สวนหนังสือเจริญกรุงรับบรรณารักษ์ด่วน 1 ตำแหน่ง

เพื่อนๆ ที่กำลังหางานห้องสมุดหรือบรรณารักษ์อยู่ มาอ่านเรื่องนี้กันเร็ว วันนี้ผมมีงานห้องสมุดและบรรณารักษ์มาแนะนำอีกแล้ว เป็นงานบรรณารักษ์ในกรุงเทพฯ นี่แหละ และงานที่ว่าคือ “งานบรรณารักษ์ ณ สวนหนังสือเจริญกรุง

ใครที่ยังไม่รู้จักสวนหนังสือเจริญกรุง สามารถอ่านบล็อกผมย้อนหลังได้ครับ
พาชมห้องสมุดสวนหนังสือเจริญกรุง

ตำแหน่งงานบรรณารักษ์นี้รับด่วนมากๆ ครับ ใครที่สนใจอ่านต่อด้านล่างเลยครับ
(ปล. ขออนุญาตคัดลอกจาก Facebook เครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย มาลงนะครับ)

ตำแหน่งบรรณารักษ์นี้ต้องทำอะไรบ้าง
– ปฏิบัติงานตั้งแต่ 11.00 – 20.00 น.
– วิเคราะห์เลขหมู่ระบบดิวอี้และลงทะเบียนหนังสือ
– ห่อปกพลาสติกหนังสือก่อนขึ้นชั้นและซ่อมหนังสือ
– จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในห้องสมุด
– ประสานงานทั่วไประหว่างหน่วยงานภายในและภายนอก

พิจารณาถึงหน้าที่และตำแหน่งแล้วไม่ยากและไม่ซับซ้อนนะครับ
แต่ทำงานอาจจะเลิกดึกหน่อย แต่ก็ได้ทำงานสาย (เหมาะสำหรับคนตื่นสายเลย)
ที่ลงประกาศนี้ไม่ได้บอกว่าทำงานกี่วัน เอาเป็นว่าสอบถามกันเองนะ

สำหรับผู้สนใจอ่านคุณสมบัติต่อได้เลย
– เพศชาย/หญิง อายุระหว่าง 25-35 ปี
– จบปริญญาตรีบรรณารักษ์ศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์หรือสารสนเทศศาสตร์
– เป็นผู้มีใจรักงานห้องสมุดฯ จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
– สามารถใช้โปรแกรมjoomla, Photoshop CS, Photoscape และโปรแกรมตัดต่อวิดีโอได้
– มีที่พักในระแวกพระราม3 สาทร สีลม บางรัก หัวลำโพง จะรับพิจารณาพิเศษ
– มีประสบการณ์ด้านการทำงานห้องสมุดฯ จะรับพิจารณาพิเศษ
– เงินเดือนตามแต่ตกลง

เอาเป็นว่าคุณสมบัตินี้ใครผ่านก็สมัครกันไปได้เลยนะครับ
ซึ่งหากทุกอย่างโอเคแล้ว โทรไปได้เลยที่ โทร. 02688-8100 , 081-556-9929

หรือจะเดินทางไปที่สวนหนังสือเจริญกรุงได้เลยที่

2074/17-18 ถ.เจริญกรุง แขวงวัดพระยาไกร เขตบางคอแหลม กทม 10120

หวังว่าจะสมหวังกันนะครับ อิอิ

รายงานเรื่องการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติสวนหนังสือเจริญกรุง

เรื่องนี้เป็นเรื่องเก่าที่ผมเขียนตั้งแต่ปี 2008 วันนี้กลับมานั่งอ่านรายงานที่ทำแล้วคิดถึง
ก็เลยขอนำข้อมูล “รายงานเรื่องการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติสวนหนังสือเจริญกรุง” มาเล่าใหม่

ในปี 2008 ช่วงนั้นผมเรียน ป โท เทอมที่สี่ครับ หนึ่งในวิชาที่เรียน คือ “IT Project”
ซึ่งรายงานของวิชานี้เป็นรายงานกลุ่ม ให้เราศึกษาระบบงานของหน่วยงานที่ไหนก็ได้แล้วนำมาวิเคราะห์
นอกจากนี้ให้คิดโครงการใหม่ๆ ที่เกี่ยวกับไอทีไปเสนอหน่วยงานแห่งนั้นๆ ด้วย

หน่วยงานที่ผมเลือก คือ สวนหนังสือเจริญกรุง
โครงการที่ผมทำชื่อ “การพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติสวนหนังสือเจริญกรุง”
เนื่องจากการพัฒนาระบบห้องสมุดเป็นงานที่คนไอทีหลายๆ คนอยากจะทำ

การทำรายงานก็เริ่มจากการศึกษาข้อมูลทั่วๆ ไปของห้องสมุดก่อนซึ่งจากการอ่านในเว็บไซต์เราได้ข้อมูลไม่เพียงพอต่อการนำมาวิเคราะห์ ดังนั้นจึงต้องลงพื้นที่เพื่อไปศึกษาถึงสถานที่จริง

วันนั้นผมกับเพื่อนๆ ก็เดินทางไปที่ สวนหนังสือเจริญกรุง
และเริ่มแบ่งงานกันทำ บางส่วนสัมภาษณ์บรรณารักษ์ บางส่วนสำรวจห้องสมุด บางส่วนก็จำลองเป็นผู้ใช้บริการ

การเก็บข้อมูลวันนั้นที่ไปสวนหนังสือเจริญกรุงก็นับว่าได้ข้อมูลที่ดี และเพียงพอต่อการวิเคราะห์ระบบเป็นอย่างมาก
ไม่ว่าจะเป็น นโยบาย, ปัญหา, กิจกรรม, การจัดหา, และความต้องการด้านไอที

เจ้าหน้าที่บรรณารักษ์ใจดีตอบให้ทุกข้อ โดยไม่มีบ่นเลย เลยต้องขอขอบคุณ ณ ที่นี้อีกครั้ง

เมื่อได้ข้อมูลแล้วผมก็นำข้อมูลมาทำรายงานและเตรียมนำเสนอ ซึ่งข้อมูลทั้งหมดมีดังนี้
– รายละเอียดทั่วไปขององค์กร
– การวิเคราะห์ปัญหาของระบบการทำงานในปัจจุบัน (Cause and Effect Diagram)
– ที่มาของโครงการห้องสมุดอัตโนมัติ ฯ
– การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั่วไป (SWOT Analysis)
– วัตถุประสงค์โครงการห้องสมุดอัตโนมัติ ฯ
– ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการห้องสมุดอัตโนมัติ ฯ
– ขอบเขตของโครงการห้องสมุดอัตโนมัติ ฯ
– ข้อกำหนดในการเลือกใช้เทคโนโลยี
– งบประมาณที่จัดเตรียมไว้
– Context Diagram ของระบบสารสนเทศ
– แผนการดำเนินงาน
– Work Breakdown Structure
– Hardware และ Software Specifications
– ข้อมูลทั่วไปของ Software
– การส่งมอบงาน
– เงื่อนไขการรับประกันระบบ
– การควบคุมคุณภาพของโครงการห้องสมุดอัตโนมัติ ฯ
– การจัดการความเสี่ยงของโครงการห้องสมุดอัตโนมัติ ฯ
– ตัวอย่างการใช้งานโปรแกรม
– บทเรียนที่ได้รับจากโครงการห้องสมุดอัตโนมัติ ฯ
– บทสรุปของโครงการห้องสมุดอัตโนมัติ ฯ

ในส่วนเนื้อหาผมไม่ขอนำมาลงในบล็อกนะครับเนื่องจากมันยาวมาก เดี๋ยวบล็อกผมจะยาวเป็นกิโลไปซะก่อน

หลังจากที่นำเสนอข้อมูลในชั้น เพื่อนๆ หลายๆ คนมาสอบถามเรื่องระบบห้องสมุดกันนอกรอบมากมาย
ซึ่งผมเองก็แปลกใจและไม่คิดว่าจะมีคนสนใจเยอะขนาดนี้ ได้ความมาว่า
“ใครพัฒนาระบบห้องสมุดได้ก็สามารถพัฒนาระบบงานอื่นๆ ได้ด้วย เพราะระบบห้องสมุดมีเรื่อองที่ซับซ้อนมากมาย”

เอาเป็นว่าต้องขอบอกเลยว่า “ผลเกินคาดครับงานนี้”

พาชมห้องสมุดสวนหนังสือเจริญกรุง

ห้องสมุดแห่งหนึ่งที่ผมอยากแนะนำให้เพื่อนๆ รู้จัก คือ “สวนหนังสือเจริญกรุง”
จุดประสงค์การก่อตั้ง และการบริการในห้องสมุดแห่งนี้ ดึงดูดให้ผมต้องไปเยี่ยมชม

bookgarden1

ข้อมูลทั่วไปของห้องสมุดแห่งนี้
สถานที่ : สวนหนังสือเจริญกรุง
ที่อยู่ : 2074/17-18 ถ.เจริญกรุง แขวงวัดพระยาไกร เขตบางคอแหลม กทม 10120
เบอร์โทรศัพท์ : 0-2688-2883
เว็บไซต์ : http://www.thaibookgarden.org

สวนหนังสือเจริญกรุง เป็นห้องสมุดที่ให้บริการแก่คนในชุมชน
ก่อตั้งขึ้นเนื่องในโอกาสการเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีชาตกาลของท่านพุทธทาส
ด้วยความคิดริเริ่มของ คุณพิชัย ตั้งสิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท พริสแอนด์พีช จำกัด
ซึ่งได้ระดมบุคคล และองค์กรที่เห็นความสำคัญของห้องสมุด มาร่วมกันก่อตั้งห้องสมุดเพื่อชุมชน

รายชื่อคณะกรรมการดำเนินงานห้องสมุด สวนหนังสือเจริญกรุง ประจำปี 2551
1.? พระมหาหนึ่งฤทัย นิพพโย? วัดราชสิงขร
2.? คุณพิชัย ตั้งสิน?????????????? บริษิท พริสแอนด์พีช จำกัด
3.? คุณปริศนา ตั้งสิน??????????? บริษิท พริสแอนด์พีช จำกัด
4.? คุณลัดดา วิวัฒน์สุระเวช??? สถาบันสันติประชาธรรม
5.? คุณยาซิน มันตะพงศ์??????? สนง.คุมประพฤติฯ พระนครใต้
6.? จ.ส.ต.นวพล งามคงคา???? สถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกร
7.? คุณอุดมลักษณ์ จันทร์มา?? ชุมชนสวนหลวง
8.? คุณกิตติ ลิมปกาญจน์เวช? ชุมชนศาลเจ้าแม่ตะเคียนทอง
9.? คุณอรสา มัศยมาส????????? ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน เขตบางคอแหลม
10. คุณอนุสรณ์ องอาจ??????? โรงเรียนศาสนศึกษาบางอุทิศ
11. คุณไพศาล สมานพงษ์???? บริษิท พริสแอนด์พีช จำกัด
12. คุณกุลวรางขค์ ฤทธิเดช? บริษิท พริสแอนด์พีช จำกัด

ความร่วมมือของบุคคลต่างๆ เช่น
อาคารสถานที่ ได้รับการสนับสนุนจาก คุณพิชัย ตั้งสิน
ค่าใช้จ่ายบุคคลากรในการดำเนินงาน ได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท พริส แอนด์ พีช จำกัด
ค่าหนังสือ และวัสดุอุปกรณ์ ได้รับการสนับสนุนจาก ผู้อุปถัมภ์ระดับต่างๆ
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ก็ได้รับการบริจาค จากบุคคลต่างๆ ในชุมชน

ความร่วมมือกันก่อนตั้งห้องสมุดของคนในชุมชน นำมาซึ่งการสร้างแหล่งเรียนรู้ในชุมชนด้วย

ห้องสมุดแห่งนี้มีกิจกรรมต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะงานเสวนาซึ่งมีจัดทุกเดือน เช่น
– การดำเนินชีวิต…เข็มทิศสุขภาพ
– หนังสือเดซี อ่านด้วยตาให้ด้วยใจ
– เรื่องของเด็ก…ไม่เล็กอย่างที่คิด
– อ่านเอาเรื่อง…เขียนเอาความ เคล็ดไม่ลับในการอ่านหนังสือ
– ย้อนอดีตภาพยนต์ไทย..กับหอภาพยนต์แห่งชาติ

งานกิจกรรมที่ผมยกมาเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้นนะครับ

ห้องสมุดแห่งนี้การบริการต่างๆ ก็มีเหมือนกับห้องสมุดทั่วๆ ไปนะครับ
อาจจะขาดเรื่องที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีไปบ้าง แต่หนังสือที่นี่มีให้เลือกอ่านพอสมควรเลย

bookgarden3 bookgarden4

การสมัครสมาชิกของที่นี่ ผมชอบมากเลยครับ เพราะว่าไม่ต้องเสียเงินสมัครสมาชิกหรอกนะครับ
เพียงแค่เพื่อนๆ มาใช้บริการที่นี่แล้วเซ็นต์ชื่อไว้
เมื่อครบ 6 ครั้งเพื่อนๆ ก็จะสามารถทำบัตรและยืมหนังสือได้ตามปกติ

บรรยากาศภายในห้องสมุดก็ตกแต่งด้วยสีสันที่สะดุดตา น่าใช้บริการ
ในอาคารแบ่งออกเป็นสองชั้น เลือกนั่งได้ตามสบายเลยครับ

bookgarden7 bookgarden6

ห้องสมุดที่ผมนำมาแนะนำวันนี้เป็นตัวอย่างที่ดีอย่างหนึ่งให้สังคมได้คิด
แม้ว่าบริษัทเอกชนทุกที่จะต้องการผลกำไร แต่สิ่งหนึ่งที่พวกเขาไม่ละเลยคือการให้สิ่งดีๆ กับสังคม

เอาเป็นว่าวันนี้ก็ขอแนะนำเพียงเท่านี้ดีกว่า ถ้าอยากรู้ว่าห้องสมุดนี้เป็นยังไง
ผมว่าเพื่อนๆ ลองมาสักครั้งนะครับ แล้วจะเข้าใจมากกว่านี้

สำหรับใครที่อยากมาที่นี่ก็ไม่ยากครับ ทำได้ดังนี้
รถไฟฟ้า : ลงที่สถานีสะพานตากสิน แล้วต่อด้วยรถประจำทาง
รถประจำทาง : สายรถประจำทางที่ผ่านคือ 1, 15, 75, 163, 544, ปอ.22, ปอ.504, ปอ.547
เรือด่วนเจ้าพระยา : ขึ้นเรือที่ท่าวัดราชสิงขร, ท่าเรือวัดจรรยาวาส

ภาพด้านบนเป็นภาพจากในเว็บไซต์ของสวนหนังสือเจริญกรุงนะครับ ด้านล่างนี้เป็นรูปที่ผมถ่าย

รวมภาพบรรยากาศในสวนหนังสือเจริญกรุง

[nggallery id=7]