Workshop : การบริหารความเสี่ยงสำหรับห้องสมุดยุคใหม่

การประชุมประจำปีของชมรมห้องสมุดเฉพาะใกล้เข้ามาแล้ว
และเป็นประจำของทุกปีที่ผมจะต้องนำมาประชาสัมพันธ์สักหน่อย

slgconference1

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ
ชื่องานภาษาไทย : การบริหารความเสี่ยงสำหรับห้องสมุดยุคใหม่
จัดวันที่ : 30 – 31 สิงหาคม 2553
สถานที่จัดงาน : กรมวิทยาศาสตร์บริการ
จัดโดย : ชมรมห้องสมุดเฉพาะ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

หัวข้อเกี่ยวกับเรื่อง “การบริหารจัดการความเสี่ยง” เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากในปัจจุบัน
เนื่องจากวิถีชีวิตในปัจจุบันของคนเรามีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
บางอย่างที่เราวางแผนไว้อาจจะไม่สามารถปฏิบัติได้ตามแผน
ถ้ามันเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็คงไม่เป็นอะไรมาก แต่ถ้าเป็นเรื่องใหญ่ๆ ระดับองค์กรหล่ะ
มันอาจจะทำให้องค์กรของคุณล้มลงอย่างไม่เป็นท่าเลยก็อาจเป็นได้

ดังนั้นการสัมมนาเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ผมจึงอยากให้เพื่อนๆ ได้เข้าร่วมกันมากๆ
นอกจากจะได้รับความรู้ดีๆ แล้ว ยังถือว่าเป็นการระดมสมองเพื่อการแก้ปัญหาในวงการห้องสมุดเลยก็ว่าได้

ตัวอย่างหัวข้อที่น่าสนใจในการบรรยายและเสวนา
– ห้องสมุดยุคใหม่ต้องใส่ใจความเสี่ยง
– การบริหารความเสี่ยงของห้องสมุด : กรณีศึกษา
– การบริหารจัดการความเสี่ยง…สำคัญอย่างไร
– คุยเฟื่องเรื่องความเสี่ยง? : กลยุทธ์พิชิตความเสี่ยงในห้องสมุด
– แผนยุทธศาสตร์การบริหารความเสี่ยงสำหรับห้องสมุด
– การจัดทำแผนยุทธศาสตร์บริหารความเสี่ยง

เห็นหัวข้อแล้วผมก็เริ่มสนใจแล้วหล่ะครับ
ยิ่งวิทยากรและผู้บรรยายหลายๆ คนมาจากนอกวงการห้องสมุดด้วย
เช่น ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการเพิ่มผลผลิต สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
ผู้จัดการสายงานด้านการบริหารความเสี่ยง บริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส เอฟเอเอส จำกัด

เอาเป็นว่าใครสนใจก็ต้องเสียเงินกันหน่อยนะ เพราะงานนี้มีค่าใช้จ่าย
หากลงทะเบียนก่อนวันที่? 6? สิงหาคม 2553 สมาชิก = 1,500 บาท บุคคลทั่วไป = 1,800 บาท
ค่าลงทะเบียนหลังวันที่ 6? สิงหาคม 2553 สมาชิก = 1,800 บาท บุคคลทั่วไป = 2,100 บาท

เอาเป็นว่าใครสนใจรายละเอียดก็เข้าไปดูได้ที่
รายละเอียดโครงการ

แล้วพบกันในงานครับผม

กระบวนทัศน์การพัฒนาห้องสมุดสู่ความสำเร็จ

วันนี้ผมขอแนะนำงานประชุมวิชาการประจำปีของหอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นะครับ
เพราะว่างานนี้เป็นงานที่น่าสนใจมากๆ เพราะอัดแน่นไปด้วยเนื้อหาสาระเพื่อการพัฒนาห้องสมุด

tu-seminar-library

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับงานประชุมวิชาการ
ชื่องานภาษาไทย : กระบวนทัศน์การพัฒนาห้องสมุดสู่ความสำเร็จ
ชื่องานภาษาอังกฤษ : Paradigm of library development for success
จัดวันที่ : 2 – 3 กันยายน 2552
สถานที่จัดงาน : โรงแรมปรินซ์พาเลช กรุงเทพฯ
จัดโดย : สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

จากการที่ผมติดตามข่าวสารด้านห้องสมุดมาตลอดสามปี
ผมได้ลองอ่านเอกสารประกอบการประชุมวิชาการนี้มาโดยตลอด
(ต้องขอบคุณพี่ๆ ที่ธรรมศาสตร์ที่ส่งมาให้ผมอ่าน)
ซึ่งต้องขอบอกเลยว่าเป็นงานประชุมทางวิชาการด้านห้องสมุดที่ดีที่สุดในเมืองไทยเลยก็ว่าได้

ดังนั้นปีนี้พอมีงานผมเลยต้องขอบอกต่อให้เพื่อนๆ ร่วมวิชาชีพเข้าร่วมกันสักหน่อย
เอาเป็นว่าถ้าใครมีโอกาสไปงานนี้ผมเชื่อว่าเพื่อนๆ จะได้ไอเดียดีๆ มากมายเพื่อนำมาพัฒนาห้องสมุด

ตัวอย่างหัวข้อการบรรยายในงานนี้
– การบรรยายเรื่อง การพัฒนาห้องสมุดสู่ยุค Generation G
– การบรรยายเรื่อง คุณภาพบริการ ความพึงพอใจ การวัดและประเมินบริการห้องสมุด
– การบรรยายเรื่อง ศาสตร์แห่งความสำเร็จพิชิตอุปสรรคในงานห้องสมุด
– การบรรยายเชิงปฏิบัติ การเรื่องเทคนิคการทำ Mind Map เพื่อผลสำเร็จของงานห้องสมุด
– การบรรยายเรื่อง Libraries – A Framework for Excellence : A Report on Work in Progress at Technische Universit?t M?nchen Library, Germany
– การบรรยายเรื่อง Social Networking, Social Media และ I-Society กับการพัฒนาห้องสมุด
– การบรรยายเรื่อง Seven Habits : หลักการเพื่อสร้างความสำเร็จแก่ตนเองและงาน

เห็นมั้ยครับแค่หัวข้อยังน่าสนใจมากๆ เลยครับ
ถ้าได้ไปฟังจะได้ไอเดียดีๆ กลับมามากแค่ไหน

อ๋อ แต่ก็ต้องบอกก่อนนะครับว่า งานนี้มีค่าใช้จ่ายนะครับ
ค่าลงทะเบียนคนละ 2,500 บาท (ค่าเอกสารและอาหาร)

นอกจากนี้หากเพื่อนๆ สนใจเอกสารประกอบการประชุมวิชาการที่ผ่านมา เพื่อนๆ สามารถดูได้ที่
“ห้องสมุดเชิงรุก : การปรับตัวสู่การเป็นห้องสมุดในโลกไร้พรมแดน” (2550)
“การพัฒนาศักยภาพห้องสมุดยุคใหม่” (2551)
“การจัดการการเปลี่ยนแปลงห้องสมุดในทศวรรษหน้า” (2552)

ใครที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปดูได้ที่ http://203.131.219.180/conference2010

และถ้าใครสนใจลงทะเบียนเข้าร่วมงานก็เข้าไปได้ที่ http://library.tu.ac.th/conference2010/index.asp

งานสัมมนา “การสร้างความเข้มแข็งโดยพัฒนานิสัยรักการอ่าน”

วันนี้ผมมีกิจกรรมดีๆ มาแนะนำให้เพื่อนๆ รู้จักกันอีกแล้ว
กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ใช้ในการเตรียมการจัดงานสัปดาห์ห้องสมุดประจำปีนี้ด้วย

reading

รายละเอียดเบื้องต้นของงานนี้
ชื่องานสัมมนาภาษาไทย? : ?การสร้างความเข้มแข็งโดยพัฒนานิสัยรักการอ่าน?
ภายใต้งาน : ประชุมเพื่อเตรียมการจัดงานสัปดาห์ห้องสมุด ครั้งที่ 34
วันและเวลาที่จัด : วันที่ 23 กรกฏาคม 2553 เวลา 07.30-16.45 น.
สถานที่อบรม : ห้องประชุม สำนักหอสมุดแห่งชาติ

การจัดงานสัปดาห์ห้องสมุดจะมีการจัดขึ้นทุกปีในเดือนสิงหาคม
ซึ่งหากเพื่อนๆ จำได้ ปีที่แล้วจะมีธีมงานหลักว่า “การอ่านเพื่อพัฒนาตนและพัฒนาชาติ”
ส่วนในปีนี้อย่างที่เกริ่นไว้ข้างต้นนั่นก็คือธีมงานหลักของปีนี้นั่นเอง
ธีมงานหลักของงานสัปดาห์ห้องสมุด “การสร้างความเข้มแข็งโดยพัฒนานิสัยรักการอ่าน”

ในงานสัมมนาในครั้งนี้มีผู้ทรงคุณวุฒิมากมายด้วย


ตัวอย่างหัวข้อที่น่าสนใจในงานสัมมนา
เช่น
– กลยุทธ์การสร้างนิสัยรักการอ่านสำหรับเด็ก
– กลยุทธ์การสร้างนิสัยรักการอ่านสำหรับวัยรุ่น
– กลยุทธ์การสร้างนิสัยรักการอ่านสำหรับผู้ใหญ่
– การสร้างสาระอิเล็กทรอนิกส์ในห้องสมุดเพื่อส่งเสริมการอ่าน

งานนี้ผมเชื่อว่าคนที่ได้เข้าร่วมจะได้รู้จักเทคนิคในการสร้างนิสัยการรักการอ่านให้กับคนในชุมชนได้แน่นอน
ดังนั้นบรรณารักษ์จึงไม่ควรจะพลาดงานนี้นะครับ

งานนี้มีค่าใช้จ่ายเล็กน้อยครับ
สำหรับสมาชิกสมาคมฯ ชำระเงินก่อนวันที่ 20/7/53 คนละ 500 บาท? และถ้าชำระเงินหลังวันที่ 20/7/53 คนละ 700 บาท
สำหรับบุคคลทั่วไป ชำระเงินก่อนวันที่ 20/7/53 คนละ 600 บาท และถ้าชำระเงินหลังวันที่ 20/7/53 คนละ 800 บาท

เอาเป็นว่าใครสนใจข้อมูลเพิ่มเติมก็เข้ามาดูได้ที่
http://www.tla.or.th/pdf/libraryweek34.pdf

สำหรับวันนี้ผมต้องขอตัวก่อนนะครับ

การสัมมนา PULINET วิชาการ 1/2553 เรื่อง Creative Library

ช่วงนี้กระแสการตื่นตัวเรื่องความคิดสร้างสรรค์ได้ผ่านเข้ามาถึงวงการห้องสมุดแล้วนะครับ
ดังนั้นการสัมมนาของ Pulinet ในปีนี้ จึงต้องพูดเรื่องนี้กันหน่อย “Creative Library” หรือ “ห้องสมุดแห่งการสร้างสรรค์”

ภาพจาก http://www.gcecs2009.com
ภาพจาก http://www.gcecs2009.com

รายละเอียดเบื้องต้นของงานนี้
ชื่องานสัมมนาภาษาไทย? : “ห้องสมุดแห่งการสร้างสรรค์”
ชื่องานสัมมนาภาษาอังกฤษ : “Creative Library”
ภายใต้งาน : โครงการสัมมนา Pulinet วิชาการ
วันและเวลาที่จัด : วันที่ 24-25 มิถุนายน 2553 เวลา 08.30-21.00 น.
สถานที่อบรม : โรงแรมเมธาวลัย ชะอำ

งานสัมมนาในครั้งนี้เป็นงานที่น่าสนใจอีกงานหนึ่งของวงการห้องสมุดเลยก็ว่าได้ ซึ่งรูปแบบของงานสัมมนาในครั้งนี้
คือ เปิดโอกาสให้บรรณารักษ์ที่สังกัด Pulinet นำเสนอผลงานต่างๆ ที่เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ในห้องสมุด นั่นเอง

แนวทางในการนำเสนอก็ง่ายๆ มีสองแบบให้เลือกคือ
1. ปากเปล่า 30 นาที (ขึ้นมาพูดบนเวที)
2. จัดทำเป็นโปสเตอร์แล้วนำมาติดในส่วนนิทรรศการรอบๆ งาน

โดยหัวข้อนั้นจะต้องอยู่ในขอบข่ายของเนื้อหาดังนี้
– งานบริการสารสนเทศ
– งานข้อมูลท้องถิ่น
– งานบริการวารสาร
– งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
– งานมาตรฐานห้องสมุด
– งานอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการห้องสมุด

ซึ่งหากผลงานเข้าตากรรมการ ก็จะได้รับการสนับสนุนจากกองทุน pulinet ชิ้นละไม่เกิน 3,000 บาท

เอาเป็นว่าน่าสนใจใช่มั้ยละครับ เพื่อนๆ ลองดาวน์โหลดแบบฟอร์มเสนอผลงานไปก่อนก็ได้ครับ
แบบฟอร์มขอเสนอผลงาน http://www.snc.lib.su.ac.th/pulinet-seminar/assets/Downloads/presentation1form.pdf

ารสัมมนาในครั้งนี้ผมว่าเพื่อนๆ คงจะได้เห็นไอเดียมากมายเลยหล่ะครับ
ค่าลงทะเบียนของงาน (สมาชิก pulinet = 500 บาท ถ้าไม่ใช่สมาชิก = 1,000 บาท)

เอาเป็นว่าถ้าอยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติมลองเข้าไปอ่านได้ที่
http://www.snc.lib.su.ac.th/pulinet-seminar/assets/Downloads/PULINET1stcirculation.pdf

สำหรับใบสมัครลงทะเบียนดาวน์โหลดได้ที่
http://www.snc.lib.su.ac.th/pulinet-seminar/assets/Downloads/register-PULINET.pdf

เอกสารข้อกำหนดในการนำเสนอผลงานดูได้ที่
http://www.snc.lib.su.ac.th/pulinet-seminar/assets/Downloads/presentation2form.pdf

เอาเป็นว่าวันนี้ผมขอแนะนำแค่นี้ก่อนแล้วกันนะครับ

เว็บไซต์ของงานนี้ : http://www.snc.lib.su.ac.th/pulinet-seminar/

ความหลังจากงานสัมมนาโปรแกรมห้องสมุดดิจิทัล Greenstone เมื่อสามปีที่แล้ว

วันนี้ผมขอแนะนำโปรแกรม Greenstone Digital Library อีกสักครั้งดีกว่า
จริงๆ ผมเคยแนะนำหนังสือการใช้งานโปรแกรม Greenstone ไปแล้ว (เริ่มต้นกับการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลด้วย Greenstone)

greenstone-library

ข้อมูลของโปรแกรม Greenstone Digital Library นี้ ผมได้นำมาจากสไลด์งานสัมมนาเมื่อสามปีที่แล้วนะครับ
ที่ตอนนั้นผมได้รับร่วมสัมมนาเรื่อง โปรแกรมห้องสมุดดิจิทัล โดยใช้โปรแกรม Greenstone Digital Library Software
ซึ่งจัดโดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ NSTDA

การสัมมนาครั้งนี้เริ่มจากการเกริ่นถึง
– ความเป็นมาของห้องสมุดดิจิทัล (What is Digital Library for ?)
– ซอฟต์แวร์ที่ห้องสมุดดิจิทัลสามารถรองรับได้ (DL Software Requirements)
– มาตรฐานที่เกี่ยวกับการทำงานระหว่างห้องสมุด (Library Interoperability)
– การทำต้นแบบของห้องสมุดดิจิทัล (Digital Library Prototype)

หลังจากที่เกริ่นถึงข้อมูลโดยทั่วไป ซอฟต์แวร์ และการทำงานร่วมกันระหว่างห้องสมุดจบ
สไลด์นี้ก็ได้กล่าวถึงสถาปัตยกรรมของระบบ (System Architecture) โดยทั่วไป
ว่าห้องสมุดดิจิทัลมีลักษณะการทำงานอย่างไร ต้องผ่านกระบวนการใดบ้าง

หลังจากที่เกริ่นเรื่องสถาปัตยกรรมของระบบจบ
ก็เข้าสู่เรื่องที่หลายๆ คนต้องการรู้ นั่นคือ เกี่ยวกับระบบ Greenstone Digital Library Software
– ข้อมูลโดยทั่วไปของระบบ (Overall System)
– สถาปัตยกรรมของระบบ (System Architecture)
– การทำงานของระบบในฟังก์ชั่นต่างๆ (Functionality) เช่น Search system, Librarian Interface, Configuration system

เป็นอย่างไรกันบ้างครับคร่าวๆ สำหรับการสัมมนาครั้งนี้ น่าสนใจมากๆ เลยใช่มั้ยครับ
แต่เสียดายที่ผมไม่ได้เก็บสไลด์งานวันนั้นอ่ะครับ เลยเอามาโพสให้ดูไม่ได้

แต่ผมขอแนะนำแหล่งข้อมูลอื่นๆ แล้วกันนะครับ

เพื่อนๆ สามารถเข้าไปดูได้ที่เว็บของ Greenstone Digital Library Software ได้เลยครับ

โครงการเครือข่ายห้องสมุดดิจิทัลประเทศไทย

อย่างที่เมื่อวานผมได้กล่าวถึงงานสัมมนา ?มาตรฐานสื่อดิจิทัลเพื่อการบริการยุคสังคมฐานความรู้?
ผมได้มีโอกาสฟังการบรรยายอีกช่วงนึงที่น่าสนใจไม่แพ้กัน คือ “โครงการเครือข่ายห้องสมุดดิจิทัลประเทศไทย”
ผมก็จะสรุปให้เพื่อนๆ ได้อ่านเช่นเคยครับ

dlibthai

วิทยากรในช่วงนี้ คือ “คุณชิตพงษ์? กิตตินราดรผู้จัดการโครงการเครือข่ายห้องสมุดดิจิทัลประเทศไทย

คำถามแรกที่ทุกคนสงสัยคือ ทำไม สสส. ถึงทำโครงการเครือข่ายห้องสมุดดิจิทัลประเทศไทย
คำอธิบายจากท่านวิทยากรก็ทำให้เรากระจ่าง คือ สสส. เน้นการสร้างสุขภาวะซึ่งมีหลายด้านด้วยกัน
โดยห้องสมุด ถือว่าเป็นการสร้างสุขภาวะทางปัญญานั่งเองครับ

หลักการคร่าวๆ ของโครงการนี้เกิดจากความคิดที่ว่า
หน่วยงานที่มีข้อมูลในรูปแบบดิจิตอลหลายที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
ดังนั้นโครงการนี้จะเป็นตัวกลางที่จะช่วยประสานและแก้ไขปัญหาต่างๆ เหล่านี้

วิทยากรได้กล่าวถึง “สื่อกำหนดอนาคตของสังคม” เนื่องจากสื่อสามารถสร้างกรอบแนวคิดให้สังคม
บางประเทศถึงขั้นต้องปิดกั้นสื่อ เนื่องจากไม่ต้องการให้ประชาชนได้รับกรอบแนวคิดต่างๆ

สำหรับประเทศไทยมีการสำรวจและพบว่าในวันหยุด เด็กๆ จะใช้เวลากลับการดูทีวีถึง 14 ชั่วโมง
ลองคิดดูสิครับว่า เด็กเหล่านี้จะได้รับอะไรไปเป็นแนวคิดของพวกเขาบ้าง

“สื่อดิจิทัลกำลังกลายเป็นสื่อหลัก” เนื่องจากสื่อดิจิทัลเข้าถึงได้ง่ายมาก
จากการสำรวจคนไทยพบว่า คนไทยอ่านข้อมูลบนเน็ตมากกว่าอ่านหนังสือ
(ใช้เวลาในการอ่านหนังสือ = 39 นาที แต่ใช้เวลาบนอินเทอร์เน็ต 107 นาที)

จากการสำรวจของ NECTEC ก็แสดงถึงการเรียนรู้บนอินเทอร์เน็ต
เมื่อปี 51 มีการสอบถามถึงวัตถุประสงค์ของการใช้อินเทอร์เน็ต พบว่า ใช้เพื่อการเรียนรู้ 0.1%
แต่ด้วยคำถามเดียวกัน ในปี 52 พบว่า ใช้เพื่อการเรียนรู้ 8%

ตัวอย่างเว็บไซต์ที่น่าสนใจ
– World Digital Library = http://www.wdl.org/en/

wdl

– The National Archives = http://www.nationalarchives.gov.uk/

na

– Issuu = http://issuu.com/

issuu

– MIT OpenCourseWare = http://ocw.mit.edu/OcwWeb/web/home/home/index.htm

mit

– Google Book = http://books.google.com

google

แต่อุปสรรคของการเข้าถึงข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตก็มีนะครับ เช่น
– ความน่าเชื่อถือ? (ไม่รู้จะอ้างอิงใคร)
– ความครบถ้วนของเนื้อหา (ข้อมูลบางครั้งก็มีไม่ครบถ้วน)
– การจัดระบบ (ไม่มีระบบที่จัดการข้อมูลที่ดี)

แต่อุปสรรคต่างๆ เหล่านี้มีทางแก้ นั่นก็คือการจัดการห้องสมุดดิจิทัลไงครับ
ข้อมูลอ้างอิงได้ชัดเจน เนื้อหาก็ครบถ้วน รวมถึงให้คนเป็นผู้จัดระบบย่อมดีกว่าให้คอมพิวเตอร์คิด

โครงการเครือข่ายห้องสมุดดิจิตอลประเทศไทย สนับสนุนในเรื่องใดบ้าง
– การผลิต (แปลงสื่อเก่าเป็นสื่อใหม่ + ทำสื่อใหม่ให้ได้มาตรฐาน)
– การเผยแพร่ (ให้บริการบนเว็บ + ทำให้เกิดการเชื่อมโยงกัน)
– การเข้าถึง (เข้าถึงได้จากจุดเดียว + ค้นหาง่ายขึ้น)

dlib-th

เพื่อตอบสนองคนทุกกลุ่มเป้าหมาย เช่น
– ผู้พิการ = เข้าถึงข้อมูล
– นักเรียนนักศึกษา = ศึกษาเรียนรู้
– คนทั่วไป = สนับสนุนข้อมูลในชีวิตประจำวัน
– นักวิจัย = วิจัยพัฒนา

แผนงานของโครงการเครือข่ายห้องสมุดดิจิตอลประเทศไทยยาว 3 ปี (2010-2012) โดยแบ่งเป็น 3 เฟส คือ
1. จัดทำต้นแบบ (http://www.dlib.in.th) = 20,000 ชิ้น
2. สร้างมาตรฐานและบริการสาธารณะ = 200,000 ชิ้น
3. จัดตั้งองค์กร

ประโยคสรุปสุดท้ายของท่านวิทยากร ผมชอบมากๆ เลยครับ
Keyword = โอกาส + กำหนดทิศทางสังคม + สื่อใหม่

เอาเป็นว่างานนี้ผมได้ความรู้มากมายเลยครับ และได้มีโอกาสรู้จักโครงการดีๆ เพียบเลย
ขอบคุณผู้จัดงานทุกคนครับ ทั้ง มธ. สวทช. สสส. ศวท.

มาตรฐานสื่อดิจิทัลเพื่อการบริการยุคสังคมฐานความรู้

วันนี้ผมก็มีโอกาสเข้าร่วมงานสัมมนา “มาตรฐานสื่อดิจิทัลเพื่อการบริการยุคสังคมฐานความรู้
และได้ฟัง ศ.ดร. ไพรัช ธัชยพงศ์ บรรยายในเรื่อง “ความสำคัญของมาตรฐานสื่อดิจิทัล”
ผมจึงขอสรุปเนื้อหามาให้เพื่อนๆ ที่ไม่ได้มีโอกาสเข้าร่วมได้อ่านและเติมความรู้นะครับ

standard-for-digital-media

ปล.ผมขออนุญาตเรียกท่านวิทยากรว่า อาจารย์ นะครับ

หัวข้อแรกที่อาจารยืได้พูดถึง คือ เรื่อง “นิยามและวิวัฒนาการสังคมสารสนเทศ”
ซึ่งอาจารย์ได้อธิบายความหมายของคำว่า “สังคมความรู้” ให้พวกเราฟัง

“สังคมความรู้” คือ “สังคมที่ทุกคนช่วยกันสร้าง แบ่งปัน และใช้ความรู้ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดี”

ไม่ว่าสังคมของเราจะเป็นเกษตร อุตสาหกรรม หรือ บริการ ถ้าเราเอาความรู้ไปใช้
มันก็อาจจะช่วยเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการของเราได้ด้วย

เรื่องต่อมาที่อาจารย์ได้บรรยาย คือ เรื่องของวิวัฒนาการของสื่อ
โดยยกตัวอย่างภาพเขียนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคการเขียนหนังสือ และยุคการพิมพ์

สิ่งที่เราเห็นถึงความก้าวหน้าของสื่อ เช่น
กระดาษ -> หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ -> เครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

Example : LG Display unveils newspaper-size flexible e-paper
เครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีความยืดหยุ่นคล้ายๆ กระดาษ และมีขนาดใหญ่เท่าหนังสือพิมพ์

จากนั้นอาจารย์ก็หยิบเอาตารางการสำรวจยอดการจำหน่ายหนังสือในสหรัฐอเมริกามาให้พวกเราดู
และชี้ให้เห็นว่ายอดการอ่านหนังสือพิมพ์ของคนในสหรัฐอเมริกาลดลง สาเหตุมาจากสื่อออนไลน์

จากนั้นอาจารย์ก็ยกข้อมูลการใช้อินเทอร์เน็ตมาให้พวกเราดู (internetworldstats.com)
ประชากรบนโลกประมาณ 6,700 ล้านคน มีการใช้อินเทอร์เน็ต 1,700 ล้านคน

สิ่งที่กล่าวมาข้างต้น นี่เป็นเพียงการชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของสื่อดิจิทัล
แต่สิ่งที่ทำให้ต้องมีการมาพูดเรื่องมาตรฐานของสื่อดิจิทัลก็เนื่องมาจาก

ปัญหาของสื่อดิจิทัล เช่น font error, configuration, non format

ดังนั้นจากปัญหาต่างๆ จึงต้องมีการจัดการสื่อดิจิทัล เช่น
– การถ่ายทอดและจัดเก็บอย่างเป็นระบบ
– ต้องทำให้สามารถเข้าถึงได้อย่างกว้างขวาง
– ต้องมีการกำหนดมาตรฐานและแนวทาง
– สร้างความไหลเวียนของข้อมูล

ซึ่งหากพูดถึงมาตรฐานของสื่อดิจิทัลแล้ว เรามีรูปแบบในการกำหนดมาตรฐานหลายอย่าง เช่น
– การจัดการโฟลเดอร์และแฟ้มเอกสาร
– การจัดการเอกสารงานพิมพ์
– การจัดการเอกสารบนเว็บไซต์
– การจัดการเอกสารในการนำเสนอ
– การจัดการไฟล์เสียง
– การจัดการไฟล์ภาพ
– การจัดการสื่อมัลติมีเดีย

หลังจากที่พูดในส่วนนี้เสร็จ อาจารย์ก็อธิบายถึงเรื่องที่เกี่ยวกับเอกสารอย่างคร่าวๆ เช่น
– รูปแบบและระบบรหัสตัวอักษรและสัญลักษณ์
– รูปแบบของเสียงและการบีบอัดข้อมูล
– รูปแบบของไฟล์ภาพและการอ่าน spec กล้อง digital
– รูปแบบของไฟล์วีดีโอ และ MPEG ชนิดต่างๆ

(ผมไม่ขอลงรายละเอียดนะครับ เนื่องจากเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก)

สรุปปิดท้ายอาจารย์ได้เน้นให้พวกเราทำความเข้าใจในเรื่องของการกำหนดมาตรฐาน
และให้ช่วยกันรณงค์การใช้ข้อมูลมาตรฐาน รวมถึงช่วยกันปรับปรุงและพัฒนาข้อกำหนดต่อไป

เอาเป็นว่าผมก็หวังว่าเพื่อนๆ คงจะเข้าใจถึงความสำคัญของงานมาตรฐานสื่อดิจิทัลกันเพิ่มมากขึ้นนะครับ

สัมมนาเรื่อง “มาตรฐานสื่อดิจิทัลเพื่อการบริการยุคสังคมฐานความรู้”

วันนี้ผมมีงานสัมมนาที่น่าสนใจสำหรับงานห้องสมุดมาประชาสัมพันธ์ให้เพื่อนๆ เข้าร่วม
งานนี้เป็นงานสัมมนาที่ว่าด้วยเรื่องมาตรฐานของสื่อดิจิทัลในรูปแบบต่างๆ นั่นเอง

digital-media

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงานสัมมนานี้
ชื่องานสัมมนา : มาตรฐานสื่อดิจิทัลเพื่อการบริการยุคสังคมฐานความรู้
วันและเวลาที่จัดงาน : วันที่ 27 มกราคม 2553 เวลา 8.30-17.00 น.
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุมประกอบ หุตะสิงห์ อาคารอเนกประสงค์ 1 ชั้น 3 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

งานสัมมนาครั้งนี้จะทำให้เพื่อนๆ เข้าใจในเรื่องของการเผยแพร่เนื้อหาสารสนเทศที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัลในรูปแบบต่างๆ
ซึ่งจะเน้นในเรื่องของรูปแบบและมาตรฐานในการเข้าถึงสารสนเทศต่างๆ เพื่อทำให้เกิดคุณภาพต่อการให้บริการ
ในอนาคตผมว่าสื่อประเภทดิจิทัลจะเข้ามามีบทบาทต่อวงการห้องสมุดอีกมากมาย
ดังนั้นเพื่อนๆ ควรจะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงด้วย

หัวข้อที่น่าสนใจในงานนี้
– การบรรยายพิเศษ เรื่อง ความสำคัญของมาตรฐานสื่อดิจิทัล โดย ศ.ดร. ไพรัช ธัชยพงศ์
– การพัฒนาคลังความรู้ด้วย Open Source Software โดย นางสาวสุภาพร ชัยธัมมะปกรณ์
– ข้อกำหนดการพัฒนาสื่อดิจิทัลที่มีคุณภาพ โดย นายบุญเลิศ อรุณพิบูลย์
– โครงการเครือข่ายห้องสมุดดิจิทัลประเทศไทย และการหารือเพื่อจัดทำโครงการ โดย แผนงาน ICT สสส.

งานสัมมนาครั้งนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายนะครับ ดังนั้นเพื่อนๆ รีบๆ ลงทะเบียนกันด้วยนะครับ
ลงทะเบียนได้ที่ http://library.tu.ac.th/registeronline3/register.asp
และเพื่อนๆ สามารถตรวจดูชื่อของคนลงทะเบียนได้ที่ http://library.tu.ac.th/registeronline3/master.asp

งานนี้เป็นงานที่น่าสนใจและน่าเข้าร่วมมากๆ ครับ
เพื่อที่จะทำให้เพื่อนๆ ได้เข้าใจและสามารถนำไปใช้ประยุกต์ต่องานห้องสมุดของเพื่อนๆ ได้

เอาเป็นว่าสำหรับเพื่อนๆ ที่ไป ก็สามารถเข้ามาทักทายผมได้นะครับ เพราะว่าผมก็เข้าร่วมงานนี้เช่นกัน
แต่สำหรับเพื่อนๆ ที่ไม่สามารถเข้าร่วมงานนี้ได้ เอาไว้กลับมาผมจะเขียนเล่าเรื่องในบล็อกนี้ให้นะครับ

หากเพื่อนๆ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมก็สามารถเข้าไปดูได้ที่ http://library.tu.ac.th/digitalconference/

งานประชุมวิชาการด้านเทคโนโลยีห้องสมุด (Computer in Libraries 2009)

วันนี้ผมขอเขียนเรื่องย้อนหลังไปเมื่อเดือนมีนาคม – เมษายน ที่ผ่านมานะครับ
ในช่วงเดือนนั้นมีงานประชุมวิชาการครั้งใหญ่เกี่ยวกับเทคโนโลยีในห้องสมุด หรือที่เราเรียกกันว่า Computer in Libraries 2009

cil2009

Computer in Libraries 2009 หรือที่ในวงการเรียกย่อๆ ว่า CiL 2009
งานนี้ถือว่าเป็นงานประชุมด้านเทคโนโลยีสำหรับบรรณารักษ์ที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือเลยก็ว่าได้
กำหนดการของงานนี้เริ่มในวันที่ 30 มีนาคม ถึง 1 เมษายน 2009

ข้อมูลทั่วไปของงาน CIL2009
ชื่องาน : Computer in Libraries
จัดมาแล้วเป็นครั้งที่ : 24
วันที่จัด : 30 มีนาคม – 1 เมษายน 2552
สถานที่ : Hyatt Regency Crystal City (จัดในประเทศสหรัฐอเมริกานะครับ)

สโลแกนของงานนี้
?CREATING TOMORROW : SPREADING IDEAS & LEARNING?
มาสร้างวันพรุ่งนี้กันดีกว่า ด้วยการกระจายไอเดียและกระจายการเรียนรู้ (แชร์ไอเดียร่วมกัน)

งานนี้ไม่ได้จัดโดยห้องสมุดใดห้องสมุดหนึ่งนะครับ
แต่องค์กรหลักที่เป็นผู้จัดงานนี้คือ บริษัท Information Today

เอาเป็นว่ามาดูหัวข้อเด่นๆ ในงานแบบเต็มๆ กันเลยดีกว่า

cil2009-book

โดยในงานนี้จะแบ่งออกเป็น 5 ห้อง โดยเริ่มจาก Track A – Track E
ซึ่งผู้เข้าประชุมจะต้องเลือกเข้า 1 Track ซึ่งแต่ละ Track จะมีเนื้อหาที่ไม่เหมือนกัน
โดยเนื้อหาของแต่ละ Track มีดังนี้

TRACK A
– INFORMATION DISCOVERY & SEARCH
– CULTIVATING INNOVATION & CHANGE
– SEARCH & SEARCH ENGINES

TRACK B
– WEB DESIGN & DEVELOPMENT
– OPEN LIBRARIES
– NEW WORLDS: MOBILE, VIRTUAL, & GAMES

TRACK C
– COMMUNITIES & COLLABORATION
– SOCIAL SOFTWARE
– CONTENT MANAGEMENT (CM)

TRACK D
– DIGITAL LIBRARIES
– SERVICES & VIRTUAL REFERENCE
– LEARNING

TRACK E
– INNOVATION IN SMALLER LIBRARIES
– NEXT GEN CATALOGS
– 2.0 PLANNING & MANAGING

?????????????????????-

นอกจากนั้นในแต่ละหัวข้อของ Track ต่างๆ? ก็จะมีผู้บรรยายมาพูดในหัวข้อที่เกี่ยวกับ Track ต่างๆ ดังนี้

สำหรับหัวข้อใน Track A

INFORMATION DISCOVERY & SEARCH
– Super Searcher Search Tips
– Searching Conversations: Twitter, Facebook, & the Social Web
– What?s New & Hot: The Best Resource Shelf
– Searching Google Earth
– Information Discovery: Science & Health

CULTIVATING INNOVATION & CHANGE
– New Strategies for Digital Natives
– Designing the Digital Experience
– Googlization & Gadget Support for the Library
– Library Transformation With Robotics
– Innovative Services & Practices

SEARCH & SEARCH ENGINES
– The Future of Federated Search
– Federated Search: Growing Your Own Tools
– Mobile Search
– What?s Hot in RSS
– Emerging Search Technologies

?????????????????????-

สำหรับหัวข้อใน Track B

WEB DESIGN & DEVELOPMENT
– Website Redesign Pitfalls
– Help Your Library Be Omnipresent Without Spending a Dime
– 40-Plus New Tools & Gadgets for Library Webmasters
– What Have We Learned Lately About Academic Library Users
– Library Facebook Applications

OPEN LIBRARIES
– Open Source Software
– Open Source Browsers
– Unconferences
– Open Source Library Implementations
– Open Access: Green and Gold

NEW WORLDS: MOBILE, VIRTUAL, & GAMES
– Mobile Practices & Search: What?s Hot!
– Mobile Usability: Tips, Research, & Practices
– Mobile Library Apps
– Real Librarians in Virtual Worlds
– Gaming & Learning

?????????????????????-

สำหรับหัวข้อใน Track C

COMMUNITIES & COLLABORATION
– Who Put the Blawg in My Collection?
– Building Community Partnerships: 25 Ideas in 40 Minutes
– Building Communities: Wikis & Ning
– Flickr Commons for Libraries & Museums
– Continued Online Community Engagement

SOCIAL SOFTWARE
– The Best of the Web
– Social Network Profile Management
– Web 2.x Training for Customers & Staff
– Evaluating, Recommending, & Justifying 2.0 Tools
– Pecha Kucha: 2.0 Top Tips

CONTENT MANAGEMENT (CM)
– CM Tools: Drupal, Joomla, & Rumba
– Implementing CMS: Academic
– Implementing CMS: Public
– Customized Content Portals
– Content Collage: Institutional Repositories

?????????????????????-

สำหรับหัวข้อใน Track D

DIGITAL LIBRARIES
– Digital Preservation, E-Government & ERM
– Digital Rights Management (DRM) Copyright, & Creative Commons
– Moving Libraries to the Cloud
– Developing a Sustainable Library IT Environment
– Achieving the Dream to Go Green


SERVICES & VIRTUAL REFERENCE

– Next Gen Digital Reference Tools
– Reference Odyssey: Still Dealing with Real People
– Embedding Services: Go Where the Client Is
– More than Just Cruising: SL & Web 2.0
– Service at Point of Need: SharePoint & Mobile Tools

LEARNING
– Learning Solutions Through Technology
– Enhancing Learning Anytime, Anywhere: Spread Your Reach
– E-Learning: Trends, Tools & Interoperability
– Embedding Ourselves: Using Web 2.0 and Second Life for Instructional Presence
– Dynamic Learning Spaces & Places

?????????????????????-

สำหรับหัวข้อใน Track E

INNOVATION IN SMALLER LIBRARIES
– I Wanna Be 2.0 Too!: Web Services for Underfunded Libraries
– Tiny Libraries, Tiny Tech, Innovative Services
– Social Software Solutions for Smaller Libraries
– Obstacle or Opportunity? It’s Your Choice!
– Blogs as Websites

NEXT GEN CATALOGS
– Global Library Automation Scene
– Library Automation Highlights
– Library Website & Library Catalog: One-Stop!
– Open Source Implementations
– Cooperative Systems Trump Integrated Systems

2.0 PLANNING & MANAGING
– Setting Up a Trends Analysis Program
– What’s the Return on Investment for Your Library?
– Future Space: The Changing Shape of Libraries
– Successful Online Collaborative: A Tale of Three Libraries
– New Tools for Metrics & Measures

?????????????????????-

เป็นยังไงกันบ้างครับกับงานประชุมวิชาการของวงการบรรณารักษ์ในต่างประเทศ
ในเมืองไทยผมก็จะพยายามจัดให้ได้ถ้ามีโอกาสนะครับ

LibCamp#3 : Library and Social Enterprise

ผู้บรรยายคนต่อมา คือ คุณไกลก้อง ไวทยการ จากแผนงานไอซีที สสส.
มาบรรยายในเรื่องการปรับเปลี่ยนบทบาทของห้องสมุดให้เข้ากับแนวทาง Social Enterprise

librarysocialenter

ก่อนที่คุณไกลก้องจะเริ่มบรรยาย ผมก็ได้เกริ่นถึงเรื่อง
“การสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรจากภายนอกกับองค์กรด้านห้องสมุด”
ว่าทำไมห้องสมุดอย่างเราจึงต้องสร้างความร่วมมือร่วมกัน หรือทำไมต้องร่วมกับองค์กรอื่นๆ
ซึ่งสาเหตุหลักๆ ก็ไม่พ้นเรื่องของความช่วยเหลือในด้านงบประมาณหรือการพัฒนาต่างๆ นั่นเอง

ซึ่งเมื่อเราสร้างเครือข่ายไปแล้ว เราจะได้อะไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น
– การช่วยเหลือด้านงบประมาณในการพัฒนาห้องสมุด
– บุคลากรด้านเทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาระบบห้องสมุด
– หนังสืออภินันทนาการ ฐานข้อมูล และเนื้อหาที่ดีสำหรับห้องสมุด
– นักศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆ ก็มีค่ายพัฒนาห้องสมุด

เหล่านี้ก็เป็นเพียงตัวเย่างความร่วมมือและการสร้างเครือข่ายของห้องสมุดกับหน่วยงานต่างๆ

จากนั้นคุณไกลก้องก็อธิบายถึงคำว่า Social Enterprise ว่า
Social Enterprise หรือ องค์กรธุรกิจเพื่อสังคม คือโมเดลทางธุรกิจที่ตอนนี้กำลังเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก
ลักษณะขององค์กรประเภทนี้คือการทำเพื่อแสวงหากำไร (เงิน)
แต่สิ่งสำคัญขององค์กรประเภทนี้คือเงินเหล่านี้จะนำไปใช้เพื่อประโยชน์และตอบแทนสังคมต่อไป

“กำไรไม่ใช่เป้าหมายหลักขององค์กร แต่องค์กรก็ต้องอยู่ได้ด้วยผลตอบแทนเหล่านี้ด้วย”

ห้องสมุดก็สามารถที่จะทำให้กลายเป็น องค์กรธุรกิจเพื่อสังคม ได้นะครับ
หากเรามองในแง่ของห้องสมุดในเมืองต่างๆ (อำเภอเมือง ของจังหวัดต่างๆ)
เราจะเห็นบทบาทของห้องสมุดในฐานะ ที่อ่านหนังสือ ที่ทำรายงาน ที่ทำงาน ฯลฯ

ถ้าสมมุติว่าเราเติมฟังค์ชั่นลงไปในห้องสมุดเหล่านี้หล่ะ
เช่น เอาโครงการ Digital Library ไปให้ห้องสมุดเหล่านี้ดำเนินการ จะเกิดอะไรขึ้น
– ห้องสมุดก็จะกลายเป็นศูนย์สแกนเอกสาร
– ห้องสมุดเป็นผู้นำเข้าข้อมูลให้โครงการ Digital Library
– ห้องสมุดเป็นแหล่งที่ใช้ในการเรียนการสอนได้ (สามารถมาฝึกงานได้ในห้องสมุด)
– สร้างอาชีพให้คนในสังคม (จ้างคนมาดำเนินการ)
– ห้องสมุดจะกลายเป็นศูนย์ telecenter (ศูนย์กลางของชุมชนและเชื่อมไปหาหน่วยงานอื่นๆ)

จะเห็นว่าห้องสมุดก็จะมีผลตอบแทนที่เข้ามาที่ห้องสมุดก็จะมีมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งนั่นไม่ได้เป็นปัจจัยหรอกครับ
เพราะเงินหรือผลตอบแทนเหล่านั้นก็จะกลับมาพัฒนาห้องสมุดเพื่อสังคมต่อไปได้อีกนั่นเอง

หลักขององค์กรธุรกิจเพื่อสังคมที่น่าสนใจ เช่น
– ธุรกิจต้องแก้ไขปัญหาทางสังคม
– ธุรกิจต้องยั่งยืน
– ลงทุนเท่าไหร่ก็ได้คืนเท่านั้น
– ตระหนักในสิ่งแวดล้อม
– ต้องมีใจรักในการทำ

ประเด็นสุดท้ายที่คุณไกลก้องได้พูดถึงคือ แนวทางสำหรับห้องสมุดที่จะเปลี่ยนตัวเองเป็นองค์กรธุรกิจเพื่อสังคม มีขั้นตอนดังนี้
1. ห้องสมุดต้องเริ่มจากการเขียนโครงการ (หาโครงการที่น่าสนใจและทำเพื่อชุมชนมาลองเขียนดู)
2. ห้องสมุดต้องหาผู้ลงทุน เช่น ติดต่อกับองค์กรส่วนท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนเรื่องงบประมาณ
3. ห้องสมุดต้องมีผู้ให้คำปรึกษาเนื่องจากโครงการที่ทำห้องสมุดอาจจะไม่ได้เข้าใจทุกส่วน
4. สร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ และเข้าร่วมกับเครือข่ายเพื่อดำเนินงาน
5. ต่อยอดแนวคิดและพัฒนาโครงการอยู่เรื่อยๆ

เป็นไงกันบ้างครับน่าสนใจมากๆ เลยใช่มั้ยครับ
การเปลี่ยนตัวเองจากองค์กรที่คอยรับอย่างเดียว เป็นองค์กรที่รุกแบบนี้ผมว่าน่าสนุกมากๆ เลยใช่มั้ยครับ