริการแบบง่ายๆ คือ หยิบหนังสือมาดูด้านหลังตรงที่ประทับตรากำหนดส่ง ว่ามีเยอะแค่ไหน #LibraryatRoiet

– “คุณภาพชีวิต” เป็นประเด็นที่มีคนให้ความสนใจมาก #LibraryatRoiet

– การ survey แบบง่ายๆ และไม่ต้องใช้ค่าใช้จ่ายเลย คือ การพูดคุยกับผู้ใช้บริการมากๆ #LibraryatRoiet

– การหาความรู้ของคนในต่างจังหวัดมักจะมาจากการพูดคุย ถามกันเอง ไม่ใช่การมาอ่านหนังสือในห้องสมุด ดังนั้นห้องสมุดควรจะจัดเวทีให้ #LibraryatRoiet

– คนขายของไม่ได้ เพราะต้นทุนสูง ของจีนก็เยอะ แต่ถ้าเราหาโอกาสทางธุรกิจเจอก็ไม่ยากนะ ห้องสมุดต้องช่วยหาประเด็นเหล่านั้น #LibraryatRoiet

– ห้องสมุดไปศึกษาข้อมูลงานวิจัยผู้สูงอายุพบว่า “Lifestyle ของผู้สูงอายุในยุคนี้ต่างจากยุคก่อนหน้านี้” #LibraryatRoiet

– ผู้สูงอายุถามว่า “เวลาไปซื้อของตามศูนย์การค้าทำไมต้องให้พวกเขาเดินหลายๆ ชั้น ทีของเด็กยังมีเป็นมุมช้อปปิ้งของเด็กเลย” #LibraryatRoiet

– การจัดนิทรรศการของห้องสมุดแบบเดิมๆ คือ การจัดบอร์ด ไม่ว่าจะงานไหนก็เป็นการติดบอร์ด ไม่คิดว่าผู้ใช้บริการเบื่อบ้างหรอ #LibraryatRoiet

– คนพูดเรื่อง AEC กันเยอะ แต่ก่อนที่ห้องสมุดจะไปถึงขั้นนั้นได้ ห้องสมุดต้องให้ความสำคัญกับสารสนเทศท้องถิ่นก่อน #LibraryatRoiet

– คนอุบลราชธานีบางคนยังไม่รู้เลยว่าทำไมต้องมีคำว่า “ราชธานี” สารสนเทศท้องถิ่นสำคัญมากนะ #LibraryatRoiet

– Creative Economy = ความรู้ท้องถิ่นต่อยอดกับสินค้าและบริการ ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องที่สำคัญมาก #LibraryatRoiet

– อาจารย์ปัญญาเล่าเรื่องเมืองอุบลราชธานีได้สนุกมาก เราก็เชิญเขามาเล่าในห้องสมุดให้ผู้ใช้บริการฟังสิ #LibraryatRoiet

– จังหวัดมอบภาระในการเล่าเรื่องจังหวัดให้ห้องสมุดเป็นคนทำ #LibraryatRoiet

– การตั้งชื่อของกิจกรรมก็มีส่วนในการเรียกคนเข้าห้องสมุดเช่นกัน #LibraryatRoiet

– ขนาดภาพยนตร์ต่างๆ ยังมีการตั้งชื่อให้น่าสนใจเลย ดังนั้นห้องสมุดก็ควรตั้งชื่อกิจกรรมต่างๆ ให้โดนใจบ้าง #LibraryatRoiet

– ตัวอย่างชื่อกิจกรรมแบบโดนๆ “จัดร้านให้ได้ล้าน, นิทรรศการเฮ็ดจังสิเด้อจังสิมีโอกาส” ภาษาถิ่นก็เป็นอีกไอเดียนึง #LibraryatRoiet

– มีโอกาสและช่องทางมากมายในการพัฒนาห้องสมุด #LibraryatRoiet

– บรรณารักษ์ในอเมริกาใช้วิธีการสมัครเข้าร่วมกลุ่มชุมชนต่างๆ ในเมือง เช่น กลุ่มไพธอน เพื่อให้กลุ่มต่างๆ มาใช้พื้นที่ในห้องสมุด #LibraryatRoiet

– ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีเป็นสถานที่ที่มีคนมาขอใช้ถ่ายทำรายการมากมาย นี่คืออีกวิธีหนึ่งในการโปรโมทห้องสมุด #LibraryatRoiet

– เรื่องที่คิดไม่ถึง “มีครูมาขอเช่าพื้นที่ในห้องสมุดสอนหนังสือเด็กฟรี” สอนฟรีแถมให้เงินห้องสมุด มีแบบนี้ด้วย ห้องสมุดอุบลฯ #LibraryatRoiet

– วิทยากรกำลังเปิด stop motion เพื่อการแนะนำหนังสือในห้องสมุด ทำง่าย ใช้ได้จริง #LibraryatRoiet

– วิทยากรกำลังเล่าต่อถึงเรื่องการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานอื่นๆ กับห้องสมุด ห้องสมุดไม่ต้องทำงานคนเดียวแล้วนะ #LibraryatRoiet

– หลายๆ คนบอกว่าห้องสมุดจะพัฒนาได้ต้องขึ้นอยู่กับผู้บริหาร ซึ่งก็จริงส่วนนึง แต่ส่วนนึงผู้ปฏิบัติต้องพิสูจน์ให้ผู้บริหารเห็น #LibraryatRoiet

– วิทยากรกำลังเกริ่นถึงเรื่องสื่อสังคมออนไลน์กับงานห้องสมุดซึ่ง ช่วงบ่ายผมจะเป็นคนบรรยายเอง #LibraryatRoiet

– ช่วงบ่ายอาจจะไม่มีการรายงานสดๆ แบบนี้ แต่ผมสัญญาว่าจะเอาเรื่องที่ผมบรรยายมาโพสในบล็อกให้อ่านนะครับ #LibraryatRoiet

– แนะนำหลักสูตรการอบรม 10 ด้าน เพื่อการพัฒนาบรรณารักษ์ “ห้องสมุดมีชีวิตเมื่อคนทำงานมีชีวิตชีวา” #LibraryatRoiet

– การอบรม คือ การติดอาวุธทางปัญญาให้คนทำงาน ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความสุข #LibraryatRoiet

– ถ้าเรากลัวความผิดพลาด เราก็จะไม่มีแรงในการคิดสร้างสรรค์ #LibraryatRoiet

– การเรียนเรื่อง “การค้นหา” มันมีวิธีมากมาย #LibraryatRoiet

– วิธีการเขียนบล็อกที่ง่ายที่สุด คือ อย่าไปคิดว่าจะเขียนเพื่อเอารางวัลซีไรต์ #LibraryatRoiet

– Unconference ในวงการห้องสมุดก็น่าสนใจนะ #LibraryatRoiet

– ตัวอย่างงาน unconference “พรุ่งนี้บ่ายโมงไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนในโลกไปถ่ายรูปกัน” #photowalk #LibraryatRoiet

– ห้องสมุดสมัยใหม่ ต้องเปลี่ยนปัญหาของผู้ใช้บริการ มาเป็น ปัญหาของเรา เช่น ผู้ใช้ไม่ได้เอาบัตรมา เราก็ต้องให้ยืมได้ #LibraryatRoiet

– ผู้บริหารเตือนพนักงาน “คุณจะทะเลาะกับลูกค้าเพราะเงิน 50 บาทอย่างนั้นหรือ” เพราะหลังจากนั้นลูกค้าจะไม่กลับมาหาเราอีก #LibraryatRoiet #Like

– ความสุขของพวกเราคือ การเห็นผู้ใช้บริการมีความสุขกับการใช้ห้องสมุดที่พวกเราทำ #LibraryatRoiet

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นการสรุปประเด็นและเก็บตกไอเดียจากการบรรยายเรื่อง “เส้นทางสู่บรรณารักษ์และห้องสมุดยุคใหม่” โดยคุณนพดล วีรกิตติ นะครับ ส่วนบทสรุปในช่วงบ่าย เนื่องจากผมเป็นคนบรรยายเอง จึงไม่มีการทำ Live Tweet นะครับ แต่เดี๋ยวผมจะสรุปลงบล็อกให้อ่านในตอนหน้าแล้วกัน

สรุปการบรรยาย สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการบริการห้องสมุด

เมื่อวันอาทิตย์ที่มา (วันที่ 25 มีนาคม 2555) ผมได้รับเกียรติให้ไปเป็นวิทยากรการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการบริการห้องสมุด” ซึ่งจัดโดยห้องสมุดนงเยาว์ ชัยเสรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา สมาคมห้องสุมดแห่งประเทศไทยฯ ตามธรรมเนียมครับที่ผมจะต้องมาสรุปงานให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน

รายละเอียดเกี่ยวกับการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ เพื่อนๆ สามารถอ่านได้ที่
http://www.libraryhub.in.th/2012/02/28/workshop-facebook-for-library-service/

การบรรยาย แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ
– ช่วงเช้า เน้นทฤษฎี ความรู้ที่เกี่ยวกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ และแนะนำการใช้งาน Facebook เบื้องต้น
– ช่วงบ่าย เน้นการปฏิบัติ เริ่มตั้งแต่การสมัครใช้งาน Facebook การปรับแต่งหน้าตา และเครื่องมือที่ไม่ควรพลาด

ปล. สื่อสังคมออนไลน์มีมากมาย แต่หลักๆ วันนั้นผมลงรายละเอียดที่ Facebook Fanpage เป็นหลัก

Slide ที่ผมใช้บรรยายมีจำนวน 3 Slide ประกอบด้วย
1. เปิดมุมมองห้องสมุดในต่างประเทศ
2. พฤติกรรมของผู้ใช้ห้องสมุด “ระดับนักศึกษา” 2005-2010 (ไม่สามารถเผยแพร่ได้เนื่องจากยังไม่สมบูรณ์)
3. Facebook Fanpage สำหรับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์

ผมขอสรุปไปทีละ Slide เลยแล้วกันนะครับ เพื่อที่ว่าเพื่อนๆ จะได้เปิด  Slide และดูตามไป

1. เปิดมุมมองห้องสมุดในต่างประเทศ

Slide ชุดนี้ผมอยากให้ผู้ที่เข้าฟังการบรรยายได้รู้จักคำศัพท์และเครื่องมือต่างๆ กันสักหน่อย ซึ่งได้แก่ Blog, Wiki, IM, Tag, Widget, Library Search, RSS, Flickr, Ning, Facebook, Slideshare, Youtube, Scribd, Spokeo, Zoomii, Zotero, Yahoo Pipe, Bibme

2. พฤติกรรมของผู้ใช้ห้องสมุด “ระดับนักศึกษา” 2005-2010 (ไม่สามารถเผยแพร่ได้เนื่องจากยังไม่สมบูรณ์)

3. Facebook Fanpage สำหรับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์

Slide ชุดนี้เป็นเนื้อหาหลักของการบรรยายในวันนั้นเลย (จริงๆ เป็นสไลด์ชุดเดียวกับที่ผมบรรยายที่โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ซึ่งเพื่อนๆ สามารถอ่านได้จาก http://www.libraryhub.in.th/2012/02/16/facebook-fanpage-for-thai-junior-encyclopedia-project/) แต่ผมขอเอามาสรุปอีกครั้งก็แล้วกัน

เรื่องของความหมายของ Facebook คงไม่ต้องอธิบายกันแล้วเนื่องจากผู้ที่เข้าอบรมทุกคนใช้ Facebook กันอยู่แล้ว

รูปแบบการใช้ Facebook ในปัจจุบัน เราสามารถแบ่งได้เป็น 3 แบบใหญ่ๆ คือ
1. Profile
2. Group
3. Page

แต่ละแบบใช้งานและมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน

ในวงการห้องสมุดเมืองไทยก็มีความเข้าใจในเรื่องการใช้ Facebook กันผิดประเภทหลายแห่ง
ส่วนใหญ่มักจะสมัครใช้ Facebook ในแบบ Profile จำนวนมากเนื่องจากสมัครง่าย
แต่หลายๆ คนลืมคิดถึงข้อจำกัดด้านต่างๆ เช่น ความเป็นส่วนตัว จำนวนสมาชิก การวัดผลการใช้งาน…

ดังนั้นข้อสรุปแล้ว ผมจึงนำเสนอให้ ห้องสมุดใช้แบบ Page จะดีกว่า เพราะ
ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ (แม้ว่าผู้ใช้จะไม่ได้เล่น Facebook) จำนวนสมาชิกที่ไม่จำกัด และการวัดผลที่ชัดเจน

ตัวอย่าง Facebook Fanpage ในวงการห้องสมุดที่น่าสนใจ
– Tkpark อุทยานการเรียนรู้ (http://www.facebook.com/tkparkclub)
– Thailand Creative & Design Center (TCDC) (http://www.facebook.com/tcdc.thailand)
– ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี ศูนย์ความรู้กินได้ (http://www.facebook.com/Ubonpubliclibrary)
– เครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย (http://www.facebook.com/THLibrary)
– Thammasat University Libraries (http://www.facebook.com/pages/Thammasat-University-Libraries/100107346702609)

ข้อแนะนำสำหรับการใช้ Facebook Fanpage
1. คอยอัพเดทข่าวสารและกิจกรรมของห้องสมุดใหม่ให้ผู้ใช้บริการอย่างสม่ำเสมอ อยากปล่อยให้ข่าวไม่อัพเดทเกิน 1 เดือน
2. หากผู้ใช้บริการขอความช่วยเหลือผ่านเว็บไซต์ห้องสมุดหรือสื่อสังคมออนไลน์ เช่น ขอต่ออายุการยืมหนังสือ ห้องสมุดไม่ควรปฏิเสธ
3. ใส่ใจกับความคิดเห็นหรือคำถามของผู้ใช้บริการด้วย อย่าเงียบหายหรือละเลย พยายามตอบและให้บริการด้วยความเร็ว
4. ไม่นำเรื่องราวพฤติกรรมที่แย่ๆ ของผู้ใช้บริการมาลงในเว็บไซต์หรือสื่อสังคมออนไลน์ของห้องสมุด
5. พยายามพูดคุยหรือถามความคิดเห็นจากผู้ใช้บริการในห้องสมุดเกี่ยวกับสื่อสังคมออนไลน์บ้าง
6. การจัดกิจกรรมในห้องสมุดทุกครั้งควรนำมาลงในเว็บไซต์ห้องสมุดและสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อให้ผู้ใช้บริการติดตามข่าวสารของห้องสมุด

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นเพียงบทสรุปแบบคร่าวๆ ในวันนั้นนะครับ
ก่อนปิดบล็อกวันนี้ ผมขอขอบคุณ บริษัท Mercuri Data ด้วยนะครับที่สนับสนุนกิจกรรมในครั้งนี้

ภาพการอบรมในวันนั้นผมลงให้แล้วใน Facebook เพื่อนๆ สามารถเข้าไปชมภาพบรรยากาศได้เลยที่
http://www.facebook.com/media/set/?set=a.352474518127142.74790.196587720382490&type=1

แล้วอย่าลืมมากด Like เป็น Fanpage ของเครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย ด้วยนะครับ http://www.facebook.com/THLibrary

ภาพบรรยากาศการอบรมในวันนั้นทั้งหมด

[nggallery id=54]