วันนี้ผมมีข่าวมาประชาสัมพันธ์เชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมงานสัมมนาครับ
สัมมนานี้เป็น “งานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) และประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2561”
ของชมรมห้องสมุดเฉพาะ (ชพ.) สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ
สัมมนา
TK Forum 2016 : นวัตกรรมห้องสมุดกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
วันนี้ขอประชาสัมพันธ์กิจกรรมที่น่าสนใจแทนการเขียนบล็อกแล้วกัน
งานนี้เป็นการประชุมวิชาการที่จัดโดย TK park หรือที่เราเรียกกันง่ายๆ ว่า “TK Forum”
งาน TK Forum เป็นอีกงานที่ผมติดตามมาตลอดเนื่องจากเป็นการจัดการประชุมวิชาการที่น่าสนใจมากเป็นอันดับต้นๆ ที่ว่าด้วยเรื่องห้องสมุด บรรณารักษ์ แหล่งเรียนรู้ การอ่าน …… ซึ่งส่วนใหญ่จะมีการเชิญ Speaker มาจากต่างประเทศ (โอกาสน้อยมากนะครับที่จะได้ฟังวิทยากรระดับโลก) Read more
สัมมนาวิชาการ ความรู้ทางเศรษฐกิจ การเงิน และการพัฒนาคน สำหรับผู้ปฏิบัติงานสารสนเทศ
วันนี้ขอมาประชาสัมพันธ์งานสัมมนาอีกงานที่น่าสนใจ คือ “ความรู้ทางเศรษฐกิจ การเงิน และการพัฒนาคน สำหรับผู้ปฏิบัติงานสารสนเทศ” งานนี้ผมได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรและผู้ดำเนินรายการด้วย ในหัวข้อ “บทบาทของห้องสมุดต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ การเงิน และการพัฒนาคน” เอาเป็นว่าอ่านรายละเอียดด้านล่างได้เลยครับ
รายละเอียดงานสัมมนาวิชาการเบื้องต้น
ชื่องานภาษาไทย : ความรู้ทางเศรษฐกิจ การเงิน และการพัฒนาคน สำหรับผู้ปฏิบัติงานสารสนเทศ
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุมป๋วย อึ๊งภากรณ์ อาคาร 1 ชั้น 4 ธนาคารแห่งประเทศไทย
วันและเวลาที่จัด : วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555 เวลา 8.30 – 16.30 น.
จัดโดย : ศูนย์ประสานงานสารนิเทศสาขาเศรษฐศาสตร์ (ศปศ.)
อย่างที่เกริ่นไปเบื้องต้นว่างานนี้ถูกเชิญให้เป็นวิทยากรและผู้ดำเนินรายการ บอกตรงๆ ว่าเป็นครั้งแรกที่ผมจะได้บรรยายเกี่ยวกับเรื่องบทบาทของห้องสมุดในสังคมและผลกระทบของการมีห้องสมุดต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ (หัวข้อนี้แอบบอกว่าดูน่าสนใจและน่าสนุกมากๆ ครับ)
หัวข้อที่น่าสนใจในงานสัมมนาวิชาการครั้งนี้ เช่น
– พัฒนาเศรษฐกิจ พัฒนาคน อย่างยั่งยืนตามยุทธศาสตร์แผนฯ 11
– บทบาทนโยบายการเงินในการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ
– การคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย
– บทบาทของห้องสมุดต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ การเงิน และการพัฒนาคน
วิทยากรแต่ละท่านเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทั้งนั้นเลย (ทำเอาผมประหม่าเล็กน้อย)
ผมเชื่อว่างานนี้เพื่อนๆ จะได้เข้าใจถึงบทบาทของห้องสมุดที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศเลยทีเดียว
ห้องสมุดไม่ใช่แค่ที่นั่งอ่านหนังสือ หรือ แค่ที่เก็บหนังสือ เท่านั้น
แต่ห้องสมุดสามารถสร้างสังคม พัฒนาระบบเศรษฐกิจ และช่วยพัฒนาคน
อยากให้เพื่อนๆ ได้มาฟังกันเยอะๆ นะครับ
งานนี้ถ้าใครสนใจก็สามารถลงทะเบียนได้ฟรีนะครับ
ติดต่อสอบถามและสำรองที่นั่งได้ที่
ศูนย์ประสานงานสารนิเทศสาขาเศรษฐศาสตร์ (ศปศ.)
ธนาคารแห่งประเทศไทย
โทรศัพท์ 0 2280 4035, 0 2283 5698, 0 2283 5795
FAX แบบลงทะเบียนได้ที่ โทรสาร 0 2283 5656 หรือทาง mail : supattrn@bot.or.th
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
– หนังสือเชิญเข้าร่วมงาน
– แบบตอบรับเข้าร่วมงานสัมมนาวิชาการ
ขอความกรุณาตอบกลับมาภายในวันที่ 18 กรกฎาคม 2555 นะครับ
Workshop “เทคโนโลยี Cloud Computing กับงานสารสนเทศ”
กิจกรรมที่แนะนำวันนี้เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจมากสำหรับคนที่ติดตามทั้งวงการห้องสมุดและวงการไอที กิจกรรมนี้เป็นงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ หรือที่เรียกว่า workshop นั่นเอง ซึ่งหัวข้อหลักของงาน คือ “เทคโนโลยี Cloud Computing กับงานสารสนเทศ”
รายละเอียดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเบื้องต้น
ชื่องานภาษาไทย : เทคโนโลยี Cloud Computing กับงานสารสนเทศ
สถานที่จัดงาน : อาคาร 10 ห้อง 10303 มหาวิทยาลัยหอการค้า
วันและเวลาที่จัด : วันที่ 3 – 4 พฤษภาคม 2555
จัดโดย : คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ STKS
การจัดงานครั้งนี้ผมชื่นชอบมากๆ เพราะเป็นการนำเสนอเรื่องราวใหม่ๆ ให้วงการบรรณารักษ์ของเราได้ตามเทคโนโลยีให้ทันกระแส ถ้ามีโอกาสก็อยากให้เพื่อนๆ เข้าร่วมมากๆ เช่นกัน
หัวข้อที่น่าสนใจในงานนี้
– Cloud Computing : สาระและสำคัญ
– องค์กรกับการก้าวสู่ยุค Cloud Computing
– การประยุกต์ใช้ Cloud Computing ในองค์กร
– โอกาสและความเป็นไปได้ในการใช้ Cloud Computing ในวิชาชีพสารสนเทศในประเทศไทย
– ปัญหาและอุปสรรคในการใช้ Cloud Computing
– การใช้ Cloud Computing ในการเรียนการสอน
– Workshop แนะนำวิธีการใช้ Cloud Computing
วิทยากรแต่ละท่านมาจากองค์กรที่สุดยอดทั้งนั้นเลย เช่น STKS, Microsoft, CRM Charity
เห็นหัวข้อแล้วผมเองก็อยากเข้าร่วมเหมือนกันนะครับ แต่เสียดายที่ติดธุระ
หัวข้อที่เน้นเรื่อง Technology Cloud ซึ่งเข้ากับโลกยุคปัจจุบันมากๆ
สัมมนาเชิงปฏิบัติการมีค่าลงทะเบียนด้วยนะครับ
ใครลงทะเบียนก่อนวันที่ 20 เมษายน 2555 ค่าลงทะเบียน 1,000 บาท
ใครลงทะเบียนหลังวันที่ 20 เมษายน 2555 ค่าลงทะเบียน 2,000 บาท
หากเพื่อนๆ สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม เข้าไปดูต่อที่ http://humanities.utcc.ac.th/iscon2012/
หรือต้องการลงทะเบียนเข้าร่วมงาน http://humanities.utcc.ac.th/iscon2012/index.php/registration.html
ในวันดังกล่าวผมติดงานบรรยายดังนั้นใครไปงานนี้เอาความรู้มาฝากผมด้วยนะ
ขอบคุณมากๆ ครับ
สัมมนาวิชาการ “บทบาทของบรรณารักษ์กับการวิจัย”
วันนี้มีกิจกรรมดีๆ ในวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มาแนะนำอีกแล้วนะครับ วันนี้มาแบบวิชาการนิดนึง คือ งานสัมมนาวิชาการที่จัดโดยนักศึกษาบรรณารักษ์ระดับบัณฑิตศึกษา ม.รามคำแหง เอาเป็นว่าไปอ่านรายละเอียดกันเลยครับ
รายละเอียดการสัมมนาวิชาการเบื้องต้น
ชื่องานภาษาไทย : บทบาทของบรรณารักษ์กับการวิจัย
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุมพวงแสด ชั้น 2 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
วันและเวลาที่จัด : วันอังคารที่ 24 เมษายน 2555 เวลา 8.00-16.30 น.
ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วม : ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ
เท่าที่อ่านรายละเอียดของโครงการฯ คาดว่าเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา
ดังนั้นจากหัวข้องานสัมมนาและหน่วยงานที่จัดงานย่อมเต็มไปด้วยวิชาการล้วนๆ แน่นอนครับ
กำหนดการแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ
ช่วงเช้าจะเป็นหัวข้อ : บทบาทของบรรณารักษ์กับการวิจัย
ช่วงบ่ายจะเป็นการนำเสนอวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา
วิทยากรที่มาบรรยาในช่วงเช้า คือ รองศาสตราจารย์ ดร.สมพร พุทธาพิทักษ์ผล และรองศาสตราจารย์ ดร. พิมลพรรณ ประเสริฐวงษ์ เรพเพอร์
เอาเป็นว่าถ้าใครสนใจในแวดวงงานวิจัย หรือสนใจที่จะเรียนต่อในระดับบัณฑิตศึกษา ก็ควรเข้าฟังนะครับ เพราะคงได้หลักการ และสาระความรู้ที่เกี่ยวกับการนำไปใช้ได้ดีทีเดียว
รีบหน่อยนะครับ เพราะว่าต้องสมัครก่อนวันที่ 20 เมษายน 2555 นะครับ
(ในแบบฟอร์มที่ส่งบอกว่าให้ส่งก่อนวันอบรม 3 วันทำการ)
สุดท้ายนี้ใครที่สนใจงานสัมมนาวิชาการครั้งนี้ กรุณาอ่านรายละเอียดที่ http://www.webblog.rmutt.ac.th/yaowaluk/2012/04/07/%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9F%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87/
หรือจะติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่คุณเสาวณีย์ ไตรวิทยาศิลป์
โทร. 081-453-3394 , Mail: lisru-ram@hotmail.com
เอาเป็นว่าหัวข้อก็น่าสนใจ วิทยากรก็น่าสนใจ ไปกันเยอะๆ นะครับ
งานเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างห้องสมุด ณ ธรรมศาสตร์
ไม่ได้อัพเดทกิจกรรมห้องสมุดมานาน วันนี้ขอแนะนำกิจกรรมห้องสมุดที่ผมเข้าร่วมสักหน่อย
กิจกรรมนี้จะเกิดขึ้นในวันอังคารที่จะถึงนี้ (7 กุมภาพันธ์ 2555) ชื่อกิจกรรม “งานเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างห้องสมุด”
รายละเอียดทั่วไปเกี่ยวกับกิจกรรมนี้
ชื่อกิจกรรม : งานเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างห้องสมุด
วันที่จัดงาน : 7 กุมภาพันธ์ 2555
สถานที่จัดงาน : ห้องเรวัต พุทธินันท์ หอสมุดปรีดี พนมยงค์ ชั้นใต้ดิน ๒ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ค่าใช้จ่าย : ฟรี
รับจำนวน 70 คน
กิจกรรมนี้ผมได้รับเชิญเพื่อมาเป็นผู้ดำเนินรายการ (ได้พลิกบทบาทจากวิทยากรเป็นผู้ดำเนินรายการครั้งแรก) ช่วงแรกๆ ก็ลังเลว่าจะตอบรับดีมั้ย
แต่พอได้ยินหัวข้อเท่านั้นแหละ ต้องตอบตกลงทันที เพราะผมเองก็สนใจเรื่องนี้อยู่เช่นกัน “บทเรียนจากมหาอุทกภัย 2554 กับห้องสมุด”
หลังจากจบการเสวนาครั้งนี้ผมคงได้เขียนเรื่องนี้อย่างเป็นเรื่องเป็นราวสักที
หัวข้อที่เป็น Hilight ของกิจกรรมนี้ คือ
– เล่าสู่กันฟัง: ประสบการณ์ในหน้าที่ Subject Liaison โดย Mr. Larry Ashmun
– บทเรียนจากมหาอุทกภัย 2554 : เรื่องเล่าจากห้องสมุด โดย ผอ.ห้องสมุดจาก ธรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ รังสิต
ณ วันที่ผมลงข้อมูลในบล็อก ตอนนี้ปิดรับผู้ลงทะเบียนแล้วนะครับ เนื่องจากเต็มแล้ว (70คน)
เอาเป็นว่าผมจะสรุปเรื่องราวในวันนั้นมาลงให้อ่านแล้วกันครับ
รายละเอียดของกิจกรรมครั้งนี้อ่านได้จากเว็บไซต์ http://library.tu.ac.th/announcement/km/ นะครับ
การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 29
งานประชุมวิชาการของกลุ่มห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาก็เป็นอีกงานที่น่าสนใจนะครับ
ปีนี้ก็เช่นกัน ธีมงานของปีนี้คือ “มิติใหม่ในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุด”
รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับการประชุมวิชาการ
ชื่องานภาษาไทย : การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 29
หัวข้อของการจัดงานภาษาไทย : มิติใหม่ในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุด
หัวข้อของการจัดงานภาษาอังกฤษ : The New Dimension of Library Cooperation Development
วันและเวลาที่จัดงาน : วันที่ 27 – 30 พฤศจิกายน 2555
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุม อาคารเรียนรวม 5 ชั้น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง
หัวข้อปีนี้ “มิติใหม่ในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุด” ได้บ่งบอกประเด็นหลักๆ คือ ห้องสมุดในมุมมองใหม่ กับ ความร่วมมือในการพัฒนาห้องสมุด การประชุมครั้งนี้ก็คงคล้ายๆ กับครั้งก่อนๆ คือ การนำเสนองานวิชาการ การระดมสมองทางงานวิชาการ ฯลฯ
ตัวอย่างหัวข้อที่น่าสนใจในงานประชุมวิชาการครั้งนี้
– Library Consortium Management
– การพัฒนาคลังสารสนเทศขนาดใหญ่โดยใช้ DSpace ของสถาบันนิติบัญญัติ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
– Virtual Newspaper in an Educational and Engaging Environment
– ห้องสมุดในฝัน
– เทคโนโลยี Cloud Computing กับการพัฒนาระบบห้องสมุด
– หนังสือลอยฟ้า : มิติใหม่ของ e-books
– องค์กร EIFL กับการพัฒนาห้องสมุดในประเทศไทย
– วิธีคิดและแนวทางความร่วมมือของห้องสมุดเครือข่าย OCLC จากการประชุม Asia Pacific Regional Council 3rd Membership Conference
– URD2 (Unified Resource Discovery and Delivery)
– แนวทางความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน
– ความร่วมมือในการจัดทำดรรชนีวารสารระหว่างห้องสมุด : มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบับัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และธนาคารแห่งประเทศไทย
– บทบาทของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสถานะความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย
– คณะกรรมการเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย
– รายงานความก้าวหน้าของคณะอนุกรรมการฯ ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในรอบปีที่ผ่านมา
เป็นยังไงบ้างครับกับหัวข้อต่างๆ ในงานประชุมวิชาการในครั้งนี้ แต่ละหัวข้อน่าสนใจมากๆ เลย เพื่อนๆ ว่ามั้ย
การประชุมครั้งนี้มีความใช้จ่ายด้วยนะครับ ค่าลงทะเบียนก็ท่านละ 2,500 บาทนะครับ
เอาเป็นว่าใครสนใจก็ลงทะเบียนได้เลยครับที่ http://203.131.219.178:8080/coconference2011/index_coconference2011.asp
รายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อนๆ สามารถอ่านได้ที่ http://203.131.219.178/coconference/
โรคทางมือที่อาจเกิดกับบรรณารักษ์ (Hand : Medical Librarian)
หัวข้อที่แปดแล้วนะครับมาอ่านสรุปงานอบรมเชิงปฏิบัติการ “การเพิ่มมูลค่าบรรณารักษ์การแพทย์” กันต่อเลย
หัวข้อ คือ โรคทางมือที่อาจเกิดกับบรรณารักษ์ (Hand : Medical Librarian)
วิทยาการโดย นายแพทย์สมศักดิ์ ลีเชวงวงศ์ กลุ่มงานออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลเลิศสิน
หัวข้อนี้ถือว่าเป็นการเติมความรู้ในเรื่องของสุขภาพและการดูแลสุขภาพในวิชาชีพบรรณารักษ์
อาชีพของบรรณารักษ์เรามีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคที่เกี่ยวกับกระดูและข้ออย่างไร
ผมยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น การยกของหนักก็ทำให้มีโอกาสที่จะบาดเจ็บข้อหรือกล้ามเนื้อเช่นกัน
โดยวันนี้ท่านวิทยากรขอแนะนำโรคทางมือที่อาจเกิดกับบรรณารักษ์
โรคที่จะกล่าวดังต่อไปนี้ไม่ได้เกิดจากการยกของหนัก แต่การยกของหนักทำให้มีโอกาสเป็นได้ง่ายขึ้นก็เท่านั้นเอง
โรคนิ้วสะดุด
ข้อมูลทั่วไป
– ผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย
– พบในวัยกลางคน
– เกิดอาการที่นิ้วแม่มือ, นิ้วนาง, นิ้วกลาง
การรักษา
-พักการใช้งานชั่วคราว
– ใส่เครื่องดามมือ
– ทานยาแก้อักเสบ
– ฉีดยาแก้อักเสบ (ฉีดสารสเตอรอยด์)
– ผ่าตัด
โรคอักเสบบริเวณข้อมือ
ข้อมูลทั่วไป
– ผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย
– พบในวัยกลางคน
การรักษา
– พักการใช้งานชั่วคราว
– ใส่เครื่องดามมือ
– ทานยาแก้อักเสบ
– ฉีดยาแก้อักเสบ (ฉีดสารสเตอรอยด์)
– ผ่าตัด
โรคเส้นประสาทถูกกดทับ บริเวณข้อมือ
ข้อมูลทั่วไป
– ผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย
– คนท้องหรือตั้งครรภ์เกิดบ่อยมาก
– เกิดอาการชาเป็นพักๆ ถ้าหนักๆ จะเกิดอาการชาแล้วไม่หาย
การรักษา
– การรักษาจากต้นทาง (สาเหตุ) เช่น ปรับปรุงวิธีทำงาน การปรับการนั่งทำงาน การวางมือบนแป้นคีย์บอร์ด
– ดามข้อมือ
– ทานยา ยาแก้อักเสบ วตามิน B6
– ผ่าตัด
โรคข้อเสื่อมทางมือ
ข้อมูลทั่วไป
– ผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย
– พบในวัยกลางคน
– ข้อนิ้วยึดติดในตอนเช้า
– ลักษณะนิ้วเก
การรักษาขั้นต้น
– แช่น้ำอุ่นๆ ช่วงเช้า 3-5 นาที
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ มาจาก
– กรรมพันธุ์
– อายุ, เพศ, น้ำหนักตัว, ภาวะประจำเดือน
– การทำงาน
เอาเป็นว่ายังไงซะก็รักษาสุขภาพกันด้วยนะครับ
ผู้ใช้บริการขอบอก : ห้องสมุดการแพทย์ที่ถูกใจผู้ใช้บริการ
สรุปหัวข้อที่เจ็ดของงานอบรมเชิงปฏิบัติการ “การเพิ่มมูลค่าบรรณารักษ์การแพทย์”
หัวข้อ คือ ห้องสมุดการแพทย์ที่ถูกใจผู้ใช้บริการ (Use the Medical Library ? : Resident)
วิทยาการโดย นายแพทย์ภัทรกานต์ สุวรรณทศ นักศึกษาแพทย์ประจำบ้าน โรงพยาบาลเลิศสิน
หัวข้อนี้เป็นหัวข้อที่ผมรู้สึกว่าฟังสบายที่สุดแล้วสำหรับการฟังสัมมนาวันนี้
เพราะเป็นการถ่ายทอดประสบการณ์ในการใช้ห้องสมุดการแพทย์ในมุมมองของผู้ใช้บริการ
อย่างที่บอกอ่ะครับว่าฟังง่าย แต่หัวข้อนับว่าเป็นประโยชน์เลยทีเดียว
วิทยากรได้นำภาพบรรยากาศในห้องสมุดการแพทย์มาให้พวกเราดู โดยเน้นที่รูปหนังสือเล่มใหญ่ๆ (หนังสือด้านการแพทย์ส่วนใหญ่เล่มใหญ่ หนา และหนัก) ทำให้ผู้ใช้บริการหลายคนไม่นิยมที่จะยืมหนังสือเหล่านี้ออกจากห้องสมุด ปัจจุบันนักศึกษาแพทย์หลายคนนิยมใช้ Ipad บ้าง Ebook reader บ้าง เพื่อที่จะใช้อ่าน E-book วิทยากรได้โชว์ว่าในเครื่องคอมตัวเองก็เก็บหนังสือ e-book มากมาย ราวๆ 400 กว่าเล่ม นี่ก็เป็นส่วนนึงที่อยากแสดงให้เห็นว่า “ใครจะไปแบกหนังสือในห้องสมุดบ้าง”
แล้วตกลง “มีห้องสมุดการแพทย์ไว้ทำไม” วิทยากรได้แบ่งการใช้งานห้องสมุดการแพทย์ออกมาเป็น 2 ส่วน คือ
– ใช้ในแง่แหล่งข้อมูล เช่น หนังสือ วารสาร ฐานข้อมูล e-book ฯลฯ
– ใช้ในแง่ส่วนตัว เช่น พักผ่อน นัดพบ หาความรู้เพิ่มเติม
ห้องสมุดการแพทย์ในฝันตามสไตล์นักศึกษาแพทย์
1 การเป็นแหล่งข้อมูล (อันนี้เน้นการให้บริการทางเว็บไซต์ หรือ การสร้างชุมชนการเรียนรู้) โดยห้องสมุดจะต้องมีฟีเจอร์เพิ่มเติม คือ
1.1 ระบบการค้นหาที่ใช้ง่าย และค้นหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 ระบบการสะสมองค์ความรู้ จัดเก็บข้อมูลได้เป็นระบบ
1.3 ระบบการสร้าง สามารถสร้างองค์ความรู้ หรือ มีพื้นที่ในการเขียนเรื่องต่างๆ ในเว็บห้องสมุด
1.4 ระบบการเผยแพร่ ถ่ายทอดและส่งต่อองค์ความรู้เพื่อให้ผู้อื่นได้อ่านและแสดงความคิดเห็นได้
2 สื่อการเรียนการสอนแบบใหม่ๆ เช่น
2.1 ไฟล์วีดีโอทางด้านการแพทย์ เช่น การผ่าตัด การรักษาเฉพาะที่ ฯลฯ
2.2 ไฟล์ภาพทางด้านการแพทย์ เช่น ภาพการวินิจฉัยโรคต่างๆ ฯลฯ
2.3 ไฟล์ฟิล์มภาพ X-ray เช่นภาพกระดูดหัก กระดูแตก กระดูกคต ฯลฯ
3 บรรยากาศภายในห้องสมุด
3.1 สถานที่เอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้ ส่งเสริมการเรียนรู้
3.2 สถานที่เงียบสงบ
4 ส่วนสนับสนุน
4.1 หนังสือพิมพ์
4.2 วารสาร
4.3 อินเทอร์เน็ตไร้สาย
5 อื่นๆ
5.1 ห้องน้ำ
5.2 ห้องอาหาร
นี่ก็เป็นเพียงความเห็นส่วนหนึ่งจากผู้ใช้บริการ หากเราสามารถทำตามความต้องการของผู้ใช้บริการได้ ห้องสมุดก็ยังคงมีความสำคัญอยู่ตลอดไป นั่นแหละครับ
การจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในห้องสมุดการแพทย์
สรุปมาจนถึงหัวข้อที่หกแล้วนะครับสำหรับงานอบรมเชิงปฏิบัติการ “การเพิ่มมูลค่าบรรณารักษ์การแพทย์”
หัวข้อ คือ IT Management in Medical Library (การจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในห้องสมุดการแพทย์)
วิทยากรโดย นายแพทย์ธีรชัย ยงชัยตระกูล หัวหน้ากลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ โรงพยาบาลเลิศลิน กรมการแพทย์
หัวข้อนี้จริงๆ แล้วมีเนื้อหาคล้ายๆ ของผมเลย แต่มีเนื้อหาต่างกันอยู่บ้างแหละ
ซึ่งโดยหลักๆ ท่านวิทยากรได้เล่าภาพห้องสมุดออกมาเป็น 3 มุมมองใหญ่ๆ คือ อดีต ปัจจุบัน อนาคต
หัวข้อที่บรรยายเป็นการจุดประเด็นให้คิดและวิเคราะห์ตาม
เพื่อทำให้เรา รู้จักอดีต / เข้าใจปัจจุบัน / คาดเดาอนาคต ของวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์
ห้องสมุดสมัยโบราณ (Ancient Ages)
ห้องสมุดในอดีตคงต้องมองย้อนไปตั้งแต่เกิดห้องสมุดแห่งแรกของโลกบริเวณที่เกิดอารายธรรมเมโสโปเตเมียเลย (เมื่อ 4000 ปีก่อน) ในยุคนั้นมีการแกะสลักตัวอักษรลงในแท่นดินเหนียว ถัดมาจนถึงยุคของอียิปต์โบราณที่ใช้กระดาษปาปิรุสบันทึกข้อมูล ไล่มาเรื่อยๆ จนถึง Royal Library at Dresden ที่บันทึกข้อมูลด้วยหนังสัตว์ และมีการนำหนังสัตว์มาเย็บรวมกันที่เรียกว่า Codex เป็นครั้งแรก
ห้องสมุดในยุคกลาง
ในยุคนี้จะพูดถึงเรื่องทวีปยุโรปได้มีการจัดสร้างห้องคัดลอกหนังสือ (Scriptorium) ไล่ไปจนถึงจีนที่เริ่มมีการทำกระดาษครั้งแรกของโลก และการกำเนิดเครื่องพิมพ์เครื่องแรกของโลก โดย johannes gutenberg
ห้องสมุดในยุคใหม่
อันนี้เริ่มใกล้ตัวเราขึ้นมาหน่อย โดยนับเริ่มตั้งแต่การเกิด Library of congress ถัดมาก็เรื่องของการจัดหมวดหมู่หนังสือต่างๆ เช่น Dewey, UDC ไปจนถึงการเกิดโรงเรียนบรรณารักษ์ และการจัดตั้งกลุ่มความร่วมมือด้านบรรณารักษ์ระหว่างประเทศ…
คำอธิบาย หรือ ที่มาของคำว่า Librarian มีที่มาอย่างไร
Liber (Latin) = เปลือกด้านในของต้นไม้
Libraria (Latin) = ร้านหนังสือ
Librarie (anglo french)
Librarie (old-french) = cellection of books
Librarian = บรรณารักษ์
สมัยก่อนใช้คำว่า library-keeper
การจัดการสื่อในห้องสมุดจะเปลี่ยนไปแค่ไหน
– จากหนังสือ จะกลายเป็น Digital File
– จากชั้นหนังสือ จะกลายเป็น Storage Server
การจัดการด้านเครือข่ายในห้องสมุด
– การเข้าถึงข้อมูล จากต้องเข้ามาที่ห้องสมุด จะกลายเป็น เข้าที่ไหนก็ได้
– การเข้ารับบริการ จากต้องเข้าใช้ตามเวลาที่ห้องสมุดเปิด จะกลายเป็น เข้าได้ 24 ชั่วโมง
ท่านวิทยากรได้ยกตัวอย่างมาตรฐานของสมาคมห้องสมุด พ.ศ. 2552 โดยหมวดที่เกี่ยวข้องกับการจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจะถูกแทรกอยู่ในหมวด 5, 7, 8
หลังจากที่พูดถึงภาพอดีตแบบกว้างๆ ไปแล้ว ทีนี้มาดูปัจจุบันกันบ้างดีกว่า
งานที่เกี่ยวกับสื่อในห้องสมุด และการบริการในห้องสมุด งานไอทีที่จำเป็นในงานดังกล่าวจะประกอบด้วย
– Server = ดูเรื่องของการจัดการ, ความปลอดภัย, ฐานข้อมูล
– Client = เครื่องของผู้เข้ารับบริการจะต้องเข้าใช้งานได้ ตรวจสอบผู้ใช้ได้
– Network = มีให้เลือกทั้งแบบมีสายและไร้สาย (ปัจจุบันรพ.เลิศสิน เช่น leased line)
– Content = content ทั้งหมดสามารถเข้าผ่าน intranet ได้
– Software
ตัวอย่างระบบห้องสมุดในอนาคตที่คาดว่าจะเป็น :- *** อันนี้น่าสนใจมากครับ
– Berkeley (1996 โมเดลเก่าของเขา แต่ใหม่ของเรา)
– Harvard University “Library digital Initiative”
– Stanford University “Digital Repository”
“IT จะรับหน้าที่เป็นแหล่งข้อมูลแทนห้องสมุด หนังสือจะเปลี่ยนเป็น สื่อที่ใช้เก็บเพื่ออ้างอิงและสะสม”
ห้องสมุดจะเปลี่ยนเป็นศูนย์การเรียนรู้ และ บรรณารักษ์จะเปลี่ยนเป็นนักสารสนเทศ