นายห้องสมุดพาเที่ยวงานเทศกาลนิทานในสวน ปีที่ 9

สวัสดีครับเพื่อนๆ วงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทยทุกท่าน วันนี้นายห้องสมุดขอพาไปชมงาน “เทศกาลนิทานในสวน ปีที่ 9” นะครับ

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับงานนี้
ชื่องาน : “เทศกาลนิทานในสวน ปีที่ 9”
วันเวลาในการจัดงาน : เริ่มวันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม 2555 – 16 กุมภาพันธ์ 2556 (ทุกวันเสาร์) เวลา 16.00-17.30 น.
จัดโดย : มูลนิธิเอสซีจี และมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก

งานเทศกาลนิทานในสวนจัดมาแล้วหลายปี กิจกรรมนี้ได้จัดมาอย่างต่อเนื่องและความน่าสนใจของงานนี้ก็มีหลายอย่างด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการเล่านิทาน งานเสวนาจากผู้เชี่ยวชาญด้านการเล่านิทาน รวมถึงการเปิดตัวหนังสือภาพในโครงการนำหนังสือดีสู่เด็กไทย ปีที่ 5

สวนสาธารณะที่จัดงานนี้มีอยู่ 3 แห่งด้วยกัน ดังนี้
1. สวนลุมพินี (วันที่ 8, 15, 22 ธันวาคม 2555 และ 5 มกราคม 2556)
2. สวนรถไฟ (วันที่ 12, 19, 26 มกราคม และ 2 กุมภาพันธ์ 2556)
3. สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ (วันที่ 9, 16 กุมภาาพันธ์ 2556)

ภายในงานเทศกาลนิทานในสวนมีสิ่งที่น่าสนใจดังนี้
– การแสดง (ละครนิทาน)
– แนะนำประสบการณ์การเล่านิทาน
– ลานเสวนา
– งานประดิษฐ์
– ป้ายนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับการเล่านิทาน
– หนังสือนิทานภาพที่น่าสนใจให้เด็กๆ และพ่อแม่หยิบอ่าน


ความประทับใจในงานนี้ของผม คือ
– ได้เห็นพ่อแม่พาเด็กๆ มานั่งฟังนิทานและอ่านหนังสือนิทานร่วมกัน
– ได้ข้อมูลและข้อคิดดีๆ เกี่ยวกับการเล่านิทานให้เด็กๆ ฟัง
– กิจกรรมครอบครัวที่น่าสนใจ

ชมวีดีโอที่ผมถ่ายมาเป็นตัวอย่างงานได้ที่ http://socialcam.com/v/COBamROb

เอาเป็นว่าเดี๋ยวผมจะถ่ายภาพกำหนดการของงานเทศกาลนิทานในสวน ปีที่ 9 ให้เพื่อนๆ ได้ดูและถ้าว่างก็ลองมาเข้าร่วมงานดูนะครับ

ในวันที่ผมมานี้ได้มีโอกาสดูละครนิทานเรื่อง “บ้านหลังน้อยยามค่ำคืน” โดยกลุ่มนิทานกระดานหก ได้ฟังประสบการณ์ในการเล่านิทานจาก ผศ. รพินทร คงสมบูรณ์ (อาจารย์ภาคบรรณฯ จาก มศว.) แถมด้วยเสวนา “รักลูกให้ถูกทางอย่างพ่อแม่มืออาชีพ” โดย พญ. ปริชวัน จันทร์ศิริ

เอาเป็นว่ายังมีอีกหลายสัปดาห์ที่จัดนะครับ แนะนำให้มาลองฟังดูแล้วจะรู้ว่าน่าประทับใจจริงๆ

ภาพบรรยากาศในงานเทศกาลนิทานในสวน ปีที่ 9

[nggallery id=62]

นายห้องสมุดพาชมห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้สวนลุมพินี

นายห้องสมุดไม่ได้พาเพื่อนๆ ไปเที่ยวห้องสมุดซะนานเลยนะครับ วันนี้ผมจึงขอนำเสนอห้องสมุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ซึ่งห้องสมุดแห่งนี้ผมก็ไปค่อนข้างบ่อยเช่นกัน นั่นคือ “ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้สวนลุมพินี” นั่นเอง เอาเป็นว่าในห้องสมุดแห่งนี้มีอะไรที่น่าสนใจบ้างไปอ่านกันดู

ข้อมูลทั่วไปของห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้สวนลุมพินี (สังกัด กทม นะครับ) (ข้อมูลจากห้องสมุดประชาชนกรุงเทพฯ)

ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้สวนลุมพินี ตั้งอยู่ในบริเวณสวนลุมพินี ด้านหลังพระบรมรูปอนุสาวรีย์รัชกาลที่ 6 ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ เป็นห้องสมุดประชาชนแห่งแรกในกรุงเทพมหานคร ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2498 และเปิดดำเนินงานครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2499 มีลักษณะอาคารชั้นเดียว ขนาดพื้นที่ 499 ตารางเมตร ต่อมาในปีพ.ศ. 2534 ได้ทำการปรับปรุงห้องสมุดโดยก่อสร้างอาคารใหม่เพิ่มเติมให้เป็นรูปตัวที (T) มีชั้นใต้ดิน ขนาดพื้นที่ 198 ตารางเมตร

การให้บริการภายในของห้องสมุดก็จะคล้ายๆ กับห้องสมุดประชาชนที่อื่นๆ นั่นแหละครับ เช่น

หนังสือสำหรับผู้พิการทางสายตา

– บริการที่นั่งอ่านหนังสือ
– บริการยืมคืน
– บริการสื่อมัลติมีเดีย
– บริการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
– บริการหนังสืออ้างอิง
– บริการหนังสือสำหรับผู้พิการทางสายตา (อันนี้เยี่ยมมากๆ)
– บริการมุมเด็ก
– บริการสอนใช้คอมพิวเตอร์
– บริการกาแฟ-เครื่องดื่ม
ฯลฯ อีกมากมาย ต้องลองไปใช้กันดูนะครับ

การสมัครสมาชิกเพียงแค่เพื่อนๆ นำบัตรประชาชนมา และเสียค่าสมาชิกเพียง 50 บาทต่อปี ก็จะได้รับบัตรสมาชิกอันแสนสวย
สมาชิกจะได้รับสิทธิ์ในการยืมหนังสือ 1 สัปดาห์ 4 เล่ม ครับ ถ้ายืมเกินก็เสียค่าปรับวันละ 1 บาทต่อ 1 เล่มครับ

เอาหล่ะครับ Hilight จุดเด่นของห้องสมุดแห่งนี้ที่ผมไม่พูดถึงไม่ได้
คือ ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดประชาชน กับ บริษัท Microsoft นั่นเอง
แล้ว Microsoft มาช่วยอะไรห้องสมุดแห่งนี้บ้างหล่ะ …
– คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในมุมเรียนรู้ด้วยตนเอง และห้องคอมพิวเตอร์
– CAI และสารานุกรมออนไลน์ Microsoft Encarta เพื่อการเรียนรู้มากมาย
– WIFI hotspot เพื่อการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
– จัดบุคลากรมาสอนการใช้โปรแกรมต่างๆ

มาที่นี่แล้วทำให้ผมรู้สึกว่า “ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้” ของกรุงเทพฯ มันช่างเป็นสถานที่ๆ เหมาะแก่การเรียนรู้ตลอดชีวิตจริงๆ
เอาเป็นว่าถ้าเพื่อนๆ ว่าง แล้วไม่รู้จะทำอะไรก็มาลองใช้ห้องสมุดแห่งนี้ได้นะครับ

ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้สวนลุมพินี เปิดให้บริการ วันอังคาร – เสาร์ ระหว่างเวลา 08.30 – 20.00 น. วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ระหว่างเวลา 09.00 – 17.00 น. ปิดบริการในวันจันทร์ ติดต่อสอบถาม โทร. 02-252-8030

ชมภาพห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้สวนลุมพินีทั้งหมดได้เลยครับ

[nggallery id=52]

ห้องสมุดประชาชนบางแห่งคนก็เข้าเยอะนะ

เมื่อวานผมเขียนเรื่อง “ทำไมคนถึงไม่เข้าห้องสมุดประชาชน ???
ในตอนจบของเรื่องนั้น ผมได้กล่าวไว้ว่า ห้องสมุดประชาชนบางที่ก็มีผู้ใช้บริการเยอะนะ
วันนี้ผมจึงขอมาเล่าเรื่องนี้ให้จบ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติให้เพื่อนๆ

lumpinidll0111-copy

ตัวอย่างที่ผมจะยกขึ้นมาเพื่อนๆ บางคนอาจจะเคยได้ใช้บริการ
และผมก็เชื่อว่าบางคนอาจจะไม่เคยแม้แต่จะได้ยินชื่อเลยก็ว่าได้

เริ่มจากที่แรก ?ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้สวนลุมพินี?
สถานที่ตั้งผมคงไม่ต้องบรรยายมากนะครับ เพราะชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าอยู่ใน ?สวนลุมพินี?
สภาพอาคารเป็นแค่อาคารชั้นเดียวเท่านั้น
แต่ภายในมีการจัดพื้นที่ออกเป็นโซนต่างๆ อย่างที่ห้องสมุดเขาจัดกันนั่นแหละ

จุดเด่นของ ?ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้สวนลุมพินี?
– ตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพฯ ในสวนสาธารณะ
– ได้รับการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีจาก บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด
– มีความทันสมัยด้านการสืบค้นข้อมูล
– บรรณารักษ์อัธยาศัยดี ยิ้มแย้ม และให้ความช่วยเหลือได้ดี
– การจัดมุมต่างๆ แบ่งแยกอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นมุมสืบค้น มุมหนังสือเด็ก มุมบริการคอมพิวเตอร์

เพียงแค่นี้ห้องสมุดแห่งนี้ก็เรียกได้ว่าหัวกระไดไม่แห้งเลย
เพราะว่ามีคนแวะเวียนมาอ่านหนังสือ ทำงาน กันอย่างไม่ขาดสายเลย

ต่อด้วยอีกตัวอย่างนึงแล้วกัน ?ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ ซอยพระนาง?
ห้องสมุดแห่งนี้อยู่ใกล้ๆ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเองครับ
เพื่อนๆ สามารถเดินจากอนุสาวรีย์ไปที่ห้องสมุดแห่งนี้ได้ครับ
ห้องสมุดแห่งนี้ ประกอบด้วย 2 อาคาร อาคารนึงก็มี 3 ชั้นครับ
ภายในมีการจัด และตกแต่งได้ดี และจัดสรรพื้นที่ได้เหมาะสม

จุดเด่นของ ?ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ ซอยพระนาง?
– สามารถเดินทางมาที่นี่ได้สะดวก (อนุสาวรีย์ชัยมีรถไปเกือบทุกที่ของกรุงเทพฯ)
– มีการตกแต่งสถานที่ และจัดการภายในที่ดี
– ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมีครบครัน เช่น อินเทอร์เน็ต, wireless, ระบบสืบค้น ฯลฯ
– มีการจัดกิจกรรมกลางแจ้งบ่อยครั้ง จึงทำให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง
– หนังสือที่ให้บริการมีความทันสมัย และน่าติดตาม (หนังสือใหม่)
– มีการบริการสื่อที่ค่อนข้างหลากหลาย เช่น ดีวีดี, โปรแกรมช่วยสอน ฯลฯ

จากที่ได้ยกตัวอย่างมาทั้งสองห้องสมุด ผมขอ สรุปปัจจัยที่ทำให้ห้องสมุดประสบความสำเร็จ ดังนี้
– อยู่ใกล้แหล่งชุมชน และการเดินทางสะดวก
– มีการจัดระเบียบ และตกแต่งภายในที่ชัดเจน และดึงดูด
– สื่อ หรือทรัพยากรในห้องสมุดมีความใหม่ และทันสมัยอยู่เสมอๆ
– มีการจัดกิจกรรม? หรือนิทรรศการเพื่อให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมมากขึ้น
– ผู้ที่ทำงานในห้องสมุด ต้องบริการด้วยใจ และเต็มที่ในการให้บริการ
– เทคโนโลยีสารสนเทศในห้องสมุด ก็เป็นอีกปัจจัยนึงในการพัฒนาห้องสมุด
– การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนกับห้องสมุด เช่น ให้การสนับสนุนห้องสมุด ฯลฯ

จริงๆ ยังมีมากกว่านี้อีกนะครับ ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับพื้นที่ ที่ตั้งของห้องสมุดนั้นๆ ด้วย
อ๋อแล้วก็พยายาม อย่าพยายามบอกว่า ?เพราะว่าคนไม่ชอบการอ่านครับ?
จริงๆ แล้ว คนอาจจะต้องการอ่านก็ได้ แต่จะสามารถสนับสนุนผู้ใช้เหล่านี้ได้แค่ไหนก็เท่านั้นเองครับ

ก่อนจากกันวันนี้ผมจะ็ขอจบเรื่องห้องสมุดประชาชนในสังคมไทยแต่เพียงเท่านี้
เอาไว้ว่างๆ ผมจะมาบ่นเรื่องนี้ให้เพื่อนฟังกันใหม่นะครับ