งานสัปดาห์ห้องสมุด 2556 : มรดกล้ำค่าวรรณคดีไทย

วันนี้ผมขอประชาสัมพันธ์กิจกรรมที่น่าสนใจประจำปี 2556 ของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยนะครับ งานนี้จัดทุกปีเช่นกัน เป็นงานการประชุมเพื่อเตรียมการจัดงานสัปดาห์ห้องสมุด ครั้งที่ 37 พุทธศักราช 2556 ซึ่งปีนี้มีธีมหลัก คือ “มรดกล้ำค่าวรรณคดีไทย

library_conference

รายละเอียดกิจกรรมนี้เบื้องต้น
ชื่องาน : การประชุมเพื่อเตรียมการจัดงานสัปดาห์ห้องสมุด ครั้งที่ 37 พุทธศักราช 2556
ธีมงาน / หัวข้องาน : มรดกล้ำค่าวรรณคดีไทย
วันที่จัดงาน : 2 สิงหาคม 2556
สถานที่จัดงาน : โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพมหานคร
ผู้จัดงาน : สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ที่มาของธีมงาน / หัวข้องาน : มรดกล้ำค่าวรรณคดีไทย
เป็นงานที่จัดเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งทรงเห็นความสำคัญและส่งเสริมวรรณคดีไทย เมื่อปี 2552 พระองค์ทรงพระกรุณาพระราชทานรายชื่อหนังสือดีเด่น 6 เรื่องที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่านมายังกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเผยแพร่และส่งเสริมให้มีการอ่านหนังสืออย่างแพร่หลาย

รายชื่อหนังสือดีเด่น 6 เรื่องที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน
1. พระอภัยมณี
2. รามเกียรติ์
3. นิทานชาดก
4. อิเหนา
5. พระราชพิธีสิบสองเดือน
6. กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้ากุ้ง

หัวข้อที่น่าสนใจในการประชุมครั้งนี้
– จากวรรณคดีถึงวรรณกรรมไทยร่วมสมัย: มรดกแห่งภูมิปัญญาไทย
– อ่านวรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างไรให้สนุกและได้ประโยชน์
– กวีรางวัลสุนทรภู่จาก 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน
– การยอสักวา เรื่อง สักวาคุณค่าวรรณคดีไทย
– แนวทางการจัดกิจกรรมและนิทรรศการเกี่ยวกับมรดกล้ำค่าวรรณคดีไทย

เอาเป็นว่าเป็นหัวข้อที่น่าติดตามมากๆ ครับ เรื่องอาจจะดูธรรมดาแต่ผมว่าผู้ที่บรรยายแต่ละคนก็ล้วนแล้วแต่มีความสามารถมากๆ และเชี่ยวชาญในเรื่องดังกล่าวอย่างแท้จริง

ผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานนี้ต้องเสียค่าใช้จ่ายดังนี้
หากสมัครและชำระภายในวันที่ 24 กรกฎาคม 2556 — สมาชิกสมาคมห้องสมุดฯ คนละ 1,000 บาท ผู้สนใจ 1,100 บาท
หากสมัครและชำระหลังวันที่ 24 กรกฎาคม 2556 — สมาชิกสมาคมห้องสมุดฯ คนละ 1,100 บาท ผู้สนใจ 1,200 บาท
ซึ่งค่าลงทะเบียนรวมเอกสารประกอบการประชุม แฟ้มเอกสาร อาหารว่าง และอาหารกลางวัน

หากเพื่อนๆ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณา ดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ “โครงการสัปดาห์ห้องสมุด ปี 2556

หากสนใจกิจกรรมนี้กรุณาดาวน์โหดแบบตอบรับและลงทะเบียนตามแบบฟอร์มด้านล่างนี้เลย
แบบตอบรับ ประชุมสัปดาห์ห้องสมุด

วีดีโอเสวนาก้าวทันสื่อออนไลน์ ในงานสัปดาห์ห้องสมุด ม.รังสิต

ในที่สุดคลิปวีดีโอที่ผมบรรยายเรื่องเสวนาก้าวทันสื่อออนไลน์ ในงานสัปดาห์ห้องสมุด ม.รังสิต ก็ออกมาให้ได้รับชม
วันนี้เลยขอนำมาให้เพื่อนๆ บรรณารักษ์ที่ไม่ได้มาร่วมงานได้ชมกัน

งานเสวนานี้มีวิทยากร คือ คุณภาวุธ พงษ์วิทยภานุ, คุณฉัตรปวีณ์ ตรีชัชวาลวงศ์ และผมเอง
ซึ่งดำเนินรายการโดย อาจารย์บุญญาณิศา อ.ตันติพิบูลย์

วันนั้นเสวนาร่วมกันประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง แต่ในคลิปวีดีโอนี้ขอสรุปแต่ตอนไฮไลท์มาให้ชม 18 นาที
ซึ่งผมได้ดูเบื้องต้นแล้วเป็นช่วงที่เด่นๆ และมีไอเดียที่น่าสนใจดีครับ

ไปชมคลิปวีดีโอนี้กัน

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=Qe_4qWGUFsk[/youtube]

เป็นไงกันบ้างครับ ยังไงก็ติชมกันได้ ด้านล่างนี้เลยนะครับ

รายละเอียดเกี่ยวกับงานนี้ผมสรุปไว้ที่เก็บตกงานสัปดาห์ห้องสมุด ม.รังสิต

ปล. ขอบคุณ สำนักหอสมุด ม.รังสิต ที่จัดทำคลิปนี้มาเผยแพร่

เก็บตกงานสัปดาห์ห้องสมุด ม.รังสิต

เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (วันที่ 12 มกราคม 2554) ผมมีโอกาสไปร่วมงานสัปดาห์ห้องสมุด ม.รังสิต
ซึ่งในงานนี้น่าสนใจมาก ผมจึงขอนำบทสรุปของงานเสวนาในงานสัปดาห์ห้องสมุดมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟัง

งานในวันแรกนี้ไฮไลท์ก็อยู่ที่งานบรรยายและงานเสวนาเรื่องเครือข่ายสังคมกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ซึ่งในช่วงเช้า วิทยากรก็คือ คุณชัชวาล สังคีตตระการ (ผู้ที่อยู่เบื้องหลังโปรแกรม ABDUL)
ซึ่งมาพูดเรื่อง “สังคมฐานความรู้ กับ สังคมเครือข่าย”
แค่ชื่อเรื่องก็น่าฟังแล้วใช้มั้ยครับ ไปดูเนื้อหาที่ผมสรุปดีกว่า

เรื่อง “สังคมฐานความรู้ กับ สังคมเครือข่าย” โดย คุณชัชวาล สังคีตตระการ

– ประเดิมสไลด์แรกด้วยการแนะนำคำว่า Human Language Technology และ Human-Computer Technology ซึ่งหลักๆ ได้แนะนำเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารกันระหว่างคนและคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันนี้คนเราต้องทำความเข้าใจคอมพิวเตอร์ แต่ในอนาคตคอมพิวเตอร์จะต้องสื่อสารกับเราและทำความเข้าใจกับคนเช่นกัน

– เราสามารถติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ได้ด้วย TEXT, SPEECH, INFORMATION, LINGUISTICS

– ปัจจุบันที่เราสามารถเข้าถึงข้อมูลและข่าวสารต่างๆ ได้ก็มาจาก Monitor ต่างๆ ซึ่งปัจจุบันหลักๆ ก็ได้แก่ TV, Computer, Mobile

– ในช่วงวันเด็กที่ผ่านมาชาว Twitter เล่น tag #WhenIWasYoung กันมาก แต่ที่วิทยากรประทับใจ คือ รูปเด็กที่เข้าแข่งขันการใช้ Linux ซึ่งมันแฝงแง่คิดว่าเด็กสมัยนี้เกิดมาก็เจอหน้าจอคอมพิวเตอร์เลย ซึ่งทำให้เกิดความกังวลกับผู้ปกครอง เพราะว่ากลัวเด็กจะนำไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม เช่น กลัวลูกติดเกมส์ ซึ่งวิทยากรได้แนะนำต่อไปว่าเด็กก็เหมือนกับผ้าสีขาวนั่นแหละ การใช้เทคโนโลยีก็เหมือนจุดสีดำ ผู้ปกครองบางคนกลัวเด็กใช้มากๆ ก็ทำให้เกิดการกีดกั้นเด็กก็พยายามไปลบสีดำจุดนั้น ซึ่งหากสังเกตคือเมื่อเรายิ่งลบจุดดำมันก็จะเลอะผ้าไปมากขึ้น (ยิ่งห้ามก็เหมือนยิ่งยุ) ทำให้ผ้าสกปรกและไม่น่าใช้ แต่คิดในมุมกลับกันว่าหากสีดำหยดนั้นหยดลงมาแล้วพ่อแม่ช่วยกันแต่งเติมให้เป็นรูปต่างๆ ผ้าผืนนั้นก็จะทำให้สวยงามและมีค่ามากขึ้นด้วย

– Computer VS Mobile ในปัจจุบันสองสิ่งนี้เริ่มขยับตัวใกล้เข้าหากันมากขึ้น มือถือมีการใช้ฟีเจอร์ต่างๆ ลงไปจนคล้ายกับคอมพิวเตอร์

– 2011 Smartphone > Feature Phone (โทรศัพท์แบบเดิม) ข้อมูลจาก morgan stanley
– 2012 Smartphone > Notebook+PC ข้อมูลจาก morgan stanley

– คนไทยมี 63 ล้านคน แต่เบอร์โทรศัพท์กลับมี 64 ล้านเลขหมาย มันสะท้อนอะไร?

– ข้อมูลการใช้ Internet ในเมืองไทย (จากการสำรวจของ NECTEC)คนไทย 24 ล้านคนใช้อินเทอร์เน็ต

– จุดประสงค์ในการใช้ (เรียงจากมากไปน้อย)
– 2552 -> Search Email News Elearning Webboard Chat
– 2553 -> Email Search News Elearning Webboard Chat

– ห้องสมุดจากอดีตสู่อนาคต หากเข้าห้องสมุดคุณจะพบอะไรบ้าง
ระยะที่ 1 พบคนอ่านหนังสือในห้องสมุด
ระยะที่ 2 พบคนเข้ามาใช้คอมพิวเตอร์ในห้องสมุด
ระยะที่ 3 พบคนนำโน้ตบุ๊คมาใช้ในห้องสมุด
ระยะที่ 4 พบคนนำ Netbook มาใช้ในห้องสมุด
ระยะที่ 5 พบคนนำ tablet มาใช้ในห้องสมุด

– เรียนรู้จากโลกออนไลน์มีหลายวิธี เช่น ITuneU, Youtube, Wikipedia

– แนะนำ Web 1.0 , 2.0 , 3.0

– 2015 -> 10% of your online friends will be nonhuman

– แนะนำโปรแกรม ABDUL

เอาเป็นว่าคร่าวๆ ก็ตามนี้นะครับ สำหรับเอกสารในการบรรยาย รอดาวน์โหลดได้ที่ http://library.rsu.ac.th (ตอนนี้ยังไม่ขึ้นนะ)

ช่วงเช้าก็จบประเด็นไว้เพียงเท่านี้นะครับ ส่วนช่วงบ่ายงานเสวนาเรื่อง “จะก้าวให้ทันกับสื่อทางออนไลน์ยุคใหม่ได้อย่างไร”
โดย คุณภาวุธ พงษ์วิทยภานุ, คุณฉัตรปวีณ์ ตรีชัชวาลวงศ์ และผมเอง ดำเนินรายการโดย อาจารย์บุญญาณิศา อ.ตันติพิบูลย์

ในช่วงบ่ายหลักๆ วิทยากรก็ได้ชี้แจงเกี่ยวกับเรื่องสื่อออนไลน์ ดังนี้

– การแบ่งประเภทสื่อออนไลน์
– ข้อดีและข้อเสียของการใช้สื่อออนไลน์
– ข้อควรระวังในการใช้สื่อออนไลน์
– ทำไมเราต้องตามเทคโนโลยีให้ทัน
– กรณีการใช้สื่อออนไลน์ในงานต่างๆ
– ห้องสมุดกับสื่อออนไลน์

เอาเป็นว่าสรุปสั้นๆ แค่นี้ดีกว่า เพราะวันนั้นผมเองก็อยู่บนเวทีสมาธิเลยอยู่ที่การบรรยายมากกว่า
แต่ขอสรุปง่ายๆ ว่า การรู้จักเทคโนโลยีและใช้มันให้ถูกต้องจะทำให้เราได้เปรียบและมีโอกาสมากกว่าคนอื่น

การบรรยายและเสวนาก็จบด้วยดี แต่งานสัปดาห์ห้องสมุดไม่ได้มีแค่งานบรรยายอย่างเดียวนะ
ในห้องสมุดยังมีนิทรรศการและกิจกรรมการส่งเสริมการรักการอ่านอื่นๆ ด้วย
ซึ่งวิทยากรอย่างพวกเราไหนๆ ก็ไหนๆ แล้วมาเยี่ยมชมดูสักนิดก็ดีเหมือนกัน

วิทยากรทั้งสามก็ขอแจมเรื่องการเขียนแนะนำหนังสือที่ตัวเองชอบและติดไว้ที่บอร์ดแนะนำหนังสือด้วย
ซึ่งในใบแนะนำก็มีให้ใส่ชื่อหนังสือ เวลาที่ชอบอ่านหนังสือ และบอกต่อหนังสือที่น่าอ่าน

จากนั้นพวกเราก็ถ่ายภาพร่วมกับเหล่าบรรณารักษ์ในหอสมุดซึ่งแน่นอนว่า น้องซี ถูกถ่ายรูปเยอะที่สุด
ส่วนผมเองก็โดนดึงไปดึงมาถ่ายรูปกันสนุกสนาน ก็สรุปง่ายๆ ว่าประทับใจกับพี่ๆ ที่นั่นจริงๆ ครับ

สุดท้ายนี้ก็ขอขอบคุณทีมงานที่จัดงานสัปดาห์ห้องสมุด ม.รังสิต ทุกคนครับ
ขอชื่มชนจากใจว่าจัดงานได้ดี สนุก และได้รับความรู้กันมากๆ

ชมภาพงานสัปดาห์ห้องสมุดของ ม.รังสิตในวันแรก (วันที่มีงานเสวนา) ได้ที่
http://www.facebook.com/#!/album.php?aid=267520&id=695394799

ปล. ภาพบางส่วนที่นำมาลงที่นี่ก็นำมาจากแหล่งเดียวกันนะครับ
http://www.facebook.com/#!/album.php?aid=267520&id=695394799

สัปดาห์ห้องสมุด ม.รังสิต ตอน เครือข่ายทางสังคมกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต

สัปดาห์ห้องสมุดเป็นกิจกรรมหนึ่งที่น่าสนใจมากในสถานศึกษาหลายๆ ที่ ซึ่งวันนี้ผมขอแนะนำกิจกรรมสัปดาห์ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งซึ่งจัดธีมงานได้น่าสนใจ จึงขอประชาสัมพันธ์ให้เพื่อนๆ ในวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ได้อ่านเพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมห้องสมุดกัน

รายละเอียดทั่วไปของงานนี้
ชื่อกิจกรรม : สัปดาห์ห้องสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต
ธีมงานหรือหัวข้อของงาน : เครือข่ายทางสังคมกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต
วันที่จัดงาน : วันที่ 12-14 มกราคม 2554
สถานที่จัดงาน : สำนักหอสมุด อาคารหอสมุด (อาคาร 7) มหาวิทยาลัยรังสิต
จัดโดย : สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต

ธีมของงานนี้อย่างที่บอกแหละครับว่าอยู่ในเรื่องของ Social Network เป็นหลัก
ซึ่งจะสังเกตได้จากวัยรุ่นยุคใหม่ให้ความสนใจในเรื่องต่างๆ เหล่านี้มากขึ้น
ในฐานะของสถานศึกษาก็ควรจะต้องปรับตัวให้ทันยุคทันกระแสและนำสิ่งเหล่านี้มาประยุกต์ใช้
เพื่อให้วงการศึกษาหรือทุกๆ สื่อเข้าถึงและเข้าใจพฤติกรรมและการตอบสนองต่อการบริการของผู้ใช้บริการได้ด้วย

กิจกรรมที่น่าสนใจในงานนี้
– การบรรยายเรื่อง “สังคมฐานความรู้กับสังคมเครือข่าย : ไปด้วยกัน ไปได้ไกล”
– จะก้าวให้ทันกับสื่อทางออนไลน์ยุคใหม่ได้อย่างไร
– การอบรมและสอนการใช้งานฐานข้อมูลต่างๆ
– กิจกรรมอื่นๆ เช่น การออกร้านหนังสือ ของที่ระลึก นิทรรศการ และนำชมห้องสมุด

อ๋อ ลืมบอกงานนี้ผมก็ได้รับเชิญเป็นวิทยากรด้วยเช่นกันในเรื่อง “จะก้าวให้ทันกับสื่อทางออนไลน์ยุคใหม่ได้อย่างไร”
ซึ่งก็ขอบอกเลยว่าเรื่องที่ผมจะนำมาพูดก็คงหนีไม่พ้นเรื่องการใช้งานสื่อทางออนไลน์กับวงการห้องสมุด

สำหรับเพื่อนๆ ที่อยากเข้าร่วมฟังบรรยายก็กรอกแบบฟอร์มได้ที่ http://library.rsu.ac.th/pdf/library53.pdf

สำหรับเพื่อนๆ ที่สนใจในงานสัปดาห์ห้องสมุดของ ม รังสิต ก็อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
http://library.rsu.ac.th/pdf/library53.pdf

งานสัมมนา “การสร้างความเข้มแข็งโดยพัฒนานิสัยรักการอ่าน”

วันนี้ผมมีกิจกรรมดีๆ มาแนะนำให้เพื่อนๆ รู้จักกันอีกแล้ว
กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ใช้ในการเตรียมการจัดงานสัปดาห์ห้องสมุดประจำปีนี้ด้วย

reading

รายละเอียดเบื้องต้นของงานนี้
ชื่องานสัมมนาภาษาไทย? : ?การสร้างความเข้มแข็งโดยพัฒนานิสัยรักการอ่าน?
ภายใต้งาน : ประชุมเพื่อเตรียมการจัดงานสัปดาห์ห้องสมุด ครั้งที่ 34
วันและเวลาที่จัด : วันที่ 23 กรกฏาคม 2553 เวลา 07.30-16.45 น.
สถานที่อบรม : ห้องประชุม สำนักหอสมุดแห่งชาติ

การจัดงานสัปดาห์ห้องสมุดจะมีการจัดขึ้นทุกปีในเดือนสิงหาคม
ซึ่งหากเพื่อนๆ จำได้ ปีที่แล้วจะมีธีมงานหลักว่า “การอ่านเพื่อพัฒนาตนและพัฒนาชาติ”
ส่วนในปีนี้อย่างที่เกริ่นไว้ข้างต้นนั่นก็คือธีมงานหลักของปีนี้นั่นเอง
ธีมงานหลักของงานสัปดาห์ห้องสมุด “การสร้างความเข้มแข็งโดยพัฒนานิสัยรักการอ่าน”

ในงานสัมมนาในครั้งนี้มีผู้ทรงคุณวุฒิมากมายด้วย


ตัวอย่างหัวข้อที่น่าสนใจในงานสัมมนา
เช่น
– กลยุทธ์การสร้างนิสัยรักการอ่านสำหรับเด็ก
– กลยุทธ์การสร้างนิสัยรักการอ่านสำหรับวัยรุ่น
– กลยุทธ์การสร้างนิสัยรักการอ่านสำหรับผู้ใหญ่
– การสร้างสาระอิเล็กทรอนิกส์ในห้องสมุดเพื่อส่งเสริมการอ่าน

งานนี้ผมเชื่อว่าคนที่ได้เข้าร่วมจะได้รู้จักเทคนิคในการสร้างนิสัยการรักการอ่านให้กับคนในชุมชนได้แน่นอน
ดังนั้นบรรณารักษ์จึงไม่ควรจะพลาดงานนี้นะครับ

งานนี้มีค่าใช้จ่ายเล็กน้อยครับ
สำหรับสมาชิกสมาคมฯ ชำระเงินก่อนวันที่ 20/7/53 คนละ 500 บาท? และถ้าชำระเงินหลังวันที่ 20/7/53 คนละ 700 บาท
สำหรับบุคคลทั่วไป ชำระเงินก่อนวันที่ 20/7/53 คนละ 600 บาท และถ้าชำระเงินหลังวันที่ 20/7/53 คนละ 800 บาท

เอาเป็นว่าใครสนใจข้อมูลเพิ่มเติมก็เข้ามาดูได้ที่
http://www.tla.or.th/pdf/libraryweek34.pdf

สำหรับวันนี้ผมต้องขอตัวก่อนนะครับ

กิจกรรมสัปดาห์ห้องสมุด ณ ห้องสมุดโรงเรียนเทพวิทยา

วันนี้ผมขอแนะนำกิจกรรมสัปดาห์ห้องสมุดของโรงเรียนเทพวิทยา (ราชบุรี)
ซึ่งบทความนี้ได้รับเกียรติจากคุณขนิดา พญาชน บรรณารักษ์ของโรงเรียนเทพวิทยามาช่วยเขียน

libraryweek

รายละเอียดทั่วไปของการจัดกิจกรรมครั้งนี้
ชื่อกิจกรรม : กิจกรรมสัปดาห์ห้องสมุด
วันที่จัดงาน : วันที่? 24-28 สิงหาคม? 2552
สถานที่จัดงาน : ห้องสมุด โรงเรียนเทพวิทยา


วัตถุประสงค์ของการจัดงานในครั้งนี้

1. เพื่อให้ครูและนักเรียนเห็นคุณค่าของการอ่านและการค้นคว้ามากขึ้น
2. เพื่อให้ทุกคนในโรงเรียนเห็นความสำคัญของห้องสมุด
3. เพื่อให้ครูและนักเรียนได้รับความรู้และความบันเทิง
4. เพื่อให้บรรณารักษ์และผู้ใช้บริการมีทัศนคติที่ดีต่อกัน

วัตถุประสงค์ของการจัดงานในครั้งนี้ผมชอบในข้อที่ 4 มากๆ เลยครับ
เพราะการจัดงานห้องสมุดในแต่ละครั้ง
จริงๆ แล้ว พวกเราชาวบรรณารักษ์ก็หวังว่าผู้ใช้บริการหองสมุดจะมีทัศนคติที่ดี
และตระหนักถึงความสำคัญของห้องสมุดที่มีอยู่บ้างก้เท่านั้น

ในงานนี้มีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมายเลยครับ
(ลองอ่านดู เผื่อจะได้ไอเดียแจ๋วๆ เพื่อนำไปใช้กับห้องสมุดของคุณได้)

– นิทรรศการ ?หนังสือดี? 6 เรื่อง? ที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน?
– การประกวดเล่านิทานประกอบท่าทาง
– การประกวดวาดภาพ? หัวข้อ? ห้องสมุดของฉัน
– การประกวดคำขวัญ? หัวข้อ? ทศวรรษแห่งการอ่าน
– การประกวดสุดยอดหนอนหนังสือ
– การประกวด? Mr. and Miss Newspaper
– การประกวดหนังสือเก่าหายาก
– กิจกรรมบิงโกหนังสือ
– กิจกรรมอ่าน ดี ดี มีรางวัล
– กิจกรรมสำนวนชวนคิด
– การจำหน่ายหนังสือดี? ราคาถูก

นี่ถ้าไม่บอกว่าห้องสมุดโรงเรียน ผมคงนึกว่าเป็นห้องสมุดระดับใหญ่เลยนะครับ
มีกิจกรรมเยอะแบบนี้ ผมคงต้องขอคารวะเลยนะครับ
กิจกรรมแต่ละกิจกรรมก็น่าสนใจไม่แพ้กัน

ok-school

โดยเฉพาะ Mr. and Miss Newspaper ตอนแรกผมก็งงๆ ว่าคืออะไร
แต่พอลองดูรูปแล้วเริ่มเข้าใจเลยครับ ว่าเป็นการนำหนังสือพิมพ์มาตกแต่งเป็นเครื่องแต่งกายนั่นเอง
เอาเป็นว่าเพื่อนๆ หลายๆ คนคงได้ไอเดียจากห้องสมุดแห่งนี้ไปไม่มากก็น้อยนะครับ

สุดท้ายนี้ผมต้องขอขอบคุณ คุณขนิดา พญาชน บรรณารักษ์จากโรงเรียนเทพวิทยามากๆ
ที่แนะนำกิจกรรมนี้มาให้เพื่อนๆ ได้อ่าน และเปิดไอเดียใหม่ๆ ให้วงการห้องสมุด

สำหรับรูปถ้าเพื่อนๆ อยากดูทั้งหมดให้เข้าไปดูได้ที่ http://www.thepvittaya.net/photo03/09sep52/Library/index.htm

สัปดาห์ห้องสมุดปีที่ 34 : บทบาทของห้องสมุดกับการพัฒนาอาชีพ

ช่วงนี้มีเพื่อนๆ เข้ามาถามเรื่องการจัดกิจกรรมสำหรับงานสัปดาห์ห้องสมุดแห่งประเทศไทยเยอะมาก
ผมก็เลยขอถือโอกาสนี้ตอบผ่านบล็อกของผมเพื่อเป็นแนวให้ทุกๆ คนเลยนะครับ

library-week

ปีนี้สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ได้ประกาศให้มีการจัดงานสัปดาห์ห้องสมุดปีที่ 34 ในเดือนสิงหาคม
โดยใช้หัวข้อในการจัดงานของปีนี้ คือ “บทบาทของห้องสมุดกับการพัฒนาอาชีพ”
สถานที่ในการจัดงาน คือ ห้องสมุดทุกประเภท ทั่วประเทศ (ทุกห้องสมุดรับนโยบาย)

สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยได้เสนอแนวคิดในการจัดกิจกรรม ดังนี้
1. จัดนิทรรศการเกี่ยวกับพระราชประวัติ? และพระราชกรณียกิจ และพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
2. จัดแสดงสินค้าที่ประชาชนในท้องถิ่น / ชุมชน จัดทำขึ้น? ขอความร่วมมือให้ผู้ผลิตนำมาจำหน่ายในงานสัปดาห์ห้องสมุด
3. จัดการบรรยาย / อภิปราย / เสวนา / เรื่องอาชีพต่างๆ ที่ บุคคล / ครอบครัว จะจัดทำ และจำหน่ายเป็นรายได้
4. จัดนำชมห้องสมุด

หลังจากที่ดูจากกิจกรรมของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยแล้ว
ผมก็ขอเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมนิดนึงนะครับ

1. เรื่องนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติอันนี้แน่นอนครับเดือนสิงหาคม
วันแม่แห่งชาติ เพื่อนๆ ควรจะต้องจัดกิจกรรมสัปดาห์วันแม่แห่งชาติอยู่แล้ว

2. การนำสินค้าในท้องถิ่นมาจำหน่ายในงานสัปดาห์ห้องสมุด
อันนี้อาจจะพบเห็นได้น้อยที่นะครับ แต่เพื่อให้เข้ากับธีมของงานก็อาจจะทำได้เช่นกัน

3. การบรรยายเรื่องอาชีพในห้องสมุดอันนี้ก็โอเคนะครับ
จะให้ดีห้องสมุดควรลองประสานงานกับวิสาหกิจชุมชนดูสิครับ แล้วจะได้วิทยากรมาบรรยาย

4. นำชมห้องสมุด อันนี้แม้ว่าจะไม่ใช่สัปดาห์ห้องสมุดก็ต้องจัดอยู่แล้วครับ

และในฐานะที่ผมเป็นบล็อกเกอร์ของชาวห้องสมุดและบรรณารักษ์
ผมก็ขอร่วมจัดกิจกรรมสัปดาห์ห้องสมุดกับเขาด้วยเหมือนกัน
เพียงแต่ของผมจะจัดกิจกรรมบนบล็อกและเวทีสาธารณะด้านนอกแล้วกันนะครับ

กิจกรรมสัปดาห์ห้องสมุดที่จะจัดโดย Libraryhub (ในเดือนสิงหาคม)
– จัดงาน Libcamp#2 ในวันที่ 1 สิงหาคม 2552 โดยใช้ธีมเกี่ยวกับ บรรณารักษ์บล็อกเกอร์กับการพัฒนางานห้องสมุด
-เชิญผู้ที่ประกอบอาชีพในวงการต่างๆ มาสัมภาษณ์ถึงความสำเร็จ และประสบการณ์ในการใช้ห้องสมุด (4 คน : 4 วัน)
– พาทัวร์ห้องสมุดชุมชนที่มีส่วนต่อการพัฒนาอาชีพ และพาทัวร์ห้องสมุดขององค์กรที่ประสบความสำเร็จ
– กิจกรรมคลิ๊กนี้เพื่อแม่ (ในช่วงวันแม่) จะให้ช่วยกันคลิกถวายพระพร
– สำรวจหนังสือเล่มโปรดของเพื่อนๆ

เอาเป็นว่าเกริ่นไว้แค่นี้ก่อนดีกว่า แต่ผมรับรองว่าในเดือนสิงหาคม
Libraryhub ในธีมของงานสัปดาห์ห้องสมุด
จะต้องทำให้เพื่อนๆ ได้ไอเดียในการจัดกิจกรรมอีกเยอะเลยทีเดียว

รายละเอียดเกี่ยวกับการจัดงานสัปดาห์ห้องสมุด ประจำปี 2552 โดยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

ดาวน์โหลดได้ที่ – เอกสารจัดงานสัปดาห์ห้องสมุด ประจำปี 2552

สำหรับวันนี้ผมก็ขอให้เพื่อนๆ มีแรงบันดาลใจในการคิดกิจกรรมดีๆ แล้วกันนะครับ
หากต้องการคำปรึกษาก็อีเมล์มาถามได้ หรือ MSN ถ้าสะดวกผมจะตอบทันที
เตรียมนับถอยหลังงานสัปดาห์ห้องสมุดได้แล้วนะครับ บ๊ายบาย