LibCamp#3 : กรณีศึกษาการทำกิจกรรมของนักศึกษาเอกบรรณ

ผู้บรรยายต่อมา คือ น้องอะตอม เจ้าของบล็อก http://atomdekzaa.exteen.com
และยังเป็นตัวแทนของนิสิตเอกบรรณารักษ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มาถ่ายทอดประสบการณ์ในการทำกิจกรรมของเด็กๆ เอกบรรณฯ

atomlibcamp3

กิจกรรมที่น้องอะตอมได้นำมาเล่าให้พวกเราฟัง มีอยู่ด้วยกัน 2 กิจกรรมใหญ่ๆ นั่นคือ
1. ค่ายสอนน้อง
2. ค่าพัฒนาห้องสมุด

โดยหลักๆ อย่างค่ายสอนน้อง ในมหาลัยก็จะมีการตั้งกลุ่มกัน โดยใช้ชื่อว่า “กลุ่มค่ายแสงเทียน”
ซึ่ง “กลุ่มค่ายแสงเทียน” เป็นกลุ่มที่รวบรวมนักศึกษาจากคณะต่างๆ มารวมกันทำกิจกรรม ซึ่งนับว่าน่าสนใจมาก
ซึ่งโดยหลักการก็เพียงแค่ให้โรงเรียนประชาสัมพันธ์เรื่องการติวให้ ส่วนเรื่องเงินสนับสนุนจะเน้นจากองค์กรส่วนท้องถิ่น

ในแง่ของค่ายพัฒนาห้องสมุด จะเกิดจากความร่วมมือระหว่างเอกบรรณฯ และเด็กวิศวกรรม
โดยแบ่งหน้าที่กันชัดเจน คือ บรรณารักษ์จะให้ข้อมูลต่างๆ ด้านการทำงาน ส่วนวิศวกรรมก็เขียนโปรแกรม
ซึ่งนับว่าได้พัฒนาฐานข้อมูลให้พร้อมใช้งานได้ทันที

นอกจากกิจกรรมที่น้องอะตอมทำร่วมกับมหาวิทยาลัยแล้ว
น้องอะตอมได้เล่าถึงประสบการณ์ในการทำงานเป็นอาสาสมัครบรรณารักษ์ให้กับห้องสมุด บ้านเซเวียร์
ซึ่งตอนนี้น้องอะตอมได้ทำงานที่นี่ในวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ครับ
โดยทำงานตั้งแต่เอาหนังสือออกมาปัดฝุ่น ทำความสะอาด และจัดขึ้นชั้น
ทำให้ผู้ที่เข้าร่วมงานได้สอบถามถึงงานที่ทำและเสนอไอเดียต่างๆ เพื่อความช่วยเหลือมากมาย

น้องอะตอมให้ข้อมูลเกี่ยวกับเด็กเอกบรรณรุ่นปัจจุบันว่า
ส่วนใหญ่เด็กเอกบรรณรุ่นนี้จะเน้นและชอบเรียนด้านไอทีมากกว่าด้านเทคนิค
แต่น้องอะตอมชอบเรียนด้านการให้หัวเรื่องและการทำดัชนีของหนังสือมากกว่าไอทีครับ
ซึ่งนับว่าเป็นการเปิดแง่มุมแปลกๆ ให้ผู้เข้าฟังรู้สึกประหลาดใจและชื่นชมในเรื่องของอุดมการณ์มากๆ

ก่อนจบการบรรยายในช่วงนี้ น้องอะตอมได้ฝากประโยคทิ้งท้ายให้เป็นแง่คิดต่อไปว่า
“เราต้องจัดเวลาเรียน และเวลากิจกรรมให้ได้ แต่อย่าไปทุ่มอย่างใดอย่างหนึ่งมากเกินไป”

การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 27

งานสัมมนาประจำปีครั้งใหญ่ของเหล่าห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษากำลังจะมาแล้ว
ดังนั้นบล็อกห้องสมุดอย่างผมต้องขอเอามาเล่าและประชาสัมพันธ์สักหน่อยครับ

seminar-academic-library

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงานสัมมนา
ชื่องานภาษาไทย : การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 27
หัวข้อของการจัดงาน : แนวทางการปฏิบัติเพื่อความเลิศ (Best Practices) ในงานห้องสมุด
วันและเวลาที่จัดงาน : วันที่ 14-16 ธันวาคม 2552
สถานที่จัดงาน : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

ภายในงานสัมมนาครั้งนี้ก็มีวิทยากรหลายคนที่จะนำเสนอหัวข้อน่าสนใจมากมาย
รวมถึงการประชุมกลุ่มงานต่างๆ ในห้องสมุด และเสนอผลงานของกลุ่มงานต่างๆ
ผมว่าการประชุมแบบนี้จะทำให้เกิดการระดมพลทางความคิดมากมาย
ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาวงการห้องสมุดให้ก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป

ตัวอย่างหัวข้อที่น่าสนใจในงานเสวนาครั้งนี้
– ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษากับการพัมนาความเป็นเลิศทางวิชาการของสถาบัน
– แนวทางการปฏิบัติเพื่อความเป็นเลิศในการวิจัยเพื่อพัฒนาห้องสมุด
– การวางแผนกลยุทธ์องค์กรสู่ความเป็นเลิศ
– บรรณารักษ์จะพัฒนาตนเองอย่างไรไม่ตกยุค
– เทคนิคการสร้างความคิดเชิงบวกอย่างสร้างสรรค์เพื่อการทำงาน

ค่าลงทะเบียนเข้าร่วมงานสัมมนาครั้งนี้ คือ 2,200 บาท
นับว่าเป็นค่าลงทะเบียนที่ไม่แพงด้วยนะครับ
แต่ได้รับความรู้อันเต็มเปี่ยมแบบนี้นับว่าคุ้มค่าครับ

เอาเป็นว่าใครที่ไปร่วมงานนี้ก็กลับมาเล่าให้ผมฟังบ้างนะครับ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://202.29.20.78/seminar27/

LibCamp#3 : กว่าจะได้ห้องสมุดหนึ่งแห่งต้องทำอย่างไร

ผู้ร่วมเสวนาคุณสุจิตร สุวภาพ ประธานชมรมห้องสมุดเฉพาะ
และดำเนินรายการโดยนายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ บล็อกเกอร์ห้องสมุด
เสวนาในหัวข้อเรื่อง “กว่าจะได้ห้องสมุดหนึ่งแห่งต้องทำอย่างไร”

libcamp3-1

การเสวนานี้เริ่มจากการแนะนำตัวเองของผู้เสวนา นั่นคือ คุณสุจิตร สุวภาพ ประธานชมรมห้องสมุดเฉพาะ
ผู้ที่มีประสบการณ์ในการเปลี่ยนภาพลักษณ์ของห้องสมุดตลาดหลักทรัพย์ฯ จนกลายเป็นห้องสมุดมารวย

ผมขอเรียกคุณสุจิตร สุวภาพ ว่าพี่อ้วนนะครับ เพื่อให้ง่ายต่อการอ่านบทสรุปของเรื่องนี้

พี่อ้วนจบปริญญาตรีใบแรกเอกภาษาอังกฤษ
หลังจากนั้นพี่อ้วนก็เกิดความสนใจเรื่องของสารสนเทศจึงได้ศึกษาปริญญาตรีอีกใบคือ เอกบรรณารักษ์ และได้ต่อปริญญาโทในสาขานี้
จากนั้นด้วยเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป พี่อ้วนจึงได้ศึกษาปริญญาโทอีกใบด้านไอที นั่นเอง

พี่อ้วนได้พูดถึงกรณีศึกษาการพัฒนาห้องสมุดมารวยให้พวกเราฟังต่อว่า
แต่เดิมแล้วห้องสมุดมารวยไม่ได้เรียกว่าห้องสมุดมารวยเหมือนทุกวันนี้หรอกนะครับ
แต่ก่อนห้องสมุดแห่งนี้ เรียกว่า ห้องสมุดตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ต่างหาก

แต่ในยุคของการเปลี่ยนแปลงก็มาถึง เมื่อผู้บริหารต้องการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์และสร้างแบรนต์ใหม่ให้ห้องสมุด
จึงได้มีการนำชื่อ มารวย มาใช้เพื่อเป็นเกียรติแด่ ดร.มารวย ผดุงสิทธิ์ กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ คนที่ 5

แนวความคิดในการปรับปรุงภาพลักษณ์ของห้องสมุดมารวย
คือ การสำรวจความต้องการของผู้ใช้ทั่วไป และหาคู่แข่งห้องสมุดเพื่อเปรียบเทียบบริการ
การจัดโต๊ะสำหรับอ่านหนังสือ — คล้ายกับร้านอาหาร (มาเยอะก็ต่อโต๊ะกัน)
เวลาทำการ (การเปิดปิด) ห้องสมุด — ปิดให้ดึกที่สุดเท่าที่จะทำได้ แข่งกับห้างสรรพสินค้า

ฯลฯ

ห้องสมุดแห่งนี้ใช้เวลาในการวางแผนเพื่อการปรับปรุงทั้งหมด 6 เดือนก็สามารถที่จะปรับปรุงและเสร็จอย่างรวดเร็ว
ด้วยภาพลักษณ์เดิมที่ถูกเปลี่ยนเป็นภาพลักษณ์ใหม่ไปอย่างชัดเจน

ตัวอย่างสิ่งที่เปลี่ยนไป เช่น เฟอร์นิเจอร์ไม้แบบหรูหราถูกเปลี่ยนเป็นโต๊ะที่นั่งอ่านแบบสบายๆ

การจะสร้างห้องสมุดสักแห่งนึงต้องคำนึงถึง สิ่งดังต่อไปนี้
– สถานที่
– หนังสือ
– งานบริการ
– บรรณารักษ์
– ระบบเทคโนโลยี

แนะนำห้อง Plern ของตลาดหลักทรัพย์ (ห้องสมุด ห้องทำการบ้าน ห้องเล่น ห้องรับฝากเด็ก ห้องสอนพิเศษ – จิปาถะมากครับ)
Plern = Play + Learn เป็นห้องที่ตลาดหลักทรัพย์จัดไว้เพื่อใช้เป็นพื้นที่อำนวยความสะดวกกับชุมชนใกล้เคียง (ชุมชนคลองเตย)

การหาผู้สนับสนุนโครงการต่างๆ (CSR Project) ตลาดหลักทรัพย์จะมีรายชื่อหน่วยงานทางธุรกิจมากมาย
ดังนั้นจึงทำให้ติดต่อได้ไม่ยากนัก ถ้าเป็นโครงการที่ดีและทำเพื่อสังคม เราน่าจะลองทำเรื่องขอได้เช่นกัน

ตัวอย่างการสนับสนุนไม่ต้องมองที่อื่นเลย ที่นี่แหละ ห้องสมุดเสริมปัญญาก็ได้รับการสนับสนุนจากตลาดหลักทรัพย์นั่นแหละ

พี่อ้วนได้ทิ้งข้อคิดดีๆ ให้เราชาวห้องสมุดได้ฟังอีกว่า
การจะทำห้องสมุดสักแห่ง เราต้องตั้งเป้าประสงค์ของห้องสมุดให้ได้เสียก่อน
เช่นทำห้องสมุดอะไร เพื่ออะไร จะมีอะไรบ้าง แล้วเป็นประโยชน์อย่างไร
ถ้าเราตอบคำถามนี้ได้แล้วเราก็เขียนโครงการ เรื่องเงินไว้คิดทีหลังจะดีกว่า
เพราะถ้าเอาเรื่องเงินมากำหนดว่าจะทำห้องสมุด เราก็จะได้ห้องสมุดที่ไม่ต้องกับความต้องการของเรา

เป้าหมาย —> งบประมาณ

สุดท้ายนี้ก็ขอขอบคุณพี่อ้วนมากๆ เลยเกี่ยวกับแง่คิดดีๆ และกรณีศึกษามากมาย

สรุปสัมมนาเรื่องสารสนเทศและภูมิปัญญาท้องถิ่น

ขอเล่าต่อจากงานสัมมนาเมื่อกี้นะครับ “การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Preservation of Local Wisdom)

stou2

ชื่อของการจัดสัมมนา
– การสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง สารสนเทศและภูมิปัญญาท้องถิ่น (19/2/52)

สถานที่ในการจัดงาน
– อาคารสัมมนา 2 ห้อง 233 (19/2/52)

งานสัมมนาครั้งนี้ จัดโดย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ร่วมกับ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย และ IFLA RSCAO

หัวข้องานสัมมนาในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2552 ที่น่าสนใจ

?????????????????????????

การบรรยาย เรื่อง การจัดการสารสนเทศท้องถิ่น
โดย ศ.ดร.ฉวีลักษณ์ บุณยะกาญจน

ขอบเขตของสารสนเทศท้องถิ่น
– สารสนเทศท้องถิ่นชุมชน ?> สารสนเทศตามเขตภูมิศาสตร์ ?> สารสนเทศตามอาณาเขตวัฒนธรรม

ภูมิปัญญา คือ ความรู้ ความคิด ความเชื่อ ความสามารถ ความชัดเจน ที่เป็นผลจากการใช้สติปัญญา

ภูมิปัญญาชาวบ้าน? -> ภูมิปัญญาไทย -> ภูมิปัญญาสากล

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา แบ่งภูมิปัญญา เป็น 9 ด้าน ดังนี้
– เกษตรกรรม
– อุตสาหกรรม
– การแพทย์แผนไทย
– การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
– กองทุนและธุรกิจชุมชน
– ศิลปวัฒนธรรม
– ภาษาและวรรณกรรม
– ปรัชญา ศาสนา และประเพณี
– โภชนาการ

ข้อมูลท้องถิ่นที่จะสามารถนำมาแปลงเป็นสารสนเทศท้องถิ่นได้ เช่น
– การบันทึกข้อมูลของท้องถิ่น
– ชีวประวัติของบุคคลสำคัญในท้องถิ่น
– การดำเนินชีวิตของคนในท้องถิ่น
– ปรากฎการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น เช่น ภัยพิบัติ ฯลฯ
– สิ่งต่างๆ ที่มีคุณค่าต่อท้องถิ่น

ภูมิปัญญาเป็นรากฐานของสารสนเทศท้องถิ่นทุกยุคสมัย

ปรากฎการณ์สารสนเทศท้องถิ่นท่วมท้ม มีดังนี้
– สารสนเทศท้องถิ่นคืออำนาจ
– สารสนเทศท้องถิ่นเป็นสมบัติ
– มลพิษทางสารสนเทศท้องถิ่น
– เกิดช่องว่างในการใช้สารสนเทศทองถิ่น

มุมมองของคนที่มีต่อสารสนเทศท้องถิ่น
– นักวิชาการ ต้องการรวบรวมองค์ความรู้เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยน และพัฒนาในอนาคต
– ชาวบ้าน จะหวงแหนภูมิปัญญาของพวกเขา เพราะว่ากลัวจะเสียประโยชน์ทางธุรกิจ

หลัก 4A ของการนำสารสนเทศท้องถิ่นมาใช้ในวงการศึกษา
– Availablility (รวบรวมสารสนเทศให้พร้อมต่อการใช้งาน)
– Accessibility (สร้างการเข้าถึงให้กับสารสนเทศท้องถิ่น)
– Affordability (ให้ชุมชนเข้าถึงสารสนเทศท้องถิ่น)
– Accountability (รับผิดชอบความถูกต้องของสารสนเทศท้องถิ่น)

?????????????????????????

การบรรยาย เรื่อง ประสบการณ์จากการจัดการสารสนเทศท้องถิ่นด้าน ?นนทบุรีศึกษา?
โดย รศ.ดร.สมพร พุทธาพิทักษ์ผล

องค์ประกอบสำคัญของห้องสมุดดิจิทัล มีดังนี้
– Digital Collection ข้อมูลสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัล
– Standard มาตรฐานในการจัดการสารสนเทศ
– Technology เทคโนโลยีระบบห้องสมุด
– Metadata ข้อมูลที่ใช้อธิบายสารสนเทศ

สำนักบรรณสารสนเทศ มสธ กับ นนทบุรีศึกษา
– ห้องสมุดมหาวิทยาลัย = บริการ และเผยแพร่สารสนเทศ
– มสธ = มหาวิทยาลัยเปิด
– นนทบุรี = มสธ เป็น มหาวิทยาลัยรัฐในจังหวัดนนทบุรี

ขอบเขตของภูมิปัญญาในจังหวัดนนทบุรี
– องค์รวมแห่งวิถีชีวิตของคน
– พื้นฐานสำคัญในการมองชีวิต ความรู้
– ลักษณะเฉพาะ เอกลักษณ์ในตนเอง
– ความรู้ ทักษะ(ความชำนาญ)

การสร้าง ยุ้งฉางภูมิปัญญา แบ่งคนออกเป็น 3 กลุ่ม
– กลุ่มผู้สร้างองค์ความรู้
– กลุ่มสร้างห้องสมุดดิจิทัล
– กลุ่มเผยแพร่ และนำไปใช้ประโยชน์

มาตรฐานทางเทคนิคที่ใช้สำหรับห้องสมุดดิจิทัล ได้แก่
Metadata ?> MODS, METS, MADS

?????????????????????????

เป็นไงบ้างครับกับการสรุปหัวข้อการบรรยาย
แต่เสียดายที่ช่วงบ่ายผมไม่สามารถอยู่ฟังต่อได้
เลยไม่สามารถสรุปเนื้อหาให้เพื่อนๆ ได้ทั้งหมด

จากงานสัมมนาในครั้งนี้ ทำให้ผมจุดประกายในการเขียนบล็อกต่อได้อีกสองสามเรื่อง
แล้วเดี๋ยวผมจะค่อยๆ เขียนให้เพื่อนๆ อ่านในโอกาสต่อไปนะครับ

ตัวอย่างเรื่องที่อยากเขียน
1. หลักสูตร ICS (Information Communication Science)
2. Opensource กับการจัดการสารสนเทศท้องถิ่น
3. การสร้างความร่วมมือในการพัฒนาสารสนเทศท้องถิ่น

นี่ก็เป็นเพียงน้ำจิ้มเล็กๆ นะครับ เอาไว้รออ่านกันได้เลยครับ

สุดท้ายนี้ขอเลาเรื่องความประทับใจนอกการสัมมนาสักนิดนะครับ
ในงานสัมมนาครั้งนี้ผมได้มีโอกาสพูดคุยกับอาจารย์น้ำทิพย์ถึงเรื่องการพัฒนาวงการบรรณารักษ์ในประเทศไทย
ซึ่งได้ความรู้ และข้อแนะนำจากอาจารย์ ซึ่งอยากจะบอกว่าได้ข้อคิดดีๆ มากมาย
เร็วๆ นี้กิจกรรมต่างๆ ของวงการบรรณารักษ์จะมีความเข้มข้นมากขึ้นครับ ยังไงก็รอติดตามกันนะครับ

การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Preservation of Local Wisdom)

วันนี้ผมมานั่งฟังบรรยาย เรื่อง การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Preservation of Local Wisdom)
ซึ่งจัดโดย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ร่วมกับ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย และ IFLA RSCAO
ดังนั้นผมคงไม่พลาดที่จะสรุปเนื้อหาให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน

picture-021

แต่ก่อนจะอ่านเรื่องที่ผมสรุปนั้น ผมขอพูดถึงงานสัมมนาครั้งนี้ให้เพื่อนๆ ฟังก่อน
งานสัมมนาครั้งนี้ จัด 2 วัน คือ วันที่ 18 – 19 กุมภาพันธ์ 2552
ชื่อของการจัดสัมมนา
– การสัมมนานานาชาติ เรื่อง การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Preservation of Local Wisdom) (18/2/52)
– การสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง สารสนเทศและภูมิปัญญาท้องถิ่น (19/2/52)

สถานที่ในการจัดงาน
– อาคารสัมมนา 1 ห้อง 5209 (18/2/52)
– อาคารสัมมนา 2 ห้อง 233 (19/2/52)

งานสัมมนาครั้งนี้ จัดโดย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ร่วมกับ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย และ IFLA RSCAO

หัวข้องานสัมมนาในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2552 ที่น่าสนใจ

??????????????????-

Preservation of Local Wisdom : Best Practices
โดย Prof. Gary Gorman และ Dr. Dan Dorner

picture-043 picture-0461 picture-024

สถานการณ์ปัจจุบัน
– การเพิ่มจำนวนของการเข้าถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีมากขึ้น
– ความเร็วในการเชื่อมต่อเครือข่ายมีสูงขึ้น
– การติดต่อสื่อสารข้ามประเทศสะดวกขึ้น
– ข้อมูลออนไลน์มีมากขึ้น
– มีองค์ประกอบภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้เพิ่มมากขึ้น

Digital Preservation คือ กระบวนการจัดเก็บ รวบรวมข้อมูล และทำให้ข้อมูลเหล่านั้นเข้าถึงได้
Digital Preservation = (manage,collect + care,preserve)

การทำ Digitization คือการทำข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบดิจิตอล (ถือว่าเป็นการจัดเก็บและรวบรวมเท่านั้น)
ดังนั้นไม่ถือว่าเป็นการทำ Digital Preservation ทั้งหมด (เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการทำ)

การทำ Digital Preservation ต้องคำนึงถึงสิ่งต่างๆ เหล่านี้
– พื้นที่ของการจัดเก็บข้อมูล (Storage medium)
– คนที่จะมาดูแลการทำ (Staff)
– นโยบายขององค์กร (Policies)
– การวางแผนในการทำ (Planning)

หลักสำคัญของการทำ Digital Preservation คือ
– การเข้าถึง และการใช้งาน (Access and Use)
– เนื้อหาที่จะทำ (Content)
– การออกแบบระบบ (System Design)

(Access) สาเหตุที่คนไม่เข้ามาใช้งานระบบ (ประยุกต์เป็นการใช้งานเว็บไซต์ห้องสมุด)
– ไม่มีเครื่องมือที่ใช้ในการใช้งาน เช่น ไม่มีคอมพิวเตอร์ ไม่มีอินเทอร์เน็ต
– สารสนเทศที่มีไม่เป็นที่ต้องการ หรือ ข้อมูลยังไม่ลึกพอ

(Content) วิธีการเลือกเนื้อหาในการจัดทำ
– คุณต้องมีจุดประสงค์ชัดเจนในเรื่องเนื้อหา เช่น เนื้อหาอะไร และจะทำอย่างไร
– เนื้อหาที่สถาบันมี หรือสังคมมี
– เนื้อหาที่สนับสนุนการทำงานขององค์กร

(System Design) การออกแบบต้องดูทั้งในเรื่อง Software และ hardware
– Software เช่น ระบบการค้นคืนสารสนเทศ (Information Retrieval), Metadata
– Hardware ต้องสอดคล้องกับการใช้งาน และต้องมีการปรับปรุงเสมอๆ

กรณีศึกษา National Digital Heritage Archive (NDHA)
ปี 2000 สมาคมห้องสมุดแห่งนิวซีแลนด์ศึกษาและพัฒนากลยุทธ์
ปี 2003 ห้องสมุดแห่งชาตินิวซีแลนด์ปฏิบัติตามแผน
ปี 2004 ห้องสมุดแห่งชาตินิวซีแลนด์ได้รับเงินมาพัฒนา และเริ่มต้นความร่วมมือกับบริษัท Libris
ปี 2005 ออกกลยุทธ์การทำข้อมูลดิจิตอลของนิวซีแลนด์
ปี 2008 ทดสอบ NDHA

??????????????????-

Using Open Source Systems to Develop Local repositories
โดย Assoc.Prof. Diljit Singh

picture-050 picture-0281

แนะนำข้อมูล Asia-Oceania ว่ามีขนาดใหญ่ และมีความหลากหลายทั้งในแง่ภาษา วัฒนธรรม ฯลฯ ดังนั้นจึงควรมีการรวบรวม และจัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ เช่นคำว่า water มีการเรียกที่แต่ต่างกัน ประเทศไทยเรียกว่า น้ำ ประเทศญี่ปุ่นเรียกว่า มิซุ ฯลฯ

ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom) คือ ความรู้ที่เกิดจากการค้นพบ และสืบทอดกันมาของคนในพื้นที่นั้นๆ อาจจะนำเสนอในรูปแบบ คำพูด บันทึก ประสบการณ์ ฯลฯ

ทำไมภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom) จึงสูญหาย
– ไม่มีการทำบันทึกแบบเป็นเรื่องเป็นราว
– เป็นความรู้ที่เกิดจากการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น พอไม่มีคนสืบทอดความรู้ก็สูญหายไป

ห้องสมุดควรมีบทบาทต่อการ อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Preservation of Local Wisdom) ด้วย เพราะโดยทั่วไป ห้องสมุดก็มีหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูล และเป็นแหล่งที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้

แนวความคิดในการสร้าง Local repositories
– ทุกๆ คนสามารถเข้าถึงแหล่งจัดเก็บข้อมูลได้ ไม่ว่าจะเป็นการค้นหา การอ่าน หรือการนำไปใช้
– รูปแบบของข้อมูลสามารถเป็นได้ทั้ง รูป เสียง ข้อความ วีดีโอ ที่อยู่ในรูปแบบของข้อมูลดิจิตอล

ทำไมต้องเลือกใช้ Open Source Systems
– ค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก และลดต้นทุนการใช้โปรแกรมได้
– การขอใช้งานไม่ต้องผ่านตัวกลาง เราสามารถนำมาใช้ได้ทันที
– มีความยืดหยุ่นสูง เพราะสามารถปรับแต่ง sourcecode ตามที่เราต้องการได้

Open Source software ที่แนะนำในงานนี้ คือ Dspace, Fedora, Greenstone

??????????????????-

From LIS to ICS, a Curriculum Reform
โดย Assoc.Prof. Chihfeng P. Lin

picture-054 picture-029

หลักสูตรด้านบรรณารักษศาสตร์และ สารสนเทศศาสตร์กำลังจะเปลี่ยนรูปแบบของเนื้อหาวิชาใหม่ เพราะว่าการเรียนบรรณารักษ์อย่างเดียวจะทำให้เราตามโลกไม่ทัน

รูปแบบการปรับเปลี่ยนของสาขาวิชา
Library and Information -> Information -> Information Communication

ไอซีทีในด้านห้องสมุด เช่น
– ระบบคอมพิวเตอร์ในห้องสมุด (Computerizing)
– ระบบอัตโนมัติ (Automation)
– ระบบเครือข่าย (Networking)
– ระบบอินเทอร์เน็ต (Internet)
– ระบบข้อมูลดิจิตอล (Digitization)

ใน Information Communication Science ควรเรียนอะไรบ้าง
– Planning and practice of digitization
– Digitized information services and marketing
– Knowledge management
– Stores and management of electronic forms
ฯลฯ

??????????????????-

Preservation of Local Wisdoms in Thailand
โดย Ms.Naiyana Yamsaka

picture-056 picture-058

ภูมิปัญญาท้องถิ่น = ภูมิปัญญาของชาติ = มรดกทางปัญญาของชาติ

การเก็บรักษาวัสดุทางภูมิปัญญาของชาติในประเทศไทยมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึง เช่น
– อากาศร้อนชื้น
– สัตว์รบกวน เช่น มด มอด แมลงสาบ หนู

หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลและอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย เช่น
– สำนักโบราณคดี
– พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
– หอสมุดแห่งชาติ
– หอจดหมายเหตุ

การสงวนรักษาหนังสือในหอสมุดแห่งชาติ

การสงวนรักษาเอกสารในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

แนะนำบริการสืบค้นข้อมูลเอกสารจดหมายเหตุ
– www.net.go.th
– www.narama.go.th

??????????????????-

ทั้งหมดนี้ก็เป็นการสรุปเนื้อหาการบรรยายของวันแรกเท่านั้นนะครับ

งานสัมมนา Digitized Thailand Forum

งานสัมมนาที่ผมจะนำเสนอนี้ เป็นงานที่จัดวันพรุ่งนี้แต่ขอบอกว่ามีความน่าสนใจมากๆ
ถ้าเพื่อนๆ มีเวลาจริงๆ ก็อยากให้เข้าร่วมงานนี้กันมากๆ นะครับ เพราะมันมีประโยชน์มากๆ

digitized-thailand

รายละเอียดเบื้องต้นของงานสัมมนา
ชื่องานภาษาไทย : เทคโนโลยีสร้างโลกดิจิทัลประเทศไทย
ชื่องานภาษาอังกฤษ : Digitized Thailand Forum
วันและเวลาที่จัดงาน : วันพุธที่ 23 กันยายน 2552 เวลา 09:00 – 17:00 น.
สถานที่จัดงาน : ห้องบุษกร อาคารเนคเทค (NECTEC) อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
จัดโดย : NECTEC

ภายในงานนี้จะประกอบด้วยการบรรยายในหัวข้อที่น่าสนใจมากมาย
โดยเฉพาะเรื่องการจัดการเอกสารในรูปแบบดิจิทัล หรือ การทำ Digitization
ซึ่งอย่างน้อยการจัดการเอกสารในรูปแบบดิจิทัล ผมเชื่อว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการจัดการห้องสมุดดิจิทัลด้วย

หัวข้อที่น่าสนใจในงานนี้ เช่น
– วีดิทัศน์แนะนำผลงานวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับ Digitized Thailand
– Digitized Thailand: นำทุนทางวัฒนธรรมสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์
– A Cross-Cultural Multimedia System for Creating Collaborative Environments
– Technology behind Newspaper Digitization
– การสงวนรักษาความหลากหลายทางภาษาและการแก้ไขความขัดแย้งทางวัฒนธรรม
– ระบบค้นคืนวีดิทัศน์เชิงความหมาย
– คลังผ้าโบราณและระบบกี่ทอผ้ากึ่งอัตโนมัติสำหรับวิสาหกิจชุมชน
– การจัดการข้อมูลทางวัฒนธรรม
– A Common Infrastructure and Standards for Sharing and Reuse of Digitized Content

เห็นหัวข้อแต่ละหัวข้อก็ยิ่งทำให่รู้สึกว่าอยากไปรับความรู้จากในงานนี้จริงๆ เลยนะครับ
ยังไงใครที่ไปร่วมงานนี้จะให้ดีรบกวนเก็บเอกสารให้ผมด้วยนะครับ จะขอบคุณมากๆ เลย

งานสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดฯ ครั้งที่ 26 พร้อมเอกสารประกอบ

งานสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 26
ชื่อหัวข้อ คือ ?รวมพลังสู่ความเป็นเลิศ : ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในทศวรรษใหม่?

banner1

รายละเอียดทั่วไปของงานนี้
ชื่องาน : งานสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 26
หัวข้อ : รวมพลังสู่ความเป็นเลิศ : ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในทศวรรษใหม่
วันที่จัด : วันที่ 19 – 21 พฤศจิกายน 2551
สถานที่ : ห้องประชุม 1 – 301 อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์ มหาวิทยาลัยรังสิต

หัวข้อเด่นๆ ที่น่าสนใจในงานสัมมนา
– ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง เครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษากับความเป็นเลิศทางวิชาการ
– การอภิปราย เรื่อง เครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไทย : ความร่วมมือสู่ความเป็นเลิศ
– การอภิปราย เรื่อง การเทียบสมรรถนะเพื่อความเป็นเลิศ พร้อมหรือไม่ และทำอย่างไร
– ประชุมกลุ่มย่อยและเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ เพื่อหาวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด
– การอภิปรายเรื่อง มาตรฐานห้องสมุดมหาวิทยาลัยกับการประเมินคุณภาพ
– การบรรยายเรื่อง การจัดการความรู้ในห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา : จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ
– การบรรยายเรื่อง ห้องสมุดกับการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น
– การบรรยายเรื่อง การสร้างและปรับปรุงแบรนด์ห้องสมุด (Branding & Re-branding in Library)
– การอภิปราย เรื่อง มาตรฐานคุณภาพของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา

เอกสารการสัมมนาที่สามารถดาวน์โหลดได้มีดังนี้

วันที่ 19 พฤศจิกายน 2551

ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง ?เครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษากับความเป็นเลิศทางวิชาการ?
โดย ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคระกรรมการอุดมศึกษา

การอภิปรายเรื่อง ?เครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไทย : ความร่วมมือสู่ความเป็นเลิศ?
ดร.มลิวัลย์ ประดิษฐ์ธีระ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต
ผู้บริหารเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

การอภิปรายเรื่อง ?เครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไทย : ความร่วมมือสู่ความเป็นเลิศ?
รศ.ดร.อรุณี อินทรไพโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี
ผู้บริหารเครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

– ประชุม กลุ่มย่อย : กลุ่มคณะทำงานด้านพัฒนาทรัพยากรสานิเทศ
อาจารย์ จรินทร์ คิดหมาย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตท่าพระ

ประชุม กลุ่มย่อย : กลุ่มคณะทำงานด้านวิเคราะห์ทรัพยากรสารนิเทศ
อาจารย์ บุญสม เล้าพูนพิทยะ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร

ประชุม กลุ่มย่อย : กลุ่มคณะทำงานด้านบริการ
อาจารย์ ภาวณา เขมะรัตน์ สำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2551

การอภิปราย เรื่อง ?มาตรฐานห้องสมุดมหาวิทยาลัยกับการประเมินคุณภาพ?
รศ. อิ่มจิต เลศพงษ์สมบัติ คณบดีคณะวิทยาการสื่อสารและผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

การอภิปราย เรื่อง ?มาตรฐานห้องสมุดมหาวิทยาลัยกับการประเมินคุณภาพ?
นางวราภรณ์ สีหนาท ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา

การบรรยายทางวิชาการ เรื่อง?การสร้างและปรับปรุงแบรนด์ห้องสมุด?
ดร.ชันนยา รอดสุทธิ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เสริมยศ ธรรมรักษ์ หัวหน้าภาควิชาการสื่อสารแบรนด์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

การอภิปรายเรื่อง ?มาตรฐานคุณภาพของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
ดร.พฐา สุวรรณรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

การอภิปรายเรื่อง ?มาตรฐานคุณภาพของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
ดร.สุวิมล ธนะผลเลิศ ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศทางการศึกษา คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เป็นยังไงกันบ้างครับเอกสารต่างๆ ในการสัมมนา
ผมคิดว่ามีประโยชน์ และคุณค่าสำหรับวงการบรรณารักษ์ และห้องสมุดเลยทีเดียว

หลายๆ ครั้งที่มีการจัดงานสัมมนาห้องสมุด บางครั้งผมเองก็ไม่สามารถเข้าร่วมได้
ก็หวังว่าจะมีเอกสารให้ได้อ่านย้อนหลังบ้าง แต่บ่อยครั้งที่มักจะไม่มีให้ดาวน์โหลด
ครั้งนี้ก็เป็นอีกครั้งที่ผมอยากเข้าร่วมงาน แต่ไม่สามารถไปได้
ก็ได้แต่หวังว่าผู้จัดงานจะส่งเอกสารมาให้อ่าน ซึ่งคงเป็นแค่ฝันลมๆ แล้งๆ
แต่วันนี้ฝันของผมก็ได้เป็นจริง เมื่อการสัมมนาครั้งนี้นำเอกสารประกอบการสัมมนาขึ้นบนอินเทอร์เน็ต
นับว่าเป็นสิ่งที่หลายๆ คนคงจะอยากได้เหมือนผม

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณเพื่อนสมาชิกที่ส่งข้อมูลมาให้
ขอบคุณผู้ที่จัดงานทุกคน
ขอบคุณผู้ร่วมงานสัมมนาทุกคน
และขอบคุณผู้ร่วมวิชาชีพเดียวกัน

สำหรับผู้จัดงานอื่นๆ ขอให้นำการสัมมนานี้ไปเป็นแบบด้วยนะครับ
เพื่อประโยชน์ต่อสังคม การแบ่งปันความรู้ถือว่าเป็นสิ่งที่มีพลังมากๆ

สรุปงาน “เทคโนโลยีเว็บ 2.0 : สู่ความเป็นเลิศของห้องสมุดดิจิตอล”

ผมขอนำบทสรุปจากงานสัมนนา “เทคโนโลยีเว็บ 2.0 : สู่ความเป็นเลิศของห้องสมุดดิจิตอล”
มาให้เพื่อนๆ อ่านอีกสักรอบนะครับ เผื่อว่าอาจจะเกิดไอเดียดีๆ ขึ้นบ้าง

picture-001

งาน “เทคโนโลยีเว็บ 2.0 : สู่ความเป็นเลิศของห้องสมุดดิจิตอล”
จัดเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2552 ที่สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยหอการค้า

บทสรุปของงานมีดังนี้

การบรรยาย เรื่อง จาก Web 2.0 สู่ Library 2.0 เพื่อชุมชนนักสารสนเทศและผู้ใช้บริการ
โดย ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

picture-013

เกริ่นนำ
– เมื่อผู้ใช้บริการมีทางเลือกในการเข้าถึงสารสนเทศมากขึ้น บรรณารักษ์จึงจำเป็นต้องรู้จักและเข้าใจทางเลือกเหล่านั้น
– web2.0 คือแนวความคิดใหม่สำหรับ www ที่จะให้ผู้ใช้สามารถเขียน เปลี่ยนแปลง เผยแพร่ เนื้อหาต่างๆ ที่ต้องการได้
– หลักการแห่ง web2.0 แบ่งออกเป็น conversation, community, participation, experience, sharing

โลกเปลี่ยนไปแล้วจริงหรือ?
– ในปี 2007 มีคนสืบค้นด้วย google เฉลี่ยเดือนละ 27 ร้อยล้านครั้ง ในประเทศไทยมีการใช้ google เพื่อสืบค้นถึง 96.88% แล้วก่อนหน้านี้หล่ะใช้เครื่องมืออะไรในการค้น
– การส่ง SMS ทั่วโลกมีจำนวนมากกว่าประชากรบนโลกรวมกัน
– ปัจจุบันมีคำศัพท์ในภาษาอังกฤษจำนวน 540,000 คำ แต่ในสมัย Shakespeare มีคำศัพท์เพียงแค่ 1 ใน 5 ของจำนวนนั้น
– ใน 1 วันมีหนังสือออกใหม่จำนวน 3,000 เล่มต่อวัน
– หนังสือพิมพ์ newyork times 1 สัปดาห์มารวมกัน จะได้คลังความรู้ที่มากกว่าความรู้ของคนในยุคที่ 18 ตั้งแต่เรียนจนตาย
– ความรู้และข่าวสารจะมีการเพิ่มขึ้นแบบเท่าตัวทุก 2 ปี ดังนั้น คนที่เรียนปริญญาตรี 4 ปี เมื่อเรียนปี 2 ขึ้น ปี 3 ความรู้ที่เรียนมาก็จะเริ่มไม่ทันสมัย
– การติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศเมื่อ 40 ปีก่อนใช้โทรเลข เมื่อ20 ปีก่อนใช้โทรเลข,โทรศัพท์ เมื่อ 10 ปีที่แล้วใช้อีเมล์ แล้วทุกวันนี้หล่ะ????
– สำรวจคนอเมริกาแต่งงาน 8 คู่จะต้องมี 1 คู่ที่เจอกันด้วยระบบ online
ฯลฯ

สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าโลกเปลี่ยนไป?

ห้องสมุดในฝัน (ตามความคิดของดร.ทวีศักดิ์)
– เปิดบริการตลอดเวลา
– สะอาด เรียบร้อย
– หาหนังสือง่าย
– เงียบ บรรยากาศดี
– เดินทางสะดวก
– ใช้บริการจากที่บ้านหรือที่ทำงานได้
– google+website = ห้องสมุดแห่งโลก

ห้องสมุดไทยในปัจจุบัน สิ่งที่ต้องคำนึงถึง
– ประเภทของห้องสมุด (เฉพาะ ประชาชน โรงเรียน มหาวิทยาลัย)
– การลงทุนสำหรับห้องสมุด – จำนวนหนังสือ จำนวนผู้ใช้
– การนำระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ในห้องสมุด ต้องคำนึงเรื่องงบประมาณ การใช้ประโยชน์ ปรับแต่งได้แค่ไหน
– บางที่ซื้อระบบมาแล้ว แต่ไม่สามารถจัดการระบบได้เพราะขาดบุคลากร
– ระบบบริหารจัดการในห้องสมุดมีความเหมาะสมแค่ไหน
– ปัญหาการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย
– ห้องสมุดบางที่ไม่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง

ห้องสมุด 2.x คืออะไร
– ห้องสมุด2.0 = (ทรัพยากรสารสนเทศ+คน+ความไว้วางใจ) * การมีส่วนร่วม
– ก่อนเริ่ม ห้องสมุด2.0 ห้องสมุดต้องปรับรูปแบบให้มีลักษณะที่เป็น e-library ก่อน
– จะก้าวไปสู่ห้องสมุด 2.x => รักการเรียนรู้, รักการแบ่งปัน, มีใจสร้างสรรค์, รักการพัฒนา, รักในงานบริการ
– รักการเรียนรู้ คือ การเรียนรู้จากเพื่อนๆ ในวิชาชีพเดียวกัน เพื่อนำมาศึกษาและเปรียบเทียบกับงานของเรา
– การเลือกโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์มาใช้ในวงการห้องสมุด เช่น koha, phpmylibrary, openbiblio ?
– รักการแบ่งปัน และมีใจสร้างสรรค์ เครื่องมือที่น่าสนใจในการแบ่งปันคือ wiki Blog

บทสรุปของการก้าวสู่ห้องสมุด 2.x
– เปิดใจให้กับการเปลี่ยนแปลง
– เลือกใช้เทคโนโลยีให้เป็น
– สร้างชุมชนห้องสมุด เพื่อการมีส่วนร่วมระหว่างบรรณารักษ์กับผู้ใช้บริการ

????????????????????????????????????????????????

การบรรยาย เรื่อง ทฤษฎี Long Tail กับห้องสมุดในยุค web 2.0
โดย คุณรุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

image22

เกริ่นนำ
– Chris Anderson บก. Wired Magazine เป็นผู้เขียนทฤษฎี long tail คนแรก
– การเขียนหนังสือเล่มหนึ่งผู้อ่านจะรู้สึกว่าผู้เขียนอยู่ไกลจากเขา แต่การเขียนบล็อกผู้อ่านจะรู้สึกว่าผู้เขียนอยู่ใกล้ๆ ตัวเขา
– long tail เป็นกลยุทธ์ทางการตลาด คือ สินค้าที่ได้รับความนิยม (hits) มักเป็นที่ต้องการของคนส่วนใหญ่ แต่สินค้าที่มีคนรู้จักน้อยก็ยังมีอยู่อีกมาก และถ้าเรานำสิ่งเหล่านี้มารวมกันก็จะเห็นว่ายังมีสินค้าอีกมากมาย
– สินค้าที่มีความนิยมมีจำนวน 20% แต่สินค้าที่ไม่นิยมหากนำมารวมกันก็จะได้ถึง 80% ดังนั้นเราต้องหาวิธีที่จะนำสินค้าที่ไม่นิยมออกมาแสดงให้คนอื่นๆ ได้เห็น

ตัวอย่างของ Long tail
– Netflix, Amazon จำหน่ายสินค้าแบบ Physical Goods แต่นำเสนอด้วย Digital Catalogs
– Netflix, Amazon ใช้ concept ที่ว่า ?Customers who bought this also bought that??
– Itune, Rhapsody จำหน่ายสินค้าแบบ Digital Goods และนำเสนอด้วย Digital Catalogs
– Itune, Rhapsody ใช้ concept ที่ว่า ?When you lower prices, people tend to buy more?

ทฤษฎี Long tail กับงานห้องสมุด
– Tom Storey เคยสัมภาษณ์ Chris Anderson ลงในจดหมายข่าวของ OCLC
– Lorcan Dempsey ได้เขียนบทความเกี่ยวกับ Long tail ในหนังสือ D-Lib Magazine
– Paul Genoni เขียนเรื่อง Long tail ที่เกี่ยวกับสิ่งพิมพ์ในห้องสมุด
– Lori Bowen Ayre เน้นเรื่อง Log tai ไปในแนวว่า Library Delivery 2.0

กฎของ Ranganathan นักคณิตศาสตร์ และบรรณารักษ์อาวุโส (บิดาของวงการห้องสมุด)
– Books are for use
– Every reader has his or her book
– Every book has its reader
– Save the time of the reader
– The library is a growing organism

????????????????????????????????????????????????

Workshop เรื่อง โปรแกรมสำเร็จรูป WordPress : โดนใจผู้ใช้ได้ดั่งใจบรรณารักษ์
โดยคุณบุญเลิศ อรุณพิบูลย์ ศุนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

image04

– แนะนำ wordpress.com และ wordpress.org
– วิธีการใช้งาน wordpress.org
– วิธีการสมัคร wordpress.com
– แนะนำเมนูต่างๆ ใน wordpress.com
– การเขียนเรื่องใน wordpress.com
– การปรับแต่งรูปแบบใน wordpress.com

????????????????????????

เป็นยังไงกันบ้างครับ ได้ไอเดียกันเยอะหรือปล่าว
เอาเป็นว่าถ้าต้องการข้อมูลเพิ่มเติมก็ลองถามผมได้นะครับ
ผมยินดีจะตอบเพื่อช่วยให้วงการบรรณารักษ์ของเราพัฒนา

สัมมนานักสารสนเทศที่พึงประสงค์ในสังคมฐานความรู้

วันนี้มีงานสัมมนาดีๆ มาแนะนำให้เพื่อนๆ ได้เข้าร่วมอีกแล้วครับ
งานสัมมนาครั้งนี้จัดโดย ภาควิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

banner-seminar Read more

ตามหาภาพถ่ายงานสัมมนาวิชาการชมรมห้องสมุดเฉพาะ

เรื่องบังเอิญเกิดขึ้นในชีวิตเราหลายๆ ครั้ง
ซึ่งหากเป็นเรื่องบังเอิญที่ดีผมว่าก็ควรจะเล่าให้เพื่อนๆ ฟังนะครับ

03899-300x225

เรื่องมันก็มีอยู่ว่า…
ในขณะที่ผมกำลังค้นหาข้อมูลเพื่ออ่านเล่นๆ อยู่ ก็ปรากฎว่าผมไปเจอภาพถ่ายของผมโดยบังเอิญ
เท่าที่จำได้ภาพนี้เป็นภาพตอนที่ผมไปบรรยายที่งานสัมมนาครั้งนึง และถ้าระลึกได้ไม่ผิด
งานสัมมนานั้น คือ งานสัมมนาวิชาการชมรมห้องสมุดเฉพาะ ประจำปี 2551 นั่นเอง

วันนั้นผมร่วมวงเสวนา “การสร้าง การค้น การอ่าน การแลกเปลี่ยน”
ในวันที่ 29 สิงหาคม 2551 ร่วมกับ อ.รุจเรขา, รศ.ดร.น้ำทิพย์, อ.ประดิษฐา

จริงๆ แล้วผมก็ลืมเรื่องงานเสวนาครั้งนั้นไปแล้วจริงๆ นะครับ
พอเห็นภาพก็นึกขึ้นไปว่า งานในวันนั้นผมไม่ได้นำกล้องถ่ายรูปไปด้วย
จึงไม่มีภาพถ่ายที่ระลึกของงานเสวนาในครั้งนั้นมาฝากเพื่อนๆ

วันนี้ผมก็เลยขอนำเรื่องนี้มาประกาศให้เพื่อนๆ ที่ได้ไปงานวันนั้น
ใครได้ถ่ายรูปงานบรรยายในครั้งนั้นบ้าง ผมอยากได้เพื่อเก็บไว้เป็นที่ระลึก
ใครมี หรือใครเห็นภาพของผม อยากรบกวนให้ส่งไฟล์เข้ามาในอีเมล์ผมหน่อย
จะขอบคุณอย่างมากๆๆๆๆๆๆ เลยครับ

อีเมล์ผมก็ dcy_4430323@hotmal.com

ขอบคุณล่วงหน้าอีกครั้งนะครับ

ที่มาของรูปที่ผมไปเจอนี้ คือ http://gotoknow.org/blog/meetingforlibrarian/231849
ขอฝากไว้นิดนึงหากใครรู้จัก หรือเป็นเจ้าของบล็อกนี้ขอความกรุณาติดต่อผมกลับมาด้วยนะครับ
ผมอยากได้รูปภาพขนาดเต็มๆ เพื่อเก็บไว้เป็นที่ระลึกอ่ะครับ